PDA

View Full Version : สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566


สายน้ำ
14-09-2023, 02:40
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือตอนบน และ ประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้

สำหรับทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 14 ? 17 ก.ย. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ยจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบนตามแนวร่องมรสุมในช่วงวันที่ 15 ? 16 ก.ย.66 ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

ส่วนในช่วงวันที่ 18 ? 19 ก.ย. 66 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมี โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660914_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660914_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660914_Warning.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660914_Warning.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สายน้ำ
14-09-2023, 02:42
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV


เปิดนาทีประทับใจ "ลูกเต่า" แม่ทองดี รังที่ 2 จำนวน 52 ตัว ออกสู่ท้องทะเล

เปิดนาทีประทับใจ "ลูกเต่า" ของแม่ทองดี รังที่ 2 จำนวน 52 ตัว ลงสู่ท้องทะเล ท่ามกลางเสียงเชียร์ให้กำลังใจ ของ นทท.ต่างชาติที่มาพำนักท่องเที่ยวบนเกาะเต่าจำนวนมาก โดยทั้งหมดสุดประทับใจ เพราะไม่เคยเห็นลูกเต่าฟักตัวขึ้นจากหลุม และคลานลงทะเลเช่นนี้มาก่อน

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660914_Nation_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660914_Nation_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

13 กันยายน 2566 ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกชมรมรักษ์เกาะเต่า อ.เกาะพะงัน ได้รับรายงานจากพนักงานเต่าทองรีสอร์ต หาดทรายนวล หมู่ 2 ต.เกาะเต่าว่า มีลูกเต่าตัวแรกจากรังที่ 2 ของแม่ทองดีออกมาจากรังแล้ว ตั้งแต่เช้าวันที่ 11 กันยายน 2566 จากรังไข่ที่พบทั้งหมด 3 รัง ซึ่งเป็นไปตามการคาดหมายของสัตวแพทย์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และนักชีววิทยาทางทะเล สมาชิกชมรมรักษ์เกาะเต่า ที่ได้เฝ้าสังเกตอุณหภูมิภายในรังเต่าและนับจากจำนวนวันหลังการวางไข่

ทั้งนี้ สมาชิกชมรมรักษ์เกาะเต่า สมาชิกเทศบาลตำบลเกาะเต่า และอาสาสมัคร ได้ร่วมเฝ้าดูบริเวณของรังเต่า โดยพยายามปล่อยให้ลูกเต่าออกมาเองตามธรรมชาติ โดยในช่วงค่ำวันที่ 11 กันยายน มีลูกเต่าออกมา 2 ตัว ในเวลา 19.09 น. และอีก 12 ตัวในเวลา 22.01 น.


https://www.nationtv.tv/news/region/378930138