PDA

View Full Version : สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566


สายน้ำ
15-12-2023, 02:39
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า โดยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างสูงประมาณ 2 เมตรและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 17 - 19 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-15 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 15 ? 16 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามัน มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 19 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้

ประกอบกับในช่วงวันที่ 19 ? 20 ธ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนเข้าใกล้ปลายแหลมญวน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 2 ? 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1 ? 3 องศาเซลเซียส

หลังจากนั้นในวันที่ 20 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศหนาวเย็นลงต่อเนื่อง โดยอุณหภูมิจะลดลงอีก กับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามัน มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 17 ? 20 ธ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Sat2.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Sat2.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สายน้ำ
15-12-2023, 02:58
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


สลด วาฬหัวทุย ที่ว่ายเข้าใกล้ นทท.ริมทะเลออสเตรเลียตายแล้ว

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

วาฬหัวทุย ที่ว่ายเข้ามาใกล้ฝั่งผิดปกติ จนกลุ่ม นทท.ว่ายน้ำเข้าไปสัมผัสตัว บริเวณชายหาดเวสเทิร์น ออสเตรเลีย ตายแล้ว คาดว่าถูกเรือชนจนว่ายเข้ามาเกยกับสันทราย

หลังจากที่โลกโซเชียลมีการเผยคลิปวิดีโอจากโดรนที่ถ่ายภาพมุมสูงโดย เจฟฟรีย์ ครอส บริเวณริมชายหาดพอร์ตบีช ในเมืองเพิร์ท รัฐเวสเทิร์น ออสเตรเลีย ของประเทศออสเตรเลีย ที่บันทึกคลิปขณะวาฬหัวทุยขนาดใหญ่ว่ายน้ำเข้าใกล้ชายฝั่งของออสเตรเลียวานนี้ จนบรรดานักท่องเที่ยวนับสิบคนที่เล่นน้ำทะเลอยู่ในบริเวณดังกล่าว ต่างพากันว่ายน้ำเข้าไปหาวาฬ และยังไปเกาะ และสัมผัสตัววาฬ

ล่าสุดสื่อท้องถิ่นรายงานว่า วาฬขนาดลำตัวยาว 15 เมตรตัวดังกล่าวตายแล้วเมื่อช่วงเช้าของวันนี้ โดยคาดว่าสาเหตุที่มันเข้าใกล้ชายหาดเนื่องมาจากถูกเรือชน ก่อนเกยตื้นบนสันทราย โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการปิดชายหาดดังกล่าวแล้ว เพื่อเคลื่อนย้ายซากวาฬออกไปจากพื้นที่ต่อไป

โดยก่อนหน้านี้นักอนุรักษ์ที่เห็นคลิปดังกล่าวต่างตั้งข้อสังเกตว่า การว่ายเข้ามาใกล้ชายหาดผิดปกติอาจจะเกิดจากวาฬมีอาการป่วย หรือมีความผิกปกติบางอย่าง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเร่งพิสูจน์สาเหตุการตายของมันต่อไป.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2747309


******************************************************************************************************


ถ้า 'โลมาอิรวดี 14 ตัวสุดท้าย' ในทะเลสาบสงขลาหายไปจากโลก

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Thairath_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Thairath_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

- โลมาอิรวดี โลมาน้ำจืดที่กำลังเข้าสู่สถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ประเทศไทยมีโลมาอิรวดีเหลือเพียง 14 ตัวสุดท้ายที่ทะเลสาบสงขลา

- ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเมื่อโลมาอิรวดีสูญพันธุ์คือ หากเกิดโรคระบาดในสัตว์น้ำจะไม่มีผู้ล่า เมื่อไม่มีผู้ล่า โรคระบาดจะไม่ถูกระงับและจะระบาดต่อไปในวงกว้าง

- การพัฒนาลุ่มน้ำด้วยการปล่อยปลาบึกเข้าไปในทะเลสาบสงขลา ทำให้ชาวประมงต้องใช้อวนขนาดใหญ่ในการล่าปลาบึก ซึ่งอวนดังกล่าวมีขนาดเท่ากับโลมาอิรวดี ทำให้โลมาอิรวดีพลอยติดร่างแหของชาวประมงไปเป็นจำนวนมาก

- แดง-ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ มองว่า สิ่งที่น่าเศร้าคือความนิ่งเฉยจากรัฐและผู้มีอำนาจ ที่ไม่ลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ซ้ำร้ายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอำนาจการตัดสินใจเรื่องนี้ กลับเป็นกระทรวงเกรดรองที่ไม่ได้รับการสนับสนุนเท่ากระทรวงเกรด A เฉกเช่นกระทรวงอื่นๆ


วันหนึ่ง โลมาที่ชื่ออิรวดีจะหายไปจากโลกนี้

หัวโปนกลมมนตามฉบับโลมา ตาเล็ก ปากสั้น ครีบเล็ก ความน่ารักอันจรรโลงใจเมื่อพบเห็น

การที่ความสวยงามหนึ่งจะหายไปจากโลกตลอดกาล อาจไม่ใช่เรื่องที่น่าหวาดหวั่นเท่ากับความหมายที่อยู่เบื้องหลังการหายไปของสิ่งเหล่านั้น

ถ้าอย่างนั้นแล้ว การสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของโลมาอิรวดี ที่เหลืออยู่ในทะเลสาบสงขลาเพียง 14 ตัว และเป็น 1 ใน 5 แห่งที่มีอยู่ในโลกบอกอะไรกับเรา

