SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   ห้องรับแขก (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=2)
-   -   คู่มือ...รับสถานการณ์น้ำท่วม (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=1744)

สายชล 10-10-2011 10:35

คู่มือ...รับสถานการณ์น้ำท่วม
 
ก่อนน้ำท่วม



การป้องกันตัวเองและความเสียหายจากน้ำท่วม ควรมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะหาก รอให้มีการเตือนภัย เวลามักจะไม่เพียงพอ



เตรียมความพร้อมก่อนน้ำท่วม


การรับมือสำหรับน้ำท่วมครั้งต่อไปควรปฏิบัติดังนี้



1. คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม

2. ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการอพยพ

3. เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุดจากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย

4. เตรียมเครื่องรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉิน แหล่งอาหารและไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอรี่สำรอง

5. ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เป็นต้น เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และทราบแหล่งทรายที่จะนำมาใช้

6. นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วมถึง

7. ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัยเกี่ยวกับการประกันความเสียหาย

8. บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และเก็บไว้ตามที่จำง่าย

9. รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ภายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง

10. ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่าทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน

11. เก็บบันทึกรายการทรัพย์สิน เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างจากที่น้ำท่วมถึง เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์

12. ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้ในที่สังเกตได้ง่าย และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ


รู้จักกับภัยน้ำท่วมของคุณ


สอบถามหน่วยงานที่จัดการด้านน้ำท่วม ด้วยคำถามต่อไปนี้

- ภายในละแวกใกล้เคียงในรอบหลายปีที่ผ่านๆมา เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดเท่าไหร่

- เราสามารถคาดคะเนความเร็วน้ำหรือโคลนได้หรือไม่

- เราจะได้การเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมาถึงเป็นเวลาเท่าไหร่

- เราจะได้รับการเตือนภัยอย่างไร

- ถนนเส้นใดบ้างในละแวกนี้ที่จะถูกน้ำท่วมหรือจะมีสิ่งกีดขวาง


ถ้าคุณคือพ่อแม่ :

· ทำการซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณขณะเกิดน้ำท่วม เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ

· ต้องทราบหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่น

· ต้องทราบแผนฉุกเฉินสำหรับ โรงเรียนที่บุตรหลานคุณเรียนอยู่

· เตรียมแผนการอพยพสำหรับครอบครัวของคุณ

· จัดเตรียมกระสอบทราย เพื่อกั้นน้ำไม่ให้เข้าสู่บ้านเรือน

· ต้องมั่นใจว่าเด็กๆได้รับทราบแผนการรับสถานการณ์น้ำท่วมของครอบครัวและของโรงเรียน


สายชล 10-10-2011 10:38

การทำแผนรับมือน้ำท่วม



การจัดทำแผนรับมือน้ำท่วม จะช่วยให้คุณนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำหลังได้รับการเตือนภัย เดินสำรวจทั่วทั้งบ้านด้วยคู่มือเล่มนี้ พร้อมทั้งจดบันทึกด้วยว่าจะจัดการตามคำแนะนำอย่างไร ในช่วงเวลาที่ทุกๆ คน เร่งรีบและตื่นเต้นเนื่องจากภัยคุกคาม สิ่งสำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ หมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ในแผนด้วย



ถ้าคุณมีเวลาเพียงเล็กน้อยหลังการเตือนภัย : สิ่งที่ต้องทำและมีในแผน



- สัญญาณเตือนภัยฉุกเฉิน และสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์ที่รายงานสถานการณ์และรายชื่อสถานีวิทยุที่รายงาน



- รายชื่อสถานที่ 2 แห่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัดหลง โดยสถานที่แรกให้อยู่ใกล้บริเวณบ้าน และอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง



- เมื่ออพยพออกจากบ้าน ในกรณีที่คุณไม่สามารถกลับเข้าบ้านได้หลายวันควรติด ข้อความอธิบายที่บ้านด้วยว่า คุณอพยพไปที่ไหนและสามารถติดต่อได้อย่างไร



- เมื่อจะออกจากบ้านให้ปิดบ้านให้เรียบร้อย และวิ่งออกไปตามเส้นทางที่วางแผนไว้สู่ที่อพยพ



ถ้าคุณมีเวลามาก หลังการเตือนภัย : สิ่งที่ต้องเพิ่มลงไปในแผนคือ



- ติดตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เตรียมไว้สำหรับการป้องกันน้ำท่วม

- อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน พื้นห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้านได้

- ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า แก๊สและประปาในบริเวณที่จะถูกน้ำท่วม หรือถ้าคาดว่าน้ำจะท่วมเฉพาะชั้นล่างก็สามารถปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเฉพาะส่วนนั้นและเปิดใช้ในส่วนที่อยู่อาศัยได้ ในแผนรับมือน้ำท่วม ให้ทำเครื่องหมายจุดที่เป็นฟิวส์ หรือเบรกเกอร์ เพื่อแสดงวงจรไฟฟ้าที่เข้าสู่ตัวบ้าน

- ปิดถังแก๊สให้สนิท

- จัดเตรียมน้ำสะอาดใส่ในภาชนะเพื่ออุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอ

- ตรวจสอบแหล่งพลังงานที่ใช้กับเครื่องสูบน้ำ

- เคลื่อนย้ายทรัพย์สินมีค่าไปเก็บไว้ที่สูงหรือปลอดภัย



น้ำสามารถไหลเข้าบ้านคุณได้อย่างไร




น้ำท่วมสามารถไหลเข้าบ้านได้หลายทาง โดยทางเข้าจะสูงกว่าระดับพื้นบ้านดังนั้นหลังจากระดับน้ำท่วมลดลง น้ำจึงยังคงอยู่ในตัวบ้าน เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหาย



น้ำเข้าบ้านได้หลายทาง ดังนี้



- น้ำสามารถผ่านเข้ารอบๆประตู และช่องว่างของอิฐได้

- หากน้ำท่วมสูงมาก น้ำจะสามารถไหลย้อนกลับเข้าบ้าน

ทางท่อในห้องน้ำหรือท่ออ่างล้างหน้าได้

- น้ำสามารถซึมผ่านรอยร้าวและรอยต่อของกำแพง

- น้ำสามารถซึมผ่านขึ้นมาทางพื้นชั้นล่างได้

- น้ำสามารถผ่านเข้าทางรอยร้าวและรอยต่อรอบๆสายไฟ

หรือ สายโทรศัพท์ที่เจาะผ่านกำแพง

- น้ำสามารถผ่านเข้าทางท่อระบายน้ำทิ้ง


สายชล 10-10-2011 10:46

ระหว่างเกิดน้ำท่วม


ระดับการเตือนภัยน้ำท่วม


ลักษณะการเตือนภัยมี 4 ประเภท คือ


1. การเฝ้าระวังน้ำท่วม ( Flood Watch) : มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างสังเกตการณ์

2. การเตือนภัยน้ำท่วม (Flood Warning) : เตือนภัยจะเกิดน้ำท่วม

3. การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง (Severe Flood Warning) : เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง

4. การกลับสู่ภาวะปกติ (All Clear) : เหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติ



สิ่งที่คุณควรทำ : หลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยน้ำท่วม



1. ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถฉุกเฉิน


2. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน และคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฏิบัติดังนี้

- ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

- อย่าพยายามนำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด

- อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณทางน้ำหลาก


3. ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว


4. ถ้ามีการเตือนการเฝ้าระวังน้ำท่วม จะยังพอมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม


5. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง ควรปฏิบัติดังนี้

- อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน พื้นห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน

- อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อยู่นอกบ้าน

- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊สถ้าจำเป็น

- ล๊อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง

- ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจาก วิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับ สถานที่หลบภัยของหน่วยงาน


6. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึงแต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน

- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน

- ปิดแก๊สหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก๊ส

- เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน

- ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถึงบ้าน


น้ำท่วมฉับพลัน

- น้ำท่วมฉับพลันสามารถเกิด ขึ้นได้โดยไม่มีการเตือนภัย

- ควรทราบว่าถ้าเกิดน้ำท่วมฉับพลันจะทำอย่างไร ทั้งตอนอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน และในรถ

- เมื่อเกิดฝนตกหนักและคุณอยู่ใกล้ลำน้ำ ควรติดตามข่าวทางสถานีวิทยุท้องถิ่นหรือโทรทัศน์ ถ้าได้รับการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน ให้ระมัด ระวังตัวและย้ายไปอยู่ที่สูง

- ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที

- ออกจากรถและที่ที่อยู่ คิดอย่างเดียว ว่าต้องหนี

- อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม


ปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้าน


- ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อบ้านโดนน้ำท่วม : อุปกรณ์บางอย่างสามารถทำให้คุณช็อกได้

แม้ในขณะที่ไม่เสียบปลั๊ก ห้ามใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ จนกว่าแน่ใจว่าทุกชิ้นส่วน

ของอุปกรณ์นั้น สะอาดและแห้งสนิท

- ระวังสัตว์อันตราย : สัตว์อันตราย เช่น งู ตะขาบ ที่อาจหนีน้ำเข้ามาในบ้าน

- เดินอย่างระมัดระวัง : ระวังอันตรายจาก โคลนที่ทำให้ลื่น เศษแก้ว เข็ม ซากสิ่งของที่พังลอยมากับน้ำตอนที่น้ำลดแล้ว

- ระวังแก๊สรั่ว : หากได้กลิ่นแก๊สให้อยู่ห่างๆ ไว้ ลองใช้ไฟฉายส่องดูเพื่อเช็คความ

เสียหาย และห้ามสูบบุหรี่หรือจุดไฟจนกว่าจะปิดแก๊สหรือระบายอากาศในพื้นที่แล้ว

- อันตรายจากคาร์บอนมอนออกไซด์ : ควรใช้ เตาย่าง และโคมไฟ นอกบ้านเพราะควันที่ออกมาจากสิ่งเหล่านี้อาจมีพิษ และไม่ ควรนำไปใช้ในบ้าน

- ทำความสะอาดทุกอย่างที่เปียกน้ำ : น้ำท่วมเป็นน้ำมีสิ่งปฏิกูลและสารอันตราย เจือปน

ห้ามบริโภคทุกอย่างที่สัมผัสน้ำ อาหาร ส่วนเครื่องใช้ให้ล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด

- ดูแลตัวเองและครอบครัว : หลังจากน้ำท่วมควรดูแลตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ความเจ็บป่วยทางจิตใจอาจใช้เวลารักษานานกว่าความเจ็บป่วยทางกาย ดังนั้นควรพยายาม เรียนรู้วิชาการที่จะสามารถเอาชนะความเครียดและความวิตกกังวล



ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน


- ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล : มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากจมน้ำตายในขณะที่น้ำกำลังมา ความสูงของน้ำเพียงแค่ 15 เซนติเมตรก็ทำให้เสียหลักล้มได้ ดังนั้นถ้ามีความจำเป็นต้องเดินผ่านทางที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับก่อนทุกครั้ง


- ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดนน้ำท่วม : การขับรถในพื้นที่น้ำท่วมมีความเสี่ยงสูงมากที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไป เพราะอาจมีอันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 เซนติเมตรพัดรถจักรยานยนต์ให้ลอยได้


- ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสาย : กระแสไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านน้ำได้ เมื่อเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากไฟดูดมากว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



สายชล 10-10-2011 10:49

หลังน้ำท่วม



3 ขั้นตอนที่คุณควรทำในวันแรกๆหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม



ขั้นตอนที่ 1 : เอาใจใส่ตัวเอง



หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม คุณและครอบครัวอาจเกิดความซึมเศร้า และต้องใช้เวลาเพื่อกลับสู่ภาวะปกติ อย่าลืมว่าเหตุการณ์น้ำท่วมก็อาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหาย คุณต้องดูแลทั้งตัวเองและครอบครัวพร้อมกับการบูรณะบ้านให้กลับมาเหมือนเดิม



อุปสรรคที่สำคัญคือ ความเครียด และหงุดหงิดง่ายรวมทั้งปัญหาอื่น เช่น นอนหลับยาก ฝันร้าย และปัญหาทางกายโรคภัยไข้เจ็บ จริงๆแล้วเรื่องความเครียดที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งคุณและครอบครัวควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้


1. ให้เวลากับครอบครัวเพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยียวยารักษาได้ดี

2. พูดคุยปัญหาเรื่องต่างๆ กับเพื่อนและครอบครัว ร่วมแบ่งปันความกังวล จะช่วยให้ระบายและผ่อนคลายความเครียด

3. พักผ่อนและกินอาหารที่มีประโยชน์เพราะมีปัญหาทั้งความเครียดและ ทางกายเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ

4. จัดลำดับสิ่งที่จำเป็นต้องทำตามลำดับและค่อยๆ ทำไป

5. ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เมื่ออาการซึมเศร้าจนเกินที่จะรับมือได้

6. ดูแลเด็กๆ ให้ดี และโปรดเข้าใจว่าเด็กก็มีความตื่นกลัวไม่แพ้กัน และอย่าตำหนิเด็กทีมีพฤติกรรมแปลกๆ หลังจากน้ำท่วม เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้งหรือเกาะคุณอยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กก็เพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิต

7. ระวังเรื่องสุขอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่เคยโดยน้ำท่วม



ขั้นตอน 2 : การจัดการดูแลบ้านของคุณ



ที่ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากน้ำท่วม ส่วนใหญ่เกิดจากการถูกไฟดูดหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นหลังจากน้ำลด สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับเข้าบ้านคือ การตรวจสอบความปลอดภัยก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย โดยมีขั้นตอน ดังนี้



1. ปรับจูนคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ฟังรายงานสถานการณ์

2. ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหายและซ่อมแซมทรัพย์สินต่างๆ

3. เดินตรวจตรารอบๆ บ้าน และเช็คสายไฟฟ้า สายและถังแก๊ส โดยถ้าหากเกิดแก๊สรั่ว จะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก๊ส ให้ระวังและรีบโทรแจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย

4. ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้าง ทุกอย่างปลอดภัย

5. ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน

6. ปิดวาล์วแก๊สให้สนิท หากได้กลิ่นแก๊สรั่วก็ไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น

7. เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง อย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ

8. ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน(ถ้ามี)

9. เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า และห่อหุ้มรูปภาพหรือเอกสารสำคัญ

10. เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตูเพื่อระบายอากาศและตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งก่อสร้างต่างๆ

11. ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย

12. เก็บกวาดกิ่งไม้หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน

13. ตรวจหารอยแตกหรือรั่วของท่อน้ำ ถ้าพบให้ปิดวาล์วตรงมิเตอร์น้ำ และไม่ควรดื่มหรือทำอาหารด้วยน้ำจากก๊อก

จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย

14. ระบายน้ำออกจากห้องใต้ดินอย่างช้าๆเนื่องจากแรงดันน้ำภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรือ พื้นห้องใต้ดินได้

15. กำจัดตะกอนที่มาจากน้ำ เนื่องจากเชื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน



ขั้นตอน 3 : ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



ก่อนที่คุณพยายามทำความสะอาดและซ่อมแซมทุกอย่าง คุณควรประเมินความเสียหายและทำความแผนที่วางไว้ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ฃ

1. เรียกบริษัทประกันภัยและเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น เพื่อพิจารณาความเสียหาย

2. ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างอาคารของบ้านคุณ

3. ทำแผนการบูรณะซ่อมแซม ซึ่งเป็นรายการสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

4. เปิดหน้าต่างเพื่อให้ความชื้นระเหยออกไป

สายชล 10-10-2011 10:55

ขอบคุณข้อมูลจากมติชน...

http://www.matichon.co.th/news_detai...medium=twitter

Udomlert 11-10-2011 07:40

Udomlert
 
ขอบพระคุณพี่น้อยมากๆครับ ที่นำข้อมูลมาเผยแพร่ครับ
ผมกำลังเตรียมตัว เพราะน้ำเยอะกว่าปี 38 มาก ปี 38 แค่ท่วมถนนซอยเล็กน้อย
ปีนี้...บรื๋อ

สายน้ำ 11-10-2011 08:17


เพิ่มเติมจากข้อมูลข้างบน ....



โรคที่มากับน้ำท่วม

โรคน้ำกัดเท้าและผื่นคัน

เกิดขึ้นได้ก็เพราะผิวหนังเท้าของเรา โดยเฉพาะที่ง่ามเท้าเกิดเปียกชื้นและสกปรก เวลาที่เท้าสกปรก สิ่งสกปรกจะเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ทำให้เชื้อราหรือเ ชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี เท้าที่แช่น้ำหรือเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ผิวหนังที่เท้าอ่อนส่วนผิวๆของหนังจะเปื่อยและหลุดออก เศษผิวหนังที่เปื่อยนี้จะทำให้เชื้อโรคที่ปลิวไปปลิว มาเกาะติดได้ง่าย และผิวที่เปื่อยก็เป็นอาหารของเชื้อราได้ดี เชื้อราจึงไปอาศัยทำให้เกิดแผลเล็กๆขึ้นตามซอกนิ้วเท้าเกิดเป็นโรคน้ำกัดเท้าขึ้น

โรคน้ำกัดเท้า มักพบว่ามีอาการคันและอักเสบตามซอกนิ้วเท้า (หรือนิ้วมือ) และถ้ามีเชื้อแบคทีเรียเข้าแทรกซ้อนด้วย ก็จะทำให้อักเสบเป็นหนอง และเจ็บปวดจนเดินลำบากได้


ไข้หวัด

ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อของจมูก และคอ บางครั้งเรียก upper respiratory tract infection URI เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นๆมี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลังของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุดโดย เฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้ หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก คนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง


โรคเครียดวิตกกังวล

ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อม ที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่ อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เ กิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแ ปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้ง ผลดีและผลเสีย


โรคตาแดง

โรคตาแดงเป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา (conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตา ที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีบ ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรัง


โรคอุจจาจระร่วง

โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้งต่อกันหรือมากกว่า หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิ สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทยมักจะหาสาเหตุของเชื้อโรคท ี่ก่อให้เกิดอาการ อุจจาระร่วงไม่ได้ ก็จะให้การวินิจฉัยจากอาการ อาการแสดงและลักษณะอุจจาระได้แก่ บิด (Dysentery) อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ไข้ทัยฟอยด์ (Typhoid fever) เป็นต้น ในกรณีที่มีอาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันไม่ใช่โร คดังกล่าวข้างต้น และอาการไม่เกิน 14 วัน ก็จะรายงานเป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea)


แหล่งให้ความช่วยเหลือน้ำท่วม

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

- เว็บไซต์ disaster.go.th
- สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784
- ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อยๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6

กรุงเทพมหานคร
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ 50 แห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6858

สภากาชาดไทย
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” เลขที่บัญชี 045-3-04190-6 แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ สำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลขโทรสาร 02-250-0120 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4066-8
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-251-7853-6 ต่อ 1603 หรือ 1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976

- สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภ ัยน้ำท่วมได้ที่ http://www.rtrc.in.th/ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603 มาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) เป็นผู้ชายก็จะดีมาก หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นรายๆไป




