PDA

View Full Version : สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2566


สายน้ำ
15-09-2023, 02:45
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้

สำหรับทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 15 ? 17 ก.ย. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ในขณะที่ในช่วงวันที่ 15 ? 16 ก.ย.66 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยจะเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร บริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 18 ? 20 ก.ย. 66 ร่องมรสุมที่เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 15 ? 17 ก.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660915_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660915_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660915_Sat1.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660915_Sat1.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660915_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660915_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สายน้ำ
15-09-2023, 02:47
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


นอร์เวย์ กับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมล้ำสมัย เพื่อการทำประมงอย่างยั่งยืน

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660915_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660915_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

ประเทศนอร์เวย์ขึ้นชื่อได้ว่ามีสภาพภูมิอากาศที่หนาวเหน็บและทรหด ยากต่อการอยู่อาศัยของผู้คน แต่กลับกลายเป็นสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบสำหรับปลา นี่คือเหตุผลว่าทำไมนอร์เวย์ถึงดำรงชีพด้วยการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และกลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่และยั่งยืนที่สุดในโลก

มาวันนี้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของอุตสาหกรรมการประมงของนอร์เวย์ ประเทศแห่งอาหารทะเลนี้ยึดหลักจริยธรรม ความเชี่ยวชาญทางชีววิทยาทางทะเลที่สั่งสมมา เทคโนโลยีล้ำสมัย และมาตรการที่เข้มงวด เพื่อรักษามาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารและอนาคตของอุตสาหกรรม โดยที่ยังสงวนไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ

ที่นอร์เวย์ ฟาร์มเลี้ยงปลาตั้งอยู่ในทะเลเปิด รายล้อมไปด้วยน้ำทะเลที่เย็นและใสสะอาดในน่านน้ำที่ไหลมาจากธารน้ำแข็งฟยอร์ด ห่างไกลจากพื้นที่สัญจรทางทะเล แซลมอนถูกเลี้ยงในกระชังที่มีพื้นที่กว้างขวาง ให้ปลาได้ว่ายน้ำและเติบโตในสภาพแวดล้อมที่สะอาด

ที่นอร์เวย์ ฟาร์มเลี้ยงปลาตั้งอยู่ในทะเลเปิด รายล้อมไปด้วยน้ำทะเลที่เย็นและใสสะอาดในน่านน้ำที่ไหลมาจากธารน้ำแข็งฟยอร์ด ห่างไกลจากพื้นที่สัญจรทางทะเล วัตถุดิบส่งออกยอดนิยมอย่างแซลมอนถูกเลี้ยงในกระชังที่มีพื้นที่กว้างขวาง ให้ปลาได้ว่ายน้ำและเติบโตในสภาพแวดล้อมที่สะอาด เปรียบเทียบได้กับพื้นที่น้ำ 97.5% ต่อปริมาณแซลมอน 2.5% ในทุกๆ กระชัง มีการใช้เลเซอร์ที่ควบคุมโดยเทคโนโลยี AI เพื่อกำจัดเหาทะเลโดยไม่เป็นอันตรายต่อปลา ด้วยระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถระบุและติดตามปลาที่มีร่องรอยของเหาทะเลเกาะบนร่างกายได้อย่างแม่นยำ ปลาทุกตัวได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด เพื่อลดความเครียดซึ่งสามารถส่งผลต่อรสชาติได้

ระหว่างการทำฟาร์มแต่ละรอบ จะมีการพักให้ระบบนิเวศทางทะเลในพื้นที่นั้นๆ ได้ฟื้นฟู และมีการติดตามดูสภาพท้องทะเลอย่างใกล้ชิด จำนวนฟาร์มถูกจำกัดอยู่ที่ 750 แห่ง ต่อพื้นที่ชายฝั่งระยะทาง 28,953 กิโลเมตร บริษัทที่ต้องการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะต้องผ่านขั้นตอนการขอใบอนุญาตที่เข้มงวด ในแต่ละปี ผู้ที่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาจะต้องจัดสรรงบประมาณเป็นจำนวนเงินกว่าหกพันล้านบาท (นอกเหนือจากงบประมาณของรัฐบาล) ในการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการประมง การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพเช่นนี้ ทำให้นอร์เวย์สามารถส่งออกแซลมอนสดจากกระชังในน่านน้ำมหาสมุทรแอตแลนติกมาถึงสนามบิน

