PDA

View Full Version : เกี่ยวกับ .... แผ่นดินไหว


สายน้ำ
05-03-2010, 08:39
เกิดอะไรขึ้นกับโลกเมื่อ “แผ่นดินไหว”

http://pics.manager.co.th/Images/553000003290403.JPEG
นักวิทยาศาสตร์วัดรอยแยกของน้ำแข็งเนื่องจากแผ่นดินไหวที่อลาสกา สหรัฐฯ เมื่อปี 2002 (USGS)

ยังไม่ทันพ้นไตรมาสแรกของปีเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้ทำให้พี่น้องร่วมโลกของเราทุกข์ยากกันไปแล้วถึง 2 ประเทศ อีกทั้งไทยเองยังเคยได้รับความเสียหายจากสึนามิอันเป็นผลกระทบจากแผ่นดินไหว ดังนั้นภัยพิบัติที่ดูไกลตัวอาจเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ไว้


เกิดอะไรขึ้นเมื่อมีแผ่นดินไหว?

โลกมีโครงสร้างเป็นชั้นๆคล้ายหัวหอม แบ่งออกเป็น 4 ชั้นหลักๆ คือ แกนโลกชั้นใน (outer inner) เป็นชั้นของแข็งหนา 1,200 กิโลเมตร แกนโลกชั้นนอก (outer core) เป็นชั้นของเหลวโลหะหนา 3,500 กิโลเมตร ชั้นเนื้อโลก (mantle) หนา 2,500 กิโลเมตร และ ชั้นเปลือกโลก (crust) หนา 80 กิโลเมตร ซึ่งแผ่นดินไหวจะเกิดที่ชั้นเปลือกโลก

ทั้งนี้ เปลือกโลกไม่ได้เชื่อมต่อเป็นแผ่นเดียว แต่เกิดจากหลายๆแผ่นมารวมกันเหมือนตัวต่อจิ๊กซอว์ที่ต่างเคลื่อนที่อย่างช้าๆ บริเวณเปลือกโลกมีลักษณะเป็นแผ่นๆ (plates) เรียกว่า "แผ่นเทคโทนิก" (Tectonic Plate) แต่ละแผ่นเคลื่อนตัวเฉลี่ย 10 เซ็นติเมตรต่อปี โดยแผ่นเหล่านี้เคลื่อนตามหินหลอมเหลวในเนื้อโลก เนื่องจากขอบแผ่นเปลือกโลกนั้นขรุขระ จึงมีแผ่นอยู่กับที่และมีแผ่นที่ยังคงเคลื่อนที่ได้ เมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ได้ไกลพอสมควร ขอบของแผ่นเปลือกโลกจะคลายออกจากรอยเลื่อน และทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น

ทั่วโลกมีแผ่นเปลือกโลกทั้งหมด 12 แผ่น แผ่นที่ใหญ่สุดคือ "ยูเรเซียน" (Eurasian) ซึ่งไทยตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกแผ่นนี้ และเป็นแผ่นที่อยู่ใกล้แผ่น "ออสเตรเลียน" (Australian) และแผ่น "ฟิลิปปิน" (Philippine) ส่วนแผ่นอื่นๆ ไล่จากทะเลแปซิกฟิกไปทางตะวันออก คือ "แปซิฟิก" (Pacific) ยวน เดอ ฟูกา (Juan de Fuca) นอร์ธ อเมริกา (North America) "แคริบเบียน" (Caribbean) "เซาธ์ อเมริกัน" (South American) "สโกเทีย" (Scotia) "แอฟริกา" (Africa) "อราเบียน" (Arbian) และ “อินเดียน” (Indian)

http://pics.manager.co.th/Images/553000003290406.JPEG
ภาพจำลองการสั่นไหวเนื่องจากคลื่นพี (USGS)

http://pics.manager.co.th/Images/553000003290405.JPEG
ภาพจำลองการสั่นไหวเนื่องจากคลื่นเอส (USGS)


หาจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวได้อย่างไร?

เมื่อ เกิดแผ่นดินไหวจะมีคลื่นแผ่นดิน 2 ชนิด คือ คลื่นปฐมภูมิ (primary) หรือคลื่นพี (P) และ คลื่นทุติยภูมิ (secondary) หรือคลื่นเอส (S) โดย คลื่นพีเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าคลื่นเอสมากและใช้เวลาเพียง 20 นาทีเคลื่อนที่ผ่านทุกส่วนของโลกจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง ส่วนคลื่นเอสไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านส่วนที่เป็นของเหลวได้และเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าคลื่นพีมาก

เปรียบคลื่นพีเหมือนฟ้าแลบ ที่เราจะเห็นก่อนได้ยินฟ้าร้องซึ่งเปรียบเหมือนคลื่นเอสที่ตามมาทีหลัง คลื่นพีจะมาถึงจุดที่เราอยู่ก่อนคลื่นเอส หากเราอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากๆ คลื่นทั้งสองจะมาถึงเราแทบพร้อมๆ กัน แต่หากอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวออกไป จะมีความแตกต่างของเวลาที่คลื่นทั้งสองเดินทางมาถึงจุดที่เรายืนอยู่

ทั้งนี้คลื่นพีเป็นคลื่นตามยาว (Longitudinal wave) เมื่ออนุภาคถูกกระทบจะเคลื่อนไปตามแนวที่คลื่นพุ่งไปและอยู่ในสภาพถูกอัดและขยาย ส่วนคลื่นเอสเป็นคลื่นตามขวาง (transverse wave) เมื่ออนุภาคถูกกระทบจะเคลื่อนที่ขึ้นลงในทิศตั้งฉากกับทิศที่คลื่นพุ่งไป ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้หลักการนี้ในการหาจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยเหนือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวขึ้นมาถึงผิวดินเรียกว่า จุดอิพิเซ็นเตอร์ (epicenter) และจุดที่อยู่ล่างศูนย์กลางแผ่นดินไหวลงไปเรียกว่า จุดไฮโปเซ็นเตอร์ (hypocenter)


เสียงครืนครางยาวหลังแผ่นดินไหว

หากเสียงจากคลื่นพีที่เกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหว สามารถหักเหขึ้นสู่อากาศ และมีระดับความถี่ที่มนุษย์สามารถได้ยินได้ เราจะได้ยินเป็นเสียงครืนครางยาว หากแต่ความจริงแล้วความถี่ของคลื่นพีส่วนใหญ่ต่ำกว่า20 เฮิรทซ์ ซึ่งหูของคนเราไม่สามารถรับฟังได้ เนื่องจากเราได้ยินเสียงในช่วงความถี่ระหว่าง 20-10,000 เฮิร์ทซ์เท่านั้น ส่วนเสียงครืนครางยาวที่ได้ยินระหว่างเกิดแผ่นดินไหวส่วนใหญ่ เกิดจากการเคลื่อนที่ของอาคารและสิ่งที่อยู่ภายใน

ทั้งนี้ประมาณว่า ในแต่ละปีทั่วโลกมีแผ่นดินไหวที่สามารถตรวจวัดได้ 500,000 ครั้ง โดยในจำนวนนั้น 100,000 ครั้งสามารถรับรู้ได้ และ 100 ครั้งก่อให้เกิดความเสียหาย โดยแผ่นดินไหวที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1556 ที่ตอนกลางของประเทศจีน ซึ่งแผ่นดินไหวได้เข้าทำลายบริเวณที่มีผู้คนอาศัยอยู่มากและส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในถ้ำที่สกัดขึ้นจากหินอ่อน ที่อยู่อาศัยจึงพังถล่มลงมาเนื่องจากแผ่นดินไหว และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 830,000 คน และในปี 1976 เกิดแผ่นดินที่จีนอีกครั้งและคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 250,000 คน

นอกจากนี้ หลังแผ่นดินไหวยังทำให้เกิดสึนามิได้ หากเกิดแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทร หรือแผ่่นดินเลื่อนเข้าไปแทนที่น้ำในมหาสมุทร (ซึ่งมักมีจุดเริ่มต้นจากการเกิดแผ่นดินไหว) แต่คลื่นสึนามินี้ต่างจากคลื่นทะเล (tidal wave) มาก แม้เป็นคลื่นจากน้ำทะเลเหมือนกัน เพราะคลื่นทะเลเป็นเพียงคลื่นเล็กๆที่เกิดเนื่องจากอันตรกริยาจากแรงดึงดูดระหว่างโลก ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์

ไม่เพียงแค่แผ่นดินไหวบนโลก แต่ดวงจันทร์มีปรากฏการณ์แผ่นดินไหวเช่นกัน เพียงแต่มีความถี่ในการเกิดน้อยกว่าบนโลกและมีความรุนแรงน้อยกว่า ซึ่ง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้สัมพันธ์กับแรงไทดัล (tidal) ที่แปรเปลี่ยนตามระยะทางระหว่างโลกและดวงจันทร์ อีกทั้งยังเกิดแผ่นดินไหวลึกลงไประหว่างใต้พื้นผิวและศูนย์กลางของดวงจันทร์

http://pics.manager.co.th/Images/553000003290404.JPEG
ภาพจำลองการเกิดแผ่นดินไหวที่ชิลีซึ่งทำให้เกิดสึนามิเมื่อปี 1960 (USGS)


เราทำนายการเกิดแผ่นดินไหวได้หรือยัง?

จิอัน ลิน (Jian Lin) นักธรณีวิทยาจากสถาบันมหาสมุทรศาสตร์วูดส์โฮล (Woods Hole Oceanographic Institution) ในแมสซาชูเสตต์ สหรัฐฯ กล่าวว่าแผ่นดินไหวที่ชิลีครั้งนี้อาจเป็นผลต่อเนื่องจากแผ่นดินไหวที่ชิลี เมื่อวันที่ 22 พ.ค.1960 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในโลก นับแต่มีการบันทึกมา โดยมีความรุนแรงถึง 9.5 ริกเตอร์

จนถึงทุกวันนี้เรายังไม่มีวิธีที่จะทำนายการเกิดแผ่นดินไหว แม้นักวิทยาศาสตร์จะพยายามหลายวิธีเพื่อหาทางทำนายการเกิดแผ่นดินไหว แต่ยังไม่เคยมีสักครั้งที่ประสบความสำเร็จ ทราบเพียงว่าบริเวณรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกนั้น อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ในอนาคต แต่ยังบอกไม่ได้ว่าเมื่อใดส่วนสภาพอากาศหรือสัตว์จะทำนายการเกิดแผ่นดินไหวได้หรือไม่นั้น ยังไม่มีความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ที่จะอธิบายเรื่องนี้ได้



จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 5 มีนาคม 2553

สายน้ำ
05-03-2010, 09:13
"แผ่นดินไหว" เพราะแกนโลกขยับมุมอยู่ตลอด

http://pics.manager.co.th/Images/553000003291001.JPEG
แกนหมุนของโลกทำมุมเอียงกับเส้นประซึ่งเป็นแกนตั้งฉากกับระนาบการโคจรอยู่ในช่วง 22.4-26.2 องศา

สำหรับแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดที่ชิลีเมื่อวัน ที่ 27 ก.พ. ได้สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินประชาชนจำนวนมาก ทั้งยังเกิดสึนามิที่คร่าชีวิตผู้คนไปไม่น้อย และภัยพิบัติครั้งนี้จัดเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงเป็นอันดับ 7 ของโลกนับแต่มีการบันทึกมา ด้วยความรุนแรง 8.8 ริกเตอร์

แผ่นดินไหวดังกล่าว ทำให้เวลาของโลกสั้นลง 1.26 ไมโครวินาที โดย 1 ไมโครวินาทีนั้นเท่ากับเวลา 1 ในล้านส่วนของวินาที ตามผลที่ได้จากการศึกษาแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ของนักวิทยาศาสตร์จากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ทั้งนี้เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลง “แกนรูปทรงของโลก” ที่เคลื่อนไปจากเดิม 8 เซนติเมตร

คำ ว่า “แกนโลก” นั้น นอกจากหมายถึง “แกนหมุน” ตรงใจกลางที่เอียงอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ซึ่งรู้จักกันดีแล้ว โลกยังมีอีกแกนที่อยู่รอบๆบริเวณที่มวลของโลกสมดุล เรียกว่า "แกนรูปทรงของโลก" (Earth's figure axis)

“แกนหมุน” วางแนวเหนือ-ใต้หมุนรอบวันด้วยความเร็ว 1,604 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ “แกนรูปทรงของโลก” ซึ่งเป็นแกนที่วางตัวบริเวณที่มวลของโลกสมดุล

จากการศึกษาล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์พบว่า แผ่นดินไหวทำให้สมดุลของแกนรูปทรงนี้เปลี่ยนไป และทำให้การหมุนของโลกเปลี่ยนแปลง คือเวลาหมุนรอบตัวเองสั้นลง ส่วนแกนโลกเหนือ-ใต้นั้นมีการเปลี่ยนแปลงความเอียงอยู่ระหว่าง 22.4-26.2 องศา ในช่วงเวลา 41,000 ปี

รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะแกนโลกมีการขยับตลอดเวลา ซึ่งทำให้เปลือกโลกต้องเปลี่ยนแปลงตามเพื่อปรับสมดุล คล้ายไข่ที่เหลือเพียงเปลือกนิ่มๆ เมื่อของเหลวภายในเคลื่อนที่เปลือกด้านนอกก็จะเปลี่ยนรูปตาม ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่จะเกิดแผ่นดินไหวบ่อยขึ้น

นอกจากนี้ ข้อมูลเก่าที่เรามีนั้นระบุว่าแกนโลกเอียง 23.5 องศา แต่ปัจจุบันเราทราบว่า แกนโลกมีการเปลี่ยนแปลงมุมอยู่ระหว่าง 22.4-26.2 องศา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงใน 1 รอบใช้เวลาประมาณ 41,000 ปี และนักธรณีวิทยาทราบว่าการเปลี่ยนแปลงของแกนโลกจะมีแนวโน้มเข้าสู่มุมเอียงน้อยลง (นั่นหมายความว่าโลกกำลังจะขยับตั้งขึ้นเรื่อยๆ)

ผลจากมุมเอียงที่น้อยลงทำให้บริเวณเขตร้อนทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ตามแนวเส้นศูนย์สูตรลดลง พื้นที่เขตหนาวและเขตอบอุ่นจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นแกนโลกที่เอียงทำมุมน้อยลงจะส่งให้โลกเย็นขึ้น หากแต่ รศ.ดร.ธนวัฒน์อธิบายว่าที่เรารู้สึกร้อนนั้นเป็นผลจากการกระทำของเราเอง ทั้งการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการสร้างก๊าซเรือนกระจก



จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 5 มีนาคม 2553

สายน้ำ
05-03-2010, 09:15
เอาตัวรอดจาก “แผ่นดินไหว”

http://pics.manager.co.th/Images/553000003290701.JPEG

ภาพสาธิตวิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยให้ก้มต่ำ หาที่กำบังและยึดไว้ให้แน่น (getthru.govt.nz)

เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวให้ตั้งสติ แล้วปฏิบัติตามวิธีป้องกันตัวเองจากอันตรายดังนี้

- หากอยู่ภายในอาคารให้หลบในที่ปลอดภัยและพยายามอยู่ในจุดของบ้านที่แข็งแรงที่สุด เช่น หลบอยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรงหรืออยู่ชิดผนังภายในบ้าน ทั้งนี้เพื่อป้องกันตัวเองจากวัตถุต่างๆ ที่จะหล่นมาทำร้าย เป็นต้น และพยายามหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้หน้าต่างกระจกบานใหญ่ บริเวณที่มีสิ่งของแขวนอยู่ เฟอร์นิเจอร์หนัก เครื่องใช้หนักๆ และบริเวณที่ติดไฟได้ง่าย

- หากกำลังทำอาหารให้ปิดเตาไฟและคลุมเตาไว้

- หากอยู่นอกอาคาร ให้มุ่งไปยังสถานที่โล่งแจ้ง ซึ่งไม่มีสิ่งของที่จะตกลงมาทำร้ายได้ และพยายามอยู่ให้ห่างจากอาคารสิ่งก่อสร้าง ท่อส่งเชื้อเพลิง และต้นไม้

- หากขับรถอยู่ ให้ชะลอความเร็วอย่างช้าๆ แล้วหยุดรถข้างถนน หลีกเลี่ยงการหยุดรถบนหรือใต้สะพานและทางด่วน และพยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นท่อส่งเชื้อเพลิง ต้นไม้และป้ายสัญญาณขนาดใหญ่ แล้วหลบอยู่ภายในรถ



จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 5 มีนาคม 2553

สายน้ำ
06-03-2010, 06:48
ระทึกโลกแผ่นดินไหวชิลี ล้มล้าง “ทฤษฎีสึนามิ” ไทยระวัง

http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2010/03/06/j5dhjbiaab5f5cddccibh.jpg

หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 9.1 ริกเตอร์ เมื่อปี 2547 ส่งผลให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิพัดเข้าชายฝั่งทะเลของ 15 ประเทศทั่วโลก จนมีผู้เสียชีวิตราว 2.3 แสนคน มีนักวิเคราะห์ด้านธรณีวิทยาและภัยพิบัติแผ่นดินไหวออกมาให้ข้อมูลว่า การเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาดนี้จะเกิดขึ้นตามรอบเวลาทุกๆ 500 ปี โดยวิเคราะห์จากสถิติที่บันทึกมาตั้งแต่อดีต ทำให้ผู้ที่ติดตามข่าวสารต่างมั่นใจว่า เหตุการณ์ลักษณะนี้จะยังไม่เกิดขึ้นอีกในช่วงอายุที่เหลือ

แต่เหตุแผ่นดินไหวขนาด 8.8 ริกเตอร์ที่เกิดขึ้นที่ประเทศชิลี เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา แม้มีรายงานผู้เสียชีวิตเพียงไม่กี่พันคน แต่แผ่นดินไหวครั้งนี้ได้ทำลายทฤษฎีของผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวทั่วโลก เนื่องจากปี พ.ศ.2503 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ชิลี ตอนนั้นนักวิเคราะห์ให้ความเห็นตรงกันว่า ต้องรออีกไม่ต่ำกว่า 500-1,000 ปี จะเกิดขึ้นอีกครั้ง แต่เวลาผ่านไปเพียง 50 ปี แผ่นดินก็ไหวอย่างรุนแรงในจุดเดิมอีกครั้ง

เมื่อทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ถูกล้มล้าง ทำให้เกรงกันว่าระยะเวลาของการเตือนภัยอาจใช้ไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "สึนามิ" ซึ่งเชื่อกันว่าจะเกิดทุก 500 ปี จากเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ อาจเกิดขึ้นอีกในเวลาใดก็ได้ต่อจากนี้ไป

ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต อธิบายว่า เมื่อปี พ.ศ.2503 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.5 ริกเตอร์ที่ชายฝั่งชิลี ถือเป็นระดับรุนแรงมากที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกสถิติแผ่นดินไหว ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิสูง ถึง 10 เมตร พัดข้ามทวีปไปถึงชายฝั่งญี่ปุ่น แต่โชคดีในอดีตชาวบ้านไม่นิยมอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไปเพียง 2,000 กว่าคน สาเหตุที่เกิดก็เพราะแผ่นเปลือกโลกนาซกา (NAZCA) มุดตัวลงไปในแผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้ที่ทับซ้อนกันระยะลึก 20 เมตร หลังจากนั้นนักวิชาการก็ออกมายืนยันว่า กว่าจะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงระดับนั้นในชิลีอีกครั้ง ก็ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 500 ปี เพราะแผ่นเปลือกโลกต้องใช้เวลาในการสะสมพลังครั้งใหม่

"ไม่น่าเชื่อว่าผ่านไปแค่ 50 ปีก็เกิดแผ่นดินไหวที่ชิลีอีกครั้ง โดยจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณแผ่นเปลือกโลกใกล้ที่เดิม นักวิชาการด้านนี้วิเคราะห์ว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะข้อมูลระบุว่ามีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกนาซกาแค่ 4 เมตรเท่านั้น แต่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวระดับ เกือบ 9 ริกเตอร์ จากเดิมที่คาดว่าใน 50 ปีมุดตัวไป 4 เมตร ถ้าจะมุดตัว 40 เมตร ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 400-500 ปี เพื่อเกิดพลังสะสมให้เกิดขนาด 8 ริกเตอร์ขึ้นไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเปลือกโลกมุดตัวซ้อนกันไม่ถึง 10 เมตร ก็ทำให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงและมีสึนามิแล้ว หมายความว่าสึนามิที่เกิดในภูเก็ตและพังงาอาจเกิดซ้ำอีกครั้งได้ในไม่กี่สิบปีนี้”

ดร.เสรี เล่าว่า เวลา 13.42 น. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ เกิดแผ่นดินไหวที่ชิลีผ่านไปเพียง 12 นาที มีรายงานอีเมลเตือนมายังศูนย์เตือนภัยในประเทศไทย ส่วนที่ชิลีนั้นคาดว่ามีการเตือนภัยเช่นกัน แต่คงอพยพผู้คนไม่ทัน...แผ่นดินไหวและสึนามิเป็น ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือการสร้างเครือข่ายส่งข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลจากทุ่นเตือนภัยที่อินเดีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ เพราะถ้ารู้เร็วก็จะเตรียมหนีได้เร็ว

"มีรายงานว่า แผ่นเปลือกโลกชื่อ "ฟิลิปปินส์" ขณะนี้มีการมุดตัวลึกถึง 38 เมตรแล้ว ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะดีดตัวกลายเป็นเแผ่นดินไหวและสึนามิขนาด ยักษ์หรือไม่ ระยะนี้หน่วยงานเตือนภัยของไทยต้องพยายามเชื่อมโยงข้อมูลกับฟิลิปปินส์ให้ดี เพราะไทยอยู่ห่างออกมาเพียง 2,000 กิโลเมตร คลื่นยักษ์สึนามิสามารถซัดเข้าชายฝั่งสงขลาได้ในเวลาประมาณ 14 ชั่วโมง" ดร.เสรี กล่าว

http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2010/03/06/8bkbh9hbi6gfbf9ckb5kc.jpg

อย่างไรก็ตามธรณีพิโรธที่ชิลีครั้งนี้ นอกจากทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวต้องพลิกทฤษฎีเรื่องรอบเวลาการเกิดสึนามิแล้ว ยังส่งผลกระทบสำคัญด้านอื่นคือ นักวิทยาศาสตร์จากนาซาได้สร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ว่า หลังเกิดแผ่นดินไหวที่ชิลีแล้ว “แกนรูปทรงของโลก” (Earth's figure axis) ได้เคลื่อนที่ไปประมาณ 8 เซนติเมตร ส่งผลให้เวลาของโลกหดสั้นลง 1.26 ไมโครวินาที ถ้าเปรียบเทียบกับแผ่นดินไหวเมื่อ ปี 2547 คราวนั้นทำให้แกนโลกขยับไปประมาณ 7 เซนติเมตรและเวลาสั้นลงถึง 6.8 โมโครวินาที...ฟังดูน่าตื่นเต้น หากไม่รู้ว่า 1 ไมโครวินาทีเท่ากับ 1 ในล้านส่วนของวินาที คงไม่มีใครรู้สึกอะไรถ้าเวลาในโลกจะสั้นลงแค่ 1 ในล้านของวินาที !?!

นายอารี สวัสดี นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย หนึ่งในกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิเคราะห์ว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่หลังแผ่นดินไหวรุนแรง จะทำให้แกนโลกสั่นหรือขยับตัว แต่ไม่ส่งผลให้เวลาบนโลกเปลี่ยนไป เสมือนกับการโยนก้อนหิน 1 ก้อน เข้าใส่ตึก 20 ชั้น ไม่มีใครรู้สึกอะไร

"แกนโลกปกติเอียงที่ 23 องศา 27 ลิปดา แผ่นดินไหวแต่ละครั้งไม่ได้ทำให้แกนโลกเปลี่ยนไป ในอดีตก็มีแผ่นดินไหวรุนแรงเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ยังไม่มีเครื่องมือตรวจจับแกนโลกได้ เมื่อเครื่องมือไฮเทคมากขึ้น การตรวจจับก็ละเอียดมากทำให้มีข้อมูลเหล่านี้ออกมา ถือเป็นรายงานทางวิชาการตามปกติ แต่มันเล็กน้อยมากๆจนแทบจะวัดไม่ได้ และสักพักแกนโลกจะขยับกลับเข้าที่เดิมตามธรรมชาติ ไม่ส่งผลกระทบให้ต้องปรับเวลา มนุษย์เพิ่งรู้จักตัวเองมาได้แค่ 5,000 ปี ขณะที่โลกเกิดมานานกว่า 6,000 ล้านปี เพราะฉะนั้นชั่วชีวิตของพวกเราคงไม่มีทางได้เห็นแกนโลกเอียงไปมากกว่า 23 องศา 27 ลิปดาอย่างแน่นอน" นายอารีกล่าวยืนยัน



จาก : คม ชัด ลึก วันที่ 6 มีนาคม 2553

สายน้ำ
08-03-2010, 08:09
'ธรณีพิโรธ' ชุดใหญ่! 'แกนโลกเอียง' ร้าย 'ไม่เท่าภัยมนุษย์'

http://www.dailynews.co.th/content/images/1003/8/3/sp300.jpg

ระยะนี้ “โลก” ดูจะ “พิโรธ” โกรธเกรี้ยวแรงๆ เป็นชุดๆ มีทั้งหนาวหนัก-หิมะตกหนัก ร้อนสาหัส-แล้งสาหัส และที่ยิ่งน่ากลัวเพราะส่งผลร้ายต่อมนุษย์แบบฉับพลัน คือ “แผ่นดินไหว” ซึ่งระยะนี้เกิดขึ้นในระดับรุนแรงเป็นระลอกในหลายๆประเทศ และยังส่งผลต่อเนื่องให้เกิดคลื่นยักษ์ “สึนามิ” อีกต่างหาก !!