จาก ...................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 11-10-2011 08:19


รพ.เด็ก ห่วงใยเด็กเล็ก แนะวิธีป้องกันภัยที่มาจากน้ำท่วม


ช่วงนี้หลายจังหวัดของประเทศไทยประสบกับปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรง เนื่องจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องกันมาหลายสัปดาห์ ไม่ใช่มีเพียงแต่ปัญหาเรื่องที่พักอาศัย และอาหารในช่วงน้ำท่วมเท่านั้น แต่คุณพ่อคุณแม่ยังต้องดูแลตัวเองและเด็กๆให้ห่างไกลภัยอันตรายที่เกิดจากน้ำท่วมด้วย โดยเฉพาะการจมน้ำ การจมน้ำเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 และสูงกว่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรถึง 2 เท่า โดยในแต่ละปีมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตถึงเกือบ 1,500 คน หรือเฉลี่ยวันละ 4 คน ซึ่งช่วงที่พบมากมักเป็นช่วงที่ตรงกับปิดเทอมซึ่งตรงกับช่วงนี้ ร่วมกับการมีน้ำท่วมยิ่งมีความเสี่ยงที่เด็กๆจะเกิดอันตรายทางน้ำ นอกจากนี้ยังมีโรคที่มาจากน้ำท่วมที่เกิดได้กับเด็กด้วย

ปัญหาการจมน้ำเป็นปัญหาใหญ่สำหรับเด็กไทย ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ และมีคำขวัญว่า เด็กทั่วไทย ปลอดภัย ไม่จมน้ำ โดยมีนโยบายที่จะเร่งป้องกันปัญหานี้โดยการจัดอบรมครูสอนทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และวางแผนจะเผยแพร่ไปทุกจังหวัด โดยมีเป้าหมายว่าภายใน 10 ปี เด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไป ต้องว่ายน้ำเป็นครบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้ชื่อว่า โครงการให้วัคซีนป้องกันเด็กจมน้ำ รวมทั้งให้ความรู้เรื่องการช่วยเด็กเบื้องต้นเมื่อจมน้ำ

พ.ญ.พิมพ์ภัค ประชาศิลป์ชัย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จริงๆ แล้วแค่เพียงระดับน้ำเพียง 1-2 นิ้ว ก็สามารถทำให้เด็กเล็กๆจมน้ำได้แล้ว และเด็กส่วนมากมักจมน้ำบริเวณแหล่งน้ำใกล้บ้าน คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็กๆอย่างใกล้ชิดขณะเด็กเล่นน้ำนะคะ ไม่ควรปล่อยให้เด็กไปเล่นน้ำ จับปลา พายเรือ หรือว่ายน้ำตามลำพัง และควรให้เด็กๆยืนห่างจากขอบแหล่งน้ำเพื่อป้องกันการลื่นตกด้วย รวมถึงไม่ควรให้อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน เพราะความเย็นของน้ำจะทำให้เด็กเป็นตะคริวจมน้ำได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์น้ำท่วมแบบนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ และถ้าต้องเดินทางทางเรือก็ควรสวมเสื้อชูชีพให้เด็กๆตลอดเวลาที่เดินทาง

“...ถ้ามีเหตุจมน้ำเกิดขึ้นควรสอนไม่ให้เด็กลงไปช่วยเหลือกันเองควรบอกให้ผู้ใหญ่ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงช่วยเหลือแทน สำหรับวิธีการช่วยเหลือ ถ้าเด็กรู้สึกตัวดีและหายใจเองได้ ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เด็กและรีบเช็ดตัวเด็กให้แห้ง เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แต่ถ้าเด็กหายใจเองไม่ได้หรือหัวใจหยุดเต้น ให้รีบทำการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น และรีบเปิดทางเดินหายใจ โดยให้เด็กนอนราบกดหน้าผากและเชยคางขึ้นเบาๆ ถ้าเด็กยังไม่หายใจแต่ชีพจรยังเต้นอยู่ ให้ทำการเป่าปากต่อเพียงอย่างเดียว โดยทำ 20 ครั้ง/นาที และให้รีบนำเด็กส่งโรงพยาบาล ห้ามจับอุ้มพาดบ่า กระโดด หรือวิ่งรอบสนาม เพราะจะทำให้ขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้น” พ.ญ.พิมพ์ภัค กล่าว

ที่สำคัญแม้ว่าเด็กๆจะว่ายน้ำเป็น ผู้ปกครองก็ไม่ควรปล่อยให้เด็กๆอยู่ตามลำพัง เพราะเด็กอาจได้รับอันตรายจากสัตว์มีพิษที่อาศัยอยู่ใต้น้ำ เช่น งู ปลิง เป็นต้น และถ้าเกิดอันตรายในระหว่างการเล่นน้ำ เด็กจะไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที การสอนให้เด็กว่ายน้ำเป็น ได้เรียนรู้ถึงอันตรายจากการเล่นน้ำ และรู้วิธีการช่วยเหลือตนเองกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นได้

อุบัติเหตุอื่นๆที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่ ไฟดูด อุบัติเหตุจากการเหยียบของมีคม อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ซึ่งหนีน้ำมาหลบในบริเวณบ้าน การป้องกันง่ายๆ ทำได้โดยไม่ให้เด็กๆเดินเท้าเปล่า ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า สับคัตเอาท์ตัดไฟฟ้าในบ้าน ก่อนที่น้ำจะท่วมถึง และเก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคม ในบริเวณบ้าน ถ้ามีบาดแผลที่เกิดจากของมีคม ควรล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด แล้วไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง และต้องตรวจเช็คว่าเด็กได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักครบแล้วหรือยังด้วย

นอกจากนี้ยังมี โรคต่างๆที่ระบาดมากในช่วงน้ำท่วม ที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวังด้วย พ.ญ.พิมพ์ภัคกล่าวถึงโรคต่างๆไว้ดังนี้

- โรคแรกคือ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร หรือที่เรียกกันทั่วๆไปว่า โรคอุจจาระร่วง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค แบ่งออกเป็นหลายชนิด เช่น โรคไทฟอยด์ อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ ส่วนหนึ่งโรคเหล่านี้อาจติดต่อจากการสัมผัสอุจจาระหรืออาเจียนของผู้ป่วยซึ่งแพร่กระจายอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม โดยมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค อาการทั่วไป เด็กๆจะมีอาการไข้ ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำวันละหลายครั้ง หรือถ่ายอุจจาระมีมูกหรือเลือดปน คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งในเด็กจะพบว่ามีอาการรุนแรง และเสี่ยงต่อการมีภาวะขาดน้ำและเกลือแร่กว่าผู้ใหญ่ค่ะ

การป้องกันคือ ดื่มและใช้น้ำที่สะอาด ควรระวังอย่าให้น้ำที่ท่วมขังอยู่เข้าปากและไม่ควรนำมาล้าง ภาชนะ ถ้วยชาม หรือผักผลไม้ ต้องล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ ไม่ถ่ายลงในน้ำ เก็บภาชนะที่ใส่อาหารให้มิดชิด ไม่ให้มีแมลงวันตอม แต่ถ้าเด็กๆเริ่มมีอาการท้องร่วง ก็ควรให้เด็กๆดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (โออาร์เอส) ทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ควรงดอาหารรสจัดหรืออาหารทอดน้ำมัน เพราะจะยิ่งทำให้ท้องอืด ปวดท้องมากขึ้น และถ้ารักษาเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรพาไปปรึกษาแพทย์

- โรคที่ 2 คือ โรคตาแดง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อด้วยการสัมผัสจากมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวค่ะ เด็กๆจะมีอาการที่สำคัญคือ คันตา มีน้ำตาไหลมากผิดปกติ มีขี้ตามาก เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง การป้องกันคือ สอนให้เด็กๆล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ เมื่อน้ำสกปรกเข้าตาเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดค่ะ และถ้าเด็กๆมีอาการปวดตา หรือมองแสงไม่ได้ควรรีบพาไปปรึกษาแพทย์

- โรคที่ 3 คือ โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อรา ซึ่งเกิดจากการย่ำน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรคหรือเท้าอับชื้นอยู่เป็นเวลานานค่ะ จะเริ่มจากมีอาการด้วยตุ่มใสบริเวณง่ามเท้า คันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย มีอาการคันมากจนแตกเป็นแผล การป้องกัน คือ ควรล้างเท้าให้สะอาด เช็ดให้แห้งค่ะ รักษาได้โดยใช้ยาทารักษาเชื้อราค่ะ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงและเรื้อรัง ทายาไม่ได้ผล อาจต้องไปปรึกษาแพทย์

- โรคสุดท้ายคือ โรคฉี่หนู หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคเลปโตสไปโรสิส โรคนี้เป็นโรคที่ส่วนมากพบในผู้ใหญ่ แต่ก็สามารถเกิดในเด็กได้ด้วย โดยเฉพาะในช่วงน้ำท่วม โรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อมาจากสัตว์ เชื้อโรคจะอยู่ในปัสสาวะของสัตว์ เช่น หนู โค กระบือ ตลอดไปจนถึงสัตว์เลี้ยงในบ้านอย่างสุนัขหรือแมวเลยทีเดียว โดยคนจะสามารถรับเชื้อเข้าไปทางบาดแผล หรือผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานานๆ รวมถึงเยื่อเมือกอย่างตาและปากอีกด้วย อาการสำคัญ คือ จะมีไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ และศีรษะมาก เด็กๆบางคนจะมีอาการตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม และท้องเดินร่วมด้วย จำเป็นต้องรีบพบแพทย์ เนื่องจากทำให้มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิตได้ การจะป้องกันโรคนี้ ถ้ามีแผลในบริเวณที่สัมผัสกับน้ำได้ง่าย ควรหลีกเลี่ยงการเดินหรือเล่นน้ำในบริเวณที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเด็กๆที่มักจะสนุกสนานไปกับการย่ำน้ำหรือเล่นน้ำในช่วงน้ำท่วม และถ้าเป็นไปได้ควรใส่รองเท้าบู๊ตทุกครั้งเมื่อเดินลุยน้ำ

การป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุทางน้ำ และการป้องกันโรคเหล่านี้เป็นเรื่องที่ง่ายกว่าการแก้ไข หรือรักษา เพราะฉะนั้นอย่าลืมใส่ใจความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยของเด็กๆในช่วงน้ำท่วมด้วย




จาก .......................... บ้านเมือง วันที่ 10 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 11-10-2011 08:20


เตือนซ้ำ..ไม่กลัวไม่ได้ ‘ภัยซ้อนภัย’ ‘ตาย’ กันเยอะแล้ว!!

http://www.dailynews.co.th/content/i...er/p3thurl.jpg

จากสถานการณ์ “น้ำท่วม” ที่เกิดขึ้นราว 30 จังหวัด ส่งผลให้มีคนไทยต้องเสียชีวิตแล้วกว่า 250 ราย บาดเจ็บ ป่วย อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุก็มีทั้งจากน้ำที่ท่วมโดยตรง และจาก ’ภัยซ้ำซ้อน“ ซึ่งกับภัยซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้นนั้น ก็ต้องเตือนกันไว้ ณ ที่นี้อีกครั้งว่า ’ไม่กลัวไม่ได้“ ทำให้ ’เจ็บ-ตาย“ กันไปไม่น้อยแล้ว!!

สำหรับผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว และประสบภัยซ้ำซ้อนจากน้ำท่วมแล้ว ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือก็ต้องเร่งดำเนินการ ส่วนกับผู้ที่ยังไม่ประสบภัยน้ำท่วม-ยังไม่ประสบภัยซ้ำซ้อนจากน้ำท่วม ก็อย่าได้วางใจ ’อย่าประมาท“ ถ้ามีโอกาสได้รับทราบข้อมูล “เตือนภัย-ป้องกันภัย” ก็น่าจะได้จดจำไว้เพื่อใช้ปฏิบัติ เช่น อย่าประมาท “ความแรงของกระแสน้ำ” แม้จะดูเหมือนไม่แรง เพราะ ’จมน้ำตาย“ กันเยอะแล้ว !!

’โรคร้าย“ ที่ทำให้ถึงตายได้-ที่เกิดจากน้ำ...ก็ควรจะรู้เท่าทัน

หรือ ’กระแสไฟฟ้า“ ที่ยิ่งอันตรายเมื่อมีน้ำ...ก็ต้องกลัว!!

ทั้งนี้ กับ “กระแสไฟฟ้า” นั้น ทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” เคยนำข้อมูลมาเตือนกันไว้แล้ว ว่าช่วงน้ำท่วมนั้นยิ่งต้องระวัง ยิ่งเป็นกรณี “น้ำท่วมในเขตเมืองยิ่งอันตราย” อย่างที่พระนครศรีอยุธยาก็มีรายงานข่าวว่ามีประชาชนห ลายรายที่บาดเจ็บและเสียชีวิตจากกระแสไฟฟ้า จากการที่เกิดน้ำทะลักเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว

เมื่อเกิดน้ำทะลักเข้าท่วมบ้านอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว ก่อนจะห่วง-ก่อนจะพะวงกับทรัพย์สินต่างๆ ควรรีบสับคัตเอาต์ตัดกระแสไฟฟ้าเสียก่อน ต้องงดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด และหากยังจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้า ก็ต้องระมัดระวังเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตั้งอยู่บริเวณที่ชื้นแฉะให้มากๆ ต้องงดใช้และงดสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดขณะที่ตัวแช่อยู่ในน้ำ หรือขณะยืนบนพื้นที่ชื้นแฉะ หรือแค่ตัวเปียกชื้น ก็อย่าใช้!!

เพราะอาจจะทำให้ได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ง่ายๆ

หรือหากจะว่ากันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ก็มีคำแนะนำ-คำเตือนของทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ว่าไว้ว่า... การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในช่วงที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมมีค วามเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตเพราะถูก ’ไฟฟ้าดูด-ไฟฟ้าช็อต“ ซึ่งเมื่อเกิดน้ำท่วม หากจะให้ปลอดภัยจากภัยกระแสไฟฟ้า ก็จะต้องปฏิบัติดังนี้คือ...

รีบตัดกระแสไฟฟ้าที่แผงสวิตช์ไฟหรือสับสวิตช์ไฟลง พร้อมย้ายสวิตช์ไฟให้พ้นจากระดับน้ำที่ท่วมถึง, ก่อนจะนำอุปกรณ์-เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆมาใช้งานควรต้องตรวจสอบให้อุปกรณ์-เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และผู้ใช้งานต้องไม่ยืนอยู่บนพื้นที่ชื้นแฉะ ต้องเป็นที่แห้ง พร้อมสวมรองเท้าให้เรียบร้อยด้วย

หากเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วพบว่ามีสิ่งผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็นไหม้ มีเสียงดัง ฯลฯ ให้หยุดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นทันที ต้องนำไปให้ช่างผู้ชำนาญซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ก่อนจึงจะนำมาใช้งานอีก

ห้ามใช้ ห้ามสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ตัวเปียกชื้นหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเปียกน้ำ ห้ามนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมาใช้งาน รวมถึงห้ามซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตนเองโดยไม่มีความชำนาญอย่างเด็ดขาด เพราะอาจเกิดข้อผิดพลาดทำให้ถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิต

นอกจากนี้ กรณีต้องฝ่าน้ำท่วมออกไปนอกบ้าน หากพบเห็นเสาไฟฟ้าทรุดตัวหรือล้ม สายไฟฟ้าขาด ต้นไม้ล้มทับเสาไฟฟ้า ห้ามเข้าใกล้และห้ามสัมผัสถูกสายไฟฟ้าหรือวัสดุที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงอย่างเด็ดขาด เพราะอาจถูกกระแสไฟฟ้าดูด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้ามาดำเนินการตรวจสอบโดยด่ว น และกรณีถูกไฟดูดนอกบ้านนี้ ทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ก็ขอเน้นย้ำไว้อีกครั้งว่า... หน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน ก็ต้องใส่ใจสายไฟฟ้าในความรับผิดชอบของตนด้วย เพราะอาจก่ออันตรายต่อผู้สัญจรผ่านไปมาได้

นี่ก็เป็นภัยซ้ำซ้อนจากไฟฟ้าที่นำมาเตือนกันอีกครั้ง

ส่วนกับภัยซ้ำซ้อนจากน้ำท่วมจากโรคร้ายๆที่ก็ต้องเตื อนกันอีก ก็เช่น... ถ้า...เป็นไข้เฉียบพลัน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ปวดที่น่องและโคนขา ปวดกล้ามเนื้อหลังและท้อง ตาแดง คอแข็ง เป็นไข้ติดต่อกันหลายวันสลับกับระยะไข้ลด มีผื่นที่เพดานปาก มีจุดเลือดออกตามผิวหนังและเยื่อบุ รู้สึกสับสน ซึม เหล่านี้เป็นอาการของ ’โรคฉี่หนู-โรคเลปโตสไปโรซิส“ ซึ่งมักจะมากับน้ำ ยิ่งเมื่อน้ำลดแล้วยิ่งต้องระวัง เพราะเชื้อร้ายนี้มักจะระบาดง่ายจากโคลนตม ดินที่ชื้นแฉะ หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์ด่วน

เพราะเชื้อร้ายนี้ทำให้ผู้ป่วยถึงตายได้ !!

เช่นเดียวกับ... ถ้า...มีไข้สูงเฉียบพลัน หน้าแดง ซึม เบื่ออาหาร มีจุดสีแดงตามตัว แขน ขา ปวดเมื่อยตัว ปวดหลัง ปวดหัว อาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นสีดำ ถ้ามีอาการน่าสงสัยลักษณะนี้ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ด่วน เพราะอาจเป็น ’โรคไข้เลือดออก“ ซึ่งถ้าอาการหนักมาก ตัวจะเย็น ช็อก และถึงตาย

นี่ก็เป็นตัวอย่าง ’ภัยซ้ำซ้อนจากน้ำท่วม“ ที่ไม่กลัวไม่ได้

ก็ต้องนำมาเตือนซ้ำกันอีกเพราะ ’ถึงตาย“ กันต่อเนื่อง

’ตายกันไปเยอะแล้ว“ ขออย่าให้มียอดเพิ่มอีกเลย!!!!!!!.