เพื่อตอบรับกับทิศทางของผู้บริโภคในปัจจุบันที่มองหาอาหารทะเลคุณภาพสูงและใส่ใจกับการทำฟาร์มปลาแบบยั่งยืน ผู้ผลิตอาหารทะเลรายใหญ่ของนอร์เวย์ต่างได้มุ่งมั่นในการสร้างสรรค์โซลูชันเพื่อทำการประมงในพื้นที่ทะเลเปิด โดยพัฒนารูปแบบจากฟาร์มตาข่ายแบบดั้งเดิม เป็นฟาร์มในมหาสมุทร หรือในลักษณะของเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ จากแนวคิดในการใช้ประโยชน์จากการคำนวณขนาดฟาร์มต่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำฟาร์ม และนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถด้านการประมง จนเกิดเป็นการประมงสมัยใหม่ที่เป็นต้นแบบของประเทศอื่นๆ กลายเป็นมิติใหม่แห่งการทำฟาร์มแซลมอน

หนึ่งในบริษัททำฟาร์มแซลมอนของนอร์เวย์ได้สร้างฟาร์มในมหาสมุทรขนาดเท่ากับสนามฟุตบอลสี่สนามขึ้นมา ปัจจุบันคือสิ่งก่อสร้างที่ลอยอยู่กลางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถูกออกแบบมาให้สามารถมีอายุการใช้งานได้ถึง 25 ปี และเป็นบ้านของแซลมอนได้ถึงกว่าสองล้านตัว

ฟาร์มแซลมอนแห่งหนึ่งของนอร์เวย์ใช้เซ็นเซอร์ Internet of Things (IoT) เพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์ และให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ซึงช่วยให้ตรวจสอบและบำรุงรักษาพื้นที่สำคัญๆ รวมทั้งประเมินโครงสร้างภายใต้สภาพอากาศและทะเลที่ไม่เอื้ออำนวยต่างๆ และปรับปรุงการตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที

ฟาร์มในมหาสมุทรแห่งนี้ใช้เซนเซอร์ Internet of Things (IoT) เพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์ และให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ โดยนำข้อมูลเหล่านั้นมารันเป็นโมเดลแฝดของเรือแบบดิจิทัลด้วยโซลูชันบนคลาวด์ วิธีนี้ช่วยให้ผู้ควบคุมฟาร์มสามารถตรวจสอบและบำรุงรักษาพื้นที่สำคัญๆ ประเมินโครงสร้างภายใต้สภาพอากาศและทะเลที่ไม่เอื้ออำนวยต่างๆ และปรับปรุงการตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที ในขณะที่แผนที่ความร้อนใช้ตรวจสอบการให้อาหารปลาในแต่ละกระชัง เพื่อให้แน่ใจว่าการให้อาหารในแต่ละครั้งจะไม่ส่งผลกระทบอย่างถาวรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นไปตามกฎระเบียบที่เข้มงวดของอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์

นี่เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างของการที่นอร์เวย์ได้นำเอาความเชี่ยวชาญกว่าศตวรรษ สถิติ ข้อมูลเชิงลึก และเทคโนโลยีล้ำสมัย เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการอุตสาหกรรมการประมงเพื่อให้มั่นใจว่าอนาคตที่ยั่งยืนของท้องทะเลจะยังดำรงอยู่ต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

ภาพ : สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC)


https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2725257

สายน้ำ
15-09-2023, 02:50
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


ทส. ยันรักษา กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นมรดกโลก ยกเทียบลิเวอร์พูล

ทส. ยันรักษา กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นมรดกโลก เทียบสะพานลิเวอร์พูล สละพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ชี้เป็นเหตุตามความเหมาะสม

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660915_Khaosod_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660915_Khaosod_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

วันที่ 14 ก.ย.2566 นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 10-25 ก.ย. นี้ มีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ กรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมีวาระเกี่ยวกับประเทศไทย คือ การพิจารณา ให้ขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ขึ้นเป็นมรดกโลกซึ่งคาดว่าน่าจะพิจารณากันระหว่างวันที่ 18-20 ก.ย.

อีกเรื่องคือ การชี้แจงกรณี การปรับเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จะไม่ส่งผลกระทบต่อคุณค่าและสถานภาพของพื้นที่มรดกโลก พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ซึ่งการชี้แจงล่าสุดนั้น ได้รับความเห็นชอบและยอมรับในที่ประชุมแล้วว่า การดำเนินการดังกล่าว ไม่ส่งผลกระทบต่อการเป็นมรดกโลก

นายจตุพร กล่าวว่า การยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องให้อนุกรรมการ และการแสดงเหตุผลเรื่องการปรับเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ไม่ได้ทำให้พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ได้รับผลกระทบ ไม่มีความเสี่ยงที่ทำให้กลุ่มป่าเกิดความเสียหาย ซึ่งเราต้องดูแลให้ดีที่สุด ไม่ให้หลุดออกจากความเป็นมรดกโลกอยู่แล้ว ต่างกับประเทศอังกฤษ ที่ยอมสละท่าเรือลิเวอร์พูล ยอมถูกถอนออกจากความเป็นมรดกโลก เพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว

เมื่อถามว่า ในอนาคตข้างหน้า หากเราต้องการพัฒนาพื้นที่มรดกโลกให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวบ้าง เราจะยอมสละ หรือถูกถอดถอนจากความเป็นมรดกโลกไหม ปลัด ทส. กล่าวว่า เราไม่มีนโยบายแบบนั้น และพื้นที่มรดกโลกของประเทศไทย แตกต่างจาก สะพานเมืองลิเวอร์พูล ที่อยู่ในเมือง มีคนมาเที่ยวดูจำนวนมาก ขยายออกไปตรงไหนไม่ได้แล้ว ทางเมืองลิเวอร์พูล คงพิจารณาดีแล้วว่า ยอมถูกถอดออกจากมรดกโลก แล้วไปพัฒนาด้านอื่นดีที่สุด

ด้าน นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีนโยบายชัดเจนเรื่องการดูแลรักษาคุณค่าในทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะที่เป็นพื้นที่มรดกโลกควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

แต่กรณี สะพานเมืองลิเวอร์พูล ที่ยอมถูกถอดออกจากความเป็นมรดกโลก โดยการไปสร้างเป็นสนามฟุตบอลนั้น เพราะพื้นที่ดังกล่าวอยู่กลางเมือง แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก หากไม่เลือกจะพัฒนาก็ไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ แต่เชื่อว่า แม้มีสนามฟุตบอลเกิดขึ้นแล้ว ทางเมืองลิเวอร์พูลก็จะดูแลสิ่งแวดล้อมดีอยู่ แต่อาจจะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของคณะกรรมการมรดกโลกแต่เดิม

ผู้สื่อข่าวถามว่า แนวคิดแบบนี้ คือ ยอมเสียพื้นที่อนุรักษ์แบบเข้มข้น เพื่อนำมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว จะถูกเอาเป็นแบบอย่างไปปฏิบัติในพื้นที่อื่นๆหรือไม่ นายพิรุณ กล่าวว่า ไม่น่าจะใช่เรื่องที่จะเอาอย่างกัน แต่เป็นเรื่องความเหมาะสมมากกว่า


https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_7866379

สายน้ำ
15-09-2023, 02:53
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV


งานวิจัยเผยชัด คนไทยอายุขัยเฉลี่ยสั้นลง 2 ? 3 ปี เหตุสูดอากาศเป็นพิษ

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660915_Nation_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660915_Nation_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

รายงาน Air Quality Life Index เผย ประชากรกว่า 673 ล้านคนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย อาศัยในพื้นที่ที่อากาศเป็นพิษ และผลจากการสูดดมมลพิษทางอากาศทำให้อายุขัยเฉลี่ยประชากรสั้นลงถึงเกือบ 3 ปี


วิกฤตหมอกควัน ทำคนอาเซียนอายุสั้น

จากรายงาน Air Quality Life Index เผยว่า ประชากรเกือบทุกคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กว่า 673.7 ล้านคน ยังต้องอาศัยนพื้นที่ที่มีค่าเฉลี่ยฝุ่นควัน PM2.5 ต่อปี สูงกว่าเกณฑ์ปลอดภัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ดังนั้นอายุขัยคาดเฉลี่ยของคนในภูมิภาคจึงสั้นลงถึงประมาณ 1.6 ปี

รายงานยังคาดคะเนว่า โดยรวมแล้ว ทั้ง 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องสูญเสียอายุขัยรวม 11 ล้านปีให้กับมหันตภัยมลพิษทางอากาศ โดยประเทศที่ต้องเผชิญกับผลกระทบมลพิษทางอากาศหนักหน่วงที่สุดคือ ประเทศพม่า ซึ่งประชาชนพม่าต้องมีอายุขัยคาดเฉลี่ยสั้นลงถึง 2.9 ? 3.3 ปี ตามมาด้วย เวียดนาม ที่มลพิษทำให้ประชาชนอายุสั้นลง 2.6 ปี และอันดับสามคือ อินโดนีเซีย ที่อายุขัยคาดเฉลี่ยประชากรต้องลดลงเพราะอากาศสกปรกราว 2.4 ปี

งานวิจัยเผยชัด คนไทยอายุขัยเฉลี่ยสั้นลง 2 ? 3 ปี เหตุสูดอากาศเป็นพิษ
ในขณะที่สำหรับประเทศไทย รายงาน รายงาน Air Quality Life Index ระบุว่า ประชากรไทยทั้งหมด 69.3 ล้านคน ล้วนอาศัยในพื้นที่ที่คุณภาพย่ำแย่กว่าเกณฑ์อากาศปลอดภัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทั้งสิ้น เป็นผลให้อายุขัยคาดเฉลี่ยของคนทั้งประเทศสั้นลงถึงกว่า 1.8 ปี

ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับผู้ที่อาศัยในเขตมลพิษทางอากาศสูงอย่างเช่นพื้นที่ภาคเหนือ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตหมอกควันข้ามพรมแดนเป็นประจำทุกปี ต้องมีอายุขัยคาดเฉลี่ยลดลงถึง 3 ปี ซึ่งนี่นับว่าเป็นหลักฐานชี้ชัดถึงภัยอันตรายร้ายแรงของมลพิษทางอากาศ เมื่อเปรียบเทียบกับโรคร้ายอย่าง โรคไต หรือ โรคเบาหวาน ซึ่งทำให้อายุขัยคาดเฉลี่ยของคนไทยลดลง 1.2 ปี

ด้วยเหตุนี้ รายงานฉบับนี้จึงได้แนะนำให้รัฐบาลไทยเร่งแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างจริงจัง เพราะถ้าไทยสามารถดึงค่ามลพิษทางอากาศให้ต่ำลงจนอยู่ในระดับเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก จะทำให้คนไทยมีอายุยืนขึ้นโดยเฉลี่ยถึง 1.5 ปี


ทั่วโลกเผชิญวิบากกรรมอากาศเป็นพิษ

ไมเคิล กรีนสโตน ศาสตราจารย์จากมิลตัน ฟรีดแมน ด้านเศรษฐศาสตร์ ผู้อยู่เบื้องหลังรายงานข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพมนุษย์ (Air Quality Life Index) เผยว่า มลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เป็นปัจจัยเสี่ยงภายนอกต่อสุขภาพมนุษย์ที่ร้ายแรงที่สุด และผลกระทบต่ออายุเฉลี่ยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ใน 6 ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีเครื่องมือพื้นฐานที่จะช่วยฟื้นฟูคุณภาพอากาศ

งานวิจัยเผยชัด คนไทยอายุขัยเฉลี่ยสั้นลง 2 ? 3 ปี เหตุสูดอากาศเป็นพิษ
ไมเคิล กล่าวว่า ข้อมูลมลพิษทางอากาศชุดใหม่นี้ชี้ให้เห็นว่า มลพิษทางอากาศที่รุนแรงขึ้นในช่วงปี 2564 ส่งผลให้มนุษย์ต้องแบกรับภาระด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น หากประชาคมโลกสามารถลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ได้ตามเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลก อายุขัยเฉลี่ยของประชากรจะเพิ่มขึ้น 2.3 ปี

ข้อมูลชุดนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่ามลพิษจาก PM2.5 เป็นปัจจัยเสี่ยงภายนอกต่อสุขภาพของมนุษย์ที่รุนแรงที่สุด โดยมีผลกระทบต่ออายุคาดเฉลี่ยเทียบได้กับการสูบบุหรี่ ร้ายแรงกว่าการดื่มแอลกอฮอล์และการใช้น้ำไม่สะอาด 3 เท่า และรุนแรงกว่าการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุขนส่งอย่างรถชนถึง 5 เท่า ทั่วโลกต่างเผชิญกับความท้าทายของมลพิษทางอากาศที่เหลื่อมล้ำกันอย่างเห็นได้ชัด

"สามในสี่ของผลกระทบจากมลพิษทางอากาศที่มีต่ออายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกเกิดขึ้นใน 6 ประเทศ คือ บังกลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน จีน ไนจีเรีย และอินโดนีเซีย ซึ่งประชากรในประเทศเหล่านี้คาดว่าจะมีอายุเฉลี่ยลดลงกว่าหนึ่งถึงหกปี โดยเป็นผลมาจากอากาศที่พวกเขาหายใจเข้าไป" ไมเคิล กล่าว

งานวิจัยเผยชัด คนไทยอายุขัยเฉลี่ยสั้นลง 2 ? 3 ปี เหตุสูดอากาศเป็นพิษในความเป็นจริงแล้ว ประเทศที่ได้รับผลกระทบต่างไม่มีโครงสร้างพื้นฐานในการจัดการกับมลพิษทางอากาศ ภูมิภาคเอเชียและแอฟริกาเป็นตัวอย่างที่สะท้อนข้อเท็จจริงนี้ได้อย่างชัดเจน มลพิษทางอากาศส่งผลให้จำนวนปีอายุขัยของประชากรในภูมิภาคนี้ลดลงกว่าร้อยละ 92.7 แต่มีรัฐบาลเพียงร้อยละ 6.8 ของประเทศในเอเชีย และร้อยละ 3.7 ของประเทศในแอฟริกาเท่านั้นที่เปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศ

นอกจากนี้ มีเพียงร้อยละ 35.6 ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย และร้อยละ 4.9 ของประทศในภูมิภาคแอฟริกาเท่านั้นที่มีนโยบายขั้นพื้นฐานที่สุดอย่างการกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในระดับประเทศ


https://www.nationtv.tv/gogreen/378930250