เหตุแผ่นดินไหวรุนแรงนั้น ในปี 2553 นี้แค่ 2 เดือนเศษก็เกิดถี่ยิบ ไม่นับรวมที่เป็นอาฟเตอร์ช็อก ก็เกิดแล้วเกือบสิบครั้ง ในหลายประเทศ เช่น... 3 ม.ค. เกิดที่หมู่เกาะโซโลมอน รุนแรง 7.1 ริคเตอร์, 12 ม.ค. เกิดที่ประเทศเฮติ รุนแรง 7.0 ริคเตอร์, 1 ก.พ. เกิดที่ประเทศปาปัวนิวกินี รุนแรง 6.2 ริคเตอร์, 4 ก.พ. เกิดที่ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา รุนแรง 5.9 ริคเตอร์, 26 ก.พ. เกิดที่เมืองริวกิว ประเทศญี่ปุ่น รุนแรง 7.0 ริคเตอร์, 27 ก.พ. เกิดที่ประเทศชิลี รุนแรง 8.8 ริคเตอร์, 4 มี.ค. เกิดที่เกาะไต้หวัน รุนแรง 6.4 ริคเตอร์ และประเทศทางใต้ของประเทศไทยอย่างอินโดนีเซีย หรือฟิลิปปินส์ แผ่นดินก็ยังคงเขย่าน่ากลัวอยู่เนือง ๆ

แผ่นดินไหวรุนแรงแต่ละครั้งสร้างความเสียหายมาก

ในบางประเทศ “อาฟเตอร์ช็อก” ก็ยังรุนแรงมาก !!

ทั้งนี้ ว่ากันถึงระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว ถ้าเป็นระดับ 1-2.9 ริคเตอร์ ถือว่าเล็กน้อยมาก แค่บางคนอาจรู้สึกวิงเวียน, 3-3.9 ริคเตอร์ ก็ยังเล็กน้อย แต่คนที่อยู่ในอาคารจะรู้สึกว่าอาคารสั่นสะเทือน, 4-4.9 ริคเตอร์ ระดับปานกลาง คนทั้งในและนอกอาคารจะรู้สึกถึงการสั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว, 5-5.9 ริคเตอร์ เริ่มรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง ทำให้สิ่งของวัตถุเคลื่อนที่, 6-6.9 ริค เตอร์ นี่เริ่มรุนแรงมาก อาคารเสียหายพังทลาย, 7.0 ริคเตอร์ขึ้นไป ระดับนี้ยิ่งกว่าคำว่ารุนแรงมาก จะเกิดการสั่นสะเทือนอย่างร้ายแรง อาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆเสียหายอย่างรุนแรง วัตถุบนพื้นถึงขั้นถูกเหวี่ยงกระเด็นได้เลย แผ่นดินจะแยก

และระดับยิ่งกว่ารุนแรงมากนี้ยังอาจมีผลต่อทั้งโลก

สามารถมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง “แกนโลก-เวลา”

“แผ่นดินไหว 8.8 ริคเตอร์ ที่ชิลี ทำให้แกนโลกเอียงราว 8 ซม. ทำให้แกนโลกหมุนเร็วขึ้น และทำให้ใน 1 วันมีเวลาลดลงเฉลี่ย 1.26 ไมโครวินาที (1 ไมโครวินาทีเท่ากับ 1 ในล้านของวินาที) แผ่นดินไหวสามารถทำให้โลกหมุนเร็วขึ้นจากการดันมวลสารของโลกเขยิบใกล้แกนโลก และสามารถทำให้โลกหมุนช้าลงหากขยับมวลสารออกจากแกนโลก” ...นี่เป็นสรุปเนื้อหาข่าวเมื่อวันก่อน ซึ่งมีการอ้างอิงการเปิดเผยของนักวิทยาศาสตร์องค์การบริหารการบินและอวกาศของสหรัฐอเมริกาหรือนาซา

อย่างไรก็ตาม กับเรื่องนี้ ผศ.ดร.พรชัย พัชรินทร์ตนะกุล ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า... แกนโลกที่เปลี่ยนไป 8 ซม. ทำให้เวลาช้าลงกว่าเดิม 1.26 ไมโคร วินาทีนั้น ถือว่าเล็กน้อยมาก ซึ่งปกติแกนโลกก็ขยับตัวตลอดเวลาอยู่แล้ว โดยถ้าจะถึงกับเปลี่ยนทิศของโลกอย่างชัดเจน ต้องใช้เวลานับหมื่นๆปี เพราะขนาดความกว้างของโลกมีเส้นผ่าศูนย์กลางกว่า 10,000 กม.

“บริเวณทิศเหนือและทิศใต้ของโลกในปัจจุบันเมื่อหลายหมื่นปีมาแล้วก็เป็นเส้นศูนย์สูตรมาก่อน ซึ่งกว่าจะมาเป็นอย่างทุกวันนี้ต้องใช้เวลานานนับหมื่นปี และถ้าใครกลัวเรื่องวันสิ้นโลก ปี ค.ศ.2012 คงเป็นไปไม่ได้ โลกใบนี้จะยังคงหมุนไปในระบบสุริยจักรวาลอีกนานแสนนาน การขยับของแกนโลกแค่ 8 ซม. เวลาช้าลง 1 ในล้านวินาที ถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก” ...นักวิชาการระบุ

ขณะที่นักวิชาการภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกคนหนึ่ง คือ ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ ก็บอกว่า... แกนโลกเป็นส่วนประกอบ 1 ใน 3 ของโครงสร้างภายในโลก ถ้าเราผ่าครึ่งผลไม้เราจะเห็นส่วนประกอบภายใน 3 ส่วนคือ... 1.เปลือกผิวบาง ๆ, 2.เมล็ดที่อยู่แกนกลาง, 3.เนื้อผลไม้ ซึ่งก็เช่นกัน ถ้าผ่าครึ่งโลกได้ก็จะเห็น... 1.เปลือกโลกชั้นบางด้านนอกสุด, 2.แกนโลกขนาดใหญ่ที่อยู่ตรงแกนกลาง และ 3.ชั้นแมนเทิล ที่ประกอบเป็นเนื้อโลก ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้สำคัญไม่แตกต่าง-ไม่แยกจากกัน และที่เรียกว่า “แกนโลก” แท้จริงคือแกนสมมุติ เป็นโครงสร้างของโลกที่หมุนไปด้วยกัน

“ถ้าเปรียบกับลูกข่าง แกนโลกคือตะปูตรงกลาง ซึ่งการเหวี่ยงของลูกข่างในระยะแรกๆ แกนลูกข่างจะตั้งตรง พอหมุนไปสักพักแกนก็จะส่าย โลกก็เช่นเดียวกัน แต่กว่าแกนโลกจะส่ายแบบนั้นต้องใช้เวลานานมาก การโคจรของโลกในระบบสุริยจักรวาลทุกวันนี้ยังไม่มีอะไรมารบกวน โลกก็ยังคงหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ไปเรื่อยๆ ซึ่งหมุนมานานกว่า 5,000 ล้านปีมาแล้ว ไม่ต้องกังวลว่าโลกจะแตกดับไปในเร็วๆนี้ โลกใบนี้จะยังคงหมุนต่อไปอีกเป็นพันล้าน-หมื่นล้านปี” ...ดร.สธนระบุ พร้อมทั้งทิ้งท้ายว่า... ด้วย “ฝีมือมนุษย์” ที่ทำให้อากาศและน้ำเปลี่ยนแปลง นี่ต่างหากที่ “เปลี่ยนโลกไปในทางเลวร้าย”

“หายนะโลก-หายนะมนุษย์” เกิดขึ้นได้เร็ว ๆ นี้แน่

แต่ “ด้วยฝีมือของมนุษย์เราเอง” นี่แหละ !?!?!.



จาก : เดลินิวส์ วันที่ 8 มีนาคม 2553

koy
08-03-2010, 10:59
เอาตัวรอดจาก “แผ่นดินไหว”

http://pics.manager.co.th/images/553000003290701.jpeg

ภาพสาธิตวิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยให้ก้มต่ำ หาที่กำบังและยึดไว้ให้แน่น (getthru.govt.nz)

เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวให้ตั้งสติ แล้วปฏิบัติตามวิธีป้องกันตัวเองจากอันตรายดังนี้

- หากอยู่ภายในอาคารให้หลบในที่ปลอดภัยและพยายามอยู่ในจุดของบ้านที่แข็งแรงที่สุด เช่น หลบอยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรงหรืออยู่ชิดผนังภายในบ้าน ทั้งนี้เพื่อป้องกันตัวเองจากวัตถุต่างๆ ที่จะหล่นมาทำร้าย เป็นต้น และพยายามหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้หน้าต่างกระจกบานใหญ่ บริเวณที่มีสิ่งของแขวนอยู่ เฟอร์นิเจอร์หนัก เครื่องใช้หนักๆ และบริเวณที่ติดไฟได้ง่าย

- หากกำลังทำอาหารให้ปิดเตาไฟและคลุมเตาไว้

- หากอยู่นอกอาคาร ให้มุ่งไปยังสถานที่โล่งแจ้ง ซึ่งไม่มีสิ่งของที่จะตกลงมาทำร้ายได้ และพยายามอยู่ให้ห่างจากอาคารสิ่งก่อสร้าง ท่อส่งเชื้อเพลิง และต้นไม้

- หากขับรถอยู่ ให้ชะลอความเร็วอย่างช้าๆ แล้วหยุดรถข้างถนน หลีกเลี่ยงการหยุดรถบนหรือใต้สะพานและทางด่วน และพยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นท่อส่งเชื้อเพลิง ต้นไม้และป้ายสัญญาณขนาดใหญ่ แล้วหลบอยู่ภายในรถ



จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 5 มีนาคม 2553


มีประโยชน์มากครับ เพราะเรื่องอย่างนี้ มีสิทธิ์เกิดขึ้นได้ในช่วงที่โลกแปรปรวนอย่างนี้ หลังจากมนุษย์ทำมิดีมิร้ายกับโลกมามาก

ดอกปีบ
08-03-2010, 12:44
เห็นด้วยกับพี่ก้อย ทั้งเรื่องโลกแปรปรวนและประโยชน์ของกระทู้นี้ด้วย .. จริงๆครับ

สายน้ำ
01-03-2011, 06:30
แผ่นดินไหว


เพิ่งก้าวเข้าเดือนที่สองของปี นิวซีแลนด์ก็กลายเป็นอีกประเทศที่ต่อสู้กับเหตุแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรง ความรุนแรงระดับ 6.3 ริกเตอร์ที่ถล่มเมืองไครสต์เชิร์ช เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ ส่งผลมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 113 ราย สูญหาย 300 ราย ในจำนวนนี้มีว่าที่นางพยาบาลไทย 6 คนรวมอยู่ด้วย

แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติ

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่งๆจะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง แต่เบามากจนคนทั่วไปไม่รู้สึก

ความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับระยะทางจากศูนย์ กลางแผ่นดินไหว บริเวณใกล้เคียงกับศูนย์กลางแผ่นดินไหวจะเสียหายหนัก และลดหลั่นลงไปตามระยะทางที่ห่างออกไป

ส่วนมาตรวัดความแรงที่นิยมคือริกเตอร์ นักธรณีวิทยาระบุว่าที่ความแรง 7.0 ริกเตอร์ขึ้นไปจะเกิดการสั่นสะเทือนแรงมาก ทำให้อาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆเสียหายรุนแรง แผ่นดินแยก วัตถุบนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น

ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติแผ่นดินไหวครั้งใหญ่กว่า 16 ครั้ง เฉพาะครั้งที่สำคัญๆ มีดังนี้

26 ธ.ค.47 แผ่นดินไหวใต้ทะเลความแรง 9.1 ริกเตอร์ นอกชายฝั่งเกาะสุมาตรา ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิคร่าชีวิตประชาชนไปถึง 220,000 ราย ในประเทศแถบคาบสมุทรอินเดีย

8 ต.ค.48 แผ่นดินไหวแรง 7.5 ริกเตอร์ คร่าชีวิตชาวปากีสถานกว่า 75,000 ราย และอีกกว่า 3.5 ล้านคนกลายเป็นคนไร้บ้าน

17 ก.ค.49 แผ่นดินไหวใต้ทะเลรุนแรง 7.7 ริกเตอร์ นอกชายฝั่งเกาะชวาของอินโดนีเซีย ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ สังหารผู้คนไปไม่ต่ำกว่า 596 ราย บาดเจ็บอีกกว่า 9,500 คน ผู้คนต้องไร้บ้านกว่า 74,000 คน

6 มี.ค.50 ธรณีพิโรธความแรง 6.3 ริกเตอร์ ถล่มเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ทำให้บ้านเรือนพังราบ และมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 70 ราย

12 พ.ค.51 แผ่นดินไหว 8.0 ริกเตอร์ ที่มณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ทำให้มีเหยื่อสังเวยชีวิตและสูญหายไม่น้อยกว่า 87,000 ราย

30 ก.ย.52 เกิดแผ่นดินไหว 7.6 ริกเตอร์ ถล่มเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,100 ราย

ที่น่าสนใจคือ ปี 2552 เป็นปีที่ชาวโลกต้องเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ถึง 4 ครั้ง

