PDA

View Full Version : สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 5 ธันวาคม 2566


สายน้ำ
05-12-2023, 02:57
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนบางแห่งโดยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 6 ? 8 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่อีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันออกยังคงพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง กับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 1?2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วน และมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในวันที่ 5 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 ? 2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 8 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่อีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันออกยังคงพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง กับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 1 ? 2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 9 ? 10 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 ? 2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
??
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยในช่วงวันที่ 5 ? 10 ธ.ค. 66 อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
??
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 4 ? 5 ธ.ค. 66 พายุไซโคลน "มิชอง" (MICHAUNG) บริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกของประเทศอินเดียในวันที่ 5 ธ.ค. 66 และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับในระยะต่อไป ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 4 ? 5 ธ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 8 ธ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661205_Sat2.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661205_Sat2.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661205_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661205_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สายน้ำ
05-12-2023, 03:05
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


นักวิทย์เตือน คลื่นความร้อนทำประชากรทั่วโลกเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 4 เท่า

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661205_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661205_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

- นักวิทยาศาสตร์เผยข้อมูลรายงานการวิจัยฉบับใหม่ ที่พบว่าปัญหาโลกร้อนหากไม่รีบดำเนินการแก้ไข จะนำไปสู่การเสียชีวิตของประชากรโลกจากคลื่นความร้อนเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า

- รายงานฉบับนี้ได้รับการเผยแพร่ก่อนการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 28 ของสหประชาชาติ ในนครดูไบ ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่กำลังมีการหารือถึงผลกระทบด้านสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจะอุทิศเวลาหนึ่งวันให้กับผลกระทบด้านสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


วารสารด้านสุขภาพ The Lancet เผยแพร่รายงานประจำปีที่มีชื่อว่า Countdown โดยปีนี้มีเนื้อหาที่ระบุว่า การต่อสู้ของมนุษยชาติเพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังล้มเหลว โดยพบว่าผู้คนในหลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุล้มป่วยบ่อย อาการป่วยหนักขึ้น และเสียชีวิตจากสภาพอากาศแปรปรวนและคลื่นความร้อนมากขึ้น และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ยังไม่ดำเนินการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง และยังคงสนับสนุนทางอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล

รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นจากข้อมูลของทีมแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และนักเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ติดตามผลการตรวจวัด 47 รายการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการตรวจสุขภาพภายนอก เพื่อวินิจฉัยอาการป่วย โดยเน้นไปยังภัยอันตรายที่เกิดจากอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลโดยตรง

ตามรายงานระบุว่า ในขณะที่โลกของเรายังคงปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1,337 ตันทุกๆ วินาที และเราไม่ได้มีนโยบายลดการปล่อยก๊าซเร็วพอที่จะรักษาอันตรายจากสภาพภูมิอากาศให้อยู่ในระดับที่ระบบสุขภาพของเราสามารถรับมือได้ อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า ยังไม่แน่ชัดว่าอันตรายจากสภาพอากาศที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นหรือไม่

ดร.มารีนา โรมาเนลโล ผู้เขียนจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ในอังกฤษ กล่าวว่า การเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุมาจากโภชนาการที่ไม่ดี การติดเชื้อปรสิตที่เพิ่มขึ้น และโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีสาเหตุโดยตรงจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น

ดร.โรมาเนลโล ระบุว่า การเสียชีวิตจากความร้อนของผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มอายุที่มีความเสี่ยงสูง ได้เพิ่มขึ้น 85% นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 90 เพียงอย่างเดียว และตอนนี้เรารู้แล้วว่าการเพิ่มขึ้นมากกว่าครึ่งหนึ่งจะไม่เกิดขึ้นหากอุณหภูมิไม่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเราจึงรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดเรื่องทั้งหมดนี้ในวันนี้ เรายังเห็นตัวอย่างอีกด้วยว่าความไม่มั่นคงด้านอาหารกำลังเพิ่มสูงขึ้น ภาวะโภชนาการตกอยู่ในความเสี่ยง และเรารู้ว่าภาวะทุพโภชนาการมีผลกระทบถาวรโดยเฉพาะกับเด็ก

ทางด้าน ดร.ไฮเม มาร์ติเนซ เออร์ตาซา ศาสตราจารย์ภาควิชาพันธุศาสตร์และจุลชีววิทยา จากมหาวิทยาลัยอิสระ แห่งนครบาร์เซโลนา ระบุว่า สเปนเป็นหนึ่งในประเทศยุโรปตอนใต้ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากคลื่นความร้อนในปีนี้ และถึงเวลาแล้วที่จะต้องพัฒนาวิธีแก้ปัญหาเชิงปฏิบัติ เนื่องจากการทำลายล้างที่เพิ่มขึ้นจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว กำลังเป็นอันตรายต่อความมั่นคงทางน้ำและการผลิตอาหาร

