PDA

View Full Version : สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566


สายน้ำ
29-10-2023, 01:52
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ฝั่งตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 28 ? 29 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในวันที่ 30 ต.ค. ? 3 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นฝนจะลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 29 - 31 ต.ค. ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661029_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661029_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661029_Sat2.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661029_Sat2.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661029_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661029_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สายน้ำ
29-10-2023, 02:34
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


ภารกิจในการฟื้นฟูปะการังของศูนย์อนุรักษ์ปะการัง มณฑลฝูเจี้ยน

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661029_Dailynews_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661029_Dailynews_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

ระบบนิเวศของแนวปะการังเป็นหนึ่งในระบบที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก ปัจจุบันนักวิจัยที่ศูนย์อนุรักษ์ปะการัง มณฑลฝูเจี้ยน กําลังศึกษาพฤติกรรมของปะการังและการเพาะเลี้ยงเทียม เพื่อต่อยอดองค์ความรู้สำหรับการเพาะพันธุ์ปะการังและการฟื้นฟูแนวปะการัง

ศูนย์อนุรักษ์ปะการัง มณฑลฝูเจี้ยน ทางตะวันออกของจีน? มีภารกิจสำคัญในการสร้างและฟื้นฟูแนวปะการัง โดยศูนย์อนุรักษ์ปะการังแห่งนี้เป็นหน่วยงานในสังกัดสถาบันสมุทรศาสตร์แห่งที่ 3 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมค.ศ. 2014? มีพื้นที่ 145 ตารางเมตร ช่วยเพาะพันธุ์ปะการังชนิดต่าง ๆ เกือบ 100 สายพันธุ์ และยังเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มากกว่า 30 ชนิด

การเพาะพันธุ์ปะการังทำให้ได้เนื้อเยื่อปะการังที่ก่อตัวเป็นปะการังที่สวยงาม และเมื่อปะการังบางตัวตาย โครงกระดูกที่แข็งตัวจะเปลี่ยนเป็นแนวปะการัง ช่วยสร้างระบบนิเวศทางทะเลที่หลากหลาย เป็นบ้านใต้น้ำสําหรับชีวิตอีกหลากหลายสายพันธุ์

ระบบนิเวศของแนวปะการังเป็นหนึ่งในระบบที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก ปัจจุบันนักวิจัยที่ศูนย์อนุรักษ์ปะการังกําลังศึกษาพฤติกรรมของปะการังและการเพาะเลี้ยงเทียม เพื่อต่อยอดองค์ความรู้สำหรับการเพาะพันธุ์ปะการังและการฟื้นฟูแนวปะการัง

Li Yan เจ้าหน้าที่ของศูนย์อนุรักษ์กล่าวว่า ในภาคสนามมีงานหลายอย่าง เช่น การปลูกและฟื้นฟูปะการัง ขณะเดียวกัน ยังมีการปรับเปลี่ยนพื้นผิวที่มีทรายหรือตะกอนมากเกินไป เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสําหรับการเจริญเติบโตของปะการัง เพื่อให้ปะการังคงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติอย่างยั่งยืน


https://www.dailynews.co.th/news/2848911/