จาก .......................... เดลินิวส์ วันที่ 10 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 11-10-2011 08:21


เทคนิค! ขับรถลุยน้ำ 'ไม่ให้เครื่องดับ'

http://www.bangkokbiznews.com/home/m...g_412933_1.jpg

อ่าน! คำแนะนำว่าต้องทำอย่างไรบ้าง..เมื่อต้องขับรถตอนน้ำท่วม อยู่ในขั้นวิกฤติ ตั้งแต่ขั้นตอนขณะลุยน้ำ และการดูแลรักษารถหลังผ่านน้ำท่วมไปแล้ว

ทำอย่างไรเมื่อต้องขับรถตอนน้ำท่วมอยู่ในขั้นวิกฤติ แต่เรายังต้องใช้รถเดินทางไปทำงาน ไปทำกิจธุระต่างๆ ผ่านเส้นทางที่มีน้ำท่วมขัง มาดูคำแนะนำจากบริษัททางด่วนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) แนะนำไว้ในวารสารทางด่วนศรีรัช


ขณะลุยน้ำ

-ห้ามเปิดแอร์! นี่เป็นสาเหตุใหญ่ของรถดับ เมื่อเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน จะพัดน้ำให้กระจายไปทั่วห้องเครื่อง น้ำนี้แหละทำให้เครื่องดับได้

-ใช้เกียร์ต่ำ เกียร์ธรรมดา ควรใช้เกียร์ 1-2 ก็พอ เวลาลุยน้ำ สำหรับเกียร์ออโต้ ใช้ L แล้วขับ ช้าๆ ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าหยุด อย่าเร่งเร็ว

-ไม่ควรเร่งเครื่องให้รอบสูง เพราะทำให้ความร้อนสูง ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน ไม่ต้องห่วงว่าน้ำจะเข้าทางท่อไอเสีย ต่อให้น้ำท่วมท่อไอเสีย แล้วสตาร์ทเครื่องแบบเดินเบา แรงที่ดันออกมา ก็เพียงพอที่จะดันน้ำในท่อออกมาได้อย่างสบายๆ ต่อให้น้ำท่วมมิดท่อไอเสียแล้วสตาร์ท รถยังติดแน่นอน สำหรับเครื่องหัวฉีดทั่วไป

-ลดความเร็วลง เมื่อขับรถสวนอีกคัน ไม่งั้นจะเป็นการทำคลื่นชนคลื่น น้ำที่ประทะกันทำให้น้ำกระเด็นไปทำอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในได้ทั้งสองคัน หลังจากลุยน้ำมาแล้ว ควรย้ำเบรกบ่อยๆ เพื่อไล่น้ำ

-หลังจากลุยน้ำมาลึกๆ อาจเบรกไม่อยู่ เพราะเบรกถูกน้ำจะพองตัวขึ้น เมื่อถึงจุดหมายแล้ว ควรติดเครื่องต่อสักพัก โดยสังเกตว่าไม่มีไอน้ำออกท่อไอเสียแล้ว ให้น้ำที่ค้างในหม้อพัก รถจะได้ไม่ผุต่อไป


การดูแลหลังน้ำท่วม

-ให้ล้างรถให้สะอาด ฉีดน้ำเช้าท้องรถ ล้อรถ กำจัดเศษหินดินทราย เศษหญ้า ใบไม้ อาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้

-เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ เพราะจะมีน้ำซึมเข้าไปในระบบเกียร์ ทำให้พังได้

-เช็คลูกปืนล้อ เมื่อแช่น้ำนานอาจทำให้เกิดเสียงดัง

-ตรวจสอบพื้นพรมในรถ เปิดผ้ายาง รื้อพรม ป้องกันการติดเชื้อราในพรม และการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ

-ตรวจสอบระบบต่างๆให้อยู่ในความเรียบร้อย หรือเข้าศูนย์เช็คสภาพรถ


หมายเหตุ:คำแนะนำนี้เป็นเบื้องต้น หากพบมีสิ่งผิดปกติใดๆ เช่นเสียงดัง เข้าเกียร์ไม่ได้ ฯลฯ ควรปรึกษาช่างทันที




จาก ...................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 11-10-2011 08:22

ข้อแนะนำเกี่ยวกับไฟฟ้าในกรณีที่มีน้ำท่วม


http://www.voicetv.co.th/cache/image...7722935181.jpg


จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น จนส่งผลทำให้ประชาชนหลายรายต้องถูกไฟฟ้าช็อต ดังนั้นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงมีข้อแนะนำประชาชนเกี่ยวกับไฟฟ้า กรณีเกิดน้ำท่วม



ข้อแนะนำเกี่ยวกับไฟฟ้าในกรณีที่มีน้ำท่วม

จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น จนส่งผลทำให้ประชาชนหลายรายต้องถูกไฟฟ้าช็อต ดังนั้นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงมีข้อแนะนำประชาชนเกี่ยวกับไฟฟ้า กรณีเกิดน้ำท่วม


1. ปลดเมนสวิตช์ (สะพานไฟ) ภายในบ้าน

http://www.voicetv.co.th/cache/image...78081dbff8.jpg


2. กรณีเป็นบ้าน 2 ชั้น และมีสวิตช์แยกแต่ละชั้น หากน้ำท่วมเฉพาะชั้นล่าง ให้ปลดสวิตช์ตัดกระสแไฟฟ้าเฉพาะชั้นล่าง

http://www.voicetv.co.th/cache/image...959f634f99.jpg


3. กรณีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานและมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้าน ให้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชั้นบน แต่กรณีบ้านชั้นเดียว ให้งดใช้กระแสไฟฟ้า เพราะอาจจะเป็นอันตราย

http://www.voicetv.co.th/cache/image...1b752831a2.jpg



สายน้ำ 11-10-2011 08:23


4. งดใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าในกรณีที่ตัวผู้ใช้ต้องสัมผัสอยู่กับน้ำ หากมีความจำเป็นให้ย้ายไปใช้บนที่สูงพ้นน้ำหรือชั้นบน

http://www.voicetv.co.th/cache/image...623752194d.jpg


5. ปลั๊กไฟฟ้าที่น้ำท่วม ห้ามใช้งานโดยเด็ดขาด

http://www.voicetv.co.th/cache/image...5e349748b6.jpg


6. หากพบสายไฟฟ้าขาดหรือเสาล้ม อย่าจับต้อง ให้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ เพื่อทำการแก้ไข

http://www.voicetv.co.th/cache/image...a5230c83c9.jpg


7. ในขณะฝนตกและตัวเปียก อย่าสัมผัสกับสวิตช์ไฟฟ้าที่อยู่ภายนอกอาคาร

http://www.voicetv.co.th/cache/image...f801496044.jpg


สายน้ำ 11-10-2011 08:23


8. พบสายไฟฟ้าขาดแช่อยู่ในน้ำ อย่าเข้าใกล้ ให้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ เพื่อทำการแก้ไข

http://www.voicetv.co.th/cache/image...d70906be28.jpg


9. หากพบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดในบ้านเรือน อย่าจับต้อง ให้ใช้ไม้แห้งเขี่ยสายไฟฟ้าออกก่อนหรือหรือใช้ผ้าคล้องหรือให้ผู้มีความรู้ด้านไฟฟ้าปลดสวิตช์ จากนั้นปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล

http://www.voicetv.co.th/cache/image...58fb361a22.jpg




สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับไฟฟ้า ปรึกษาได้ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือสายด่วน กฟภ. โทร.1129 ตลอด 24 ชั่วโมง


http://www.voicetv.co.th/cache/image...bdd1b6a74b.jpg

ขอบคุณข้อมูลจาก... News Center / facebook.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA/ pea.co.th(Ima
http://life.voicetv.co.th/bigvoice/20280.html


สายน้ำ 11-10-2011 08:27


คู่มือ...รับภัยน้ำท่วม ฉบับกระเป๋า

http://www.dailynews.co.th/content/i...110/10/ann.jpg

ข้อแนะนำรับมือน้ำท่วม ทั้งการเตรียมพร้อมที่อยู่อาศัย ตุนของจำเป็น การเตรียมสุขากระดาษ วิธีช่วยคนจมน้ำ-ไฟช็อต และวิธีขับรถลุยน้ำเบื้องต้น

หากที่อยู่อาศัยของคุณเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ข้อแนะนำเพื่อเตรียมรับมือกรณีน้ำท่วมที่อยู่อาศัยคือ ก่อกระสอบทรายเพื่อป้องกันน้ำเข้าบ้าน อุดทางที่น้ำอาจเข้าได้ เช่น ท่อระบายน้ำในห้องน้ำ ท่อบริเวณซิงค์ล้างจาน บริเวณประตู บริเวณที่มีรอยร้าวหรือพื้นบ้าน (วิธีป้องกันน้ำเข้าบ้านโดยไม่ต้องใช้ถุงทราย อยู่ด้านล่างของของบทความ)

สำหรับสิ่งของที่ควรเตรียมไว้คือ อุปกรณ์ทำอาหารแบบฉุกเฉิน อาหารแห้งที่ปรุงง่าย อาหารกระป๋องที่ฝาเป็นแบบห่วงดึงเปิดสะดวก น้ำดื่ม-น้ำใช้ ผ้าขนหนู เสื้อผ้าสะอาด เชือก วิทยุแบบใช้ถ่านไฟฉาย-ถ่านสำรอง โทรศัพท์มือถือ-ที่ชาร์ต ชอล์กขีดมดและแมลง ยาประจำตัว ยากันยุงแบบทา ของใช้เพื่อชำระล้างร่างกาย ชุดปฐมพยาบาลและยาสามัญประจำบ้าน ถุงดำ ธงหรือผ้าผืนใหญ่ๆ เผื่อต้องใช้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ถังดับเพลิงประจำบ้าน เตรียมด่างทับทิมและขี้ผึ้งเบอร์ 28 ไว้ใช้กรณีน้ำกัดเท้า โดยแช่เท้าในน้ำสะอาดผสมด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อโรค จากนั้นเช็ดเท้าให้แห้งโดยเฉพาะซอกนิ้ว และทาด้วยขี้ผึ้งเบอร์ 28 จะทำให้แผลหายเร็ว

ขนทรัพย์สินไว้ชั้นบนของบ้าน หรือใช้ถุงดำใส่ของและมัดปากให้แน่น เพื่อป้องกันความเสียหาย พกเงินสดติดตัวไว้บ้าง จัดเก็บเอกสารสำคัญทางราชการ เช่น บัตรประชาชน สูติบัตร ทะเบียนบ้าน สมุดบัญชี เก็บทรัพย์สินมีค่าไว้ในที่ปลอดภัยโดยอาจฝากธนาคาร จอดรถไว้ในที่สูง ถ้าน้ำเข้าบ้านต้องรีบตัดไฟในบ้านชั้นที่น้ำท่วมเพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต และปิดแก๊สด้วย

ที่สำคัญต้องติดตามสถานการณ์น้ำอยู่เสมอ รวมถึงศึกษาทางหนีทีไล่และต้องซักซ้อมวิธีหนีน้ำกับสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะคนแก่และเด็ก โดยให้กำหนดจุดนัดพบที่มั่นใจว่าน้ำจะไม่ท่วม หากพลัดหลงจะได้หากันเจอ และจดหมายเลขโทรศัพท์เพื่อขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินไว้ด้วย

หากคุณคาดว่าจะติดน้ำท่วมอยู่ในบ้าน และไม่สามารถใช้สุขาได้ตามปกติ มูลนิธิเอสซีจีแจก“สุขากระดาษ” สำหรับถ่ายหนักและเบา มีลักษณะเป็นกล่องกระดาษลูกฟูกน้ำหนักเบา แต่รับน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม ประกอบเสร็จได้ภายใน 10 วินาที (มีคลิป)ใช้ร่วมกับถุงดำ หรือขอ”สุขาลอยน้ำ” สำหรับบ้านเรือนจำนวนมากที่อยู่ใกล้กัน โดยสามารถแจ้งความจำนงผ่านมูลนิธิฯ โดยระบุจำนวน ชื่อผู้ติดต่อ สถานที่ ส่งแฟกซ์มาที่ 02-586-3910 หรือโทร 02-586-5506 เพื่อทางมูลนิธิฯจะประสานงานต่อไป

แต่ถ้าเป็นบ้านชั้นเดียว หรือน้ำขึ้นสูงเรื่อยๆ ต้องรีบอพยพโดยด่วนเพื่อรักษาชีวิต ล็อกบ้านให้แน่นหนาเพื่อป้องกันมิจฉาชีพ และต้องอพยพอย่างระมัดระวัง โดยไม่เดินผ่านทางน้ำ เพราะอาจถูกน้ำพัดหรือจมน้ำได้


วิธีช่วยคนจมน้ำ

หากพบคนกำลังจะจมน้ำ และคุณว่ายน้ำไม่เป็น ให้หาไม้ เชือก หรือผ้า เพื่อยื่นให้ผู้ประสบเหตุจับแล้วดึงขึ้นมา หรือโยนทุ่น ห่วงยาง หรืออุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ให้ผู้ประสบเหตุยึดเหนี่ยว แต่หากไม่มีอุปกรณ์ที่สามารถช่วยได้ หรือประเมินแล้วว่าผู้ประสบเหตุตัวใหญ่เกินกว่าที่คุณจะสามารถพาเข้าฝั่งได้อย่างปลอดภัย ให้รีบตั้งสติ และตะโกนให้ผู้อื่นได้สติ ผู้ที่สามารถช่วยได้จะได้ลงไปช่วย สิ่งสำคัญคือต้องรีบช่วยโดยเร็ว เพราะหากช้าแค่ 1 นาที ผู้ประสบเหตุอาจจมน้ำได้

สำหรับการช่วยผู้ประสบเหตุ ต้องว่ายเข้าไปช่วยจากด้านหลัง เพราะตามธรรมชาติ คนใกล้จมน้ำจะตื่นตระหนกทำให้เกาะสิ่งที่ยึดได้ไว้แน่น ซึ่งอาจทำให้ผู้เข้าไปช่วยจมน้ำไปด้วย

วิธีที่ปลอดภัยต้องใช้มือทั้งสองสอดไปใต้วงแขนของผู้ประสบเหตุและงอมือขึ้นให้ร่างของผู้ประสบเหตุชิดตัว และพูดปลอบผู้ประสบเหตุให้คลายความตระหนก จากนั้นว่ายน้ำช้าๆเข้าฝั่ง ยกเว้นผู้ประสบเหตุต้องการการพยาบาลอย่างเร่งด่วน แต่หากผู้ประสบเหตุยึดเกาะคุณและจะทำให้คุณจมไปด้วย ให้ดำน้ำ ผู้ประสบเหตุจะปล่อยมือ

หากผู้ประสบเหตุจมน้ำไปแล้ว ให้ดึงตัวขึ้นมา และยกศีรษะผู้ประสบเหตุให้พ้นน้ำโดยเร็ว จากนั้นรีบผายปอดและนวดหัวใจ(การทำซีพีอาร์) ผู้ประสบเหตุบางรายที่อาการดูเหมือนไม่เป็นอะไรก็ต้องเข้ารับการตรวจทางการแพทย์ด้วยเพราะหากน้ำเข้าไปในปอดอาจเสียชีวิตได้

นอกจากอันตรายจากการจมน้ำ สัตว์มีพิษและโรคที่มากับน้ำแล้ว สิ่งที่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมต้องระมัดระวังคือ “การถูกไฟช็อต” เพราะน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้าชั้นดี หากถูกไฟช็อตอย่างหนัก ผู้ประสบเหตุอาจหมดสติ ผิวหนังไหม้บริเวณที่กระแสไฟฟ้าวิ่งผ่าน กล้ามเนื้อกระตุก บางรายที่ใช้มือแตะสายไฟ มืออาจกำสายไฟไว้แน่นเพราะแรงช็อต


วิธีช่วยผู้ประสบเหตุไฟช็อต

ดึงตัวผู้ประสบเหตุออกห่างจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าทันที แต่ผู้ช่วยเหลือก็ต้องระวังไม่ให้ตัวเองได้รับอันตราย อย่าแตะต้องตัวผู้ประสบเหตุ เพราะไฟฟ้าอาจไหลผ่านมาสู่ตัวได้ โดยหากทำได้ให้ตัดไฟเร็วที่สุดโดยการสับสวิตช์ไฟหรือถอดปลั๊ก หากเป็นสายไฟหรือลวด ให้ใช้ขวานที่ด้ามเป็นไม้สับสายไฟ โดยต้องป้องกันดวงตาจากประกายไฟด้วย แต่ถ้าเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงต้องแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตัดไฟ (การไฟฟ้านครหลวง โทร.1130 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร.1129)

หรือใช้วัตถุที่ไม่ใช่สื่อไฟฟ้า เช่น ไม้แห้ง เชือก เข็มขัด ผ้าห่ม หรือใช้ผ้าแห้งพันมือ เพื่อดึงหรือผลักผู้ประสบเหตุออกไป แต่หากจะให้เร็วอาจใช้เท้าที่สวมรองเท้าถีบให้ผู้ประสบเหตุออกจากจุดไฟช็อต ในกรณีที่ผู้ประสบเหตุกำสายไฟไว้ในมือ ให้ใช้ไม้หรือผ้าทำให้มือผู้ประสบเหตุหลุดจากสายไฟ ส่วนกรณีที่ผู้ประสบเหตุถูกไฟช็อตในน้ำ ให้เขี่ยสายไฟออกไปให้พ้นก่อนจึงเข้าไปช่วย

จากนั้นรีบปฐมพยาบาลผู้ประสบเหตุโดยเร็วที่สุด หากผู้ประสบเหตุไม่หายใจและหัวใจหยุดเต้นต้องรีบทำซีพีอาร์ โดยต้องทำไปเรื่อยๆ จนกว่าบุคลากรทางการแพทย์จะมาถึง และต้องทำให้ร่างกายผู้ประสบเหตุอบอุ่น หากผู้ประสบเหตุยังไม่หมดสติ ให้พูดกับผู้ประสบเหตุเบาๆ เรื่อยๆ เพื่อรักษาสติผู้ประสบเหตุเอาไว้และทำให้ผู้ประสบเหตุสงบ

หลังจากผู้ประสบเหตุได้รับการช่วยชีวิตแล้ว สิ่งที่เร่งด่วนในอันดับต่อมาคือการพาผู้ประสบเหตุไปโรงพยาบาล แต่น้ำที่ท่วมถนนก็ทำให้การเดินทางยากลำบาก และอาจง่ายขึ้นหากมีความรู้เรื่องการขับรถลุยน้ำเบื้องต้น


วิธีขับรถลุยน้ำท่วมเบื้องต้น

ระดับน้ำที่รถโดยทั่วไปสามารถแล่นผ่านได้คือ น้ำนิ่ง สูงไม่เกิน 6 นิ้ว แต่ถ้าน้ำไหล ต้องสูงไม่เกิน 4 นิ้ว ดังนั้นควรจอดรถลงมาสำรวจ และคุยกับคนขับรถที่ผ่านมาว่าสถานการณ์น้ำเป็นอย่างไร เพื่อประเมินว่าคุณจะขับรถผ่านได้หรือไม่

หากตัดสินใจที่จะขับผ่าน ต้องขับรถบนส่วนที่ดูสูงที่สุดบนถนน และขับช้าๆ ประมาณ 2-3 กิโลเมตรต่อชั่วโมงด้วยเกียร์หนึ่งหรือเกียร์ต่ำ หากเป็นรถเกียร์ธรรมดา ให้เหยียบคลัชบ่อยๆ แต่ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติให้เหยียบเบรกบ่อยๆ เพื่อไล่น้ำ อย่าแล่นเร็ว เพราะการเร่งความเร็วแค่ 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อน ใบพัดลมจะทำงาน และปัดน้ำเข้าห้องเครื่อง

นอกจากการขับรถเร็วจะเสี่ยงทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์หรือทำให้เกิดคลื่นน้ำที่จะไปทำลายคันดินหรือกระสอบทรายที่ก่อไว้ ยังเสี่ยงกับการควบคุมรถไม่ได้ด้วย แม้จะเป็นน้ำนิ่งก็ตาม เพราะถ้าแล่นรถเร็ว ยางรถจะไม่สัมผัสพื้นถนน ทำให้รถลอย และเสียการควบคุมในที่สุด ซึ่งหากควบคุมไม่ได้ ให้จับพวงมาลัยหลวมๆ และปล่อยให้รถเคลื่อนไปเรื่อยๆ เพราะหากความเร็วลดลง ยางรถก็จะแตะพื้นถนนเอง

ส่วนข้อแนะนำอื่นๆ คือ ควรหยุดให้รถคันอื่นผ่านไปก่อนเพื่อลดความรุนแรงของคลื่นน้ำ เมื่อขับรถพ้นน้ำมาได้ให้เช็คระบบเบรกทันที และอย่าขับรถผ่านน้ำที่ไหลแรง เพราะรถอาจถูกพัดไปได้




จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 11 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 11-10-2011 08:34


'น้ำท่วมบ้าน' ทำเป็น-ทำทัน- 'กัน' ได้

http://www.dailynews.co.th/content/i...er/p3thurl.jpg

หลายพื้นที่ที่เป็นเขตเมือง รวมถึงในกรุงเทพฯ จากที่เคยมีการระบุประมาณว่า...เชื่อว่าจะรับมือได้-เชื่อว่าน้ำจะไม่ท่วม แต่เอาเข้าจริงเขตเมืองในหลายจังหวัดก็ถูกน้ำท่วมหนัก และสำหรับในกรุงเทพฯ แค่เกิดฝนตกหนักก็มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งสำหรับผู้ที่มีบ้านพักอาศัยเป็นของตนเองอยู่ในเขตเมือง จากที่คิดว่าบ้านคงไม่ถูกน้ำท่วม ก็กลายเป็นกังวลว่าบ้านอาจถูกน้ำท่วม ซึ่งถ้าพอจะมีกำลังทรัพย์ ก็คงพยายามจะก่อ-สร้าง-วาง-กั้น...กันน้ำท่วม

’ป้องกันน้ำท่วมบ้าน“ ก็มีวิธีการที่พอจะทำได้อยู่

ก็ต้องทำถูกวิธี-เหมาะกับสถานการณ์จึงจะรอด...

