PDA

View Full Version : สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567


สายน้ำ
23-03-2024, 02:13
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นไว้ด้วย ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ยังคงมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมในบริเวณดังกล่าวมีกำลังอ่อนลง และการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 23 ? 25 มี.ค. 67 ความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ส่วนในวันที่ 26 ? 28 มี.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น โดยมีลักษณะของฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนไว้ด้วย ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 26 ? 28 มี.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นบางพื้นที่


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670323_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670323_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670323_Sat2.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670323_Sat2.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670323_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670323_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670323_Warning.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670323_Warning.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สายน้ำ
23-03-2024, 02:59
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


เผยผลศึกษาฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลคอยาวที่เก่าแก่

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670323_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670323_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

หลังการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก (Permian-Triassic) เมื่อ 252 ล้านปีก่อน สัตว์เลื้อยคลานชนิดใหม่มีความหลากหลายอย่างรวดเร็วทั้งบนบกและในน้ำในช่วงต้นยุคไทรแอสซิก รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานทะเลคอยาวกลุ่มแรกด้วย การพัฒนาทางชีววิทยาเชิงวิวัฒนาการที่ซับซ้อนเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร กลายเป็นหัวข้อสำคัญของการวิจัย และหนึ่งในหลักฐานที่นักบรรพชีวินวิทยาสนใจศึกษามาต่อเนื่องก็คือ Trachelosaurus fischeri สัตว์เลื้อยคลานทางทะเลที่ถูกค้นพบในศตวรรษที่ 19 ที่แหล่งฟอสซิลในเมืองแบรนบวร์ก อัน เดอ ซาล ในเยอรมนี

Trachelosaurus fischeri ได้รับการอธิบายครั้งแรกในปี พ.ศ.2461 แต่ยังคงมีข้อโต้แย้งว่าฟอสซิลนี้เป็นตัวแทนของสัตว์เลื้อยคลานชนิดใดกันแน่ เนื่องจากโครงกระดูกไม่สมบูรณ์และซากของมันก็กระจัดกระจายไปทั่วหินที่ซากมันถูกเก็บรักษาไว้ ล่าสุด ทีมนักบรรพชีวินวิทยานานาชาตินำโดยนักบรรพชีวินวิทยาจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติสตุตการ์ต ในเยอรมนี เผยว่าหลังตรวจสอบฟอสซิล Trachelosaurus fischeri และเปรียบเทียบโครงสร้างทางกายวิภาคกับฟอสซิลของ ไดโนเซฟาโลซอรัส (Dinocephalosaurus) สัตว์เลื้อยคลานทะเลที่คล้ายกันจากจีน

ทีมนักบรรพชีวินวิทยาเผยว่า โครงสร้างทางกายวิภาคบ่งชี้ว่า Trachelosaurus fischeri มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับไดโนเซฟาโลซอรัส และน่าจะเป็นฟอสซิลกลุ่มแรกของสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มนี้ที่ถูกพบนอกประเทศจีน ทั้งยังเป็นสัตว์เลื้อยคลานทะเลคอยาวที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เชื่อว่ามันถูกพัดพาไปในทะเลน้ำตื้นเมื่อ 247 ล้านปีก่อน.

Credit : Swiss Journal of Palaeontology (2024). DOI: 10.1186/s13358-024-00309-6


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2772072

สายน้ำ
23-03-2024, 03:03
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


ฝีมือมนุษย์ทิ้งขยะลงแม่น้ำ สร้างกองขยะท่วมชายฝั่งอินโดฯ


SHORT CUT

- ขยะซัดเข้าท่วมชายฝั่งอินโดนีเซีย ประเทศที่สร้างขยะพลาสติกมากที่สุดอีกหนึ่งประเทศของโลก

- ชายหาดของหมู่บ้านประมงทางตะวันตกของเกาะชวา กลายเป็นหนึ่งในชายหาดที่สกปรกที่สุด

- ชาวประมงทุกข์ระทม อาศัยอยู่ท่ามกลางขยะเกลื่อนหาด ที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ล้วนๆ เพผู้คนทิ้งขยะลงแม่น้ำ จนไหลมาสร้างภูเขาขยะที่ทะเล

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670323_Springnews_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670323_Springnews_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


จะรู้สึกแย่แค่ไหน หากเราตื่นมาเจอกับภูเขาขยะ เกลื่อนกลาดเต็มหน้าบ้าน แทนที่จะได้ชมวิวทะเล หาดทรายขาว น้ำใส ตามประสาคนมีบ้านริมทะเล

ความรู้สึกของชาวประมงในหมู่บ้านเตลัค ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดบันเต็น ทางตะวันตกของเกาะชวา คงจะแย่ไม่น้อย เมื่อชายหาดของพวกเขากลายมาเป็นหนึ่งในชายหาดที่สกปรกที่สุดของอินโดนีเซีย หลังพายุฝนทำให้เกิดคลื่นลมแรงในทะเล และคลื่นเหล่านั้นได้พัดพาเอาขยะจำนวนมากที่ลอยอยู่ในทะเลเข้าหาฝั่ง

หลายภูมิภาคที่ติดมหาสมุทรของประเทศอินโดนีเซียกำลังประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เพราะขยะที่ถูกทิ้งลงทะเล ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ แต่ขยะถูกคลื่นลมซัดเข้ากลับขึ้นชายฝั่ง จนสร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมทะเล

โซลิกาห์ แม่บ้านชาวอินโดนีเซีย อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้มานานถึง 40 ปีให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์สทั้งน้ำตา เธอชี้ไปที่ขยะเหล่านั้นซึ่งเกลื่อนชายหาด และบอกว่า เราไม่สามารถคาดเดาสภาพอากาศได้

"ขยะพวกนี้ เกิดจากการที่ภูเขาขยะพลาสติกมากมายล้นทะลักลงสู่แม่น้ำ จากแม่น้ำ พวกมันก็ล่องลอยลงสู่ทะเล แต่เมื่อคลื่นลมในทะเลพัดแรง ก็ทำให้ขยะเหล่านั้นกลับขึ้นสู่ฝั่งอีกครั้ง"

ฟิคริ จูฟรี ซึ่งทำหน้าที่นำชุมชนทำความสะอาดชายหาด สะท้อนปัญหาว่า ทุกๆปี ฝนและลมแรงได้พัดพาเอาขยะจากทะเลเข้าหาชายฝั่ง

ขยะที่พบเห็นมีตั้งแต่ซองขนม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือ แม้กระทั่งรองเท้าแตะ สิ่งเหล่านี้อยู่เกลื่อนชายหาด ขณะที่ชาวบ้านเองก็อาศัยอยู่ริมชายฝั่ง

เมื่อปีที่แล้ว มีนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมกลุ่มหนึ่งรวบรวมขยะพลาสติกที่ชายหาดหมู่บ้านเตลัคได้เป็นหลายตัน พวกเขาถ่ายวิดีโอเอาไว้ และวิดีโอเหล่านั้นก็กลายมาเป็นไวรัลบนติ๊กต่อกด้วย

ฝีมือมนุษย์ทิ้งขยะลงแม่น้ำ สร้างกองขยะท่วมชายฝั่งอินโดฯอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตขยะพลาสติกซึ่งในท้ายที่สุด มันจะไปจมอยู่ในทะเล มากที่สุดในโลก โดยข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกแห่งอินโดนีเซีย และ สำนักงานสถิติกลางคาดการณ์ว่า อินโดนีเซียสร้างขยะพลาสติกปีละราว 64 ล้านตัน และ ในจำนวนนี้ 3.2 ล้านตันจะกลายไปเป็นขยะในทะเลในท้ายที่สุด

สาเหตุเป็นเพราะว่า ชาวอินโดนีเซียนิยมใช้ถุงพลาสติก แม้กระทั่งเฟอร์นิเจอร์เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ก็ยังทำนิยมทำมาจากพลาสติกเพราะมีราคาถูก

ถึงแม้ว่าจะมีขยะมากมาย แต่สิ่งที่ชาวประมงท้องถิ่นเดือดร้อนที่สุด คือ ปัญหาสภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลกระทบต่อชีวิตพวกเขา จายาดี ชาวประมงวัย 33 ปีบอกว่า คลื่นลมแรงในช่วงเกิดฝนตกทำให้เขาไม่สามารถออกไปตกปลาได้ และ นั่นทำให้รายได้หดหาย ทั้งที่ในเดือนหน้า เขาและครอบครัวต้องเตรียมตัวเฉลิมฉลองเทศกาลสำคัญของชาวมุสลิม

ที่มา : Reuters


https://www.springnews.co.th/keep-the-world/environment/848813