SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   ห้องรับแขก (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=2)
-   -   คำเตือนเรื่อง "สุขภาพ" (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=1742)

สายน้ำ 10-10-2011 08:26

คำเตือนเรื่อง "สุขภาพ"
 

กว่าจะเป็นมะเร็งตับ! ต้องรู้ก่อนสาย

http://www.dailynews.co.th/content/i...hl10102011.jpg

'เงิน' อาจจะไม่สามารถซื้อสุขภาพอันแข็งแรงกลับคืนมาได้ หากโรคภัยร้ายคุกคามในระยะรุนแรงไปแล้ว เช่นกรณี 'สตีเฟน จ็อบส์' อดีตซีอีโอของแอปเปิล ผู้คิดค้นและบุกเบิกอุปกรณ์ไอทีทันสมัย และมหาเศรษฐีคนหนึ่ง แม้จะมีทรัพย์สินกว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังต้องลาโลกไปในวัยเพียง 56 ปี ด้วยโรคมะเร็งตับ

เมื่อกล่าวถึงโรคมะเร็งตับแล้ว ในงานสัมมนาของบริษัทโรช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับได้พูดคุยอย่างเข้ากระแสกับข่าวการสูญเสียคนดังอย่าง สตีเฟน จ็อบส์ โดย รศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า ไวรัสตับอักเสบ บี ถือเป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง ตับวาย และโรคมะเร็งตับ

นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักกันว่า เป็นเพชฌฆาตเงียบ เนื่องจากระยะการดำเนินโรค(ชนิดเรื้อรัง)กินเวลานานหลายปี ซึ่งระหว่างนั้นจะไม่ปรากฏอาการผิดปกติให้ผู้ป่วยรู้ตัวได้เลย โดยเฉพาะในไทย มีผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี 3.5 ล้านรายในปัจจุบัน ขณะที่โรคมะเร็งตับซึ่งเป็นปลายทางการพัฒนาโรคของไวรัสตับอักเสบ บีนั้น คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มโรคมะเร็ง

เหตุที่ทำให้โรคไวรัสตับอักเสบ บี สร้างความสูญเสียได้มาก เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า โรคดังกล่าวติดต่อได้ง่ายกว่าเชื้อเอชไอวีถึง 50-100 เท่า โดยติดต่อได้หลายช่องทาง อาทิ จากมารดาสู่ทารกในระหว่างตั้งครรภ์หรือตอนคลอด ติดต่อทางเลือดจากการได้รับเลือดที่ปนเปื้อนเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์ การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ และการติดเชื้อเพราะใช้เครื่องมือที่ไม่สะอาดในการทำฟัน สัก หรือเจาะตามร่างกาย

จากการติดต่อที่ง่ายและไม่รู้ตัวของโรคไวรัสตับอักเสบ บี นั้น รศ.นพ.ทวีศักดิ์ จึงเตือนให้ทุกคนควรตรวจหาเชื้อไวรัสร้ายดังกล่าว โดยวิธีการตรวจที่แนะนำคือ การวัดปริมาณเปลือกของไวรัสตับอักเสบ บี หรือเอส-แอนติเจน (HBsAg) ซึ่งโดยทั่วไปจะค่าใช้จ่ายในการตรวจอยู่ที่หลักร้อย และทราบผลได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง ทั้งนี้ หากผลการตรวจชี้ว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ บี ก็จะได้เข้าสู่ขั้นตอนการรักษาซึ่งมีทั้งการรับประทานยาและการฉีดยาอย่างต่อเนื่อง

ด้าน รศ.นพ.ธีระ พิรัชวิสุทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับ ผอ.สถาบันโรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อัพเดตวิธีการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ที่สอดรับกับแนวคิดการรักษาเฉพาะบุคคล (Personalised Healthcare) ว่า ขณะนี้มีวิธีใหม่ใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ด้วยยาในกลุ่มเพ็คอินเตอร์เฟอรอน (peginterferon) เป็นหลัก ใช้ต่อเนื่องระยะ 48 สัปดาห์ จะมีประสิทธิภาพต่อสู้กับโรคสองแนวทางคือ การต่อสู้กับไวรัสโดยตรง และในเวลาเดียวกันจะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าจัดการกับเชื้อโรค

สำหรับวิธีรักษาด้วยยากลุ่มเพ็คอินเตอร์เฟอรอนนั้น รศ.นพ.ธีระ เผยว่า เหมาะสมที่จะใช้กับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี ที่มีอายุมาก ผลตรวจเปลือกของไวรัสตับอักเสบ บี เป็นบวก มีค่าเอนไซม์ในเซลล์ตับสูงกว่าปกติ 2 เท่า และที่พบว่าจำนวนไวรัสชนิดนี้มีมากเกิน 1 พันล้านตัว

เมื่อการแพทย์คิดหาวิธีที่ดีในการตรวจและรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี อย่างนี้แล้ว หากไม่อยากป่วยตายด้วยโรคมะเร็งตับไปอีกราย คนรักษ์สุขภาพทั้งหลายคงไม่ละเลยตรวจหาความผิดปกติของตับ.




จาก .................... เดลินิวส์ คอลัมน์สารพันวันละโรค วันที่ 10 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 15-10-2011 07:30


โรคมือ เท้า ปาก ระบาดช่วงฤดูฝน

http://www.bangkokbiznews.com/home/m...g_413023_1.jpg

การระบาดครั้งล่าสุดของโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ทำให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาตรการเฝ้าระวังการระบาดของโรคดังกล่าวในเด็กเล็กอีกครั้ง หลังจากที่พบผู้เสียชีวิตจากโรคมือ เท้า ปาก ครั้งแรกในรอบ 5 ปี โดยมีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 ราย

สาเหตุของโรคที่รุนแรงเกิดจากเชื้อเอ็นเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) หรือ อีวี 71 ซึ่งพบในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ทำให้สถานการณ์ของโรคระบาดรุนแรงขึ้นกว่าที่ผ่านมา โดยปกติสาเหตุของเชื้อโรคมือ เท้า ปาก ที่พบบ่อยในไทยคือ เชื้อไวรัสค็อกซากี (Coxsackie) ชนิดเอ 16 พบในเด็กอายุตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป และอยู่ภายใต้การติดตามทางระบาดวิทยามาโดยตลอด

กล่าวว่า โรคมือ เท้า ปากเป็นโรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะเด็กวัยเรียน โดยมีการระบาดช่วงฤดูฝน สาเหตุจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส ที่มีอยู่หลายสายพันธุ์ โดยไวรัสค็อกซากีเป็นสายพันธุ์ที่พบได้บ่อย ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง

แต่การระบาดของเชื้อโรคมือ เท้า ปาก ครั้งนี้มีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้น เนื่องจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 หรือ อีวี 71 ที่พบก่อโรคในเด็กกลุ่มอายุน้อยลง คือ อายุน้อยกว่า 2 ปี เมื่อได้รับเชื้อจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง มีไข้สูง อาเจียนมาก หายใจหอบ มีภาวะขาดน้ำ ความดันโลหิตต่ำจนช็อก ในกรณีที่มีสมองอักเสบร่วมด้วย มีอาการชักเกร็ง ซึม และเสียชีวิตได้

โรคมือ เท้า ปาก มีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ และติดต่อกันได้โดยที่ยังไม่แสดงอาการ สามารถแพร่ผ่านทางระบบทางเดินอาหารและการหายใจ และติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายและอุจจาระของผู้ป่วย ตลอดจนการติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคชนิดนี้

อาการแสดงออกของโรค ในเด็กจะมีอาการไข้ เจ็บปาก น้ำลายไหล กินอาหารได้น้อย เนื่องจากมีแผลที่กระพุ้งแก้มและเพดานปาก มีผื่นเป็นจุดแดงหรือตุ่มน้ำใสที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รอบก้นและอวัยวะเพศ อาจมีผื่นตามลำตัว แขนและขา อาการดังกล่าวมักมีเกิดขึ้น 2-3 วันและดีขึ้นจนหายได้ใน 1 สัปดาห์ โดยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง

โรคมือเท้าปากโดยทั่วไปไม่น่ากลัว สามารถหายป่วยได้เอง มีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง จากเชื้ออีวี 71 ที่ทำให้สมองอักเสบร่วมกับระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว และเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เด็กที่มีอาการรุนแรงมักมีไข้สูง ซึมอ่อนแรง มือสั่น เดินเซ อาเจียนมาก หายใจหอบ และชัก หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบพาพบแพทย์โดยด่วน

แม้ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ทั้งยังไม่มียารักษาจำเพาะ แต่สิ่งที่แพทย์ปฏิบัติ คือการรักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาชาเฉพาะที่ สำหรับแผลในปาก ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยภาวะขาดน้ำ เด็กที่มีอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ตาม การป้องกันการแพร่ระบาดของโรค สามารถทำได้โดยแยกผู้ป่วยที่เป็นโรค "ไม่ให้" ไปสัมผัสกับเด็กคนอื่น ผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กควรหมั่นล้างมือ ทำความสะอาดของเล่นและสภาพแวดล้อมทุกวัน เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไปยังเด็กคนอื่น

การทำความสะอาดโดยใช้สบู่ ผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาดทั่วไปสามารถกำจัดเชื้อได้ ควรระมัดระวังความสะอาดของน้ำ อาหารและสิ่งของที่เด็กอาจเอาเข้าปาก ในขณะที่โรงเรียนควรแยกเด็กป่วยให้ลาหยุดอย่างน้อย 5 วันจนหายดี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อแก่เด็กอื่นๆ

ขณะเดียวกันควรพิจารณาปิดชั้นเรียนที่มีเด็กป่วยเป็นโรคมากกว่า 2 คน และหากมีเด็กป่วยหลายชั้นเรียน ควรปิดโรงเรียนอย่างน้อย 5 วัน พร้อมทำความสะอาดห้องเรียน ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ ของเล่น อุปกรณ์รับประทานอาหาร เป็นต้น

เด็กที่ติดเชื้อโรคมือ เท้า ปาก สามารถหายได้เอง หากไม่มีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้น




จาก ....................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 15 ตุลาคม 2554

ตุ๊กแกผา 15-10-2011 18:52

ขออนุญาตเพิ่มเติมในส่วนของโรคไวรัสตับอักเสบบีค่ะ (เพราะทำงานอยู่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือแผนกทางเดินอาหารและโรคตับ) คือ สามารถป้องกันได้แต่เนิ่นๆเลยทีเดียว โดยการฉีดวัคซีน(3เข็ม) แต่ก่อนที่จะฉีดวัคซีน ก็ควรไปตรวจก่อนว่ามีการติดเชื้อรึเปล่าและมีภูมิฯรึยัง แต่ส่วนใหญ่ตามรพ.ต่างๆมักต้องเจาะเลือดตรวจหาเชื้อ(HBsAg)และดูภูมิ(AntiHBs)ก่อนอยู่แล้ว .......ทุกโรงพยาบาลมีการตรวจเรื่องนี้หมดค่ะ

สายน้ำ 16-10-2011 08:37


เตือนระวัง!! เชื้อไวรัส ''อาร์เอสวี'' ติดต่อง่ายแพร่ระบาดช่วงปลายฝน

http://www.dailynews.co.th/content/i...er/p4thurl.jpg

ฤดูฝนช่วงเวลานี้อากาศมีความเปลี่ยนแปลงสัมผัสได้ทั้งความร้อนและสายลมเย็นๆ โอกาสจะเจ็บป่วยอาจเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุซึ่งคงต้องเฝ้าระวังดูแลสุขภาพเตรียมความพร้อมไว้แต่เนิ่นๆ

เรสไพราทอรีซินซิเชียลไวรัส หรือ ไวรัสอาร์เอสวี (RSV) สาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง เป็นไวรัสที่พบแพร่ระบาดช่วงเวลานี้ที่เกิดได้ทั้งในเด็กเล็กและผู้ใหญ่ เมื่อติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนล่างผู้ติดเชื้อร้อยละ 70 มักเกิดอาการปอดบวมและหลอดลมฝอยส่วนปลายอักเสบ ซึ่งพบมากในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ!!

นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังมีรายงาน พบผู้ติดเชื้ออาร์เอสวีทั่วโลกกว่า 64 ล้านคนและคร่าชีวิตผู้ป่วยทั่วโลกไปแล้วกว่า 200,000 ราย ขณะที่อุบัติการณ์ของผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งนี้เพราะอาจขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ประกอบกับเชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถติดต่อได้ง่ายผ่านทางการสัมผัสและหายใจ ส่งผลให้เชื้อไวรัสแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในช่วงวัยเรียน

รศ.แพทย์หญิงอรพรรณ โพชนุกูล กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และระบบทางเดินหายใจในเด็ก หัวหน้าหน่วยโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และกรรมการสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ให้ความรู้ว่า ไวรัสชนิดนี้มักแพร่ระบาดช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยและมีความชื้นสูง

อาการที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปเมื่อติดเชื้อไวรัสช่วงแรกจะคล้ายกับไข้หวัดจะมีอาการไข้ ไอ จาม คัดจมูกน้ำมูกไหล ฯลฯ จากนั้นมีอาการไข้สูง ไอมากขึ้นมีเสมหะ ไอหอบ หายใจหอบเหนื่อยและมักหายใจมีเสียงดังวี้ดๆ หน้าอกบุ๋มยุบลงโดยพบมากในเด็กเล็กซึ่งหากเด็กได้รับเชื้อจะทานอาหาร ทานนมได้ลดน้อยลง

อีกทั้งอาจมีภาวะแทรกซ้อนหูชั้นกลางอักเสบโดยจะมีอาการไข้ ปวดหู ฯลฯ หากปล่อยทิ้งไว้แก้วหูอาจทะลุมีปัญหาในเรื่องการได้ยิน!!

นอกจากนี้ไวรัสอาร์เอสวียังเป็นสาเหตุของโรคปอดบวมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นหอบหืด นอกเหนือจากเกิดขึ้นกับเด็กเล็กแล้วยังส่งผลถึงผู้ใหญ่โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีที่ต้องเฝ้าระวัง ทั้งนี้เพราะภูมิต้านทานไม่แข็งแรงรับเชื้อได้ง่าย

“สิ่งที่ต้องเน้นย้ำในการหลีกเลี่ยงเชื้อไวรัสอาร์เอสวี คือการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ยิ่งช่วงเวลานี้ที่อากาศมีความชื้นและเปลี่ยนแปลงบ่อย หากละเลยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจจะลุกลามไปจนเกิดโรคปอดบวม ปอดอักเสบ นอกจากนี้เด็กที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวอาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืด”

เชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถติดต่อได้ง่ายทั้งการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อนี้อยู่แล้วหรือมีการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัสผ่านทางตา จมูกหรือทางการหายใจ ดังนั้นหากเริ่มมีอาการป่วยโดยเริ่มแรกจะเหมือนไข้หวัด มีอาการไข้ต่ำๆ ไอ จาม ฯลฯ อย่านิ่งนอนใจควรสังเกตอาการ หากหายใจมีเสียงวี้ดๆ หอบเหนื่อยควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยว่าลุกลามติดเชื้อไปยังทางเดินหายใจส่วนล่างหรือไม่ หากเคยเป็นหอบและเป็นบ่อยควรพบแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้หอบกลายเป็นหืดในอนาคต

ก่อนต้องเผชิญกับภัยสุขภาพดังกล่าวการป้องกันเตรียมพร้อมไว้สิ่งนี้มีความสำคัญซึ่งในเด็กเล็กและในผู้สูงอายุ แพทย์หญิงอรพรรณให้คำแนะนำเพิ่มเติมอีกว่า หากป่วยเป็นหวัด ควรสวมหน้ากากอนามัย การใช้หน้ากากอนามัยจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค ล้างมือบ่อยๆ รวมถึงหลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แออัด ส่วนช่วงเวลานี้ที่ยังคงเป็นฤดูฝนอากาศมีความชื้นหรือหากอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศเย็นควรสวมใส่เสื้อผ้าหนาๆ เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น

ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงจากเด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัดโดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว แต่อย่างไรแล้วต้องสังเกตอาการควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่าคิดเป็นเพียงแค่หวัดธรรมดา อีกทั้งในเรื่องสุขอนามัยควรเคร่งครัดโดยโรคดังกล่าวสามารถรักษาได้ นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่ปรุงสุกสะอาดมีประโยชน์ รวมถึงออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนเพียงพอ ฯลฯ ก็ไม่ควรละเลยเพราะข้อปฏิบัติเหล่านี้ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ห่างไกลจากภาวะเจ็บป่วย.



เคล็ดลับสุขภาพดี แนะตั้งสติรับมือความเครียดจากภัยน้ำท่วม

ประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของไทยกำลังเผชิญกับอุทกภัยอย่างหนัก สร้างความลำบาก บอบช้ำ ทุกข์ระทม บางครอบครัวสูญเสียชีวิตญาติพี่น้องอันเป็นที่รักไป บางครอบครัวสูญเสียทรัพย์สินแทบสิ้นเนื้อประดาตัว ทำให้เกิดภาวะเครียดนอนไม่หลับ บางรายถึงขั้นซึมเศร้า ท้อแท้จนอยากฆ่าตัวตายเพราะไม่ทราบว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไร!?

นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์ แนะนำว่า ประชาชนชาวไทยต้องประสบปัญหาน้ำท่วมและเผชิญปัญหาหลายด้านไปพร้อมๆกัน ไม่ว่าจะเป็นความไม่สะดวกในเรื่องความเป็นอยู่ อาหารการกิน การนอน รวมไปถึงการขับถ่าย นอกจากนี้ยังมีความทุกข์ใจจากทรัพย์สินที่เสียหาย ไม่ว่าจะเป็น บ้าน รถยนต์ เงินทอง พื้นที่การเกษตร บางคนเจ็บป่วย สูญเสียญาติพี่น้อง ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรง ซึ่งอาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้ อย่างไรก็ตามคนเรามีความสามารถในการรับมือกับความเครียดได้ไม่เท่ากัน ทำให้แสดงออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หายใจไม่อิ่ม ใจสั่น หายใจไม่ออก ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน บางรายรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เกิดอาการกลัว วิตกกังวลรุนแรง ตื่นตระหนก

ดังนั้นเราจึงต้องตั้งสติเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการปฏิบัติง่ายๆ ดังนี้

1. ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ให้ทำความเข้าใจและยอมรับว่าภัยพิบัติไม่ได้เกิดกับเราคนเดียว แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลก ยังมีเพื่อนร่วมชะตากรรมกับเราอีกเยอะ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นต้องมีทางออกแต่ต้องใช้เวลาบ้าง เราท้อแท้ได้แต่อย่านานและต้องลุกขึ้นเดิน

2. จัดลำดับความสำคัญของปัญหา เมื่อตั้งสติได้แล้วให้มองปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างเพื่อจัดลำดับ เช่น การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้แก่ ที่อยู่ การกิน การนอน ห้องน้ำ การขับถ่าย การแก้ปัญหาระยะยาวเป็นเรื่องที่ไม่ด่วน ได้แก่ หลังจากนี้จะป้องกันน้ำท่วมอย่างไร การช่วยเหลือของรัฐบาลหลังน้ำลด ซึ่งเป็นเรื่องไม่ด่วนและสำคัญเท่ากับชีวิตความเป็นอยู่ก็ปล่อยวางไปก่อน เมื่อจัดลำดับได้แล้วก็ค่อยๆแก้ไปทีละอย่าง เพราะการแก้ปัญหาได้สำเร็จไปทีละข้อจะช่วยให้เกิดความมั่นใจ กำลังใจจะค่อยๆเกิดขึ้นจนกลายเป็นว่าจะสามารถผ่านวิกฤตินี้ไปได้

3. พยายามใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ค่อยๆปรับวิธีคิดและปล่อยวางเรื่องทรัพย์สินซึ่งเป็นสิ่งของนอกกาย อนาคตยังมีโอกาสหาใหม่ได้ และใช้ชีวิตที่เรียบง่ายเพื่อลดความเครียด เพราะบางคนเครียดเนื่องจากเป็นห่วงทรัพย์สินจนไม่ยอมอพยพขึ้นไปอยู่บนพื้นที่สูงเหนือน้ำ บางครั้งเราต้องชั่งน้ำหนักระหว่างทรัพย์สินกับชีวิตและสุขภาพด้วยว่าสิ่งใดสำคัญกว่ากัน ซึ่งทรัพย์สินมีค่าก็สำคัญในระดับหนึ่งเราอาจจะรวมกลุ่มกับเพื่อนบ้านสลับเวรยามกันเฝ้าก็ได้ อย่างน้อยๆ ทรัพย์สินก็มีคนดูแลรวมถึงสุขภาพก็ได้รับการดูแลเช่นกันจะได้ไม่ต้องเหนื่อยจนเกินไป และ

4. เอาใจใส่ดูแลกันและกัน ข้อนี้สำคัญโดยใครที่มีจิตใจที่แข็งแรงต้องช่วยเหลือคนที่อ่อนแอด้วยการให้กำลังใจหรือรับฟังคนที่เครียดมากๆให้ได้ระบายความรู้สึกออกมา เพราะเพียงแค่มีคนมารับฟังก็สามารถช่วยทำให้ผู้ประสบปัญหาหรือมีความเครียดรู้สึกดีได้ในระดับหนึ่ง

ถึงแม้อุทกภัยในครั้งนี้จะรุนแรงมากและไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่เราจะผ่านพ้นไปได้ แต่ถ้าเรามีสติและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับตั้งหลักวางแผนและให้กำลังใจซึ่งกันและกันก็จะทำให้มีกำลังใจเดินหน้าต่อสู้กับปัญหาเพื่อผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้สำเร็จ.



สรรหามาบอก

- คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญบุคลากรและประชาชนร่วมบริจาคเงินและเครื่องอุปโภค–บริโภค เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ โดยเปิดรับบริจาคตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เวลา 08.30–16.30 น. ที่โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) และคณะภาคสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ขอเชิญสมาชิกชมรมสตรีวัยทองและประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยทอง ครั้งที่ 7 ในหัวข้อ “กระเป๋าตุงและปลอดมะเร็งในวัยทอง” ในวันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2554 เวลา 08.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมตรีเพ็ชร อาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 15 (รับจำนวนจำกัด 500 ท่าน) สอบถาม โทร. 0-2419-4657-8

- โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จัดงานสัปดาห์เทิดพระเกียรติสมเด็จย่า ประจำปี 2554 ขอเชิญประชาชนผู้สนใจชมนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จย่าและบริการทางทันตกรรมฟรี ใน วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2554 เนื่องในวันทันตสาธารณสุข ประจำปี 2554 โดยมีบริการทันตกรรมแก่ผู้ใหญ่ จำนวน 400 ราย และเด็ก จำนวน 200 ราย โดยไม่คิดมูลค่า ณ คลินิกบริการสุขภาพช่องปาก อาคารราชสุดา เปิดรับคิวตั้งแต่เวลา 08.00-15.00 น. ณ โถงชั้น 1 อาคารปิยชาติ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่งานประชาสัมพันธ์ โทร. 0-2926-9310-1 ในวันและเวลาราชการ

- โรงพยาบาลพญาไท 3 ขอเชิญร่วมกิจกรรม “Smart Brain & Spine พญาไท 3 ใส่ใจสุขภาพสมองและกระดูกสันหลัง” ภายในงานมีนิทรรศการให้ความรู้ของศูนย์สมองและระบบประสาทและให้คำปรึกษาด้านสมองและกระดูกสันหลัง รวมทั้งกิจกรรมให้ความรู้หัวข้อเทคโนโลยีการผ่าตัดสมองและกระดูกสันหลังและโรคความจำเสื่อมรักษาได้ สนใจร่วมงานได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2554 ณ ลาน OPD ชั้น 1 โรงพยาบาลพญาไท 3 สอบถาม โทร. 1772

- ชมรมอายุวัฒนา โรงพยาบาลนครธน ขอเชิญผู้รักสุขภาพร่วมกิจกรรมเสวนา “หัวใจดี...มีชัยไปกว่าครึ่ง” พร้อมร่วมกันปฏิบัติธรรมและออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตน ใน วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2554 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องประชุมทองสิมา ชั้น 4 โรงพยาบาลนครธน สอบถามเพิ่มเติมโทร. 0-2450-9999.




จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 16 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 16-10-2011 08:44


'อย่าประมาท'!!.... โรค มือ เท้า ปาก วายร้ายใกล้ตัว ..... ตอน 1 .................. โดย นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

http://www.dailynews.co.th/content/i...r/p6thurl3.jpg

จากสถานการณ์การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็ก ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา พบผู้ป่วยทั่วประเทศจำนวน 12,155 คน : ตั้งแต่ 1 ม.ค.-22 ก.ย.54 อัตราป่วยคิดเป็น 19.13 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 4 ราย ส่วนใหญ่เกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักระบาดในช่วงหน้าฝน

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสติดต่อทางปาก ไอ จามรดกัน แม้ความรุนแรงของโรคไม่สูง แต่เนื่องจากติดกันง่ายจึงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด พบว่าต้นเหตุน่าจะเป็นเพราะเด็กเล่นคลุกคลีกันและติดเชื้อ เมื่อเด็กติดเชื้อผู้ปกครองก็ไม่ได้แจ้งให้ทางโรงเรียนทราบ เด็กจึงนำเชื้อไปติดเด็กคนอื่น ดังนั้น ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย อาหาร ให้มีสุขอนามัยที่ดีเพราะเป็นวิธีการป้องกันโรคนี้ดีที่สุด

1. โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease) คือโรคอะไร ...
โรคมือ เท้า ปาก เป็นกลุ่มอาการหนึ่งซึ่งมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสที่สามารถเจริญเติบโตได้ในลำไส้ ที่เรียกว่า เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ซึ่งพบเฉพาะในคนเท่านั้น และมีหลากหลายสายพันธุ์ สำหรับสายพันธุ์ที่ก่อโรคมือ เท้า ปาก ได้แก่ คอกแซกกีไวรัสกรุ๊ป เอ และบี (Coxsackie virus group A, B) และที่ก่อโรครุนแรงที่สุด คือ เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71

เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่ามีรายงานผู้ป่วยสูงกว่าเกือบ 3 เท่า และมักเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 2 สัปดาห์ ถึง 3 ปี โรคนี้ไม่เป็นปัญหาในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

2.โรคนี้พบที่ใดบ้าง ...
โรคนี้พบผู้ป่วยและการระบาดได้ทั่วโลก มีรายงานการระบาดรุนแรงที่มีสาเหตุจากเอนเทอโรไวรัส 71 ในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย เช่น ประเทศเวียดนามมีข้อมูลล่าสุดพบผู้ป่วยกว่า 42,673 ราย เสียชีวิตกว่า 98 ราย ในขณะที่ประเทศมาเลเซีย พบผู้ป่วยในปีนี้ 2,919 ราย ลดลงจากปีที่แล้ว (2553) ที่พบผู้ป่วยถึง 8,769 ราย โดยในปีนี้ยังไม่พบผู้เสียชีวิต แหล่งที่มา : http://outbreaknews.com /04 September 2011

3. โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อได้อย่างไร ...
โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อโดยการได้รับเชื้อโดยตรงทางปาก ซึ่งเชื้อจะติดมากับมือ ภาชนะที่ใช้ร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ หรือของเล่นที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากตุ่มพอง แผลในปาก หรืออุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสอยู่ เชื้อจะผ่านเข้าไปที่ลำคอ และลงไปที่ลำไส้ โดยเชื้อจะเพิ่มจำนวนที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอ รวมทั้งทอนซิล และเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลือง สำหรับเชื้อไวรัสที่อยู่ในลำไส้ จะถูกขับถ่ายปนมากับอุจจาระเป็นระยะๆได้นานถึง 6-8 สัปดาห์ แม้อาการจะทุเลาลงแล้วก็อาจแพร่เชื้อได้ การติดต่อมักเกิดได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ซึ่งมีเชื้อไวรัสออกมามาก การแพร่กระจายเชื้อจะเกิดได้ง่ายมากในเด็กเล็ก ที่ชอบเล่นคลุกคลีใกล้ชิดกันในโรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือญาติพี่น้องที่อยู่รวมกัน

4. หากติดเชื้อแล้วจะเริ่มแสดงอาการเมื่อใด ...
ส่วนใหญ่อาการป่วยจะแสดงภายใน 3-5 วัน หลังได้รับเชื้อ โดยไข้เป็นอาการแสดงเริ่มแรกของโรค

5. อาการของโรคเป็นอย่างไร ...
เริ่มด้วยมีไข้ (อาจเป็นไข้สูงในช่วง 1-2 วันแรก และลดลงเป็นไข้ต่ำ ๆ อีก 2-3 วัน) มีจุดหรือผื่นแดงอักเสบในปาก มักพบที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ทำให้เจ็บปากไม่อยากรับประทานอาหาร จะเกิดผื่นแดง ซึ่งจะกลายเป็นตุ่มพองใสรอบๆ แดงที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่อื่น เช่น หัวเข่า ก้น เป็นต้น ผื่นนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใสรอบๆ แดง (maculo-papular vesicles) มักไม่คัน แต่เวลากดจะเจ็บ ต่อมาจะแตกออกเป็นหลุมตื้นๆ (ulcer) อาการจะดีขึ้นและแผลหายไปใน 7-10 วัน

ในเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เนื่องจากยังไม่มีภูมิต้านทาน จึงมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรงมากกว่าเด็กโต พบว่าบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (aseptic meningitis) ก้านสมองอักเสบ (brain stem encephalitis) ตามมาด้วยปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ระบบหัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ทำให้เสียชีวิตได้ สัญญาณอันตราย ได้แก่ ไข้สูง (ไม่ลดลง) ซึม อาเจียนบ่อย หอบ และแขนขาอ่อนแรง เกิดภาวะอัมพาตคล้ายโปลิโอ

6.ผู้ใหญ่สามารถติดโรคมือ เท้า ปาก จากเด็กได้หรือไม่ ...
ผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้จากการได้รับเชื้อขณะเป็นเด็ก ซึ่งภูมิต้านทานนี้ จะจำเพาะกับชนิดของไวรัสที่เคยได้รับ หากได้รับเชื้อชนิดใหม่ที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน ก็สามารถเป็นโรคได้อีก ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย แต่สามารถแพร่เชื้อไปสู่เด็กหรือผู้อื่นได้

7. หญิงตั้งครรภ์ที่สัมผัสผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก เสี่ยงติดโรคหรือไม่ ...
ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่หากมีอาการป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลแสดงว่าการติดเชื้อมีผลต่อการแท้งบุตร ความพิการ หรือเด็กเสียชีวิตในครรภ์ อย่างไรก็ตาม เด็กอาจได้รับเชื้อขณะคลอด หากมารดาป่วยในช่วงใกล้คลอด เด็กแรกเกิดที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่มีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การป้องกันทำได้โดยการปฏิบัติสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์ และระหว่างคลอด

8. หากบุตรหลานมีอาการป่วย ควรทำอย่างไร ...
แยกเด็กป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่นๆ ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 5-7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น หรือหากเด็กมีอาการแทรกซ้อน เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ เป็นต้น ต้องรีบพากลับไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที

ไม่ควรพาเด็กไปสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ ตลาด และห้างสรรพสินค้า ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศระบายถ่ายเทได้ดี ใช้ผ้าปิดจมูก-ปากเวลาไอจาม และระมัดระวังการไอจามรดกัน และผู้เลี้ยงดูเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย

9. ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคมือ เท้า ปาก ที่รุนแรง ...
โดยทั่วไปโรคมือ ปาก เท้า เป็นโรคที่ไม่อันตราย ในประเทศไทยพบโรคนี้ได้บ่อยแต่ไม่มีความรุนแรง ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการของโรค ผู้ป่วยมักมีอาการป่วยเล็กน้อย หายได้เองภายใน 7-10 วัน และแทบไม่มีผู้เสียชีวิตเลย แต่เด็กอ่อนและเด็กเล็กมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรงมากกว่าเด็กโต

: ข้อมูลจาก แผนกควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลพญาไท 2 http://www.phyathai.com.




จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 16 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 22-10-2011 07:45


ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจคิดใหม่ทำใหม่เพื่อหัวใจของคุณ ........................ โดย รศ.นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

http://www.dailynews.co.th/content/i...r/p28thurl.jpg

ปัจจุบันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเป็นภาวะการเจ็บป่วยที่สำคัญของคนไทย โดยที่มีอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตมากขึ้น อาการที่เกิดขึ้นคือเจ็บหน้าอกและเหนื่อย ไม่สามารถออกกำลังหรือปฏิบัติภารกิจทางกายได้ ซึ่งมักเกิดจากหลอดเลือดที่ตีบ และการเสียชีวิตก็มักเกิดจากภาวะการตายฉับพลันของกล้ามเนื้อหัวใจซึ่งมักเกิดจากหลอดเลือดที่อุดตันเฉียบพลัน

การตีบหรือการตันของหลอดเลือดนั้นมักจะมีภาวะการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด ถือว่าเป็นภาวะเสื่อมอย่างหนึ่งและการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดนี้จำเป็นต้องมีการสะสมของแคลเซียม หรือ หินปูน ร่วมด้วย อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลอดเลือดมีลักษณะแข็ง ดังนั้นการตรวจแคลเซียมที่เกาะอยู่กับหลอดเลือดหัวใจก็เปรียบเสมือนการตรวจพบการเกาะหรือสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจเพื่อคาดเดาโอกาสที่จะเกิดปัญหาจากโรคหลอดเลือดหัวใจหลายอย่างด้วยกัน อาทิ การตรวจระดับไขมันในเลือด การตรวจความดันโลหิต การเดินวิ่งสายพานและการตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจก็เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งมีหลักฐานการศึกษาวิจัยที่มีมากมาย และดูเหมือนว่าจะใช้ระดับหรือค่าที่ตรวจพบได้ในการคาดเดาโอกาสที่จะเกิดปัญหาจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้เพิ่มขึ้นจากการตรวจโดยทั่วไป และจะใช้ในการแยกแยะผู้ที่มีความเสี่ยงในระดับกลาง

ตัวอย่างเช่น นายนิพนธ์ อายุ 64 ปี มีประวัติความดันสูง เป็นโรคเบาหวาน และสูบบุหรี่จัด มีอาการเหนื่อยแน่นหน้าอกบ้างเมื่อเดินขึ้นบันไดไปชั้นที่ 3 จากลักษณะข้อมูลนี้บ่งบอกได้ว่านายนิพนธ์มีโอกาสเกิดปัญหาจากโรคหลอดเลือดหัวใจสูง (ปัญหาที่กล่าวถึงคือมีโอกาสที่จะมีอาการแน่นหน้าอกฉับพลัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเสียชีวิตฉับพลันทันที หรือต้องได้รับการรักษาด้วยการทำผ่าตัดบายพาสหรือขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน) โอกาสสูงคือ มากกว่า30% หมายความว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้าคนร้อยคนแบบคุณนิพนธ์ จะมี 30 คนที่เกิดปัญหาดังกล่าว คุณนิพนธ์ควรได้รับการดูแลรักษาอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ การตรวจแคลเซียมจะไม่เอื้อประโยชน์เท่าใดนัก เว้นแต่ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการดูแลรักษา เมื่อพบว่ามีการสะสมของแคลเซียมเป็นอย่างมาก

นางสาวยุพิน อายุ 24 ปี อาชีพพยาบาล ไม่มีประวัติเจ็บป่วย แต่มีอาการเจ็บหน้าอกเป็นระยะ ๆ และไม่สูบบุหรี่ ลักษณะแบบนี้บ่งถึงผู้ที่ยังปราศจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดปัญหาจากโรคหลอดเลือดหัวใจในอีก 10 ปีข้างหน้า การตรวจแคลเซียมในหัวใจจะไม่มีความจำเป็นและไม่เอื้อประโยชน์เท่าใดนัก

นายพินิจ อายุ 50 ปี ไม่มีประวัติโรคหัวใจ แต่ชอบสูบบุหรี่ ไม่จำกัดอาหาร น้ำหนักขึ้นมาโดยเฉลี่ยครึ่งกิโลกรัมต่อปีหลังจากจบมหาวิทยาลัย ยังสามารถเดินห้างสรรพสินค้าได้โดยไม่มีอาการแต่อย่างใด คุณพินิจยังไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไข้ แต่ก็กลัวจะเป็นโรคหัวใจ เพราะเพิ่งจะมีเพื่อนเสียชีวิตเฉียบพลันขณะเล่นกอล์ฟเมื่ออาทิตย์ก่อนจากลักษณะของคุณพินิจบ่งบอกถึงผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงในระดับกลางที่จะเกิดปัญหาเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ กล่าวคือประมาณร้อยละ 10–20 หรือในระยะ 5 ปีข้างหน้าคนร้อยคนอย่างคุณพินิจ 10-20 คนจะเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บหน้าอกฉับพลันต้องทำบายพาสหรือต้องทำบอลลูน หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตฉับพลันทันที คุณพินิจไม่แน่ใจว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไร ในใจก็คิดว่าหยุดสูบบุหรี่ได้ก็คงจะพอ การตรวจหาและวัดระดับการสะสมของแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจในคนทั่วไปที่มีลักษณะแบบนี้จะได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก เพื่อบ่งบอกถึงความเสี่ยงในอนาคต และช่วยตัดสินใจในการเลือกการดูแลรักษานอกเหนือไปจากการเลิกสูบบุหรี่

ถ้าคุณพินิจ มีระดับการสะสมของแคลเซียมมากกว่า 400 ขึ้นไป โอกาสที่จะเกิดปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเกือบ 30% และหมายถึงความจำเป็นที่ต้องเลิกบุหรี่อย่างจริงจัง ความจำเป็นที่ต้องรับยาบางชนิดเพื่อป้องกันการอุดตันของโรคหลอดเลือดหัวใจอาทิ ยาแอสไพริน ยาสะเตติน และอาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องเดินสายพานเพื่อทราบถึงสภาพความคล่องตัวของการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดหัวใจ

ถ้าคุณพินิจ มีระดับการสะสมของแคลเซียมไม่มากนัก คือน้อยกว่า 100 การเลิกบุหรี่ก็คงเป็นสิ่งที่น้อยที่สุดที่ควรจะทำ แต่ยังไม่จำเป็นต้องรับประทานยา ส่วนผู้ที่มีระดับระหว่าง 100-400 ก็เป็นกลุ่มที่ต้องระวังมาก ควรเลิกบุหรี่เช่นกัน และควรตรวจแคลเซียมหัวใจอีกครั้งทุก 2 ปี ซึ่งถ้ามีปริมาณมากขึ้นก็คงต้องมีการปรับพฤติกรรมบางอย่างมากขึ้น เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาน้ำหนักตัวให้พอดี รวมไปถึงรับประทานยาเพื่อชะลอการสะสมของไขมันมากขึ้นอีก เช่น ยาในกลุ่มสะเตติน ยาแอสไพริน

ข้อดีของการตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจคือ ไม่ต้องออกกำลัง นอนเฉยๆผ่านเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที ไม่ต้องฉีดสีคือให้น้ำเกลือ ข้อสำคัญคือไม่เจ็บตัว แต่เสียสตางค์ ข้อมูลที่ได้ไม่ผันแปรนัก และค่าที่ตรวจได้คงที่หากตรวจซ้ำในระยะเวลาใกล้กัน (ไม่เหมือนกับค่าระดับน้ำตาลในเลือด หรือ ความดันเลือดที่แปรเปลี่ยนในแต่ละเวลา และคนที่วัด) ดังนั้นการตรวจแคลเซียมจึงเป็นทางเลือกในการตรวจหัวใจและอาจจะช่วยหลีกเลี่ยงการเป็นโรคหัวใจเฉียบพลันทันทีก็ได้.




จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 22 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 23-10-2011 09:15


สารพัดโรคจากวิกฤติน้ำท่วม!! ลดเสี่ยงก่อนร่างกาย-จิตใจป่วย

http://www.dailynews.co.th/content/i...er/p4thurl.jpg

เมื่อเราตกอยู่ในสภาวะอุทกภัยร้ายแรงซึ่งที่ทราบกันดีว่าส่งผลให้บ้านเรือน ทรัพย์สินเสียหาย อย่างไม่เคยคาดคิดมาก่อน หลายคนเกิดความกลัวกระทั่งกลายเป็นความวิตกกังวล และอาจส่งผลให้คนคนหนึ่งมีอารมณ์ความรู้สึกหลายๆอย่างเกิดขึ้นจนกลายเป็นความเครียด เมื่อเครียดมากๆ ร่างกายก็เริ่มเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆมากมาย ดังนั้นเราควรเตรียมพร้อมรับมือก่อนลุกลามทำให้ร่างกายและจิตใจป่วยไปพร้อมๆกัน คงเป็นอะไรที่แย่มากๆ

ทางกลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช ได้ให้ความรู้และแนวทางการป้องกันสารพัดโรคต่างๆที่อาจเกิดจากอุทกภัยน้ำท่วมว่า การจัดการกับความเครียดจากวิกฤติการณ์น้ำท่วม หรือการตอบสนองทางอารมณ์จากภัยน้ำท่วม ไม่ว่าใครก็ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น พายุ ไฟไหม้ และภัยน้ำท่วมที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ในขณะนี้ อาจทำให้มีความเครียดจากสาเหตุต่างๆ เช่น ทรัพย์สินเสียหาย การเจ็บป่วย การเสียคนในครอบครัว ซึ่งความเครียดที่เกิดขึ้นอาจมีผลเสียต่อสุขภาพของเราได้โดยที่เราไม่รู้ตัว

ดังนั้นการแสดงออกทางอารมณ์ที่แสดงว่าเราเริ่มมีความเครียดที่อาจจะพบ ได้แก่ มีอาการฝันร้ายหรือฝันซ้ำๆเกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วม ไม่สามารถมีสมาธิหรือจดจำสิ่งต่างๆได้ รู้สึกเฉยชา เบื่อ เหนื่อย แยกตัวออกจากสังคมหรือคนรอบข้าง มีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธ แสดงออกอย่างรุนแรง มีอาการไม่สบายทางกาย เช่น ปวดหัว อาหารไม่ย่อย ปวดเมื่อยตามตัว มีลักษณะที่แสดงออกถึงการระวังความปลอดภัยของคนในครอบครัวอย่างเกินเลย หลีกเลี่ยงจะจดจำเรื่องน้ำท่วม และร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ

หากเรามีอาการเหล่านี้ควรจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นด้วยการจำกัดการได้รับข่าวสารที่เกี่ยวกับอุทกภัยหรือภัยธรรมชาติต่างๆแต่พอควร รับข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เรียนรู้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ หากิจกรรมทำเพื่อไม่ปล่อยให้มีเวลาว่างมากเกินไป พยายามติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครอบครัว หรือผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ อาศัยหลักศาสนาเข้ามาช่วย พยายามสร้างอารมณ์ขันอยู่เรื่อยๆ แสดงความคิดของตัวเองออกมาไม่ว่าจะเป็นการพูด การคุยและการแบ่งปันความรู้สึกของตัวเองกับคนอื่นๆ เพื่อแบ่งเบาความเครียดและความวิตกกังวล

นอกจากการดูแลตัวเองทางด้านจิตใจแล้ว ในด้านสุขภาพของตัวเองก็สำคัญและควรหมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วย เพราะในภาวะน้ำท่วมเช่นนี้อาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆมากมาย คือ “โรคติดต่อเนื่องจากน้ำไม่สะอาด” ได้แก่ ไทฟอยด์ อหิวาต์ โรคฉี่หนู และไวรัสตับอักเสบเอ “โรคติดต่อเนื่องจากมีแมลงเป็นพาหะ” ได้แก่ ไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก รวมถึง “อุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่างๆ” เช่น การจมน้ำ

โดยโรคติดต่อเนื่องจากน้ำไม่สะอาด ในภาวะน้ำท่วมจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ยิ่งถ้าเกิดขึ้นในชุมชนใหญ่หรือขาดแคลนน้ำสะอาด เนื่องจากน้ำดื่มไม่สะอาดและติดเชื้อน้ำไม่สะอาดอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังอักเสบ แผลติดเชื้อ ตาอักเสบ ติดเชื้อทางเดินอาหาร ซึ่งเชื้อโรคที่สามารถติดต่อทางน้ำ ได้แก่ เชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบเอ หรือเชื้อโปลิโอ เชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้ออหิวาต์ ไทฟอยด์ เชื้อ Coliform ที่ทำให้มีอาการท้องเสีย และเชื้อโปรโต
ซัว เช่น Cryptosporidiosum, Amebae, Giardia

ส่วนใหญ่แล้วการติดต่อเชื้อโรคจะมาจากการดื่มน้ำไม่สะอาด แต่มีบางโรคที่สามารถระบาดได้มากโดยการติดต่อทางการสัมผัสทางผิวหนัง เช่น โรคฉี่หนู ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่สามารถติดต่อผ่านทางผิวหนังหรือเยื่อของร่างกายที่สัมผัสกับน้ำที่ปนเปื้อนฉี่หนูหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ติดเชื้อ หากติดเชื้อจะมีอาการไข้สูง ปวดหัวมาก ปวดเมื่อยตามตัว ถ้าเป็นรุนแรงอาจมีอาการตัวเหลือง ตับวาย ไตวายหรือระบบทางเดินหายใจล้มเหลวได้ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

สำหรับโรคไวรัสตับอักเสบเอ เป็นโรคที่มีการอักเสบของตับ จากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อน โดยจะมีระยะฟักตัว 15-45 วันก่อนมีอาการ จากนั้นอาการจะเริ่มต้นด้วยอาการปวดเมื่อย ไม่อยากรับประทานอาหาร คลื่นไส้ ไข้ต่ำ อุจจาระสีซีดและปัสสาวะสีเข้ม มีอาการตัวเหลืองตาเหลืองดีซ่าน หลังรับการรักษาแล้วควรหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และอาหารมัน แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตามการป้องกันโรคติดเชื้อที่มาจากน้ำ คือการดื่มน้ำสะอาดและเพียงพอเพื่อป้องกันร่างกายจากการขาดน้ำ โดยน้ำสะอาดได้แก่ น้ำต้มสุกหรือผ่านคลอรีน

นอกจากโรคติดเชื้อที่มาจากน้ำแล้วยังมีโรคอื่นๆอีก ได้แก่เรื่องของอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการจมน้ำ หรืออุบัติเหตุการบาดเจ็บอื่นๆ ถ้ามีบาดแผลควรฉีดวัคซีนป้องกับาดทะยักและรับประทานยาแก้อักเสบเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ที่สำคัญพ่อแม่ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด เพราะภาวะอุณหภูมิในร่างกายต่ำผิดปกติ(Hypothermia) มักพบในเด็กเล็ก หากติดอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจมากขึ้น

ความเครียดจากภัยธรรมชาติมักเป็นกันทุกคน แต่ขอให้เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น เพราะหากเราไม่รีบตั้งสติรับมือกับมันเพื่อป้องกัน อาจทำให้สุขภาพของเราค่อยๆย่ำแย่ แล้วจะแก้ไขสถานการณ์ร้ายแรงกลับมาได้อย่างไร เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่สดใสกว่าเดิม...

เคล็ดลับสุขภาพดี ดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรไทยสู้ภัยน้ำท่วม

จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศไทย นอกจากจะส่งผลเสียต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัยแล้ว ในเรื่องของสุขภาพหลายคนเริ่มจะเจ็บป่วยแล้ว รวมทั้งสภาพอากาศก็เริ่มหนาวเย็นอีกด้วย หากเราไม่รู้จักดูแลร่างกายให้ดีอาจเจ็บป่วยได้ คงไม่ใช่เรื่องดีแน่ถ้าต้องเจ็บป่วยท่วมกลางสถานการณ์ที่วิกฤติเช่นนี้ วันนี้เคล็ดลับสุขภาพดีแนะนำสมุนไพรเพื่อบรรเทาทุกข์จากโรคต่างๆมาฝากกัน

ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร จากมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ให้ความรู้ว่า การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับร่างกายได้แก่ โรคหวัด มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ไอจาม อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อย เบื่ออาหาร หรือมีไข้ร่วมด้วย เราสามารถใช้สมุนไพรที่หาง่ายใกล้ตัวอย่างฟ้าทลายโจร สามารถนำมารักษาได้โดย 1. ยาชง ใช้ใบ 5-7 ใบ สดหรือแห้งก็ได้เติมน้ำเดือดลงไปจนเกือบเต็มแก้วปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงแล้วรินน้ำกินครั้งละ 1 แก้ววันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร ยาต้ม ใช้ทั้งต้นและใบจำนวน 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 3-4 แก้ว ให้เดือดนาน 10-15 นาที กินขณะที่ยังอุ่นอยู่ ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร ซึ่งสามารถกลบรสขมได้ด้วยการกินของรสเปรี้ยว เค็มตาม

การใช้สมุนไพรฟ้าทลายโจรให้ได้ผลดีและออกฤทธิ์ได้เร็วที่สุดในการแก้หวัดคือ ถ้าเริ่มรู้สึกว่าครั่นเนื้อครั่นตัวทำท่าว่าจะเป็นไข้ให้รีบรับประทานทันที นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณรักษาอาการท้องเสียโดยไม่ทำให้หยุดถ่ายทันที วิธีใช้คือเริ่มใช้เมื่อมีอาการโดยใช้ผสมกับผงเกลือแร่ดื่มทันที และไม่ควรรับประทานยาแก้ท้องเสียหรือยาปฏิชีวนะ ยกเว้นในรายที่ติดเชื้ออหิวาตกโรคควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

สำหรับสมุนไพรในครัว เช่น ขิงก็สามารถนำมาแก้หวัดได้ จากงานวิจัยพบว่าน้ำขิงที่ได้จากการต้ม 30 นาที ช่วยกระตุ้นการทำงานของ Macrophage ที่มีหน้าที่ในการจับกินเชื้อไวรัส H3N2 ที่เข้าไปในร่างกาย ซึ่งเราสามารถกินน้ำขิงเพื่อป้องกันหวัดได้โดยการนำขิงแก่สดล้างสะอาดทุบให้พอบุบโดยไม่ต้องขูดเปลือกทิ้ง ประมาณ 1 ถ้วย น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำสะอาด 3 ลิตร ต้มให้เดือดแล้วลดไฟลง เคี่ยวด้วยไฟอ่อนไปเรื่อย ๆ จนน้ำขิงกลายเป็นสีเหลือง เติมน้ำตาลหรือน้ำผึ้งตามใจชอบก็จะได้น้ำสมุนไพรต้านหวัดแล้ว

กระเทียม เป็นสมุนไพรในครัวเรือนสารพัดประโยชน์อีกหนึ่งตัว ที่เพียงรับประทานกระเทียมสดเป็นประจำก็สามารถป้องกันหวัดและลดระยะเวลาการเป็นหวัดได้ นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยของญี่ปุ่นว่ากระเทียมในรูปของ Aged Garlic Extract (AGE-การแช่กระเทียมที่หั่นหรือสับใน 15-20 เปอร์เซ็นต์ แอลกอฮอล์ แล้วทิ้งไว้นานมากกว่า 10 เดือนที่อุณหภูมิห้องก่อนนำมาทำให้เข้มข้น) มีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้มีประสิทธิผลในการป้องกันหวัดได้ดีเท่ากับการใช้วัคซีนกระเทียมดอง ซึ่งในฤดูกาลที่มีการระบาดของหวัดควรรับประทานกระเทียมในรูปแบบต่างๆเป็นประจำ

นอกจากนี้ยังมี สมุนไพรใช้ทาภายนอก หากถูกแมลงสัตว์กัดต่อย มีอาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณถูกกัดต่อย ควรรีบทำความสะอาดและใช้สมุนไพรที่มีความเป็นกรด เช่น มะนาว น้ำส้ม มะขามเปียกโปะไว้ ซึ่งพิษของสัตว์มีพิษทุกชนิดจะเป็นสารโปรตีนจึงถูกทำลายด้วยสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด และ สมุนไพรจำพวกตะไคร้หอม ใบกะเพรา ใบเสลดพังพอนตัวผู้หรือตัวเมีย นำไปตำ คั้นเอาน้ำ หรือนำไปตากในที่ร่มแล้วบดเป็นผงนำมาทาตัวเพื่อป้องกันยุงกัดได้ เพราะยุงเป็นสัตว์ที่มักมาพร้อมกับน้ำท่วมขัง และหากถูกยุงกัดใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบที่นิยมคือ ปูนแดง ช่วยลดอาการอักเสบ เพียงเท่านี้เราก็สามารถใช้ภูมิปัญญาไทยดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและครอบครัวเบื้องต้นได้ยามประสบอุทกภัยแล้ว

หากใครต้องการสอบถามเรื่องการใช้สมุนไพรเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โทร. 0-3721-1288-9.




จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 23 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 24-10-2011 08:02


ปัสสาวะถี่เกินพิกัด ระวังช้ำรั่ว!

http://www.dailynews.co.th/content/i...hl24102011.jpg

แม้ไม่ได้ดื่มน้ำ แต่ปวดปัสสาวะถี่ อั้นไม่ได้ ฉี่ราด ส่อเค้าช้ำรั่ว อาจเกิดจากสาเหตุที่ไม่น่าจะเกี่ยวกัน

การปัสสาวะที่ถี่เกินไป อย่าวางใจว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะนั่นเป็นหนึ่งในอาการของภาวะช้ำรั่ว หรือชื่อโรคอย่างเป็นทางการเรียกว่า Overactive Bladder โดยอาการสำคัญของโรคนี้ประกอบด้วย การปัสสาวะเกิน 8 ครั้งต่อวัน ในเวลากลางคืนก็ยังต้องตื่นขึ้นไปปัสสาวะมากกว่า 2 ครั้ง

แต่หากเป็นคนดื่มน้ำเยอะและชอบดื่มคราวละมากๆ อาจสังเกตอาการผิดปกติจากความถี่ในการปัสสาวะไม่ได้ เนื่องจากการดื่มน้ำมากอย่างที่กล่าวทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังพบอาการอั้นปัสสาวะไม่อยู่จนปัสสาวะราด!