'แดง-ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์' ผู้ก่อตั้งกลุ่มวาฬไทย ThaiWhales ช่างภาพคู่บุญของเป็นเอก รัตนเรือง คือผู้ที่จะมาบอกเรื่องนี้กับเรา ผ่านการพูดคุย เกี่ยวกับหนัง The Last 14 ที่เขาอุทิศให้กับโลมาทั้ง 14 ตัวนี้

ก่อนที่เราจะไปชมภาพยนตร์ เราอยากชวนทุกคนมาฟังเขาให้เข้าใจถึงปัญหาอย่างลึกซึ้ง


1. เมื่อการพัฒนา กลายเป็นการทำลาย

เมื่อเราพูดว่า สัตว์ชนิดหนึ่งๆ กำลังจะสูญพันธุ์ สิ่งที่แวบเข้ามาในหัวก็คือ ต้องมีคนกลุ่มหนึ่ง ทำร้ายทำลาย ล่าสัตว์เหล่านั้นจนจำนวนลดน้อยร่อยหรอลง จะด้วยความโลภของผู้มีอำนาจ หรือความเลวร้ายของทุนนิยมก็ตามแต่

แต่เปล่าเลย สาเหตุของการสูญพันธุ์ของโลมาอิรวดีนั้นเริ่มต้นมาจากความตั้งใจจะพัฒนาการประมง รัฐตัดสินใจปิดทะเลสาบสงขลา ที่โดยธรรมชาติเชื่อมต่อกับทะเล และเป็นแหล่งน้ำกร่อย

"สมัยก่อนชาวประมงเขาทำการประมงในทะเลสาบเดิม จะเป็นกลุ่มปลาที่ขนาดไม่ใหญ่ เลยไม่ได้มีปัญหามาก แต่กลับต้องมีปัญหาเพราะการพัฒนาของเรา ที่ร้ายที่สุดคือการเอาปลาบึกมาปล่อย เราคงรู้กันดีว่า มันมาจากแม่น้ำโขง ด้วยความหวังดีก็เอามาปล่อยที่ทะเลสาบสงขลา คนที่ปล่อยไม่ได้นึกว่าทะเลสาบสงขลามีโลมา

ตั้งแต่นั้นมา ปี 2550 พบซากโลมาเกยตื้น เฉพาะที่พบ สิบกว่าตัวขึ้นไป เพราะว่าปลามันเริ่มโต ชาวประมงก็เริ่มจับได้ ชาวประมงต้องใช้อวนที่ใหญ่ เพราะการจะจับปลาบึกตัวใหญ่ อวนมันก็ต้องใหญ่ขึ้น เลยเป็นอวนขนาดเดียวกับที่จะจับโลมาได้นั่นเอง จนโลมาเสียชีวิตจากการติดอวน คาดว่าน่าจะ 60-70 เปอร์เซ็นต์"

หากการพัฒนานั้นขาดความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม ก็น่าเสียดายถ้าผลลัพธ์จะกลายเป็นการทำลายเพื่อนร่วมโลก


2. โรคระบาดอาจไม่มีจุดสิ้นสุดอีกต่อไป

ก่อนอื่น เราอาจต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ความแตกต่างของโลมาอิรวดีกับโลมาปกตินั้นเป็นอย่างไร

?โลมา 14 ตัวที่เราจะพูดถึงคือโลมาอิรวดี เมื่อพูดว่าโลมาอิรวดีเฉยๆ คนอาจจะคิดว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไป แต่ 14 ตัวนี้แตกต่างออกไปเพราะมันอยู่ในทะเลสาบปิด การตายของแต่ละตัวมีผลสูงกว่า?

แล้วผลที่ว่าคืออะไร

"คำตอบที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สุดคือ โลมาเป็น Top Predator เวลามันจะหาเหยื่อ ก็ต้องหาเหยื่อที่กินได้ง่ายๆ ซึ่งก็คือเหยื่อที่ป่วย สมมติมีโรคบางอย่างระบาดในแหล่งน้ำ พอปลาเหล่านี้ป่วยมันก็จะหลบหนีปลาผู้ล่าไม่ค่อยได้ เพราะฉะนั้นการกินปลาตัวนี้คือการหยุดวัฏจักรของการแพร่เชื้อ จุดนี้เป็นสิ่งที่อาจารย์ ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ตอบในหนังและเป็นวิทยาศาสตร์ที่สุด ฉะนั้นแทนที่มันจะระบาด โรคก็ถูกระงับ"

ไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม เราก็พอต่อชิ้นส่วนจิ๊กซอว์ต่อไปได้ว่า หากผู้ล่าอย่างโลมาอิรวดีหายไป นั่นหมายถึงการแพร่ของโรคระบาดที่ไร้การระงับ และอาจลุกลามเป็นปัญหาที่ใหญ่โตกว่านั้นอีกหลายเท่าตัว


3. เรื่องมันเศร้า ก็เรามันเป็นแค่โลมา

การที่โลมาอิรวดีจะหายไป สักวันหนึ่งอาจเป็นเรื่องน่าเศร้า แต่สำหรับเรา สิ่งที่น่าเศร้ากว่าคือการหายไปของสัตว์ชนิดนี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้มีอำนาจหรือใครก็ตามที่มีส่วนต่อการตัดสินใจที่จะปกป้องพวกมันได้ กลับไม่ได้มองว่าการใกล้สูญพันธ์ุของมันเป็นปัญหา

"โลมา 14 ตัวช่วยทำให้ผมเห็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้น" แดงกล่าว

"เรายังมองไม่เห็นการพลิกเพื่อเปลี่ยนแปลงของคนที่เข้าใจเรื่องนี้จริงๆ ถ้า 14 ตัวนี้รัฐยังไม่เดือดร้อน มันต้องให้ลดลงไปถึงขนาดไหนถึงจะเดือดร้อ"