ขณะเดียวกัน ดร.เออร์ตาซา กล่าวว่า ยังมีความกังวลอย่างมากว่าคลื่นความร้อน สภาพอากาศร้อนยาวนานผิดปกติ จะนำไปสู่การติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากภาวะโลกร้อนมีความเชื่อมโยงกับความเค็มที่ลดลง เพราะฝนตกหนักบ่อยครั้ง ทำให้น้ำฝนไหลลงสู่ทะเลและความเค็มลดลง และส่วนประกอบทั้งสองนี้ส่งเสริมสภาวะที่เอื้ออำนวยต่อแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์ในสกุล Vibrio ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่สำคัญมาก เช่น ไวบริโอ-อหิวาต์ อันเป็นสาเหตุของอหิวาตกโรค และเชื้อ Vibrio-parahaemolyticus ซึ่งเป็นสาเหตุของกระเพาะและลำไส้อักเสบ

รายงานของ The Lancet ตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาโลกร้อน ความเค็มในน้ำทะเลลดลง ทำให้เกิดภัยคุกคามสูงเป็นพิเศษในยุโรป เมื่อน่านน้ำชายฝั่งที่เหมาะกับเชื้อโรคสกุล Vibrio ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น 142 กิโลเมตรในทุกๆ ปี

นอกจากนี้ ผลการศึกษายังระบุว่า ขณะนี้โลกมีแนวโน้มว่าอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 2.7 องศาเซลเซียส ภายในปี ค.ศ. 2100 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับพลังงานพุ่งแตะระดับสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ในปี ค.ศ. 2022 ทำให้ชีวิตของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคตจึงแขวนอยู่บนความสมดุล

ขณะเดียวกัน นายฮูลิโอ ดิแอซ ไฮเมเนซ ศาสตราจารย์ด้านการวิจัยของ National School of Health ที่สถาบันสุขภาพคาร์ลอสที่ 3 กล่าวว่า ขั้นตอนแรกในการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างมาก

แต่กลายเป็นว่าที่ผ่านมาปัญหานี้กำลังถูกเตะไปมาราวกับการแข่งขันฟุตบอลทางการเมือง มากกว่าความพยายามที่จะจัดการกับความเสี่ยงต่อสุขภาพ ทั้งที่มีประชาชนเข้ารับการรักษาฉุกเฉิน 14,000 ครั้งต่อปี ในจำนวนนี้เกี่ยวกับคุณภาพอากาศ 8,000 ครั้ง และอีก 6,000 ครั้ง เกี่ยวกับปัญหาสำหรับเสียงรบกวน

รายงานฉบับนี้ยังชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนมารับประทานอาหารคาร์บอนต่ำที่ดีต่อสุขภาพ สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้มากถึง 12 ล้านคน ในขณะเดียวกันยังสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซทางการเกษตร จากการผลิตนมและเนื้อแดงได้ถึง 57 อย่างไรก็ตาม ประชากรที่มีรายได้น้อยยังคงไม่สามารถเข้าถึงอาหารคาร์บอนต่ำและอาหารสุขภาพที่มีราคาแพงกว่า

นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า สิ่งสำคัญตอนนี้คือการที่รัฐบาลประเทศต่างๆ จะหาแนวทางรับมือกับผลกระทบคลื่นความร้อน อาทิ เตรียมที่พักพิงด้านสภาพอากาศ อย่างที่เคยมีการจัดตั้งขึ้นเมื่อฤดูร้อนที่แล้ว ในนครบาร์เซโลนา ของสเปน ขณะเดียวกันก็ต้องลดการทำงานกลางแจ้งในอุณหภูมิสูง และเร่งหาทางรับมือการเกิดไฟป่า

โดยแนะว่า รัฐบาลจำเป็นต้องปรับเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในกรณีที่อุณหภูมิสูง เราจะเห็นว่าสเปนกำลังปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น อุณหภูมิสูงสุดรายวัน ซึ่งสเปนในฤดูร้อนเพิ่มขึ้นในอัตรา 0.4 องศาต่อทศวรรษ แต่อุณหภูมิที่ผู้คนเริ่มเสียชีวิตจากคลื่นความร้อนกลับเพิ่มขึ้นที่ 0.6 โดยในพื้นที่ประชากรอยู่อาศัยเป็นคนร่ำรวย ผลกระทบของความร้อนจะน้อยลง หรือในทางกลับกัน ในสถานที่อยู่อาศัยของคนยากจน ผลกระทบของความร้อนจะยิ่งใหญ่กว่า.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2745488