แม้สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ทางการแพทย์เชื่อว่าอาจเป็นผลมาจากความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดแดงแข็ง เพราะการที่ความดันสูงหรือเลือดที่ต้องส่งไปเลี้ยงสมองผิดปกติจากโรคหลอดเลือด จะทำให้สมองสั่งการไปยังกระเพาะปัสสาวะแบบไม่สอดคล้องกัน เกิดการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะผิดจังหวะ

อีกทั้งยังทำให้กระเพาะปัสสาวะมีปฏิกิริยาไวต่อความรู้สึกจนอั้นไม่อยู่ เช่น ได้ยินเสียงน้ำไหลก็ปัสสาวะราด หรือเจออากาศเย็นๆ ก็ปวดปัสสาวะขึ้นมาทันที

ช้ำรั่ว เกิดได้กับผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-80 ปี โดยเริ่มพบมากในวัย 40 ปีขึ้นไป ทั้งนี้คนที่ป่วยเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และมีน้ำหนักตัวเกินจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นช้ำรั่วได้ง่าย ขณะที่ผู้ป่วยเพศชายจะมีอาการไม่ชัดเจนเท่าเพศหญิง เนื่องจากผู้ชายมีท่อปัสสาวะที่ยาวกว่าทำให้อั้นปัสสาวะได้นานกว่า

การรักษาอาการช้ำรั่ว แพทย์มักแนะนำให้ขมิบก้น 2 แบบด้วยกัน คือ ขมิบข้างไว้ นับ 1-5 แล้วจึงคลาย จากนั้นขมิบอีกแบบ โดยขมิบและนับ 1 แล้วคลายก้น ทำซ้ำแบบที่ 2 ไป 5 ครั้ง รวมการขมิบทั้ง 2 แบบ นับเป็น 1 รอบ และควรทำให้ได้ 40-50 ครั้งต่อวันด้วย.



จาก ..................... เดลินิวส์ คอลัมน์ สารพันวันละโรค วันที่ 24 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 28-10-2011 08:01


คะน้า ฆ่ามะเร็งร้าย

http://www.bangkokbiznews.com/home/m...g_414719_1.jpg

"อาหารเจ" จากไป แต่หัวใจยังอาวรณ์ "ผัก" ก็ต้องชวนมากิน "คะน้า" พยัคฆ์พิทักษ์ชีวิต ฆ่าเนื้อร้ายให้วายวอด

"อาหารเจ" จากไป แต่หัวใจยังอาวรณ์ "ผัก" ก็ต้องชวนมากิน "คะน้า" พยัคฆ์พิทักษ์ชีวิต ฆ่าเนื้อร้ายให้วายวอด

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บอกว่า "คะน้า" หน้าตาไม่เหมือนกันทั้งโลกหรอกนะ บางแห่งนิยมผักคะน้ายอด บ้างก็ชอบผักคะน้าก้าน หรือคะน้าต้น แต่อย่างไรพวกมันล้วนจัดอยู่ในตระกูล Cruciferae เหมือนกัน แต่สำหรับพวกเราคนไทย มักคุ้นกับคะน้ายอด ที่มีลักษณะต้นอวบใหญ่ยาว มีดอกสีขาว ใบยาวแหลม ก้านใหญ่ มีรสอร่อยมากกว่า

หลายคนเกลียดคะน้า บ้างก็ว่า เหม็นเขียว แข็งเคี้ยวยาก ไม่หวานชวนชิม แต่ถ้าเลือกคะน้าอย่างถูกวิธีแล้วล่ะก็ เราจะมีความสุขกับการบริโภคคะน้าอย่างน่าอัศจรรย์

เจ้าของฉายา "ลุงหนวด คะน้าราชบุรี" เกษตรกรผู้ปลูกคะน้าไฮบริดคอมโบ้ เล่าให้ฟังว่า ผู้บริโภคควรคัดสรรคะน้าที่ใช้พันธุ์ดีในการปลูก สามารถนำมาปรุงอาหาร อาทิเช่น ราดหน้า ผัดผักคะน้าหมูกรอบ หรือเครื่องเคียงขาหมูได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก

ส่วนคนซื้อก็ต้องเลือกคะน้าที่ผิวสัมผัสก่อน โดยเลือกคะน้าที่มีความนวลเหมือนแป้งเคลือบไว้บนใบ อาจไม่สวยงามมากมาย แต่ก็ยังดีกว่าโดนใบคะน้ามันวาวมาล่อตาล่อใจ เพราะนั่นคือ "ยาฆ่าแมลง" ที่ฉาบไว้เต็มๆ อย่างไรก็ดีก่อนนำมาทำอาหารควรล้างด้วยน้ำผสมเกลือ หรือโซดาไบคาร์บอเนต หรือน้ำส้มสายชู ถือว่าป้องกันขั้นสุดยอดไว้ก่อน

นอกจากนั้น ลุงหนวดยังฝากข้อคิดดีๆไว้ว่า เจ้าผักคะน้าของลุงจัดอยู่ในพืชสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคได้ด้วย มีคุณค่าทางโภชนาการเทียบเท่าบล็อกโคลีเลยล่ะ

ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ หัวหน้างานฝึกอบรม โครงการบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี ฝ่ายวิจัยและบริการคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เผยว่า คะน้ามีวิตามินหลายชนิด โดดเด่นที่มีเบต้าแคโรทีน และสารซัลโฟราเฟนโฟเลท ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลายแห่งในร่างกาย ทั้งกระเพาะอาหารลำไส้ ปอด และกระเพาะปัสสาวะ

ทั้งยังมีวิตามินซี นอกจากเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ช่วยป้องกันหวัดและโรคลักปิดลักเปิดแล้ว แต่เมื่อเจ้าเบต้าแคโรทีนผนึกกำลังกับวิตามินซี มันจะกลายร่างเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือสารต้านมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ และยังเปลี่ยนตัวเองให้เป็นวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา เสริมสร้างสุขภาพผิวพรรณ และต้านทานการติดเชื้อ

นอกจากนั้นยังมีผลงานวิจัยในต่างประเทศ พบว่า การรับประทานคะน้า 1 ถ้วย จะได้รับแคลเซียมพอๆ กับการดื่มนม 1 แก้ว การกินคะน้าจึงเสริมสร้าง บำรุงกระดูกและฟัน สามารถใช้ป้องกันโรคกระดูกพรุนหรือบางได้

ทั้งยังให้โฟเลตและธาตุเหล็กสูง ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง และยังเหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะโฟเลตกับสารอินโดลส์ (indoles) ที่มีอยู่ในคะน้ายังป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารกได้ด้วย ตามด้วยไนอาซิน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินบี 2 อุดมด้วยเส้นใย และลูเทียน (lutein)

เมื่อรวมสารอาหารทั้งหมดแล้ว การบริโภคคะน้า ซึ่งเป็นผักรสเผ็ดร้อน จึงช่วยปรับธาตุลมให้ดีขึ้น ช่วยขับเสมหะ ทำให้หายใจได้สะดวก ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้กระหายน้ำ และยังป้องกันการเกิดโรคที่หลอดเลือดแดงใหญ่ และต้านเชื้อก่อโรคได้

นักวิชาการฝากเตือนมาว่า ถึงจะกินอร่อยจนยั้งไม่อยู่แล้ว ก็ไม่ควรบริโภคมากเกินไป เพราะผลวิจัยพบสารกอยโตรเจน (goitrogen) ทำให้ท้องอืดได้ง่าย

ถ้าเห็นเมนูที่มีคะน้าเมื่อใด รีบปรี่เข้าไปซื้อมารับประทาน ทั้งอิ่มท้องและอุดมด้วยคุณประโยชน์มหาศาล




จาก ..................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 28 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 28-10-2011 08:08


สมุนไพร...ดูแลสุขภาพช่วงน้ำท่วม

http://www.bangkokbiznews.com/home/m...g_416143_1.jpg

การใช้สมุนไพรในช่วงน้ำหลาก ถ้ารู้จักเลือกใช้ ย่อมมีประโยชน์อยู่มากโข

คนโบราณในสมัยก่อนที่มีบ้านอยู่ริมน้ำจะปลูกบ้านยกใต้ถุนสูง ช่วงฤดูน้ำหลากจะตระเตรียมเสบียงข้าวสาร อาหารแห้ง หยูกยาสมุนไพร ไว้ให้เพียงพอในการดำรงชีวิตสำหรับสมาชิกในครอบครัว แต่ในปัจจุบันเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน วิถีชีวิตก็ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ทำให้ภูมิปัญญาในการปรับตัวกับสภาพแวดล้อม และการดูแลสุขภาพวิถีไทยถูกลืมเลือนไป ทั้งที่เป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการเอาชีวิตรอดตามสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศ ดังจะเห็นได้จากการใช้สมุนไพรพื้นถิ่นที่แตกต่างกันทั้งแบบยากิน และยาทา แต่สรรพคุณเหมือนหรือคล้ายกันในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆของชาวบ้าน

แล้วในช่วงน้ำท่วม เราจะใช้สมุนไพรอย่างไร ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระอภัยภูเบศร แนะว่า หากช่วงนี้เป็นหวัด ครั่นเนื้อครั่นตัว ไอ จาม น้ำมูกไหล อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อย เบื่ออาหาร หรือมีไข้ร่วมด้วย ให้ใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ที่มีการใช้มานานนับพันปี มีความปลอดภัยสูง องค์การอนามัยโรคให้การรับรองการใช้เป็นยารักษาหวัดโดยตำรับยาไทย มีขนาดและวิธีการใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อการรักษา 4 วิธี คือ

- ยาชง ใช้ใบ 5-7ใบ จะเป็นใบสดหรือแห้งก็ได้ แต่ใบสดจะมีสรรพคุณดีกว่า เติมน้ำเดือดลงไปจนเกือบเต็มแก้ว ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง หรือพอให้ยาอุ่นแล้วรินน้ำกิน ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร หรือใช้เป็นยาต้ม ด้วยการต้มฟ้าทะลายโจรทั้งต้นและใบจำนวน 1 กำมือกับน้ำ 3-4 แก้ว ให้เดือดนาน 10-15 นาที ถ้าต้มให้เดือดไม่นานพอ ยาจะมีกลิ่นเหม็นเขียว กินยาก ควรกินยาในขณะที่น้ำยาอุ่น กินครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร สามารถกลบรสขมได้ด้วยการกินของรสเปรี้ยวเค็มตาม

- นอกจากนี้ฟ้าทะลายโจร ยังนำมาทำเป็น ยาเม็ด ได้ด้วยการเด็ดใบสดมาล้างให้สะอาด ตากแดด 1-2 วัน จนใบแห้งกรอบสีเขียวเข้ม บดเป็นผงให้ละเอียด ปั้นกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมเป็นเม็ดขนาดเท่าเม็ดถั่วเหลือง แล้วผึ่งลมให้แห้ง เพราะถ้าปั้นกินขณะที่ยังเปียกอยู่จะขมมาก กินครั้งละ 5-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร และปัจจุบันยังนิยมทำเป็นยาแคปซูล แทนที่จะเอาผงยาที่ได้มาปั้นเป็นเม็ด ก็เอามาใส่แคปซูลเพื่อช่วยกันรสขมของยาแคปซูลที่ใช้ ให้ใช้ขนาดเบอร์ ๐ หรือประมาณ 400-500 มิลลิกรัมของผงแห้ง กินครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร

การใช้ฟ้าทะลายโจรที่ให้ผลดีและออกฤทธิ์ได้เร็วที่สุดในการแก้ไข้หวัดคือ ถ้าเริ่มรู้สึกว่าครั่นเนื้อครั่นตัวทำท่าว่าจะเป็นไข้ ให้รีบรับประทานทันที แต่ถ้าเป็นมา 2-3วันแล้วค่อยมากินยาจะรู้สึกไม่ค่อยได้ผลหรือได้ผลน้อย

ฟ้าทะลายโจร นอกจากจะมีสรรพคุณในการลดไข้แก้หวัดแล้ว ยังเป็นสมุนไพรที่มีการศึกษาว่า สามารถรักษาอาการท้องเสียโดยไม่ทำให้หยุดถ่าย เมื่อเริ่มมีอาการให้รีบผสมผงเกลือแร่ดื่มทันที ไม่ควรรับประทานยาแก้ท้องเสียหรือยาปฏิชีวนะ ให้ใช้ฟ้าทะลายโจรขนาด 2 กรัมต่อวันแบ่งให้ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 วัน ฟ้าทะลายโจรจะทำให้การขับถ่ายเป็นปกติและมีประสิทธิภาพในการรักษาดีกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ ยกเว้น ในรายที่ติดเชื้ออหิวาตกโรค ควรนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลโดยด่วน

http://www.bangkokbiznews.com/home/m...g_416143_2.jpg

สมุนไพรไทยต้านหวัดนอกจากฟ้าทะลายโจรแล้ว ยังมี ขิง ใช้แก้หวัดได้ จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน The American Journal of Chinese Medicine เมื่อปี 2006 พบว่า น้ำขิงที่ได้จากการต้ม 30 นาที ช่วยกระตุ้นการทำงานของ macrophage ที่มีหน้าที่ในการจับกินเชื้อไวรัส H3N2 ที่เข้าไปในร่างกาย ตามตำรายาพื้นบ้านไทย เราสามารถทำน้ำขิงพิชิตหวัดและแก้ไอ ได้ไม่ยากนัก ด้วยการใช้ขิงแก่สดล้างสะอาดทุบให้พอบุบๆ โดยไม่ต้องขูดเปลือกทิ้ง ประมาณ 1 ถ้วย น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะและน้ำสะอาด 3 ลิตร ต้มให้เดือดแล้วลดไฟลง เคี่ยวด้วยไฟอ่อนไปเรื่อยๆ จนน้ำขิงกลายเป็นสีเหลือง เติมน้ำตาลหรือน้ำผึ้งตามใจชอบ เพียงเท่านี้เราก็จะได้เครื่องดื่มที่มีสรรพคุณต้านหวัดได้

สมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์อีกตัว คือ กระเทียม มีการศึกษาพบว่าการรับประทานกระเทียมสดสามารถป้องกันหวัดและลดระยะเวลาการเป็นหวัด และยังมีรายงานการวิจัยของญี่ปุ่นว่า กระเทียมในรูปของ Aged Garlic Extract (AGE - การแช่กระเทียมที่หั่นหรือสับใน 15-20% แอลกอฮอล์ แล้วทิ้งไว้นานมากกว่า 10 เดือนที่อุณหภูมิห้องก่อนนำมาทำให้เข้มข้น) มีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน จากการทดลองในหนูถีบจักร พบว่ามีประสิทธิผลในการป้องกันหวัดได้ดีเท่าการให้วัคซีนกระเทียมดอง ในฤดูกาลที่มีการระบาดของหวัดควรรับประทานกระเทียมในรูปแบบต่างๆ เป็นประจำ นอกจากนี้กระเทียม ยังทำให้การหายใจโล่งขึ้นอีกด้วย

ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร ยังแนะนำวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคหวัดอย่างง่ายๆ ด้วยการทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ใช้ผ้าปิดปากเวลาไอจาม ล้างมือให้สะอาด ใช้ช้อนกลาง รวมทั้งพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานเครื่องเทศที่มีรสเผ็ดร้อน สมุนไพรที่มีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย อย่าง ตระไคร้ กระเพรา บัวบก พลูคาว หอมแดง หอมใหญ่ ผักชีฝรั่ง ใบหม่อน และใบฝรั่ง ที่อุดมด้วยสาร Queritin รวมทั้งผัก ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงๆ อย่างมะขามป้อม มะนาว ส้ม ผลยอ หรือ ผลไม้ที่มีสีแดง เป็นสมุนไพรที่ควรจะนำมารับประทานเป็นประจำในช่วงนี้ และดื่มน้ำอุ่นมากๆ นอกจากนี้การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการได้รับแสงแดดบ้าง จะช่วยเพิ่มวิตามินดี ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทาน และภูมิคุ้มกันดีขึ้น

นอกจากนี้ยังมีการใช้สมุนไพรทาภายนอก หากถูกแมลงสัตว์กัดต่อย มีอาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณถูกกัดต่อย ควรรีบทำความสะอาดบริเวณที่ถูกกัดต่อย และใช้ความเป็นกรดไปทำลายพิษของสัตว์ที่มีพิษ เช่น น้ำมะนาว น้ำส้ม มะขามเปียก เนื่องจากพิษของสัตว์มีพิษทุกชนิดเป็นสารพวกโปรตีน จึงถูกทำลายได้ด้วยสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด ดังนั้นหลังจากถูกกัดใหม่ๆ ต้องใช้สำลีหรือผ้าก๊อซชุบน้ำสมุนไพรที่กล่าวมาแล้วนั้นไปโปะไว้ หรือ นำส่วนที่ถูกกัดจุ่มไว้จนกว่าจะหายปวด ซึ่งในสมัยก่อนนิยมใช้เขาสัตว์ ขนเม่น เปลือกหอย หรืออะไรที่มีแคลเซียมฝนกับน้ำมะนาว ทาบ่อยๆ หรือใช้มะขามเปียกผสมปูนแดงเล็กน้อยทาแปะไว้ ซึ่งหลังถูกกัดต่อยควรรีบทำทันทีก่อนที่พิษจะก่อให้เกิดการอักเสบมากขึ้น หรืออาจใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบตำพอก เช่น ใบเสลดพังพอนทั้งตัวเมียและตัวผู้ ใบตำลึง ใบรางจืด ตำหรือปั่นให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อยพอกไว้ หรือ สามารถใช้ใบรางจืดประมาณ 7-10 ใบต้มน้ำกิน แต่ถ้ามีอาการมากควรใช้การตำหรือปั่นใส่น้ำซาวข้าวกินด้วย เพื่อลดความรุนแรง

"ยุง เป็นสัตว์พาหะอีกชนิดหนึ่งที่มาพร้อมกับน้ำท่วมขัง เราสามารถใช้สมุนไพรจำพวก ตะไคร้หอม ใบกระเพรา ใบเสลดพังพอนตัวผู้หรือตัวเมีย ตำ คั้นน้ำ หรือนำไปตากในที่ร่มแล้วบดเป็นผง นำมาทาตัวเพื่อป้องกันยุงกัดได้ หากยุงกัดเป็นตุ่ม บวม แดง ให้ใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์การอักเสบทาบริเวณที่เป็น ที่นิยมคือ ปูนแดง ซึ่งได้จากปูนขาวผสมกับขมิ้น หรืออาจใช้ผงขมิ้นละลายน้ำ ขมิ้นเป็นสีย้อม อาจทำให้เลอะเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าได้" ภญ.ดร.สุภาภรณ์ กล่าวปิดท้าย

ซึ่งทางมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ส่งชุดสมุนไพรอภัยภูเบศรเพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ประกอบไปด้วย ยารักษากลากเกลื้อนน้ำกัดเท้า ยาหม่องเสลดพังพอน คาลาไมน์พญายอ ยาการ์ซิดีนสกัดจากมังคุดช่วยสมานแผล ฆ่าเชื้อโรค ยาแคปซูลฟ้าทลายโจร แคปซูลขมิ้นชัน ยาน้ำแก้ไอมะขามป้อม ผงเกลือแร่ เป็นต้น แจกจ่ายไปยังจังหวัดต่างๆ ที่ประสบภัยน้ำท่วม พร้อมผลิตยาหม่องสมุนไพรสรรพบำบัด ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรป้องกันยุง แจกผู้ประสบภัยน้ำท่วม ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการใช้สมุนไพร สอบถามที่มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โทร 037-211-288-9 ทุกวันในเวลาราชการ




จาก ..................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 28 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 28-10-2011 08:14


ลุยน้ำเกิดแผลระวังไว้'ภัยบาดทะยัก' 'ถึงตาย' ถ้าประมาท

http://www.dailynews.co.th/content/i.../27/scoop1.jpg

นอกจากภัยไฟช็อต-ไฟดูด ภัยสัตว์มีพิษ ภัยอื่นๆ ที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ได้เตือนไปแล้ว ในช่วงที่เกิด ’น้ำท่วม“ ผู้คนต้องเดินลุยน้ำที่ท่วมขัง อีกหนึ่งภัยซ้อนภัยที่ต้องระวังด้วยก็คือการ ’เกิดบาดแผล“ ยิ่งในพื้นที่เขตเมืองยิ่งมีเศษสิ่งมีคมลักษณะต่างๆอยู่ตามพื้นมาก โอกาสที่จะบาดจะทิ่มให้เกิดบาดแผลก็ยิ่งมีมาก

จากแผลธรรมดาที่แค่เจ็บ ก็อาจเป็น ’แผลติดเชื้อ“

และหากกลายเป็น “บาดทะยัก” ก็จะยิ่งไปกันใหญ่

การถูกสิ่งมีคมทิ่มแทงหรือบาดนั้น ถ้าเกิดเป็นแผลลึกและยาวมากกว่า 1 นิ้ว ทางที่ดีควรต้องรีบพบแพทย์ อาจจะต้องมีการเย็บแผล แต่ถ้าเป็นแค่แผลเล็กๆตื้นๆ แผลไม่ยาว ส่วนใหญ่แล้วก็สามารถจะดูแลรักษาได้เองด้วยวิธีที่ไม่ซับซ้อน คือล้างแผลด้วยแอลกอฮอล์ล้างแผล น้ำยาล้างแผล ใส่ยารักษาแผล ปิดพลาสเตอร์หรือผ้าปิดแผล อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะแผลใหญ่-แผลเล็ก หากมีอาการที่ไม่ปกติอย่านิ่งนอนใจเด็ดขาด

หากบาดแผลนั้นมีลักษณะ เช่น มีเศษสิ่งมีคมหรือสิ่งสกปรกติดอยู่โดยไม่สามารถนำออกมาได้ เลือดไม่ยอมหยุดไหล ชาหรือขยับร่างกายส่วนที่เกิดแผลไม่ได้ตามปกติ เป็นแผลเรื้อรังไม่ยอมหายภายใน 3 สัปดาห์ แผลเกิดรอยฉีกแยก แดง บวม ปวด มีอาการไข้ ควรต้องรีบไปพบแพทย์!!

แผลอาจเกิดการ “ติดเชื้อ” และอาจเป็นเชื้อร้ายแรง

ทั้งนี้ ถ้าจำเป็นต้องลุยน้ำท่วม ทางที่ดีควรต้องสวมรองเท้าที่ป้องกันสิ่งมีคมได้ เพราะใต้น้ำที่มองไม่เห็น ที่ต้องเดินลุยไปนั้น อาจมีเศษกระเบื้อง สังกะสี ตะปู สิ่งมีคมต่างๆอยู่ และถ้าพลาดพลั้งเกิดเป็นแผลขึ้นมา ก็ต้องรีบดูแลรักษาให้ดี อย่าประมาท โดยเฉพาะถ้าไม่แน่ใจว่าตนเองเคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักหรือเปล่า?

กล่าวสำหรับ “บาดทะยัก” นั้น ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ว่าไว้ว่า... เป็นโรคติดเชื้อที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคทางประสาทและกล้ามเนื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย คลอสตริเดียม เททานิ (Clostridium tetani) ซึ่งจะผลิตสิ่งที่มีพิษต่อเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการหดเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา โดยเริ่มแรกกล้ามเนื้อขากรรไกรจะเกร็ง ทำให้อ้าปากไม่ได้ โรคนี้จึงมีอีกชื่อเรียกคือ โรคขากรรไกรแข็ง (lockjaw) ผู้ป่วยจะมีอาการ คอแข็ง หลังแข็ง และต่อไปจะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วตัว

และทำให้มีอาการ ’ชัก“ ได้!!

ในทางระบาดวิทยา โรคบาดทะยักพบได้ทั่วไปทุกแห่ง เชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะในรูปแบบของสปอร์ สามารถพบติดตามพื้นหญ้าทั่วไป และอยู่ได้นานเป็นเดือนๆหรืออาจเป็นปี อีกทั้งเชื้อนี้ยังพบได้ในลำไส้ของคนและสัตว์ในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยมูลสัตว์ ซึ่ง เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลจะเกิดโรคบาดทะยัก

เชื้อบาดทะยักจะเจริญแบ่งตัวได้ดีในแผลที่ลึก อากาศเข้าไปไม่ได้ดี เช่น บาดแผลจากการถูกตะปูตำ หรือแผลไฟไหม้ แผลน้ำร้อนลวก ผิวหนังถลอกบริเวณกว้าง บาดแผลในปาก ฟันผุ หรือหูอักเสบติดเชื้อ

หลังจากได้รับเชื้อบาดทะยักแล้ว สปอร์ที่เข้าไปตามบาดแผลจะแตกตัว แล้วก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและผลิตสิ่งที่มีพิษ ซึ่งจะกระจายจากส่วนที่เป็นแผลไปยังปลายประสาทที่แผ่กระจายอยู่ในกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดความผิดปกติในการควบคุมการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ โดยระยะจากที่เชื้อเข้าร่างกาย จนเกิดอาการเริ่มแรก คือมีอาการขากรรไกรแข็ง ที่เรียกว่าระยะฟักตัวของโรค จะอยู่ที่ประมาณ 3-28 วัน หรือเฉลี่ยแล้วราวๆ 8 วัน

หากเด็กทารกเป็นบาดทะยัก นี่ยิ่งต้องระวังให้มาก ซึ่งอาการที่จะสังเกตได้คือเด็กจะดูดนมลำบาก หรือไม่ค่อยดูดนม หรือดูดนมไม่ได้ เพราะขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ ส่วนกับคนโต หากเชื้อบาดทะยักเข้าทางบาดแผล ระยะฟักตัวของโรคก่อนที่จะมีอาการ อาจจะประมาณ 5-14 วันก็ได้ หรือบางรายอาจนานถึง 1 เดือน หรือนานกว่านั้นก็ได้ จนบาดแผลที่เป็นทางเข้าของเชื้ออาจหายแล้วก็ได้ แผลหาย...แต่เชื้อบาดทะยักยังอยู่!!

ถ้าเคยเป็นแผล แล้วต่อมามีอาการขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ คอแข็ง ต้องคิดถึง ’ภัยบาดทะยัก“ ซึ่งถ้าใช่...หลังจากนั้นอีก 1-2 วันจะเริ่มมีอาการเกร็งแข็งส่วนอื่นๆ คือหลัง แขน ขา ยืนและเดินแบบหลังแข็ง แขนเหยียดเกร็ง การก้มหลังทำไม่ได้ ใบหน้าจะมีลักษณะเฉพาะคล้ายยิ้มแสยะ และระยะต่อไปอาจมีอาการกระตุก ถ้ามีเสียงดังหรือถูกจับต้องตัว จะเกร็งและกระตุกมากขึ้น จะมีอาการหลังแอ่น หน้าเขียว บางครั้งอาการอาจรุนแรงมาก อาจทำให้หายใจลำบาก และ ’ถึงตาย“ ได้!!

ทั้งนี้ ยุคน้ำท่วมที่ต้องลุยน้ำกันนี้ ยิ่งต้องพึงระลึกไว้ว่า เมื่อเกิดบาดแผลต้องทำแผลให้สะอาดทันที โดยการฟอกสบู่ ล้างน้ำสะอาด เช็ดด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% หรือทิงเจอร์ใส่แผลสด พร้อมทั้งใส่ยารักษาที่รักษาการติดเชื้อด้วย และถ้ารักษาเอง มิได้ไปพบแพทย์ อย่าชะล่าใจ อย่าประมาทอาการที่ผิดปกติ

“น้ำท่วม” ต้องกลัว “ภัยบาดทะยัก” ที่ “รุนแรงถึงตายได้”

และคนไทยยังต้องจำ ’พฤติกรรมแย่ๆของบางคน“ ไว้

ใคร ’ทำตัวน่าเกลียด-ซ้ำเติมทุกข์น้ำท่วม“ จำให้แม่น!!!.