ส่วนของประเทศไทย สถิติจากสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า เมื่อปีที่แล้วมีแผ่นดินไหวที่คนไทยรู้สึกได้ถึง 4 ครั้ง ครั้งที่แรงที่สุดเกิดเมื่อวันที่ 9 พ.ค.53 บริเวณชายฝั่งตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย แรงสั่นสะเทือน 7.3 ริกเตอร์ ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยตามอาคารสูงหลายแห่งใน จ.ภูเก็ต พังงา สุราษฎร์ธานี สงขลา และ กทม. รู้สึกถึงแรงสะเทือน

ล่าสุดวันที่ 23 ก.พ.ปีนี้ แผ่นดินไหว 5.3 ริกเตอร์จากประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว ซึ่งอยู่ห่างจาก อ.เมือง จ.น่าน ไปทางทิศตะวันออกเพียง 100 ก.ม. ทำให้ชาวบ้านจ.เลย น่าน แพร่ อุดรธานี หนองคาย และหนองบัวลำภู รู้สึกถึงแรงสั่นไหว

ส่งผลทำให้วิหารหลวงที่อยู่ติดองค์พระธาตุแช่แห้ง อายุกว่า 500 ปี เกิดรอยแตกร้าวหลายจุด




จาก ...................... ข่าวสด คอลัมน์ที่ 13 วันที่ 1 มีนาคม 2554

สายน้ำ
22-03-2011, 07:28
ฤาปี 2011 จะเป็นปีแห่งการเกิดแผ่นดินไหว

http://www.dailynews.co.th/content/images/1103/19/x1.jpg

เพิ่งจะผ่านพ้นเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2554 หรือ ค.ศ.2011 ไม่นานทันไร การเปลี่ยนแปลงโลกของเราได้เกิดปรากฏภัยธรรมชาติแบบรุนแรงจนกลายเป็นภัย พิบัติขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ๆถึง 2 ครั้งติดต่อกัน ในห้วงเวลาไม่ถึง 1 เดือน เริ่มจาก 22 ก.พ.54 แผ่นดินไหว 6.3 ริคเตอร์ ที่เมืองไคร์สเชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ จากนั้นเพียง 2 สัปดาห์เศษ ตามด้วยแผ่นดินไหว 5.8 ริคเตอร์ ที่เมืองยูนาน ประเทศจีน กระทั่งล่าสุดวันที่ 11 มี.ค.54 แผ่นดินไหวใหญ่ 8.9 ริคเตอร์ ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากจังหวัดมิยากิ หมู่เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น 130 กิโลเมตร ส่งผลทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิซัดถล่มชายฝั่งจังหวัดมิยากิพังพินาศเสียหายย่อยยับ ผู้คนเสียชีวิตสูญหายจำนวนมาก สร้างความตื่นตะลึงให้กับคนทั้งโลก

ก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ.2553 ได้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรงมาแล้ว จากเหตุแผ่นดินไหว 7.0 ริคเตอร์ ที่ประเทศเฮติ ในทะเลแคริบเบียน ซึ่งอยู่ในกลุ่มของทวีปอเมริกาเหนือ เหตุเกิดช่วงเย็นวันอังคารที่ 12 มกราคม 2553 (ตรงกับประเทศไทยเช้ามืด วันที่ 13 ม.ค.53) สิ่งที่น่าตื่นตระหนก คือ ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของประเทศเฮติ เพียงแค่ 25 กิโลเมตร จากนั้นได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกติดตามมาหลายครั้ง จึงสร้างเสียหายใหญ่หลวงให้กับประเทศเฮติ มีผู้เสียชีวิตสูงถึงกว่า 2 แสนคน บาดเจ็บอีก 3 แสนคน ประชาชนนับล้านคนไร้ที่อยู่อาศัย บ้านเรือนพังทลายเสียหายอย่างหนัก

เหตุการณ์ครั้งนั้นทางสหประชาชาติและนานาชาติทั่วโลกต่างส่งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ทั้งเงินสนับสนุน ทีมกู้ภัยและทีมแพทย์ วิศวกร พนักงานช่วยเหลือ ระบบการสื่อสาร สิ่งอำนวยความสะดวกเข้าไปช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ฯลฯ สำหรับภูมิศาสตร์ประเทศเฮติ ตั้งอยู่บนรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกแคริบเบียนและแผ่นอเมริกาเหนือ แต่แผ่นดินไหวในครั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ระบุไม่ได้เกิดจาก“รอยต่อ”ระหว่างแผ่นเปลือกโลกเหล่านี้ แต่เชื่อว่าเกิดจาก “รอยเลื่อน” ประกอบกับเมืองหลวง กรุงปอร์โตแปรงซ์ ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าว ซึ่งเป็นพื้นที่ดินอ่อน อีกทั้งมีลักษณะเป็นโคลนชุ่มด้วยน้ำ ส่งผลทำให้สามารถขยายแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวให้รุนแรงขึ้นได้อีก ความเสียหายที่ประเทศเฮติค่อนข้างรุนแรงกว่าปกติ

ตลอดทั้งปี 2553 จะเกิดข่าวคราวปัญหาภัยธรรมชาติบนโลกอย่างต่อเนื่องเช่นกัน นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ยังมีวิกฤตการน้ำท่วมใหญ่ เกิดขึ้นเกือบทั่วโลก อาทิ อินเดีย ปากีสถาน เกาหลีเหนือ จีน ออสเตรีย เยอรมัน ฮังการี โปแลนด์ ลัตเวีย ยูเครน สโลวะเกีย ออสเตรเลีย เม็กซิโก แคนาดา และสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงประเทศไทยก็เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงในหลายจังหวัด เรียกได้ว่าเกินครึ่งหนึ่งของประเทศเลยทีเดียว !!

จากเรื่องราวปัญหาธรรมภัยธรรมชาติที่กระทบต่อประชาชนหมู่มาก ทางนสพ.เดลินิวส์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นๆ จึงร่วมกับภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย นสพ.เดลินิวส์,มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ, เว็บพลังจิต.คอม และมหาวิทยาลัยศรีปทุม ฯลฯ จัดสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “เจาะลึกภัยพิบัติ พลิกวิกฤติให้เป็นทางรอด” ไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2553 ที่ ม.ศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน กทม. ในการสัมมนาครั้งนั้นมีเนื้อหารายละเอียดสำคัญๆมากกมายเกี่ยวกับเรื่องราวของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงการเตรียมพร้อมรับมือในเบื้องต้นของประชาชนจะต้องทำอย่างไร ??

โดยมีการเชิญวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิมากหมายด้วยประสบการณ์มาเผยแพร่ข้อมูล อาทิ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช อดีตประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ, ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้บริหารสูงสุด โรงเรียนสัตยาไส อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ,ดร.ก้องภพ อยู่เย็น ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์,ดร.วัฒนา กันบัว,ดร.เสรี ศุภธาทิตย์,นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล รวมไปถึงพระอาจารย์รัตน์ รัตนญาโณ เป็นต้น การสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่องเจาะลึกภัยพิบัติ พลิกวิกฤติให้เป็นทางรอด มีการพูดถึงภัยธรรมชาติหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงวิธีการเตรียมพร้อม การช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์ และทางรอดจากภัยพิบัติ ซึ่งได้รับความสนใจมีผู้เข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสิ่งที่ผู้บรรยายแต่ละท่านได้กล่าวเอาไว้น่าสนใจแทบทั้งสิ้น

ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้ซึ่งเคยทำงานร่วมกับองค์นาซ่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้สัมภาษณ์ช่วงปลายปี 2553 ภายหลังการสัมมนาว่า จากปัญหาสภาวะโลกร้อนก่อให้เกิดปรากฏการณ์เอลนินโญ่และรานินญ่า จนทำให้ส่งผลกระทบในด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หนาวจัด ร้อนจัด มีฝนตกมาก แห้งแล้งมาก ที่ที่เคยหนาวกลับมีอุณหภูมิสูงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ปริมาณน้ำในมหาสมุทรต่างๆเพิ่มมากขึ้น ฝนตกมากขึ้นก็ส่งผลกระทบกับปริมาณน้ำในมหาสมุทรเช่นกัน

เมื่อปริมาณน้ำในมหาสมุทรมากขึ้น ก็เปรียบเสมือนน้ำที่อยู่ในถาด สมดุลของโลกที่เคยคงที่ แต่เวลานี้กลับเปลี่ยนไป น้ำบางส่วนมีจำนวนมากย่อมไหลไปยังพื้นที่อื่นๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลใหม่ขึ้น ฉะนั้นสิ่งที่จะอุบัติขึ้นใหม่ก็คือการที่โลกปรับเอียงเพื่อหาแกนโลกใหม่ จากเดิมที่เคยเอียงเพียงเล็กน้อย ก็จะมีการปรับอย่างรวดเร็ว แต่การที่โลกจะปรับเอียงนั้นคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะ แต่สิ่งหนึ่งที่จะเปลี่ยนแปลงก็คือการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก

สำหรับประเทศไทยตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกที่ชื่อว่า ยูเรชั่นเพลท คือแผ่นดินแถบยุโรปบวกกับแผ่นดินเอเชีย ส่วนด้านข้างก็จะเป็นอินเดียบวกออสเตรเลียและแปซิฟิก เวลานี้แผ่นดินอินเดีย+ออสเตรเลีย เคลื่อนตัวจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการชนกับแผ่นดินของยุโรป+เอเชีย ซึ่งเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกันแต่ช้ากว่า จึงทำให้เกิดการทรุดตัวของแผ่นดินข้างหนึ่ง ผลที่ตามมาก็คือการเกิดแผ่นดินไหว และอาจจะเกิดสึนามิขึ้นอีกครั้งในฝั่งทะเลแถบอันดามัน ในส่วนของประเทศไทยอาจจะได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยเพราะมีประเทศพม่ามารองรับ แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะเกิดนั่นก็คือการเกิดแผ่นดินไหวในแถบพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจ.แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง ภูเก็ต ฯลฯ เพราะพื้นที่เหล่านี้ตั้งอยู่ใกล้บนรอยร้าวของแผ่นเปลือกโลก

“ส่วนแผ่นเปลือกโลกอีกฝั่งหนึ่งของแผ่นยูเรชั่นเพลท นั่นก็คือแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก ซึ่งแผ่นนี้เองที่เกิดการเคลื่อนไหวในช่วงนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งก็เพราะการเคลื่อนตัวของแผ่นแปซิฟิกนั้นจะเคลื่อนตัวจากตะวันออกมายังตะวันตก จึงทำให้เกิดการชนกันอย่างจังของแผ่นเปลือกโลกทั้ง 2 แผ่น แน่นอนสิ่งที่ตามมาคือการทรุดตัวของเปลือกโลกก่อให้เกิดสึนามิ ประเทศต่างๆที่เป็นเกาะอาจจะหายไปยกตัวอย่างเช่น เกาะบางเกาะของประเทศญี่ปุ่น เกาะฮาวาย ประเทศสหรัฐ เป็นต้น”

ภายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ๆ 2 ครั้งติดกันจากประเทศนิวซีแลนด์และญี่ปุ่น ทำให้หลายหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชนต่างตื่นอย่างมากนำเสนอข้อมูลต่างๆทุกแง่ทุกมุมเพื่อให้ประชาชนได้รับอย่าง รวมไปถึงทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็ออกมาแถลงข่าวแผ่นดินในญี่ปุ่นมีผลกระทบถึงไทยหรือไม่และควรเตรียมตัวรับมืออย่างไร ??