"ถ้าทุกคนตื่นตัวตั้งแต่แรก ปัญหานี้ก็จะแก้ไขไปได้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้หรือเปล่า

เราอาจจะต้องการคนที่อยู่ในจุดสูงสุดจริงๆ การที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกระทรวงเกรด C ก็สะท้อนให้เห็นแล้วว่าคุณมองเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นแค่เกรด C ถ้านับเทรนด์ปัจจุบัน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องเป็นกระทรวงเกรด A หรือคนที่เข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่อย่างสมถะไปมั้ง"

เป็นเรื่องน่าเศร้า เพราะประเทศเรามีเงินทุนที่พร้อมจะลงทุนกับเรื่องบางเรื่องเป็นร้อยล้านพันล้าน แต่เรื่องที่ต้องการเม็ดเงินเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจริงๆ กลับแทบไม่มีงบประมาณ หรือหากกระเด็นไปถึงก็ต้องผ่านชะแลงที่ชื่อว่าการคอร์รัปชันจนเงินแก้ไขปัญหาจริงๆ แทบไม่มีเหลือ

ก็อาจจะเป็นเพราะว่าสิ่งแวดล้อมหรือการอนุรักษ์ชีวิตหนึ่งๆ มันไม่สร้างกำไร

"เพราะการเมืองเป็นเรื่องของการโหวต โลมามันโหวตได้มั้ยล่ะ โชคร้ายที่โลมามันโหวตไม่ได้" แดงกล่าวปิดท้าย

น่าเสียดายที่โลมาเหล่านี้ไม่อาจส่งเสียงขอความช่วยเหลือ ขอความเห็นใจ หรือเรียกร้องกับผู้มีอำนาจได้

แต่พวกเราสามารถเป็นกระบอกเสียงให้กับพวกเขาได้

ไม่เช่นนั้นแล้ว การค่อยๆ หายไปของโลมาอิรวดี อาจชี้วัดได้ว่าโลกเสื่อมโทรมอย่างไม่มีวันหวนกลับ


https://plus.thairath.co.th/topic/naturematter/103993#aWQ9NjI2NzczNmExNGY1MTkwMDEyMzRkYWRmJnBvcz0wJnJ1bGU9MA==

สายน้ำ
15-12-2023, 03:04
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ทรายดูด เกิดจากอะไร มีวิธีป้องกัน และเอาตัวรอดอย่างไร

ทรายดูด เป็นอนุภาคหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ ที่สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ และเป็นเรื่องไม่ไกลตัว หากพบเจอทรายดูดควรทำอย่างไรบ้างเบื้องต้น และสามารถมีวิธีป้องกัน และเอาตัวรอดอย่างไร

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Thairath_03.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Thairath_03.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

ทรายดูด (Quick Sand) เกิดจากส่วนประกอบสำคัญทางธรรมชาติทั้ง 4 บนผิวดินได้แก่ ทราย น้ำ โคลน และเกลือ เป็นส่วนผสม ซึ่งหากอยู่ในสภาวะปกติ สภาพพื้นดินเหล่านี้จะกลายเป็นของแข็งอย่างสมบูรณ์ แต่หากถูกรบกวน เช่น การเหยียบ หรือมีอะไรตกกระทบลงไป ก็จะกลายเป็นของเหลวที่สามารถดูดสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ลงไปได้เช่นกัน

ข้อมูลจาก คลังความรู้ กล่าวว่า มีการวัดแรงหนืด ความต้านทานของการไหล และความสามารถในการจมของทรายดูด พบว่าหากเราตกหรือจมลงไปในทรายดูด ก็จะจมไปได้เพียงประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้น แม้ว่าคนที่ตกลงไปจะไม่รู้จักวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องก็ตาม เพียงแต่ต้องมีสติและไม่ขยับตัว

เมื่อถึงจุดหนึ่งจะไม่สามารถจมลงได้อีก เพราะร่างกายของเรามีความหนาแน่นเฉลี่ย 1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ขณะที่บ่อทรายดูดมีความหนาแน่นมากกว่า คือประมาณ 2 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร นั่นก็หมายความว่าคนเราสามารถลอยอยู่เหนือทรายดูดได้ดีกว่าน้ำ ทำให้การปล่อยตัวนิ่งๆ ความหนาแน่นของร่างกายจะมีค่าน้อยกว่าความหนาแน่นของบ่อทราย ทำให้ร่างกายเราลอยขึ้นได้เอง

นอกจากนี้หากเกิดการตกใจหรือการดิ้น ก็จะทำให้ร่างกายของเราร่วงหล่นลงไปในทรายดูดนี้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และตกลงไปในความลึกที่มากกว่าเดิมอีกเพราะสุญญากาศ หนึ่งสิ่งที่น่าสนใจ คือ บุคคลที่จมลงไปในทรายดูด ส่วนใหญ่เป็นการใช้พลังงานของตนเองจนหมดแรงจากการดิ้นเสียส่วนใหญ่ ก่อนที่จะจมลงไปจนมิดตัว และขาดอากาศหายใจ


วิธีป้องกันทรายดูด

- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่เป็นบ่อเกิดของทรายดูด เช่น ริมทะเล ริมทะเลสาบ ชายหาด ริมตลิ่ง หนองบึง และที่มีโคลนและทรายชุ่มน้ำที่เปียกแฉะ

- ตั้งสติ ทำตัวให้นิ่งที่สุด ห้ามตื่นตระหนกตกใจ

- เงยศีรษะขึ้นฟ้า นอนหงาย เหมือนนอนเล่นบนที่นอน หรือทำตัวให้กว้างในแนวขวางเหมือนว่ายน้ำ

- เลื่อนตัวอย่างช้าๆ เพื่อทำให้เกิดสุญญากาศน้อยที่สุด ป้องกันไม่ให้ตัวเราตกลงไปลึกกว่าเดิม

- หาวัตถุที่สามารถยึดร่างกายเราได้

- ค่อยๆ เลื่อนร่างกายขึ้นมาอย่างช้าๆ พร้อมกับส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ


https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2747391


******************************************************************************************************


IUCN เผย "บัญชีแดง" ฉบับใหม่ ชี้สัตว์ 44,000 ชนิดกำลังเสี่ยงสูญพันธุ์

องค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติ IUCN เผยแพร่รายงานสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ฉบับใหม่ ซึ่งพบว่าจำนวนสัตว์ในรายการเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 44,000 ชนิดแล้ว โดยบางส่วนได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Thairath_04.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Thairath_04.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) เผยแพร่รายการสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ หรือ "บัญชีแดง" ฉบับใหม่ ออกมาแล้ว โดยระบุว่า สัตว์จำนวนมากกว่า 44,000 ชนิดทั่วโลก กำลังเสี่ยงสูญพันธุ์ โดยที่สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากภาวะความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

นี่นับเป็นครั้งแรกที่บัญชีแดงของ IUCN ถูกเผยแพร่ออกมาที่การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ หรือ COP ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 28 ที่นครดูไบ และเพิ่งสิ้นสุดลงไปเมื่อวันพุธที่ 13 ธ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อเตือนเหล่าผู้นำโลกถึงความเสียหายจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อสัตว์ป่า

IUCN ระบุว่า ภาวะความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนั้น กำลังเป็นภัยต่อความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลกของเรา ซึ่งบัญชีแดงฉบับล่าสุดมีการประเมินสิ่งมีชีวิตทั้งหมด 157,190 ชนิด และพบว่า 44,016 ชนิดในจำนวนนี้เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์แล้ว

นอกจากนั้น นี่ยังเป็นครั้งแรกที่บัญชีแดงของ IUCN มีการประเมินสถานะของปลาน้ำจืดทั่วโลก โดยพวกเขาตรวจสอบปลาเกือบ 15,000 ชนิด และพบว่า ราว 1 ใน 4 ของจำนวนนี้เสี่ยงสูญพันธุ์ และเกือบ 1 ใน 5 ของปลาที่เสี่ยงสูญพันธุ์ ได้รับผลกระทบจากภาวะความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

ดร.แคเธอรีน เซเยอร์ นักวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพของปลาน้ำจืดของ IUCN กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศสร้างสภาวะที่ทำให้ระดับน้ำจืดลดลงสวนทางกับน้ำทะเลที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้น้ำทะเลรุกล้ำพื้นที่แม่น้ำ และเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของมัน นอกจากนั้นยังอาจมาพร้อมกับปัญหาอื่นๆ อย่าง มลภาวะ ด้วย

ดร.เซเยอร์ระบุว่า ตอนนี้มีแหล่งกำเนิดอันตรายมากมายที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของสัตว์น้ำจืด "หนึ่งในนั้นคือความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล, การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ แต่ยังมีภัยอื่นๆ ที่มาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งภัยคุกคามสำคัญอีกอย่างต่อปลาน้ำจืดคือ มลภาวะ, เขื่อนกับการดึงน้ำไปใช้, สายพันธุ์รุกรานต่างถิ่น และการจับปลาที่มากเกินไป"

หนึ่งในสายพันธุ์ปลาน้ำจืดที่ถูกย้ายจาก สายพันธุ์ที่ "มีความเสี่ยงน้อยที่สุด" ไปเป็น "ใกล้เสี่ยงสูญพันธุ์" คือปลาซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายที่สุดในโลกอย่าง ปลาแซลมอนแอตแลนติก หรือ ซัลโม ซาลาร์ (Salmo salar) โดย IUCN ระบุว่า หลักฐานใหม่แสดงให้เห็นว่าประชากรทั่วโลกของมัน ลดลง 23% ระหว่างปี 2549-2563

"หนึ่งในผลกระทบที่ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศมีต่อแม่น้ำหรือสิ่งแวดล้อมทั้งหมดคือ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น และเรามักคิดเสมอว่าเป็นเกี่ยวกับอุณหภูมิในอากาศ แต่ก็เป็นความจริงเช่นกันที่อุณหภูมิของผืนน้ำ ไม่ว่าจะน้ำจืดหรือน้ำเค็ม ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย ปลาแซลมอนแอตแลนติกเป็นตัวอย่างสำคัญว่า ที่ใดที่อุณหภูมิน้ำเพิ่มขึ้น จะมีความเสี่ยงต่อสายพันธุ์ในนั้น เพราะมันลดความสามารถในการมีชีวิตอยู่และเจริญเติบโตของแซลมอนอายุน้อยและของไข่ ซึ่งหมายความว่า อัตราการมีชีวิตของมันไม่ได้เข้มแข็งเหมือนเดิมแล้ว"

ดร.เซเยอร์บอกด้วยว่า มลภาวะจากอุตสาหกรรมและการเกษตรและมีส่วนด้วย เช่น หากสารพิษจากการทำการเกษตรลงสู่น้ำ มันอาจเปลี่ยนระดับของสารอาหารในน้ำ ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อย่างปรากฏการณ์ สาหร่ายสะพรั่ง (eutrophication) ซึ่งทำให้สาหร่ายเติบโตในปริมาณที่มากเกินไป หรือมลภาวะจากสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลงหรือสารกำจัดวัชพืช ส่วนผลกระทบจากอุตสาหกรรมก็อาจเป็นของเสียจากการทำเหมือง

