PDA

View Full Version : สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน 2566


สายน้ำ
08-11-2023, 01:49
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคตะวันออก อ่าวไทย และภาคใต้ มีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 8 ? 11 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่มีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในวันที่ 12 ? 13 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศลาวตอนบน ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ตลอดช่วง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 8 ? 13 พ.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661108_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661108_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661108_Sat.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661108_Sat.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661108_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661108_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สายน้ำ
08-11-2023, 03:03
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


ตำน้ำพริกละลายทะเล! ยกความเห็น บ.เดินเรือ รายงานสภาพัฒน์-จุฬาฯ "แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง" ไม่น่าจะไปรอด

ศูนย์ข่าวภาคใต้ - "อดีต บก.นิตยสารสารคดี" โพสต์เฟซบุ๊กอ้างความเห็นบริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าและรายงานของสภาพัฒน์-จุฬาฯ ชี้แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนองไม่น่าจะไปรอด คาดงบ 1 ล้านล้านบาทเป็นการตำน้ำพริกละลายทะเล

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661108_Mgr_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661108_Mgr_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

วันนี้ (3 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสารสารคดี ได้โพสต์ในเฟซบุ๊กเกี่ยวกับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือโครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง โดยใช้หัวข้อว่า "แลนด์บริดจ์กับความเห็นของลูกค้าตัวจริง บริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ"

เขาระบุว่า ?"ผู้มีอำนาจฝันไปเรื่อย ไม่มีบริษัทเดินเรือขนส่งระดับโลกไหนจะมาใช้แลนด์บริดจ์นี้หรอก เพราะค่าใช้จ่ายสูงมาก" ผู้บริหารสายการเดินเรือระหว่างประเทศหลายคนที่เป็นลูกค้าโดยตรงของโครงการนี้เล่าให้ผู้เขียนฟังตรงกัน

"ผลของการศึกษาของจุฬาฯ ก็ออกมาแล้วว่า ลงทุนไปหนึ่งล้านล้านบาทไม่คุ้มค่าแน่นอน แต่รัฐบาลไม่ฟัง"

?เมื่อวันที่ 16 ต.ค.2566 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเดินหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง) ด้วยมูลค่าการลงทุนโครงการนี้มากถึง 1 ล้านล้านบาท ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ความกังวลถึงความไม่คุ้มค่าของโครงการนี้

ผู้บริหารสายการเดินเรือให้ข้อมูลผู้เขียนต่อว่า ?ลองคิดดูสิ หากเรือสินค้ามาจอดที่ท่าเรือชุมพร ต้องยกตู้คอนเทนเนอร์ลงจากเรือที่ชุมพร แล้วยกขึ้นรถไฟไประนอง ยกลงจากรถไฟ ยกไปขึ้นเรือที่ระนองอีก ยกตู้ 4 ครั้ง โดนไป 4,000-5,000 บาทต่อตู้ ไหนจะค่าภาระท่าเรือ 2 แห่ง ค่าขนส่งทางรถไฟอีกประมาณ 100 กิโลเมตร รวมแล้วค่าใช้จ่ายเยอะมาก ประมาณ 10,000-12,000 บาทต่อตู้ (US$ 300-400)

ปัจจุบันนี้เรือขนส่งสินค้าจะมีระวางขับน้ำตั้งแต่ 100,000-200,000 ตัน ยิ่งลำใหญ่ต้นทุนขนส่งสินค้าจะถูกลง สมมติว่าเรือสินค้าขนาดระวาง 100,000 ตัน จะบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ได้ 10,000 ตู้ หรือเฉลี่ยตู้คอนเทนเนอร์ละ 10 ตัน ถ้ามีเรือเทียบท่าเรือระนองวันละ 10 ลำ ก็หมายความว่ามีตู้ต้องยกขึ้นรถไฟ 100,000 ตู้ ขณะที่รถไฟแต่ละขบวนขนได้ประมาณ 500 ตู้คอนเทนเนอร์ ลองคิดดูสิว่าจะเสียเวลากี่วันกว่าจะขนขึ้นขนลง

ขณะที่เรือไปถ่ายลำที่สิงคโปร์หรือมาเลย์เสียค่าใช้จ่ายตู้ละ US$ 80-100 เรือสินค้าลำหนึ่งขนตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 10,000-20,000 ตู้ ดังนั้นค่าใช้จ่ายถูกกว่ากันลำละหลายสิบล้านบาท และกว่าจะขนถ่ายตู้นับหมื่นตู้ขึ้นลงรถไฟ และขนส่งตู้ระหว่างชุมพร-ระนองคงใช้เวลาประมาณ 5-10 วัน ไม่ได้ประหยัดเวลาเลย

สรุปคือระยะเวลาก็ไม่ได้เร็วกว่า แต่ยังเสียค่าขนส่งเพิ่มขึ้นอีก แล้วลูกค้าเรือสินค้าที่ไหนจะมา

"ความเห็นของผมคือโครงการนี้ไม่น่าจะไปรอด ตำน้ำพริกละลายทะเลเปล่าๆ และคนในวงการเดินเรือส่วนใหญ่ส่ายหน้ากันมานานแล้วกับโครงการนี้ และอีกประการหนึ่ง รัฐบาลก็กำลังสร้างท่าเรือแหลมฉบังเฟสสาม เป็นท่าเรือขนาดใหญ่ เรือกินน้ำลึกเข้าจอดเทียบท่าได้ แล้วจะไม่เป็นการแย่งลูกค้ากันเหรอ"

ต่อคำถามที่ว่าแล้วที่จะมีนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นหลังท่าเรือและจะทำให้เกิดพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามมา พวกเขามีความเห็นอย่างไร