ผศ.ดร.อาณัติ เรืองรัศมี อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวสรุปไว้ว่า ในส่วนของการเกิดแผ่นดินไหวนั้น ถึงแม้ว่าเราไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดเมื่อไร อย่างไร แต่เราสามารถที่จะเตรียมการรับมือได้ โดยการหมั่นฝึกฝนเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง ศึกษาเส้นทางการหลบภัยจากแผนที่เสี่ยงภัย นอกจากนั้นสิ่งที่สำคัญสุดคงหนีไม่พ้น ควรจะมีการเตรียมตัวเรื่องสภาพจิตใจ ไม่ควรตื่นตระหนกเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว




จาก ...................... เดลินิวส์ วันที่ 22 มีนาคม 2554

สายน้ำ
25-03-2011, 08:38
"แผ่นดินไหว" หลบยังไงให้ปลอดภัย

http://pics.manager.co.th/Images/554000004035902.JPEG

เมื่อเกิดภัยแผ่นดินไหว รู้หรือไม่การหนีขึ้นไปชั้นบนๆ ของตึกสูงถือว่าปลอดภัยสุดแม้ยิ่งสูงอาคารจะยิ่งแกว่ง ลิฟต์เป็นสิ่งที่ต้องงดใช้ในทุกๆกรณี แต่พื้นที่ใกล้ลิฟต์แข็งแรงสุด หาซอกมุมเหมาะเป็นที่กำบัง ระวังไฟดับ สปริงเกอร์ทำงานเป็นเหตุตามสถานการณ์ไม่ต้องตกใจ

ช่วงเวลา 20.55 น. ของวันที่ 24 มี.ค.54 เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศพม่า 6.7 ริกเตอร์ หลายจังหวัดในภาคเหนือไทยได้รับแรงสั่นสะเทือน โดยแรงสั่นสะเทือนมาไกลรู้สึกได้ถึงกรุงเทพฯ และอาจทำให้อาคารร้าวเล็กน้อย และไม่แน่ว่าอาจมีอาฟเตอร์ช็อคตามมา ซึ่งภัยแผ่นดินไหวเข้าใกล้ตัวแล้ว เราจะเตรียมรับมือกันอย่างไร หลังจากติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ขอหยิบการเตรียมความพร้อมและรับมือหากเกิดภัยแผ่นดินไหวจาก หนังสือ “อยู่กับภัยใกล้ตัว” ของสำนักป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ว่า นอกจากจะมีสติตั้งมั่นแล้ว จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร


ชั้นบนของอาคารปลอดภัยสุด - งดใช้ลิฟต์

กรณีความสั่นสะเทือนมากให้ปิดสวิตช์ไฟหลักและปิดถังแก๊ส ให้มุดใต้โต๊ะ เก้าอี้ พิงผนังด้านใน แล้วอยู่นิ่งๆ หากไม่มีโต๊ะ ใช้แขนปิดหน้า ปิดศีรษะ หมอบตรงมุมห้อง อยู่ให้ห่างกระจก หน้าต่าง และเลี่ยงบริเวณที่สิ่งของหล่นใส่หรือล้มทับ เช่น โคมไฟ ตู้ หากยังนอนอยู่ ให้อยู่บนเตียง ใช้หมอนปิดบังศีรษะ หลีกเลี่ยงบริเวณที่อาจมีสิ่งของหล่นใส่ อยู่บริเวณที่ปลอดภัย

ใช้ช่องประตูเป็นที่หลบภัยถ้าอยู่ใกล้ ให้อยู่ในอาคารจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุด จึงออกไปภายนอกบริเวณที่ปลอดภัย เพราะอันตรายส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งของหล่นใส่ และต้องคาดว่าหรือตระหนักเสมอว่า ไฟฟ้าอาจดับ หรือสปริงเกอร์อาจทำงาน หรือมีเสียงเตือนไฟไหม้

อย่างไรก็ดี อย่าใช้ลิฟต์ขณะมีการสั่นไหว ถ้าอยู่ในลิฟต์แล้วไม่ทราบว่าอยู่ชั้นไหน ให้กดปุ่มแล้วออกจากลิฟต์ทันที บริเวณใกล้ลิฟต์จะเป็นส่วนที่แข็งแรงของอาคารเหมาะแก่การหลบและหมอบ

ทั้งนี้ อย่ากรูกันวิ่งออกมาหน้าอาคาร เมื่อการสั่นไหวหยุดแล้ว จึงทยอยออกนอกบริเวณที่คิดว่าปลอดภัย ชั้นบนสุดของอาคารเป็นที่ปลอดภัยที่หนึ่งแต่ความสั่นสะเทือนและการโยกจะมากกว่าชั้นที่ต่ำลงมา

ถ้าเกิดไฟใหม้ในช่วงแรกร่วมด้วยให้รีบดับไฟและให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายของอาคารหากปลอดภัยสามารถกลับเข้าในอาคารได้ และหากเป็นแผ่นดินไหวใหญ่ให้ระลึกเสมอว่าอาจเกิดแผ่นดินไหวตามมา (After Shock) แต่มีขนาดเล็กกว่า


นอกอาคารที่โล่งแจ้งปลอดภัย

ให้อยู่ด้านนอกในที่โล่งแจ้งปลอดภัยที่สุด อยู่ให้ห่างจากอาคาร เสาไฟ สายไฟฟ้า ต้นไม้ ป้ายโฆษณา หรือสิ่งของที่อาจหล่นใส่


จอดรถที่โล่ง

ให้จอดรถเมื่อสามารถจอดได้โดยปลอดภัยและในที่ซึ่งไม่มีของหล่นใส่ อยู่ให้ห่างอาคาร ต้นไม้ ทางด่วน สะพานลอย เชิงเขา เป็นต้น


รีบนำเรือออกสู่ทะเลลึก

ความสั่นสะเทือนเนื่องจากแผ่นดินไหวไม่ทำอันตรายผู้อาศัยอยู่บนเรือ ยกเว้นในกรณีเกิดสึนามิ เรือที่อยู่ใกล้ชายฝั่งจะได้รับความเสียหายให้รีบนำเรือออกสู่ทะเลลึก


อยู่ในโรงงานห้ามใกล้สารเคมี-วัตถุระเบิด

เมื่อรู้สึกสั่นสะเทือน ให้ตั้งสติ อย่าตกใจวิ่งหนีออกนอกอาคาร ให้หมอบอยู่ใกล้เสา หรือเครื่องจักรที่แข็งแรง อยู่ให้ห่างเสาไฟฟ้า โคมไฟ สิ่งห้อยแขวน สิ่งของที่อาจล้มคว่ำ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ภาชนะที่เป็นสารเคมีอันตราย วัตถุระเบิด หรืออยู่ใกล้เครื่องจักรที่กำลังหมุนทำงาน เมื่อความสั่นสะเทือนหยุด จึงเดินออกไปที่โล่งแจ้งและติดตามข่าวสารจากทางราชการและตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น


ติดในซากอาคารงดใช้เสียง อยู่นิ่งๆ

อย่าติดไฟ อยู่อย่างสงบ ใช้ผ้าปิดหน้า เคาะท่อ ฝาผนัง ใช้นกหวีด เพื่อเป็นสัญญาณต่อหน่วยช่วยชีวิต การตะโกนอาจสูดสิ่งอันตรายเข้าร่างกาย ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และให้กำลังใจต่อกัน

http://pics.manager.co.th/Images/554000004035901.JPEG
ภาพตัวอย่างการปฏิบัติตนขณะเกิดแผ่นดินไหว จากหนังสือ “อยู่กับภัยใกล้ตัว” ถ้าอยู่ในอาคารสูง อย่าวิ่งหนี เพราะเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ พยายามหาที่กำบังศรีษะ ทั้งใช้โครงสร้างที่มั่นคง มุมตึก ใต้โต๊ะ ใต้เก้าอี้ หรืออยู่ในที่โล่งๆ ห้ามใช้ลิฟต์ (ภาพจากกรมอุตุฯ ญี่ปุ่น)



จาก ...................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 24 มีนาคม 2554

koy
25-03-2011, 09:45
ข้อมูลนี้เผื่อจะมีประโยชน์ครับ survival bag (คลิกแล้วเลื่อนลงไปดูช่วงกลางๆนะครับ)

http://board.palungjit.com/f178/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-51726-74.html

สายน้ำ
01-04-2011, 07:32
เตรียมพร้อม...แผ่นดินไหว

http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2011/03/30/images/news_img_384425_2.jpg

ถ้าเกิดเหตุแผ่นดินไหวจะทำอย่างไร แม้เรื่องนี้จะมีการนำเสนอมากมายในช่วงนี้ แต่รู้ไว้ย่อมดีกับชีวิต

แผ่นดินไหวในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ใกล้บริเวณแนวมหาสมุทรอินเดีย สุมาตรา และ ประเทศเมียนมาร์ และมีการรวบรวมสถิติข้อมูลในอดีตจากหลายแหล่งข้อมูลพบว่า ราวๆ ปี พ.ศ. 2443 เป็นต้นมา เริ่มมีข้อมูลแผ่นดินไหวที่ได้จากการตรวจวัดด้วยเครื่องมือของเครือข่ายสถานีตรวจแผ่นดินไหวต่างประเทศ

ส่วนใหญ่แผ่นดินไหวจากตรงบริเวณแนวรอยเลื่อนของภาคตะวันตกและภาคเหนือ และจากแหล่งกำเนิดรอยเลื่อนบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน ประเทศพม่า สาธารณรัฐประชาชนจีน ทะเลอันดามัน และบริเวณเกาะสุมาตรา โดยเฉลี่ยแล้วเกิดแผ่นดินไหวรู้สึกได้ประมาณปีละ 5-6 ครั้ง

เห็นได้ว่า ประเทศใดที่มีการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยแผ่นดินไหวได้ดี ก่อนที่จะเกิดภัยย่อมสามารถลดหรือบรรเทาภัยแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากมีมาตรการและระบบจัดการที่เหมาะสมในอนาคตสำหรับเผชิญภัยแผ่นดินไหว เช่น ออกกฎหมายควบคุมอาคารให้ต้านรับแผ่นดินไหวตามความเหมาะสมกับความเสี่ยง การจัดผังเมือง กำหนดย่านชุมชนให้ห่างจากบริเวณที่มีความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวสูง ฯลฯ

เพื่อให้มั่นใจว่าขณะเกิดแผ่นดินไหว อาคารสิ่งก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย และสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญต่อสาธารณูปโภค มีสมรรถนะในการต้านแผ่นดินไหวเพียงพอ และประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อความแข็งแรงโครงสร้างของอาคารที่พักอาศัย สถานที่ทำงาน และมีความเข้าใจในการปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

ประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างของการเตรียมพร้อมในภาวะฉุกเฉินเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ทุกๆปีคนญี่ปุ่น ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ต้องฝึกฝนเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหวและอัคคีภัย เพราะอาคารส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นเป็นเรือนไม้ เด็กๆจะถูกฝึกให้สวมหมวกกันสะเทือน ซึ่งทนไฟและหนักมาก ฝึกให้รู้จักการวิ่งหนีอย่างชาญฉลาด หลบหลีกท่อแก๊สและท่อน้ำ มุ่งไปหาที่โล่งแจ้ง

บัณฑิต ประดิษฐานุวงษ์ ล่ามและผู้ประสานงานสำนักข่าวเอ็นเอชเคในเมืองไทย เล่าถึงสถานการณ์ตอนเกิดแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดในญี่ปุ่นว่า เป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดตั้งแต่มีการจดสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในสมัยเมจิ

"วันที่เกิดแผ่นดินไหว เป็นช่วงที่ผมเดินทางไปประชุมที่ญี่ปุ่น ตอนอยู่ในห้องประชุม โคมไฟสั่นไหว ตอนนั้นไม่รู้ว่าเหตุการณ์รุนแรงขนาดนี้ ทางโรงแรมเตรียมพร้อมให้ทุกคนออกนอกอาคาร ทั้งๆที่คนทำงานในโรงแรมไม่รู้ระดับความรุนแรง แต่มีลักษณะเตรียมพร้อม"

แม้บัณฑิตจะเคยอยู่ญี่ปุ่น 12 ปี เจอเหตุการณ์แผ่นดินไหวมาหลายครั้ง แต่ไม่เหมือนครั้งนี้ เขาบอกว่า เมื่อมีเหตุการณ์แผ่นดินไหว คนญี่ปุ่นจะให้ออกจากตัวอาคารทันที

"พนักงานพาพวกเราไปอยู่ในบริเวณสนามเทนนิส เจ้าหน้าที่จะรู้หน้าที่เป็นอย่างดี ประกาศให้ทราบเหตุการณ์ พร้อมทั้งแจกผ้าห่ม พวกเขาซ้อมรับมือกับภาวะฉุกเฉินแผ่นดินไหวทุกปี ผมเองตอนอยู่ที่ญี่ปุ่น ก็เคยซ้อมในภาวะฉุกเฉินเหมือนกัน โดยมีหลักการว่า ถ้าเกิดภัยพิบัติ เราต้องหลบอยู่ใต้โต๊ะ พยายามปิดไฟ เปิดหน้าต่างและประตู แล้วออกมาอยู่ด้านนอกอาคาร "

ครั้งล่าสุดที่เกิดแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น บัณฑิตซึ่งไม่เคยเจอเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมืองไทย เล่าว่า ตอนนั้นรู้สึกว่าคนญี่ปุ่นตื่นตระหนกกับเหตุการณ์เรื่องนี้มากไป มีการแจกผ้าห่มใหม่จากซอง หน้าซองผ้าห่มเขียนว่าสำหรับภาวะฉุกเฉิน

"เมื่อมีการรวมพล คนส่วนใหญ่มีหมวกนิรภัย และมีการประกาศข่าวให้ทราบเป็นระยะ โรงแรมจะเอาทีวีมาตั้งให้ดูข่าวสาร ไม่ให้ใช้ลิฟต์ ไม่ว่าพักอยู่ชั้นไหน ต้องเดินขึ้นลงบันได"


การปฏิบัติตัวในภาวะฉุกเฉิน

จะเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างไร เรื่องนี้ทางกรมอุตุนิยมวิทยามีคำแนะนำ ถ้าเป็นเหตุการณ์ก่อนเกิดแผ่นดินไหว

- ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
- ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น
- ศึกษาตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
- ถ้าเป็นไปได้ ควรผูกเครื่องใช้หนักๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน และสิ่งสำคัญคือ ควรสร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว


ถ้าอยู่ระหว่างเหตุการณ์แผ่นดินไหว มีข้อแนะนำว่า

- ให้มีสติ ถ้าอยู่ในบ้านก็อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้าน ก็ให้อยู่นอกบ้าน ส่วนใหญ่ที่บาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าวิ่งออกจากบ้าน
- ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนักได้มากและให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และ หน้าต่าง
- หากอยู่ในอาคารสูงรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
- ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
- อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
- ถ้ากำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
- ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
- หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง


ส่วนเหตุการณ์ หลังจากเกิดแผ่นดินไหว มีคำแนะนำว่า ควรตรวจสอบว่า ตัวเองและคนรอบข้างได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้เรียนรู้การปฐมพยาบาลขั้นต้น จากนั้นควรออกจากอาคารที่เสียหายทันที หากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้

ข้อสำคัญอย่าลืมใส่รองเท้าหุ้มส้น เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่นๆ สิ่งหักพังแทง และออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง อย่าลืมเปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริงๆ




จาก ...................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 30 มีนาคม 2554

สายน้ำ
02-05-2012, 08:22
รับมือดินไหว

http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2012/05/tec04020555p1.jpg&width=360&height=360

ช่วงนี้เหตุการณ์แผ่นดินไหวทั้งทางภาคใต้ และแถบภาคเหนือของไทย เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ถึงจะเป็นการไหวที่มีแรงสั่นสะเทือนค่อนข้างต่ำ แต่ก็เพียงพอให้เกิดความสับสนหวาดหวั่นขึ้นในสังคม

ดังนั้น ความรู้เท่าทันในการรับมือกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนไทยในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

โดยทาง 'กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย' กระทรวงมหาดไทย ได้เสนอแนะวิธีเตรียมพร้อมรับมือและปฏิบัติตนหากเกิดแผ่นดินไหวในเบื้องต้น สรุปใจความสำคัญได้ดังนี้


อันดับแรก ให้ยึดติดเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องใช้กับพื้นหรือผนังอย่างแน่นหนา ไม่วางสิ่งของบนที่สูงหรือหลังตู้ เพราะแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวอาจทำให้สิ่งของหล่นลงมาทับได้


ต่อมาหากเกิดแผ่นดินไหวให้หาที่หลบกำบังในจุดที่มีโครงสร้างแข็งแรง และพ้นจากแนวสิ่งของหล่นทับหรือวัสดุตกใส่ เช่น ใต้โต๊ะ พร้อมหมอบลงกับพื้น ใช้แขนหรือมือกำบัง เพื่อป้องกันศีรษะและลำคอได้รับบาดเจ็บ หรือยึดจับโต๊ะให้แน่นและเคลื่อนตัวไปพร้อมกับโต๊ะ อีกทั้งควรอยู่ให้ห่างจากประตู หน้าต่างที่เป็นกระจก และสิ่งของที่สามารถล้มทับได้


ห้ามใช้ลิฟต์หรือบันไดหนีไฟในการอพยพหนีออกจากอาคารอย่างเด็ดขาด เพราะอาจได้รับอันตรายจากสิ่งของที่ร่วงหล่นจากแรงสั่นสะเทือน โดยเฉพาะหากมีการตัดกระแสไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าดับ จะทำให้ติดค้างอยู่ในลิฟต์ และขาดอากาศหายใจเสียชีวิต ให้รอจนแผ่นดินไหวยุติ ค่อยออกจากอาคาร โดยใช้วิธีเดินเร็วอย่างเป็นระเบียบทางบันไดภายในอาคาร


สำหรับผู้ที่อยู่นอกอาคาร ให้รีบหนีออกมาอยู่บริเวณที่โล่งแจ้ง ห่างจากสิ่งปลูกสร้าง ป้ายโฆษณาและต้นไม้ขนาดใหญ่ที่อาจล้มทับ ระมัดระวังเศษวัสดุหล่นใส่หรือสิ่งของตกกระแทก


หากขับรถยนต์ ให้จอดรถในจุดที่ปลอดภัย ห้ามจอดรถบริเวณใต้สะพาน ใต้ทางด่วน รอจนเหตุแผ่นดินไหวสงบค่อยขับรถต่อ


หลังเกิดเหตุ เมื่อแผ่นดินไหวสงบ ให้รีบออกจากอาคารโดยเร็วที่สุด ไม่กลับเข้าไปในอาคารที่ได้รับความเสียหายหรือเสี่ยงต่อการทรุดตัว เพราะหากเกิดอาฟเตอร์ช็อก อาคารอาจถล่มลงมาได้




จาก ...................... ข่าวสด คอลัมน์หมุนก่อนโลก วันที่ 2 พฤษภาคม 2555

สายน้ำ
27-06-2012, 08:29
แผ่นดินไหวทำไมจึงไหว?

http://www.innnews.co.th/images/news/2012/32/387613-01.jpg


แผ่นดินไหวเกิดขึ้นได้อย่างไร? อาจจะเป็นคำถามที่หลายคนอาจไม่รู้คำตอบเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียซึ่งก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่สร้างความสูญเสียอย่างมหาศาลต่อชายฝั่งอันดามันในภาคใต้ของไทยประกอบกับในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่บ่อยครั้งในหลายจังหวัด คงทำให้ผู้คนตื่นตัวที่จะเรียนรู้และติดตามข่าวสารเกี่ยวกับแผ่นดินไหวเพิ่มมากขึ้น

ก่อนหน้านี้แผ่นดินไหวในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีขาดเล็กถึงปานกลาง และเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก จึงทำให้ประชาชนไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือ และไม่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแผ่นดินไหวนอกจากนี้การรายงานข่าวเกี่ยวกับแผ่นดินไหวและความเสียหายจากแผ่นดินไหวตามสื่อต่างๆในปัจจุบันนั้นรวดเร็วและกระจายเป็นวงกว้างจึงทำให้เกิดความตื่นเต้นตกใจไปกับกระแสข่าวบางครั้งข้อมูลที่ประชาชนได้รับนั้นอาจจะผิดเพี้ยนไปจากความจริง โดยเฉพาะเมื่อรายงานเกี่ยวกับแผ่นดินไหวเป็นข่าวลือหรือคำทำนายสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทยจึงให้การสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องสู่ประชาชนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันและเท่าทันกับเหตุการณ์

ก่อนที่เราจะตอบคำถามข้างต้น เราควรทำความรู้จักกับโลกที่เราอาศัยอยู่เป็นอันดับแรกท่านทราบหรือไม่ว่า โครงสร้างของโลกนั้นเปรียบได้กับ ไข่ไก่ ส่วนเปลือกโลก (crust) เปรียบได้กับเปลือกไข่มีความหนาเพียง 16-40 กิโลเมตร ไข่ขาวนั้นเปรียบได้กับเนื้อโลก (mantle) ซึ่งเป็นหินร้อนหนืดกึ่งแข็งกี่งเหลวหนาประมาณ 2,900 กิโลเมตรซึ่งเคลื่อนตัวช้าๆเป็นกระแสหมุนเวียนอยู่ใต้เปลือกโลก โดยส่วนไข่แดงนั้นเปรียบได้ดังแก่นโลก(core) ซึ่งมีลักษณะเป็นทรงกลมรัศมีประมาณ 3,475 กิโลเมตร

เปลือกโลกนั้นเบากว่าเนื้อโลก จึงสามารถลอยตัวและเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ ตามกระแสหมุนเวียนของหินหนืดในชั้นเนื้อโลก เปลือกโลกนั้นแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกกันว่า แผ่นเปลือกโลก ซึ่งประกอบด้วย 15 แผ่นสามารถเปรียบเทียบได้กับเกมส์จิกซอว์ วางตัวอยู่บนสสารคล้ายของเหลวหนืดๆที่เคลื่อนตัวเป็นกระแสหมุนเวียน ทำให้เกมส์จิกซอว์เคลื่อนตัวได้การคลื่นที่ของหินหนืดและการหมุนของโลกสามารถทำให้แผ่นเลือกโลกเกิดการชนกัน เคลื่อนที่ออกจากกันหรือเคลื่อนผ่านกันได้

นอกจากนี้ แผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรที่หนักกว่าแผ่นทวีป ยังสามารถมุดตัวลงไปใต้แผ่นทวีป เกิดการบีบอัดบริเวณตะเข็บรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกทำให้เกิดรอยเลื่อนจำนวนมาก รอยเลื่อน คือรอยแตกบนเปลือกโลกที่หินหรือดินสองข้างของรอยแตกเลื่อนในทิศทางตรงกันข้าม การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกเช่นนี้ หากมีพลังงานสะสมก่อนการเคลื่อนตัวมากจะทำให้เกิดการปลดปล่อยความเครียด(หรือพลังงาน) อย่างฉับพลันเพื่อรักษาภาวะสมดุล ทำให้เกิดคลื่นที่สร้างความสั่นสะเทือนกระจายไปทั่วทุกทิศทาง การสั่นสะเทือนดังกล่าวคือสิ่งที่เราเรียกว่า แผ่นดินไหว

บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกที่รายรอบมหาสมุทรแปซิฟิก มีชื่อเรียกว่า วงแหวนไฟ เป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวทั้งขนาดเล็กและใหญ่อยู่เป็นประจำ ประเทศที่อยู่ในเขตวงแหวนไฟ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ชิลี จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวสูง ประเทศไทยนั้นโชคดีกว่าหลายประเทศ เนื่องจากไม่ได้ตั้งอยู่บริเวณวงแหวนไฟการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยจึงมีน้อยและไม่รุนแรงมาก ล่าสุดแผ่นดินไหวขนาด 8.6 ริกเตอร์ที่เกิดขึ้นที่เกาะสุมาตราเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555ส่งผลกระทบให้รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ที่พาดผ่านอ่าวภูเก็ต-พังงาเกิดการขยับตัว ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 ริกเตอร์ ที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2555 และก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.0 ริกเตอร์ ที่จังหวัดระนองเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2555 นักธรณีวิทยาบางท่านคาดว่าอาจจะเกิดแผ่นดินไหวได้อีกในอนาคต แต่จะเป็นขนาดเล็กถึงปานกลางคือขนาดไม่เกิน 5.0 ริกเตอร์ ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงมากนัก

ในปัจจุบันการเกิดแผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถจะทำนายได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด ขนาดเท่าใด หรือที่ไหน จะไปยับยั้งไม่ให้เกิดก็ทำไม่ได้ เราควรเรียนรู้ว่าจะอยู่กับภัยธรรมชาติชนิดนี้อย่างไร ประชาชนที่อยู่อาศัยตามแนวรอยเลื่อนในประเทศไทยควรเตรียมตัวรับมือกับแผ่นดินไหว โดยศึกษาแบบอย่างที่ประชาชนในประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตแผ่นดินไหว เช่น ประเทศญี่ปุ่น เป็นตัวอย่าง โดยเริ่มต้นจาก การทำความเข้าใจกับธรรมชาติของแผ่นดินไหว และศึกษาหลักปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว เมื่อเกิดแผ่นดินไหวควรตั้งสติอย่าตกใจหากแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวมีขนาดเล็กและเกิดในระยะสั้นๆ ไม่กี่วินาทีมักจะไม่สร้างความเสียหาย แต่ถ้าหากการสะเทือนเกิดขึ้นนานเป็นนาทีควรเข้าไปหลบใต้โต๊ะ ถ้าอยู่ชั้นล่างสุดของอาคารควรให้วิ่งออกมายังที่โล่งแจ้ง สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องตั้งสติและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่แนวรอยเลื่อนที่อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวควรหมั่นตรวจสอบและปรับปรุงโครงสร้างของบ้านและสิ่งก่อสร้างให้แข็งแรงพร้อมที่จะรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ หากสิ่งปลูกสร้างมีสภาพแข็งแรงคงทนเมื่อเกิดแผ่นดินไหวก็ขนาดเล็กถึงปานกลางมักจะไม่ได้รับความเสียหาย หรืออาจจะได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย

แผ่นดินไหวคงไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนไทยอีกต่อไปแล้ว เราควรเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติให้ได้ ในตอนหน้า เราจะทำอย่างไร เมื่อเกิดแผ่นดินไหว? ร่วมค้นหาติดตามคำตอบในตอนต่อไป…




จาก ....................... INN News วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2555

สายชล
27-06-2012, 11:06
อ่านแล้วมองเห็นภาพ และมีความรู้เรื่อง "แผ่นดินไหว" ได้ชัดเจนขึ้นมาก...ขอบคุณมากค่ะ

สายน้ำ
12-11-2012, 09:16
แผ่นดินไหวที่พม่า เขย่าตึกสูงกทม.-เชียงใหม่

http://i835.photobucket.com/albums/zz275/Saaynam/Earthquake_111155_01.jpg

"ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
เรื่อง แผ่นดินไหวบริเวณประเทศพม่า
______________________

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 เวลา 08.12 น. เกิดแผ่นดินไหวมีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศพม่า ที่ละติจูด 22.93 องศาเหนือ ลองจิจูด 95.99 องศาตะวันออก ความลึก 10 กิโลเมตร ขนาด 6.6 ตามมาตราริกเตอร์ ห่างจากอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนประมาณ 438 กิโลเมตร รู้สึกสั่นไหวบนตึกสูงในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่"


หลังจากนั้น ก็มี After Shock ตามมาอีกหลายครั้ง จนถึงเช้านี้ เวลา 01.19 น. มีแผ่นดินไหวที่จุดเดิม 5.4 ริคเตอร์

http://i835.photobucket.com/albums/zz275/Saaynam/Earthquake_111155.jpg


ความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครั้งนี้ สามารถรับรู้ได้ถึง กทม. .... อย่างที่บ้านของสองสายในซอยสุขุมวิท 20 ถึงกับทำให้น้ำในสระโยกไปโยกมาเป็นคลื่นคล้ายสึนามิขนาดเล็กให้เห็นได้

zXZ8MP9ICbY


ข่างจาก กรุงเทพธุรกิจ เช้านี้ :