******************************************************************************************************


ข่าวดี วาฬเบลน์วิลล์ เกยหาดที่สงขลา อาการดีขึ้น เผยหายากสุดๆ

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661205_Thairath_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661205_Thairath_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

เจ้าหน้าที่และชาวบ้านช่วยชีวิตวาฬเบลน์วิลล์ วาฬน้ำลึก เพศเมีย ยาว 4 เมตร หนักกว่า 500 กิโลกรัม ถูกคลื่นซัดมาเกยหาด ต.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา ให้ยาซึม ยาลดการอักเสบ ยาฆ่าเชื้อ น้ำเกลือ จนอาการดีขึ้น เตรียมย้ายไปดูแลที่ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง ด้าน อ.ธรณ์ โพสต์ เป็นวาฬน้ำลึกที่หายากมากๆ

ความคืบหน้ากรณีวาฬเบลน์วิลล์ (Blainville?s beaked Whale) ซึ่งเป็นวาฬน้ำลึกหายาก เพศเมีย ยาว 4 เมตร หนักกว่า 500 กิโลกรัม ถูกคลื่นซัดมาเกยหาดปากบาง-สะกอม ม.1 ต.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 2 ธ.ค. ที่ผ่านมา ยังไม่สามารถผลักดันกลับสู่ทะเลได้ เนื่องจากวาฬตัวนี้บาดเจ็บ และสภาพร่างกายอ่อนเพลีย ซึ่งชาวบ้าน รวมทั้งเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม สัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ได้เข้ามาช่วยเหลือเอาไว้นั้น

ล่าสุด วันที่ 4 ธ.ค. 66 ทาง นายณัฐพงษ์ อ่อนทอง หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม ได้จัดเจ้าหน้าที่คอยดูแลวาฬตัวนี้ ร่วมกับทีมสัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง โดยเจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์หายาก พร้อมสัตวแพทย์ ได้ให้ยาซึม ก่อนที่จะทำการเคลื่อนย้ายมาบริเวณร่องน้ำด้านในริมหาดปากบาง-สะกอม หลังจากนั้นได้ให้ยาลดการอักเสบ ยาฆ่าเชื้อ และให้น้ำเกลือ พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อนำส่งตรวจ ซึ่งการติดตามอาการจนถึงวันที่ 4 ธ.ค. พบว่าเริ่มมีอาการดีขึ้น จึงได้ให้อาหารเหลว และเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง กำลังหาวิธีเคลื่อนย้ายวาฬตัวนี้ เพื่อไปทำการดูแลรักษาต่อที่ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง ที่บริเวณหาดเก้าเส้ง อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งคาดว่าอาจจะทำการเคลื่อนย้ายในช่วงบ่ายหรือเย็นของวันนี้

อาจารย์ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ?Thon Thamrongnawasawat? ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 2 แสนคน ระบุใจความว่า วาฬน้ำลึกหายากมากๆๆ เกยตื้นที่สงขลา ชื่อวาฬเบลน์วิลล์ (Blainville?s beaked Whale) เท่าที่ทราบ เมืองไทยเคยมีรายงานแค่หนเดียว

วาฬชนิดนี้อยู่ในกลุ่ม beaked whale หรือวาฬที่มีจะงอยปากคล้ายกับ ?ปากขวด? ของโลมา ส่วนใหญ่เป็นวาฬน้ำลึก คนไม่ค่อยรู้จัก ญาติของเบรน์วิลล์ ชื่อวาฬคูเวียร์ Cuvier's beaked whale เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ดำน้ำได้ลึกที่สุดในโลก ลงได้ถึง 3,000 เมตร

วาฬ beaked whale มีรายงานในไทย 3 ชนิด เบรน์วิลล์ คูเวียร์ และ Ginkgo-toothed beaked whale ทั้งหมดเป็นวาฬหายากของบ้านเรา เจอเฉพาะเกยตื้นเท่านั้น รวมกัน 3 ชนิด ยังมีรายงานไม่ถึง 5 ครั้ง สำหรับเบรน์วิลล์ มีรายงานครั้งเดียวที่ภูเก็ต เมื่อ 12 ปีก่อน

วาฬเบรน์วิลล์ยาวได้ถึง 4.7 เมตร น้ำหนัก 1 ตัน สามารถดำน้ำหากินในที่ลึก 200-1,000 เมตร การแพร่กระจายเกือบทั่วโลก แต่อยู่ในเขตทะเลเปิด จึงไม่รู้สถานภาพแน่ชัด เท่าที่รู้คือวาฬอยู่เป็นฝูง 4-5 ตัว สำหรับตัวนี้อาจป่วย เลยเข้ามาในเขตชายฝั่ง.


https://www.thairath.co.th/news/local/south/2745584