SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 11 กรกฏาคม 2563 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5214)

สายน้ำ 11-07-2020 04:08

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 11 กรกฏาคม 2563
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนน้อยในระยะนี้ ส่วนภาคใต้มีกระแสลมตะวันออกระดับสูงพัดเข้ามาปกคลุม ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 10 - 11 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนน้อย ส่วนภาคใต้ยังคงมีต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องมีลมตะวันออก ในระดับสูงพัดเข้ามาปกคลุมภาคใต้

ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 16 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกลังแรงขึ้นเล็กน้อย ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 12 - 16 ก.ค. 63 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก



https://lh3.googleusercontent.com/WV...-no?authuser=0


https://lh3.googleusercontent.com/Xv...-no?authuser=0


https://lh3.googleusercontent.com/PU...-no?authuser=0


https://lh3.googleusercontent.com/YC...-no?authuser=0

สายน้ำ 11-07-2020 04:54

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ค้นพบสายพันธุ์ใหม่ของอิกทิโอซอร์

https://lh3.googleusercontent.com/CD...-no?authuser=0
Credit : McGill University

หลายครั้งที่การค้นพบสัตว์ยุคโบราณ แปลกประหลาดสายพันธุ์ใหม่ๆ อาจไม่ได้มาจากการลงขุดค้นทางภาคสนามในแหล่งโบราณคดี หรือพื้นที่ทับถมของบรรดาซากดึกดำบรรพ์หรือ ฟอสซิล แต่อาจมาจากการศึกษาซากหลักฐานที่ขุดค้นพบมานานและถูกเก็บเป็นสมบัติในพิพิธภัณฑ์แล้วถูกนำมาศึกษาวิจัยใหม่

อย่างกรณีของสัตว์ในวงศ์อิกทิโอซอร์ (Ichthyosaur) หรือฉายา ?กิ้งก่าปลา? กลุ่มสัตว์เลื้อยคลานอาศัยอยู่ในทะเลยุคมีโซโซอิก (Mesozoic) เมื่อเร็วๆนี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม็คกิลล์ ในแคนาดา และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งสตุตการ์ต ในเยอรมนี เผยว่า จากการศึกษาซากฟอสซิลอิกทิโอซอร์ที่ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ในต้นศตวรรษที่ 19 และนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ Werkforum & Fossilienmuseum เมืองดอทเทิร์นเฮาเซน ในเยอรมนี เมื่อนำมาศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยเปรียบเทียบกับซากฟอสซิลตัวอย่างทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ Hauffiopteryx typicus ซึ่งเป็นสายพันธุ์อิกทิโอซอร์ขนาดเล็กยาว 2 เมตร ค้นพบครั้งแรกเมื่อ 90 ปีก่อน

ทีมวิจัยพบว่า ซากฟอสซิลทั้ง 2 ชนิด มีความแตกต่างกัน และสามารถระบุได้ว่า ซากอิกทิโอซอร์ที่นำมาศึกษาใหม่นี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่า Hauffiopteryx altera ซึ่งจะช่วยไขปริศนาความเข้าใจถึงวิวัฒนาการสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลและการสร้างความหลากหลายของระบบนิเวศทางทะเลยุคจูราสสิก.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1885779


สายน้ำ 11-07-2020 04:56

ขอบคุณข่าวจาก PPTV


อุตุนิยมวิทยาโลกเตือนโลกยังร้อนขึ้นได้อีกใน 5 ปีข้างหน้า

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO หน่วยงานในสังกัดองค์การสหประชาชาติ คาดว่าอุณหภูมิทั่วโลกจะยังเพิ่มสูงขึ้นต่อไปในช่วง 5 ปีข้างหน้า และอาจเพิ่มสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียสในบางช่วงเวลา เมื่อเทียบกับช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม

https://lh3.googleusercontent.com/p6...-no?authuser=0

นายเพตเตรี ทาลาส เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ระบุในแถลงการณ์วานนี้ (9 ก.ค.) ว่า แนวโน้มที่ว่าอุณหภูมิทั่วโลกจะสูงขึ้น ตอกย้ำถึงความท้าทายมหาศาลที่โลกต้องเผชิญในการบรรลุเป้าหมายตามข้อตกลงกรุงปารีส ปี 2015 ที่จะควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากพอที่จะควบคุมไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส จากระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม

นายทาลาสบอกว่า มีโอกาส 20 เปอร์เซ็นต์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยประจำปีจะเพิ่มสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ในปีใดปีหนึ่งระหว่างปีนี้จนถึงปี 2024 ขณะที่ในช่วงเวลาดังกล่าว มีแนวโน้มสูงที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างน้อย 1 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม

ในช่วง 5 ปี หลังจากนี้ ออสเตรเลียและตอนใต้ของแอฟริกา อาจแห้งแล้งกว่าปกติ ขณะที่ภูมิภาค ?ซาเฮล? หรือเขตรอยต่อกึ่งทะเลทราย บริเวณทะเลทรายซาฮาราที่แบ่งทวีปแอฟริกาเป็นเหนือและใต้ ตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกไปจนทะเลแดง จะมีฝนตกมากขึ้น เช่นเดียวกับยุโรปที่จะเผชิญพายุมากขึ้น

การคาดการณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามล่าสุดขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกที่จะพยากรณ์อุณหภูมิ ปริมาณฝน และรูปแบบกระแสลม ในช่วงเวลาที่สั้นขึ้น เพื่อช่วยให้ประเทศต่างๆ ติดตามได้ว่าภาวะโลกร้อนจะส่งผลกระทบต่อรูปแบบสภาพอากาศอย่างไรบ้าง

ทั้งนี้ นายทาลาสเตือนด้วยว่า แม้ว่าการปิดเมืองเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 จะทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลกลดลง 4 ถึง 7 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็จะมีผลแค่ในระยะสั้นเท่านั้น


https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8...0%B8%99/129112



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:01

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger