SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   กรุงเทพฯจะ จมน้ำ (2) (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=140)

สายน้ำ 19-06-2009 07:27

กรุงเทพฯจะ จมน้ำ (2)
 

อ่านบทความเก่าๆได้ที่ http://www.saveoursea.net/boardapr20...hp?topic=522.0


สายน้ำ 19-06-2009 07:34


เตรียมรับมือ กรุงเทพฯจมน้ำ รอ 10 ปีก็สายเสียแล้ว

http://www.matichon.co.th/news-photo...01190652p1.jpg


จากคำทำนายในแง่โหราศาสตร์ที่ฟอร์เวิร์ดเมลกันว่อนในเวลานี้ ว่าปี 2553 น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่หนักยิ่งกว่าครั้งใดๆ

ประกอบกับมีข้อมูลทางวิชาการออกมาว่าปัญหาภาวะโลกร้อน เป็นสาเหตุที่ทำให้สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลง จนมีผลกระทบจะทำให้เกิดน้ำท่วมโลก พื้นดินหลายแห่งจะจมอยู่ใต้น้ำ รวมทั้งกรุงเทพมหานครของประเทศไทยด้วย

ได้กลายมาเป็นประเด็นร้อนที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลแก่ประชากรโลก โดยเฉพาะ "คนกรุงเทพฯ" และปริมณฑล

"เพราะหากเป็นเช่นนั้นจริง แน่นอนว่านอกจากความเสียหายใหญ่หลวงทางเศรษฐกิจที่รออยู่เบื้องหน้าแล้ว สุขภาพจิตของคนไทยคงต้องอยู่ในสถานการณ์อันตรายยิ่ง!"

จะเป็นเช่นที่กล่าวหรือไม่- -มีคำอธิบายจาก "ดร.เสรี ศุภราทิตย์" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้ศึกษาวิจัยประเด็นนี้เสร็จหมาดๆ แล้วส่งเปเปอร์ให้กับธนาคารโลก (World Bank) ในฐานะเจ้าของเงินทุนการวิจัยไปเมื่อเดือนมีนาคม 2552 นี้เอง

ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เล่าความเป็นมาก่อนว่า ได้ใช้เวลาในการศึกษาเรื่องนี้ 2 ปี โดยศึกษาเฉพาะกรณีของประเทศไทย เหตุเพราะว่าธนาคารโลกสนใจเรื่องนี้มาก และศึกษามาอย่างต่อเนื่องจนได้ข้อมูลว่า 4 เมืองหลักในทวีปเอเชีย ได้แก่ เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย, เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม, เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และกรุงเทพฯ ประเทศไทย

http://www.matichon.co.th/news-photo...01190652p2.jpg
ภาพเปรียบเทียบชายฝั่งของเดิมและปัจจุบันที่ถูกน้ำท่วมเข้าไปลึกมากแล้ว

"อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะจมน้ำในปี พ.ศ.2563"

ดังนั้น จึงให้ทุนมาศึกษาวิจัยว่าความเสี่ยงมีมากขนาดไหน ประชาชนจะได้รับผลกระทบกี่ครอบครัว และความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจะเป็นมูลค่าเท่าไหร่

"วิธีการศึกษาผมได้ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ เป็นคอมพิวเตอร์ทั้งหมด สร้างเมืองกรุงเทพฯจำลองขึ้นมา ซึ่งกรุงเทพฯ ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองต่างๆ ระดับความสูงของพื้นดิน ระดับน้ำทะเลบริเวณเขตบางขุนเทียน จากนั้นใส่ปริมาณน้ำเหนือ น้ำหนุน และปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ใส่ข้อมูลต่างๆ ลงไปให้ครบ และใช้เหตุการณ์น้ำท่วมปี 2538 เป็นฐาน.."

"ผล.. เราพบว่าถ้าเหตุการณ์อย่างปี 2538 เกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง อนาคตเราหนีไม่พ้นแน่ กรุงเทพฯรับไม่ได้กับเหตุการณ์นี้ ต้องโดนน้ำท่วมหนัก"

คำว่า ""กรุงเทพฯรับไม่ได้กับเหตุการณ์นี้"" ของอาจารย์เสรีมีความหมายว่าผืนดินบริเวณริมทะเลทั้งหมด โดยวัดจากริมชายทะเลเข้าไปในแผ่นดินประมาณ 10 กิโลเมตร จะถูกน้ำท่วม "โดยมีระดับความสูงของน้ำ 1.8-2.00 เมตร"!!

http://www.matichon.co.th/news-photo...01190652p3.jpg
- ลักษณะของบ้านอนาคตประเทศไทยต้องมีใต้ถุนสูง ส่วนบ้านแพลอยน้ำเป็นของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ขณะนี้ได้ออกแบบเตรียมรับมือน้ำท่วมไว้แล้ว
- สภาพน้ำท่วมชายฝั่งด้านสมุทรปราการปัจจุบัน


""เราพบว่าพื้นที่กรุงเทพฯ จะถูกน้ำท่วมรุนแรง แน่นอนว่าขึ้นอยู่กับว่าจะติดกับชายฝั่งขนาดไหน ถ้าอยู่ติดชายฝั่งระดับน้ำจะท่วมสูง 1.8-2.00 เมตร ถ้าลึกเข้าไปก็ลดหลั่นกันไป แต่ริมชายฝั่งอย่าง จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร บริเวณปากแม่น้ำจมแน่ๆ""

"สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือเหตุการณ์ปี 2538 น้ำเหนือมาหนักมาก มันไหลมา 4,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะที่กรุงเทพฯรับน้ำได้ 3,000 ลูกบาศก์เมตร เพราะฉะนั้นหากเกิดเหตุการณ์เช่นปี 2538 อีกครั้งเมื่อน้ำมาสี่พันกว่าลูกบาศก์เมตรเขาจำเป็นต้องผลักน้ำออกไปทางซ้ายและทางขวา ก่อนเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งหมายความว่าน้ำจะท่วมชนบทอย่างมโหฬาร พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม จะโดนหนักมาก แล้วมาทาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เขตหนองแขม และเขตลาดกระบัง กทม. ก็ไม่รอด.."

สำหรับสาเหตุที่น้ำท่วมกรุงเทพฯในปี 2563 จะหนักหนาสาหัสมาก ดร.เสรีบอกว่า ตัวการสำคัญ คือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะผังเมือง

"พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ว่างเปล่า ลดลงไปจากเดิมถึงครึ่งหนึ่ง"

"แต่ก่อนผมจำได้ว่ามีพื้นที่ว่างเปล่าหรือพื้นที่ชุ่มน้ำของ กทม. 1,500 ตร.กม. เป็นพื้นที่สีเขียวประมาณ 40% ปัจจุบันเหลือเพียง 20% เท่านั้น และขณะนี้เรากำลังสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ รุกล้ำไปในพื้นที่ชุ่มน้ำมาก เช่น สร้างหมู่บ้านจัดสรรขวางทางระบายน้ำ ซึ่งเป็นทางน้ำไหลลงทะเลไปทางทุ่งตะวันออก บริเวณหนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง บริเวณนี้หมู่บ้านเกิดขึ้นเยอะมาก รวมทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะฉะนั้นจึงเป็นปัญหา"

อาจารย์เสรีบอกว่า ภายในปี 2563 หากเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นและถ้ารัฐบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ได้ดำเนินการอะไร ไม่ได้สร้างคันดินที่จะกั้นน้ำไม่ให้ทะลุเข้ามา หรือการขุดลอกคลองระบายน้ำ ทำพื้นที่แก้มลิง หรือหาพื้นที่แก้มลิงเพิ่มเติม

"น้ำจะท่วมกรุงเทพฯแน่นอน" โดยมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 50,000 ล้านบาท"

ที่สำคัญหากรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่คิดหาวิธีป้องกัน หรือมีมาตรการใดๆ ออกมาอย่างชัดเจน คนกรุงเทพฯและปริมณฑลจะต้องเผชิญกับสภาพน้ำท่วมขังบ้านเรือนเป็นเวลา 1 เดือน

"โปรดเตรียมตัวเตรียมใจพร้อมที่จะเผชิญกับมัน!!!"