เกิดอาฟเตอร์ช็อกต่อเนื่องที่พม่า ล่าสุด ครั้งที่ 5 วัดได้ 5.6 ริกเตอร์ ขณะที่ ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 13 ศพ บาดเจ็บ 40 คน และยังมีผู้สูญหายกว่า 10 คน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานความคืบหน้า เหตุแผ่นดินไหว ขนาดรุนแรง 6.8 ริกเตอร์ ของช่วงเช้าวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ล่าสุด พบยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 13 ศพ บาดเจ็บกว่า 40 คน และยังมีผู้สูญหายกว่า 10 คน และอาฟเตอร์ช็อก ก็ยังเกิดต่อเนื่อง ล่าสุดเป็นครั้งที่ 5 เมื่อเวลา 01.19 น. วัดได้ 5.6 ริกเตอร์ จากการรายงานของสำนักธรณีวิทยาสหรัฐ โดยสื่อพม่า รายงานว่า หลังเหตุแผ่นดินไหวได้มี อาฟเตอร์ช็อค 5 ริกเตอร์ ตามมาอีก 2 ครั้ง ความเสียหายที่พบแล้วคือ สะพานแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง พังถล่มลงมา และที่ จ.มัณฑะเลย์ เมืองใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของพม่า แรงสั่นสะเทือนทำให้เกิดรอยแตกขึ้นกับตึกหลายแห่ง เจดีย์หลายองค์พังลงมา

ขณะที่เ ว็บไซต์นิตยสาร วีกลี่ อีเลฟเว่น รายงานโดยอ้างว่า เหตุแผ่นดินไหวรุนแรงในครั้งนี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 ราย จากการที่สะพาน ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างในแม่น้ำอิระวดี ถล่มลงมาเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ จุดศูนย์กลางอยู่ใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ หรือ ห่างจากเมืองชเวโบ ไปทางตอนใต้ราว 117 กิโลเมตร ขณะที่ สถานีโทรทัศน์ของพม่า เอ็มอาร์ทีวี เปิดเผยว่า บ้านเรือนประชาชนราว 100 หลังคาเรือน ได้รับความเสียหาย รวมทั้ง อาคารสำนักงานของภาครัฐ และโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาด้วย ส่วนผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากเหตุสะพานข้ามแม่น้ำอิระวดีพังถล่ม โดยสะพานดังกล่าว กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง แล้วเสร็จประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ยังมีข่าวรายงานด้วยอีว่า เหมืองทองคำถล่ม ทำให้คนงานจำนวนหนึ่ง ติดค้างอยู่ภายในเหมือง แต่ไม่มีรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติมในขณะนี้

สายน้ำ
17-11-2012, 07:57
รอยเลื่อนในไทย


เหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงทางตอนเหนือของประเทศพม่า วัดขนาดได้ 6.6 ริกเตอร์ ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และยังส่งผลให้ประเทศไทยบางพื้นที่รับรู้ความรู้สึกแรงสั่นสะเทือน

แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมา เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

การเกิดแผ่นดินไหวมีสาเหตุมาจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ จากการกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน

ส่วนสาเหตุที่สอง เกิดตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นั่นคือ รอยเลื่อน (faults) หรือรอยแตกบนเปลือกโลก

ในประเทศไทยมีรอยเลื่อนกระจายตั้งแต่เหนือจรดใต้ นับร้อยรอยเลื่อน มีความยาวตั้งแต่ไม่ถึงสิบกิโลเมตร ไปจนนับร้อยกิโลเมตร

แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2526 มีศูนย์กลางที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี วัดขนาดได้ 5.9 ริกเตอร์ ทำให้รู้สึกสั่นสะเทือนเป็นบริเวณกว้าง มีความเสียหายเล็กน้อยบริเวณศูนย์กลางและกรุงเทพมหานคร

สำหรับรอยเลื่อนมีพลัง (active fault) หมายถึง รอยเลื่อนที่จะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีกในอนาคต รอยเลื่อนที่จัดว่าเป็นรอยเลื่อนมีพลังต้องมีการเคลื่อนที่อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 10,000 ปี

กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศึกษาและรวบรวมข้อมูลด้านการสำรวจรอยเลื่อนมีพลัง พบว่าในประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลัง 14 รอยเลื่อน ซึ่งมีแนวรอยเลื่อนใหญ่ๆ อยู่หลายแนว สามารถจัดกลุ่มรอยเลื่อนที่สำคัญได้ 3 แนว ตามทิศทางการวางตัวและการเคลื่อนที่

คือ กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ และกลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวอยู่ในทิศเหนือ-ใต้


14 รอยเลื่อนมีพลัง ครอบคลุมพื้นที่จำนวน 23 จังหวัด ได้แก่

1.รอยเลื่อนแม่จัน ครอบคลุม จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่

2.รอยเลื่อนแม่อิง ครอบคลุม จ.เชียงราย

3.รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน ครอบคลุม จ.แม่ฮ่องสอน และ จ.ตาก

4.รอยเลื่อนเมย ครอบคลุม จ.ตากและ จ.กำแพงเพชร

5.รอยเลื่อนแม่ทา ครอบคลุม จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน และ จ.เชียงราย

6.รอยเลื่อนเถิน ครอบคลุม จ.ลำปางและ จ.แพร่

7.รอยเลื่อนพะเยา ครอบคลุม จ.ลำปาง จ.เชียงราย และ จ.พะเยา

8.รอยเลื่อนปัว ครอบคลุม จ.น่าน

9.รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ครอบคลุม จ.อุตรดิตถ์

10.รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และ จ.ราชบุรี

11.รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และ จ.อุทัยธานี

12.รอยเลื่อนท่าแขก ครอบคลุม จ.หนองคายและ จ.นครพนม

13.รอยเลื่อนระนอง ครอบคลุม จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ชุมพร จ.ระนอง และ จ.พังงา

14.รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ครอบคลุม จ.สุราษฎร์ ธานี จ.กระบี่ และ จ.ภูเก็ต




จาก .................. ข่าวสด คอลัมน์ คอลัมน์ที่ 13 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2555

สายน้ำ
20-11-2012, 08:18
แผ่นดินไหว "พม่า" เขย่าขวัญผวาถึงกรุงเทพฯ

http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2012/11/col01201155p1.jpg&width=360&height=360

แผ่นดินไหว เป็นภัยธรรมชาติและหนึ่งในปรากฏการณ์ที่มนุษยชาติยังไม่เข้าใจถ่องแท้ และพยากรณ์ไม่ได้

ประเทศไทย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นชาติที่ภัยธรรมชาติไม่ค่อยจะเข้ามา กล้ำกราย

แต่ปัจจุบันเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้นจากพิบัติภัยต่างๆ

แม้แต่แผ่นดินไหว ที่คนไทยคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ก็ยังมีโอกาสให้ได้สัมผัสกันอยู่บ่อยขึ้น

ล่าสุดคนไทยจำนวนหนึ่งที่อยู่บนที่สูงในภาคเหนือและตึกสูงใน กทม. ต้องเผชิญกับ "แรงสั่นสะเทือน" ชวนหวาดผวาหัวใจกันตั้งแต่เช้าวันที่ 11 พ.ย.2555 ที่ผ่านมา อันเป็นผลกระทบมาจากแผ่นดินไหวขนาด 6.8 ริกเตอร์ ในเมืองสะแกงของประเทศพม่า

เหตุธรณีพิโรธข้ามชาติครั้งนี้ สร้างความตื่นตระหนกและวิตกกังวลไปทั่ว

ศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษา พิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักธรณีวิทยาชั้นนำของประเทศ ได้ให้ข้อมูลผ่าน "ข่าวสด หลาก&หลาย" ถึงภัยทางธรรมชาติในครั้งนี้เอาไว้ ดังนี้

แผ่นดินไหว 6.8 ริกเตอร์ดังกล่าว เกิดจากการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนสะแกง พาดผ่านเมืองสะแกงของพม่า จัดเป็นรอยเลื่อนในแนวนอน เรียกว่า "ทรานส์ฟอร์ม ฟอลต์" ทำให้สามารถส่งแรงสั่นสะเทือนไปได้ไกล

โดยเฉพาะเมื่อแรงสั่นสะเทือนผ่านชั้นหินมาเจอดินอ่อน อันเป็นลักษณะชั้นดินของกรุงเทพมหานคร มีความลึกสูงสุดราว 20 เมตร จะทำให้ความเร็วในการเคลื่อนที่ของแรงสั่นสะเทือนเพิ่มขึ้น อีกทั้งตึกสูงจะต้องมีฐานรากลึกลงไปในชั้นดิน จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมผู้ที่อยู่ชั้นบนๆ ของตึกจึงสามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ชัดเจน

ขณะที่ผู้ที่อยู่บนตึกเตี้ยๆนั้น จะไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนดังกล่าว

แผ่นดินไหว 6.8 ริกเตอร์ ถือว่ารุนแรง เพราะ 6.5 ริกเตอร์ขึ้นไปนั้นจัดเป็นแผ่นดินไหวที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับสิ่งก่อสร้างต่างๆได้ ซึ่งแผ่นดินไหวระดับนี้เกิดขึ้นทั่วโลก เฉลี่ย 12 ครั้งต่อปี และส่วนใหญ่แล้วรอยเลื่อนประเภทนี้จะไม่ส่งผลให้มีแผ่นดินไหวตามหลัง หรือ "อาฟเตอร์ช็อก" ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมตามมา ซึ่งเท่าที่ติดตามพบอาฟเตอร์ช็อกตามมา 4-5 ครั้ง ครั้งที่แรงที่สุด คือราว 5.8 ริกเตอร์

คาดว่าจะไม่มีแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงเท่านี้เกิดขึ้นตามมาอีกแล้วในจุดเดิม

ส่วนการเกิดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนอื่นที่อาจได้รับผลกระทบนั้นเป็นไปได้

แต่โดยส่วนตัว ไม่ให้น้ำหนักกับรอยเลื่อน "แม่ฮ่องสอน" ตามที่บางฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ เนื่องจากเป็นรอยเลื่อนแนวยืน คือเคลื่อนที่ขึ้นลง

ดังนั้นการที่จะถูกกระตุ้นจากรอยเลื่อนสะแกง ซึ่งเป็นรอยเลื่อนแนวนอน จึงเป็นไปได้น้อย

นอกจากนี้ ในอดีตที่ผ่านมานั้น รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอนเคยก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2-4 ริกเตอร์เท่านั้น ถือเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก

อย่างไรก็ตาม รอยเลื่อนสะแกงเป็นรอยเลื่อนที่ต่อเนื่องขึ้นมาจากทะเลอันดามัน จึงอาจส่งผลกระทบต่อรอยเลื่อน "ระนอง" ของไทยได้ โดยรอยเลื่อนดังกล่าวไม่ได้เคลื่อนที่มานานแล้ว และในอดีตที่ผ่านมาก็ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเพียง 2-4 ริกเตอร์เช่นกัน

http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2012/11/col01201155p2.jpg&width=360&height=360

ทว่า รอยเลื่อนที่น่าจะมีโอกาสได้รับผลกระทบมากกว่าน่าจะเป็นรอยเลื่อนที่เคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวในรัฐฉานของพม่า เมื่อเดือนมี.ค.54

รวมทั้งรอยเลื่อนบริเวณมณฑลยูนนานและเสฉวนของจีน โดยทั้งหมดเป็นรอยเลื่อนที่มีลักษณะเกยกัน เรียกว่า "ทรัสต์ ฟอลต์" และในอดีตเคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 6 ริกเตอร์มาแล้ว ถือเป็นรอยเลื่อนที่อยู่เหนือประเทศไทยขึ้นไป

แต่การที่จะไปเจาะจงว่ารอยเลื่อนใดจะ ได้รับผลกระทบนั้น ไม่มีใครรู้ และไม่มี นักวิทยาศาสตร์คนใดจะฟันธงได้

สําหรับในส่วนของ "ความเสี่ยง" ของประเทศไทยต่อการเกิดแผ่นดินไหว

ที่ผ่านมาไทยไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ มีแต่ระดับเล็กถึงปานกลาง

เมื่อเทียบกับประเทศทั่วโลกที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ถือว่าไทยเสี่ยงน้อยมากๆ

อาทิ จุดที่เสี่ยงที่สุดของไทย เช่น รอยเลื่อนมีพลังทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ยาวลงไปจนถึงรอยเลื่อนแขนง หรือรอยเลื่อนสาขา ในภาคใต้อย่างรอยเลื่อนระนอง และสุราษฎร์ธานี ก็ยังมีความเสี่ยงน้อยกว่าจุดที่เสี่ยงน้อยที่สุดของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งมาก