ทั้งนี้ กับ “การป้องกันน้ำท่วมบ้าน” ซึ่งหมายถึงกรณีที่ปริมาณน้ำ-ระดับน้ำมิได้มหาศาล-สูงแทบถึงหลังคา จากข้อมูลของหน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็น่าพิจารณา ซึ่งโดยสังเขปก็เช่น... ต้องพิจารณาจุดอ่อนของอาคารบ้านเรือน ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะอาคารชนิดต่างๆ ความต้านทานแรงดันน้ำ (แรงดันจากน้ำนิ่ง แรงยกของน้ำ แรงดันจากการไหลของน้ำ) การเปลี่ยนแปลงของวัสดุเมื่อจมน้ำ (คุณภาพของปูน พฤติกรรมของทรายและดินเหนียวใต้ฐานราก)

บ้านในพื้นที่เขตเมืองส่วนใหญ่มีพื้นคอนกรีต ซึ่งคำแนะนำเกี่ยวกับ วิธีป้องกันบ้านและสิ่งก่อสร้างที่มีพื้นคอนกรีต คือ...

ป้องกันน้ำท่วมได้โดยฉาบด้วยปูนหรือกำแพงอิฐที่ทาด้วยสีชนิดพิเศษ ซึ่งน้ำจำนวนมากที่อยู่ระหว่างฐานรากกับนอกกำแพงสามารถซึมผ่านพื้นเข้าภายในกำแพงได้ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือ

1. อัดรอยรั่วภายนอกบ้านทั้งหมด โดยใช้วัตถุกันน้ำทั่วไป
2. ทำความสะอาดกำแพงและรอยรั่ว รูรั่วอาจจะเกิดมาจากการก่อสร้าง แล้วสิ่งสกปรกอาจจะกลับเข้าไปติดบังในรูรั่ว
3. วิธีป้องกันกำแพงบ้านแบบชั่วคราวทำได้โดยหาแผ่นพลาสติกกันน้ำ หรือวัตถุที่คล้ายๆกันมาวางไว้ข้างกำแพง และปกคลุมขอบล่างด้วยดินให้แน่นหนา

กรณีเป็นการป้องกันบ้านและอาคารที่มีพื้นเป็นไม้โครงสร้าง ทั้งนี้ น้ำสามารถไหลซึมและขังนองในช่องว่างหรือใต้ถุนผ่านรอยแตกของฐานราก รูรั่วของท่อช่องระบายอากาศและหน้าต่าง น้ำสามารถซึมผ่านระหว่างผนังบ้านและฐานราก เมื่อไหร่ก็ตามที่ช่องว่างหรือห้องใต้ถุนเต็มไปด้วยน้ำ น้ำจะเพิ่มระดับและไหลเข้าสู่สิ่งปลูกสร้างผ่านพื้นและรอยต่อของผนังจนกระทั่งล้นและมีระดับเดียวกับน้ำภายนอก ซึ่งการป้องกันคือ
1.อุดช่องระบายอากาศและหน้าต่างด้วย “แผงกั้นน้ำ” (ทำให้ถอดย้ายได้หลังน้ำท่วมผ่านพ้นไป) แต่ช่องระบายอากาศนั้นต้องสร้างได้ตามมาตรฐานงานก่อสร้างเพื่อป้องกันโรคราน้ำค้างและการผุเปื่อย
2. อุดรอยแตกร้าวของฐานรากและผนังด้วยคอนกรีตหรือวัตถุอื่นๆที่สามารถใช้อุดรอยแตกได้
3. อุดรอยรั่วเล็กๆรอบๆท่อ ด้วยคอนกรีตหรือสารประกอบที่ใช้อุดรูรั่วในเรือ กาวซิลิโคน
4. อุดรอยต่อระหว่างผนังกับฐานรากด้วยสารประกอบที่ใช้อุดรูรั่ว

นี่ก็เป็นหลักคร่าวๆในการป้องกันน้ำท่วมบ้าน

ส่วนวิธีทำแผงกั้นน้ำเพื่อใช้อุดฐานราก ช่องระบาย และหน้าต่าง ก็คือ
1. ใช้ไม้อัดตามขนาดสำหรับทำแผงกั้นน้ำ คัดไม้อัดให้เหลื่อมกับกรอบ
2. ติดแถบสักหลาด หรือยาง ด้วยกาวกันน้ำ ให้เหลื่อมกับผิวของแผงกั้นน้ำ ซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายประเด็นอุดรูรั่ว
3. ยึดแผงกั้นน้ำให้เข้าที่อย่างแน่นหนาด้วยตะปู ตะปูควง หรือสลักเกลียว 4. ยึดแผงกั้นน้ำเข้ากับกรอบไม้ด้วยตะปู

นอกจากนี้ ข้อมูลของหน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ยังมีในส่วนของวิธีติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำเข้าทางประตู โดย

- วิธีที่ 1 ใช้ดินน้ำมัน ดินปั้น ดินเหนียว หรือวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถอุดรอยแตกและรอยต่อรอบๆประตู ธรณีประตู และกรอบประตู
-วิธีที่ 2 ใช้แผ่นพลาสติกหรือกระดาษกันน้ำที่ใช้ในงานก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ทั้งวิธีที่ 1 และ 2 นี้มีข้อควรระวังคือ ต้องทำการล็อกประตูจากด้านในเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเปิดประตู และช่วยป้องกันการแตกของสารกันน้ำที่ใช้อุด และแม้ว่าวัสดุที่ใช้จะอุดรอยแตกรอบประตูและกรอบประตูได้ แต่ก็มีอายุการใช้งานเพียงระยะเวลาสั้น ๆ

ถ้าจะใช้แผงกั้นน้ำ วิธีใช้แผงกั้นน้ำป้องกันน้ำเข้าทางประตู การติดตั้งเข้ากับประตูทางเข้า-ออกจะคล้ายคลึงกับการติดตั้งหน้าต่างหรือช่องระบายอากาศ แต่ในกรณีพิเศษก็จะต้องใช้วัสดุทำเป็นประเด็นรอบๆขอบด้านล่างของแผ่นกระดานเพื่อให้กันน้ำได้ดียิ่งขึ้น โดยที่
1. ใช้แผ่นกระดานหรือไม้อัดทำแผงกั้นน้ำ
2. ตัดแถบยางหรือสักหลาดให้เหลื่อมกับผิวของไม้กระดานให้กว้างประมาณ 8 เซนติเมตร เพื่อทำเป็นประเก็น แล้วยึดติดกับด้านล่างของไม้กระดานด้วยกาวกันน้ำ
3. ใช้อุดด้านล่างของธรณีประตู รอยแตก และรอยต่อกรอบประตู

ทั้งนี้ ที่ว่ามาก็เป็นหลัก-วิธีการเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วมบ้าน แต่ที่ดีที่สุดคือมีการเตรียมการไว้แต่แรก มีการก่อสร้างโดยยกระดับพื้นให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุด ซึ่งทำได้โดยก่อสร้างบนพื้นที่สูงหรือถมดินให้สูง หรือสร้างโดยยกพื้นให้สูง ซึ่งถ้าเตรียมการไว้ดี เพียง “กั้นน้ำด้วยกระสอบทราย” ก็อาจช่วยป้องกันตัวบ้านได้

ก็นำมาบอกต่อกันไว้...กับ ’การป้องกันน้ำท่วมบ้าน“

ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากเกิน...เพียง ’ต้องถูกวิธี-ทันการ“

หาไม่แล้ว...ก็ต้องพึ่ง ’พิธีไล่น้ำ“ ชิ้วๆๆ ?!?!?!?!?.



จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 11 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 11-10-2011 08:42


รวมเว็บไซต์และเบอร์โทรศัพท์"ช่วยเหลือ-ติดตาม"น้ำท่วมที่สำคัญ


เว็บไซต์ :

1. แผนที่แสดงจุดเกิดอุทกภัยบนทางหลวงทั่วประเทศ วันที่ 10 ตุลาคม พศ. 2554 (ขัอมูลอัพเดตทุกวัน เวลา 10.00 และ 19.00 น.)
http://maintenance.doh.go.th/test.html

2. ตรวจพื้นที่น้ำท่วมทั่วประเทศ
http://flood.gistda.or.th/

3. ตรวจน้ำท่วมบนถนนใน กทม.
http://dds.bangkok.go.th/Floodmon/

4. รายงานสภาพการจราจร
http://traffic.longdo.com/

5. ตรวจวัดระดับน้ำในคลองหลัก
http://dds.bangkok.go.th/Canal/index.aspx

6. ติดตามข่าวสารน้ำท่วม
http://dds.bangkok.go.th/m/index.php

7.กรมทรัพยากรน้ำ
http://www.dwr.go.th/report

8.กรมทางหลวงชนบท
http://fms2.drr.go.th/


เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญ :

สำนักนายกรัฐมนตรี 1111

สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย) 1784

บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี 1669

ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146

ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1193

การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

สายด่วน กฟภ. 1129

ท่าอากาศยานไทย 02-535-1111

ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส 02-790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822

ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ 0-2243-6956

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลพบุรี 0-3641-4480-1 , 0-3641-1936

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิษณุโลก 0-5523-0537-8 , 0-5523-0394

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา 0-3533-5798 , 0-3533-5803

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา 035 – 241-612

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตาก 0-5551-5975

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สิงห์บุรี 0-3652-0041

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อ่างทอง 0-3564-0022

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครสวรรค์ 0-5625-6015

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นนทบุรี 0-2591-2471

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปทุมธานี 0-2581-7119-21

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิจิตร 0-5661-5932

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครนายก 0-3738-6209 , 0-3738-6484

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุพรรณบุรี 0-3553-6066-71

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สระบุรี 0-3621-2238

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุโขทัย 0-5561-2415

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุทัยธานี 0-5652-4461

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุตรดิตถ์ 0-5544-4132

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำปาง 0-5426-5072-4

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงใหม่ 0-5321-2626

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำพูน 0-5356-2963

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุบลราชธานี 0-4531-2692 , 0-4531-3003

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เลย 0-4286-1579 , 0-4296-1581

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ชัยนาท 0-5641-2083

ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 02-281-5443

ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่ 053-248925, 053-262683

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน 053-202609

ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ 053-222-479 ( 24 ชั่วโมง )

สนง.ชลประทานจังหวัดสมุทรสาคร 034-881175, 034-839037 ต่อ 11

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน โทร. 054-741061

ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน โทร. 054-792433

ศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ปี 2554 จ.น่าน ณ ศาลากลางจังหวัด โทร. 054-710-232

สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) 1784 รับแจ้งเหตุน้ำท่วม 24 ชั่วโมง

สายด่วน กรมชลประทาน โทร 1460 หรือ 02 669 2560 (24 ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)

ผู้ประสบภัยทางภาคใต้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ กองทัพภาคที่ 4 โทร 075 -383405,075-383253

แจ้งขอความช่วยเหลือและปัญหาน้ำท่วม ได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยไทยพีบีเอส โทร. 02-791-1113 หรือ 02-791-1385-7

ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โรงเรียนเทศบาล1 ตลาดเก่า จ.กระบี่ โทร 0-7566-3183

เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 199, 075-348-118, 075-342-880-3 ตลอด 24 ชม.

สายด่วน กรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง

ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356

ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146

การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 1490

ตำรวจทางหลวง โทร. 1193 สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669 กู้ชีพฟรี 24 ชั่วโมง

ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย นครศรีธรรมราช โทร. 075 358 440-4 รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง

รพ. เทศบาลนครนครศรีฯ หากต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรติดต่อได้ที่ 075 356 438 หรือ 075 356 014 ตลอด 24 ชั่วโมง

ม.วลัยลักษณ์ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา โทร. 0 7567 4013 ต่อ 4013

มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร. 075 345 599

มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง ต้องการความช่วยเหลือ โทรแจ้ง 075 343 602 ความถี่ 168.775MHz. ความถี่ 245 MHz. ช่อง 35 ตลอด 24 ชั่วโมง

ท่าอากาศยานไทย 02 535 1111

บางกอกแอร์เวย์ส (Bangkok Airways) 1771

นกแอร์ (Nok Air) 1318, 02900 9955

นกแอร์ นครศรีธรรมราช 075 369 325

นกแอร์ สุราษฎร์ธานี 077 441 275-6

แอร์เอเชีย 02 515 9999

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 075-763-337 หรือ 1129 ตลอด 24 ชั่วโมง



สำหรับผู้ใช้ทวิตเตอร์ สามารถติดตามสถานการณ์และดูคำร้องขอความช่วยเหลือผ่านบัญชีทวิตเตอร์ดังนี้ :

@thaiflood - ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

@Rawangpai -สถานีโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ การเตือนภัยพิบัติธรรมชาติ

@BKK_BEST - รับแจ้งและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ท่อตัน ฝาท่อชำรุด น้ำเน่าเสีย@

@floodcenter- ศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย

@thaiflooding - ศูนย์ข่าวรายงานการแจ้งเตือนน้ำท่วมนาที ต่อนาทีโดยอาสาสมัคร-นักศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ

@help_thaiflood-สร้างขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

@Asa_Thai - อาสาคนไทยช่วยน้ำท่วม

@PR_RID - กรมชลประทาน สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มประชาสัมพันธ์ฯ โทร.022410965 สายด่วน 1460 สอบถามสถานการณ์น้ำ 026692560(24ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)

@ndwc_Thai - ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

@Aormortor - องค์การนศ.ธรรมศาสตร์ (ทวิตเตอร์ประสานงานกลางศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยมธ.)

@bangkokgovernor - ทวิตเตอร์กทม.

@BKKFlood - ตามติดสถานการณ์กรุงเทพฯ และรอบนอก

@SiamArsa - อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย | เครือข่ายอาสาสมัครออนไลน์ | ตลาดนัดกิจกรรมอาสา | ข่าวประชาสัมพันธ์ | ข้อมูลช่วยเหลือ | แหล่งบริจาค | ประกาศรับอาสาสมัคร

@GCC_1111 - ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน

@aunonline - Owner of Red Dane Milk @Samyarn Chula, Citizen Journalist


นอกจากนั้น ผู้สนใจยังสามารถติดตามผ่านช่องทางเฟซบุ๊คได้ดังนี้:

"เกษตรศาสตร์รวมใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม"

"อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย

"อาสาฯคนไทยช่วยน้ำท่วม"

"The Thai Red Cross Society"

"ThaiFlood ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม"

"น้ำขึ้น ให้รีบบอก"


จุดรับบริจาค

-จุดบริจาค มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ปทุมวัน โทร 0-2256-4583-4, 0-2256-4427-9, 0-2251-0385 http://www.princess-pa-foundation.or.th/index.html

-จุดบริจาค อาสาดุสิต 1 ที่ ธ.กรุงไทย สนง.ใหญ่ ฝั่งเพลินจิต สุขุมวิท ซ.2 9.00-22.00 น. รายละเอียด http://www.facebook.com/ArsaDusit

-จุดบริจาค อาสาไทยฯ (พรรคประชาธิปัตย์) www.facebook.com/AsaThai แผนที่ http://ow.ly/6Bzaj

-จุดบริจาค กลุ่ม PS-EMC (หน้า ร.ร.ดุสิต สีลม) 7 ก.ย.-30 ต.ค. 19:30-22:30 น. รายละเอียด

-จุดบริจาค โรงแรมไนซ์พาเลซ (5 -15 ต.ค.) ซ. อินทามระ 1/1 ถ.สุทธิสาร อยู่ใกล้ BTS สะพานควาย www.nicepalace.com โทร 02-2700514-8 บริจาคของ น้ำดื่ม ถุงดำ อาหารแห้ง ยา เช่น ยาน้ำกัดเท้า แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ ฯลฯ แพมเพอสผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย กระดาษชำระ

-จุดบริจาค สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อาหารแห้งและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ที่ส่วนบริหารงานทั่วไป ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี สอบถามโทร 3177, 3781-4 ,0-2329-8110

-จุดบริจาค ด่านทางด่วน "ทางด่วนร่วมใจภัยน้ำท่วม" ทุกด่าน (ข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่ม)

-จุดบริจาค หอศิลปกรุงเทพ (แยกปทุมวัน) 1-31 ต.ค.

-จุดบริจาค 96.75MHz: สิ่งของจำเป็น ข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ฯลฯ สอบถาม 0-5581-7716-7

-จุดบริจาค ร้านแมคโดนัลด์ ทุกสาขาทั่วประเทศ รับบริจาคข้าวสาร อาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และน้ำดื่ม

-จุดบริจาค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล รับบริจาคเงิน และเครื่องอุปโภค-บริโภค ทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. ที่ โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถามโทร. 0 2419 7646-56



จาก .................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 11-10-2011 08:48


ทำถุงยังชีพเป็นเสิ้อชูชีพ

แนะนำโดย คุณตัน ภาสกรนที

ผมขอแนะนำวิธีทำถุงยังชีพ ให้เป็นเสื้อชูชีพ สำหรับใช้ใส่ป้องกันท่วม ได้อย่างรวดเร็ว น้ำท่วมปีนี้คนไทยต้องไม่จมน้ำครับ




สายน้ำ 12-10-2011 08:25


ท่วมขังระวัง 'ปลิง'! เกาะต้องแกะถูกวิธี

http://www.dailynews.co.th/content/i...hl12102011.jpg

เรื่องหนึ่งที่ควรระวังในช่วงที่หลายพื้นที่เผชิญภาวะน้ำท่วม คือ 'ปลิง' สัตว์ที่อยู่ในน้ำ โดยเฉพาะน้ำนิ่งๆ ทั้งหนองน้ำ ลำธาร รวมถึงบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ในประเทศไทยมักพบปลิง 2 ชนิด คือ ปลิงเข็ม ตัวยาวขนาดใกล้เคียงกับก้านไม้ขีดไฟ อีกชนิดเป็นปลิงควาย ตัวยาว 3 นิ้ว ลำตัวกว้าง 1 นิ้ว

กรณีมีความจำเป็นต้องลงไปในน้ำที่ท่วมขังและนิ่ง เมื่อขึ้นจากน้ำแล้วต้องสังเกตตามเนื้อตัวของตนเองอย่างละเอียด เพราะหากถูกปลิงเกาะ ตัวของปลิงนั้นเบาจึงไม่ทำให้รู้สึกว่า มีสิ่งแปลกปลอมเกาะติดอยู่ เช่นเดียวกับการดูดเลือดของปลิงก็เป็นไปอย่างแผ่วเบา

ระหว่างที่ปลิงเริ่มกัดและดูดเลือดจะปล่อยสารที่มีฤทธิ์คล้ายยาชาออกมา ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ ทั้งยังมีสารช่วยขยายหลอดเลือดและสารต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อให้ดูดเลือดได้ต่อเนื่อง หากปลิงยังดูดเลือดไม่อิ่มก็ยังจะเกาะอยู่อย่างนั้น โดยจะหลุดออกเมื่ออิ่ม ทว่าถูกรุมเกาะหลายตัวและถูกดูดเลือดมาก ก็จะเกิดอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด

วิธีแกะปลิงให้หลุดออก ไม่ควรใช้มือหรืออุปกรณ์อื่นดึงหรือกระชากตัวปลิงออกจากผิวหนังโดยตรง เนื่องจากจะทำให้เกิดแผลฉีกขาด เลือดหยุดยาก แต่วิธีที่ควรทำในเบื้องต้นมีทั้งใช้น้ำมะนาว น้ำมะกรูด น้ำเกลือเข้มข้น หรือน้ำแช่ยาฉุนหรือยาเส้นไส้บุหรี่ อย่างใดอย่างหนึ่งราดใส่ตรงที่ปลิงเกาะ นอกจากนี้ยังอาจเลือกใช้บุหรี่ที่ติดไฟหรือธูปติดไฟ จี้ลงไปที่ตัวปลิง ก็ทำให้ปลิงหลุดออกเอง

เมื่อปลิงหลุดออก ให้หยดยาฆ่าเชื้อที่คอตตอนบัดและเช็ดเป็นวงรูปก้นหอย เริ่มจากส่วนในของแผลวนออกรอบนอกแผล เช็ดวนรอบเดียวเพื่อไม่ให้แผลสกปรก แล้วเปลี่ยนอตตอนบัดอันใหม่ สัก 2-3 อัน

หากไม่สามารถเลี่ยงการลงไปในน้ำที่ท่วมขัง ควรป้องกันตนเองจากปลิงและสัตว์มีพิษอื่นๆ เช่น งู ตะขาบ ด้วยการสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดรัดกุมและมัดปลายขากางเกง โชลมเสื้อผ้าส่วนที่ต้องโดนน้ำด้วยน้ำมันก๊าดจะช่วยป้องกันสัตว์มีพิษได้.



จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 12 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 12-10-2011 08:32


เมื่อต้องขับรถผ่านพื้นที่น้ำท่วม ....................... โดย วินิจ รังผึ้ง

http://pics.manager.co.th/Images/554000013726301.JPEG

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางยามนี้ช่างหนักหนาสาหัสเป็นยิ่งนัก ด้วยปริมาณน้ำจำนวนมากมายมหาศาลที่หลากไหลลงมารวมกันจนพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางไม่อาจจะระบายน้ำได้ทัน จนเกิดการท่วมท้นเป็นบริเวณกว้าง และมากมายถึงขนาดท่วมจนมิดหลังคาบ้านกันเลยก็มี มหาอุทกภัยครั้งนี้มีพื้นที่ประสบภัยทั้งพื้นที่ทำการเกษตร นิคมอุตสาหกรรม รวมไปถึงย่านใจกลางเศรษฐกิจของเมืองใหญ่ สร้างความเสียหายทั้งชีวิตทรัพย์สินเป็นมูลค่ามากมายมหาศาล มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจนั้นมากมายเกินกว่าความเสียหายครั้งเกิดมหัตภัยคลื่นยักษ์สึนามิในช่วงปลายปี 2547 เสียอีก ซึ่งขณะนี้ทุกฝ่ายทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน กองทัพ ภาคเอกชนและประชาชนคนไทยในทั่วทุกภาคต่างระดมความช่วยเหลือลงไปในพื้นที่ประสบอุทกภัย เพื่อช่วยกันกู้วิกฤตอย่างเต็มที่

หลายหน่วยงานที่พยายามนำขบวนรถส่งน้ำ อาหารและสิ่งของบรรเทาทุกข์ลงไปในพื้นที่นั้นในหลายพื้นที่หลายเส้นทางก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องผ่านเข้าไปในเส้นทางที่มีน้ำท่วมบางพื้นที่มีกระแสน้ำเชี่ยวแรง ซึ่งการจะเดินทางเข้าไปก็คงต้องมีการเช็คเส้นทางกันให้แน่นอนเสียก่อนว่าในช่วงนั้นสภาพเส้นทางเป็นอย่างไร และระดับน้ำมีแนวโน้มเป็นเช่นไร ทางที่ดีก็ควรที่จะประสานงานหรือนำไปส่งให้กับหน่วยงานในพื้นที่ ซึ่งมีความชำนาญสภาพท้องที่เพื่อให้ช่วยกระจายสิ่งของและความช่วยเหลือเข้าไปให้ถึงมือชาวบ้านในพื้นที่ต่อไปน่าจะดีกว่า อย่างไรก็ขอส่งกำลังใจไปถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที่ประสบภัยรวมทั้งกำลังพลจากหน่วยงานที่กำลังปฏิบัติงานหนักในการกู้วิกฤตและให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้มีกำลังใจในการฟันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้โดยเร็วด้วยเทอญ

http://pics.manager.co.th/Images/554000013726302.JPEG

ในขณะที่พี่น้องประชาชนคนไทยเราร่วมแสดงความรักความห่วงใยด้วยการส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ และส่งกำลังใจลงไปถึงพี่น้องในพื้นที่ประสบภัย แต่พื้นที่อื่นๆในยามนี้โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งแม้นจะยังไม่ถึงกับมีน้ำท่วมท้น แต่ก็กลายเป็นพื้นที่ๆน่าเป็นห่วงเป็นใยอยู่ไม่น้อย เพราะปริมาณน้ำฝนก็ยังพร่างพรมลงมาอยู่ไม่เว้นแต่ละวัน ในขณะที่สถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงก็อาจจะทำให้การระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ปากอ่าวเป็นไปได้ยากลำบาก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆของกรุงเทพฯขึ้นได้ หลายคนเริ่มเป็นห่วงสถานการณ์ เริ่มเก็บข้าวของขึ้นสู่ที่สูง เริ่มเตรียมสะสมอาหารแห้ง น้ำดื่มและสิ่งของที่จำเป็นตุนไว้ในบ้าน และปัญหาใหญ่อีกอย่างหนึ่งที่คนกรุงเทพฯต่างวิตกก็คือ สภาพที่ต้องผจญกับน้ำท่วมบนท้องถนน เพราะเมื่อฝนตกหนักน้ำในท้องถนนระบายไม่ทันก็จะเกิดปัญหารถติดกันยาวเหยียดใช้เวลาเดินทางนานหลายชั่วโมง ในขณะที่หลายคนอาจจะวิตกยิ่งขึ้นไปอีกว่าหากน้ำท่วมสูงขึ้นมากๆ แล้วจะต้องขับรถผ่านท้องถนนที่มีน้ำท่วมนั้นจะมีสภาพอย่างไร โอกาสนี้ผมจึงขอนำข้อปฏิบัติในการขับรถผ่านพื้นที่น้ำท่วมมาบอกเล่าสู่กันเพื่อจะได้นำไปลองปฏิบัติเมื่อจำเป็น ซึ่งความจริงแล้วหากสามารถจะเช็คข้อมูลได้ก็ควรจะเช็คให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจขับรถออกจากที่จอดรถในอาคารที่ทำงาน เพราะหากมีรายงานว่าเส้นทางที่จะผ่านไปมีน้ำท่วมสูงก็ไม่ควรที่จะเสี่ยงขับรถผ่านเข้าไป ควรหาเส้นทางที่พอจะหลีกเลี่ยงได้ หรือตัดสินใจจอดรถไว้ในลานจอดบนอาคารแล้วใช้รถสาธารณะจะดีกว่า

ถ้าหากไม่สามารถหลีเลี่ยงได้ การขับรถผ่านถนนที่มีน้ำท่วมขังก็ควรจะเลิอกขับเลนขวาด้านกลางสุดของถนน เพราะจะเป็นพื้นที่สูงที่สุด เมื่อต้องขับรถลุยน้ำที่ท่วมขังมากๆ ควรปิดเครื่องปรับอากาศภายในรถ เพราะการเปิดเครื่องปรับอากาศจะทำให้ใบพัดของพัดลมเครื่องปรับอากาศซึ่งอยู่ในระดับต่ำพัดตีให้น้ำกระจายเข้าไปในส่วนต่างๆของห้องเครื่องยนต์ อาจจะพัดตีเอาเศษขยะ ถุงพลาสติก เศษไม้ไปติดในส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ทำให้เครื่องยนต์ดับได้ และการปิดเครื่องปรับอากาศ ก็จะช่วยให้ไม่ไปรบกวนกำลังของเครื่องยนต์ด้วย เมื่อปิดเครื่องปรับอากาศแล้วการขับรถลุยน้ำนั้น ไม่ควรเร่งเครื่องกระชาก กระตุกเป็นช่วงๆ ควรขับโดยใช้เกียร์ต่ำถ้าเป็นเกียร์ธรรมดาควรใช้เกียร์ 1 เกียร์ 2 ในขณะที่รถยนต์เกียร์อัตโนมัติควรใช้เกียร์ที่ต่ำลงมากว่าเกียร์ D และควรเลี้ยงรอบเครื่องยนต์ให้สม่ำเสมอ ใช้ความเร็วต่ำ แล่นไปข้างหน้าเรื่อยๆ โดยเว้นระยะให้ห่างจากคันหน้าพอประมาณ เพราะการขับรถลุยน้ำนั้นระบบเบรกจะทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพเนื่องจากมีน้ำเข้าไปในจานเบรก ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องเบรกกะทันหัน เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการเบรกลื่น เบรกไม่อยู่ การเบรกควรจะต้องย้ำเบรกหลายๆครั้งเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรกจนกว่าเบรกจะทำงานเป็นปรกติ หรืออาจจะใช้วิธีแตะเบรกเบาๆ เป็นระยะๆ ก็ได้ ระหว่างการขับเคลื่อนไปก็ได้

การขับรถผ่านไปในพื้นที่น้ำท่วมนั้นไม่ควรใช้ความเร็ว เพราะนอกจากจะควบคุมรถลำบากแล้วจะทำให้คลื่นน้ำกระเพื่อมแรงเข้าไปในตัวเครื่องยนต์ของเรา กระเพื่อมไปรบกวนผู้อื่นที่ใช้ถนนร่วมกัน หรือเกิดคลื่นแรงไปสร้างความเดือดร้อนให้กับอาคารบ้านเรือนของผู้อยู่อาศัยริมถนนสายนั้น และเมื่อขับถึงบ้านหรือจุดหมายปลายทางแล้ว ก่อนจอดควรย้ำเบรกหลายๆครั้งเพื่อช่วยไล่น้ำออกจากระบบเบรก เมื่อจอดรถแล้วอย่าเพิ่งดับเครื่องยนต์ในทันที ควรติดเครื่องทิ้งไว้สักครู่เพื่อช่วยไล่น้ำออกจากท่อไอเสีย และเมื่อจอดรถไว้ในที่ปลอดภัยภายในบ้านแล้ว ควรเปิดประตู เปิดกระจก เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นอับ หรืออาจใช้พัดลมเป่าเพื่อช่วยไล่ความอับชื้นก็ได้ และเมื่อจะสตาร์รถใช้งานอีกครั้งในวันรุ่งขึ้นก็ควรจะเปิดฝากระโปรงสำรวจในห้องเครื่อง หรือบริเวณพัดลมระบายอากาศ พัดลมเครื่องปรับอากาศ เช็คดูให้ทั่วว่ามีเศษขยะ เศษไม้ที่อาจจะสร้างความเสียหายอยู่หรือไม่ และควรตรวจเช็คสภาพความเรียบร้อยให้รอบคัน เพราะการขับรถลุยน้ำนานๆนั้นแผ่นป้ายทะเบียนมักจะต้านน้ำไม่ไหวหลุดหายกันบ่อยๆ ซึ่งผมเองก็มีประสบการณ์เคยขับรถลุยน้ำจนกลับถึงบ้าน มาตรวจดูอีกทีป้ายทะเบียนด้านหน้าก็หลุดหายไปเสียแล้ว ยุ่งยากต้องไปทำเรื่องยื่นขอป้ายทะเบียนแผ่นใหม่จากกรมการขนส่งทางบกเสียเวลาเสียอารมณ์ไปอีก อย่างไรก็ขอภาวนาให้ทุกท่านไม่ต้องขับรถลุยน้ำกันน่าจะดีกว่า และขอส่งกำลังใจไปถึงท่านที่ประสบความเดือดร้อนจากอุทกภัยขอให้สามารถจะฝ่าฟันผ่านพ้นวิกฤติครั้งใหญ่นี้ไปให้ได้โดยเร็วด้วยเทอญ




จาก .................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 11 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 12-10-2011 08:45


ข้อปฏิบัติในการขับรถเมื่อน้ำท่วม และไอเดียรักษารถที่ใครๆก็ทำได้


น้ำท่วมปีนี้หนักหนากว่าที่ใครๆคิด ไม่ว่าจะเกิดจากฝีมือมนุษย์ หรือจากธรรมชาติที่ประทานน้ำให้แก่มนุษย์มากเกินความต้องการ ในเมื่อมันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเรายังจำเป็นต้องดำรงชีวิตให้รอดท่ามกลางสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยเช่นนี้ต่อไป เราจึงมีวิธีการดูแลรถให้แก่ผู้ที่ยังจำเป็นต้องใช้รถเพื่อการประกอบอาชีพการงาน ให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง

โดยระดับน้ำที่รถโดยทั่วไปสามารถแล่นผ่านได้คือ น้ำนิ่ง สูงไม่เกิน 6 นิ้ว แต่ถ้าน้ำไหล ต้องสูงไม่เกิน 4 นิ้ว ดังนั้นควรจอดรถลงมาสำรวจ และคุยกับคนขับรถที่ผ่านมาว่าสถานการณ์น้ำเป็นอย่างไร เพื่อประเมินว่าคุณจะขับรถผ่านได้หรือไม่

หากตัดสินใจที่จะขับผ่าน ต้องขับรถบนส่วนที่ดูสูงที่สุดบนถนน และขับช้าๆ ประมาณ 2-3 กิโลเมตรต่อชั่วโมงด้วยเกียร์หนึ่งหรือเกียร์ต่ำ หากเป็นรถเกียร์ธรรมดา ให้เหยียบคลัชบ่อยๆ แต่ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติให้เหยียบเบรกบ่อยๆ เพื่อไล่น้ำ อย่าแล่นเร็ว เพราะการเร่งความเร็วแค่ 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อน ใบพัดลมจะทำงาน และปัดน้ำเข้าห้องเครื่อง

นอกจากการขับรถเร็วจะเสี่ยงทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์หรือทำให้เกิดคลื่นน้ำที่จะไปทำลายคันดินหรือกระสอบทรายที่ก่อไว้ ยังเสี่ยงกับการควบคุมรถไม่ได้ด้วย แม้จะเป็นน้ำนิ่งก็ตาม เพราะถ้าแล่นรถเร็ว ยางรถจะไม่สัมผัสพื้นถนน ทำให้รถลอย และเสียการควบคุมในที่สุด ซึ่งหากควบคุมไม่ได้ ให้จับพวงมาลัยหลวมๆ และปล่อยให้รถเคลื่อนไปเรื่อยๆ เพราะหากความเร็วลดลง ยางรถก็จะแตะพื้นถนนเอง

ส่วนข้อแนะนำอื่นๆ คือ ควรหยุดให้รถคันอื่นผ่านไปก่อนเพื่อลดความรุนแรงของคลื่นน้ำ เมื่อขับรถพ้นน้ำมาได้ให้เช็คระบบเบรกทันที และอย่าขับรถผ่านน้ำที่ไหลแรง เพราะรถอาจถูกพัดไปได้


_____________


http://www.matichon.co.th/online/201...317963203l.jpg


ขับรถขณะน้ำท่วมควรทำอย่างไร?