"การจะมีอุตสาหกรรมหลังท่าเรือตามมา มันจะต้องมีตู้ขนส่งสินค้าจำนวนมากวิ่งผ่าน เกิดความหลากหลายของสินค้า จึงจะเป็นการดึงดูดให้เกิดอุตสาหกรรม แต่จะมีจริงหรือ เราเคยสร้างท่าเรือระนอง บอกว่าจะมีอุตสาหกรรมตามมา แต่คุณไปดูท่าเรือระนองเปิดมาสิบกว่าปี แทบไม่มีใครใช้ ตอนนี้ก็แทบจะร้างแล้ว"

ขณะที่รายงานฉบับสมบรูณ์ "โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทย" จัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ 'สภาพัฒน์' และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีข้อสรุปว่า โครงการแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด

แต่เสนอว่า "...ทางเลือกที่ ?เหมาะสมที่สุด? ในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน คือ การให้ความสำคัญกับการสร้างเส้นทางเข้าถึงพื้นที่พัฒนาตามแผนปฏิบัติการการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (SEC) โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่และดำเนินการพัฒนาต่อจากสิ่งที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด?"

?โครงการลงทุน 1 ล้านล้านบาท คุ้มค่าจริงหรือ คำตอบมีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะรับรู้หรือไม่


https://mgronline.com/south/detail/9660000098937


******************************************************************************************************


ชมคลิป ปะการัง "เกรทแบร์ริเออร์รีฟ" เริ่มวางไข่สร้างรุ่นต่อไป

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661108_Mgr_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661108_Mgr_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

นักวิจัย เผยแพร่ภาพการวางไข่ของปะการังประจำปี บริเวณแนวปะการังมัวร์ หนึ่งในแนวปะการังเกรทแบร์ริเออร์รีฟ ชั้นนอก ของประเทศออสเตรเลีย เพื่อทำการวิเคราะห์ปะการังรุ่นต่อไป

สถานที่จับภาพการวางไข่ของปะการังอ่อน คือแนวปะการังมัวร์ บนแนวปะการังเกรทแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) ชั้นนอก อยู่ห่างจากเมืองแคนส์ไปทางตะวันออก 47 กม. เมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา

ลูกบอลสีชมพูเล็ก ๆ หลายพันล้านลูกถูกปล่อยออกมาเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง ลูกบอลเหล่านี้คือก้อนมัดของเซลล์เพศปะการังที่จะแตกตัวออกมาเป็นสเปิร์มและไข่ เพื่อให้ปฏิสนธิในกระแสน้ำทะเลคอรัล จากนั้นตัวอ่อนจะไปเกาะตัวอยู่บนเศษหินจนเติบโตกลายเป็นปะการังทารก

นักชีววิทยาทางทะเล Stuart Ireland ได้บันทึกภาพเหตุการณ์การวางไข่ที่แนวปะการัง Moore Reef ทุกปีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

"ปะการังปกคลุมและมีความหลากหลายสูงมากที่แนวปะการังมัวร์ หลังจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา และการวางไข่ในปี 2566 สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งนี้" เขากล่าว "เช่นเดียวกับปีที่แล้ว เราเฝ้าดูปะการังอ่อนเริ่มกระบวนการวางไข่ และใช้เวลาราว 2-3 ชั่วโมงเพื่อสังเกตการปล่อยตัวอสุจิและไข่จำนวนมาก

"เราจะดำน้ำในแนวปะการังมัวร์อีกครั้งหลังจากพระอาทิตย์ตกดินในคืนนี้ และคาดว่าจะได้เห็นปรากฏการณ์ที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่านี้ของปะการังแข็งที่เริ่มต้นกระบวนการฟื้นฟูบนแนวปะการังเกรทแบร์ริเออร์รีฟ"

ดร. แอบบี สก็อตต์ (Dr Abbi Scott) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเจมส์ คุก ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสรรหาปะการังหลังเหตุการณ์วางไข่

เธอกล่าวว่ากระเบื้องถูกกระจายไปตามแนวปะการังทั้ง 5 แห่งเพื่อให้ปะการังได้เติบโตต่อไป พวกเขาจะได้รับการวิเคราะห์ในปีหน้าควบคู่ไปกับข้อมูลสำหรับแบบจำลองการแพร่กระจายของตัวอ่อนปะการังเพื่อให้เข้าใจถึงความเชื่อมโยงของแนวปะการังที่เป็นแหล่งกำเนิดของตัวอ่อนได้ดียิ่งขึ้น

"งานวิจัยนี้จะสร้างความรู้เกี่ยวกับความแปรผันสัมพัทธ์ในการสรรหาปะการังในแต่ละแนวปะการังที่ศึกษา และความแตกต่างกันไปในแต่ละแนวปะการังเหล่านั้น" เธอกล่าว

"มันจะมีประโยชน์ต่อความคิดริเริ่มในการฟื้นฟูปะการังที่ได้รับความช่วยเหลือ และเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการจัดการสถานที่ท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูงของพวกเขาอย่างถูกต้อง"

โดยทั่วไปแล้วปะการังในแนวมัวร์จะเริ่มวางไข่ในคืนพระจันทร์เต็มดวงเป็นเวลา 2-6 คืน เมื่ออุณหภูมิของน้ำอยู่ที่ 27-28 องศาC ซึ่งเกิดขึ้นไปแล้วช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา และจะเกิดอีกครั้งราวปลายเดือนพฤศจิกายนซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะมีอีกครั้งเป็นรอบที่สองในปีนี้


https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9660000099942