จาก ..................... เดลินิวส์ คอลัมน์สกู๊ปหน้า 1 วันที่ 28 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 30-10-2011 07:53


โรคผิวหนัง หลังน้ำท่วมดูแลป้องกันก่อนเรื้อรัง...!!

http://www.dailynews.co.th/content/i...er/p4thurl.jpg

โรคผิวหนังเป็นโรคที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี โดยมักจะพบเสมอหลังเกิดภาวะน้ำท่วม แต่หลายคนมักไม่ค่อยใส่ใจดูแลเท่าที่ควรจนทำให้เกิดปัญหาเรื่องเท้าเปื่อย เป็นแผล ลอก คันและเจ็บแสบ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจจะกลายเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นๆหายๆ และรักษาไม่หายขาด ส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

แพทย์หญิงวลัยอร ปรัชญพฤทธิ์ สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ให้ความรู้ว่า หลังจากเกิดภาวะน้ำท่วมทำให้ผู้ประสบภัยต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพหลากหลายด้าน เนื่องจากเมื่อเกิดน้ำท่วมแล้วจะส่งผลให้แหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคปนเปื้อนกระแสน้ำที่พัดพาสิ่งสกปรก เชื้อโรค ของเสียที่เคยถูกเก็บไว้ในที่มิดชิดหรือสารเคมีกระจายออกเป็นวงกว้างทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป สัตว์และแมลงไม่มีที่อยู่อาศัยจึงออกจากถิ่นที่อยู่เพ่นพ่านทั่วไปและกลายเป็นพาหะนำเชื้อโรคในที่สุด ที่สำคัญพาหะนำโรคต่างๆ ยังสามารถเจริญเติบโตได้ดี ส่งผลให้ปริมาณเชื้อโรคมีจำนวนเพิ่มขึ้นและแพร่ได้อย่างรวดเร็ว จึงมีโอกาสเกิดโรคระบาดได้ง่าย โดยสภาพผิวดินหลังน้ำท่วมมีความเหมาะสมสำหรับการแพร่พันธุ์ของยุง ซึ่งโรคหลายชนิดที่เกิดจากยุงเป็นพาหะจึงมีโอกาสระบาดสูงขึ้นหลังน้ำท่วม

ปัญหาด้านสุขภาพที่จะเกิดหลังน้ำท่วมนั้นมีทั้งอาการเจ็บป่วยในระยะแรกและระยะยาว ได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร เช่น โรคท้องร่วงจากการติดเชื้อจากอาหารเป็นพิษ โรคเลปโตสไปโรซิส (หรือโรคฉี่หนู) โรคผิวหนังจากการสัมผัสกับสารเคมีสิ่งสกปรกหรือติดเชื้อที่ผิวหนังไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราหรือหนอนพยาธิ โรคผิวหนังจากแมลง สัตว์มีพิษกัดต่อยซึ่งนอกจากจะทำให้ไม่สบายจากการถูกกัดต่อยแล้ว ในภายหลังหากได้รับเชื้อโรคเข้าไปด้วยอาจทำให้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก มาลาเรีย ไข้สมองอักเสบ หรือติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น

โรคผิวหนังมักพบหลังน้ำท่วม เรียกว่า “โรคน้ำกัดเท้า” เนื่องจากเราเดินย่ำน้ำบ่อยๆ หรือยืนแช่น้ำนานๆจนเท้าเปื่อย โดยเฉพาะบริเวณซอกเท้าบริเวณที่ผิวหนังเปื่อยนี้เป็นจุดอ่อนทำให้เชื้อโรคที่มากับน้ำเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ดังนั้นหลังเสร็จกิจธุระนอกบ้านแล้วควรรีบล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดและสบู่แล้วเช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะตามซอกนิ้วเท้า หากเท้ามีบาดแผลควรชะล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ซึ่งโรคน้ำกัดเท้าในระยะแรกนี้ยังไม่มีเชื้อรา เป็นเพียงอาการระคายเคืองจากความเปียกชื้นและสิ่งสกปรกในน้ำ ทำให้เท้าเปื่อย ลอก แดง คันและแสบ การรักษาในระยะนี้ควรใช้ยาทาสเตียรอยด์อ่อนๆ เช่น 0.02 Triamcinolone cream หรือ 3% vioform in 0.02% Triamcinolone cream ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อรา เพราะยาเชื้อราบางชนิดจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและแสบมากขึ้น

สำหรับผิวที่เปื่อยเป็นแผล เมื่อสัมผัสกับสิ่งสกปรกที่เจือปนอยู่ในน้ำจะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย เมื่อมีการติดเชื้อ แบคทีเรียจะทำให้เกิดอาการอักเสบ บวมแดง เป็นหนองและปวด ต้องให้การรักษาโดยการรับประทานยาปฏิชีวนะร่วมกับการชะล้างบริเวณแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น น้ำด่างทับทิม แล้วทายาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะ หากปล่อยให้มีอาการโรคน้ำกัดเท้าอยู่นาน ผิวที่ลอกเปื่อยและชื้นจะติดเชื้อรา ทำให้เป็นโรคเชื้อราที่ซอกเท้ามีอาการบวมแดง มีขุยขาวเปียก มีกลิ่นเหม็นและถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นเรื้อรัง เชื้อราจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในผิวหนังรักษาหายยาก ถึงแม้จะใช้ยาทาจนอาการดีขึ้นดูเหมือนหายดีแล้ว แต่มักจะมีเชื้อหลงเหลืออยู่ เมื่อเท้าอับชื้นขึ้นเมื่อใดก็จะเกิดเชื้อราลุกลาม ขึ้นมาใหม่ทำให้เกิดอาการเป็นๆหายๆเป็นประจำ ไม่หายขาด

ดังนั้นการดูแลป้องกันโรคเชื้อราที่เท้าไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีกต้องรักษาความสะอาดให้เท้าแห้งอยู่เสมอเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดในการป้องกันโรคนี้ และควรให้ความสนใจเป็นพิเศษที่บริเวณซอกนิ้วเท้า เมื่อเช็ดให้แห้งแล้วให้ทายารักษาโรคเชื้อรา แต่ถ้ามีอาการรุนแรงและเรื้อรัง ทายาไม่ได้ผลควรไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ซึ่งอาจจะมีผลข้างเคียงต่อตับและไต ควรรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาเองแม้ว่าจะดีขึ้นแล้วก็ตาม การหยุดยาเร็วเกินไปขณะที่เชื้อยังไม่หมดก็มีโอกาสกลับเป็นซ้ำอีกได้ง่าย นอกจากนี้ผู้ประสบกับปัญหาน้ำท่วมควรระมัดระวังเมื่อเดินลุยน้ำเพราะอาจถูกของมีคมทิ่มตำ ทำให้เกิดบาดแผลและติดเชื้อโรคต่างๆได้เช่นกัน รวมทั้งอาจติดเชื้อบาดทะยักตามมาได้ เมื่อประสบเหตุดังกล่าวควรไปทำแผลที่หน่วยบริการสาธารณสุขทันที และยิ่งถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันเชื้อบาดทะยักมาก่อนควรปรึกษาแพทย์

อย่างไรก็ตามการป้องกันมักดีกว่าและมีประสิทธิภาพที่สุด ด้วยการหลีกเลี่ยงการแช่เท้าในน้ำนานๆ หากจำเป็นต้องลุยน้ำให้สวมรองเท้าบู๊ต กันน้ำสกปรกกัดเท้า อีกทั้งยังสามารถช่วยป้องกันของมีคมในน้ำทิ่มตำเท้าหรือสัตว์มีพิษกัดต่อย หลังจากลุยน้ำให้รีบทำความสะอาดเท้าด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่ เช็ดเท้าให้แห้ง หากมีบาดแผลที่ผิวหนังไม่ควรสัมผัสถูกน้ำสกปรก หากลุยน้ำแล้วเกิดผื่นที่ผิวหนังควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและทายาหรือรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดเพื่อให้อาการโรคผิวหนังหายขาด ไม่เป็นเรื้อรังสร้างความรำคาญเจ็บปวดและเสียเวลาในการรักษาในภายหลัง.


**********************************************


แนะวิธีปรุงอาหารลดเสี่ยงโรคขณะน้ำท่วม

ในช่วงวิกฤติน้ำท่วมสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งสิ่งหนึ่งที่สำคัญยามคับขันเช่นนี้ คือ การปรุงอาหาร เพราะหากเราประกอบอาหารไม่สะอาดจะยิ่งส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายทำให้เจ็บป่วยได้ ดังนั้นใครที่ต้องการจะไปตั้งศูนย์ปรุงประกอบอาหารเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือปรุงอาหารรับประทานเองเคล็ดลับสุขภาพดีวันนี้มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการปรุงอาหารให้สะอาดถูกหลักอนามัยเพื่อป้องกันโรคมาฝากกันค่ะ

ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย ให้ความรู้ว่า การประกอบอาหารในจุดที่ให้ความช่วยเหลือสำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมจะต้องเน้นที่ความสะอาดปลอดภัยซึ่งทางกรมอนามัยได้มอบให้ศูนย์อนามัยเขตในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมให้การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการและคำแนะนำที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหารและหลักโภชนาการเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือประชาชนที่รับผิดชอบจัดเตรียมและปรุงอาหารในพื้นที่ได้อย่างสะอาด ปลอดภัย และได้คุณค่าทางโภชนาการ โดยยึดตามเกณฑ์ที่กรมอนามัยกำหนดตั้งแต่อาหารสดต้องไม่มีกลิ่น อาหารแห้งต้องไม่มีเชื้อราและไม่นำอาหารกระป๋องที่บุบ บวม หมดอายุมาปรุงอาหาร

สำหรับพื้นที่ที่เราจะเลือกประกอบอาหารนั้นต้องเป็นพื้นที่หรือสถานที่ทำครัวที่ให้ไกลห้องส้วมและที่เก็บขยะ ที่ระบายน้ำเสียหรือที่เก็บสารเคมี โดยหลีกเลี่ยงการเตรียมหรือปรุงอาหารบนพื้น ควรมีโต๊ะเตรียมปรุงอาหารที่สูงจากพื้นป้องกันการปนเปื้อน ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณโต๊ะที่ใช้เตรียมปรุงอาหาร เตาหุงต้มอาหาร เป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะเขียงควรแยกเขียงหั่นเนื้อ หั่นผักและอาหารปรุงสุก โดยเฉพาะเขียงที่ใช้หั่นเนื้อสัตว์ต้องล้างขจัดคราบไขมันด้วยน้ำยาล้างจาน แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด และห้ามนำผ้าที่สกปรกมาเช็ด เพราะจะเป็นสื่อที่นำเชื้อโรคมาปนเปื้อนอาหารที่มีการหั่น สับ บนเขียงได้

“ก่อนปรุงอาหารควรมีการล้างวัตถุดิบที่จะนำมาปรุงทุกครั้ง โดยเฉพาะผักซึ่งอาจมีการปนเปื้อนคราบดินที่เกิดจากน้ำท่วมต้องล้างด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง ส่วนผักบางอย่าง เช่น คะน้า กะหล่ำ ถั่วฝักยาว หากมีคราบขาวจับที่กาบใบหรือฝักมากเกินไปให้ล้างน้ำหลายๆครั้งหรือแช่น้ำปูนใสนาน 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดก่อนจะนำไปปรุงประกอบอาหาร ส่วนผู้ปรุงประกอบอาหารต้องปฏิบัติตนเองให้ถูกสุขลักษณะด้วย เช่น ล้างมือก่อนปรุงอาหาร ไม่ใช้มือจับอาหารปรุงสำเร็จโดยตรง ถ้ามือมีแผลต้องปิดแผลให้มิดชิดด้วยพลาสเตอร์กันน้ำและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอาหารโดยตรง”

ส่วนการบรรจุอาหารที่ปรุงสุกแล้วเพื่อส่งต่อให้ผู้ประสบภัยรับประทานนั้นควรใส่ในภาชนะที่สะอาด ไม่ควรทิ้งระยะนานเกิน 2-4 ชั่วโมง หลังปรุงและบรรจุอาหาร ควรระบุวันและเวลาในการรับประทานให้ชัดเจนก่อนส่งให้กับผู้ประสบภัย เพราะหากเก็บนานเกินไปอาจทำให้อาหารบูดและเสียได้ โดยอาหารที่ปรุงควรเป็นอาหารประเภททอดหรือผัดเพราะไม่บูดและเสียง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ ลาบ ยำ พล่าต่างๆ

นอกจากนี้การกำจัดขยะในจุดปรุงอาหารจะต้องมีถังขยะใส่เศษอาหารทำด้วยวัสดุไม่รั่วซึม เช่น พลาสติก หากใช้ปี๊บควรมีถุงพลาสติกรองอีกชั้นหนึ่ง ถังขยะต้องมีฝาปิดและมีการแยกขยะเป็นสองถังคือ ถังขยะเปียกและถังขยะแห้งเพื่อง่ายต่อการกำจัด ทั้งนี้สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การใช้ส้วมเนื่องจากประชาชนที่อาศัยในศูนย์พักพิงมีจำนวนมาก ผู้ใช้จึงต้องให้ความสำคัญต่อพฤติกรรมการใช้ส้วมสาธารณะอย่างถูกต้อง โดยไม่ทิ้งวัสดุอื่นนอกจากกระดาษชำระลงโถส้วม ราดน้ำหรือกดชักโครกทุกครั้งหลังการใช้ส้วม และล้างมือทุกครั้งหลังการใช้ส้วม เพื่อสุขอนามัยที่ดีและป้องกันโรคในช่วงน้ำท่วม ได้แก่ อุจจาระร่วง บิด เป็นต้น

เมื่อทราบแบบนี้แล้ว อย่าลืมดูแลเรื่องความสะอาดในการปรุงอาหารที่เราจะรับประทานหรืออาหารที่ปรุงให้แก่ผู้ประสบภัยให้มีความปลอดภัยด้วยนะคะ เพราะจะได้ไม่เป็นการซ้ำเติมสุขภาพของตัวเองและผู้ประสบอุทกภัยนั่นเอง.




จาก ..................... เดลินิวส์ วาไรตี้ วันที่ 30 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 30-10-2011 07:57


ภัยผิวในภาวะน้ำท่วม


ปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัดของประเทศไทยในขณะนี้ นอก จากจะส่งผลเสียขั้นวิกฤติต่อสภาพสังคม และเศรษฐกิจแล้ว ยังมีผลร้ายต่อสุขภาพทั้งทางด้านจิตใจ และร่างกายอย่างมหาศาล ผลเสียต่อสุขภาพที่พบบ่อยมากและเห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือปัญหาผิวหนัง

นพ.ประวิตร พิศาลบุตร แพทย์โรคผิวหนัง อธิบายว่า โรคผิวหนังที่พบบ่อยในภาวะน้ำท่วม คือ โรคน้ำกัดเท้าหรือเชื้อราที่เท้า ซึ่งบางครั้งมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้เกิดปวดแสบปวดร้อนหรือถึงกับมีหนองไหล

โรคนี้พบบ่อยเมื่อต้องเดินย่ำน้ำไปมาจนเท้าชื้นแฉะ ทำให้เชื้อราของผิวหนังที่ชอบเจริญเติบโตในบริเวณที่อับชื้น ขยายตัวแพร่พันธุ์จนเกิดโรคเชื้อราที่เท้าได้

อาการของการติดเชื้อราที่เท้ามักเห็นเป็นผื่นเปียกยุ่ยสีขาวที่ง่ามนิ้วเท้า บางทีก็เป็นที่ฝ่าเท้า หากติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนก็จะเกิดเป็นหนอง บางคนเป็นเชื้อราที่เท้า แต่จะเกิดภูมิแพ้เป็นผื่นคันหรือเห่อเป็นตุ่มน้ำที่มือหรือที่ตำแหน่งอื่นๆของร่างกาย ยังพบโรคติดเชื้อราที่ขาหนีบ หรือ “สังคัง” มักติดเชื้อมาจากที่เท้า เมื่อสวมกางเกงในจะทำให้ติดเชื้อจากเท้าไปขาหนีบ มีอาการคันมาก

ข้อแนะนำทั่วไปสำหรับป้องกันเชื้อราที่เท้า คือ ไม่ควรสวมถุงเท้าหนาและคับเกินไป หากไปย่ำน้ำสกปรกมาควรล้างเท้าด้วยสบู่และน้ำเปล่าจนสะอาด ซับเท้าให้แห้ง หรือก่อนไปย่ำน้ำอาจทาขี้ผึ้งขาวเคลือบบริเวณเท้า

ก่อนย่ำน้ำให้ใช้ขี้ผึ้งวาสลินซึ่งเป็นขี้ผึ้งสีขาวขุ่นๆ เป็นมัน ทาที่เท้า และตามง่ามนิ้วเท้า จะช่วยป้องกันไม่ให้ผิวเปียกน้ำ ลดน้ำกัดเท้าได้

หลังย่ำน้ำ ถ้ามีผิวหนังเปื่อย โดยเฉพาะที่ง่ามนิ้วเท้า อาจเป็นเชื้อราที่เท้า ให้ใช้ขี้ผึ้งขจัดเชื้อรา เช่นขี้ผึ้งวิทฟิลด์ ซึ่งมีตัวยาคือ กรดซาลิไซลิก และกรดเบนโซอิก ส่วนยาฆ่าเชื้อราตัวอื่นเช่นที่มีสารออกฤทธิ์คือ โคลไตรมาโซล, คีโตโคนาโซล, ไมโคนาโซลครีม, และทอลนาฟเทต ยาฆ่าเชื้อราอาจต้องทาต่อเนื่องนานเป็นเดือน ยาทารักษาเชื้อราหลายชนิด เช่น ขี้ผึ้งวิทฟิลด์ มีฤทธิ์ทำให้ผิวลอก หากนำมาใช้ขณะน้ำกัดเท้าอาจยิ่งก่อให้เกิดการระคายเคือง เจ็บแสบ และผิวถลอกมากขึ้น

ในกรณีที่แผลน้ำกัดเท้าลอกมาก มีการอักเสบ มีน้ำเหลืองไหล อาจต้องล้างแผลหรือแช่แผลไปพลางๆก่อน โดยอาจใช้วิธีการแช่เท้าโดยใช้น้ำด่างทับทิม โดยใช้เกร็ดด่างทับทิม 2-3 เกร็ดละลายน้ำให้ได้สีชมพูจาง ๆ แช่อย่างน้อย 15 นาที หรือใช้ยาใส่แผลโพวิโดน ไอโอดีน 8 หยด ผสมน้ำประมาณ 1 ลิตร หรือใช้การประคบเท้าที่มีแผล โดยใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดชุบน้ำด่างทับทิมหรือน้ำเกลืออ่อนๆ โปะทิ้งไว้ตั้งแต่ผ้ายังเปียกทิ้งไว้นานจนผ้าหมาดหรือใกล้จะแห้งจึงเอาผ้าออก ทำเช่นนี้ซ้ำบ่อยๆ จะช่วยลดอาการอักเสบน้ำเหลืองไหลลงได้ การทำน้ำเกลือง่าย ๆ คือใช้เกลือ 1/2 ช้อนชาผสมในน้ำอุ่น 1 ถ้วย คือใส่เกลือ 2.5 กรัมลงในน้ำอุ่น 1/4 ลิตร แล้วคนให้เกลือละลาย

กรณีที่แผลน้ำกัดเท้ากำเริบมาก มีอาการอักเสบ ปวด กดเจ็บมาก บวม แดงร้อน มีน้ำเหลืองน้ำหนองไหลมาก หรือมีผิวแดงลุกลามแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ไข่ดันบวมมาก หรือมีไข้สูง อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ควรต้องไปพบแพทย์ เพราะอาจต้องได้ยารับประทานปฏิชีวนะที่เหมาะสม หรือในรายที่เป็นมากอาจต้องได้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ

ส่วนการป้องกันโรคเชื้อราที่ขาหนีบ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “สังคัง” นั้น ไม่ควรสวมใส่กางเกงหนา บางคนชอบนุ่งกางเกงยีน ผ้ายีนจะแห้งยากมากทำให้เกิดความอับชื้นง่าย และหากน้ำหลากมาเร็วอาจทำให้ไม่คล่องตัวหนีน้ำได้ลำบาก หากเป็นเชื้อราที่เท้าหรือที่ขาหนีบแล้วใช้ยาทาฆ่าเชื้อราไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพราะอาจต้องรับประทานยาแทน

นอกจากนี้ยังอาจพบโรคเท้าเหม็นซึ่งเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดรูพรุนเล็กๆที่เท้า มีกลิ่นเหม็นมาก ยามน้ำท่วมต้องเดินย่ำน้ำบางครั้งเกิดบาดแผลสกปรกอาจติดเชื้อแบคทีเรียได้

ที่พบบ่อยและอาจมีอันตรายถึงชีวิตคือ “โรคบาดทะยัก” หากเกิดบาดแผลอาจต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ และยังอาจพบ “โรคไฟลามทุ่ง” ซึ่งเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดตื้นของผิวหนังชั้นหนังแท้ ที่รวมถึงหลอดน้ำเหลืองด้วย ลักษณะเฉพาะ คือ มีอาการเจ็บ ผื่นแดงมีขอบเขตชัดเจนที่ขยายขนาดอย่างรวดเร็ว “โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ” เป็นการอักเสบลุกลามของชั้นหนังแท้ส่วนลึก และชั้นไขมันใต้ผิวหนัง โรคติดเชื้อแบคทีเรียบางโรคอาจลุกลามรวดเร็ว ต้องได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมทันที ในกรณีที่มีอาการดังต่อไปนี้ คือ ปวด บวม แดง ร้อน มีไข้ ไข่ดันบวม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจต้องใช้ยาปฏิชีวะเฉพาะหรือใช้ยาฉีดเพื่อรักษา นอกจากนั้นยังอาจพบแผลพุพองเป็นตุ่มหนอง ฝี โรคฉี่หนู เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียจากฉี่หนู ทำให้เป็นไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด

ในช่วงน้ำท่วมยังอาจพบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส เช่น อีสุกอีใส หัด หัดเยอรมัน ส่วนที่แสดงอาการที่ผิวหนังโดยตรงเช่น หูด หูดข้าวสุก และโรคเริม ซึ่งเป็นผื่นแดง มีหย่อมของตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง มีอาการเจ็บร่วมด้วย อาจมีไข้ และมีต่อมน้ำเหลืองโต พบบ่อยที่ริมฝีปาก อวัยวะเพศ และผิวหนังส่วนอื่นๆของร่างกาย

เริมนั้นส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรง อาจเพียงทำให้ครั่นเนื้อครั่นตัว เสียบุคลิกภาพ แต่ก็มีบางรายที่โชคร้ายเชื้ออาจลุกลามเข้าสู่สมองทำให้เป็นโรคสมองอักเสบได้ คือ ตอนนี้แม้จะยังไม่มีการรายงานตัวเลขที่ชัดเจนว่ามีผู้ป่วยกี่ราย แต่จากข้อมูลน้ำท่วมในต่างประเทศ ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เพราะหลายคนเครียด อากาศเปลี่ยนแปลง โดนแดดจัด พักผ่อนไม่เพียงพอ ภูมิต้านทานต่ำ ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเริมได้

การที่ต้องอพยพมาอยู่ร่วมกันอาจเป็นไปได้ที่จะเกิดการระบาดของหิดและเหา เพราะหลายคนต้องอพยพมาอยู่ในศูนย์พักพิงร่วมกันจำนวนมากและต้องอยู่ใกล้ชิดกัน ขณะเดียวกันอาจพบโรคพยาธิปากขอ เป็นการติดเชื้อพยาธิจากการเดินผ่านน้ำท่วมขัง พยาธินี้จะดูดเลือด และอาจทำให้เกิดโรคเลือดจางได้ และปัญหาแมลง สัตว์กัดต่อยเช่น งู แมงป่อง ตะขาบ

ท้ายนี้ขอเอาใจช่วยและเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบอุทกภัยทุกท่านฝ่าฟันวิกฤติในครั้งนี้!!??.




จาก ..................... เดลินิวส์ คอลัมน์ x-ray สุขภาพ วันที่ 30 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 01-11-2011 07:45


สาวออฟฟิศกินจุบจิบ เสี่ยงเบาหวาน

http://www.komchadluek.net/media/img...ikakb5kb8h.jpg

ขนมเค้ก คุ้กกี้ ขนมปัง ขนมถุง มันฝรั่งทอดกรอบฯลฯ ที่สาวๆ ออฟฟิศส่วนใหญ่มีติดโต๊ะไว้แก้หิว เพราะตอนเช้าที่ต้องรีบตื่นแต่งตัวรีบเร่งไปทำงานให้ทัน...แม้จะดื่มกาแฟแก้วเดียวก็แทบจะไม่มีเวลา แต่พอสายๆ ท้องก็เริ่มหิว เริ่มควานหาขนมที่วางไว้บนโต๊ะ หรือแซนด์วิชที่ร้านสะดวกซื้อมารองท้อง

ศุภลักษณ์ ทองนุ่น นักโภชนาการ โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท ( แผนกผู้สูงอายุ ) จึงได้อธิบายการกินของผู้หญิงว่า งานออฟฟิศส่วนใหญ่เป็นงานที่ใช้เวลานั่งทำอยู่กับโต๊ะและหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งเครียดและยุ่งแทบไม่ค่อยมีเวลากินข้าว แต่ชอบกินจุบกินจิบแทน พอตกบ่ายก็เริ่มง่วงจนต้องหากาแฟอีกแก้วพร้อมกับขนมขบเคี้ยวที่ซื้อติดมือมาตอนกลางวัน สาวออฟฟิศส่วนใหญ่ก็มักไม่ค่อยมีเวลาไปออกกำลังกาย น้ำหนักตัว จึงยิ่งเพิ่ม พฤติกรรมซ้ำๆ เหล่านี้ทำให้ สาวๆ ออฟฟิศ เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน โดยไม่รู้ตัว

http://www.komchadluek.net/media/img...7c9fa5bidi.jpg

"ตามหลักโภชนาการ กำหนดให้ผู้ที่มีสุขภาพปกติ บริโภคน้ำตาลได้ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา แต่สาวออฟฟิศที่ห่วงสวยจะเลี่ยงมารับประทานผลไม้เป็นของว่าง และได้รับน้ำตาลมากถึงวันละ 25 ช้อนชา ส่วนกลุ่มที่ชอบกินขนมกรุบกรอบได้รับน้ำตาลวันละประมาณ 18 ช้อนชา และถ้าร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลและแป้งล้นเกินเป็นประจำ จะทำให้ตับอ่อนทำงานหนักจากการผลิตอินซูลิน ยิ่งคนที่มีปริมาณไขมันมากก็จะยิ่งทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี ทำให้มีน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือดสูง และในที่สุดก็อาจจะกลายเป็นโรคเบาหวานได้ ส่วนจะเป็นโรคเบาหวานเร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของตับอ่อนของแต่ละคน" ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ ชี้แจง

พร้อมกันนี้ยังให้คำแนะนำถึงวิธีการเลี่ยงการเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานของผู้หญิงว่า ไม่ควรรับประทานน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา และแป้ง ( ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เค้ก ฯลฯ ) ไม่เกิน 8 - 12 ทัพพี ควรจดบันทึกปริมาณพลังงานที่ได้รับ / วัน หรือนับการรับประทานอาหารกลุ่มแป้ง น้ำตาล และไขมัน เช่น มื้อกลางวันทานสับปะรดไปแล้วมื้อเย็นก็ไม่ควรทานอาหารที่มีน้ำตาลแฝงอยู่ เช่น แกงเขียวหวาน ควรเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีน้ำตาลแทน เช่น ปลาย่างทานกับผักสด

http://www.komchadluek.net/media/img...bb5f67af6g.jpg

อย่าซื้อขนมหวานที่ชอบติดบ้าน เวลาเบื่อ หรือนั่งดูทีวี เรามักจะรับประทานขนมได้มากโดยไม่รู้ตัว ถ้าเบื่อควรเลือกทานผลไม้ที่ไม่หวานแทน เช่น ฝรั่ง, มันแกว ฯลฯ รับประทานให้ช้าลง ร่างกายจะรับรู้ถึงสัญญาณความอิ่มหลังรับประทานอาหารประมาณ 15 - 20 นาที ถ้าเรารับประทานช้าลงเราก็จะรู้สึกอิ่มโดยที่ไม่ได้รับประทานเกินความต้องการของร่างกาย เคี้ยวให้นานขึ้น ยิ่งเคี้ยวนานเราก็จะทานช้าลง และอิ่มเร็วขึ้น สุดท้ายคือ ออกกำลังกายอาทิตย์ละ 3 ครั้งเพื่อลดปริมาณไขมันในร่างกายเพื่อช่วยให้อินซูลินทำงานได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตามโรคเบาหวาน เป็นโรคที่ใช้เวลาในการเกิดโรคนาน และเป็นโรคที่มาจากพฤติกรรมในการกิน เป็นโรคเรื้อรัง ที่ต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือตลอดชีวิต ดังนั้นถ้าสาวๆที่มีพฤติกรรมชอบกินจุบจิบ กินตามใจปาก และมักจะระวังการบริโภคแป้งแต่ไม่ค่อยระวังเรื่องน้ำตาลโดยเฉพาะน้ำตาลแฝง จึงควรปรับพฤติกรรมการกินใหม่ ใส่ใจในการเลือกอาหารในแต่ละมื้อ จะทำให้ไม่อ้วนและไม่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานด้วย