1.ห้ามเปิดแอร์เด็ดขาด เพราะเมื่อเราเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน ทำให้ใบพัดพัดน้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง แล้วทำให้เครื่องดับ

2.ใช้เกียร์ต่ำ สำหรับเกียร์ธรรมดา เราควรใช้ประมาณเกียร์ 2 แต่หากว่าเป็นเกียร์ออโต้ สามารถใช้เกียร์ L ได้ รวมถึงการขับขี่ที่มีความเร็วต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และควรใช้ความเร็วอย่างสม่ำเสมอ อย่าหยุด หรืออย่าเร่งความเร็วขึ้น

3.ไม่ควรเร่งเครื่องให้รอบสูงเกินไป ผู้ขับรถหลายคนมักเร่งเครื่องแรงๆเพราะกลัวเครื่องดับ เนื่องจากน้ำเข้าท่อไอเสีย ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะการเร่งเครื่องขึ้น ยิ่งจะทำให้รถมีความร้อนสูงยิ่งขึ้น ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน และยิ่งทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์มากยิ่งขึ้น การสตาร์ตรถอยู่โดยที่รอบเดินเบา แม้ว่าจะแช่อยู่ในน้ำ (แต่ระดับน้ำต้องไม่สูงมากขนาดระดับกะโปรงรถ) แรงดันที่ออกมาเพียงพอที่จะดันน้ำออกมาได้

4.การลดความเร็วลง โดยเฉพาะในกรณีที่เมื่อกำลังจะขับรถสวนกับรถอีกคันหนึ่ง เพราะยิ่งขับเร็วมากเท่าไหร่ แรงคลื่นที่เกิดจากการปะทะก็จะแรงมากเท่านั้น และกระเด็นเข้าสู่เครื่องยนต์ได้ง่ายขึ้น

5.หลังจากลุยน้ำที่มีระดับลึกมา สิ่งแรกที่ควรทำคือ พยายามย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำ เพราะในช่วงแรกๆจะเบรกไม่อยู่และเป็นอันตรายมาก


http://img153.imageshack.us/img153/2765/imageorg.jpg

ขั้นตอนที่ควรทำทันที เมื่อรถยนต์ถูกน้ำท่วม

1. ล้างรถ รวมถึงการฉีดน้ำเข้าไปในบริเวณใต้ท้องรถและซุ้มล้อ เพื่อล้างเศษดินทรายที่ตกค้างหรือติดอยู่ออกให้หมด ซึ่งอาจมีเศษขยะหรือหญ้าแห้งติดอยู่ ที่อาจก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย เช่นเดียวกับกรณีของรถที่ติดตั้งตัวกรองไอเสีย หรือ CAT ที่ไม่แนะนำให้จอดในที่ที่มีหญ้าขึ้นสูง เนื่องจากอุณหภูมิของ Catalytic Converter ค่อนข้างสูง และอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย

2. พึงจำเอาไว้ว่าอย่าทำการสตาร์ทรถ หรือบิดกุญแจให้ไฟออนโดยเด็ดขาด จากนั้นเดินไปเปิดฝากระโปรงรถและปลดขั้วแบตเตอรี่ทันที โดยจะปลดขั้วใดขั้วหนึ่งหรือจะปลดทั้ง ขั้วบวกขั้วลบก็ได้ (จริงๆถ้าคุณคาดว่าน้ำจะท่วมสูงถึงห้องเครื่องให้เตรียมปลดขั้วแบตเตอรี่ เอาไว้ล่วงหน้าก่อนจะเป็นการดีที่สุด) เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟเข้าไปเลี้ยงระบบต่างๆของรถ รวมถึงเครื่องยนต์

3. เปิดประตูออกทุกบาน ให้ลมโกรก หรือถ้ามีแดดให้จอดตากแดด จากนั้นถอดเบาะนั่ง พรม ผ้าต่างๆ ที่อยู่ภายในรถออกมาซักทันที เพราะถ้าทิ้งเอาไว้นาน ความเหม็นอับจะมาเยือน และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราและเชื้อโรคต่างๆ

4. เริ่มเข้าสู่กระบวนการทางเทคนิคที่พอจะทำได้เอง คือ ปลดทุกอย่างที่เป็นขั้วไฟฟ้า ในกรณีที่เป็นเครื่องเบนซินให้ใช้ลมเป่าไปที่เบ้าหัวเทียนไล่น้ำออกให้หมดทุกซอกทุกมุม จากนั้นให้ถอดหัวเทียนออก ตรวจดูแผงฟิวส์ตัวฟิวส์ กล่องรีเลย์ต่างๆรวมทั้งกล่องอีซียูต้องถอดออกให้หมดตากแดดทิ้งไว้ ตรวจดูปลั๊กไฟใช้ลมเป่าทำความสะอาดทั้งหมด หรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้นฉีดทิ้งไว้

5. สำรวจน้ำมันเกียร์ ว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ คือถ้ามีลักษณะคล้ายสีชาเย็น นั่นแสดงว่ามีน้ำเข้าไปปะปนแล้ว ต้องรีบเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทันที เช่นเดียวกับน้ำมันเกียร์ รวมถึงเปลี่ยนกรองอากาศ ซึ่งประเด็นนี้ใครทำเองได้ก็ทำเลย เพราะยิ่งจัดการเร็วโอกาสที่สนิมจะมาเยือนก็น้อยตามไปด้วย แต่ถ้าไม่ไหวก็ต้องเข้าศูนย์บริการหรืออู่ ซึ่งจะมีขั้นตอนการเปลี่ยนถ่ายที่ถูกต้องและละเอียดมาก

6. เพลาขับ หากยางหุ้มเพลาขาดน้ำจะเข้าไปนำเอาจารบีออกไป ต้องอัด จารบีใหม่และเปลี่ยนยางหุ้มเพลาด้วย อีกอย่างหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ คือลูกปืนล้อทั้งหน้าและหลังที่มีอยู่ในรถทั่วไป ต้องนำออกมาล้างอัดจารบีใหม่แล้วใส่กลับคืนที่ด้วยการปรับใหม่ให้แน่นตามลำดับไม่แน่นเกินไปจนล้อหมุนฝืด

7. ในกรณีที่เป็นเครื่องเบนซินให้ใช้ลมเป่าไปที่เบ้าหัวเทียนไล่น้ำออกให้หมดทุกซอกทุกมุม จากนั้นให้ถอดหัวเทียนออก ตรวจดูแผงฟิวส์ตัวฟิวส์ กล่องรีเลย์ต่างๆรวมทั้งกล่องอีซียูต้องถอดออกให้หมดตากแดดทิ้งไว้ ตรวจดูปลั๊กไฟใช้ลมเป่าทำความสะอาดทั้งหมด หรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้นฉีดทิ้งไว้

8. โคมไฟหน้าเลนส์ ไฟท้าย เบาะนั่ง พรมปูพื้น ที่ถอดออกมาตากแดดแห้งแล้วยังไม่ต้องรีบใส่ แม้ว่าส่วนประกอบอื่นๆจะแห้งดีแล้ว ให้เอารถออกตากแดดเปิดประตูรถทุกบาน พยายามให้แผงหน้าปัดรถตากแดดแรงๆเพื่อไล่ความชื้นออกจากแผงหน้าปัดให้หมด

9. เมื่อแน่ใจว่าทุกอย่างแห้งสนิทดีแล้วค่อยใส่ทุกอย่างที่ถอดออกจากในห้องเครื่องเข้าที่ให้หมด ยกเว้นหัวเทียนในกรณีของรถเครื่องยนต์เบนซินหรือหัวฉีดในกรณีเครื่องดีเซล ให้ยกแบตเตอรี่เข้าที่ก่อนโดยใส่ขั้วแบตเตอรี่ เสียบกุญแจบิดกุญแจไปจังหวะแรก(จังหวะสำหรับตรวจมาตรวัดต่างๆก่อนสตาร์ทรถ) หากเกจ์วัดไหนยังไม่ทำงานอย่าเพิ่งกังวล ให้เปิดสวิตช์ค้างไว้แล้วลงมาตรวจสอบที่ห้องเครื่องยนต์ว่ามีควันหรือความร้อนอะไรเกิดขึ้นจากการใช้ไฟจากแบตเตอรี่หรือไม่ เมื่อแน่ใจว่าไม่มีทุกอย่างปกติดีจึงค่อยบิดกุญแจปิดสวิตช์

10. ตรวจสอบเบ้าหัวเทียนอีกครั้งว่ามีอะไรติดขัดหลงเหลืออยู่อีกหรือไม่ หากดูแล้วว่าเรียบร้อยดีให้ลองสตาร์ทเครื่องใหม่ โดยคนหนึ่งบิดกุญแจส่วนอีกคนหนึ่งคอยเช็คที่รูหัวเทียน เมื่อเครื่องหมุน หากถ้ามีน้ำ น้ำจะถูกพ่นออกมาทางรูหัวเทียน ให้สตาร์ทต่อไปจนแน่ใจว่าน้ำถูกพ่นออกมาจนหมด ต่อไปก็ให้ใส่หัวเทียนเข้าที่ หากทำมาถูกต้องและไม่มีอุปกรณ์อื่นที่เสียหายรุนแรง เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ หากว่าได้ยินเสียงเครื่องยนต์ทำงานดังกระหึ่มขึ้นตามมา แสดงว่าทุกอย่างเป็นปกติ


วิธีการยกรถหนีน้ำ ด้วยการนำแม่แรงที่อยู่ภายในรถงัดรถให้สูงขึ้น จากนั้นให้นำก้อนอิฐไปค้ำล้อรถทั้ง 4 ล้อให้สูงเหนือระดับน้ำ ส่วนกรณีที่รถอาจต้องจมน้ำ ข้อแนะนำคือควรปิดกระจกให้แน่น หลังจากนั้นให้ถอดขั้วแบตเตอรี่ ขั้วบวกหรือขั้วลบออก เพื่อป้องกันระบบไฟฟ้าภายในรถช็อต

ภายหลังน้ำท่วมรถ ให้แกะลูกยางที่อยู่ใต้ท้องรถออก เพื่อเป็นการระบายน้ำที่ท่วมขังอยู่ภายในรถ

(มีต่อ)

เด็กน้อย 12-10-2011 08:46

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ครับ

สายน้ำ 12-10-2011 08:49


ข้อปฏิบัติในการขับรถเมื่อน้ำท่วม และไอเดียรักษารถที่ใครๆก็ทำได้ (ต่อ)


http://www.rsunews.net/News/SecondhandCar/500.jpg


เมื่อรถยนต์ถูกน้ำท่วมทั้งคันควรทำอย่างไร?

1. ห้ามเปิดสวิตช์ไฟหรือสตาร์ตเครื่องเด็ดขาด และถอดสายแบตเตอรีออก

2. ลากรถยนต์ออกจากน้ำให้เร็วที่สุด เพราะถ้าหากทิ้งไว้นานจะก่อให้เกิดความเสียหายบริเวณตัวรถเพิ่มขึ้น

เมื่อรถจมน้ำทั้งคัน หลายคนเข้าใจว่าไฟฟ้าจะลัดวงจร แต่ในความเป็นจริงไฟฟ้ายังไม่ได้ลัดวงจรเพราะว่าไม่มีไฟฟ้าลงดิน แต่ความเสียหายจะเกิดขึ้นหลังจากที่ระบบอิเลคทรอนิกส์ต้องจมอยู่ในน้ำ และจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อมอเตอร์ไฟฟ้า กล่องอีซียูซึ่งปัจจุบันใช้ระบบกล่องรวมที่ควบคุมทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นแอร์ ไฟส่องสว่างและเครื่องยนต์


หลังจากกู้รถขึ้นจากน้ำแล้ว ข้อห้ามอย่างแรกที่สำคัญคือห้ามติดเครื่องยนต์เด็ดขาด จนกว่าจะตรวจสอบจนแน่ใจว่าไม่มีน้ำค้างในเครื่องยนต์ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง รถที่ถูกน้ำท่วมต้องเปลี่ยนถ่ายของเหลวและกรองต่างๆออก เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีฝุ่นหรือดินโคลนค้างอยู่ การซ่อมบำรุงรถน้ำท่วมจะต้องทำโดยช่างผู้เชี่ยวชาญรถยี่ห้อนั้นจริงๆ เพราะแทบจะต้องประกอบใหม่ทั้งคันทีเดียว


_____________



วิธีป้องกันรถแบบไทยๆ

เว็บไซต์ rackmanagerpro.com ได้เสนอไอเดียให้มีการประดิษฐ์ "ถุงคลุมกันน้้ำแบบกลับหัวกลับหาง" ซึ่งเหมาะสมกับฤดูฝนของบ้านเราเป็นอย่างดี แค่นี้ผ้าคลุมรถธรรมดาๆ ก็ป้องกันน้ำท่วมรถยนต์คันงามของคุณได้แล้ว

มาใช้ผ้าคลุมรถกันน้ำท่วมเพื่อป้องกันรถคุณจากน้ำท่วมกันเถอะ!

http://www.rackmanagerpro.com/wp-con...ver-change.jpg
ภาพ: Rackmanagerpro.com

เริ่มใช้ผ้าคลุมรถ โดยเลือกเอาขนาดไซซ์ XL หรือยิ่งใหญ่ยิ่งดี เพราะจะได้สวมใส่กันได้สะดวก และเนื่องจากไอเดียครั้งนี้คือ การเอาผ้าคลุมรถแทนที่จะใส่จากด้านบน ก็เอามาใส่จากด้านล่างแทน ดังนั้น ตอนที่เลือกผ้าคลุมรถ จึงต้องเลือกผ้าหรือเป็นวัสดุที่สามารถกันน้ำได้ด้วยเท่านั้น

และหากว่าอยากให้ผ้าคลุมดังกล่าวสามารถปกป้องรถได้อย่างเต็มที่ และไม่หลุดรุ่ยง่ายๆ ควรติดขอบยาง เพื่อให้กระชับพอดีกับตัวรถ

เริ่มต้นให้วางผ้าคลุมรถไว้ ณ ตำแหน่งที่คุณอยากจะจอดรถเอาไว้ แล้วก็ให้คนจับมุมเอาไว้ทั้งสองฝั่ง หลังจากนั้นก็ให้คนขับถอยรถช้าๆ การถอยรถต้องค่อยๆถอย โดยผ่านมุมเข้าผ้าคลุมช้าๆเป็นแนวเดียวกับผ้าคลุมรถ และ ผ้าคลุมควรจะต้องขึงตึงเอาไว้ เพราะ เราไม่อยากจะให้รถเหยียบผ้าคลุมเอาไว้ เดี๋ยวมันจะยกขอบผ้าคลุมไม่ขึ้นครับ

เมื่อถอยรถได้ตำแหน่งอยู่กลางผ้าคลุมแล้วก็ให้คุณเอาขอบของผ้าคลุมคลุมเอาไว้รอบคัน ทั่วทั้งคันครับ และ สำหรับการป้องกันที่จะทำได้จริง คุณจะต้องติด tape กาวแบบที่เมื่อมีน้ำชะจะต้องไม่หลุดลอกออกมาด้วยครับ แนะนำว่าให้แปะก็แปะทั่วทั้งคันเพื่อความมั่นใจได้ว่า น้ำจะไม่ซัดหรือดึงผ้า หรือไปกร่อนเนื้อกาวเพื่อให้ผ้าคลุมหลุดลอกออกมาได้ง่ายๆ



http://www.civicesgroup.com/forum/fi...908_333331.jpg

หรือปฏิบัติตามขั้นตอนง่ายๆดังนี้

1. ซื้อยางรถสิบล้อมา 3 เส้น
2. นำยางรถที่ยังไม่ได้สูบ สอดไว้ใต้ท้องรถ
3. สูบลมเข้าไปทั้ง 3 ล้อ ก่อนสูบควรผูกเชือกตำแหน่งต่างๆ เพื่อยึดรถให้อยู่กับล้อ
4. ผูกเชือกล่ามรถไว้กับเสาบ้าน หรือหลักที่แน่นหนา ป้องกันรถลอยไปตามน้ำ
5. รถจะปลอดภัยในช่วงน้ำท่วม และสามารถใช้เป็นที่พักชั่วคราวได้




จาก ..................... มติชน วันที่ 11 ตุลาคม 2554

เด็กน้อย 12-10-2011 08:50

1 Attachment(s)
ได้รับข้อมูล มาจาก FWD mail ครับ
วิธีการก่อถุงทราย

สายน้ำ 12-10-2011 09:01

1 Attachment(s)
ไทยรัฐ


รถจมน้ำ ทำไงดีหลังน้ำลด

อ่านได้ที่ลิ๊งค์นี้ http://www.thairath.co.th/content/life/208452


สายน้ำ 12-10-2011 09:02


ขอบคุณครับ น้องเด็กน้อย ..... ช่วยๆกันให้ข้อมูลครับ อย่างน้อยคงมีประโยชน์กับคนที่เข้ามาอ่านกันบ้างไม่มากก็น้อยครับ


เด็กน้อย 12-10-2011 09:22

2 Attachment(s)
ได้รับจาก FWD Mail ครับ
วิธีทำรองเท้าถุงพลาสติก ป้องกันโรคฉี่หนู (กรมควบคุมโรค)

โรคฉี่หนู เป็นโรคที่มีหนูเป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญ เชื้อโรคที่ออกมากับปัสสาวะหนูจะปนเปื้อนอยู่ในน้ำท่วมขัง หรือบนพื้นดินที่ชื้นแฉะได้นาน ประชาชนที่เดินลุยน้ำ ย่ำโคลนอาจติดเชื้อโรคนี้ได้ จึงควรป้องกันโรคนี้โดยการสวมรองเท้าบูทยาง หรือสวมรองเท้าถุงพลาสติก

สายชล 12-10-2011 11:56



ขอบคุณจ้ะน้องเด็กน้อย....น่ารักที่สุดเลย...:)


สายน้ำ 13-10-2011 07:51


บัญญัติ 20 ประการ ฝ่าวิกฤตอุทกภัย


อุทกภัยที่ขยายวงกว้างอยู่ในหลายจังหวัดขณะนี้ สร้างความเดือดร้อน และหวาดวิตกให้แก่ประชาชนค่อนประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเรามีสติและเตรียมการแก้ปัญหาเชื่อว่าจะผ่านวิกฤตได้อย่างแน่นอน ซึ่งบัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วมมีข้อมูลดังต่อไป

1. ดูทางน้ำที่จะมาสู่บ้านเรา แล้วจะไปทางไหนได้บ้าง
2. กำแพงบ้านไว้กั้นน้ำได้ แต่ต้องระวังรั้วพัง โดยมีการตรวจสอบความแข็งแรง
3. น่าจะมี “ปืน” ไว้สู้ฝน สู้น้ำท่วม จัดการกับรูรั่ว
4. ตรวจสอบต้นไม้ว่าโอกาสล่มทับบ้านหรือไม่ ในยามน้ำท่วมและพายุมา
5. ตรวจสอบถังน้ำใต้ดินในการรองรับน้ำ
6. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้านอกบริเวณบ้าน โดยการตัดกระแสไฟบริเวณที่มีโอกาสไฟรั่ว
7. ป้องกันสัตว์เลื่อนคลานต่าง ๆ ที่มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง
8. เตรียมจัดหาด้านสุขอนามัย เช่น สุขา
9. ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดภายในบ้าน ให้อยู่พ้นจากน้ำท่วม
10. ตรวจสอบความแข็งแรงของประตู หน้าต่าง ให้แน่หนา และแข็งแรง
11. เตรียมระบบสื่อสารให้พร้อม เช่น โทรศัพท์มือถือ
12. จัดเตรียมชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พร้อมใช้งานในยามวิกฤติ
13. ย้ายสิ่งของทุกชนิดให้อยู่พ้นน้ำ
14. ใช้พลาสติกซึ่งเป็นวัสดุที่กั้นน้ำให้เป็นประโยชน์ เช่น ห่อหุ้มสิ่งของไม่ให้เปียกน้ำ
15. เตรียมน้ำดื่ม อาหารแห้ง และยาประจำบ้านให้พร้อม
16. บ้านชั้นเดียวต้องตรวจสอบหลังคา
17. หาวิธีป้องกันพวกวิชาชีพลักขโมย




จาก ......................... สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 13 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 13-10-2011 07:55


9 สิ่งยิ่งมียิ่งช่วยในถุงยังชีพ ........................ โดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช,พบ.(จุฬาฯ) ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ

http://www.matichon.co.th/news-photo...04121054p1.jpg

น้ำท่วมปีนี้มาหนักและแรงอย่างน่าเห็นใจที่สุด แม้จะป้องกันอย่างที่สุดก็ได้แต่มองน้ำท่วมตาปริบๆ รอเวลาว่าจะเข้ามา "เมื่อไร" เท่านั้น ซอยข้างคลินิกผมก็ท่วมแล้วท่วมอีกครับ

ถุงยังชีพ ต้องรีบช่วย นอกจากข้าวสารอาหารแห้ง น้ำ ก็มี

1) กระดาษชำระ กางเกงในกระดาษและผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ในสภาพที่ไม่อาจหาห้องน้ำได้หรือส้วมกระดาษไม่พอ ขอให้มีกระดาษชำระสะอาดดีๆ อย่างหนานุ่ม หรือได้เปลี่ยนชั้นในสะอาดๆ ก็ทำให้รู้สึกสบายคลายทุกข์ไปได้มากทีเดียวครับ

2) นมผู้ใหญ่ จำพวกเอ็นชัวร์หรือพีเดียชัวร์ที่เป็นนมผงสูตรผู้ใหญ่ใช้บำรุงร่างกายได้ดีเพราะมีสารอาหารที่จำเป็นอยู่มาก หากแบ่งส่งไปเป็นกระป๋องเล็กพร้อมน้ำสะอาดไว้ชงได้ก็ดีครับ เพราะผู้ประสบภัยจะได้สะดวกหาที่เก็บให้พ้นน้ำง่าย

3) ด่างทับทิม ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดแบบน้ำอาจจัดส่งลำบากหรือไม่เพียงพอ แต่ถ้ามีเกล็ดด่างทับทิมสีม่วงสวยใส่ไปสักถุงน้อยๆ ไว้ใช้ผสมน้ำแช่แก้น้ำกัดเท้า แช่ผักผลไม้ก่อนรับประทานได้บ้างก็ยังดีนะครับ

4) สารส้ม อันนี้เป็นของที่ต้องซื้อเข็มขัดใหม่เพราะคาดไม่ถึงอย่างแรงครับ วันหนึ่งดูภาพข่าวได้เห็นคนน้ำท่วมตักน้ำขุ่นๆรอบตัวมาแกว่งสารส้มใช้เลย อยากแนะให้ส่งสารส้มก้อนน้อยๆไปด้วย เผื่อช่วยให้พี่น้องผู้ประสบภัยทำน้ำใสไว้อาบเองได้ก็ยังดีครับ

5) น้ำเกลือปลอดเชื้อ หรือน้ำเกลือสเตอไรซ์นั่นเอง ใช้ชะแผลปะทะปะทังไว้ก่อนได้ดีกว่าปล่อยให้โดนน้ำสกปรกที่ท่วมอยู่รุมกัดเอา อย่างน้อยถ้าน้ำยาฆ่าเชื้อยังมาไม่ถึงก็สามารถใช้น้ำเกลือที่ว่านี้ล้างแผลปฐมพยาบาลไปก่อนได้หลายวันครับ

6) ยาแก้ปวดพาราเซตามอล พอน้ำท่วมแล้วไข้หวัดก็ตามมา โรคปวดหัวจากความเครียดก็มากครับ ยาแก้ปวดง่ายๆในยามยากนี้ถ้าใครมีพอแจกจ่ายกันก็จะช่วยทุเลาอาการไม่สบายกายลงได้แล้วเดี๋ยวใจก็จะค่อยกลับมาครับ

7) แชมพูถวายพระ พระสงฆ์องค์เณรต้องงดปฏิบัติกิจช่วงน้ำท่วม ญาติโยมก็ไม่สะดวกใส่บาตร ของใช้ที่จำเป็นอาจขาด อาทิ ผ้าเช็ดตัวสะอาด กระดาษชำระ, สบู่ และแชมพูเพราะพระท่านก็จำเป็นต้องใช้ทำความสะอาดร่างกายไม่ต่างจากญาติโยม ขอแต่เลี่ยงชนิดที่ใส่น้ำหอมแรงจนเกินไปครับ

8) อาหารสุนัข อาหารแมว ไม่เคยเห็นใครพูดถึง จึงอยากขอให้ช่วยเหลือชีวิตน้อยๆที่พลอยเดือดร้อนจากน้ำท่วมไปพร้อม "เจ้าของ" ลองคิดถึงใจเขาใจเราว่าขนาดคนยังเดือดร้อนถึงขนาดแล้วสัตว์ที่พูดไม่ได้เหล่านี้จะมีความทุกข์สักเพียงใด หัวใจของเจ้าของหมาก็คงอยากให้เพื่อนรักของเขาสบายด้วย

9) โน้ตข้อความให้กำลังใจ อย่างสุดท้ายดูเหมือนไม่จำเป็นแต่ถ้าเป็นผมจะขอใส่ลงไปด้วย เพราะลงไปช่วยพูดคุยไม่ได้ตลอดอย่างน้อยส่งข้อความที่เขียนจากใจลงไปก็จะได้ใช้เก็บไว้อ่านได้เป็นกำลังใจที่ต่างคนต่างช่วยเติมให้กันครับ

อาหารกายในถุงยังชีพผมเชื่อว่าพี่น้องไทยมีให้กันเกินร้อยครับ ที่เหลือก็คืออาหารใจเป็นน้ำใจให้ยามน้ำท่วมที่จะช่วยพยุงกันให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ อย่างน้อยก็เป็นพลังเล็กๆที่พอช่วยได้ อย่าไปคิดว่าน้ำคงท่วมเฉพาะต่างจังหวัดนะครับ กรุงเทพฯเองก็โดนได้ ขึ้นอยู่แค่ว่าเมื่อไรเท่านั้นเอง ทุกคนมีสิทธิตกอยู่ในน้ำเหมือนๆกัน

เป็นเพื่อนร่วมชาติและเพื่อนร่วมทุกข์




จาก ..................... มติชนรายวัน วันที่ 12 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 13-10-2011 08:06


มาดูนวัตกรรมป้องกันน้ำแบบต่างๆ ที่คนไทยไม่เคยเห็น

ด้วยว่าไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ จึงหลีกเลี่ยงเหตุการณ์น้ำท่วมไม่ได้ หลายต่อหลายครั้ง ทั้งหนัก-เบา แต่เราก็คงยังใช้วิธีการแบบดั้งเดิม ตั้งแต่น้ำท่วมโลกมนุษย์จนถึงทุกวันนี้ ลองมาเรียนรู้ มาดู เพื่อสร้างแรงบันดาลใจที่จะค้นคิดนวัตกรรมการแก้ปัญหาดีกว่า


จาก ..................... มติชนรายวัน วันที่ 12 ตุลาคม 2554











koy 13-10-2011 11:39

1 Attachment(s)
น่าสนใจครับ ใช้น้ำต้านน้ำ แต่ถุง/สายยางยาวสำหรับใส่น้ำไว้สกัดน้ำอย่างนั้นไม่รู้จะไปหาที่ไหน วันก่อนในเฟซบุ๊คเห็นคนเขาดัดแปลงเอาถุงดำมาเป็นตัวสกัด/เบี่ยงเบนน้ำ ไม่ทราบจะได้ผลหรือเปล่า และต้องหาอะไรมากั้นด้านหน้าถุงไม่ให้สิ่งของแหลมคมที่ไหลมากับน้ำ มาเจาะถุงดำทะลุได้ ตามรูปนี้ครับ เครดิต Anupong รักและเทิดทูนในหลวง

รายละเอียดเพิ่มเติม ดูในนี้นะครับ http://www.facebook.com/photo.php?fb...&type=1&ref=nf

สายชล 13-10-2011 20:09

สิ่งของที่ต้องเตรียมไว้ยามน้ำท่วม


http://a8.sphotos.ak.fbcdn.net/hphot...30088323_n.jpg


ขอบคุณข้อมูลจาก....http://www.facebook.com/photo.php?fb...type=1&theater

สายชล 13-10-2011 20:14

เตรียมน้ำดื่มช่วงน้ำท่วม


http://a1.sphotos.ak.fbcdn.net/hphot...15520348_n.jpg


คุณพงศกร พัฒผล ผู้เชี่ยวชาญการเดินป่าและพจญภัยแห่งThailand Survivalครับ กับ1ไอเดียในการเอาชีวิตรอด จากการเสวนาเรื่อง"การออกแบบเพื่อเตรียมพร้อมรับมือและจัดการกับภัยพิบัติ" เมื่อวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2554 โดยกลุ่มDesign for disasters และ หอศิลปกรุงเทพ


ขอบคุณข้อมูลจาก...a1.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/308166_299403576741920_100000168398246_1344643_2115520348_n.jpg

สายน้ำ 14-10-2011 07:03


บรรเจิด! “ผ้าอนามัยฉุกเฉิน” ยามน้ำท่วม

http://pics.manager.co.th/Images/554000013845901.JPEG

ช่างเป็นความลำบากของคุณผู้หญิงที่ต้องเจอภาวะ “น้ำหลาก” หลายทางท่ามกลางอุทกภัย บางคนมัวแต่เตรียมข้าวของจำเป็นและเสบียงจนลืมวันนั้นของเดือน ในภาวะฉุกเฉินที่ไม่อาจลุยน้ำไปหา “ผ้าอนามัย” มาผลัดเปลี่ยน ลองหยิบของใกล้ตัวมากู้วิกฤตกันก่อน

http://pics.manager.co.th/Images/554000013845902.JPEG

อีกหนึ่งแนวคิด “ต้องรอด” กู้วิกฤตยามฉุกเฉินจาก แฟนเพจ Design for Disasters ที่นำแนวคิดชาวญี่ปุ่นมาประดิษฐ์เป็น “ผ้าอนามัยยามฉุกเฉิน” ซึ่งมี

สิ่งที่ต้องเตรียม ได้แก่ เสื้อแขนยาว, กระดาษชำระหรือเศษผ้า, กรรไกร และเทปกาว

วิธีทำ

http://pics.manager.co.th/Images/554000013845903.JPEG

1.สละเสื้อแขนยาว 1 ตัว นำมาตัดแขนให้ยาว 15-20 เซนติเมตร (ความยาวปรับได้ตามความเหมาะสม)

http://pics.manager.co.th/Images/554000013845904.JPEG

2.ใช้กระดาษชำระหรือเศษผ้า ซ้อนให้หนาพอประมาณ แล้วสอดเข้าไปในแขนเสื้อที่ตัดออกมา
3.ใช้เทปสอดเข้าไปใต้เศษผ้า โดยให้ยื่นเทปยาวส่วนหนึ่งออกมาเพื่อแปะกับกางเกงชั้นใน

เมื่อใช้งานแล้วสามารถนำแขนเสื้อไปซักทำความสะอาด และเปลี่ยนกระดาษชำระหรือเศษผ้าได้

ขอบคุณแนวคิดดีๆเพื่อผู้ประสบภัยจากแฟนเพจ Design for Disasters




จาก .................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 13 ตุลาคม 2554


สายน้ำ 14-10-2011 07:07


ขับอย่างไรเมื่อน้ำท่วม

ขณะนี้ประเทศไทยของเรากำลังประสบปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัด สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการขนย้ายข้าวของและการส่งสิ่งของไปบรรเทาความเดือนร้อน ใครที่ต้องขับรถขณะสถานการณ์แบบนี้ไม่ใช่เรื่องน่าปวดหัว แต่หากหลายท่านไม่รู้จะทำอย่างไร การเตรียมตัวรับมือกับสายฝนและน้ำท่วมนั้นเพียงแต่ผู้ขับขี่ เพิ่มความรอบคอบ และวินัยในการขับมากขึ้น รวมทั้งเทคนิคที่เรานำมาฝากกัน

http://pics.manager.co.th/Images/554000013713601.JPEG


**การขับรถเมื่อฝนตกหรือถนนลื่น**

จำเป็นต้องระวังเป็นอย่างมากขณะฝนตกใหม่ๆ ถนนจะลื่นมาก เพราะน้ำฝนฝุ่นโคลน จะรวมกันกลายเป็นฟิล์มรองรับระหว่างยางกับพื้นถนนรถจะเกิดการลื่นเสียหลัก เมื่อวิ่งผ่านหากขับรถฝ่าสายฝนต้องลดความเร็วลงให้มากกว่าปกติ ควรใช้เกียร์ต่ำกว่าปกติ1 เกียร์จะทำให้รถเกาะจับถนนไดดีขึ้นขณะขับรถให้เปิดไฟหรี่หรือไฟใหม่ตามแต่ สถานการณ์ การเปิดไฟจะช่วยให้รถคันอื่นมองเห็นเราควรหลีกเลี่ยงการเบรกอย่างรุนแรงและ กะทันหักจะทำให้รถลื่นไถลหรือหมุนกลางถนนได้ถ้ารถเริ่มเสียหลักให้ผู้ขับขี่ ถอนคันเร่งจะทำให้รถเกาะขับถนนได้ดีรถวิ่งผ่านแอ่งน้ำ ให้ยกเท้าออกจากคันเร่งโดยทันที อย่าเบรกอย่าหักพวงมาลัย จับพวงมาลัยให้แน่นเมื่อรถลดความเร็วลงหรือผ่านแอ่งน้ำไปแล้ว รถก็จะเริ่มจับเกาะถนนได้และก็สามารถควบคุมได้


*การขับระดับน้ำท่วมผิวถนน**

คือระดับความลึกของน้ำประมาณไม่เกิน 6 นิ้ว ไม่มีผลต่อรถของเราส่วนที่จมน้ำจึงมีเพียงลูกหมากและบูชยางของระบบรองรับและ ระบบบังคับเลี้ยวเท่านั้นชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้แช่น้ำชั่วคราวได้ โดยไม่เกิดความเสียหายสิ่งสำคัญที่สุด คือ การรักษาระดับความเร็วของรถโดยขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้น้ำที่ถูกล้อรถ รีดด้วยความเร็วจะทะลักพุ่งออกมาทางด้านข้างอย่างแรงฉีดไปที่ห้องเครื่อง ยนต์ อาจทำให้กระแสไฟจุดระดับลัดวงจร และเครื่องดับหรือไม่ก็ฉีดไปบนห้องเกียร์และเล็ดลอดเข้าไปภายในทำให้น้ำมัน เกียร์เสื่อมสภาพได้

http://pics.manager.co.th/Images/554000013713602.JPEG


**การขับระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถ**

ระดับนี้อาจจะมีน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวขณะขับรถจะได้ยินเสียงน้ำกระทบท้องรถค่อนข้างดังควรขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงการตกหลุมที่มองไม่เห็นโดยสังเกตจากรถคันหน้าและพยายามจำแนวไว้ ความลึกระดับนี้จานเบรกจะจมอยู่ในน้ำตลอดเวลา รถที่ใช้ดรัมเบรกประสิทธิภาพการทำงานจะลดลงอย่างมาก หากพ้นช่วงน้ำท่วมจะต้องทดสอบเบรกทันทีโดยการเบรกและเร่งความเร็วสลับกันไป เพื่อให้ผ้าเบรกรีดน้ำจากจานเบรกและเพื่อให้จากเบรก หรือดุมเบรกร้อนจนน้ำระเหยเป็นไอหมด


**การขับระดับน้ำท่วมเลยท้องรถ**

ไม่ว่าจะขับช้าเพียงใดน้ำก็อาจจะทะลักท่วมห้องเกียร์และเฟืองท้าย (รถขับเคลื่อนล้อหลัง)ผสมกับน้ำมันเกียร์ และน้ำมันเฟืองท้าย ทำให้เสื่อมสภาพฟันเฟืองต่างๆภายในจะสึกหรออย่างรวดเร็วเนื่องจากน้ำใต้ท้อง รถจะแทรกซึมเข้ามาทางจุกยางหลายจุดจากพื้นรถพรมและฉนวนกันเสียงจะชุ่ม หากเจ้าของรถไม่รีบรื้อเก้าอี้และถอดออกมาผึ่งแดดรถบางรุ่นจะมีศูนย์ควบคุม ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E C U)อยู่ใต้เก้าอี้ซึ่งชิ้นส่วนนี้มีราคาสูงมาก หากความชื้นเล็ดลอยเข้าไปจะชำรุดภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่วนด้านหน้ารถก็เกิดความเสียหายไม่น้อยเช่น ใบพัดของพัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำ ซึ่งอยู่ด้านหลังของหม้อน้ำจะดูดน้ำจากด้านหน้าใบพัดซึ่งทำจากพลาสติก จึงงอไปทางด้านหน้าครูดกับรังผึ้งหม้อน้ำจนหัก น้ำซึ่งถูกกันชนหน้ารถดันจน สูงอาจทะลักเข้าทางขั้วของโคมไฟหน้ากลายเป็นไอน้ำสะสมอยู่ภายในและจะทำลาย ผนังโคมที่ฉาบปรอทไว้ซึ่งจะทำให้หลุดล่อนในเวลาไม่นาน

http://pics.manager.co.th/Images/554000013713603.JPEG


**ระดับน้ำท่วมจนถึงไฟหน้า**

ถือว่าระดับน้ำที่อันตรายที่สุดหากขับหรือจอดอยู่นานน้ำ ท่วมภายในห้องโดยสารจนถึงเบาะนั่งห้องเกียร์และเฟืองท้ายจะถูกท่วมมิด หากเครื่องยนต์ไม่ดับไปเสียก่อนเนื่องจากระบบจุดระเบิดขัดข้องและผู้ขับยัง ฝืนขับด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (โดยเฉพาะรถเครื่องยนต์ดีเซลจึงไม่ต้องอาศัยกระแสไฟจุดระเบิด)น้ำจะทะลักเข้า ทางท่อดูดอากาศ ผ่านไส้กรองอากาศ ท่อไอดีและเข้าไปในกระบอกสูบลูกสูบที่กำลังเคลื่อนที่ขึ้นอย่างรวดเร็วจะ กระแทกกับปริมาตรน้ำอย่างรุนแรง(ไฮดรอลิกลอค) จนลูกสูบและก้านสูบชำรุดทันที

สรุปว่าระดับน้ำที่เรายังใช้งานได้โดยไม่เกิดความเสียหาย คือ ระดับน้ำท่วมผิวถนนและระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวเท่านั้น วิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องเมื่อต้องเผชิญกับถนนที่มีน้ำท่วมลึกจำเป็นต้องหลีก เลี่ยง โดยกลับรถเพื่อเปลี่ยนเส้นทางหรือหาที่จอดรถซึ่งน้ำท่วมไม่ถึงไว้ก่อนแทนเป็นการประหยัดค่าซ่อมรถได้มากทีเดียว

หากมีปัญหาความนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟือง ท้ายหลังจากลุยน้ำลึกมาทุกครั้งและให้เจ้าหน้าที่บริการถอดเก้าอี้และตรวจด้านล่างของพรมปูพื้นว่ามีน้ำรั่วเข้าถึงหรือไม่ รถที่ลุยน้ำลึกมาแล้วหากถึงที่หมายหรือรถพ้นน้ำห้ามดึงเบรกมือทิ้งไว้เด็ดขาดเพราะเมื่อน้ำแห้ง ผ้าเบรกจะยึดกับจานเบรกจะทำให้เกิดสนิมจนไม่สามารถเคลื่อนรถออกไปได้

: ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก : บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด




จาก .................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 13 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 14-10-2011 07:11


มาดู"ทางด่วนน้ำบายพาส" ทริคเก๋กู๊ดเลี่ยงน้ำท่วมจากเยอรมัน (เผื่อไทยเราจะนำไปใช้บ้าง...)

ในเฟซบุ๊กของ Geranun Giraboonyanon ได้มีการเผยแพร่ "ทางด่วนน้ำบายพาส" จาก สะพานน้ำ อควาดัค ที่ประเทศเยอรมัน เขาใช้ในการระบายน้ำเป็นเหมือนทางเลี่ยงเพื่อผลักดันมวลน้ำส่วนเกินให้พ้นทะเล ออกไปซึ่งประเทศไทยอาจสามารถนำมาประยุกต์ในการรับมือน้ำท่วมในครั้งต่อไปได้ โดยเขาระบุข้อความ รวมถึงโพสต์รูปภาพไว้ดังนี้

http://www.matichon.co.th/online/201...318474812l.jpg

"สะพานน้ำ อควาดัค ถ้าประยุกต์เอาวิธีนี้มาใช้ จะทำสะพานถ่ายน้ำ ยกน้ำบายพาส ข้ามอยุธยา ข้าม กทม.ไปลงทะเลได้อย่างรวดเร็วโดยตรง หรือจะถ่ายน้ำจากเขื่อนได้โดยไม่เดือดร้อนชาวบ้านได้อย่างสบายๆ (น่าจะประยุกต์ติดตั้งระบบดันน้ำเสริมได้ด้วย)

http://www.matichon.co.th/online/201...318474786l.jpg

ในภาพจากในเยอรมันเขาทำขึ้นใหม่ ความกว้างขนาดใช้เรือขนสิ่งทางน้ำได้ด้วย กลายเป็นเส้นทางขนส่งในยามปกติ และสะพานถ่ายน้ำจากเหนือลงทะเลสบาย เนื่องจากความชัน-ลาดเอียงระหว่างเชียงใหม่ นครสรรค์ ถึงกรุงเทพ อยู่ระดับ 30- 45 องศา

http://www.matichon.co.th/online/201...318474795l.jpg

ก็เหมือนทางด่วนของน้ำแหละครับ สะพานถ่ายน้ำบายพาสผ่านแนวแก้มลิงเดิมก็ได้กันพลาด ทำหลายเส้นก็ได้ ลัดน้ำออกทะเลไปเลยตรงๆ

ต้นแบบในเยอรมัน ในยุโรปมีตัวอย่าง น่าจะประยุกต์เอาแบบมาทำได้"




จาก ..................... มติชน วันที่ 13 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 15-10-2011 07:25

3 Attachment(s)

คู่มือเผชิญน้ำท่วม รับมือวิกฤติน้ำ (1) ................................จาก ไทยรัฐ วันที่ 15 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 15-10-2011 07:27

3 Attachment(s)

คู่มือเผชิญน้ำท่วม รับมือวิกฤติน้ำ (2) ............................. จาก ไทยรัฐ วันที่ 15 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 16-10-2011 08:16


รวมเทคนิค กู้ภัยน้ำท่วมรถน้ำเข้ารถ

http://www.komchadluek.net/media/img...aie5f7k9df.jpg

เป็นเรื่องหนาสาหัสสากรรจ์สำหรับผู้ใช้รถ ที่อยู่ๆก็เจอกับภัยธรรมชาติ จนน้ำท่วมรถมิดคัน อย่างไรก็ตาม ยังพอมีทางออกที่จะทำให้เสียเงินน้อยหน่อยในการกู้คืนรถต่างๆ ลองพิจารณาขั้นตอนต่อไปนี้สำหรับการสู้ภัยน้ำท่วม


การกู้รถกรณีน้ำเข้ารถขณะจอด(ดับเครื่อง)

- ลากจูงจนรถพ้นน้ำ ห้ามสตาร์ทเครื่องยนต์เด็ดขาด
- เปิดหรือคลายน็อตอ่างน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ เฟืองท้ายและที่ถังน้ำมันเชื้อเพลิง
- คลายน็อตเดรนน้ำมันพอหลวม ให้น้ำที่ขังอยู่ไหลออกมาจนหมดแล้วปิดน็อต
- ถอดหัวเทียน ถอดหัวฉีด
- กรณีรถใช้ก๊าซ ปิดการใช้งานระบบก๊าซให้หมด ให้เหลือระบบน้ำมันอย่างเดียว
- หมุนเครื่องด้วยมือเปล่า 2-3 รอบเพื่อไล่น้ำออกจากห้องเผาไหม้
- ปล่อยชิ้นส่วนต่างๆไว้ให้แห้งโดยการตากแดดหรือเปล่าลมร้อน
- ถอดแบตเตอรี่ออกตรวจเช็กปริมาณไฟที่มีอยู่ว่ามากพอที่จะสตาร์ทเครื่องได้ไหมถ้าไฟหมดส่งเข้าร้านชาร์จไฟ
- ตรวจสอบ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวกับการจุดระเบิด
- ถอดปลั๊ก สมองกล ECU อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกระบบ
- แกะซีลสมองกล ECU ออกแม้ มีระบบกันน้ำอยู่แล้วก็ตามเพื่อทำให้แห้ง
- ตากแดดหรือเป่าด้วยลมร้อน (จากไดร์เป่าผม) จนแห้งสนิท ชิ้นส่วนต่างๆที่เกี่ยวกับไฟฟ้าทุกตัวไม่เว้นแม้สมองเครื่อง
- ตรวจปลั๊กทุกตัวในห้องเครื่อง เมื่อพบให้ถอดออกเช็กและเป่าให้แห้ง
- ตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ออโต้
- เมื่อทุกอย่างแห้งและไม่ชิ้นให้ใส่แบตฯ เปิดสวิทช์ไฟเพื่อตรวจดูแผงไฟบนหน้าปัด
- ประกอบชิ้นส่วนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ทดลองติดเครื่องยนต์ (อาจจะต้องสตาร์ทหลายครั้ง)
- หากพบว่า เครื่องเดินไม่เรียบ ไม่ต้องแตะคันเร่ง ไม่ต้องเปิดแอร์ อุ่นเครื่องไล่ความชื้นที่หลงเหลือ
- สังเกตอาการเครื่องเมื่ออุณหภูมิพร้อมทำงาน(เครื่องปกติจะกลับมาเดินเรียบ)
- ถอดอุปกรณ์ในรถ เบาะนั่ง พรมปูพื้น ออกตากแดด
- ตรวจดูความเปียกชื้นบนพื้นรถ หากพบทำให้แห้ง
- ตรวจระบบไฟส่องสว่างไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเบรก ไฟเลี้ยว ที่ปัดน้ำฝน (ถ้าเสียซ่อมเป็นกรณีไป)
- ลองเข้าเกียร์ทุกตำแหน่ง(โดยไม่ต้องออกรถ)
- หากทุกเกียร์ตอบสนอง แสดงว่ารถพร้อมทำงาน ลองขับเคลื่อน ด้วยเกียร์ต่ำ ระยะหนึ่ง(สั้นๆ)
- หากอาการ รถวิ่งได้ แต่วิ่งไม่ออก อาจต้องนำรถเข้าตรวจที่อู่ อีกครั้ง


กรณีดับกลางน้ำ(น้ำเข้าเครื่อง)

ในกรณีที่ขับรถไปแล้วรถเกิดตกน้ำจมน้ำ เรื่องค่าใช้จ่ายการกู้คืนรถจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเกี่ยวกับเครื่องยนต์และเกียร์
- เมื่อน้ำเข้าเครื่อง จะเกิดความเสียหาย ตั้งแต่ฝาสูบ วาล์ว ลูกสูบก้านสูบ
- เกียร์ออโต้ ต้องทำการถ่ายน้ำออกจากห้องเกียร์ ไม่พยายามทำให้เกียร์หมุน(ก่อนเดรนน้ำออก)




จาก .................... คม ชัด ลึก วันที่ 16 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 17-10-2011 06:27


“รถยนต์ประสบอุทกภัย” บริษัทประกันชดเชยอย่างไร?!

http://www.dailynews.co.th/content/i...er/p4thurl.jpg

สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปี 2554 นี้นับเป็นครั้งที่รุนแรงและหนักที่สุดในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนจนทำให้หลายคนเครียดจัด แต่สิ่งหนึ่งที่จะสามารถช่วยเหลือและบรรเทาความเสียหายได้นั่นก็คือ การประกันภัยที่ได้ทำไว้ให้กับทรัพย์สินต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “รถยนต์” ซึ่งหากต้องได้รับความเสียหายจากวิกฤติอุทกภัย ความครอบคลุมของประกันภัยจะชดเชยได้มากน้อยแค่ไหน...?!?

จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้ความรู้ว่า สำนักงาน คปภ.มีความห่วงใยผู้ประสบอุทกภัยเป็นอย่างยิ่ง จึงเร่งให้บริษัทประกันภัยสำรวจความเสียหายเพื่อจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยได้ทันทีหลังน้ำลด โดยสถิติความสูญเสียทรัพย์สินด้านการประกันภัยจากความเสียหายสถานการณ์น้ำท่วมเบื้องต้นแบ่งเป็นความเสียหายต่อรถยนต์มีจำนวน 818 คัน คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 53,199,744.30 บาท จ่ายเต็มจำนวนเงินที่เอาประกันภัยแล้ว 1,878,388.60 บาท ซ่อมแซมรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายคิดเป็นมูลค่าเงินที่เอาประกันภัย 5,826,981.08 บาท อย่างไรก็ตามสถานการณ์น้ำท่วมยังไม่คลี่คลาย บริษัทประกันจึงไม่สามารถเข้าไปประเมินความเสียหายได้ทั้งหมด ต้องรอสรุปตัวเลขหลังน้ำลดต่อไป

ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จะได้รับความคุ้มครองจากประกันภัย แบ่งเป็นประเภท การประกันภัยเกี่ยวกับบุคคล คือ
1. การประกันชีวิต คุ้มครองการเสียชีวิตทุกกรณี (รวมถึงการเสียชีวิตจากภัยน้ำท่วม)
2. การประกันภัยอุบัติเหตุ ส่วนบุคคล คุ้มครองกรณีเสียชีวิตเนื่องจากการจมน้ำหรือถูกน้ำซัดจมหายไป
3. การประกันสุขภาพ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยจากเหตุการณ์น้ำท่วม

สำหรับ การประกันภัยเกี่ยวกับทรัพย์สิน (บ้าน ที่อยู่อาศัย สถานประกอบการ) คือ
1. การประกันภัย คุ้มครองผู้ที่ได้ทำประกันอัคคีภัย และ ’ต้องซื้อภัยคุ้มครองภัยน้ำท่วมเพิ่มเติมไว้“
2. การประกันความเสี่ยงทรัพย์สิน คุ้มครองผู้ที่ได้ทำประกันภัยความเสียหายทรัพย์สิน ซึ่งให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันอันเกิดจากภัยต่างๆ รวมถึงน้ำท่วมด้วย
3. การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก คุ้มครองกรณีผู้ประกอบการต้องการปิดกิจการและขาดรายได้จากภัยน้ำท่วมด้วย

ส่วนการประกันภัยรถยนต์ คือ
1. การประกันรถยนต์ คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นหากเสียหายบางส่วนจะได้รับการชดเชยค่าเสียหายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย หากรถยนต์เสียหายจนไม่สามารถซ่อมได้หรือความเสียหายที่มีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่ร้อยละ 70 ของมูลค่ารถยนต์ บริษัทประกันจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้
2. การประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่น (นอกจากประเภท 1) คุ้มครองสำหรับรถที่ประกันภัยภาคสมัครใจและได้มีการซื้อประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้ด้วยก็จะได้รับความคุ้มครองเพิ่มในส่วนนี้ตามจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้
3. การประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) คุ้มครองในกรณีที่มีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บขณะที่ได้รับบาดเจ็บขณะที่ขับขี่หรือโดยสารในรถนั้นเบื้องต้นจะได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยตาม พ.ร.บ.เป็นค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท กรณีเสียชีวิตได้รับ 35,000 บาท

ทั้งนี้ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ให้คำแนะนำแก่ผู้เสียหายที่เป็นเจ้าของรถยนต์ที่ประสบภัยน้ำท่วมว่า ข้อควรปฏิบัติกรณีที่รถยนต์ได้รับความเสียหาย คือหลังจากน้ำลดผู้เป็นเจ้าของรถควรแจ้งความเสียหายต่อบริษัทประกันทราบโดยเร็ว แสดงรายละเอียดของเอกสาร หลักฐาน ที่สำคัญ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แก่บริษัทประกันภัยเพื่อดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (ในกรณีที่เอกสารทำการประกันภัยหรือกรมธรรม์ประกันภัยสูญหายขณะน้ำท่วม สามารถประสานสำนักงาน คปภ.จังหวัดได้ทันที) และนำรถเข้าศูนย์โดยรถยกให้เร็วที่สุด

ที่สำคัญข้อห้ามสำหรับเจ้าของรถเพื่อไม่ให้รถได้รับความเสียหายมากยิ่งขึ้น คือ อย่าสตาร์ตรถยนต์ในทันที ควรเปิดฝากระโปรงรถเพื่อสำรวจให้มั่นใจว่าไม่มีเศษอะไรมาติดอยู่ในตัวเครื่อง รวมถึงตรวจเช็กชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆในตัวถัง พร้อมทั้งสายไฟในบริเวณต่างๆ ว่ายังอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ หากไม่มั่นใจให้นำรถเข้าศูนย์โดยรถยกให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันความเสียหายที่ไม่คาดคิด และอย่าพ่วงไฟควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีระบบไฟฟ้าลัดวงจรที่จะก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบเครื่องยนต์และระบบไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

นอกจากนี้ทางสำนักงาน คปภ.ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือด้านการประกันภัยให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ โดยให้บริการรับแจ้งเหตุและให้คำปรึกษาด้านการประกันภัยรวมถึงการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือเจ้าของรถที่ได้รับความเสียหายในการให้บริการรถลาก ซ่อมรถยนต์และการตรวจสภาพรถที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมฟรี ดังนั้นผู้ประสบภัยที่เป็นเจ้าของรถสามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือด้านการประกันภัย ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ทุกวันจันทร์-ศุกร์ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186

ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้งโดยที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถบรรเทาความเสียหายและความเดือดร้อนทางด้านการเงินได้ด้วยการทำประกันภัย แต่สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดคือก่อนซื้อประกันภัยควรพิจารณาเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัยให้เหมาะสมตรงกับความต้องการของตัวเอง รวมทั้งตรวจสอบใบอนุญาตตัวแทนหรือนายหน้าจากนายทะเบียนเท่านั้น ที่สำคัญอย่าลืมตรวจสอบเอกสารการชำระเบี้ยประกันภัยทุกครั้งเพื่อรักษาและคงไว้ซึ่งประโยชน์ของตัวเอง.

.............................



วิธีดูแลรถหลังประสบภัยน้ำท่วม

อาจารย์รักชาติ แสงวงศ์ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์และหัวหน้าศูนย์บริการยานยนต์ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความรู้ในการดูแลรักษารถยนต์ที่ผ่านการจมน้ำว่า การสำรวจรถยนต์ที่ผ่านการจมน้ำต้องตรวจดูสภาพโดยรวมว่ามีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน จากนั้น ควรเปิดฝากระโปรงรถเพื่อปลดขั้วแบตเตอรี่ออกเพื่อตัดระบบการจ่ายไฟ ที่สำคัญไม่ควรสตาร์ตรถ เพื่อลองเครื่องยนต์เนื่องจากระบบกลไกในรถยนต์รุ่นปัจจุบันมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสมองกล ซึ่งระบบเหล่านี้จมน้ำเพียง 5 นาทีก็เกิดความเสียหายได้ ทั้งนี้หากจมน้ำ 1-2 วัน ระบบดังกล่าวอาจเป็นสนิมทำให้ระบบการทำงานเสียหายมาก และที่สำคัญต้องตรวจดูว่าเครื่องยนต์เสียหายมากน้อยแค่ไหน จากนั้น ให้ทำการเป่าหรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้น เพราะในจังหวะที่เราดับเครื่อง กระบอกสูบบางกระบอกยังทำงานอยู่อาจทำให้น้ำเข้าได้ และควรถ่ายน้ำมันทุกชนิดที่อยู่ในรถออกทันที เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรก น้ำมันคลัตช์ ฯลฯ เพราะน้ำที่ปนกับน้ำมันจะทำให้เกิดสนิม

สำหรับรถยนต์ที่ผ่านการจมน้ำมาควรซ่อมแซมหรือขายทิ้ง อาจารย์รักชาติ แนะนำว่าต้องเอารถไปประเมินสภาพก่อนว่ามีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน คุ้มค่าหรือไม่ที่จะนำไปใช้ต่อ โดยปกติค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่เสียหายจากการจมน้ำมีมูลค่าต่อคันอยู่ที่ประมาณ 300,000 บาท เพราะทุกอย่างเสียหายหมดเหลือแต่โครงรถกับเครื่องยนต์ ซึ่งต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ ส่วนเครื่องยนต์ก็ต้องผ่าดูอีกว่ามีน้ำขังอยู่ข้างในหรือเปล่า ถึงแม้จะเสียเงินซ่อมแล้ว สภาพก็ไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม เพราะมีอุปกรณ์บางตัวที่ติดอยู่กับรถซึ่งไม่สามารถถอดออกมาเปลี่ยนได้ หากต้องการส่งซ่อมควรใช้บริการศูนย์ของรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ หรือส่งซ่อมที่อู่รถที่ได้มาตรฐาน มีผู้เชี่ยวชาญดูแล สำหรับรถยนต์ที่มีประกันชั้นหนึ่ง บริษัทประกันจะรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด โดยบริษัทจะสำรวจว่ามีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน แต่ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันด้วย

ส่วนข้อควรระวังในการซื้อรถยนต์มือสองหลังเกิดเหตุอุทกภัย เพื่อป้องกันการหลอกขายรถยนต์ที่เคยจมน้ำมา คือก่อนตัดสินใจซื้อรถต้องสำรวจดูสภาพโดยรวมก่อน เช่น รถที่ผ่านการจมน้ำเมื่อเปิดประตูเข้าไปจะได้กลิ่นอับ แม้จะซ่อมดีแค่ไหนแต่กลิ่นก็ไม่หาย เพราะน้ำท่วมไม่ใช่น้ำสะอาดต้องใช้เวลานานในการดับกลิ่น และผู้ซื้อควรตรวจสอบระบบจ่ายไฟว่ามีความขัดข้องหรือไม่ แม้จะซ่อมดีแค่ไหน หากรถยนต์ผ่านการจมน้ำมาระบบจะมีข้อบกพร่อง และจุดเด่นที่ต้องสังเกตคือ นอต ที่ใช้ขันเครื่องยนต์ ควรสำรวจดูว่ามีร่องรอยการรื้อหรือเป็นสนิมเพราะผ่านการจมน้ำมาหรือไม่




จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 17 ตุลาคม 2554


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 03:53

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger