PDA

View Full Version : สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566


สายน้ำ
24-11-2023, 02:42
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศเวียดนามตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว คาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันนี้ (24 พ.ย. 66) ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงให้ระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากอากาศแห้งไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมทะเลจีนใต้มีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่าง(ฝั่งตะวันออก) ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วน
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 23 ? 24 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีหมอกหนาบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 25 ? 29 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง ประกอบกับจะในช่วงวัน 24 - 27 พ.ย 66 มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างเคลื่อนผ่านอ่าวไทย เข้าสู่ภาคใต้ตอนล่าง ลงสู่ทะเลอันดามัน ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น โดยคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 23 ? 24 พ.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย ส่วนประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ตลอดช่วง สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกฝั่งในช่วงวัน 24 - 27 พ.ย. 66


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661124_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661124_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661124_Sat.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661124_Sat.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661124_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661124_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661124_Warning04.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661124_Warning04.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สายน้ำ
24-11-2023, 03:11
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


สหรัฐฯ เร่งหาจุดรั่ว หลังน้ำมันมหาศาลรั่วไหลลงอ่าวเม็กซิโก

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661124_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661124_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

ทางการสหรัฐฯ เร่งค้นหาจุดรั่วไหล หลังพบน้ำมันมากถึง 1.1 ล้านแกลลอนรั่วไหลในทะเลที่อ่าวเม็กซิโก ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากรอยรั่วของระบบท่อส่งน้ำมันจากชายฝั่งตะวันออกของรัฐลุยเซียนา

พบน้ำมันมากถึง 1.1 ล้านแกลลอนรั่วไหลในทะเลที่อ่าวเม็กซิโก ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากรอยรั่วของระบบท่อส่งน้ำมันจากชายฝั่งตะวันออกของรัฐลุยเซียนา

หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯระดมกำลังค้นหาจุดรั่วไหลของน้ำมัน หลังพบคราบน้ำมันมากกว่า 1.1 ล้านแกลลอนปนเปื้อนอยู่ในทะเลบริเวณอ่าวเม็กซิโก โดยคาดว่าน่าจะเกิดจากรอยรั่วของระบบท่อส่งน้ำมันจากชายฝั่งตะวันออกของรัฐลุยเซียนา ซึ่งแม้ว่าล่าสุดมีการปิดท่อส่งดังกล่าวที่มีความยาวถึง 107 กิโลเมตรไปแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ก็ยังคงเดินหน้าค้นหาจุดรั่วไหลที่แท้จริง เพื่อจะหาสาเหตุ และเร่งซ่อมแซมต่อไป

ทั้งนี้ ในระหว่างการแถลงข่าว หน่วยยามฝั่งยังคงยืนยันว่า ยังไม่มีน้ำมันลอยไปถึงฝั่งแต่อย่างใด ส่วนจะมีผลกระทบต่อสัตว์ทะเลหรือไม่นั้นยังคงอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ โดยคาดว่าปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลอาจจะมากกว่าที่คาดไว้

ด้านองค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐฯ ระบุว่า พบนกเพลิแกน 2 ตัวถูกน้ำมันปกคลุมขนนอกชายฝั่งของลุยเซียนาเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา แต่มันยังคงสามารถเคลื่อนไหวและบินได้อยู่ แต่คาดว่าผลกระทบที่ตามมาต่อสัตว์ทะเลอื่นๆ อาจจะเกิดขึ้นเป็นวงกว้างได้

เคลลี เดนนิ่ง ผู้บัญชาการหน่วยยามฝั่งนิวออร์ลีนส์ระบุว่าเหตุน้ำมันที่รั่วไหลครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางกระแสลมแรงในอ่าว ซึ่งยิ่งทำให้น้ำมันแตกตัว และกระจายตัวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ยังคงมองเห็นรอยมันวาวของน้ำมัน และกำลังเร่งดำเนินการทำความสะอาด

สำหรับท่อส่งน้ำมันที่เกิดปัญหาครั้งนี้ เป็นของบริษัท เมน พาส ออยล์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเธิร์ด โคสต์ อินฟราสตรัคเจอร์ LLC ที่มีฐานอยู่ในเมืองฮุสตัน แต่หลังจากเกิดเหตุทางบริษัทยังไม่ได้แสดงความเห็นใดๆ ต่อเรื่องนี้.

ที่มา : ABC


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2742589


******************************************************************************************************


น้ำแข็งละลายขั้วโลกเหนือวิกฤติ

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661124_Thairath_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661124_Thairath_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

จากการที่ประเทศไทยส่งนักวิจัยไทยไปที่อาร์กติก (ขั้วโลกเหนือ) กับประเทศจีน ภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้แก่ ดร.สุจารี บุรีกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายอานุภาพ พานิชผล นักวิจัยจากสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ เป็นเวลา 3 เดือน และได้กลับสู่ประเทศไทยแล้วนั้น

ดร.สุจารีกล่าวว่า คณะนักวิจัยเดินทางโดยเรือตัดน้ำแข็ง "ซูหลง 2" ของประเทศจีน ซึ่งในปีนี้ เป็นปีแรกที่คณะสำรวจของประเทศจีนสามารถเดินทางไปถึงจุดที่เป็นขั้วโลกเหนือ ณ ละติจูด 90 องศาได้สำเร็จ แสดงให้เห็นว่าน้ำแข็งขั้วโลกบางลงกว่าปีก่อนๆมาก เนื่องจากน้ำแข็งที่หายไปสามารถคืนกลับมาได้น้อยลง ทำให้เรือตัดน้ำแข็งสามารถเดินทางเข้าไปสู่จุดที่เป็นขั้วโลกเหนือได้ไม่ยากนัก ในระหว่างการเดินทาง นักวิจัยจากประเทศจีน รัสเซีย และไทย ได้ร่วมกันสำรวจวิจัยทางสมุทรศาสตร์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ขั้วโลกเหนือ โดยการเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำทะเล ดินตะกอน แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์ทะเลบางชนิด เพื่อตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเปรียบเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา

นายอานุภาพกล่าวว่า การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเหนือมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ความหนาของน้ำแข็งใหม่ในรอบปีมีความหนาที่ลดลง ส่วนเรื่องของมลพิษในทะเล เช่น การสะสมของไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในน้ำทะเลและในอากาศบริเวณมหาสมุทรอาร์กติก ก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

ด้าน ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ รอง ผอ.สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ กล่าวว่า เดือน ม.ค.2567 จะ ส่งนักวิจัย 2 คน ได้แก่ สพ.ญ.ดร.คมเคียว พิณพิมาย จากสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และ รศ.ดร.ภศิชา ไชยแก้ว จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เดินทางไปพร้อมกับคณะสำรวจแอนตาร์กติกรุ่นที่ 40 ของประเทศจีน เพื่อสำรวจที่แอนตาร์กติก (ขั้วโลกใต้) ต่อไป.


https://www.thairath.co.th/news/local/2742805

สายน้ำ
24-11-2023, 03:12
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย


ฝูงโลมาอิรวดี โชว์ตัวกลางแม่น้ำบางปะกง

ฉะเชิงเทรา 23 พ.ย. ? พบฝูงโลมาอิรวดีในแม่น้ำบางปะกง หลังน้ำเค็มดันขึ้นสูง ทำให้โลมาว่ายเข้าจากอ่าวไทยโผล่หน้าที่ว่าการอำเภอบางปะกง ประชาชนที่ทราบข่าวพากันไปยืนรอชมที่สะพานข้ามแม่น้ำ

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661124_Thainews_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661124_Thainews_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

เมื่อเวลา 12.30 น. ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ถนนเทพรัตน (บางนา-ตราด) กม.50 ช่องทางคู่ขนาน ขาเข้าชลบุรี หมู่ 4 ต.ท่าข้าม อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา หลังทราบว่ามีฝูงโลมาอิรวดีว่ายเข้ามาในแม่น้ำบางปะกง

ระหว่างเฝ้ารอดู พบโลมาอิรวดี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำเค็มและน้ำจืด ว่ายวนเวียนเพื่อไล่กินปลาดุกทะเลที่หลงเข้ามา ซึ่งโลมาจะโผล่ขึ้นมาหายใจเพียงครู่เดียวก่อนจะดำน้ำลงไปหาปลานานเกือบ 2 นาที จึงจะโผล่ขึ้นมาหายใจใหม่อีกครั้ง โดยในปีนี้ฝูงโลมาได้ว่ายจากปากอ่าวไทยจนเข้าไปลึกถึงหน้าที่ว่าการอำเภอบางปะกง ในช่วงเวลาประมาณ 15.00 ? 17.00 น. แล้วจะว่ายกลับออกไปยังปากอ่าวในตอนที่น้ำลงจนทำให้น้ำจืดไหลลงมาจากตอนบน ซึ่งการที่โลมาว่ายเข้ามาในแม่น้ำบางปะกง บ่งบอกว่าแม่น้ำยังคงมีความอุดมสมบูรณ์

ด้านนางสมจิตร์ พันธ์สุวรรณ นายกเทศมนตรีตำบลท่าข้าม ได้ประสานให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดเจ้าหน้าที่คอยดูและฝูงโลมา และประชาสัมพันธ์ชาวบ้านไม่ให้กางอวนลอยในแม่น้ำเพื่อป้องกันโลมาว่ายไปติดอวนหรือตาข่าย


https://tna.mcot.net/region-1277485