คำเตือนที่มาพร้อมกับบัญชีแดงของ IUCN มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจที่การประชุม COP28 มีความเคลื่อนไหว แต่รายงานก็มีข่าวเรื่องโครงการที่ประสบความสำเร็จ และหักล้างความเสียหายที่เกิดกับความหลากหลายทางชีวภาพได้ด้วย

ดร.เครก ฮิลตัน-เทย์เลอร์ หัวหน้าทีมนักวิจัยผู้เขียนรายงานบัญชีแดง กล่าวว่า "บัญชีแดงไม่ได้อัปเดตแต่ข่าวร้าย มันยังมีข่าวดีๆ ที่แสดงให้เห็นว่า เราทำสิ่งที่ถูกต้อง, แสดงให้เห็นว่า การอนุรักษ์สามารถประสบความสำเร็จได้ และเราสามารถสร้างความแตกต่าง และนำสายพันธุ์ต่างๆ กลับมา และช่วยพวกมันให้รอดจากการสูญพันธุ์"

หนึ่งในความสำเร็จใหญ่ที่สุดคือ โครงการฟื้นฟูกวางออริกซ์เขาดาบโค้ง (Scimitar-horned oryx) ที่เคยอาศัยอยู่มากมายในภูมิภาคซาเฮล ในอเมริกาเหนือ แต่ถูกกำจัดจนหมดสิ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 90 โดยถึงแม้ว่าพวกมันจะยังไม่แพร่หลายเหมือนเดิม แต่จำนวนของพวกมันก็กำลังเพิ่มขึ้น

"เมื่อปีก่อน มีกวางน้อยเกิดใหม่มากกว่า 200 ตัว จึงดูมีความหวังมากว่าสัตว์สายพันธุ์นี้จะกลับมาได้สำเร็จ พวกมันเคยถูกขึ้นบัญชีว่าเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์จากธรรมชาติ แต่ตอนนี้ถูกจัดเป็นสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์แล้ว"

นอกจากนั้น ยังมีข่าวดีจากคาซัคสถาน, มองโกเลีย และอุซเบกิสถาน เมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถฟื้นฟูประชากรกวางแอนทีโลปสายพันธุ์ ไซกะ และสายพันธ์อื่นๆ กลับมาได้ หลังจากพวกมันได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการล่าสัตว์ จนจำนวนลดลงอย่างมาก และยังเสี่ยงต่อโรคภัยที่มักจะเชื่อมโยงกับภาวะความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศด้วย

"จนถึงปี 2565 มีประชากรพวกมันในธรรมชาติราว 1.3 ล้านตัว และบางทีในปีนี้อาจเพิ่มจนเกินกว่า 2 ล้านตัว" ดร.ฮิลตัน-เทย์เลอร์ กล่าว


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2747737

สายน้ำ
15-12-2023, 03:06
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


สุดระทึก! นศ.หนุ่มถ่ายวิดีโอนาทีหนีตายขณะฉลามขย้ำขาตัวเอง หวังให้เป็น "คลิปสั่งลา"

หนุ่มอิตาลีวัย 20 ปี ผู้เคราะห์ร้าย เจอฉลามพุ่งเข้างับที่ขาทั้งสองข้าง ระหว่างดำน้ำที่ชายหาดในออสเตรเลีย แต่ยังมีสติพอที่จะถ่ายคลิปวิดีโอเอาไว้ ทั้งที่คิดว่าตัวเองอาจจะไม่รอดชีวิต

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Dailynews_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Dailynews_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว มัตเตโอ มาริออตติ นักศึกษาหนุ่มวัย 20 ปี จากเมืองปาร์มา ประเทศอิตาลี ได้บันทึกภาพ ?นาทีชีวิต? ของตัวเอง ขณะที่โดนฉลามขย้ำขาระหว่างที่ลงดำน้ำในทะเลนอกชายหาดแห่งหนึ่ง ในรัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย และนำไปโพสต์บนอินสตาแกรมของเขา ซึ่งไม่นานก็กลายเป็นคลิปไวรัล เพราะความสยดสยองที่ปรากฏในคลิป

ขณะเกิดเหตุ มาริออตติ เล่าว่า เขากำลังดำน้ำแบบสนอร์เกิลที่ชายหาดทางใต้ของเมืองแกลดสโตน รัฐควีนส์แลนด์ เพื่อคลายเครียด หลังจากที่ได้รับข่าวการเสียชีวิตของคุณปู่ของเขา โดยเขานำกล้องติดตัวไปด้วยเพื่อถ่ายคลิปปลาทะเล

มัตเตโอ มาริออตติ นักศึกษาหนุ่มชาวอิตาลี ผู้ตกเป็นเหยื่อของฉลามร้ายและเกือบเอาชีวิตไม่รอด

นักศึกษาหนุ่มซึ่งเดินทางมาศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลถึงออสเตรเลีย เล่าว่า เขาแค่อยากออกไปว่ายน้ำในทะเลที่อยู่ไม่ห่างจากชายหาดมากนัก แต่พอลงน้ำไปไม่เท่าไหร่ เขาก็รู้สึกเจ็บที่เท้า?

ปรากฏว่านั่นคือช่วงเวลาเริ่มต้นของการจู่โจมอย่างดุเดือดจากฉลามร้าย มันพุ่งเข้าขย้ำขาของ มาริออตติ ไว้ทั้งขา และพยายามลากเขาออกไปในทะเลลึก

มาริออตติ สู้สุดชีวิต เขาพยายามถ่างปากของฉลามออก เพื่อเอาขาตัวเองออกมา แม้ว่าเขาจะรู้สึกว่าขาของตัวเองในบริเวณใต้หัวเข่าลงไปนั้น แทบไม่เหลืออะไรแล้ว จากนั้นเขาก็เริ่มว่ายน้ำเข้าหาฝั่งอย่างสุดแรง พร้อมกับพยายามถ่ายคลิปวิดีโอไปด้วย โดยให้เหตุผลว่า ?ผมอยากจะสั่งลาเอาไว้? เพราะไม่รู้ว่าตัวเองจะรอดชีวิตได้หรือไม่

แม้ว่าภาพที่เขาถ่ายจะไม่ได้มีความชัดเจนนัก เนื่องจากทุกอย่างเกิดขึ้นใต้น้ำ แต่ก็ให้ความรู้สึกระทึกขวัญอย่างมาก และเมื่อ มาริออตติ เริ่มเข้าใกล้ชายฝั่ง ก็เริ่มมองเห็นสีแดงของเลือดกระจายปะปนกับน้ำทะเลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

มาริออตติ เล่าว่า เขาร้องขอความช่วยเหลือจนสุดเสียง เพราะกลัวว่าฉลามจะได้ตัวเขาไป และเขาต้องกลายเป็นอาหารของมัน แต่สุดท้ายก็รอดมาได้ เพราะเพื่อนของเขา ทอมมาโซ อากอสติ ซึ่งอยู่บนชายหาดรีบวิ่งมาช่วยเขา

อากอสติ ซึ่งเป็นครูสอนดำน้ำ ปรากฏตัวในคลิปในเสื้อยืดและกางเกงขาสั้น พยายามอย่างสุดแรงที่จะลากตัวเพื่อนหนุ่มของเขาขึ้นจากน้ำ ขณะที่น้ำทะเลรอบตัวชายผู้เคราะห์ร้าย กลายเป็นสีแดงฉานของเลือดที่ไหลออกมา

ชุดดำน้ำของ มาริออตติ ขาดเป็นทางยาว แต่ยังพอจะมองเห็นว่าขาทั้งสองข้างของเขายังอยู่ครบ อากอสติ แบกร่างของ มาริออตติ ขึ้นบ่า พาไปยังเปลหามของทีมกู้ชีพ จากนั้นนักศึกษาหนุ่มก็ถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลในเมืองบริสเบนอย่างเร่งด่วนทางอากาศ

รายงานข่าวเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2566 ระบุว่า อาการของ มาริออตติ เริ่มทรงตัว แต่น่าเสียดายที่บาดแผลของเขาสาหัสจนทีมแพทย์สามารถรักษาขาของเขาเอาไว้ได้เพียงข้างเดียว และต้องตัดอีกข้างหนึ่งทิ้ง ตั้งแต่ใต้หัวเข่าลงมา?

ด้านคุณพ่อของนักศึกษาหนุ่มก็กำลังเดินทางมาเยี่ยมลูกชายที่ออสเตรเลีย และวางแผนจะพาเขากลับไปอิตาลี เมื่อชายหนุ่มอาการดีพอจะเดินทางได้ ขณะที่เพื่อน ๆ ของ มาริออตติ ก็เริ่มระดมทุนผ่านเว็บไซต์ GoFundMe เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลของเขา ซึ่งมีผู้บริจาคจนเกือบจะถึงจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.5 ล้านบาท) แล้ว

ที่มา : nypost.com, news.com.au.


https://www.dailynews.co.th/news/2992096/

สายน้ำ
15-12-2023, 03:13
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


"วาฬโอมูระ" โผล่หากินทะเลเกาะลันตาครั้งแรกในรอบหลายปี

กระบี่ - พบ "วาฬโอมูระ" ครั้งแรกในรอบหลายปีโผล่หากินทะเลลันตา ระบุการพบวาฬหายาก แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Mgr_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Mgr_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

วันนี้ (14 ธ.ค.) ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ ว่า พบวาฬโอมูระขนาดใหญ่ ความยาวกว่า 4 เมตร จำนวน 1 ตัว ว่ายน้ำหากินอยู่ระหว่างเกาะตุกนลิมา และเกาะลันตาใหญ่ ต.เกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา ขณะเดินทางกลับจากการปฏิบัติหน้าที่ โดย "วาฬโอมูระ" โผล่ขึ้นมาจากน้ำ 3 ครั้ง จากนั้นดำน้ำหายไป

สำหรับวาฬโอมูระ เป็นวาฬสายพันธุ์หายาก ที่มีความใกล้เคียงกับวาฬบรูด้า จึงมักถูกเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ และมีข้อมูลเกี่ยวกับวาฬชนิดนี้น้อยมาก

นายพันธ์พงศ์ คงแก้ว หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ กล่าวว่า เป็นการพบวาฬโอมูระครั้งแรกในรอบหลายปีที่เข้ามาหากินที่เกาะลันตา ซึ่งพบบ่อยครั้งที่อ่าวพังงา เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ทางธรรมชาติทางทะเลหมู่เกาะลันตา โดยวาฬโอมูระ ยังเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวนของประเทศไทย


https://mgronline.com/south/detail/9660000112111

สายน้ำ
15-12-2023, 03:16
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


เกือบได้ขึ้นสวรรค์! หนุ่มซื้อซูชิแถวบ้าน เจอคล้ายหมึกบลูริง ร้านแจงไม่ได้แล่เอง สับปนกันมา

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Khaosod_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_Khaosod_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

วันที่ 14 ธ.ค.66 สมาชิกเฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ภาพเตือนภัยลงในกลุ่ม "พวกเราคือผู้บริโภค" หลังไปซื้อซูชิจากร้านแห่งหนึ่งแถวบ้าน และไปเจอซูชิหน้าปลาหมึกที่ลักษณะคล้ายกับหมึกบลูริงที่มีพิษร้ายแรง โดยระบุข้อความว่า "อันนี้จากร้านซูชิแถวบ้านครับ ฝากเตือนกันด้วยนะครับ ค่อนข้างจะชัดว่าเป็นวงที่หนวด ไม่ใช่ที่โคนหนวดครับผม ยังไงถ้าไม่มั่นใจแนะนำว่าไม่ให้กิน ดีที่สุดครับ"

พร้อมกับโพสต์ภาพของซูชิหน้าปลาหมึกคำดังกล่าว โดยที่หนวกหมึกนั้นมีวงแหวนอยู่ทุกชิ้น ซึ่งลักษณะคล้ายกับหนวดของหมึกบลูริง และได้โพสต์ภาพเปรียบเทียบระหว่างหมึกบลูริง กับหมึกอิคคิว ซึ่งหมึกอิคคิวนั้นมีวงแหวนที่แก้มแค่ 1 วง กินได้ไม่เป็นอันตราย ส่วนหมึกบลูริงนั้นมีวงแหวนที่หนวดหลายจุด มีพิษร้ายแรง โดยผู้โพสต์บอกว่า "แจ้งทางร้านเรียบร้อยครับ ร้านขอโทษแล้ว คืนเงินมาแล้ว ร้านแจ้งว่าไม่ได้แล่เอง แต่ซื้อที่เค้าสับปนกันมาครับ"

สำหรับหมึกบลูริง จะมีลักษณะลำตัวขนาดเล็ก มีลายวงแหวนสีฟ้าสะท้อนแสงเล็กๆ กระจายอยู่ตามลำตัวและหนวด ตัวเต็มวัยมีขนาด 4-5 เซนติเมตร และหนวดยาวประมาณ 15 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามซอกหินและชอบหลบซ่อนตัวอยู่ในทรายใต้ท้องทะเล เคลื่อนที่โดยการใช้หนวดเดินจะไม่ใช้การพ่นน้ำเพื่อพุ่งตัวในการเคลื่อนที่เหมือนหมึกกล้วย

พิษของหมึกบลูริงหรือหมึกสายสีน้ำเงินมีชื่อว่า Maculotoxin (มาคูโลทอกซิน) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับพิษของปลาปักเป้าที่มีชื่อว่า Tetrodotoxin (เทโทรโดทอกซิน) สามารถพบพิษนี้ได้ในต่อมน้ำลาย (Salivary gland) ปาก หนวด ลำไส้ และต่อมหมึก พิษชนิดนี้จะทำลายระบบประสาททำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ และทำให้เหยื่อตายหรือเป็นอัมพาต ผู้ที่ถูกหมึกบลูริงกัดเปรียบเหมือนการฉีดยาพิษเข้าเส้นเลือดโดยตรง

โดยพิษจะออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว และเร็วกว่าพิษจากปลาปักเป้า อาการเริ่มแรกของผู้ที่ถูกกัดหรือกินหมึกบลูริงเข้าไปจะมีอาการคลื่นไส้ ตาพร่าเลือน มองไม่เห็น ประสาทสัมผัสไม่ทำงาน พูดหรือกลืนน้ำลายไม่ได้ จากนั้นจะเป็นอัมพาตและหยุดหายใจเนื่องจากสมองขาดออกซิเจน หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีจะทำให้ตายในที่สุด


https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8009629

สายน้ำ
15-12-2023, 03:19
ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก


อีก 20 ปี WHO ระบุ 'การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ' ทำคนตายทะลุ 2.5 แสนราย

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_KhomChudLuek_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/661215_KhomChudLuek_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

WHO ระบุ 'การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ' ภาวะอากาศสุดขั้วจะทำคนตายมากถึง 2.5 แสนคนในอีก 20 ปีข้างหน้า อากาศที่ร้อนขึ้นเพิ่มจำนวนแมลงที่เป็นพาหะนำโรคติดต่อให้มากขึ้น ผู้คนขาดแคลนอาหาร

องค์การอนามัยโลก (WHO)เผยแพร่บทความผลกระทบจากภาวะ "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ที่มีผลต่อมนุษยชาติ ธรรมชาติ รวมไปถึงอาหาร และระบบสาธารณะสุข โดยระบุว่า "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" กลายเป็นภัยคุกคามขั้นพื้นฐานต่อ ที่่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ทั้งทางด้านสภาพแวดล้อม และด้านกายภาพ รวมไปถึงสภาพสังคม เศรษฐกิจและการทำงานของระบบบสุขภาพ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศจะส่งผลต่อสภาพอากาศ การเกิดพายุบ่อยและรุนแรงมากขึ้น และสภาพอากาศที่ร้อนจัด น้ำท่วม ความแห้งแล้งและไฟป่า เหล่านี้จะกลับมาทำลายสุขภาพของประชากรมากเป็นทวีคูณ เพราะผลกระทบทั้งหมดที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีผลทั้งทางและทางอ้อม ที่จะช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต การเกิดโรคไม่ติดต่อ การแพร่กระจายของเชื้อโรคติดต่อ ส่งผลให้เกิดภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ

นอกจากนี้ยังมีผลต่อระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพ บุคคลกร ทำให้ความสามารถในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าลดลง (UHC) โดยพื้นฐานแล้ว "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม สุขภาพกายเท่านั้น แต่ปัญหาที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอาาศที่ส่งผลกระทบไปถึงความสะอาดของอากาศ น้ำ ดิน ระบบอาหาร และวิถีชีวิตของผู้คน ยังมีผลทำให้มีความเครียดเพิ่มขึ้น และกระทบต่อสุขภาพจิตด้วย ทั้งนี้ความล่าช้าในการจัดการปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เนินนานกว่าทศวรรษ รวมทั้งการฝ่าฝืนคำมั่นสัญญานานาประเทศให้ร่วมกันรับรองสิทธิมนุษยชนด้านสุขภาพ จะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพของทุกคนมากยิ่งขึ้น


"การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้คน 3.6 พันล้านคนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อ "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ระหว่างปี 2573-2593 มีความเสี่ยงที่จะมีคนล้มตายมากกว่า 250,000 รายต่อปี จากภาวะเผชิญกับภาวะโภชนาการไม่เพียงพอ มาลาเรีย ท้องร่วง และความเครียดจากอากาศที่ร้อนจัด

นอกจากนี้รายงานการประเมินจาคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) สรุปเอาไว้ว่า ความเสี่ยงและผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่าที่มีการคาดการไว้ ผู้คนจะปรับตัวได้ยากขึ้นเมื่ออุณหภูมิโลกร้อนขึ้น

รายงานยังระบุอีกว่าผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยโดยเฉพาะในประเทศรายได้น้อยและประเทศกำลังพัฒนา พื้นที่ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ซึ่งนับว่าเป็นพื้นที่ที่เปราะบางมาก แม้ว่าจะมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณน้อย ก็พื้นที่เหล่านี้ก็มีอัตราการเสียชีวิตจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วสูงกว่าประเทศที่เปราะบางน้อยกว่ามากถึง 15 เท่า

"การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" แบบสุดขั้วนำไปสู่การเจ็บป่วย เสียชีวิต บ่อยครั้งที่การเกิดคลื่นความร้อน พายุ น้ำท่วม ส่งผให้ระบบอาหารชะงักลง นอกจากนี้ยังส่งผลไปถึงการเพิ่มขึ้นของสัตว์ที่กลายเป็นพาหะนำโรค โดยพบว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นช่วยเพิ่มจำนวนแมลงซึ่งเป็นพาหะนำโรคได้มากยิ่งขึ้น โรคติดต่อและปัญหาสุขภาพจิตในทันที เช่นความวิตกกังวลและความเครียดต่อเหตการณ์สะเทือนใจและความผิดปกติระยะยาวอันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลัดถิ่น การทำงานร่วมกันทางสังคมที่จะต้องหยุดชะงักชั่วคราว

นอกจากนี้ "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ยังมีผลต่อสังคมในหลายประการ เช่น การดำรงชีวิต ความเท่าเทียมกัน การเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม ความเสี่ยงด้านสุขภาวะที่ไวต่อสภาพอากาศ โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อนโอกาส เด็ก ผู้หญิง ชนกลุ่มน้อย ชุมชนยากจน ผู้อพยพหรือพลัดถิ่น ผู้สูงวัย และคนทั่วไปที่มีสุขภาพปกติด้วย แม้ว่าผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศต่อมนุษย์จะยังไม่ชัดเจน และความแม่นยำในการทำนายด้านระบบสุขภาพยังคงเป็นเรื่องท้าทาย แต่ความหน้าทางวิทยาศาสตร์จะช่วยให้เราระบุ อัตราการเสียชีวิตแลเจ็บป่วยจากภาวะโลกร้อน ระบุความเสี่ยงและขนาดของภัยคุกคามด้านสุขภาพเหล่านี้ได้แม่นยำมากขึ้น

ข้อมูลของ WHO ระบุว่า ผู้คนกว่า 2,000 ล้านคนขาดแคลนน้ำดื่มที่สะอาด และกว่า 600 ล้านคนต้องทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยเพราะอาหารทุกปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เสียชีวิตจากอาหารมากถึง 30% สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากน้ำและอาหาร โดยในปี 2020ผู้คนจำนวน 770 ล้านคน ต้องเผชิญกับความหิวโหย โดยเฉพาะในพื้นที่แอฟริกาและเอเชียที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อวิกฤตการณ์ด้านอาหารและโภชนาการที่รุนแรงมากขึ้น

WHO คาดการณ์อย่างระมัดระวังว่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 250,000 รายต่อปีภายในช่วงปี 2030 เนื่องจาก "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ส่งผลกระทบต่อโรคต่างๆ เช่น มาลาเรีย และน้ำท่วมชายฝั่ง อย่างไรก็ตามความท้าทายในการสร้างแบบจำลองยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจับความเสี่ยง เช่น ความแห้งแล้งและความกดดันในการอพยพ

อย่างไรก็ตาม WHO แนะนำว่า เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบด้านสุขภาพ การป้องกันอัตราการเสียชีวิตนับล้านรายที่มีแนวโนมจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต เราทุกคนจะต้องกดอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไว้ที่ 1.5 องศา โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะในอดีตเราพบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอดีตทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นระดับหนึ่ง ทั้งนี้การเพิ่มระดับความร้อนทุกๆ 10 องศามีผลร้ายแรงต่อชีวิตและสุขภาพของคนเช่นกัน

ที่มา: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/climate-change-and-health


https://www.komchadluek.net/quality-life/environment/565400