ส่วนกรุงเทพมหานคร คงไม่มีจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหว เพราะมีรอยเลื่อนที่ตายแล้ว แม้จะฟื้นได้แต่ถือว่ายากมากเนื่องจากสภาพทางธรณีวิทยา กล่าวคือ การพัฒนาการของเปลือกโลกบริเวณนี้ ย้อนกลับไปราว 20-30 ล้านปี เป็นจุดที่แผ่นดินเคยมุดตัวกัน แต่ปัจจุบันตำแหน่งการมุดตัวเปลี่ยนไปอยู่ในทะเลอันดามันแล้ว

ไทยมีกฎหมายควบคุมสิ่งปลูกสร้าง และหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้อยู่ อาทิ คณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ

คิดว่าตึกสูงก็น่าจะมีการออกแบบป้องกันแผ่นดินไหวอยู่แล้ว จึงไม่น่าเป็นห่วง สามารถรับมือได้ทั้งการสั่นไหวภายในประเทศ (แผ่นดินไหวขนาดเล็ก) และการสั่นไหวจากจุดศูนย์กลางในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งกรณีอย่างหลังเป็นสิ่งที่ไทยพบเจอมากกว่า

มีข้อมูลทางวิชาการใหม่จากนักวิจัยญี่ปุ่น ในกรณีศึกษาความเสียหายจากการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.9 ริกเตอร์ ที่จ.เซ็นได ของญี่ปุ่น โดยแรงสั่นสะเทือนในครั้งนั้นส่งผลให้ตึกที่มีความสูงบางแห่งที่ จ.โอซาก้า ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวไปกว่า 1,000 กิโลเมตร เกิดรอยร้าวขึ้นที่ชั้น 7-24

สาเหตุของการสั่นสะเทือนของตึกสูงนั้น เป็นเพราะมีฐานรากลึก เหมือนการดีดไม้บรรทัดยาวๆที่ปลายด้านหนึ่งและส่งผลให้ปลายอีกด้านหนึ่งสั่นสะเทือน ซึ่งสาเหตุของตึกร้าวที่ญี่ปุ่นมาจากแรงสั่นสะเทือนแบบ "คลื่นยาว"

ขณะที่ในกรณีของไทยนั้นน่าจะเป็น "คลื่นพื้นผิว" ไม่ใช่คลื่นยาว แต่จะต้องมีการศึกษาวิจัยเชิงลึกต่อไป รวมทั้งควรมีการทำแบบจำลองแผ่นดินไหว ตลอดจนอาจต้องมีการทบทวนแผนที่ความเสี่ยงแผ่นดินไหวของไทยใหม่ด้วย

นอกจากนี้ ศ.ดร.ธนวัฒน์ยังวิพากษ์วิจารณ์การที่กลุ่มนักวิชาการ บางกลุ่มนำลักษณะความเสียหายของกรุงเม็กซิโก ซิตี จากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ริกเตอร์ นอกชายฝั่งประเทศเม็กซิโก เมื่อปี 2528 มาผูกโยงกับลักษณะการได้รับรู้แรงสั่นสะเทือนของไทยจากแผ่นดินไหวในประเทศพม่าครั้งล่าสุดด้วยว่า ไม่สามารถ ผูกโยงกันได้ เพราะมีความแตกต่างกัน

โดยในครั้งนั้น ตึกสูงในกรุงเม็กซิโก ซิตี ตั้งแต่ชั้น 7 ขึ้นไปได้รับความเสียหายทั้งที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางกว่า 350 กิโลเมตร ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าเป็นไปไม่ได้ จึงเกิดการศึกษา พบว่ากรุงเม็กซิโก ซิตี ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เป็นทะเลสาบเก่า ทำให้มีชั้นดินอ่อนลึกลงไปกว่า 300 เมตร รวมทั้งลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะ

แตกต่างจากกรุงเทพฯ ที่มีชั้นดินอ่อนหนาเพียง 20 เมตรเท่านั้น

รวมทั้งลักษณะภูมิประเทศเป็นแบบเปิดลงไปสู่อ่าวไทยด้วย

ศ.ดร.ธนวัฒน์มองว่า เรื่องแผ่นดินไหวในประเทศไทยจำเป็นต้องมีข้อสรุปในทางวิชาการ

ดังนั้นการศึกษาวิจัยจึงเป็นสิ่งจำเป็น

โดยส่วนตัวคิดว่าคนไทยกลัวเรื่องแผ่นดินไหวมากกว่าน้ำท่วม แต่จริงๆ แล้วน้ำท่วมนั้นสร้างความเสียหายมากกว่า แม้กระทั่งการกัดเซาะชายฝั่งที่สร้างความเสียหายมากกว่าหลายร้อยเท่า แต่คนกลับไม่ค่อยกลัว

สาเหตุอาจเป็นเพราะแผ่นดินไหวเป็นพิบัติภัยที่มนุษย์ไม่สามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้ แม้แต่ในประเทศที่มีนักวิชาการแผ่นดินไหวหลายร้อยคน อย่างสหรัฐหรือญี่ปุ่นก็ไม่เคยพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหว มีแค่ไทยประเทศเดียวที่ในอดีตมีการทำนายออกมาเป็นซีรีส์ ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลทางวิชาการ และสร้างความเสียหายจนกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความต่อเนื่องของความกลัวมานาน ทำให้คนไทยกลัวแผ่นดินไหวมาก

คนไทยจำเป็นต้องปรับทัศนคติใหม่ ด้วยการรับฟังข้อมูลที่ถูกต้อง

มิฉะนั้นอาจต้องพบกับความเสียหายระยะยาว จากความกลัวเกินเหตุของคนไทยเอง

"ในบรรดาพิบัติภัยทั้งปวงที่สามารถสร้างความเสียหายให้ประเทศไทย ผมคิดว่าแผ่นดินไหวถือเป็นพิบัติภัยที่ประเทศไทยมีความเสี่ยงน้อยที่สุด" ศ.ดร.ธนวัฒน์กล่าว

นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)

...แม้ทุกโครงสร้างของอาคารในกทม.จะมีรากฐานที่มั่นคง แต่ก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจ...

เนื่องจากภัยธรรมชาติเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แม้กรณีแผ่นดินไหวในพม่าจะไม่ได้เกิดในไทยโดยตรง แต่ก็สามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน โดยเฉพาะในอาคารสูง หรืออาคารที่มีอายุการใช้งานมานาน

ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อม ติดตามเฝ้าระวัง พร้อมรับฟังปัญหาร่วมกัน และซักซ้อมความเข้าใจให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นมาตรการเชิงรุกโดยกรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับ 5 หน่วยงานหลัก ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา ศูนย์เตือน ภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กรมโยธาธิการและผังเมือง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

กรมอุตุนิยมวิทยา มีภารกิจหลักด้านพัฒนาระบบตรวจวัดแผ่นดินไหว ติดตั้งเครื่องมือวัดอัตราเร่งของพื้นดิน จัดทำฐานข้อมูลแผ่นดินไหว แจ้งเหตุแผ่นดินไหว พร้อมประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านแผ่นดินไหวให้ประชาชนรับทราบ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีหน้าที่แจ้งเตือนสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหว

ด้านปภ.จะฝึกซ้อมแผนจัดระบบสื่อสาร ฝึกอบรมอาสาสมัคร อพยพประชาชน ช่วยผู้ประสบภัย จัดสถานที่พักชั่วคราว และตั้งศูนย์รับและแจกของบริจาค กรมโยธาธิการและผังเมืองจะดำเนินการออกกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนักความต้านทานคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว

แม้ทุกโครงสร้างของอาคารในกทม. จะมีรากฐานที่มั่นคง แต่ก็ต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจถึงความปลอดภัยด้วย

ส่วนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมชลประทาน กรมอุทกศาสตร์ จะพัฒนาระบบตรวจวัดแผ่นดินไหวเฉพาะพื้นที่ของหน่วยงาน และกรมทรัพยากรธรณีจะมีหน้าที่ด้านการสำรวจรอยเลื่อนมีพลัง ประเมินความเสี่ยงภัยของพื้นที่ ทั้งนี้เมื่อแต่ละหน่วยงานได้เสนอมาตรการเตรียมความพร้อมรับมือแผ่นดินไหว ก็จะนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อหาแนวทางในการเตรียมความพร้อมไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะเน้นความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก

เพื่อเป็นตัวอย่างแก่หน่วยงานอื่นๆ ได้สั่งการให้ทส.ทำแผนซ้อมรับมือแผ่นดินไหว ก่อนหน่วยงานอื่นๆ เพราะตึกทส.เองก็เป็นตึกสูง 20 ชั้น โดยจะซักซ้อมทำความเข้าใจเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในตึกว่า หากเกิดเหตุแผ่นดินไหว ขึ้นมานั้นจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง




จาก .................. ข่าวสด วันที่ 20 พฤศจิกายน 2555

สายน้ำ
20-11-2012, 08:22
แผ่นดินไหว

http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2012/11/tec04201155p1.jpg&width=360&height=360

กรณีแผ่นดินไหวที่ประเทศพม่า และได้รับแรงสั่นสะเทือนจนมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมานี้ ทำให้คนไทยหันมาสนใจเรื่องแผ่นดินไหวกันอีกยกใหญ่

ความสนใจนี้เป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้หลายหน่วยงานต้องดูว่า หากเกิดแรงสั่นสะเทือนที่รุนแรงตาม "รอยเลื่อน" ต่างๆ ทั้งในไทยและประเทศใกล้เคียง สิ่งก่อสร้างต่างๆในจุดเสี่ยงจะได้รับอันตรายบ้างหรือไม่ แต่ถ้าความสนใจกลายเป็นความตื่นตระหนกที่ไม่อยู่กับความเป็นจริง ก็คงเป็นผลเสียมากกว่าผลดี

ข้อควรจำเกี่ยวกับแผ่นดินไหวมีดังนี้

1. แผ่นดินไหวไม่สามารถทำนายได้ล่วงหน้า ในปัจจุบันวงการวิทยาศาสตร์สากลมีข้อมูลเกี่ยวกับจุดที่มักเกิดแผ่นดินไหวต่างๆ ของโลกอย่างละเอียด แต่เรายังไม่มีเทคโนโลยีที่สามารถระบุอย่างแม่นยำได้ว่า แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นที่ใด ความลึกเท่าใด และเวลาใด

ทั้งนี้ ถ้าหากเราบอกได้จริงว่าจะเกิดแผ่นดินไหวที่ใดบ้าง คงมีการเตือนภัยล่วงหน้าเหตุการณ์อย่างสึนามิเมื่อปี 2004 แผ่นดินไหวเสฉวนเมื่อปี 2008 หรือแผ่นดินไหวเกาะเฮติ ปี 2010 ไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม วิทยาศาสตร์เดินหน้าอยู่เสมอ ในอนาคตอันใกล้เราอาจจะมีเทคโนโลยีคาดการณ์แผ่นดินไหวที่แม่นยำก็เป็นไปได้

2. แผ่นดินไหว เป็นเรื่องของ "ดิน" ไม่เกี่ยวกับ "ฟ้า" เคยมีข้อสมมติฐานว่า แผ่นดินไหวอาจเกิดจากการเรียงตัวของดาวเคราะห์ หรือจากปรากฏการณ์ "ซูเปอร์มูน" ซึ่งเป็นช่วงที่เรามองเห็นพระจันทร์ใหญ่กว่าปกติ แต่แท้จริงแล้ว แผ่นดินไหวเกิดจากการกดทับของเปลือกโลกอันทรงพลัง ความเชื่อมโยงระหว่างแผ่นดินไหวกับปรากฏการณ์ต่างๆบนท้องฟ้าจึงเป็นความบังเอิญนั่นเอง

ความบังเอิญยังทำให้มีข่าวลือว่าสัตว์บางประเภทแสดงอาการผิดปกติก่อนแผ่นดินไหวอีกด้วย ทั้งที่ความจริงคือ สัตว์มักแสดงอาการผิดปกติด้วยหลายเหตุผล เช่น หิว ไม่สบายเนื้อตัว ปกติเจ้าของก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรและลืมเสีย แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ใหญ่ๆ อย่างแผ่นดินไหว เรามักมองย้อนกลับไปว่าในวันก่อนหน้า สัตว์ตัวนี้เคยแสดงอาการเช่นนี้ จึงตีความไปเอง

3. แผ่นดินไหวมักถูกนำไปเชื่อมโยงกับไสยศาสตร์ หมอดูหลายสำนักชอบทำนายว่าจะเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งเนื่องจากแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้งในแต่ละสัปดาห์ทั่วโลก การทำนายทายทักก็ต้องถูกเข้าบ้างเป็นธรรมดา แต่เมื่อไม่เกิดขึ้นจริง คนเราก็มักลืมๆ กันเสีย (ยกเว้นแต่จะกลายเป็นเรื่องถึงคดีความอย่าง "หมอปลาบู่" เมื่อต้นปีนี้ ก็ลืมกันยากหน่อย) การทำนายแผ่นดินไหวจึงมีแต่ "ได้กับได้"

บางคนก็ไสยศาสตร์สุดโต่ง อย่างเช่น นักเทศน์มุสลิมคนหนึ่งในประเทศอิหร่าน ที่ระบุว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเพราะผู้หญิงประพฤติตัวไม่เหมาะสม!




จาก .................. ข่าวสด คอลัมน์หักมุมพิศวง วันที่ 20 พฤศจิกายน 2555