จาก .................... คม ชัด ลึก วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 01-11-2011 07:56


พิษบ้าจากสัตว์ตื่นน้ำ

http://www.bangkokbiznews.com/home/m...g_415822_1.jpg

แม้มนุษย์จะรู้จักโรคพิษสุนัขบ้ามานานกว่า 500 ปี แต่ถึงทุกวันนี้เรายังไม่มียาใดรักษาได้ ผู้ติดเชื้อมีอัตราการเสียชีวิต 100%

แต่ที่น่าเป็นกังวลมากกว่าคือ ท่ามกลางวิกฤติน้ำท่วมนี้ นอกจากคนจะตื่นตระหนกและเครียดแล้ว สัตว์เลี้ยงก็เผชิญชะตากรรมไม่ต่างจากเจ้าของ แถมความเครียดของมันยังมีสูงกว่า และพร้อมที่จะกัดทุกคน ไม่เว้นกระทั่งเจ้าของที่คุ้นเคย

ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะพุ่งตรงไปยังแขนงประสาทและระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อทุกส่วนของร่างกายเต็มไปด้วยระบบประสาท จึงเป็นเหตุให้การรักษาหรือหยุดยั้งเชื้อไวรัสทำได้ยาก ฉะนั้น ในปัจจุบันยังไม่มียาใดที่รักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้ ผู้ที่ติดเชื้อมีอัตราการเสียชีวิต 100% แต่อย่างไรก็ดีโรคพิษสุนัขบ้าก็สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน

"ตำแหน่งที่ได้รับบาดแผลจากสัตว์ ถือว่ามีความสำคัญต่อการกระจายของเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าอย่างมาก หากได้รับบาดแผลในตำแหน่งที่ใกล้สมอง เชื้อเรบีส์ยิ่งเดินทางไปทำลายระบบสมองได้เร็ว ยิ่งต้องรีบพบแพทย์ให้ด่วนที่สุด" นสพ.สนธยา มานะวัฒนา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว

สัตว์เลี้ยงแสนรักในกลุ่มเลี้ยงลูกด้วยนม ไม่ว่าจะเป็น แมว สุนัข กระรอก หนู กระต่าย รวมถึง ลิง ชะนี และค้างคาว ล้วนควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกตัว เพราะโรคพิษสุนัขบ้าที่อยู่ในสัตว์เลี้ยงแสนรักเหล่านั้น สามารถถ่ายทอดเชื้อมาสู่คนและคร่าชีวิตเราหรือคนในครอบครัวได้โดยไม่รู้ตัว

โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดเชื้อทางระบบประสาทจากสัตว์มาสู่คน โดยมีเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า เรบีส์ เป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคและอาการในสัตว์กลุ่มที่เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด

คนรักสัตว์จำนวนมากมักสงสัยว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าเราติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ว่า ทุกครั้งหลังถูกสัตว์เลี้ยงหรือที่สัตว์เราไปเล่นด้วยกัด ข่วน หรือร่างกายเรามีแผลแล้วถูกสัตว์เลีย ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่า สัตว์ตัวนั้นมีเชื้อพิษสุนัขบ้า ยิ่งไม่เคยรับวัคซีนยิ่งต้องสงสัยมากเป็นพิเศษ

สมัยนี้วิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าก็เช่นกัน ฉีดแค่ 3-5 เข็มหลังจากเกิดบาดแผลจากสัตว์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ก็สามารถป้องกันโรคได้แล้ว ไม่ได้ฉีดรอบสะดือ 14-21 เข็มเหมือนสมัยก่อน อย่างที่หลายคนเข้าใจหรือกลัวจนไม่กล้ามาหาหมอ

อาการของสัตว์ที่ติดเชื้อจะแสดงออก 2 รูปแบบคือ หงุดหงิด วิ่งพล่าน ดุร้าย โดยจะแสดงอาการ 2-3 วัน หลังจากนั้นจะอ่อนเพลีย เดินโซเซและตายในที่สุด ส่วนอีกแบบที่จะพบได้คือ เซื่องซึม ลิ้นห้อย ปากอ้าหุบไม่ได้ ตัวแข็ง เป็นอัมพาต หรือในบางตัวอาจมีอาการชักและตายในที่สุด อย่างไรก็ตาม อาการในกลุ่มนี้จะสังเกตได้ยาก เพราะอาการใกล้เคียงกับการเป็นโรคไข้หวัดหรือหัด

แต่หากไม่แน่ใจก็ให้พาไปพบแพทย์ หรือหากสัตว์ตายก็ให้เอาซากสัตว์ไปตรวจ จึงจะปลอดภัยที่สุด

คุณหมอสนธยา แนะนำวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ เจ้าของควรนำสัตว์ไปฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี รวมถึงทุกคนในบ้านก็ควรไปรับวัคซีนด้วยเช่นกัน รวมถึงกรณีคนที่ไม่ได้เลี้ยงสัตว์แต่ต้องเดินทางผ่านบริเวณที่มีสุนัขจรจัด หรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยง ก็ควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค

เพราะเราไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่า สัตว์ตัวไหนมีไวรัสพิษสุนัขบ้า


ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูก 'กัด'

1. ล้างแผลทันทีด้วยน้ำและฟอกด้วยสบู่หลายๆครั้ง ถ้าแผลลึกให้ล้างถึงก้นแผลอย่างน้อย 15 นาที ระวังอย่าให้แผลช้ำ ห้ามทาครีมใดๆ ถ้ามีเลือดออกควรปล่อยให้เลือดไหลออก อย่าบีบหรือเค้นแผล เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่น

2. เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ควรใช้โพวีโดนไอโอดีน หรือ ฮิบิเทนในน้ำ ถ้าไม่มีให้ใช้แอลกอฮอล์ 70% หรือ ทิงเจอร์ไอโอดีน ไม่ควรปิดปากแผลยกเว้นว่าเลือดออกมากหรือแผลใหญ่มาก

3. รับการฉีดวัคซีน ฉีดป้องกันบาดทะยักและยาแก้ปวดตามอาการ

4. กักสัตว์ที่กัดไว้ดูอาการอย่างน้อย 15 วัน โดยให้น้ำและอาหารตามปกติ ถ้าสัตว์หนีหายไปให้ถือว่าสัตว์นั้นเป็นโรคพิษสุนัขบ้า หากสัตว์มีอาการปกติตลอดระยะเวลาที่กักเพื่อดูอาการ สามารถหยุดฉีดวัคซีนได้




จาก .................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 02-11-2011 07:33


แผนฟื้นฟูผิว 7 ขั้นตอน

http://www.dailynews.co.th/content/i.../HappyLife.jpg

ปฏิบัติเพียง 7 ขั้นตอนในชีวิตประจำวันเพื่อลดความตึงเครียดซึ่งจะทำให้คุณดูอ่อนกว่าวัย พร้อมฟื้นฟูผิวให้สุขภาพดี

ขั้นตอนแรก เริ่มจากเครื่องสำอางที่ใช้ ถ้าลองไปค้นกระเป๋าเครื่องสำอางของผู้หญิงส่วนใหญ่จะพบว่าภายในเต็มไปด้วยของที่ไม่จำเป็นและบางทีอาจไม่เคยใช้เลยซะส่วนใหญ่ ซึ่งจริงๆแล้ว มีแค่ 3 อย่างก็เพียงพอ คือ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่อ่อนโยน มอยเจอร์ไรเซอร์ที่ผสมสารแอนติออกซิแดนท์ และผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่มีส่วนผสมของซิงค์ ออกไซด์และไทเทเนียมไดออกไซด์

ชั้นตอนต่อมาคือ การผ่อนคลายจิตใจด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การนวด เล่นโยคะ หรือรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนดีๆ เพราะเพื่อนที่ดีจะคอยช่วยสนับสนุนและให้กำลังใจในวันที่คุณเหนื่อยและเครียด หาเวลาไปพบปะกับเพื่อนบ้าง ไม่เฉพาะคุยกันในเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ หรืออีเมลเท่านั้น แต่ต้องได้เจอตัวจริง อาจไปกินข้าวสักมื้อ หรือดื่มกาแฟสักถ้วยก็ได้ เพราะไม่ว่าจะสนิทกันแค่ไหน หากไม่ได้เจอกันนานๆ ความสนิทสนมก็จะลดลง และการได้คุยกับเพื่อนที่รู้ใจอาจช่วยแก้ปัญหาที่คุณคิดไม่ตกก็ได้

ขั้นตอนที่สาม สัมผัสธรรมชาติ โดยระหว่างทำงานลองหาเวลาเดินออกมาจากออฟฟิซ แล้วลองมองท้องฟ้าและต้นไม้แค่วันละ 10 นาทีเพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียด เพราะมีผลการวิจัยทางจิตวิทยาชี้ว่า ระดับฮอร์โมนความเครียดจะลดลงถ้าได้เดินออกมาจากออฟฟิซบ้าง

“กินอาหารที่มีประโยชน์” คือขั้นตอนที่สี่ เพราะในช่วงที่เกิดความเครียด เรามักจะทานอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่มีแป้งมาก ไขมันสูงและอาหารทอดชนิดต่างๆ ทำให้เสียสุขภาพ หากเปลี่ยนไปทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จำพวกผัก ผลไม้ นอกจากจะลดความเครียดแล้ว ยังทำให้สุขภาพดีด้วย

ขั้นตอนต่อมาคือ การออกกำลังกาย โดยพยายามหาเวลาออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที บางคนอาจบอกว่าไม่มีเวลา ซึ่งที่จริงแล้วการออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องไปฟิตเนสหรือไปสวนสาธารณะเพื่อออกกำลังกายอย่างจริงจัง เพียงแค่ขยับร่างกาย เดินไปเดินมาบ้าง ก็ถือเป็นการออกกำลังกายแล้ว

ขั้นตอนที่หก นอนพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะเมื่อหลับ ฮอร์โมนต่างๆจะทำงานได้ดี และร่างกายจะซ่อมแซมตัวเองเมื่อหลับ ซึ่งเป็นเหตุผลที่มักจะมีคนแนะนำว่าหากรู้สึกแย่หรือไม่สบายให้นอนพักผ่อน เมื่อตื่นมาจะรู้สึกดีขึ้น ถ้ามีเวลานอนน้อยแล้วง่วงจนทำงานต่อไม่ไหว ลองงีบสัก 20 นาที จะรู้สึกดีขึ้น

ขั้นตอนสุดท้าย “ปรนนิบัติตัวเอง” อาจไม่ต้องไปทำสปาหรูๆ หรือไปนวดตามร้าน แค่ดูแลผิวที่บ้าน ด้วยการมาส์กหน้าหรือขัดผิวตามสูตรต่างๆ ที่สามารถทำเองได้ เช่น มาส์กหน้าเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น โดยผสมน้ำผึ้งกับนมเข้าด้วยกัน แล้วทาทิ้งไว้บนหน้าสักครู่ แค่นี้ก็จะทำให้ผิวดีขึ้นและสภาพจิตใจดีขึ้นด้วย




จาก .................... เดลินิวส์ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 02-11-2011 07:36


'คีโม' กลัวได้แต่อย่าถอย

http://www.bangkokbiznews.com/home/m...g_415819_1.jpg

การแพทย์สมัยใหม่ทำให้ล่วงรู้โอกาสการเกิดโรคหรือพบโรคตั้งแต่ระยะต้นๆ และรักษาให้หายขาดได้ ก่อนที่จะสายเกินแก้ ไม่เว้นแม้แต่มะเร็งเต้านม

"ผู้หญิงสมัยนี้เป็นมะเร็งเต้านมกันมาก เพราะอาหารการกินที่เปลี่ยนไปนิยมของปิ้ง ย่าง ทอด และส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะหญิงไทยกล้าที่จะทิ้งความอาย เพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพเต้านมมากขึ้น" พญ.ธิติยา สิริสิงห แพทย์หน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าว

ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมแทบไม่ต่างจากมะเร็งส่วนอื่นของร่างกาย ที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม อายุ และการกินฮอร์โมนเสริมหลังหมดประจำเดือน รวมถึงยาคุมกำเนิดที่กินติดต่อเป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบอาหารไขมันสูง ปิ้ง ย่าง ทอด ยิ่งเสี่ยงมากกว่าหญิงที่ดูแลสุขภาพเรื่องการกินการอยู่หลายเท่าตัว

คุณหมอย้ำชัดว่า ยาฮอร์โมนทดแทนและยาคุมกำเนิด หากกินต่อเนื่องเกินความจำเป็น จะเพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งได้มากกว่าคนทั่วไป แต่โอกาสของโรคในตอนนี้ก็ยังพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายแต่ใจหญิงที่กินฮอร์โมนเพื่อให้มีหน้าอก

ส่วนคำแนะนำถึงวิธีการกินยาคุมให้ปลอดภัยในผู้หญิง ก็เพียงแค่ไม่กินต่อเนื่องนานเกิน 2-3 ปี หรือหาวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยวิธีอื่นแทน อาจเลือกการทำหมันชั่วคราวด้วยการให้ฝ่ายชายเป็นคนรับภาระก็ได้

หญิงที่มีญาติในสายเลือดเป็นมะเร็งเต้านม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตรวจร่างกายตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเทคนิคพื้นฐานคือ การคลำหาก้อนเนื้อบริเวณเต้านมทุกเดือน หรือแม้แต่หญิงที่ไม่มีประวัติดังกล่าวก็ควรไปตรวจเมื่ออายุเข้าสู่วัย 40 ปี

ผู้ที่พบว่าตัวเองเป็นมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น ไม่ต้องตกใจเพราะสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการผ่าตัดคว้านเอาก้อนเนื้อร้ายออก เสริมด้วยเคมีบำบัด เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังเล็ดลอดจากการผ่าตัดรักษา

คุณหมอเพิ่มเติมว่า มะเร็งเต้านมที่รักษาเสริมด้วยเคมีบำบัด หรือที่เรียกกันว่าคีโม วิธีการไม่ได้ยุ่งยากหรือน่ากลัวอย่างที่ใครหลายคนกังวล เหมือนการนอนให้น้ำเกลืออยู่บนเตียง ตัวยาเคมีที่นำมาใช้รักษาก็มีหลากหลายให้เลือกและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นก็แตกต่างกันไป เช่น อาการผมร่วง ซึ่งความรุนแรงขึ้นอยู่กับยาที่แพทย์เลือกใช้แต่ละชนิดก็มีอาการต่างกันไป หรืออาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งจะมีอาการไม่เกิน 1 สัปดาห์ แต่ก็มีตัวยาช่วยลดอาการข้างเคียงหลายชนิดด้วยกัน

นอกจากนี้หลังได้รับเคมีบำบัด ผู้ป่วยยังอาจเกิดอาการปวดเมื่อยได้ด้วย โดยสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ภาวะนี้มักเกิดหลังให้ยาไปแล้ว 10-14 วัน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ญาติจึงควรดูแลเป็นพิเศษ ให้กินอาหารปรุงสุกเท่านั้น งดผักผลไม้สด ของสุกๆดิบๆ ไปสักระยะหนึ่ง รวมถึงไม่พาผู้ป่วยไปในสถานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือเข้าใกล้คนที่ป่วย

"การรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัด คนไข้จะต้องรับยาต่อเนื่อง 3-6 เดือนตามการวินิจฉัยของแพทย์ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้ช่วงที่รับการรักษาคือ การเฝ้าระวังการกลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่เดิมหรือส่วนอื่นของร่างกายได้ทุกเมื่อ ฉะนั้น ควรพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ" ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าว



ซีส : มะเร็ง แตกต่างอย่างไร

พญ.ดลฤดี สองทิศ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (องครักษ์) บอกว่า การมีก้อนบริเวณเต้านม อาจมองเห็นหรือมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าก็ได้ สามารถคลำได้ แต่ซีสไม่ใช่เนื้องอก ส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง ซีส โดยทั่วไปเป็นถุงน้ำ สามารถโตและยุบจนหายสนิทได้

ในความเข้าใจของคนทั่วไปมักเรียกไปก่อนว่า ซีส แต่หากไม่ได้รับการยืนยันจากแพทย์ ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจไป เพราะอาจไม่ใช่แค่ "ซีส" อาจจะร้ายแรงถึงขั้นเป็น เนื้องอกหรือ มะเร็งได้

ซีสเต้านม เกิดจากภาวะที่น้ำขังอยู่ในเนื้อเต้านมเป็นหย่อมๆ ทำให้เวลาตรวจดูจะพบเป็นถุงน้ำ เมื่อใช้มือคลำจากภายนอก จะพบเป็นก้อนในเนื้อนม อาจมีอาการปวดบริเวณเต้านม เนื่องจากน้ำในซีสดันเนื้อนมรอบข้าง ทำให้เต้านมตึงเกิดอาการปวด เวลาคลำจะพบก้อนที่เต้านมด้วยก็ได้ และสามารถพบได้ในหลายตำแหน่ง

ซีสเต้านมจะโตๆยุบๆ ตามรอบเดือนและเจ็บ ผิดกลับมะเร็งที่จะโตขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่เจ็บ ซีสมักจะนุ่มๆ หยุ่นๆ แต่มะเร็งจะมีลักษณะแข็ง

การตรวจด้วยอัลตราซาวด์จะทำให้รู้ว่าเป็นซีสหรือเป็นมะเร็ง ส่วนอีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้เข็มฉีดยาเจาะดู หากเป็นซีสน้ำจะได้น้ำออกมา และก้อนก็จะยุบหายไป ทางที่ดีหากตรวจพบก้อนอะไรก็ตามที่เต้านม ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคที่แท้จริงจะปลอดภัยมากกว่า




จาก .................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 02-11-2011 07:39


เมื่อถูก 'ตะขาบ' กัดต้องทำอย่างไร

http://www.dailynews.co.th/content/i...hl02112011.jpg

น้ำท่วม ใช่ว่าคนเท่านั้นที่ต้องหาพื้นแห้งๆ อยู่เพื่อความปลอดภัย สัตว์มีพิษอย่าง 'ตะขาบ' ก็เช่นกัน แม้ในยามปกติมันจะซ่อนตัวอยู่ใต้ก้อนหิน บริเวณที่มีสภาพเย็นชื้น แล้วออกหาแมลงกินในตอนกลางคืน แต่เมื่อน้ำเอ่อท่วม ตะขาบก็ต้องหนีน้ำขึ้นมาเป็นธรรมดา หลายๆคนจึงมักได้เห็นตะขาบกันได้บ่อยในช่วงนี้

ทว่าบังเอิญถูกตะขาบกัดเข้าก็ต้องปฐมพยาบาล เนื่องจากพิษของตะขาบจะทำให้ผิวหนังบริเวณที่ถูกกัดนั้นบวมแดง รู้สึกปวด และอาจชา บางคนหากแพ้พิษมากยังจะมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน และซึมลง แต่พิษของตะขาบในบ้านเรามักไม่สามารถทำให้เสียชีวิตได้โดยตรง

วิธีการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น หากถูกกัดบริเวณแขนและขา พยายามห้อยส่วนดังกล่าวให้อยู่ต่ำ กรณีโดนกัดที่นิ้วมือหรือนิ้วเท้า แนะนำให้หาเชือกหรือผ้ามารัดที่ข้อนิ้วเอาไว้ เป็นการป้องกันพิษกระจายตัว

จากนั้นให้เช็ดแผลด้วยแอลกอฮอล์ หรือล้างด้วยน้ำด่างทับทิมช่วยฆ่าเชื้อโรค ตามด้วยการประคบเย็นบริเวณที่ถูกกัดเพื่อลดปวดบวม และกินยาแก้ปวด


ขณะที่การปฐมพยาบาลแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน มีการแนะนำให้แช่แผลที่ถูกกัดลงในน้ำส้มสายชู หรือใช้ยางมะละกอดิบป้ายแผล จะช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้

อย่างไรก็ตาม หลังดูแลแผลเพื่อลดความเจ็บปวดแล้ว ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อดูแลรักษาทันที บางรายที่ปล่อยไว้ อาจเสี่ยงต่อการอักเสบติดเชื้อ ปวดบวมมีหนอง เนื้อตายจนต้องตัดเฉือนทิ้ง.




จาก .................... เดลินิวส์ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 04-11-2011 08:12


กินแอปเปิ้ล ลดไข้

http://www.dailynews.co.th/content/i...hl04112011.jpg

บางคนพอร่างกายอ่อนแอ ก็เป็นไข้ ปวดหัว ตัวร้อน ทว่าป่วยอย่างนี้บ่อยๆ แล้วจะต้องกินยาเรื่อยๆ คงไม่ดีนัก อีกทั้งคนกินยายากก็ยิ่งลำบากใจ วันนี้ 'มุมสุขภาพ' ภูมิใจแนะนำผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณลดไข้ได้ นั่นคือ 'แอปเปิ้ล'

ในแอปเปิ้ล อุดมด้วยสารอาหารมากมาย ทั้งวิตามินบี1 บี2 บี6 โพแทสเซียม กำมะถัน เหล็ก และแมกนีเซียม ช่วยคลายเครียด ล้างพิษในไตและตับ / วิตามินซี เบต้าแคโรทีน ไฟโตเคมิคอลเควอเซติน กรดมาลิก และเส้นใยแพ็กติน ให้สรรพคุณช่วยย่อย ล้างกระเพาะและลำไส้ ที่สำคัญน้ำซึ่งสกัดจากแอปเปิ้ล ดื่มแล้วช่วยลดไข้ได้

เพื่อความอร่อย และเพิ่มคุณค่า ยังสามารถผสมน้ำแอปเปิ้ลรวมกับน้ำที่สกัดจากแครอต เป็นการเติมสรรพคุณกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีกด้วย

หากต้องการทำเป็นดื่มน้ำแอปเปิ้ลและแครอต มีส่วนผสมที่ต้องเตรียม ประกอบด้วย...

แอปเปิ้ลเขียว 1 ถ้วย
แครอต 1 ถ้วย
น้ำแข็งป่น 1 ถ้วย


ขั้นตอนในการทำ ให้ล้างทำความสะอาดแอปเปิ้ลเขียวและแครอต จากนั้นขูดแครอตเป็นเส้นๆ ส่วนแอปเปิ้ลเขียวหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าขนาดเล็ก ได้แล้วนำส่วนผสมไปสกัดพร้อมกันด้วยเครื่องสกัดน้ำผักและผลไม้ เสร็จแล้วเติมน้ำแข็งป่นช่วยเพิ่มรสชาติ และควรดื่มทันที.




จาก .................... เดลินิวส์ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 08-11-2011 07:39


“อย่าประมาท!...โรคมือ เท้า ปาก วายร้ายใกล้ตัว” (ตอน 1)

จากสถานการณ์การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็ก ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา พบผู้ป่วยทั่วประเทศจำนวน 12,155 คน : ตั้งแต่ 1 ม.ค.-22 ก.ย.54 อัตราป่วยคิดเป็น 19.13 ต่อประชาการแสนคน มีผู้เสียชีวิต 4 ราย ส่วนใหญ่เกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักระบาดในช่วงหน้าฝน

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสติดต่อทางปาก ไอ จามรดกัน แม้ความรุนแรงของโรคไม่สูง แต่เนื่องจากติดกันง่ายจึงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด พบว่าต้นเหตุน่าจะเป็นเพราะเด็กเล่นคลุกคลีกันและติดเชื้อ เมื่อเด็กติดเชื้อผู้ปกครองก็ไม่ได้แจ้งให้ทางโรงเรียนทราบ เด็กจึงนำเชื้อไปติดเด็กคนอื่น ดังนั้น ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย อาหาร ให้มีสุขอนามัยที่ดีเพราะเป็นวิธีการป้องกันโรคนี้ดีที่สุด

1.โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease) คือโรคอะไร

โรคมือ เท้า ปาก เป็นกลุ่มอาการหนึ่งซึ่งมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสที่สามารถเจริญเติบโตได้ในลำไส้ ที่เรียกว่า เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ซึ่งพบเฉพาะในคนเท่านั้น และมีหลากหลายสายพันธุ์ สำหรับสายพันธุ์ที่ก่อโรคมือ เท้า ปาก ได้แก่ คอกแซกกีไวรัสกรุ๊ป เอ และบี (Coxsackie virus group A, B) และที่ก่อโรครุนแรงที่สุด คือ เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71

เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่ามีรายงานผู้ป่วยสูงกว่าเกือบ 3 เท่า และมักเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 2 สัปดาห์ ถึง 3 ปี โรคนี้ไม่เป็นปัญหาในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ


2.โรคนี้พบที่ใดบ้าง

โรคนี้พบผู้ป่วยและการระบาดได้ทั่วโลก มีรายงานการระบาดรุนแรงที่มีสาเหตุจากเอนเทอโรไวรัส 71 ในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย เช่น ประเทศเวียดนาม มีข้อมูลล่าสุดพบผู้ป่วยกว่า 42,673 ราย เสียชีวิตกว่า 98 ราย ในขณะที่ประเทศมาเลเซีย พบผู้ป่วยในปีนี้ 2,919 คน ลดลงจากปีที่แล้ว (2553) ที่พบผู้ป่วยถึง 8,769 คน โดยในปีนี้ยังไม่พบผู้เสียชีวิต

แหล่งที่มา : http://outbreaknews.com /04 September 2011


3.โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อได้อย่างไร

โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อโดยการได้รับเชื้อโดยตรงทางปาก ซึ่งเชื้อจะติดมากับมือ ภาชนะที่ใช้ร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ หรือของเล่นที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากตุ่มพอง แผลในปาก หรืออุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสอยู่ เชื้อจะผ่านเข้าไปที่ลำคอ และลงไปที่ลำไส้ โดยเชื้อจะเพิ่มจำนวนที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอ รวมทั้งทอนซิล และเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลือง สำหรับเชื้อไวรัสที่อยู่ในลำไส้ จะถูกขับถ่ายปนมากับอุจจาระเป็นระยะๆ ได้นานถึง 6-8 สัปดาห์ แม้อาการจะทุเลาลงแล้วก็อาจแพร่เชื้อได้ การติดต่อมักเกิดได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ซึ่งมีเชื้อไวรัสออกมามาก

การแพร่กระจายเชื้อจะเกิดได้ง่ายมากในเด็กเล็ก ที่ชอบเล่นคลุกคลีใกล้ชิดกันในโรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือญาติพี่น้องที่อยู่รวมกัน

ข้อมูลจาก แผนกควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลพญาไท 2 http://www.phyathai.com




จาก ...................... บ้านเมือง คอลัมน์ ชีวิตและสุขภาพ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 09-11-2011 07:48


“อย่าประมาท!...โรคมือ เท้า ปาก วายร้ายใกล้ตัว” (ตอน 2)


จากสถานการณ์การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็ก ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา พบผู้ป่วยทั่วประเทศจำนวน 12,155 คน ตั้งแต่ 1 ม.ค.-22 ก.ย.54 อัตราป่วยคิดเป็น 19.13 ต่อประชาการแสนคน มีผู้เสียชีวิต 4 ราย ส่วนใหญ่เกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักระบาดในช่วงหน้าฝน

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสติดต่อทางปาก ไอ จามรดกัน แม้ความรุนแรงของโรคไม่สูง แต่เนื่องจากติดกันง่ายจึงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด พบว่าต้นเหตุน่าจะเป็นเพราะเด็กเล่นคลุกคลีกันและติดเชื้อ เมื่อเด็กติดเชื้อผู้ปกครองก็ไม่ได้แจ้งให้ทางโรงเรียนทราบ เด็กจึงนำเชื้อไปติดเด็กคนอื่น ดังนั้น ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย อาหาร ให้มีสุขอนามัยที่ดีเพราะเป็นวิธีการป้องกันโรคนี้ดีที่สุด

จากตอนที่ 1 ของเรื่องนี้ได้บรรยายให้ความรู้ไปแล้ว 3 ข้อ ในตอนที่ 2 นี้ จะขอตอบคำถามของโรคนี้ต่อเป็นข้อต่อไปดังนี้

4.หากติดเชื้อแล้วจะเริ่มแสดงอาการเมื่อใด

ส่วนใหญ่อาการป่วยจะแสดงภายใน 3-5 วัน หลังได้รับเชื้อ โดยไข้เป็นอาการแสดงเริ่มแรกของโรค

5.อาการของโรคเป็นอย่างไร

เริ่มด้วยมีไข้ (อาจเป็นไข้สูงในช่วง 1-2 วันแรก และลดลงเป็นไข้ต่ำๆ อีก 2-3 วัน) มีจุดหรือผื่นแดงอักเสบในปาก มักพบที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ทำให้เจ็บปากไม่อยากรับประทานอาหาร จะเกิดผื่นแดง ซึ่งจะกลายเป็นตุ่มพองใสรอบๆ แดงที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่อื่น เช่น หัวเข่า ก้น เป็นต้น ผื่นนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส รอบๆ แดง (maculo-papular vesicles) มักไม่คัน แต่เวลากดจะเจ็บ ต่อมาจะแตกออกเป็นหลุมตื้นๆ (ulcer) อาการจะดีขึ้นและแผลหายไปใน 7-10 วัน

ในเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เนื่องจากยังไม่มีภูมิต้านทาน จึงมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรงมากกว่าเด็กโต พบว่าบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (aseptic meningitis) ก้านสมองอักเสบ (brain stem encephalitis) ตามมาด้วยปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ระบบหัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ทำให้เสียชีวิตได้ สัญญาณอันตราย ได้แก่ ไข้สูง (ไม่ลดลง) ซึม อาเจียนบ่อย หอบ และแขนขาอ่อนแรง เกิดภาวะอัมพาตคล้ายโปลิโอ

6.ผู้ใหญ่สามารถติดโรคมือ เท้า ปาก จากเด็กได้หรือไม่

ผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้จากการได้รับเชื้อขณะเป็นเด็ก ซึ่งภูมิต้านทานนี้ จะจำเพาะกับชนิดของไวรัสที่เคยได้รับ หากได้รับเชื้อชนิดใหม่ที่ยังไม่มีภูมิต้านทานก็สามารถเป็นโรคได้อีก ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย แต่สามารถแพร่เชื้อไปสู่เด็กหรือผู้อื่นได้

7.หญิงตั้งครรภ์ที่สัมผัสผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก เสี่ยงติดโรคหรือไม่

ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่หากมีอาการป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลแสดงว่าการติดเชื้อมีผลต่อการแท้งบุตร ความพิการ หรือเด็กเสียชีวิตในครรภ์ อย่างไรก็ตาม เด็กอาจได้รับเชื้อขณะคลอด หากมารดาป่วยในช่วงใกล้คลอด เด็กแรกเกิดที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่มีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การป้องกันทำได้โดยการปฏิบัติสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์ และระหว่างคลอด

ข้อมูลจาก แผนกควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลพญาไท 2 http://www.phyathai.com




จาก ...................... บ้านเมือง คอลัมน์ ชีวิตและสุขภาพ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 09-11-2011 07:50


'โรคผิวหนัง' จากน้ำท่วม

http://www.komchadluek.net/media/img...9giahcgbj6.jpg

ปัญหาอุทกภัยกำลังลุกลามไปในหลายพื้นที่ของประเทศ จนเกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย โดยเฉพาะพื้นที่ที่น้ำท่วมขังนานๆ ส่งผลให้ผู้ประสบภัยต้องพบเจอกับปัญหาโรคผิวหนังที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ล่าสุด บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด จับมือกับ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย นำทีมแพทย์และอาสาสมัครลอรีอัลลงพื้นที่เข้าไปตรวจและรักษาโรคผิวหนังที่มากับน้ำท่วม ในพื้นที่ชุมชนวัดบางกะดี อ.เมือง จ.ปทุมธานี ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมอย่างหนักกว่า 17 ชุมชน 5 หมู่บ้าน รวมกว่า 1 หมื่นคน

"เชอร์รี่" ชลธิชา วงษ์โสภา ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "เวลเนสส์ ทูเดย์ ฟอร์ บิวตี้ฟูล ทูมอร์โรส์ สุขภาพดีวันนี้ ชีวิตสวยงามในวันพรุ่งนี้" ซึ่งเป็นโครงการอาสาดูแลสุขภาพและเติมกำลังใจให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด จับมือกับพันธมิตรต่างๆ เข้าไปจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม อาทิ กิจกรรมดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด และกายภาพบำบัด รวมถึงนำถุงผลิตภัณฑ์มอบแก่ผู้ประสบภัย

นพ.นภดล นพคุณ นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคผิวหนังเป็นปัญหาสำคัญที่มากับน้ำท่วม จึงได้ขอความร่วมมือประกาศรับอาสาสมัครมาร่วมทีมลงพื้นที่ในครั้งนี้ ซึ่งก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจากแพทย์ผิวหนังจากโรงพยาบาลต่างๆ เข้าร่วมทีมจำนวนมาก โดยทีมแพทย์จะแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการตั้งศูนย์ให้คนไข้เข้ามารับการรักษา และการนั่งเรือเข้าไปตามบ้านเพื่อรักษาผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินทางออกมาพบแพทย์ได้

"โรคที่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็นกันมากคือผื่นคัน เชื้อราตามซอกนิ้ว และหนังเท้าเปื่อย ซึ่งในช่วงแรกจะเกิดการระคายเคืองก่อน หลังจากนั้นจะเกิดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เป็นตุ่มหนองและเกิดความเจ็บปวดตามมา วันนี้ทีมแพทย์จึงนำยาที่เกี่ยวกับโรคผิวหนังประเภทนี้มาให้ผู้ป่วย อย่างผู้ที่มีอาการคัน แพทย์จะจัดยาทาแก้คันให้ ส่วนผู้ที่เป็นเชื้อราจะให้ยาฆ่าเชื้อซึ่งต้องทาติดต่อกัน ทั้งบางคนยังได้รับบาดเจ็บจากการเหยียบของมีคม ทีมแพทย์ก็จะจัดยาฆ่าเชื้อและยาปฏิชีวนะให้ ซึ่งมีทั้งแบบทาและแบบรับประทาน" นายกสมาคม กล่าว

นอกจากนี้ นพ.นภดล ยังได้แนะนำวิธีการดูแลตัวเองท่ามกลางสภาวะน้ำท่วมว่า สิ่งแรกที่ต้องทำคือหลังลุยน้ำทุกครั้งต้องล้างตัวด้วยน้ำสะอาดในปริมาณมาก หลังจากนั้นควรเช็ดร่างกายโดยเฉพาะง่ามนิ้ว ข้อพับ ขาหนีบ ให้แห้งสนิทเพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อราที่มักจะชอบอยู่ตามที่ชื้นแฉะ ส่วนรองเท้าและถุงเท้าที่เปียกจากการลุยน้ำควรตากให้แห้งก่อนนำกลับมาสวมใส่ และสำหรับผู้ที่ต้องตากแดดนานๆ ผิวอาจไหม้ได้ ดังนั้นควรใส่หมวกและสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด

ด้าน อิศรา กิจพลไพบูลย์ หนึ่งในชาวบ้านกว่า 800 คนที่เข้ารับการรักษา กล่าวว่า บริเวณนี้ประสบภัยน้ำท่วมมาเกือบ 1 เดือนแล้ว ทำให้ต้องลุยน้ำไปทำงานแทบทุกวัน บางวันเดินทางด้วยเรือแต่ขณะขึ้น-ลงเรือก็ต้องลุยน้ำ จนตอนนี้เริ่มเกิดอาการคันที่ขา ทีมแพทย์จึงให้ยาแก้คันมาทาบรรเทาอาการ ซึ่งก็ไม่ต่างกับ ทรงศิลป์ ปทุมแก้ว ที่มาพบคุณหมอด้วยอาการคันเช่นกัน เผยว่า ต้องลุยน้ำไปตลาด 2 วันครั้ง เริ่มแรกเกิดอาการคันบริเวณขาไล่มาจนถึงเอวจนตอนนี้ลุกลามไปถึงในร่มผ้า วันนี้คุณหมอจึงจัดยาแก้คันให้ พร้อมทั้งแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำจนกว่าจะหายคันด้วย




จาก ...................... คม ชัด ลึก วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 09-11-2011 07:52


เทคนิคล้างเท้าแก้เมื่อย เลือดไหลเวียนดี

http://www.dailynews.co.th/content/i...hl09112011.jpg

การเดินลุยน้ำ ไหนจะต้องพยายามทรงตัวไม่ให้ลื่นล้ม ใช้เท้าค่อยๆคลำพื้นทางใต้น้ำให้รู้ระดับสูงต่ำ การก้าวเดินก็ต้องต้านแรงน้ำ จึงใช้เวลามากกว่าเดินบนพื้นแห้งปกติ ส่งผลให้ผิวหนังที่เปียกน้ำมีสภาพเปื่อยเหี่ยวย่นและสกปรก ดังนั้นหลังจากเดินลุยน้ำจำเป็นต้องรีบล้างทำความสะอาดเท้า ซึ่ง ‘มุมสุขภาพ’ มีเทคนิคที่ช่วยคลายความเมื่อยล้า และกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดี

เริ่มจากล้างเท้าด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่ให้ทั่วทุกซอกนิ้วเท้า แล้วใช้นิ้วมือประสานกับนิ้วเท้านวดวนช่วงนิ้วเท้าจากซ้ายไปขวาและขวาไปซ้าย แล้วจึงนวดวนไปให้ทั่วทั้งฝ่าเท้า ใช้เวลานวดราว 2 นาที จากนั้นล้างสบู่ออกให้หมดจด เช็ดให้แห้งสนิท ทั้งนี้เทคนิคการล้างและนวดเท้าหากทำเป็นประจำยังช่วยลดอาการปวดเมื่อย ลดโอกาสเกิดก้อนแข็งๆ จากการเสียดสีของเท้ากับรองเท้าด้วย

อย่างไรก็ตาม การล้างเท้าให้สะอาดหลังลุยน้ำเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะหากปล่อยให้แห้งโดยไม้ล้างไม่เช็ด อาจเป็นโรคนำกัดเท้าเพราะติดเชื้อรา มีอาการคันลุกลามไปทั่ว นอกจากนี้ยังเสี่ยงป่วยด้วยโรคฉี่หนู เพราะติดเชื้อเลปโตสไปโรสิส ที่มาจากฉี่ของสัตว์ เช่น หนู สุนัข วัว ควาย แพะ แล้วปนเปื้อนมากับน้ำ โดยอาการจะเกิดขึ้นหลังได้รับเชื้อ 2-10 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่องกับโคนขา เยื่อบุตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหาร มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน ตัวเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม สับสน ถ้าไม่พบแพทย์อาจรุนแรงถึงเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิตในที่สุด.




จาก .................... เดลินิวส์ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 10-11-2011 07:37


“อย่าประมาท!...โรคมือ เท้า ปาก วายร้ายใกล้ตัว” (ตอน 3)


จากตอนที่ 2 ของเรื่องนี้ได้บรรยายให้ความรู้ไปแล้ว 7 ข้อ ในตอนที่ 3 นี้จะขอตอบคำถามของโรคนี้ต่อเป็นข้อต่อไปดังนี้

8.หากบุตรหลานมีอาการป่วยควรทำอย่างไร
แยกเด็กป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่นๆ ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 5-7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น หรือหากเด็กมีอาการแทรกซ้อน เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ เป็นต้น ต้องรีบพากลับไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที

ไม่ควรพาเด็กไปสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ ตลาด และห้างสรรพสินค้า ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศระบายถ่ายเทได้ดี ใช้ผ้าปิดจมูก-ปากเวลาไอจาม และระมัดระวังการไอจามรดกัน และผู้เลี้ยงดูเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย

9.ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคมือ เท้า ปาก ที่รุนแรง โดยทั่วไปโรคมือ ปาก เท้า เป็นโรคที่ไม่อันตราย ในประเทศไทยพบโรคนี้ได้บ่อยแต่ไม่มีความรุนแรง ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการของโรค ผู้ป่วยมักมีอาการป่วยเล็กน้อย หายได้เองภายใน 7-10 วัน และแทบไม่มีผู้เสียชีวิตเลย แต่เด็กอ่อนและเด็กเล็กมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรงมากกว่าเด็กโต

10.วินิจฉัยโรคมือ เท้า ปาก ได้อย่างไร โดยทั่วไปแพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติ อายุ อาการ และอาการแสดง โดยสังเกตลักษณะผื่นหรือตุ่มแผลต่างๆ ที่ปรากฏ รวมถึงวินิจฉัยแยกจากโรคที่มีอาการแผลในปากอื่นๆ เช่น โรคติดเชื้อเริมในช่องปาก

สำหรับการส่งตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการมักไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น เพราะต้องใช้เวลานาน 2-4 สัปดาห์ เพื่อแยกและยืนยันเชื้อที่เป็นสาเหตุ จึงทำในเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง หรือยืนยันการระบาดเท่านั้น

11.โรคนี้รักษาได้หรือไม่ รักษาได้ตามอาการ โดยทั่วไปใช้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เช่น การใช้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด แต่ยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ โรคนี้หากผู้ป่วยรับประทานอาหารและพักผ่อนได้เพียงพอ ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรงและหายได้เองในช่วง 7-10 วัน

สำหรับผู้ดูแลเด็กควรดูแลเด็กป่วยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่มเด็กทารก เด็กเล็ก และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพื่อสังเกตอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงชีวิต และส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที

12.จะป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ได้อย่างไร การป้องกันโรคนี้ที่สำคัญคือ แยกผู้ป่วย และรักษาสุขอนามัยของสิ่งแวดล้อม เนื่องจากโรคมักระบาดในเด็กเล็ก ซึ่งอยู่รวมกันในโรงเรียน หรือสถานเลี้ยงดูเด็ก จึงควรเน้นเรื่องการล้างมือ ทำความสะอาดของเล่นและสิ่งแวดล้อม และเน้นความสะอาดของน้ำ อาหาร และทุกๆ อย่างที่เด็กอาจนำเข้าปาก เด็กป่วยควรให้อยู่บ้านไม่ให้มาเล่นกับเด็กคนอื่น บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องปิดโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็กชั่วคราวหากมีการระบาดเกิดขึ้นมาก ในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้

ข้อมูลจาก แผนกควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลพญาไท 2 http://www.phyathai.com




จาก ...................... บ้านเมือง คอลัมน์ ชีวิตและสุขภาพ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 11-11-2011 08:03


“อย่าประมาท...โรคมือ เท้า ปาก วายร้ายใกล้ตัว” (ตอน 4)


จากตอนที่ 3 ของเรื่องนี้ได้บรรยายให้ความรู้ไปแล้ว 12 ข้อ ในตอนที่ 3 นี้จะขอตอบคำถามของโรคนี้ต่อเป็นข้อต่อไปดังนี้

13.จะทำลายเชื้อได้อย่างไร

เชื้อนี้ถูกทำลายโดยการต้มที่ 50-60°c นาน 30 นาที ถูกทำลายโดยน้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของน้ำยาฟอกขาว (20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตร) หรือผงปูนคลอรีน หรือโซเดียมไฮโปคลอไรท์ เจือจาง 1 ส่วนผสมกับน้ำ 50 ส่วน หรือน้ำยาที่มีส่วนผสมของกลูตาราลดีไฮด์ (Glutaraldehyde) หรือฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) หรือน้ำยาทำความสะอาดที่ใช้ตามบ้านเรือน เช็ดและล้างด้วยน้ำสะอาด

14.ความเสี่ยงต่อผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศที่เกิดโรคระบาดมีมากน้อยเพียงใด ไม่มีข้อห้ามการเดินทางระหว่างประเทศ เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ หากจำเป็นต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีรายงานว่ากำลังเกิดโรคระบาด ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด รักษาสุขอนามัยที่ดี หรือน้ำยาทำความสะอาดที่ใช้ตามบ้านเรือน เช็ดและล้างด้วยน้ำสะอาด

15.โรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยง ควรดำเนินการอย่างไรหากมีเด็กป่วยจากโรค มือ เท้า ปาก

แจ้งการระบาดไปที่หน่วยงานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สอบสวนการระบาดของโรค เฝ้าระวังโดยตรวจเด็กทุกคน หากพบคนใดที่มีอาการโรคมือ เท้า ปาก ต้องรีบแยกออกและให้หยุดเรียน 7-10 วัน หรือจนกว่าจะหายป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังเด็กคนอื่นๆ

หากพบว่ามีการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในโรงเรียน หรือศูนย์เด็กเล็ก ควรพิจารณาให้ปิดชั้นเรียนที่มีเด็กป่วยมากกว่า 2 ราย หากมีการป่วยกระจายในหลายชั้นเรียนแนะนำให้ปิดโรงเรียนเป็นเวลา 5-7 วัน พร้อมทำความสะอาดห้องเรียน ข้าวของเครื่องใช้ อุปกรณ์รับประทานอาหาร, ของเล่นเด็ก, ห้องน้ำ, สระว่ายน้ำ และให้มั่นใจว่าน้ำที่ใช้ต้องมีระดับคลอรีนที่ไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน (0.2 ppm)

ทำความสะอาดเครื่องเล่น เครื่องใช้ของเด็ก ด้วยการซักล้างแล้วผึ่งแดดให้แห้ง

หยุดใช้เครื่องปรับอากาศ เปิดประตู หน้าต่าง ผ้าม่าน ให้แสงแดดส่องให้ทั่วถึง

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของบุตรหลานอันเป็นที่รัก การป้องกันในเรื่องความสะอาด อาหาร เป็นสิ่งสำคัญ และหากไม่จำเป็นก็ไม่ควรให้เด็กไปในสถานที่แออัด ซึ่งน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อเป็น “การป้องกัน” ไว้ก่อน ที่สำคัญอย่าได้ประมาทเป็นอันขาด!!! หากมีอาการที่น่าสงสัยให้รีบนำไปพบแพทย์ และแจ้งให้สถานที่รับเลี้ยงหรือโรงเรียนทราบโดยทันที

ข้อมูลจากแผนกควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลพญาไท 2 http://www.phyathai.com




จาก ...................... บ้านเมือง คอลัมน์ ชีวิตและสุขภาพ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 11-11-2011 08:06


สายรัดข้อมือ "UP" เตือนภัยสุขภาพ

http://www.khaosod.co.th/view_resizi...360&height=360

บริษัทจอว์โบน ผู้ผลิตหูฟังบลูทูธชื่อดัง เปิดตัวผลิตภัณฑ์ชื่อว่า UP เป็นสายรัดข้อมือดิจิตอลที่ช่วยดูแลสุขภาพ ด้วยการเก็บรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ ของ ผู้สวมใส่ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่ม การนั่ง ตลอดจนการออกกำลังกาย โดยจะคอยปรับพฤติกรรมเพื่อให้ผู้สวมใส่มีสุขภาพดีขึ้น

สายรัดข้อมือดิจิตอล UP ราคา 100 ดอลลาร์ หรือราว 3,000 บาท ทำงานด้วยการเชื่อมต่อแบบไร้สายกับแอพพลิเคชั่น บนไอโฟน ภายในมีเซ็นเซอร์ที่คอยนับคำนวณการเผาผลาญพลังงานจากกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้สวมใส่ทำ เช่น การเตะฟุตบอล การเดิน และการวิ่ง และแจ้งหน่วยเป็นแคลอรี โดยจะคอยตรวจจับกิจกรรมต่างๆ ของผู้สวมใส่ เช่น หากนั่งนานเกินไปสายรัดจะสั่น

นอกจากนี้ ยังเก็บข้อมูลการนอนหลับด้วยว่านอนนานเท่าไร พลิกตัวกี่ครั้ง จากนั้นมันจะวิเคราะห์และหาเวลาปลุกที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ใช้งานนอนหลับได้อย่างเพียงพอ




จาก ...................... ข่าวสด วันที่ 11 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 11-11-2011 08:08


มีแผลในลำไส้ 'แครอต-กะหล่ำปลี' ช่วยแก้

http://www.dailynews.co.th/content/i...hl11112011.jpg

หากรู้ตัวว่าเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้ อาหารดีมีประโยชน์ที่ 'มุมสุขภาพ' อยากแนะนำให้ผู้ที่ปัญหาดังกล่าวคือ 'แครอต' และ 'กะหล่ำปลี' ที่มีสรรพคุณรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ทั้งยังช่วยบำรุงลำไส้อีกด้วย

โดยแครอต อุดมด้วยเบต้าแคโรทีน สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ตัวการก่อโรคแก่ลำไส้ใหญ่ ทำลายอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ส่วนกะหล่ำปลี ช่วยทำความสะอาดลำไส้ บรรเทาอาการอักเสบของแผลในลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องผูก ทั้งยังมีผลวิจัยทางการแพทย์ระบุว่า กินกะหล่ำปลีสามารถลดอัตราการป่วยเป็นมะเร็งได้

ดังนั้น การกินแครอตและกะหล่ำปลีจึงดีต่อลำไส้ ระบบขับถ่าย และต้านมะเร็ง โดยเฉพาะแครอต การจะได้รับสารอาหารเต็มเปี่ยมควรเลือกผลใหญ่ แก่จัด สีเข้ม ทว่ากินน้ำกะหล่ำปลีเขียวมักจะพบว่ามีกลิ่นรสที่ไม่ชวนรับประทาน ก็แก้ไขให้กินง่ายขึ้นได้ เพียงกินพร้อมกับน้ำแครอต น้ำแอปเปิ้ล น้ำขิง

ส่วนสัปดาห์นี้พบกับสูตรเครื่องดื่มสุขภาพ ให้คุณประโยชน์อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้...

แครอต 2 ถ้วย
กะหล่ำปลีเขียว 1 ถ้วย
น้ำแข็งป่นพอประมาณ


วิธีทำ ล้างผักให้สะอาด แล้วนำแครอตขูดเป็นเส้นเล็กๆ ส่วนกะหล่ำปลีให้หั่นเป็นชิ้นหยาบ ได้แล้วนำไปสกัดพร้อมกันด้วยเครื่องสกัดน้ำผักผลไม้ เสร็จแล้วดื่มทันที หรือจะเติมน้ำแข็งป่นเพิ่มความเย็นสดชื่นก็ย่อมได้.




จาก .................... เดลินิวส์ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 11-11-2011 08:13


วิธีป้องกันข้อเข่าเสื่อม

http://www.bangkokbiznews.com/home/m...g_417994_1.jpg

ข้อเข่าของเราทุกคนจะมีการเสื่อมตัวตามอายุ แต่มิได้หมายความว่าทุกคนจะมีอาการเจ็บปวดจนทำให้เดินหรือออกกำลังกายไม่ได้เป็นปกติ

ข้อเข่าของเราทุกคนจะมีการเสื่อมตัวตามอายุ แต่มิได้หมายความว่าทุกคนจะมีอาการเจ็บปวดจนทำให้เดินหรือออกกำลังกายไม่ได้เป็นปกติ ผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากไม่มีปัญหาเรื่องปวดข้อเข้าจนถึงกับต้องรับประทานยาหรือไปพบแพทย์เพื่อรักษาแต่ก็มีผู้สูงอายุอีกไม่น้อยที่ต้องทรมานจากอาการข้อเข่าเสื่อม

ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์อำนวย อุนนะนันทน์ โรงพยาบาลธนบุรี กล่าวว่าสาเหตุที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีหลายอย่างด้วยกัน สาเหตุสำคัญๆ ที่พบบ่อยๆ คือ

1. น้ำหนักตัว ในการเดินพื้นราบตามปกติ ข้อเข่าแต่ละข้างจะรับน้ำหนักประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้าเดินขึ้นลงบันไดก็จะรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นไปอีกถึง 4 เท่าน้ำหนักตัว ดังนั้นถ้าน้ำหนักตัวมากเกินไป แรงกดดันในข้อเข่าระหว่างการเดินก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลซึ่งจะมีผลทำให้เกิดการชำรุดหรือสึกหรอของกระดูกอ่อนซึ่งเป็นผิวข้อได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเสื่อมตัวของผิวข้อก่อนวัยอันสมควร

2. บาดเจ็บเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นในข้อเข่า เช่น การเล่นกีฬาหนักๆ เช่น รักบี้, ฟุตบอล ที่มีแรงกระแทกในข้อเข่ามากๆ หรือมีการฉีกขาดของกระดูกอ่อนหรือเส้นเอ็นภายในข้อเข่า ทำให้ความมั่นคงแข็งแรงของข้อเข่าเสียไปตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้ผิวข้อชำรุดและเกิดการเสื่อมตัวของข้อเข่าโดยยังไม่ถึงวัยชรา

3. โรคต่างๆที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุข้อเรื้อรัง มีผลทำให้ผิวข้อเสื่อมตัวเร็วกว่าปกติ


วิธีป้องกันไม่ให้เกิดการเสื่อมตัวของข้อเข่าเร็วเกินไป

1. พยายามลดน้ำหนักตัว อย่าให้อ้วน พยายามบริหารกล้ามเนื้อของข้อเข่าให้แข็งแรง เวลาเดินหรือวิ่ง น้ำหนักตัวที่ผ่านข้อเข่านั้น กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่าจะทำหน้าที่ดูดซึมหรือรับน้ำหนักที่ผ่านข้อเข่าไว้ก่อน น้ำหนักที่เหลือหรือเกินขีดความสามารถของกล้ามเนื้อที่จะดูดซึมหรือรรับไว้แล้วจึงจะถูกปล่อยให้ผ่านเข้าไปในข้อเข่า โดยกระดูกอ่อนที่เป็นผิวข้อจะเป็นตัวรับน้ำหนักที่เหลือผ่านเข้ามา

ดังนั้นน้ำหนักที่ผ่านเข้าผิวข้อมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับสภาพของกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่า ถ้ากล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่าแข็งแรงมาก แรงที่จะผ่านเข้าผิวข้อก็จะน้อยมาก แต่ถ้ากล้ามเนื้อแข็งแรงน้อย แรงที่ผ่านเข้าผิวข้อก็จะมีมาก ถ้าแรงที่ผ่านผิวข้อมากถึงระดับหนึ่งก็จะเป็นการทำลายกระดูกอ่อนที่เป็นผิวข้อทำให้ชำรุดเสียหายไป เป็นผลทำให้เกิดการเสื่อมของข้อได้ ดังนั้นการบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่าให้แข็งแรงจึงมีความสำคัญมากต่อการเสื่อมตัวของข้อเข่า

มีผู้ถามเสมอว่าการวิ่งทำให้เกิดแรงกระแทกในข้อเข่าอันส่งผลทำให้เกิดการเสื่อมตัวของข้อเข่าเร็วขึ้น ความคิดนี้ไม่เป็นความจริง การวิ่งมีประโยชน์ต่อข้อเข่า คือทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง น้ำหนักตัวลด ดังนั้นทำให้แรงที่ผ่านเข้าไปในผิวข้อลดลง แต่ถ้าเกิดการเสื่อมตัวของข้อเข่าแล้ว และมีอาการเจ็บปวดในข้อเข่าจนไม่สามารถวิ่งได้ ก็ต้องไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่าโดยไม่ให้เกิดผลเสียต่อผิวข้อ

2. หลีกเลี่ยงลักษณะการใช้ข้อเข่าที่ทำให้เกิดแรงกดดันหรือเสียดสีในข้อเข่ามากเกินไป เช่นการนั่งยองๆ คุกเข่า พับเพียบ หรือขัดสมาธิ เป็นต้น

ข้อเข่าเทียมข้อเข่าที่มีการเสื่อมตัวจนถึงขนาดที่มีอาการเจ็บปวดและไม่สามารถให้การรักษาทางยาหรือกายภาพบำบัดได้แล้ว

ในปัจจุบันเราสามารถทำการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อใหม่หรือที่เรียกว่าผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม หลักการคือทำผ่าตัดเอาผิวข้อที่เสียไปแล้วออกให้หมดแล้วใส่ผิวข้อใหม่ซึ่งทำมาจากโลหะและพลาสติกที่มีคุณสมบัติพิเศษ ในแง่ของความแข็งแรงทนทานและเข้ากับเนื้อเยื่อของร่างกายได้ ข้อเทียมนี้พยายามทำให้มีการเคลื่อนไหวได้เหมือนข้อจริง ข้อเทียมในปัจจุบันมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ และหลายรูปแบบด้วยกัน

โดยสรุปแล้วใช้ได้ผลดีพอๆกัน การทำผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมจะได้ผลดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ

1. ประสบการณ์และความชำนาญของศัลยแพทย์ผู้ทำผ่าตัด

2. สภาพของข้อเข่าของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ถ้าข้อเข่าติดแข็งหรือข้อเข่าที่ผิดรูปมากๆ เช่น เข่าโก่ง หรือกล้ามเนื้อข้อเข่าลีบไม่แข็งแรง หลังผ่าตัดก็ไม่สามารถจะทำให้กลับสู่สภาพที่ปกติได้ทีเดียวต้องอาศัยการบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัดเป็นเวลายาวนาน

3. ความร่วมมือของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในเรื่องของบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัด

ใช้ Computer ในการผ่าตัดข้อเข่าเทียม (Computer Assisted Surgery) ปัจจุบันมีการนำ computer มาช่วยในการทำผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม เพียงแค่ช่วยทำให้การวางตำแหน่งการใส่ข้อเข่าเทียมให้ถูกต้องแม่นยำขึ้นเท่านั้นเอง ถ้าศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญมากพอแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ computer มาช่วยในการทำผ่าตัด การทำผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery)

ปัจจุบันมีศัลยแพทย์บางกลุ่มพยายามประดิษฐ์เครื่องมือใช้ช่วยทำผ่าตัด โดยพยายามทำแผลผ่าตัดให้เล็กที่สุดเพื่อหวังผลของการเจ็บปวดหลังผ่าตัดลดลงและใช้ข้อเข่าได้เร็วขึ้น วิธีนี้มีขีดจำกัดในการทำผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยที่ข้อเข่าเสื่อมหรือผิดรูปมากๆ หรือผู้ป่วยที่อ้วนมากๆ ไม่สามารถจะนำวิธีการผ่าตัดชนิดนี้มาใช้ได้




จาก .................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 13-11-2011 07:12


เมื่อสาวๆลุยน้ำสกปรก

http://www.dailynews.co.th/content/i...r/p7thurl1.jpg

มีสาวๆหลายคนสงสัยและเป็นกังวลว่า น้ำท่วมสูงมากเกินระดับเอว ถ้าต้องเดินลุยน้ำสกปรก ที่เต็มไปด้วยขยะและสิ่งปฏิกูล แถมบางคนเป็นช่วงที่มีประจำเดือนด้วยจะเป็นอันตรายต่ออวัยวะเพศหรือไม่?

เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า การที่ผู้หญิงต้องเดินลุยน้ำสกปรก แช่น้ำนานๆ ทำให้เกิดความชื้นบริเวณอวัยวะเพศ อาจมีปัญหาเชื้อราบริเวณขาหนีบ เป็นสังคังเหมือนกับผู้ชาย นอกจากนี้อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในช่องคลอด และลามไปที่ปีกมดลูก ทำให้เกิดการอักเสบหรือฝีที่ปีกมดลูกได้ โดยเฉพาะคนที่มีประจำเดือนยิ่งมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่ายเพราะประจำเดือนจัดว่าเป็นอาหารอย่างดีของเชื้อโรค

เพราะฉะนั้นผู้หญิงที่มีประจำเดือนควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำหรือแช่น้ำนานๆ ถ้าจำเป็นต้องลุยน้ำจริงๆ นอกเหนือจากการใส่ผ้าอนามัยตามปกติแล้ว ควรใส่ชุดป้องกันน้ำสวมทับชุดปกติ ถ้าไม่มีชุดป้องกันน้ำ เมื่อขึ้นจากน้ำให้รีบทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศให้แห้งโดยเร็วแต่ทางที่ดีควรใส่ชุดลุยน้ำป้องกันจะดีกว่า

สำหรับผู้หญิงที่เดินลุยน้ำจนเปียกแล้วต้องไปทำงานต่อ แนะนำว่า ควรหากระโปรงยาวๆไปเปลี่ยน เมื่อชำระล้างทำความสะอาดอวัยวะเพศแล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่กางเกงในก็ได้ เพื่อให้บริเวณดังกล่าวแห้งสนิทส่วนกางเกงในที่เปียกควรซักให้สะอาดผึ่งให้แห้งก่อนนำมาสวมใส่ กรณีที่เดินลุยน้ำจนเปียกแล้วไม่ยอมเปลี่ยนเสื้อผ้าและชุดชั้นใน ยังใส่เสื้อผ้าชุดเดิมทั้งที่ยังเปียกอยู่จนแห้งคาตัว นอกจากปัญหาเชื้อรา การติดเชื้อแล้ว อาจมีปัญหาผื่นคันโดยเฉพาะบริเวณแคมด้านนอก ซึ่งช่วงนี้พบได้บ่อย เพราะในน้ำนอกจากจะมีเชื้อโรคแล้ว อาจมีการปนเปื้อนของสารเคมีต่างๆ เช่น น้ำมัน สารพิษ โลหะหนัก ซึ่งผู้หญิงหลายคนอาจแพ้สารเหล่านี้และเกิดผื่นคัน

นอกจากนี้บริเวณอวัยวะเพศอาจติดเชื้อเริมได้ แม้โอกาสจะน้อยก็ตาม ดังนั้นเวลาเดินลุยน้ำไม่ควรสวมใส่กางเกงที่รัดแน่นจนเกินไป เพราะคนที่เคยเป็นเริมมาก่อน การใส่กางเกงที่รัดแน่นอาจเกิดการเสียดสีทำให้บริเวณนั้นอ่อนแอและทำให้เชื้อเริมกลับมาเป็นได้อีก ยิ่งช่วงนี้หลายคนอดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ แถมมีความเครียดด้วย ก็มีโอกาสกลับมาเป็นโรคเริมได้ง่ายขึ้น

ในกรณีที่มีผื่นคันบริเวณอวัยวะเพศหรือมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง ไม่ควรซื้อยามาทาหรือซื้อยามารับประทานเอง เพราะสาเหตุของปัญหาอาจไม่ใช่อย่างที่คิด ควรให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยจะดีกว่า เนื่องจากหลายคนไปซื้อยาเชื้อรามาทา หรือ รับประทานแล้วไม่หาย กว่าจะมาพบแพทย์ปรากฏว่าอาการลุกลามเป็นผื่นเต็มไปหมด

อีกปัญหาที่ต้องระวังและพบในผู้หญิง คือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น ถ้าลุยน้ำนานๆ อาจติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้ อีกทั้งการลุยน้ำนานๆ บางคนกลั้นปัสสาวะ ดังนั้นถ้าคิดว่าต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางนานๆ ควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว

ส่วนผู้ชายที่เดินลุยน้ำสกปรกนานๆ เสื้อผ้าเปียกชื้น ก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน คือ มีปัญหาเชื้อรา เป็นสังคัง ผื่นคัน และเริม ขณะเดียวกันบริเวณอวัยวะเพศชายมีรูเปิดท่อปัสสาวะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้เช่นกันแต่น้อยกว่าผู้หญิง

ดังนั้นหลังการลุยน้ำผู้ชายควรทำความสะอาดอวัยวะเพศให้แห้งสนิทถ้าเป็นไปได้ควรใส่ชุดกันน้ำเช่นเดียวกับผู้หญิง ที่สำคัญอย่าให้อวัยวะเพศแช่น้ำนานๆ

ในกรณีที่สามีภรรยาคนใดคนหนึ่งติดเชื้อรา แบคทีเรีย หรือ เริม ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ ถ้าต้องการมีเพศสัมพันธ์จริงๆ อย่างน้อยควรใส่ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อให้อีกฝ่ายหนึ่ง แต่ไม่สามารถป้องกันเชื้อราบริเวณขาหนีบหรือเริมที่บริเวณภายนอกของอวัยวะเพศได้.




จาก .................... เดลินิวส์ คอลัมน์ x-ray สุขภาพ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 13-11-2011 07:17


วิธีปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟดูด

http://www.dailynews.co.th/content/i...1111/13/sh.jpg

ภาวะน้ำท่วมแบบนี้ หากมีผู้ถูกไฟดูด คนใกล้เคียงควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำไปส่งแพทย์อย่างไร มีมาบอก

ท่ามกลางวิกฤติอุทกภัยขณะนี้ นอกจากต้องดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงปลอดภัยจากโรคต่างๆที่อาจเกิดจากน้ำไม่สะอาด เช่น น้ำกัดเท้า หรือไม่ก็สัตว์ร้ายที่มากับน้ำ รวมถึงของมีคมที่อาจถูกบาดได้หากลุยน้ำโดยไม่ระวัง อันตรายที่เกิดจากการถูกไฟดูดก็นับได้ว่ามีความเสี่ยงสูงด้วยเช่นกัน หากพบคนข้างๆถูกไฟดูด จะมีวิธีช่วยเหลือหรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนถึงมือหมออย่างไร วันนี้มีมาแนะนำ

หากทราบว่ามีกระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ต้องหาทางเขี่ยสายไฟฟ้าออกให้พ้นหรือตัดกระแสไฟฟ้าให้เรียบร้อยก่อนทำการช่วยเหลือผู้ถูกไฟดูด แล้วค่อยใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า ไม้ ยาง พลาสติก เป็นต้น ผลักหรือดันตัวผู้ถูกไฟดูดให้หลุดออกมาอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง และรวดเร็ว

ขั้นต่อไปให้หยุดการไหลของไฟที่ผ่านตัวคนถูกไฟดูด ด้วยการนำวัตถุที่เป็นโลหะขนาดใหญ่ เช่น แผ่นสังกะสี วางลงพื้นดินแล้วนำตัวผู้ประสบเหตุนอนลงบนสิ่งนั้น เสร็จแล้วใช้น้ำลดผู้ถูกไฟดูดและบริเวณพื้นโดยรอบเพื่อให้ร่างกายได้คลายประจุไฟฟ้า วิธีนี้จะสามารถทำให้ผู้ป่วยฟื้นขึ้นมาได้ แล้วค่อยนำส่งโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ดูอาการ แต่ถ้าในกรณีที่ผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัว หรือไม่หายใจ ให้ปฐมพยาบาลโดยการเป่าปากหรือปั๊มหัวใจทันที ก่อนนำส่งโรงพยาบาลต่อไป.


ขั้นตอนการเป่าปากหรือปั๊มหัวใจช่วยเหลือผู้ถูกไฟดูด

http://www.dailynews.co.th/content/i...111/13/cpr.jpg




จาก .................... เดลินิวส์ คอลัมน์เกร็ดความรู้ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 14-11-2011 07:53


รู้จัก 'hMPV' ไวรัสที่กำลังหวั่นระบาด

http://www.dailynews.co.th/content/i...hl14112011.jpg

หลังหลายคนพูดกันอย่างอื้ออึงถึงข่าว การพบเชื้อฮิวแมน เมทตะนิวโมไวรัส มีอาการคล้ายหวัดใหญ่และโรคปอดอักเสบ หากกินยาแก้หวัดใหญ่หลายวันไม่หายควรรีบพบแพทย์ มิเช่นนั้นอาจถึงตาย!

ประกอบกับโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งเปิดเผยว่า ในช่วงสิงหาคม-ตุลาคมที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเพราะติดเชื้อดังกล่าวถึง 22 ราย เสียชีวิต 2 ราย หากย้อนดูสถิติเก่า กลับพบว่า ในแต่ละปีมีผู้ป่วยเพียงไม่กี่ราย

ที่จริงแล้ว เชื้อฮิวแมน เมทตะนิวโมไวรัส (Human metapneumovirus) หรือเรียกสั้นๆ ว่า 'hMPV' เชื้อไวรัสทางเดินหายใจ เป็นที่รู้จักมานานราว 60 ปีแล้ว มักระบาดในช่วงหน้าฝนถึงหน้าหนาว ทุกเพศและทุกช่วงวัยมีโอกาสติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่มักพบในเด็กเล็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว ป่วยเบาหวาน โรคอ้วน ตั้งครรภ์ หรือผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดเข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยง

เมื่อได้รับเชื้อ hMPV จะทำให้ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง มีอาการคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ ไม่มียารักษาตัวโรคโดยตรงเช่นเดียวกับโรคหวัดหรือไข้หวัด ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีรักษาไปตามอาการของผู้ป่วยแต่ละราย ขณะที่วัคซีนป้องกัน hMPV ยังอยู่ในขั้นทดลอง

และเนื่องจากมีอาการคล้ายไข้หวัด ผู้ที่เป็นมักกินยาแก้หวัด แก้ไอ เพื่อบรรเทาอาการ ทว่ากินยาไปแล้ว 2-3 วัน อาการที่เป็นทั้งหมดไม่ทุเลาลงลงเลย จำเป็นต้องรีบพบแพทย์ หากปล่อยไว้อาการอาจรุนแรงขึ้น เช่น หอบเหนื่อย ปอดบวม เลือดออกในปอด ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือหายใจไม่สะดวกเพราะหลอดลมบวมมาก และอาจติดเชื้ออื่นซ้ำ

อย่างไรก็ตาม การพบแพทย์ในช่วงที่อาการรุนแรงอาจถูกนำตัวเข้ารักษาและติดตามอาการอย่างใกล้ชิดภายในห้องไอซียู บางรายที่หายใจติดขัด แพทย์อาจต้องเจาะคอ หรือใส่เครื่องช่วยหายใจรักษาไปตามอาการ

ทั้งนี้ในผู้ที่มีอาการไม่มาก การนอนพักผ่อนเพียงพอ ร่วมกับการกินยารักษาอาการที่เป็น ก็สามารถหายได้เหมือนเป็นไข้หวัดทั่วไป การติดเชื้อชนิดนี้ยังมีอัตราการเสียชีวิตน้อยมาก นอกเสียจากอาการไม่ดีขึ้นและทรุดหนักต้องพบแพทย์ อีกทั้งในช่วงที่เกิดภัยน้ำท่วมเช่นนี้ ชาวบ้านต้องอพยพไปอยู่รวมกันที่ศูนย์พักพิง ควรมีการแยกผู้ที่อาการป่วยออกเป็นสัดส่วน ผู้ที่มีอาการไอ เป็นหวัด ควรสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ เพื่อลดการระบาดของโรค.




จาก .................... เดลินิวส์ คอลัมน์สารพันวันละโรค วันที่ 14 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 16-11-2011 07:56

4 Attachment(s)

ฮ่องกงฟุต!!! สุดอันตราย



จาก .................... ไทยรัฐ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 16-11-2011 08:02


สะกดเบาหวานด้วย “สติ”

http://www.bangkokbiznews.com/home/m...g_416690_1.jpg

สถิติคนไทยบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้นปีละ 30.5 กิโลกรัมต่อคนภายในระยะเวลา20ปี เห็นทีคงต้องหาวิธีทำให้คนใกล้ตัวเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

สถิติคนไทยบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้นปีละ 30.5 กิโลกรัมต่อคนภายในระยะเวลา20ปี

เห็นทีคงต้องหาวิธีทำให้คนใกล้ตัวเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารก่อนโรคเบาหวานจะถามหา ถ้าอยากให้คนที่เรารักไม่เป็นโรคเบาหวานควรทำอย่างไร

กฤษฎี โพธิทัต นักกำหนดอาหาร เจ้าของงานเขียน“กินดี ได้สุขภาพดี” ในฐานะผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าหลายคนสงสัยว่า ทำไมเขาถึงเป็นเบาหวานทั้งๆที่ไม่ได้รับประทานอาหารหวานไม่ว่าจะเป็นขนม น้ำอัดลมเพราะความจริงโรคเบาหวานไม่ได้เกิดจากการบริโภคของหวานอย่างเดียว แต่เกิดจากรับประทานอาหารไม่สมดุล หลายคนรับประทานแต่แป้งไม่รับประทานเนื้อสัตว์และผักมาตั้งแต่เด็กจนโต

บางคนชอบรับประทานอาหารแบบง่ายๆ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวเหนียวหมูทอด ข้าวไข่เจียว ข้าวหมูแดง ข้าวมันไก่ ซึ่งเมนูเหล่านี้มีผักน้อยมากๆ หรือไม่มีเลย ซึ่งการกินอาหารที่ไม่สมดุลเช่นนี้ไปนานๆ อาจส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารสำคัญที่ช่วยต้านโรคเบาหวาน

“วันๆผ่านไปแทบไม่ได้แตะผักเลยไม่ได้มีเฉพาะเด็กเท่านั้น แม้แต่ผู้ใหญ่ก็เช่นเดียวกันทั้งๆที่บ้านเรามีผักเยอะแยะที่สามารถนำปรุงเป็นอาหารน่ากินทั้งนั้นอันนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของเบาหวาน พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกรับประทานผัก ผลไม้จนติดเป็นนิสัย”


วิถีการกินก่อโรคร้าย

ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยทำงานการใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยใช้พลังงานเยอะช่วงเรียนมหาวิทยาลัย พออายุมากขึ้นใช้พลังงานน้อยลง แต่บริโภคอาหารเพิ่มขึ้นทำให้เกิดการ“สะสม”ไขมันในช่องท้อง ซึ่งจะเป็นตัวที่ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายต่างๆเปลี่ยนแปลง ถ้ามีไขมันในช่องท้องเยอะ จะเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคเบาหวาน วิธีตรวจง่ายๆคือใช้สายวัดวัดเอว ผู้หญิงที่มีเอวหนามากกว่า 80เซ็นติเมตรและผู้ชายที่มีเอวหนามากกว่า 90 เซ็นติเมตร ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน

ตัวฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งสร้างจากตับอ่อนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมาจากตัวไขมันจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานกล่าวคือเวลารับประทานอาหารไม่ว่าเป็นผลไม้ นมหรือแป้งถูกย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคสเป็นหน่วยเล็กๆแล้วเข้าไปที่เซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ต่างๆเพื่อใช้เป็นพลังงาน แต่เมื่อมีไขมันมาสะสมฮอร์โมนอินซูลินที่เปลี่ยนแปลงตรงนี้ มันเข้าเซลล์ไม่ได้ เพราะเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน เซลล์ไม่ให้อินซูลินเข้าแล้ว น้ำตาลกลูโคสที่อยู่ในเลือดจะอยู่ในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ เพรินซูลินไม่สามารถเอาน้ำตาลเข้าเซลล์ได้

น้ำตาลในเลือดมี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับปกติ ระดับตรงกลางและระดับของโรคเบาหวาน คนที่น้ำตาลในเลือดอยู่ระดับตรงกลาง แม้ว่ายังไม่เป็นเบาหวานแต่ก็มีแนวโน้มจะเป็นเบาหวานสูงถ้าไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

"จริงๆค่าน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่อยู่ระดับกลาง มันจะเปลี่ยนไปทางไหนก็ได้ ไม่ว่าเป็นระดับปกติหรือระดับของโรคเบาหวาน ถ้ายังเฮฮาปาร์ตี้ โดยไม่ออกกำลังกาย ไม่ปล่อยวางความเครียด โอกาสจะเป็นเบาหวานสูงแต่ถ้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจอยู่ระดับนี้ไปเรื่อยๆ หรือถ้าคุมเข้มอาจ
อยู่ในระดับปกติได้”

หลายคนมักคิดว่าอะไรมันจะเกิดก็ต้องเกิด หรือ เกิดมาทั้งทีต้องสนุกสนานกับชีวิตเต็มที่ แต่ลืมคิดไปว่า ตนเองมีครอบครัว มีคนที่เรารักและคนที่รักเรา คุณจะสร้างภาระจากการเจ็บป่วยให้กับพวกเขาหรือแม้จะเป็นคนที่ไม่มีครอบครัว ไม่มีใครที่ต้องเป็นห่วง แต่ก็อาจลืมนึกไปว่า ความทุกข์จากการเจ็บป่วยและค่าใช้จ่ายในการรักษานั้นจะทำให้คุณภาพชีวิตลดลง แทนที่เกษียณแล้วจะมีความสุขในการใช้ชีวิต กลับต้องมาป่วย


ยาไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

“คนที่เป็นเบาหวานไม่มีโอกาสหาย สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้ชีวิตด้วยความประมาท หลายคนมักคิดว่า กินยาแล้วจะดีขึ้นโดยไม่ต้องทำอะไรเลย ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นได้ต้องดูแลตัวเองทั้งด้านอาหาร ร่างกายและ อารมณ์ไม่ใช่ยาอย่างเดียว”

โภชนาการจึงเป็นเรื่องสำคัญ

โภชนาการ ”ไม่ได้” เป็นการห้ามกินแต่เป็นการสอนให้รู้จักเลือกที่จะกินอะไรในปริมาณเท่าไร

สำหรับญาติผู้ป่วยเบาหวานที่เขาไม่อยากให้คนที่รักเจ็บป่วยสามารถช่วยได้ด้วยการพยายามเลือกอาหาร เพื่อสุขภาพก่อนที่จะเลือกอาหารที่อยากรับประทาน เราไม่จำเป็นที่จะต้องงดอาหารที่ชอบโดยสิ้นเชิง สมมติไปรับประทานอาหารนอกบ้านควรเลือกสั่งอาหารให้มีความหลากหลาย เช่น ถ้ารับประทานในร้านอาหารจีนแทนที่จะสั่งเมนูของมันหรือของทอดอย่างเดียวก็หันมาสั่งเมนูผักให้เยอะหน่อย

ถ้าร้านอาหารทะเลแทนที่จะสั่งแต่ปลาทอด กุ้งทอด ปูชุปแป้งทอด ทอดมันกุ้ง ข้าวผัดปูควรจะสั่งต้มยำกุ้ง ใส่เห็ดเยอะๆ แกงส้มทะเล หรือแกงส้มกุ้ง ถ้าเป็นร้านอาการอิตาเลี่ยน แนะนำให้สั่งสลัดเพราะมีให้เลือกหลากหลาย ส่วนเมนูสปาเกตตี้ที่มีไขมันสูง หากอยากบริโภคควรสั่งมาจานเดียวแล้วแบ่งกันรับประทาน

“ คุณอาจตักอาหารได้หลายๆอย่าง อย่างละคำ 2 คำ วิธีนี้จะทำให้คุณสามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายแต่ไม่มากจนเกินไป”

วิธีป้องกันไม่ให้รับประทานอาหารเกินความจำเป็นคือ ให้เคี้ยวอาหารช้าๆ ลิ้มรสชาติของอาหารทุกคำ จะช่วยทำให้คุณอิ่มเร็วและได้รับแคลอรีน้อยกว่ารับประทานเร็วๆ ซึ่งจะอิ่มช้าและได้รับแคลอรีจากอาหารมาก
ส่วนการเลือกอาหารที่เป็นของว่างระหว่างมื้อนั้น ให้เลือกเป็นผลไม้ที่มีแป้งน้อย เช่น ส้ม ชมพู่ ฝรั่ง สับปะรด

ทางที่ดีควรรับประทานอาหารมื้อหลักและมื้อว่างแบบเบาๆ โดยเลือก ผัก ผลไม้ แป้งไม่ขัดสี ข้าวกล้องข้าวซ้อมมือ หรือธัญพืช และโปรตีน ไขมันต่ำ เช่น ปลา เป็ดหรือไก่ไร้หนัง ไข่ เต้าหู้ ในปริมาณเล็กน้อยทุกมื้อ ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆตลอดทั้งวัน

นอกจากนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ " สติ" เพราะการบริโภคอย่างมีสตินั้น สามารถนำไปใช้ได้ในทุกสถานการณ์ส่วนวิธีการบริโภคอย่างมีสติให้ได้ผลดีที่สุดนั้น นักกำหนดอาหารมีข้อแนะนำว่า ควรเริ่มตั้งแต่การเลือกอาหารเพื่อคัดเลือกอาหารก่อนว่าอะไรดี อะไรไม่ดี เช่น หลายคนรู้ว่าของมันไม่ดี และรู้ว่าผักดี แต่ก็ยังไม่กินผัก กินแต่ของมันๆ


ถัดมาต้อง ”หยุดคิด” ก่อนตัดสินใจซื้ออะไรมาบริโภคว่าหิวหรือเปล่า ? ถ้าไม่หิวอย่ากิน !

“ความหิวมันมีระดับ 1 -10 ระดับ 10 คืออิ่มจัด ระดับ 1 คือหิวจัด ไม่มีอะไรเหลือในท้องแล้ว แล้วระดับความหิวเราอยู่ตรงไหน ถ้าเราไม่หิว ไม่ต้องไปเพิ่มแคลอรีจากขนมหรืออาหารที่ซื้อมารับประทานเพราะความอยาก ”
เห็นไหมว่า เรื่องง่ายๆ อย่างการรับประทานอาจ “ไม่ใช่”แค่เรื่องธรรมดาอย่างที่คิด เพราะมีผลกับชีวิตคุณและคนที่คุณรักโดยตรง




จาก ................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 16-11-2011 08:06


“แก้เจ็บคอ” อย่างได้ผลด้วยมะนาว-มะขาม

http://www.dailynews.co.th/content/i.../url_fruit.jpg

ใช้ความเปรี้ยวซีดซ๊าดจากวิตามินธรรมชาติลดอาการเจ็บคอ กับ “สูตรปรุงยาขับเสมหะรสกลมกล่อม”

สถานการณ์น้ำล้อมบ้านสร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิตเหลือหลาย โดยเฉพาะยามเจ็บไข้ จะออกไปพบแพทย์ก็ทุลักทุเล ยามนี้ลองหันเข้าครัว แล้วจะพบว่าวัตถุดิบภายในสามารถหยิบจับมาทำยาได้ อย่างสูตร “แก้เจ็บคอ” ง่ายๆมาดูกัน

เริ่มสูตรแรกด้วย “มะนาว” มีกรดอินทรีย์หลายชนิด ทั้งซิตริก มาลิค วิตามินซี ใช้เป็นยาสมุนไพร ขับเสมหะ และแก้ไอได้ โดยล้างมะนาวให้สะอาด ใช้น้ำมะนาวผสมน้ำอุ่น และเกลือเล็กน้อย หรือ ใช้น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง ค่อยๆจิบ นอกจากนั้น อาจฝานมะนาวเป็นชิ้นบาง หรือ หั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าชิ้นเล็ก จิ้มเกลือ อมไว้สักครู่ แล้วเคี้ยวกลืน

ส่วนสูตรที่สอง “มะขาม” อุดมด้วยกรดอินทรีย์ ทั้งซิตริค มาลิค ทาร์ทาริค และวิตามินเอ ซึ่งรสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ โดยนำมะขามเปียกต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล และเกลือเล็กน้อย หรือ ใช้เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) ประมาณ 3 กรัม จิ้มเกลือรับประทาน จะได้ยาที่มีรสกลมกล่อม

ทั้งนี้ มะนาว และมะขามเปียก มีฤทธิ์เป็นยาระบายด้วย จึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป.




จาก .................... เดลินิวส์ คอลัมน์เกร็ดความรู้ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 17-11-2011 07:40


วิธีหยุด ‘สะอึก’

http://www.dailynews.co.th/content/i...hl16112011.jpg

‘สะอึก’ ทางการแพทย์อธิบายอาการไม่พึงประสงค์ไว้ว่า กล้ามเนื้อกะบังลมบริเวณรอยต่อระหว่างช่องปอดกับช่องท้องเกิดการหดเกร็งโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่อาจสันนิษฐานว่า มีสิ่งไปกระตุ้นเส้นประสาท 2 ตัว คือ Vagus nerve และ Phrenic nerve ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมระบบประสาทต่อกับระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ส่วนเสียงสะอึกเกิดขึ้นจากการหายใจออกระหว่างที่กระบังลมกระตุกแบบปัจจุบันทันด่วนนั่นเอง

สำหรับบางคนเวลาสะอึกถึงกับกลายเป็นจุดสนใจ เพราะเสียงสะอึกดังกึกก้อง แถมตัวก็กระตุก แม้พยายามเอามือปิดปาก และนั่งนิ่งๆ ก็ข่มอาการเอาไว้ไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่วิธียอดนิยมที่ใช้แก้อาการดังกล่าว คือ การดื่มน้ำ ทว่าในช่วงเวลานั้น ไม่สามารถหาน้ำดื่มได้ แนะนำให้ใช้วิธีกดจุด

การกดจุดแก้สะอึก เป็นเคล็ดลับทางแพทย์แผนจีน โดยให้กดจุดจ่านจู๋ ที่อยู่ในตำแหน่งหัวคิ้วทั้งสองข้าง ก่อนกดจุดให้นั่งหลังตรงหรือนอนหงาย จากนั้นใช้นิ้วโป้งกดลงที่หัวคิ้วพร้อมกันทั้งสองข้าง ขณะกดให้ค่อยๆทิ้งน้ำหนักเบาแล้วแรง นิ้วที่เหลือให้ศีรษะไว้ โดยกดแบบเบาสลับหนักค้างไว้จนกว่าจะหายสะอึก ที่มักหายภายใน 2-3 นาที

อย่างไรก็ตาม หากสะอึกนานกว่านั้นเป็นชั่วโมง เป็นวัน หรือมีอาการติดๆ กันเป็นประจำ ประกอบกับพบอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น หายใจติดขัด เวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ เนื่องจากอาจเกิดความผิดปกติกับระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ หรือระบบสมองและเส้นประสาท.




จาก .................... เดลินิวส์ คอลัมน์สามัญประจำบ้าน วันที่ 17 พฤศจิกายน 2554

สายชล 17-11-2011 12:00



เราต้องใช้ "สติ" คุมเบาหวานให้ได้....

เอ้ออออ...เดี๋ยวไปหาเค๊กกับไอสครีมมาคุม "สติ" ดีกว่า...เอิ้กๆ


สายน้ำ 18-11-2011 08:15


'หอยนางรม' บำรุงตับ-ไต สุขภาพเพศ

http://www.dailynews.co.th/content/i...hl18112011.jpg

หลังจากน้ำท่วมเริ่มลดลง ลมหนาวก็ตั้งท่าแวะมาเยือน 'มุมสุขภาพ' จึงแนะนำสูตรซุปร้อนๆ ทำกินกันให้เหมาะกับสภาพอากาศ สำหรับซุปสูตรนี้มี 'หอยนางรม' เป็นส่วนผสมหลัก

โดยหอยนางรมนั้น อุดมด้วยวิตามินเอ บี1 บี2 บี3 ซี และดี มีแร่ธาตุหลายชนิด อย่างเหล็ก คอปเปอร์ ไอโอดีน แมกนีเซียม แคลเซียม ซิลค์ แมงกานีส และฟอสฟอรัส ให้สรรพคุณเสริมการทำงานของตับและไต เพิ่มพละกำลัง เลือดลมไหวเวียนดี ลดความเสี่ยงโรคที่เกี่ยวกับต่อมน้ำเหลืองและวัณโรค บำรุงสุขภาพทางเพศ เช่น แก้ปัญหาประจำเดือนไม่สม่ำเสมอของผู้หญิง ส่วนผู้ชายการแก้การหลั่งโดยไม่รู้ตัว

ทั้งนี้มีคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง เป็นโรคตับ และติดเชื้อเอชไอวี ไม่ควรกินหอยนางรมที่ไม่สุก เนื่องจากอาจมีเชื้อแบคทีเรียปะปนอยู่


ส่วนสูตรซุปหอยนางรม มีเครื่องปรุงที่ต้องเตรียมดังนี้...
  • หอยนางรม 2 ถ้วย
  • เนื้อไก่ 1 ถ้วย
  • หอมหัวใหญ่ 2 หัว
  • อบเชย-กานพลู 2 ช้อนชา
  • พริกไทยเม็ด 2 ช้อนชา
  • เกลือป่น 2 ช้อนชา
  • ขึ้นฉ่าย 3-4 ต้น


วิธีทำ หอยนางรมล้างให้สะอาด ส่วนเนื้อไก่ต้มสุกแล้วฉีกเป็นเส้น หอมหัวใหญ่หั่นเป็นชิ้นแว่น จากนั้นตั้งน้ำประมาณครึ่งหม้อ แล้วใส่อบเชย กานพลู พริกไทยเม็ด(ทุบพอแหลก) กระทั่งน้ำเริ่มเดือดจึงใส่ไก่ฉีก หอมหัวใหญ่ พร้อมเติมเกลือ หันไปตักหอยนางรมใส่ถ้วยไว้ เมื่อซุปเดือดได้ที่ให้ตักน้ำซุปใส่ถ้วยที่มีหอยนางรมรองอยู่ หอยจะสุกจากความร้อนของซุป สุดท้ายเด็ดขึ้นฉ่ายโรยหน้า และควรกินตอนซุปกำลังร้อนๆ.




จาก .................... เดลินิวส์ คอลัมน์กินดี วันที่ 18 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 21-11-2011 08:07


ป้องกัน 'โรคตาติดเชื้อ' ช่วงน้ำท่วม

http://www.dailynews.co.th/content/i...hl21112011.jpg

โรคตาติดเชื้อในสภาวะน้ำท่วมเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังและเฝ้าสังเกต ซึ่ง 'ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย' เผยว่า เชื้อโรคที่มากับน้ำมีทั้งเชื้อแบคทีเรีย,ไวรัส,ปาราสิตและอมีบา ล้วนมีอันตรายต่อดวงตาและการมองเห็น โดยเชื้อโรคจะปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำต่างๆ โดยเฉพาะน้ำท่วม

สำหรับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพดวงตา คือ คอยสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติของดวงตา อาทิ ตาแดงหรืออาการระคายเคืองต่อดวงตา อาการปวดรอบๆดวงตา แพ้แสงหรือแสบตาผิดปกติ การมองเห็นลดลงหรือมัวลง และน้ำตาไหลหรือมีขี้ตาผิดปกติ

ถ้ามีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและรับการรักษาอย่างรวดเร็วที่สุด โดยการรักษาโรคตาติดเชื้อตั้งแต่แรกจะทำให้ผลการรักษาดีและมีประสิทธิภาพ ส่วนการรักษาที่ช้าเกินไปอาจจะทำให้สูญเสียการมองเห็นได้

กรณีน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดที่ปราศจากเชื้อโรค เช่น น้ำยาล้างตาหรือน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ที่ได้มาตรฐาน การล้างตาด้วยน้ำประปาโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีปัญหาของคุณภาพ อาจทำให้ตาอักเสบมากขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม ประชาชนทุกคนสามารถเกิดโรคตาติดเชื้อได้และจะพบมากขึ้นในกลุ่มประชาชนที่สวมคอนแทคเลนส์, หลังการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ เช่น เลสิค (post-LASIK) และหลังการผ่าตัดในลูกตา เช่น ผ่าตัดต้อกระจก ต้อหินจอประสาทตา ซึ่งควรเฝ้าระวังอาการที่ผิดปกติเป็นพิเศษ

สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของสายตาและแก้ไขด้วยคอนแทคเลนส์หรือแว่นตา ในสภาวะน้ำท่วมอาจพบอุปสรรคของการสวมคอนแทคเลนส์ในสถานที่พักพิงหรือบ้านที่ถูกน้ำท่วม, การเดินทางไม่สะดวกในการทำแว่นตาหรือแว่นตาเกิดการสูญหายจากการประสบปัญหาน้ำท่วมของบ้านที่อยู่อาศัย ดังนั้นการเตรียมแว่นสำรองไว้ในกรณีฉุกเฉินจึงมีความจำเป็นมากขึ้นในสถานการณ์เช่นนี้

ดังนั้น ในช่วงน้ำท่วมควรระมัดระวังไม่ให้น้ำท่วมที่สกปรกกระเด็นเข้าตา ที่สำคัญเมื่อมีปัญหาตาอักเสบมีขี้ตาแล้ว ต้องระวังไม่ให้แพร่เชื้อในวงกว้างโดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสตาที่อักเสหรือขี้ตา หากจำเป็นต้องสัมผัสขี้ตาต้องล้างมือทันที เพื่อป้องกันการกระจายเชื้อสู่บุคคลอื่น.




จาก .................... เดลินิวส์ คอลัมน์สารพันวันละโรค วันที่ 21 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 22-11-2011 08:18


ใครไม่อยาก "กระดูกพรุน" ก่อนวัย โปรดอ่านทางนี้!

http://pics.manager.co.th/Images/554000015668501.JPEG

เป็นอีกหนึ่งเรื่องสุขภาพที่หลายๆบ้านไม่ควรมองข้าม นั่นก็คือ "โรคกระดูกพรุน" ซึ่งปัจจุบันพบว่า ผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น และที่สำคัญมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นโรคนี้โดยไม่รู้ตัว

ความน่าเป็นห่วงนี้ นพ.บุญวัฒน์ จะโนภาษ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ คลินิก ศูนย์แพทย์พัฒนา เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่เคยรู้ตัวเองเลยว่าป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนมาก่อน แต่เมื่อเกิดการหักของกระดูก หรือกระดูกยุบตัวจากอุบัติเหตุจึงได้รู้ความจริง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งการรักษาอาจทำได้ยากถึงแม้จะมีหลายวิธี แต่ก็ไม่หายขาดเหมือนเก่า โดยวิธีการรักษามีทั้งการรับยา การทานยาแคลเซียมเพื่อเสริมความแข็งแรงของกระดูก การเข้าเฝือก การดามเหล็ก หรือการฉีดซีเมนต์เมื่อมีอาการกระดูกแตกหรือหักหรือยุบตัว

สำหรับบุคคลในบ้านที่มีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว คุณหมอบอกว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และชายที่มีอายุมากกว่า 60 ปี นอกจากนี้ยังรวมไปถึงคนที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 45 กิโลกรัม ทำงานโดยไม่ได้รับแสงแดด หรือเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ และอาจเกิดขึ้นได้เช่นกันกับคนที่รับประทานทานยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์ และยารักษาไทรอยด์ อันเป็นยาที่เพิ่มการสลายแคลเซียม รวมทั้งโรคไต ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมเสียไป

"ผู้หญิงที่มีสิทธิ์เป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่าย โดยมีข้อบ่งชี้ว่า จะต้องหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี ถูกตัดรังไข่ 2 ข้างก่อนอายุ 45 ปี เกิดภาวะเอสโตรเจนต่ำก่อนหมดประจำเดือน มีภาวะเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการขาดฮอร์โมน ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุนก่อนอายุ 60 ปี ดังนั้นการป้องกันดีกว่าการรักษา เพื่อที่จะไม่เกิดเหตุการณ์กระดูกหักเอาง่าย ๆ ครับ" แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้ออธิบายเสริม

ดังนั้น การป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งที่ทุกบ้านควรให้ความสำคัญ ซึ่งบางทีด้วยอายุ หรือปัจจัยอื่นๆไม่สามารถไปปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขได้ แต่อย่างไรก็ตามก็มีปัจจัยหลายๆอย่างที่สามารถเข้าไปปรับปรุงหรือลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อท่านนี้ให้คำแนะนำเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

1. ควรทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น กะปิ กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว รวมถึงนมเป็นประจำ

2. ออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่อร่างกายเบา ๆ เช่น การวิ่ง ยกน้ำหนัก รำกระบอง อย่างน้อย 20 นาทีต่อวันและการออกกำลังกายที่ช่วยการทรงตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการล้ม

3. การโดนแสงแดดอ่อนๆ มากกว่า 15 นาทีต่อวัน ช่วยให้ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดี ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้

4. เมื่อสงสัยว่าตัวเองหรือสมาชิกในบ้านมีภาวะกระดูกพรุน ควรป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหกล้ม เช่นการจัดบ้านให้เรียบร้อย แสงสว่างพอเพียง ใช้พื้นที่ไม่ลื่น ระวังเรื่องน้ำที่หกบนพื้น มีราวจับช่วยการเดิน นอกจากนี้ต้องระมัดระวังการมีสัตว์เลี้ยงและเด็ก ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยเช่นกัน อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักในผู้สูงอายุ

"เมื่อย่างเข้าสู่วัยทอง ควรปรึกษาแพทย์ โดยแพทย์อาจพิจารณาให้เอ็กซเรย์ หรือการวัดความหนาแน่นของกระดูก (BMD) โดยทั่วไปให้ทำในหญิงอายุมากกว่า 65 ปีและชายมากกว่า 70 ปี นอกจากมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งถ้าค่า BMD นี้น้อยกว่า -1 ถือว่ามีภาวะกระดูกบาง และถ้าต่ำกว่า -2.5 ถือว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ควรทำการรักษาโดยการใช้ยาลดการทำลายและเพิ่มการสร้างของกระดูก" แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อให้แนวทาง

ส่วนถ้าใคร หรือครอบครัวใดมีคนในบ้านเป็นโรคกระดูกพรุนอยู่แล้ว แพทย์อาจจ่ายยาที่ช่วยเพิ่มมวลกระดูกให้ด้วย ซึ่งยาเหล่านี้ คุณหมอบอกว่า ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในการดูแลของแพทย์ หากไม่ได้รับประทานยาอย่างต่อเนื่องจะทำให้ประสิทธิผลของยาในการลดการหักของกระดูกไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่ยังมียาอีกชนิดหนึ่งเป็นยาชนิดฉีด เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุน ใช้ฉีดปีละ 1 ครั้งทางหลอดเลือดดำ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหาร หรือมีปัญหารับประทานยาไม่สม่ำเสมอ และผู้ป่วยที่ลำบากในการเดินทางมาตรวจกับแพทย์

อย่างไรก็ดี ในช่วงวิกฤตน้ำท่วมแบบนี้ คุณหมอบอกว่า บ้านไหนที่มีผู้สูงอายุ ควรระวังอุบัติเหตุที่อาจทำให้กระดูกหัก หรือแตกได้ง่าย

"ในช่วงภาวะน้ำท่วม ขณะนี้มีผู้สูงอายุ ได้รับอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น บางคนถึงกับเกิดกระดูกสันหลังยุบตัว เพราะไปช่วยคนในครอบครัว ยกของหนัก เพื่อหนีน้ำ นำของขึ้นที่สูง บางคนเดินไปสะดุดล้ม หรือลื่นหกล้ม ซึ่งไม่กี่วันที่ผ่านมา มีคนไข้ที่กระดูกมือกระดูกเท้าหักและมีคนไข้ที่กระดูกหลังยุบ เนื่องจากไปช่วยลูกหลานของตัวเองยกของ ซึ่งภายในไม่กี่วันที่ผ่านมามีคนไข้ ผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนสูงขึ้น และส่วนใหญ่เป็นโรคกระดูกพรุนโดยไม่รู้ตัวและไม่แสดงอาการ

นอกจากนี้อีกปัจจัยหนึ่งที่น่าห่วงผู้สูงอายุในขณะนี้ก็คือควรระมัดระวัง เรื่องของการดูแลเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยง เนื่องจากบางทีเด็กเล็กมักจะเล่นกับคุณยาย คุณย่าแรงเกินไป หรือไปอุ้มผิดท่าผิดจังหวะ อาจทำให้บาดเจ็บ และเกิดอาการกระดูกสันหลังยุบตัว หรือข้อมือข้อเท้าหักได้ หรือบางครั้งผู้สูงอายุชอบเลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัข เวลาจูงออกไปเดินเล่นอาจเกิดลื่นหรือหกล้ม ทำให้เกิดกระดูกหักได้" แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อเผย

ดังนั้น เมื่อกระดูกซึ่งเป็นโครงสร้างของร่างกายไม่แข็งแรง หรือมีความโปร่งบางและตัวเนื้อกระดูกก็ไม่แข็งแรงเท่าเดิม แม้สะดุดล้มเบาๆ ก็อาจเกิดกระดูกหักได้โดยง่าย ทางที่ดีเราควรเรียนรู้ และรู้ทันภาวะกระดูกพรุนก่อนที่จะสายเกินไปกันดีกว่าครับ




จาก .................. ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 23-11-2011 08:16


ถึงแม่บ้านและสาวๆ ... น้ำลดก็จริง แต่ยังมีความจริงซ่อนอยู่ "ใต้ร่มผ้า"

http://www.prachachat.net/online/201...321937480l.jpg

คลินิกสูติ-นรีเวชกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ เตือนสตรีลุยน้ำท่วมระยะหนึ่งเสี่ยงเชื้อราในร่มผ้า ชี้สวนล้างช่องคลอดยิ่งเพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อโรค อั้นปัสสาวะมีผลกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

พญ.วนิชา ปัญญาคำเลิศ ผู้อำนวยการคลินิกสูติ-นรีเวชกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดเผย ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่แม้หลายพื้นที่น้ำจะเริ่มลดแล้ว แต่ยังมีเรื่องเกี่ยวกับโรคที่ผู้หญิงต้องพึงระวังว่า ปัญหาใหญ่ที่พบมากในช่วงน้ำท่วมคือ ความอับชื้นในร่มผ้า ซึ่งเลี่ยงได้ยากสำหรับคนที่ต้องลุยน้ำเป็นประจำ ความอับชื้นของเสื้อผ้า กางเกงยีน ทำให้เกิดเชื้อราในร่มผ้า มีอาการคัน และตกขาวมากตามมา ถึงแม้ความรุนแรงของโรคติดเชื้อกับผู้หญิงอาจไม่มาก โอกาสลุกลามเข้าไปถึงมดลูก ปีกมดลูก ทำให้มีไข้สูงปวดท้องน้อยเป็นไปได้ยาก แต่การย่ำน้ำคลำเป็นเวลานานมีโอกาสเสี่ยงที่เชื้อโรคจะเข้าไปในช่องคลอดได้ หากภาวะสมดุลของกรด-ด่างในช่องคลอดไม่ดี การติดเชื้อก็จะง่ายขึ้นด้วย

“ปัญหาของเชื้อราที่มากับน้ำท่วมก่อความรำคาญแต่มักไม่มีอันตรายร้ายแรง” พญ.วนิชากล่าวและอธิบายว่าอาการตกขาวจากเชื้อราจะมีอาการคันเป็นหลัก โดยสังเกตได้ง่าย เช่น ตกขาวเริ่มมีสีเหลืองเหมือนนมบูด มีลักษณะเป็นก้อน เป็นแผ่น และมีกลิ่นไม่พึ่งประสงค์

วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการลุยน้ำหรือลุยเท่าที่จำเป็น ทันทีที่กลับมาบ้านควรรีบถอดกางเกงล้างทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง แม้จะเป็นกางเกงกันน้ำ ก็ทำให้อบเหงื่อ อับชื้นเป็นเชื้อราได้ง่ายขึ้น

พญ.วนิชา แนะว่า การสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ง่าย จะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อได้ แต่หากพบอาหารบ่งบอกว่าเป็นเชื้อราในช่องคลอดให้ยาฆ่าเชื้อราเหน็บในช่องคลอด หรือ ใช้ยาทาภายนอกระงับอาการคัน กรณีที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์เหน็บยาทางช่องคลอดไม่ได้ก็ใช้ยารับประทานฆ่าเชื้อราได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์ เพราะตกขาวบางอย่างอาจไม่เกี่ยวกับเชื้อรา แต่มาจาก พยาธิ แบคทีเรียบางชนิด ปากมดลูกอักเสบ การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือติดเชื้อโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่เชื้อรา เช่นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของบุคคลนั้น

“ในคนที่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นประจำ คนไข้เบาหวาน คนไข้ที่ต้องรับประทานยากดภูมิต้านทาน มีความเสี่ยงติดเชื้อราได้มากกว่าคนทั่วไป การรับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อมีผลทำลายแบคทีเรียปกติที่เป็นมิตรกับช่องคลอดของผู้หญิงแบคทีเรียเหล่านี้ช่วยรักษาภาวะกรดในช่องคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อของแบคทีเรียก่อโรค จึงไม่ควรใช่ยาปฏิชีวนะบ่อยๆโดยไม่จำเป็น” พญ.วนิชากล่าว

ปัญหาเรื่องตกขาว และอาการคัน เป็นเรื่องที่พบบ่อยมากขึ้นเนื่องจากพฤติกรรมการรักษาอนามัยของคนเปลี่ยนไป จากปกติช่องคลอดมีแบคทีเรียที่เป็นมิตรช่วยรักษาสภาพช่องคลอดให้เป็นกรด ป้องกันแบคทีเรียก่อโรค แต่พฤติกรรมของผู้หญิงรุ่นใหม่มักนิยม ใส่แผ่นรองอนามัยทุกวัน ด้วยเกรงว่ากางเกงในจะสกปรก แม้ทำให้รู้สึกแห้ง แต่ในความเป็นจริงทำให้อบ และเกิดการหมักหมมเป็นเหตุให้มีเชื้อราได้ง่ายขึ้นมากกว่าใส่กางเกงในผ้าฝ้ายเพียงอย่างเดียว ผู้หญิงบางคนชอบสวนล้างช่องคลอดเพราะคิดว่าสะอาดกว่า แต่ความจริงการสวนล้างช่องคลอดเป็นการทำลายแบคทีเรียปกติในช่องคลอด ทำให้สมดุลย์ของช่องคลอดเปลี่ยนไป ร่ายกายไม่สามารถต่อสู่กับแบคทีเรียแปลกปลอมได้ ทำให้เกิดช่องคลอดอักเสบตกขาวเป็นสีเหลือง มีกลิ่น หรือคันบ่อยๆ

ทั้งนี้นอกจากอาการคันจากเชื้อราในร่มผ้าแล้ว ในภาวะน้ำท่วมที่น้ำสะอาดมีน้อย น้ำใช้น้ำกินมีน้อย การเข้าห้องน้ำไม่สะดวก ทำให้คนดื่มน้ำน้อยและไม่ยอมปัสสาวะ ซึ่งเสี่ยงทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ จะมีอาการปัสสาวะแสบคัด ปัสสาวะบ่อยกระปริดประปรอยได้

สถานการณ์แบบนี้ควรดื่มน้ำสะอาดมากๆ อย่ากลั้นปัสสาวะ อาจต้องยอมเข้าห้องน้ำที่ไม่สะอาดนัก ดีกว่ากลั้นปัสสาวะจนเทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปวดเวลาปัสสาวะและแสบขัดทรมานมากกว่า” ผู้อำนวยการคลินิกสูติ-นรีเวชกรุงเทพกล่าว และว่า การล้างทำความสะอาดอวัยวะในที่ร่มของผู้หญิงที่ถูกต้องไม่จำเป็นต้องใช้ แอลกอฮอล์ หรือสบู่อนามัย เพียงแค่ทำความสะอาดภายนอกด้วยน้ำสะอาดทั้งในซอกหลืบ แต่ไม่ต้องสวนล้างเข้าไปในช่องคลอดและเช็ดให้แห้งเท่านี้ก็เพียงพอ

สำหรับคนที่มีปัญหาช่องคลอดอักเสบง่าย มีตกขาวเป็นประจำ และมีอาการคันช่องคลอดอยู่เรื่อยๆ แสดงว่าภาวะในช่องคลอดอาจไม่แข็งแรงพอ ทำให้ติดเชื้อง่าย เป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ รวมถึงสตรีในช่วงที่มีประจำเดือน ซึ่งเชื้อโรคเข้าไปได้ง่ายขึ้นเพราะปากมดลูกเปิด อีกทั้งเลือดเป็นอาหารที่ดีของเชื้อโรค ดังนั้นสตรีที่มีประจำเดือนควรเลี่ยงที่จะเดินลุยน้ำ ถ้าจำเป็นต้องใส่เสื้อผ้าที่กันน้ำได้ และหมั่นทำความสะอาด เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ

คนที่มีแผลควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่แผลได้โดยตรง ผู้ป่วยเบาหวานมีแผลติดเชื้อง่าย คนไข้ภูมิต้านทานต่ำควรรักษาร่างกายให้แข็งแรง ดื่มน้ำมากๆ ไม่กลั้นปัสสาวะ และอย่าย่ำน้ำสกปรกเพราะเสี่ยงติดเชื้อโรคที่มากับน้ำ

คุณหมอย้ำว่า ความต้านทานผิวหนังแต่ละคนต่างกัน บางคนย่ำน้ำไม่นานก็เกิดอาการคัน ผื่นขึ้น บางคนลุยน้ำทั้งวันได้โดยที่ไม่เป็นอะไรอย่างไรก็ตามเพื่อลดความเสี่ยงของโรคที่มาจากการย่ำน้ำกรณีที่เลี่ยงไม่ได้ ก็ควรป้องกันให้น้ำโดนผิวหนังน้อยที่สุด โดยสวมใส่รองเท้าบูท กางเกงพลาสติกที่ยาวมาถึงเอว ถึงอกในที่น้ำลึก เพื่อไม่ให้สัมผัสกับน้ำโดยตรง ซึ่งนอกจากจะป้องกันเชื้อราในร่มผ้าได้แล้วยังช่วยป้องกันโรคอื่นๆ ที่มากับน้ำท่วม เช่น โรคฉี่หนู โรคเท้าเปื่อยจากการแช่น้ำเป็นเวลานาน โรคแผลพุพองเป็นต้น




จาก ................... ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2554


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:38

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger