PDA

View Full Version : สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567


เด็กน้อย
18-01-2024, 04:43
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนปกคลุมภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันปานกลางถึงมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง และการระบายของอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วน
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 18 - 21 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้ภาคเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคอื่นๆ ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนในวันที่ 22 - 23 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ในระยะแรก
ในช่วงวันที่ 17 - 18 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 23 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนลดลง อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง

เด็กน้อย
18-01-2024, 04:49
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์

ยันน้ำสีดำไหลลงทะเลหาดกะรนไม่ใช่น้ำเสีย ตรวจแล้วเล่นได้ เตรียมแผนป้องกันเกิดซ้ำ

https://mpics.mgronline.com/pics/Images/567000000506601.JPEG

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - นายกฯ เทศบาลกะรน จ.ภูเก็ต เผยน้ำสีดำไหลลงทะเลหาดกะรน ไม่ใช่น้ำเสีย เป็นแค่ตะกอนสีดำ ตรวจแล้ว เล่นน้ำได้ ขณะการแก้ปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำ เตรียมขุดหลุมดักตะกอนในคลอง ป่องกันน้ำลากลงทะเล

https://mpics.mgronline.com/pics/Images/567000000506602.JPEG

เรือเอกเจด็จ วิชรศรณ์ นายกเทศมนตรีตำบลกะรน กล่าวถึงการแก้ปัญหาหลังจากเพจขยะมรสุมได้มีการแพร่ภาพน้ำสีดำไหลลงทะเล บริเวณชายหาดกะรน จนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ ว่า หลังทราบเรื่องได้สั่งการให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าน้ำสีดำที่เห็นเป็นตะกอนท้องคลอง ไม่ใช่น้ำเสีย จากนั้นได้นำรถแบ็กโฮไปขุดลอกเอาตะกอนขึ้นมา พบว่าพื้นคลองและดินท้องคลองเป็นสีดำ

https://mpics.mgronline.com/pics/Images/567000000506604.JPEG

ส่วนการแก้ปัญหาจากนี้จะขุดหลุมดักตะกอนในลำคลองเป็นระยะทางประมาณ 800 เมตร จากบึงหนองหาน ไปถึงหน้าชายหาดกะรน และเมื่อมีตะกอนตกลงในหลุมจะดูดขึ้นมาก่อนเพื่อนำไปกำจัด เพื่อป้องกันไม่ให้ตะกอนไหลลงไปในทะเล และเกิดปัญหาขึ้นอีก

https://mpics.mgronline.com/pics/Images/567000000506603.JPEG

?ในเรื่องของน้ำเสียทางเทศบาลมีบริษัทที่ดูแลรับผิดชอบอยู่แล้ว และได้นำน้ำในบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งพบว่าบริเวณพื้นคลองเป็นตะกอนสีดำ ส่วนด้านบนเป็นน้ำใสไปทำการตรวจวัดค่าบีโอดี หรือค่าความสกปรก ปรากฏว่า ปกติไม่เกินกว่าค่าที่กำหนด และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่ลงเล่นน้ำในบริเวณดังกล่าว จึงขอให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่ติดตามข่าวสบายใจว่าน้ำบริเวณดังกล่าวไม่ใช่น้ำเสีย? เรือเอกเจด็จ กล่าว

ขณะที่ นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ได้รับรายงานจากเทศบาลตำบลกะรนแล้ว ทราบว่าบริเวณดังกล่าวเป็นลำคลองหรือทางน้ำไหลจากบึงหนองหานไหลลงทะเลที่มีตะกอนอยู่ด้านล่าง เวลาน้ำทะเลหนุนน้ำจะไหลเข้ามาในคลอง และเมื่อน้ำลงได้กวาดเอาตะกอนที่ท้องคลองลงไปด้วย จึงทำให้น้ำที่ไหลลงทะเลเป็นสีดำ

อย่างไรก็ตาม หลังเกิดเหตุบริษัทที่ดูแลน้ำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการตรวจค่าบีโอดี หรือค่าความสกปรก พบว่า ไม่เกินค่าปกติ และไม่ใช่น้ำเสีย ส่วนแนวทางแก้ไข ทราบว่าทางเทศบาลจะทำการขุดลอกลำคลองดังกล่าว รวมทั้งจัดทำบ่อพักเพื่อดักตะกอนเป็นระยะๆ เพื่อในช่วงที่น้ำทะเลหนุนขึ้นมาจะได้ไม่กวาดเอาตะกอนลงไปในทะเล

เด็กน้อย
18-01-2024, 04:58
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ

ฮือฮา พบหมึกยักษ์พันธุ์ใหม่ 4 ชนิด ใต้ทะเล 3,000 ม. นอกฝั่งคอสตาริกา

https://static.thairath.co.th/media/dFQROr7oWzulq5Fa5LFZrosASkIsvPOiXlT9s9dfh7RGlCPYQxq12HQhT3BRcbH4BH1.webp

ทีมสำรวจนานาชาติค้นพบหมึกยักษ์สายพันธุ์ใหม่อย่างน้อย 4 ชนิด ระหว่างการสำรวจใต้ทะเลลึกนอกชายฝั่งของประเทศคอสตาริกา

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 17 ม.ค. 2567 ว่า ทีมสำรวจของนักวิทยาศาสตร์จากนานาชาติ ค้นพบหมึกยักษ์ (octopus) สายพันธุ์ใหม่ 4 ชิดน บริเวณภูเขาใต้ทะเลในพื้นที่เล็กๆ ขนานประมาณ 100 ตารางไมล์ นอกชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ของประเทศคอสตาริกา

ทีมนักวิทยาศาสตร์พบแหล่งอนุบาลหมึกยักษ์ 2 แห่งเชื่อมต่อกันด้วยน้ำพุร้อนระหว่างการสำรวจครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2566 และในสถานที่ที่ห่างจากน้ำพุดังกล่าว ทีมสำรวจก็พบหมึกยักษ์สายพันธุ์ใหม่อีกหลายชนิด

?ตอนเรากลับไปเมื่อปีก่อน เราหวังว่าจะพบสถานที่นั้นอยู่ และเราพบมัน และเมื่อเราไปถึงที่นั่น ลูกหมักยักษ์ตัวหนึ่งก็ออกมา มันบ้ามากที่ได้เห็นสิ่งนั้น? นายฮอร์เก คอร์เตส-นูเญซ จากมหาวิทยาลัยแห่งคอสตาริกา กล่าว โดยเขากับ ดร.เบธ ออร์คัตต์ จากห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์มหาสมุทร ?บิเกโลว์? ในสหรัฐฯ เป็นผู้นำการสำรวจ

?ดูเหมือนว่า พวกมันเป็นหมึกยักษ์ 4 สายพันธุ์ใหม่ในพื้นที่นี้ ซึ่งไม่ใหญ่มาก ทำให้มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์? คอร์เตส-นูเญซกล่าว ?มันเป็นเรื่องคาดไม่ถึง ว่าจะค้นพบหมึกยักษ์หลายสายพันธุ์ขนาดนี้ ในพื้นที่เล็กๆ นั้น ทั้งในครั้งแรกและครั้งที่ 2 ที่ความลึก 3,000 ม. ซึ่งลึกมาก และตอนนี้เราอาจมีหมึกยักษ์พันธุ์ใหม่ 4 สายพันธุ์แล้ว?

?นอกจากนั้น เรายังพบระหว่างควบคุมโดรนใต้น้ำขึ้นลงมหาสมุทร ว่ามีหมึกยักษ์สายพันธุ์อื่นๆ ในห้วงน้ำ (water column) แถบนั้นด้วย? นายคอร์เตส-นูเญซ ระบุ

หนึ่งหมึกยักษ์สายพันธุ์ใหม่ที่พบ อยู่ในตระกูล ?มุสออกโทปุส? (Muusoctopus) ซึ่งเป็นตระกูลของหมึกยักษ์ที่พบได้ทั่วโลก โดยจะได้รับการตั้งชื่อว่า ?โดราโด ออกโทปุส? (Dorado Octopus) ตามชื่อสถานที่ที่มีการค้นพบมัน ซึ่งเป็นชั้นหินที่โผล่พ้นผิวดินขึ้นมาและมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า ?เนิน เอล โดราโด? (El Dorado Hill)

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า หมึกยักษ์ตระกูลมุสออกโทปุสสายพันธุ์ใหม่นี้ กลายเป็นหลักฐานอีกชิ้นว่าพวกมัน วางไข่ในน้ำพุอ่อนบนพื้นผิวทะเล

ทั้งนี้ ทีมสำรวจเก็บตัวอย่างสายพันธุ์สัตว์ใต้ทะเลลึกได้มากกว่า 160 ชนิด ระหว่างการสำรวจในเดือนธันวาคม 2566

?การสำรวจนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อไปและศึกษาพวกมันและเก็บตัวอย่างพวกมัน และเรากำลังค้นพบว่าสัตว์สายพันธุ์ใหม่ มีไข่ที่สามารถอยู่รอดได้ และเรากำลังตรวจสอบเงื่อนไขในการดำรงชีวิตของพวกมัน ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องอุณหภูมิ แต่ยังนวมถึงเรื่องออกซิเจน และองค์ประกอบอื่นๆ ในน้ำ เรามีเครื่องมือและเก็บตัวอย่างน้ำนั้น แล้วนำไปเปรียบเทียบกับตัวอย่างจากจุดอื่นๆ ดังนั้น มันจะมีข้อมูลมากมาย จะต้องใช้เวลาหลายปีในการประมวลทุกอย่าง? นายคอร์เตส-นูเญซ อธิบาย

ตัวอย่างที่เก็บมาได้จะถูกส่งไปยังพิพิธภัณฑ์สัตววิทยา ในมหาวิทยาลัยแห่งคอสตาริกา ร่วมกับตัวอย่างอีกมากกว่า 150 ตัวอย่างที่เก็บมาได้ระหว่างการสำรวจในเดือนมิถุนายน

นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบแหล่งอนุบาลไข่สัตว์ทะเลลึกอยู่บนภูเขาใต้ทะเลอีกแห่งในทะเลคอสตาริกา โดยตั้งชื่อเล่นให้มันว่า ?สเกต พาร์ก? (Skate Park)

?นี่เป็นแรกผลักดันครั้งใหญ่แก่คอสตาริกาอย่างแท้จริง ให้พวกเขาได้รู้จักกับพื้นที่ใต้ทะเลลึก? นายคอร์เตส-นูเญซ กล่าว ?เรากำลังใช้ทุกสิ่งทุกอย่างจากการสำรวจครั้งก่อนๆ และโดยเฉพาะตอนนี้ เรากำลังใช้ทุกอย่างนั้นเพื่อส่งเสริมการคุ้มครองและอนุรักษ์พื้นที่ใต้ทะเลลึกเหล่านี้เ เราจึงกำลังผลักดันการออกกฎหมายต่างๆ เพื่อทำให้แน่ใจว่า เราปกป้องพื้นที่นี้ไว้?

เด็กน้อย
18-01-2024, 05:01
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด

ไอคิวทะลุฟ้า - ดวลไอเดียคนรุ่นใหม่ อนุรักษ์ท้องทะเลไทย

https://www.khaosod.co.th/wpapp/uploads/2024/01/IQ111.jpg

ด้วยเล็งเห็นศักยภาพและพลังความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. จัดการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ครั้งที่ 3 ภายใต้แนวคิด ?ทะเลเพื่อชีวิต? (Ocean for Life) เชิญชวนนิสิต นักศึกษาระดับ ปวส. ถึงปริญญาตรี ร่วมสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่า 900,000 บาท ภายใต้โครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 9

นายอัครพันธ์ ทวีศักดิ์ หรือ ไอซ์ บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตัวแทนทีม Green Grove รองชนะเลิศอันดับ 1 หัวข้อ Preserve ในการประกวดครั้งที่ 1 ปี 2564 จากผลงาน IMPOT ชุดปลูกโกงกางอัจฉริยะเพื่อฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างมีระบบ เล่าว่าได้แนวคิดมาจากถุงเพาะกล้าไม้พลาสติกที่ส่วนใหญ่ถูกทิ้งไว้หลังจากปลูกป่าชายเลนเสร็จ เป็นจุดเริ่มต้นของไอเดียที่อยากช่วยแก้ไขปัญหานี้ด้วยการให้คนที่ปลูกป่าชายเลนเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรที่ทุกคนสามารถช่วยทำให้เกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพียงเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาผลิตเป็นกระถางสำหรับบรรจุต้นไม้พร้อมปลูก เพื่อนำไปใช้แทนถุงพลาสติกแบบเดิม

https://www.khaosod.co.th/wpapp/uploads/2024/01/IQ555.jpg

ด้าน น.ส.อพินญา คงคาเพชร หรือ น้องตาล นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตัวแทนทีม Scraber ผู้ชนะเลิศ หัวข้อ Provide ในการประกวดครั้งที่ 1 ปี 2564 จากผลงาน The Automatic Warning of Crab Molting Detection by Application เล่าว่าความคิดแรกเริ่มต้องการช่วยเหลือธุรกิจของครอบครัวเพื่อนซึ่งทำฟาร์มปูนิ่ม แต่เมื่อส่งผลงานเข้าประกวดและได้รับรางวัลชนะเลิศ ทำให้ได้รับโอกาสที่ดีจาก ปตท.สผ. ต่อยอดผลงาน เนื่องจากปูนิ่มเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำเศรษฐกิจของชุมชนในจังหวัดสตูล สำหรับแอพพลิเคชั่นระบบการแจ้งเตือนการตรวจจับการลอกคราบปูที่คิดค้นขึ้นนั้น นำไปช่วยเหลือในการดูและจับการลอกคราบของปูด้วยตาเปล่าในช่วงกลางคืน เครื่องมือนี้ช่วยชุมชนประหยัดเวลา กำลังคน และบริหารจัดการฟาร์มได้สะดวกยิ่งขึ้น สามารถต่อยอดนำไปใช้กับปูชนิดอื่นๆ เพื่อขยายตลาดและสร้างรายได้ให้ชุมชนมากยิ่งขึ้น

https://www.khaosod.co.th/wpapp/uploads/2024/01/IQ444.jpg
กวินธิดา

ปิดท้ายที่ น.ส.กวินธิดา ปิ่นทอง หรือ น้องฟอร์แทรน นิสิตจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตัวแทนทีม Sea the Future ผู้ชนะเลิศหัวข้อ Provide ในการประกวดครั้งที่ 2 ปี 2565 จากผลงาน Fisherman?s Friend Application เชื่อมโยงเครือข่ายชาวประมงชายฝั่ง กล่าวเชิญชวนทุกคนส่งผลงานเข้ามาประกวดกันเยอะๆ ถึงแม้จะไม่ได้รับรางวัล แต่มั่นใจว่าทุกคนจะได้รับประสบการณ์ที่ดี ได้รับความรู้ คำแนะนำ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมากมาย สามารถนำไปต่อยอดไอเดียเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรทะเล