PDA

View Full Version : สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2567


สายน้ำ
24-03-2024, 02:02
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดไว้ด้วย ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย

ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 24 ? 25 มี.ค. และ 28 ? 29 มี.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

ส่วนในวันที่ 26 ? 27 มี.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น
โดยมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนไว้ด้วย ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 26 ? 28 มี.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นบางพื้นที่


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670324_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670324_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670324_Sat2.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670324_Sat2.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670324_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670324_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สายน้ำ
24-03-2024, 02:28
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


นักวิทย์เผย อาร์กติกอาจปราศจากน้ำแข็งนานถึง 1 เดือนในช่วงฤดูร้อน ภายในช่วงกลางศตวรรษนี้ เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 10 ปี

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670324_Mgr_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670324_Mgr_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

นักวิทยาศาสตร์จาก University of Colorado Boulder ได้จัดทำรายงานวิเคราะห์จากผลการศึกษาในอดีตนานหลายทศวรรษ ในเรื่องการเกิดและละลายของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือหรือพื้นที่อาร์กติก ว่าจะมีการลดลงมากน้อยเท่าไหร่ในอนาคตที่สภาพภูมิอากาศกำลังแปรปรวน

การวิเคราะห์ได้ผลปรากฏว่า ภายในช่วงกลางศตวรรษนี้ พื้นที่อาร์กติกอาจปราศจากน้ำแข็งที่ลอยอยู่บนผิวมหาสมุทร นานประมาณ 1 เดือนต่อปี ในช่วงฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ ซึ่งเหตุการณ์นี้เร็วกว่าเดิมถึง 10 ปี จากที่เคยได้คาดการณ์

"ภาวะโลกร้อน" กำลังทวีความรุนแรงขึ้นในทุกปี อุณหภูมิได้ทำลายสถิติความร้อนอย่างต่อเนื่อง และหนึ่งในสัญญาณเตือนของวิกฤตโลกร้อน คือ น้ำในมหาสมุทรของโลกมีอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นทั่วโลก ทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ เช่น ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว พายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรง และหิมะและน้ำแข็งขั้วโลกละลายไวกว่าปกติ

"ปัจจุบันยังมีน้ำแข็งรอบมหาสมุทรอาร์กติก แต่เมื่อปราศจากน้ำแข็งเหล่านี้จะไม่มีน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือ และทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของมหาสมุทรอาร์กติก แต่จะเหลือน้ำแข็งในทะเลเฉพาะแถบชายฝั่งของกรีนแลนด์ และแถบหมู่เกาะในมหาสมุทรอาร์กติกของแคนาดา ซึ่งปรากฏการณ์นี้อาจเกิดได้เร็วขึ้นอีกนับสิบปี" ?.. Alexandra Jahn

นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัย Arctic and Alpine ได้อธิบาย


ก่อนหน้านี้เมื่อการศึกษาได้เผยว่า เดือนกันยายน 2023 น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกลดลงต่ำสุดทำสถิติ ลดลง 2.6 ล้านตารางกิโลเมตร เมื่อเทียบกับ เดือน กันยายน ปี 1979

ผลการวิเคราะห์นี้ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีน้ำแข็งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกอย่างสิ้นเชิง แต่คำว่า ?ปราศจากน้ำแข็ง? หมายถึงมีน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก น้อยกว่า 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่น้ำแข็ง 1 ตารางกิโลเมตร นี้ น้อยกว่า 1 ใน 5 ของพื้นที่น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกเมื่อทศวรรษที่ 1980 จากการข้อมูลที่บันทึกไว้

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : www.nature.com , www.researchgate.net FB : Environman


https://mgronline.com/science/detail/9670000025698

สายน้ำ
24-03-2024, 02:32
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


ฮีโร่กู้ทะเลเดือด! นักวิทย์ฯ ไทย เพาะปะการังในแล็บจนโต คืนชีวิตให้ท้องทะเล


SHORT CUT

- รู้หรือไม่ว่า? ปรากฏการณ์ปะการังปล่อยไข่และสเปิร์มจะเกิดขึ้นแค่เพียงหนึ่งครั้งในหนึ่งปีเท่านั้น โดยมีปัจจัยสำคัญ 3 สิ่งคือ พระจันทร์ อุณหภูมิน้ำ คลื่นลมและระดับน้ำทะเล

- นักวิจัยไทย เลือกเกาะมันสำหรับผสมพันธุ์ปะการัง เพราะเป็นสถานที่ที่มีแนวปะการังที่มีความหลากหลายมากที่สุดในประเทศ

- ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา แนวปะการังของไทยเกิดการฟอกขาวครั้งใหญ่ เป็นผลจากน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น แต่แนวปะการังก็ดีขึ้นหลังโครงการนี้เริ่มขึ้นในปี 2016

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670324_Springnews_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/670324_Springnews_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


พาติดตามภารกิจของคณะนักวิจัยจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ลงเก็บไข่และสเปริ์มของปะการัง พร้อมนำไปเพาะในห้องแล็บจนโตสมบูรณ์ และส่งกลับคืนสู่ท้องทะเลอีกครั้ง

ท่ามกลางวิกฤตปะการังที่หลายประเทศกำลังเผชิญในเวลานี้ เนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวหรือได้รับความเสียหาย แต่ยังโชคดีที่เรามีฮีโร่คอยดูแลสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลอยู่


ภารกิจกอบกู้ปะการังโดยฝีมือนักวิจัยไทย

ในค่ำคืนหนึ่งนอกชายฝั่งประเทศไทย เหล่านักประดาน้ำดำผุดดำว่ายลงไปเพื่อไปเก็บไข่และสเปิร์มปะการังขึ้นมา พวกเขานำสิ่งที่ได้ไปเพาะต่อในห้องแล็บทดลอง เพื่อหวังคืนชีวิตให้เหล่าปะการังอีกครั้ง

ปรากฏการณ์ปะการังปล่อยไข่และสเปิร์มจะเกิดขึ้นแค่เพียงหนึ่งครั้งในหนึ่งปีเท่านั้น โดยมีปัจจัยสำคัญ 3 สิ่งคือ พระจันทร์ อุณหภูมิน้ำ คลื่นลมและระดับน้ำทะเล

บรรดานักวิทยาศาสตร์จากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทยเฝ้ารอช่วงเวลานั้น พวกเขานำสเปิร์มและไข่ของปะการังขึ้นมาจากทะเล และนำกลับไปที่ห้องแล็บทดลองด้วย ก่อนที่จะเพาะเลี้ยงจนมันโตมากพอที่พวกเขาจะนำมันกลับคืนสู่ท้องทะเลอีกครั้ง

ธิติพร คณานุรักษ์ หนึ่งในนักชีววิทยาทางทะเลชาวไทยเปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์สว่า เธอตื่นเต้นมาก เพราะเป็นครั้งแรกที่ได้มาเห็น โดยไข่และสเปิร์มที่ได้จะต้องผสมกันทันทีเพื่อป้องกันการผสมพันธุ์เลือดชิด และจะต้องเกิดขึ้นภายใต้แสงสีแดง ซึ่งเลียนแบบแสงพระจันทร์

ความล่าช้าอาจนำไปสู่อัตราการปฏิสนธิที่ลดลง หลังจากนั้น 72 ชั่วโมง ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะถูกย้ายไปยังสถานที่ที่ให้พวกมันได้เจริญเติบโตต่อ


เกาะมันใน แหล่งแนวปะการังที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของไทย

ความพยายามผสมพันธุ์ปะการังนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฟื้นฟูที่ริเริ่มโดยรัฐบาลและบรรดานักวิทยาศาสตร์เมื่อปี 2016 ซึ่งในระยะแรกมีการทดลองที่เกาะมันใน สาเหตุที่บรรดานักวิทยาศาสตร์เลือกที่นี่ เพราะเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีแนวปะการังที่มีความหลากหลายมากที่สุดของประเทศ


สถานการณ์แนวปะการังของไทยเป็นยังไงบ้าง?

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งคาดการณ์ว่า มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของแนวปะการังในประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ฟอกขาวใหญ่ ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 2010 อันเป็นผลมาจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น

นับตั้งแต่โครงการนี้เริ่มขึ้น โคโลนีของปะการังหรือปะการังที่อยู่รวมกันกว่า 4,000 จุดได้รับการฟื้นฟูสภาพ

อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูปะการังยังนับว่าล่าช้า เนื่องจากตัวอ่อนปะการังจำเป็นต้องใช้เวลาในการเติบโตราว 3-5 ปีก่อนจะแข็งแรงมากพอที่จะย้ายกลับคืนสู่พื้นทะเลอีกครั้ง ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า อัตราการรอดชีวิตของปะการังที่โตในห้องแล็บ เมื่อกลับคืนสู่ทะเลอยู่ที่ราว 90 เปอร์เซ็นต์

ที่มาข้อมูลและภาพ: Reuters


https://www.springnews.co.th/keep-the-world/environment/848874