จาก : มติชน วันที่ 19 มิถุนายน 2552

สายชล 23-06-2009 12:52

:eek:.....



เตรียมตัว.....เตรียมใจ.....เตรียมรับน้ำท่วมกรุงเทพฯและปริมณฑลกันหรือยังคะ.....:rolleyes:




ถ้าเป็นไปตามที่ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ไว้....ก็อีกไม่นานเลยล่ะค่ะ.......:(

ตุ๊กแกผา 23-06-2009 13:37

ถ้าแถวบ้านติ๋วท่วม.........ฝั่งธนฯมิดแน่ๆเลยค่ะ

เพราะแถวบางซื่อเป็นที่ดอนกว่าฝั่งธนฯ.....ตอนที่ฝั่งธนท่วมหนักๆ บางซื่อยังไม่ท่วมเลย

แต่ก็ไม่ประมาทหรอกค่ะ.......แม่บอกว่าเตรียมการแล้ว5555

zoopod 23-06-2009 14:03

จริงๆมีหลายโครงการที่รัฐเตรียมงานไว้ครับ แบบเคยผ่านตามาบ้าง
แต่ต้องใช้เวลาเพราะเป็น Mega project ทั้งนั้น แต่เริ่มทำไปบ้างแล้ว
อย่างคลองระบายน้ำสุวรรณภูมิ และพวกประตูน้ำหลายที่ ใกล้ๆบ้านก็ประตูน้ำพระโขนง

อย่างที่ฮอลแลนด์ ประเทศนี้อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่เอาระบบทางวิศวกรรมมาจัดการปัญหาได้ดี

แฺ่ฮ่ แต่บ้านเราจะรอความหวังให้มีฮีโร่มาแก้ คงยากหน่อย ถ้าแก้ได้ก็แล้วไป ถ้าไม่แก้นี่ คนลำบากก็ประชาชน เต็มๆ
ขนาดซื้อบ้านใหม่ ยังซื้อแถวกรุงเทพฯด้านเหนือเลยครับ ไม่ต้องไปลุ้นอีกสิบปียี่สิบปีข้างหน้า ^^

สายชล 23-06-2009 14:43

มัวแต่ทะเลาะกันอยู่............น้ำจะท่วมหรือไม่ท่วม.............ทำไม่ทำ..............ทำอย่างนี้ดีกว่าอย่างโน้น.........ความคิดเธอฉันไม่สนับสนุน....และอีกสารพัดความขัดแย้ง.......:mad:


การจัดการดูแลป้องกันน้ำท่วมก็เลยไม่ค่อยจะขยับไปไหน....:(


ตอนนี้อยากจะสร้างเขื่อนป้องกันน้ำทะเลท่วมเมืองเหมือนเนเธอร์แลนด์บ้าง......เงินก็หายากขัดสนไปหมด จะไปเอาเงินจากที่ไหน มาทำโครงการใหญ่ยักษ์ขนาดนั้นได้ล่ะคะ...:rolleyes:


หนีไปสร้างบ้านทางด้านเหนือเมืองกรุง อย่านึกว่าจะพ้นนะคะ แถวๆนั้นน่ะตัวดี เป็นที่ระบายน้ำ ถ้ามีน้ำเหนือหลากมาเสริม ก็คงได้พายเรือเข้าบ้านกันสนุกสนาน.....:o

zoopod 23-06-2009 14:55

ถ้ารัก(หรือจำเป็น?) จะอยู่เมืองกรุงฯแบบใ้ห้บ้านพ้นน้ำ

สงสัยต้องหาอยู่คอนโดล่ะครับ:d

ดอกปีบ 23-06-2009 15:33

อ่านเเล้วเครียดครับ ..

10 ปี ถ้าเริ่มต้นทำตั้งแต่วันนี้ น่าจะยังทัน
แต่เห็นในสภาแล้วก็ปลง มัวแต่ทะเลาะกันอยู่จริงๆอย่างพี่น้อยว่า ..
ถ้าน้ำท่วม คนในสภาคงย้ายบ้านหนีไปหมด ชาวบ้านตาดำๆเท่านั้นที่จะเดือดร้อน ..

สายน้ำ 20-08-2009 07:37


กทม.วอนคนเมืองกรุงอย่าตระหนกสถานการณ์น้ำท่วมจากสภาวะโลกร้อน ยืนยันมีความพร้อมรับมือได้

http://www.matichon.co.th/online/200...250675222l.jpg

" ประกอบ จิรกิติ" รองผู้ว่าฯกทม. ชี้เหตุการณ์น้ำท่วมจากสภาวะโลกร้อนยังไม่เกิดขึ้นเร็วๆนี้ ยันถ้าน้ำสูงมีมาตรการรับมือ ระบุถ้าจะเพิ่มความสูงของเขื่อนหรือระบายน้ำออกทะเล ต้องคำนึงถึงผู้ได้รับผลกระทบด้วย

นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวถึงกรณีที่นายพิจิตต รัตตกุล ผู้อำนวยการบริหารศูนย์เตรียมความพร้อมภัยพิบัติแห่งเอเชีย และอดีตผู้ว่าฯกทม. มีข้อกังวลว่า มาตรการรับมือน้ำท่วมของกทม.จะใช้ไม่ได้ผล เนื่องจากเกิดสภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝนและมีน้ำในทะเลเพิ่มสูงขึ้น ว่า การออกมาเตือนดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพื่อที่ตนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ บรรเทาสาธารณภัยของกทม.อีกครั้ง อาทิ เครื่องสูบน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำ ท่อระบายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพในการระบายน้ำในพื้นที่กทม. อย่างไรก็ตามตนไม่อยากให้คนกรุงเทพฯตื่นตระหนกกับการคาดการณ์ที่ว่ากทม.จะ ไม่สามารถระบายน้ำท่วมขังในพื้นที่ออกสู่ทะเลได้ เนื่องจากระดับน้ำทะเลหนุนสูงเกินไป เพราะตนมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะยังไม่มาถึงในช่วงเวลาอันใกล้นี้ อย่างไรก็ตาม กทม.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยระหว่างนี้กทม.โดยสำนักการระบายน้ำได้ประสานในยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำหริ (กปร.) กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมอุตุนิยมวิทยา รวมไปถึงจังหวัดใกล้เคียง อาทิ จ.พระนครศรีอยุธยา จ.อ่างทอง เพื่อรับทราบถึงสถานการณ์น้ำและนำข้อมูลดังกล่าววางแผนในการรับมือและป้องกันต่อไป

นายประกอบ กล่าวถึงข้อเสนอที่ว่าให้เพิ่มความสูงของเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาอีก 50 เซนติเมตร รวมถึงการสร้างคันกั้นน้ำนั้น คงต้องนำประเด็นดังกล่าวพิจารณากับคณะทำงานของสำนักการระบายน้ำ(สนน.)อีก ครั้งหนึ่ง เบื้องต้นต้องพิจารณาตามความเหมาะสม อาทิ เขื่อนกั้นน้ำเจ้าพระยามีความสูงเฉลี่ย 2.5 เมตร หากจะสร้างเพิ่มอีก 50 ซม. นั้นจะสามารถทำได้หรือไม่ หากพิจารณาตามโครงสร้างฐานรากของเขื่อน เพราะหากสร้างสูงกว่านั้นประชาชนที่อยู่หลังเขื่อนจะได้รับความเดือดร้อน รวมไปถึงนำข้อมูลระดับน้ำสูงสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมานำมาวิเคราะห์ ซึ่งหากพบว่าในอนาคตระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงเกินระดับเขื่อน อาจจะมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น นำกระสอบทรายเสริมความสูงให้กับเขื่อน เป็นต้น

รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวด้วยว่าตนคาดว่าช่วงปลายปี 2552 นี้ หากสถานการณ์ฝนตกไม่มีพายุเกิดขึ้น ระดับน้ำทะเลไม่หนุนสูง กทม.น่าจะรับมือกับสถานการณ์ได้ ทั้งนี้จากรายงานของสนน.เรื่องปริมาณฝนตกในเดือนสิงหาคมพบว่ามีปริมาณ 93 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าลดลงเมื่อเทียบกับสถานการณ์รอบ 30 ปีที่ คือ 114.2 มิลลิเมตร แม้การรายงานปริมาณน้ำฝนจะไม่ถึงขั้นวิกฤต กทม.ก็ได้เตรียมรับมือเบื้องต้น คือ พร่องน้ำในคลองแสนแสบ และคลองอื่นๆ รวมไปถึงระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาออกไปแล้วส่วนหนึ่ง เพื่อเตรียมการหากมีฝนตกในปริมาณมากก็จะสามารถระบายลงคลองได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับการระบายน้ำออกสู่ทะเลนั้น กทม.ได้คำนึงถึงประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่งด้วย เนื่องจากหากระบายน้ำจืดออกสู่ทะเลมากเกินไป ก็อาจกระทบต่อการประมงชายฝั่งได้




จาก : มติชน วันที่ 19 สิงหาคม 2552

สายน้ำ 22-09-2009 07:29


เตือนภัยแผ่นดินปากแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้จมทะเล


วารสารด้านธรณีวิทยาระบุอ้างจากภาพถ่ายดาวเทียม หากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน พื้นที่ปากแม่น้ำหลายแห่งทั่วโลกมีอัตราการทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพื้นที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทยด้วยเช่นกัน...

สำนัก ข่าวเอเอฟพีรายงานวันนี้ ( 21 ก.ย. ) อ้างข้อมูลจากวารสารด้านธรณีวิทยา “เนเชอร์ จีโอไซน์” ระบุทำนายพื้นที่แถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำสายสำคัญๆ ของโลกราว 2 ใน 3 ซึ่งเป็นถิ่นพำนักของผู้คนรวมมากเกือบ 500 ล้านคน จะถูกน้ำทะเลท่วมในที่สุด รวมถึงพื้นที่แถบปากแม่น้ำเจ้าพระยาของไทย

รายงานฉบับดังกล่าวอ้างอิงข้อมูลจากภาพถ่ายผ่านดาวเทียม แสดงให้เห็นพื้นที่แถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำสายสำคัญที่สุดของโลก 33 แห่ง พบว่า 85 เปอร์เซ็นต์ เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยภาวะน้ำท่วมกระทบผืนแผ่นดินบริเวณกว้างมากกว่า 260,000 ตารางกม. และภายในสิ้นศตวรรษนี้สถานการณ์น้ำท่วมจะขยายตัวขึ้นอีก 50 เปอร์เซ็นต์

หากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ออสเตรเลียกับแอนตาร์คติกา เผชิญหายนะภัยลักษณะดังกล่าวไปแล้ว แต่พื้นที่แถบนั้นไม่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่น ผิดจากพื้นที่แถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำของเอเชีย ซึ่งแต่ละแห่งมีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น ไล่ตั้งแต่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด 3 ใน 11 แห่ง คือ ปากแม่น้ำเหลืองหรือแม่น้ำหวงเหอทางภาคเหนือของจีน ปากแม่น้ำแยงซีใกล้มหานครเซี่ยงไฮ้ และปากแม่น้ำมุกใกล้เมืองกวางโจว ส่วนพื้นที่เสี่ยงอื่นๆ อาทิ ปากแม่น้ำไนล์ในอิยิปต์ ปากแม่น้ำเจ้าพระยาของไทย ปากแม่น้ำไรน์ของฝรั่งเศส ปากแม่น้ำคงคาในบังกลาเทศ ปากแม่น้ำอิระวดีในพม่า ปากแม่น้ำโขงในเวียดนามและปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ในสหรัฐ ถ้ามนุษย์ไม่แทรกแซงจัดการแก้ปัญหาหรือปล่อยให้สถานการณ์เป็นไปตามสภาวะ จะก่อให้เกิดน้ำท่วมแผ่นดินกินบริเวณกว้าง

ทั้งนี้ ตามรายงานของสหประชาชาติ ระบุภายในปี 2643 หรือสิ้นศตวรรษนี้ ระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย18-59 ซม. ขณะที่พื้นที่ปากแม่น้ำหลายแห่งทั่วโลกมีอัตราการทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างพื้นที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยามีอัตราทรุดตัวลงเฉลี่ยปีละ 5-15 ซม. เนื่องเพราะการสูบน้ำบาดาลมาใช้อย่างกว้างขวาง ส่วนพื้นที่ปากแม่น้ำโพในอิตาลี ตลอดช่วงศตวรรษที่แล้วแผ่นดินทรุดลงมากถึง 3.7 เมตร เพราะการทำเหมืองเจาะก็าซมีเทนใต้ดิน และพื้นที่ปากแม่น้ำอิระวดีของพม่าหลังเผชิญพายุไซโคลนนาร์กีซพัดถล่มเมื่อ ปีที่แล้ว ทำให้บางพื้นที่เกิดน้ำท่วมเหนือระดับน้ำทะเลลึกถึง 6 เมตร นั่นคือเหตุผลทำให้มีผู้เสียชีวิตหรือสูญหายมากถึง 138,000 ราย.



จาก : ไทยรัฐ วันที่ 22 กันยายน 2552

สายน้ำ 22-09-2009 07:50


เตือนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเสี่ยงจม

http://www.bangkokbiznews.com/home/m...mg_78040_1.jpg
สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี

ผลศึกษาชี้ พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ 2 ใน 3 ของโลก เสี่ยงจมอยู่ใต้น้ำ รวมถึง ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ทรุดลงทุกปี เพราะการใช้น้ำบาดาล

วารสารจีโอไซแอนซ์ เผยแพร่ผลการศึกษาใหม่สุดว่า พื้นที่ปากแม่น้ำขนาดใหญ่ราว 2 ใน 3 ของโลก ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรเกือบ 1,000 ล้านคน กำลังตกอยู่ในภาวะหนีเสือปะจระเข้ กล่าวคือเจอทั้งดินทรุด และระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น

การค้นพบดังกล่าว ที่มีพื้นฐานการจากศึกษาภาพถ่ายดาวเทียม แสดงให้เห็นว่า 85% ของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำขนาด ใหญ่สุด 33 แห่ง ประสบกับภาวะน้ำท่วมหนักในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กินพื้นที่ราว 260,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคาดว่าภายในศตวรรษนี้ พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ที่มีความเสี่ยงเผชิญกับน้ำท่วมใหญ่ จะเพิ่มขึ้นมากถึง 50% หากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก

เจมส์ ซิฟอิทสกี้ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยขั้วโลก และเทือกเขาแอลป์ มหาวิทยาลัยโคโลราโด แกนนำจัดทำการศึกษาครั้งนี้ ระบุว่า แม้พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักสุดจะเป็นเอเชีย แต่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และทำการเกษตรอย่างมาก ในทุกๆ ทวีป ยกเว้นออสเตรเลีย กับขั้วโลกใต้ ก็ล้วนแต่ตกอยู่ในภาวะอันตราย
ในการวัดระดับความรุนแรงที่แบ่งออกเป็น 5 ระดับนั้น พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะจมอยู่ใต้น้ำล้วนอยู่ในจีน คือ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเหลืองทางตอนเหนือของประเทศ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ใกล้กับนครเซี่ยงไฮ้ และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล ใกล้กับกวางโจว

ขณะสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไน ล์ ของอียิปต์ แม่น้ำเจ้าพระยาของไทย และแม่น้ำโรนของฝรั่งเศส ล้วนแต่ติดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงเช่นกัน โดยปากแม่น้ำที่มีความเสี่ยงรองลงมา 7 แห่ง รวมถึง แม่น้ำคงคา ในบังกลาเทศ แม่น้ำอิระวดีของพม่า แม่น้ำโขง ในเวียดนาม และแม่น้ำมิสซิสซิปปี ของสหรัฐ

ผลการศึกษาระบุว่า สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจะมีตะกอนมาสะสมตามธรรมชาติเมื่อน้ำในแม่น้ำเอ่อล้นแล้วท่วมกินพื้นที่กว้าง แต่มนุษย์มีส่วนทำให้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำหลายแห่งจมจากการทำเขื่อนกั้นต้นน้ำแ ละเปลี่ยนเส้นทางไหลของน้ำ ทำให้ตะกอนไม่ไหลลงมาสะสม

นอกจากนี้การทำเหมืองใต้ดินและการสูบน้ำบาดาลก็มีส่วนทำให้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจมด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีอัตราการทรุดตัวถึงปีละ 2-6 นิ้ว ผลจากการสูบน้ำบาดาลไปใช้



จาก : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 22 กันยายน 2552

สายน้ำ 13-11-2009 07:46


กองทุนโลกเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ 'ทำ 'กทม.'ยิ่งเสี่ยงจมน้ำ

WWF ชี้กรุงธากา มะนิลา และจาการ์ตา เป็น3 เมืองใหญ่ในเอเชียที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิ อากาศ ขณะที่กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่มีความเสี่ยงสูงต่อภัยคุกคามจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นและ ปัญหาน้ำท่วม

เมื่อวันพฤหัสบดี (12) กองทุนโลกเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (World Wide Fund for Nature : WWF) องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมที่มีฐานอยู่ที่เมืองแกลนด์ ในสวิตเซอร์แลนด์ เปิดเผยรายงานล่าสุดที่ชื่อว่า “Mega-Stress for Mega-Cities” ซึ่งศึกษาถึงภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อ 11 เมืองใหญ่ในเอเชีย ที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลหรือดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ คือ กรุงธากาของบังกลาเทศ, เมืองกัลกัตตาของอินเดีย , กรุงเทพมหานคร, กรุงพนมเปญของกัมพูชา, นครโฮจิมินห์ในเวียดนาม,สิงคโปร์, กรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย,ฮ่องกง, กรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์, กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย,และนครเซี่ยงไฮ้ของจีน

รายงานฉบับนี้ระบุว่า ธากา , มะนิลา, และจาการ์ตา ป็น 3 เมืองที่มีความเปราะบางมากที่สุด ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเป็นเมืองที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และพายุ โดยในทั้ง 3 เมืองนี้ ธากาเป็นเมืองที่ตกอยู่ในอันตรายมากที่สุดโดยได้คะแนนความเสี่ยงระดับ 9 จากทั้งหมด 10 ระดับ เนื่องจากมีประชากรแออัดกันอยู่มากกว่า 13 ล้านคนบนเนื้อที่เพียง304 ตารางกิโลเมตรและยังอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปัจจุบันเพียงไม่กี่เมตรเท่า นั้น นอกจากนั้น ยังมักได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนจนเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เป็นประจำ ขณะที่ขีดความสามารถของเมืองในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศกลับ อยู่ในระดับต่ำมาก


จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2552

muffin 13-11-2009 09:47

ตอนนี้แถวๆ บ้าน (สมุทรปราการ) ช่วงกลางวันของบางวัน น้ำขึ้นสูงค่ะ เกือบๆ เมตร เล่นเอารถเกือบจะดับไปเลยเหมือนกัน เฮ้อ นี่ขนาดฝนไม่ตกนะคะ :( ที่บ้านเลยวางแผน หาที่ในจังหวัดอื่นไว้ เผื่อว่าบ้านน้ำท่วมอย่างแรง จะได้มีที่ซุกหัวนอนค่ะ...

คิดถึงเนเธอร์แลนด์อยู่เหมือนกัน เพราะจริงๆ ประเทศนี้ อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่ก็ไม่จมน้ำซักกะที (จนถึงตอนนี้) ต้องซูฮกเค้าจริงๆ ค่ะ เรื่องวิศวกรรมทางน้ำ มีคนไทยไปเรียนด้านนี้กันเยอะนะคะ แต่อย่างว่าแหล่ะ โครงการใหญ่ยักษ์แบบนี้ ต้องมาพร้อมเงินทุนหนาๆ เรื่องความรู้ เรื่องบุคลากร เราน่าจะพร้อมอยู่แล้ว... แต่เรื่องเงินเนี่ย.. หากลดเรื่องโกงกินกันไปได้.. เชื่อว่า เราคงมีเงินทุนพอที่จะมาสร้างอะไรดีๆ กันได้.. บ่นๆๆๆ

สายน้ำ 14-11-2009 07:47


นักวิชาการหวั่นอนาคตน้ำท่วม กทม. แนะย้ายเมืองหลวง

http://news.mcot.net/_images/MNewsImages_125319.jpg

นักวิชาการหวั่นอนาคต กทม.และจังหวัดใกล้เคียงน้ำจะท่วม อีก 10 ปี จะเริ่มเห็นผล แนะรัฐบาลต้องให้ความสำคัญและเร่งศึกษา รวมถึงแนะให้ย้ายเมืองหลวงจาก กทม.ไปตั้งในพื้นที่อีสานใต้เนื่องจากเป็นพื้นที่ปลอดภัย เพราะสูงจากระดับน้ำทะเลเกินกว่า 100 ม.

จากการที่องค์การกองทุน สัตว์ป่าสากล (World Wild Life Fund for Nature-WWF) เปิดเผยผลการศึกษาสภาพภูมิอากาศของเมืองใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย ที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ โดยให้คะแนน 1-10 ซึ่งกรุงเทพฯ ติดโผเมืองใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 5 ที่จะเกิดภัยธรรมชาติเนื่องจากภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม และนครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งนักวิชาการออกมาสนับสนุนผลการศึกษาและวิตกกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า สิ่งที่เคยคาดการณ์ไว้ว่า ประเทศไทยจะมีหิมะตก โดยเฉพาะบนภูเขาทางภาคเหนือไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมาย ขณะนี้ขาดเพียงความชื้นเท่านั้น ขณะที่พื้นที่ กทม.ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ เนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนในอนาคต กทม.จะอยู่ใต้น้ำทะเล รวมถึงจังหวัดอื่น ๆ ด้วย อาทิ สมุทรสาคร สมุทรปราการ เป็นต้น ไม่เกิน 10 ปี ต่อจากนี้จะเริ่มเห็นผลอย่างชัดเจน ดังนั้น เห็นว่าทางรัฐบาลควรเตรียมความพร้อมในการย้ายเมืองหลวงจาก กทม.ไปตั้งที่อื่น ซึ่งสถานที่ที่ปลอดภัยและมีความเหมาะสมที่สุด คือ อีสานใต้ เพราะสูงจากระดับน้ำทะเลเกินกว่า 100 เมตร และไม่มีรอยร้าวในแผ่นดิน ขณะที่จังหวัดทางภาคเหนือมีรอยร้าวของเปลือกโลกที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ หากไม่ย้าย ควรวางแผนสร้างเขื่อนในอ่าวไทย ความสูง 30 เมตร ตั้งแต่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ยาวไปถึง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อสูบน้ำออกไปข้างนอก จึงจะสามารถป้องกันไม่ให้น้ำทะเลทะลักเข้ามา ทั้งนี้ เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญและเร่งศึกษาโดยเร็ว หากไม่ดำเนินการน้ำเค็มจะเริ่มเข้ามาในพื้นที่ กทม. และเมื่อน้ำเค็มเข้าสู่ระบบประปาประชาชนจำนวนมากจะได้รับความเดือดร้อน รวมถึงจังหวัดในภาคกลาง ทั้งกรุงเทพฯ และโบราณสถานสำคัญใน จ.พระนครศรีอยุธยา จะจมอยู่ใต้น้ำทะเลทั้งหมด

ด้านนายพิจิตต รัตตกุล ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center-ADPC) กล่าวว่า ภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ กทม.นั้น ตามรายงานการติดตามของศูนย์ฯ พบว่าจะมี 2 อย่างที่จะเกิดขึ้นได้คือ ปริมาณน้ำทะเล น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นดินได้นานกว่าปกติ และกระแสลมที่มีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งพื้นที่ กทม.นั้นถือว่าเป็นพื้นที่ต่ำ และขณะนี้พบว่าระดับความสูงของพื้นดินนั้นสูงเพียง 40 เซนติเมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งจะทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลหนุนสูง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาหรือคลองเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น แม้ว่า กทม.จะมีระบบระบายน้ำ แต่ก็จะไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมามีสัญญาณเตือนแล้ว คือ แผ่นดินในเขตบางขุนเทียนถูกกระแสลมและคลื่นซัดแผ่นดินหายไป ซึ่งตามรายงานพบว่าระยะเวลา 1 ปี พื้นดินเขตบางขุนเทียนถูกกระแสลมและถูกคลื่นกัดเซาะหายไปประมาณ 6-7 เมตรแล้ว ซึ่งวิธีที่เคยเสนอ คือ การสร้างเขื่อน สร้างคันกั้นน้ำในพื้นที่เสี่ยงของ กทม. และจังหวัดรอบข้าง ยังถือว่าเป็นวิธีแก้ไขเฉพาะหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งดำเนินงาน



จาก : ข่าว อสมท. MCOT News วันที่ 13 พฤศจิกายน 2552


สายชล 15-11-2009 20:53

หุๆ....ว่าแล้วไหมล่ะว่ามีทางเดียวที่จะกันน้ำได้..คือ..ต้องสร้างเขื่อนกั้นน้ำเหมือนเนเธอร์แลนด์

แต่ยังมัวทะเลาะกันอยู่อย่างนี้ (ในขณะเดียวกันก็โกงกินกันไม่เลิกลาสักที) เมื่อไรจะไปสร้างเขื่อนได้ล่ะค่ะนี่....:mad:


อืมมม....แต่ไปดูหนังเรื่อง "2012 วันสิ้นโลก" มาแล้ว ชักจะอิน....ไม่ต้องไปสร้างแล้วข่งเขื่อน น้ำล้างโลกมาโครมเดียว เรียบโร้ยยยยย......:p


ดอกปีบ 16-11-2009 00:18

น่าจะต้องช่วยกันสร้างกระแสให้หนักกว่านี้ด้วยครับ ..
บางทีถ้าคนไทยหันมาตระหนักเรื่องนี้ให้มากกว่านี้ ความขัดแย้งในสังคมอาจลดลงกว่านี้ด้วยเหมือนกัน อย่างที่พี่สายชลว่า ..



บางทีอาจไม่ต้องรอถึง 2019 กรุงเทพฯก็จมน้ำไปเรียบร้อยแล้ว

สายชล 19-07-2010 22:00

เตือนอีก 10 ปี กรุงเทพฯจมน้ำลึก 2.5 เมตร
 


ผู้จัดการออนไลน์


เตือนอีก 10 ปี กรุงเทพฯจมน้ำลึก 2.5 เมตร


เตือน 10 ปี กรุงเทพฯอ่วมเจอน้ำท่วมสูง 2.5 เมตร เผย หลักเขตบางขุนเทียนถูกน้ำทะเลล้ำ 1 กิโลแล้ว วอนคนกรุงเร่งรัฐบาลสร้างคันกั้นน้ำป้องกันน้ำทะเลหน ุน ระบุ รัฐมัวแก้ปัญหาการเมือง ฝั่งธนฯ คลองเตย บางแค จะจมน้ำ พระนคร จะท่วมถึงสวนหลวง ร.9


http://pics.manager.co.th/Images/553000010433501.JPEG

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต


จากกรณีโครงการวิจัยร่วมไทย-ยุโรป GEO2TECDI (Geodetic Earth Observation Technologies for Thailand : Environmental Change Detection and Investigation) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยร่วมระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุ โรปที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสหภาพยุโรป ในโครงการตรวจวัดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินและระดับน้ำ ทะเลโดยใช้เทคโนโลยี Space Geodetic ออกมาเปิดเผยผลวิจัย ว่า ประเทศไทยโดยรวมจะมีการทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยกลับเพิ่มขึ้น ส่วนแผ่นดินกรุงเทพฯ จะทรุดลงปีละ 15 มม.โดยมีนักวิชาการเตือนว่าเหลือเวลาเตรียมป้องกันอี ก 25 ปีเท่านั้นก่อนกรุงเทพฯ จะจมน้ำ

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ กรรมการภูมิศาสตร์โลก และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า จากผลการวิจัยผลกระทบต่อการเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งได้รับทุนวิจัยมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยา ศาสตร์ ประเทศไทย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วนจากบริษัท ปัญญา คอนเซาท์แตน จำกัด โดยการสนับสนุนของธนาคารโลก เมื่อปี 2551 คาดการณ์ว่า กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ชั้นหินอ่อนจะเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมภา ยใน 10 ปี ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป โดยสถานการณ์จะรุนแรงกว่าปี 2538 เพราะจากการคำนวณพบว่า ทุกๆ 25 ปี กรุงเทพฯ มีโอกาสจะเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง (ภายในปี 2563) ทั้งนี้หากคำนวณจากปัจจัยแผ่นดินทรุดเพียงกรณีเดียว พบว่าจะเกิดปัญหาน้ำท่วมภายใน 25 ปี แต่ในความเป็นจริงปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วม ไม่ได้มีเพียงแค่กรณีเดียว

แต่ประกอบด้วย 4 ปัจจัยดังต่อไปนี้ 1.ปริมาณฝนที่ตกลงมา ขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 5-10% ต่อปี 2.การทรุดตัวของแผ่นดิน ซึ่งในอดีตแผ่นดินกรุงเทพฯ จะทรุดตัวต่ำลงประมาณปีละ 100 มม.แต่ในปัจจุบันหลังมีมาตรการห้ามขุดเจาะน้ำบาดาล อัตราการทรุดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ10-20 มม.
3.ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีอัตราน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 3 มม.4.ผังเมืองและความแออัดของชุมชนเมือง ทำให้พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ชุ่มน้ำของกรุงเทพฯ ลดลงกว่า 50% เมื่อมีน้ำเหนือไหลมาหรือมีปริมาณฝนมากขึ้นจึงไม่มีพ ื้นที่รองรับน้ำ

รศ.ดร.เสรี กล่าวต่อไปว่า กรุงเทพฯ มีแผ่นดินที่ติดน้ำทะเลเพียงแห่งเดียว คือ เขตบางขุนเทียน ซึ่งขณะนี้หลักเขตกรุงเทพมหานครในเขตบางขุนเทียน ถูกน้ำทะเลล้ำเขตเข้ามาประมาณ 1 กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่า แผ่นดินจมหายไป 1 กิโลเมตร ทั้งนี้รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีสร้าง คันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำทะเลหนุน โดยสามารถเลือกสร้างได้ทั้งคันดินสีเขียวเพื่อปลูกต้ นไม้ หรือสร้างคันเป็นถนนสำหรับรถวิ่งลักษณะเดียวกับประเท ศเวียดนามที่ก่อสร้างไปแล้วเป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ลงมือแก้ปัญหาเพราะติดปัญหาท างการเมือง ปัจจุบันนี้การแก้ปัญหาน้ำท่วมดำเนินการโดยวิธีสูบน้ ำเหนือที่ไหลทะลักให้แยกออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งขวาให้ไหลลงแม่น้ำบางปะกง ส่วนฝั่งซ้ายให้ไหลลงแม่น้ำท่าจีน แต่ในอนาคตสิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องป้องกันน้ำทะเลหนุนให้ได้

“ธนาคารโลกเคยนำเสนอปัญหาดังกล่าวต่อรัฐบาลไทยแ ล้ว เพราะที่ประชุมคณะกรรมการภูมิศาสตร์โลกมองว่ามีความเ สี่ยงสูง แต่สิ่งที่ได้กลับมา คือ ความนิ่งเฉยของรัฐบาลไทย ทั้งนี้ เราไม่สามารถรู้ได้ว่าน้ำจะท่วมเมื่อใด แต่หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงคาดว่าระดับน้ำท ี่ท่วมจะสูงถึง 1-2.5 เมตร สูงต่ำตามระดับพื้นดิน โดยจะรุนแรงมากในพื้นที่ฝั่งตะวันตก ฝั่งธนบุรี เขตคลองเตยจนถึงบางแค สำหรับฝั่งพระนครจะท่วมถึงบริเวณสวนหลวง ร.9 เพราะฉะนั้นประชาชนชาวกรุงเทพฯ ควรเรียกร้องให้รัฐบาลและเขตการปกครองท้องถิ่นตระหนั กถึงปัญหาตรงจุดนี้ เพื่อเร่งสร้างคันกั้นน้ำให้เร็วที่สุดเพราะการก่อสร ้างต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี หากเราลงมือทำกันจริงๆ วันนี้ก็ยังแก้ปัญหาทันอยู่ เพียงแต่เรายังไม่เริ่มเท่านั้น” ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว

สายน้ำ 29-11-2010 08:01


Science Film: “ฟิล์มไทย" ชวนรักษ์ "ขุนสมุทรจีน" กันน้ำท่วมกรุง

http://pics.manager.co.th/Images/553000017761202.JPEG


แม้จะมีความพยายามหลายทางเพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ แต่ก็ยังความกังวลว่าน้ำอาจท่วมเมืองหลวงของไทยอย่างถาวรได้ และความกังวลนั้นได้สะท้อนผ่าน "ฟิล์มไทย" ในเทศกาล "ไซน์ฟิล์ม"

“น้ำท่วมกรุงเทพฯ" (The Inundation of Bangkok) เป็นภาพยนตร์ไทยท่ามกลางท่ามกลางภาพยนตร์นานาชาติที่จัดฉายใน "เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 6” (Science Film Festival 2010) ระหว่าง 16-30 พ.ย.53 สะท้อนความกังวลดังกล่าวออกมาอย่างชัดเจน

ข้อมูลเบื้องต้นระบุว่ากรุงเทพฯเคยเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2460 เนื่องจากน้ำเหนือไหลบ่า และเกิดน้ำท่วมหลังจากนั้นอีกหลายครั้ง แต่ไม่หนักและไม่นานระดับน้ำก็ลดลง แต่มีข้อสันนิษฐานที่เป็นได้ว่าอาจเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯได้อย่างถาวร

ข้อสันนิษฐานหนึ่งคือเขื่อนวชิรากรณ์และเขื่อนศรีนครินทร์ใน จ.กาญจนบุรี ที่กักเก็บน้ำปริมาณมาก และหากเขื่อนเหล่านี้เกิดแตกขึ้นมาเนื่องจากแผ่นดินไหว ย่อมทำให้กรุงเทพฯจมน้ำได้ ที่สำคัญเขื่อนทั้ง 2 แห่งอยู่ใกล้กับแนวรอยเลื่อนถึง 13 รอย และมีถึง 2 รอยที่เป็นรอยเลื่อนสำคัญ คือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนเจดีย์ด่าน 3 องค์

อีกข้อสันนิษฐานคือภาวะโลกร้อนและปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็รปัจจัยที่อาจทำให้กรุงเทพฯจมน้ำได้ ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ยกกรณี "บ้านขุนสมุทรจีน" ใน จ.สมุทรปราการ ที่ถูกน้ำกัดเซาะชายฝั่งจนพื้นที่ถูกน้ำทะเลกลืนหายไป 4-5 กิโลเมตร แม้กระทั่งวัดขุนสมุทราวาสที่เคยอยู่ท้ายหมู่บ้านยังจมอยู่ในกระแสน้ำ

สิ่งที่ชาวบ้านต้องการและสะท้อนผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้คือการแก้ปัญหาที่ถูกจุด และทำให้ชาวบ้านได้อาชีพกลับมา เพราะแม้จะมีความช่วยเหลือที่หลากหลาย และความพยายามแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ทดลองมาหลายอย่างนั้น บ้างได้ผลชั่วครั้งชั่วคราว บ้างไม่ได้ผลเลยและยังเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพประมงของชาวบ้าน

“เขื่อนสลายกำลังคลื่น" ซึ่งเป็นแท่งคอนกรีตทรงกระบอกที่ปักอยู่บริเวณน้ำตื้นเป็นสิ่งที่ชาวบ้านต้องการ เพราะเขื่อนสลายกำลังดังกล่าวจะช่วยลดความรุนแรงของกำลังคลื่นได้ และยังซัดตะกอนกลับมาตกที่ชายฝั่ง ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านได้พื้นที่กลับมาและได้อาชีพกลับมาด้วย

“ถ้าปล่อยไว้ไม่ทำอะไร สุดท้ายกรุงเทพฯ ก็จะได้รับผลกระทบ" เป็นข้อความทิ้งท้ายจากภาพยนตร์ให้เราร่วมดูแลขุนสมุทรจีน



จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2553

สายน้ำ 15-12-2010 08:19


แนะสร้างเขื่อนอ่าวไทยป้องกท.จม สมิทธชี้เสี่ยงท่วมหนัก

http://www.dailynews.co.th/content/i...r/p1flourl.jpg

กูรูภัยพิบัติธรรมชาติ "ดร.สมิทธ" เตือนรัฐบาลเร่งทุกฝ่ายทำงานร่วมกันป้องกันเหตุสึนามิ เชื่อไทยยังอยู่ในพื้นที่เสี่ยงเกิดขึ้นอีกครั้ง ย้ำภาวะโลกร้อนทำภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดถี่และรุนแรงขึ้น ระบุกรุงเทพฯเสี่ยงโดนน้ำท่วมหนัก แนะสร้างเขื่อนปากอ่าวไทย ขณะที่ “ดร.ก้องภพ” ชี้ระบบสุริยจักรวาลมีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย ชี้หากพลังงานสุริยะเกิดการเสียดสีกันจะเกิดภัยพิบัติตามมาได้

เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวถึงสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติในปัจจุบันว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับโลกถี่มากขึ้น ทั้งน้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุรุนแรง เป็นต้น มีปัจจัยหลักมาจากภาวะโลกร้อน แม้ปกติจะเกิดขึ้นได้ตามกลไกของธรรมชาติ แต่การกระทำของมนุษย์ เช่น ตัดไม้ ใช้สารเคมี ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงจนเข้าสู่ภาวะโลกร้อนที่รุนแรงและรวดเร็วขึ้น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกมีผลต่อระบบนิเวศ เช่น น้ำแข็งขั้วโลกละลายเพิ่มขึ้น สภาพอากาศแปรปรวน ร้อนจัด และอากาศที่หนาวจัด ทำให้มีหิมะปกคลุมมาก เหมือนที่กำลังเกิดขึ้นในทวีปยุโรป หรือเมื่อเกิดฝนตกในปริมาณมากเป็นเวลานานส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนักและแผ่นดินถล่มได้

ดร.สมิทธ กล่าวต่อว่า ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งหมด สามารถคำนวณเวลาเกิดได้เกือบทั้งสิ้น มีเพียงเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างเดียวเท่านั้นที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดเมื่อไร ที่ไหน แต่เมื่อเกิดขึ้นในระดับรุนแรงแล้ว เราสามารถคาดการณ์ได้ว่ามีโอกาสจะเกิดสึนามิตามมาหรือไม่ จากการศึกษาข้อมูลและนำมาวิเคราะห์คิดว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับประเทศไทยได้มากที่สุด คือ น้ำท่วมกรุงเทพฯ โดยมีสาเหตุจากภาวะโลกร้อน ที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วจนทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง ขณะที่ดินในกรุงเทพฯเป็นดินอ่อนมีการทรุดตัวลงทุกปี

“โดยส่วนตัวยังเชื่อว่าไทยจะประสบภัยสึนามิได้อีก หากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงแถบภูมิภาคนี้ โดยเกิดขึ้นได้ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย หากเกิดขึ้นฝั่งอ่าวไทยจะมีความรุนแรงน้อยกว่าฝั่งทะเลอันดามัน อย่างไรก็ตามต้องดูการเกิดแผ่นดินไหวเป็นองค์ประกอบ จึงจะคาดการณ์ได้ว่าสึนามิอาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ใด ที่ผ่านมาภาครัฐไม่ให้ความสำคัญกับการป้องกันและเตือนภัยเท่าที่ควร หน่วยงานต่างๆที่มีหน้าที่รับผิดชอบยังขาดการประสานงานที่ดี และรัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ ทั้งเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ การป้องกัน และการซ้อมเตือนภัย” ดร. สมิทธกล่าว

ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวอีกว่า เรื่องน้ำท่วมกรุงเทพฯ ที่มีผลงานวิจัยระบุว่ามีโอกาสเกิดขึ้น เราสามารถป้องกันได้ ด้วยการก่อสร้างเขื่อนหรือคันคอนกรีตป้องกันน้ำสูง 10 เมตร รอบบริเวณปากอ่าวไทย แม้ใช้งบประมาณมากก็จำเป็นต้องทำ ไม่เช่นนั้นจะไม่ทันเวลา เพราะขณะนี้ประเทศเวียดนาม ที่ประสบปัญหาเหมือนกันได้ลงมือก่อสร้างไปแล้ว

ด้าน ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรคนไทย จากองค์การนาซา สหรัฐอเมริกา ที่สนใจและศึกษาเกี่ยวกับระบบสุริยจักรวาล กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หลายคนรู้ว่าสาเหตุหลักมาจากการกระทำของฝีมือมนุษย์ แต่ในความเป็นจริงปรากฏการณ์ที่ทำให้โลกร้อนนั้น อาจจะเกิดขึ้นจากระบบสุริยจักรวาล โดยที่ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานสุริยะมายังโลกและการเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมหนักในไทยช่วงที่ผ่านมาก็ไม่ใช่เพราะภาวะโลกร้อนเพียงอย่างเดียว

“โลกของเรานั้นอยู่ในระบบสุริยจักรวาล ในกาแล็กซีทางช้างเผือกหรือที่เรียกว่ามิลกี้เวย์ ซึ่งจะโคจรรอบดวงอาทิตย์และหมุนรอบตัวเอง กาแล็กซีทางช้างเผือกนั้นมีรูปแบบเป็นระนาบเห็นเป็นแถบเส้นตรงใน 33 ล้านปี จะเกิดการตัดผ่านของระบบสุริยจักรวาล สิ่งที่เราจะพบในช่วงของการตัดผ่านนั่นก็คือการเสียดสีของพลังงานสุริยะและจะเกิดภัยพิบัติตามมา สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเสียดสี มาจากดวงอาทิตย์จะผลักฝุ่นละอองบางอย่างออกมาตลอดเวลา มีลักษณะเป็นพลาสมาเรียกว่าลมสุริยะ โดยทุก ๆ 11 ปีจะมีการเปลี่ยนแปลงของลมสุริยะ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นครั้งล่าสุดนั้น จะตรงกับการตัดผ่านของระบบสุริยจักรวาลพอดี (33 ล้านปีเกิดครั้งหนึ่ง) จึงเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลก” ดร.ก้องภพ กล่าว

ดร.ก้องภพ กล่าวต่อว่า โลกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากพอสมควร ถ้าดูจากการเกิดปรากฏการณ์ครั้งที่ผ่านๆมา แต่ในครั้งนี้พิเศษมากกว่า ผลกระทบของลมสุริยะทำให้เกิดพายุมากขึ้นใหญ่ขึ้น และอาจเชื่อมโยงถึงแผ่นดินไหว และเกิดการกระเพื่อมของระบบไฟฟ้าทั่วโลก จนทำให้เกิดไฟดับได้ นอกจากนั้นยังส่งผลต่อสภาพอากาศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือโลกจะร้อนขึ้น น้ำจะท่วมเพราะเกิดการระเหยของมหาสมุทร อากาศจะร้อนจัด ป่าไม้ที่เคยอุดมสมบูรณ์อาจกลับกลายเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการตัดผ่านของระบบสุริยจักรวาลและพลังงานสุริยทั้งสิ้น

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาเชิงวิชาการ “เจาะลึกภัยพิบัติพลิกวิกฤติให้เป็นทางรอด” ลงทะเบียนสำรองที่นั่งผ่าน เว็บไซต์พลังจิตดอทคอม www.palungjit. com/seminar/และอีเมล seminar@ palungjit.org หรือโทร. 08-6534-1112 ถึงวันที่ 16 ธ.ค. จำนวน 1,200 ที่นั่ง เท่านั้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ งานจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 19 ธ.ค. เวลา 08.30-17.00 น. ที่ห้องบัวหลวงแกรนด์รูม ชั้น 6 อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์ มหาวิทยาลัย ศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ.



จาก .................. เดลินิวส์ วันที่ 14 ธันวาคม 2553

สายน้ำ 25-12-2010 07:20


น้ำท่วมกรุงเทพฯ ปีหน้าและปีต่อๆไป


พ้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ก็จะมีการพูดคุยออกข่าวหาวิธีป้องกันน้ำท่วมหรืออุทกภัยกัน พอปลายเดือนธันวาคมข่าวเรื่องการป้องกันน้ำท่วมก็จะเลือนหายไป

เพื่อป้องกันปัญหาที่จะมาอีกในปีหน้าและปัญหาที่จะมาถึงในอีก 10 ปีข้างหน้า เรื่องนี้ นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมฯ กล่าวว่าให้ศึกษาแบบจำลองผลกระทบภาวะน้ำท่วม และน้ำทะเลขึ้นสูงในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ชั้นในและปริมณฑล ในเมื่อกทม. เป็น 1 ใน 9 เมืองในทวีปเอเชียมีความเสี่ยงสูงที่น้ำทะเลจะเอ่อทะลักเข้าท่วมในเมือง พบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำท่วม กทม. ชั้นในมี 4 ปัจจัย คือ

1.ปริมาณน้ำฝนที่ตกเพิ่มขึ้นถึง 15 % ในปัจจุบัน
2.แผ่นดินในกทม. ทรุดตัวปีละ 4 มิลลิเมตร
3.ระดับน้ำทะเลฝั่งอ่าวไทยสูงขึ้น 1.3 เซนติเมตรต่อปี และ
4. เกิดจากภาพรวมของระบบผังเมืองใน กทม. ที่พบว่า ปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำและพื้นที่สีเขียว ลดลงไปกว่า 50 %

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมีประชากรในกทม. ประมาณ 680,000 คน ได้รับผลกระทบน้ำจะเอ่อเข้ามาท่วมอาคารที่ 1.16 ล้านหลัง ในจำนวนนี้จะเป็นบ้านพักอาคาร 9 แสนหลังคาเรือน โดย 1 ใน 3 จะอยู่ในพื้นที่บางขุนเทียน บางบอน บางแค และพระสมุทรเจดีย์ จ. สมุทรปราการ อาคาร-ที่พักอาศัยเขตดอนเมืองรวม 89,000 อาคารจะได้รับผลกระทบ รวมความเสียหายราว 1.5 แสนล้านบาท

ผลวิจัยได้เสนอวิธีป้องกันและแก้ปัญหาเอาไว้ 3 ทาง คือ
1.เร่งหาพื้นที่แก้มลิงเหนือ กทม. ตั้งแต่สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา เพื่อเป็นที่ระบายน้ำ
2. เร่งขุดขยายคลองระบายน้ำที่มีอยู่เวลานี้โดยเรือ และ
3.ต้องสร้างคันกั้นน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพื่อป้องกันน้ำเอ่อทะลักเข้ามาในพื้นที่ กทม. โดยสร้างเป็นคันดินในพื้นที่ริมฝั่งทั้งหมด ระยะทาง 80 กิโลเมตร

ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม.กำลังดำเนินการสร้างระบบอุโมงค์ยักษ์ ซึ่งเป็นแผนครั้งใหญ่เพื่อบูรณาการการป้องกันปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ให้เกิดผลอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยอุโมงค์ใต้ดินขนาดยักษ์ 4 แห่ง ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของกรุงเทพฯ มากกว่า 2 เท่าภายใน 5 ปี

หลังจากงบส่วนใหญ่ใช้ตามแก้น้ำท่วมเฉพาะหน้า ใช้งบประมาณไปกับการซื้อกระสอบทราย ซื้อปั๊มน้ำเพิ่มกันทุกปี โดย 3 ปีที่ผ่านมา กทม.ใช้งบประมาณไปกับมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันน้ำท่วมกว่า 11,000 ล้านบาท แต่สุดท้ายพอฝนตกหนัก น้ำก็ยังท่วมกรุงเทพฯ

อุโมงค์ยักษ์แห่งแรกจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2554 แห่งที่สองจะเริ่มก่อสร้างในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 และแห่งที่สามและสี่จะสร้างในปี 2555 โดยจะเสร็จสิ้นทั้งระบบภายใน 5 ปี

พื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์จากระบบอุโมงค์ยักษ์ ได้แก่ ย่านลาดพร้าว วังทองหลาง บางกะปิ ห้วยขวาง บึงกุ่ม สะพานสูง ดินแดง จตุจักร พญาไท ดุสิต บางซื่อ ดอนเมือง หลักสี่ บางเขน บางส่วนของเขตสายไหม ประเวศ พระโขนง บางนา และสวนหลวง

ข้อสังเกตในที่นี้ก็คือ แนวความคิดในการมองปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ที่แตกต่างกัน ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมมองปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯว่ามี 4 ปัจจัย แต่ผู้ว่าฯ กทม. มองปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ว่ามาจากน้ำหลากและน้ำทะเลหนุนทะลัก

คนกรุงเทพฯจะเชื่อใคร ว่าน้ำท่วมกรุงเพราะอะไร และจะเชื่อวิธีแก้ปัญหาของใคร หากความเห็นของผอ.ศูนย์พลังงานเป็นจริง อาคาร 1.16 ล้านหลัง จะแก้ไขอย่างไร

ใครเป็นเจ้าของอาคารใน 1.16 ล้านหลัง จะทำอย่างไร เตือนไว้ก่อน 10 ปี ก็รีบหาทางแก้ไขป้องกันตัวเองเอาแล้วกัน




จาก ...................... ข่าวสด คอลัมน์ เลาะรั้ว วันที่ 25 ธันวาคม 2553

สายน้ำ 21-10-2011 06:44


โลกไม่เหมือนเดิมแล้ว ''น้ำเป็นภัย!!'' ต่อไปไทยยิ่งจมหนัก?

http://www.dailynews.co.th/content/i...er/p3thurl.jpg

หากมีสิ่งมีชีวิตนอกโลกจับตาความเป็นไปของมนุษย์โลกอยู่ ในระยะหลังๆและในช่วงนี้ ก็คงจะเห็นชัดเจนถึง ’ความโกลาหลอลหม่านของชาวโลก“ ในหลายประเทศ และรวมถึงในประเทศไทย ’อันเนื่องจากภัยน้ำ“ รูปแบบต่างๆ ทั้งน้ำทะเลสูง คลื่นยักษ์สึนามิ พายุฝน ซึ่งความโกลาหลนี้ดูผิวเผินเป็นเพราะธรรมชาติ

แต่พิจารณาลึกๆแล้ว...มนุษย์เองมีส่วนอย่างสำคัญ

มนุษย์ทำลายธรรมชาติมาก...ธรรมชาติก็พิโรธมาก!!

’หากมองโลกในภาพรวม ต้องยอมรับว่าระดับน้ำบนโลกสูงขึ้น ซึ่งอาจจะสูงขึ้นไม่กี่เซนติเมตร แต่ไม่กี่เซนติเมตรนี่ก็มีความหมาย“ ...นี่เป็นการระบุของนักวิทยาศาสตร์อาวุโส รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุปตระกุล

กับระดับน้ำบนโลกสูงที่ขึ้นนั้น นักวิทยาศาสตร์ไทยรายนี้บอกว่า... สาเหตุหนึ่งมาจาก “ภาวะโลกร้อน” ซึ่งยุคนี้ทุกๆคนต่างก็พอจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าภาวะโลกร้อนนั้นเกิดมาจากอะไรบ้าง และมีอีกหนึ่งความเห็นจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์มืออาชีพ ที่บอกว่า... เกิดจาก “รังสีคอสมิก ที่มาจากดวงอาทิตย์ และกาแล็กซี”

ความคิดเห็นประการหลังนี่ก็กำลังดังขึ้นมา

ทั้งนี้ ภาวะ ’น้ำมาก-น้ำหลาก-น้ำท่วม“ นั้น ในยุคปัจจุบันไม่ได้เกิดกับประเทศไทยที่เดียวในโลก แต่เกิดขึ้นในหลายๆประเทศ ส่วนกับประเทศไทยนั้น รศ.ดร.ชัยวัฒน์ บอกว่า... จากการติดตามเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่คราวนี้ พบว่าเป็นอีกปีที่ปริมาณน้ำที่มาจากทางเหนือเยอะมาก และภาคกลางก็มีฝนตกมาก แต่โชคดีของประเทศไทยอย่างหนึ่งคือ ฝนไม่ได้ตกต่อเนื่องอย่างหนัก 6-7 วันติดต่อกัน เหตุการณ์จึงไม่เลวร้ายหนักไปกว่านี้

รศ.ดร.ชัยวัฒน์ ระบุว่า... น้ำท่วมปีนี้ระดับน้ำมากกว่าปี 2485 ซึ่งน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ แต่ภาพในปี 2485 นั้นรุนแรงกว่าปีนี้ นั่นเพราะปัจจุบันระบบการป้องกัน การระบายน้ำ ดีกว่าในอดีต จึงทำให้ดูไม่รุนแรงกว่า

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือ ในเมื่อทราบว่าเหตุหนึ่งของการเกิดภัยจากน้ำคือภาวะโลกร้อน ประชาชนทุกคนก็ต้องช่วยกันในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยกันรักษาสภาวะแวดล้อม ไม่ตัดไม้ทำลายป่า

’และสิ่งที่จะป้องกันไม่ให้น้ำท่วมซ้ำซากต่อไปคือ การมีกระบวนการแก้ไขปัญหาน้ำจากการรู้จริง เข้าใจจริง อย่างเป็นระบบ การมีระบบผังเมืองที่ถูกต้อง การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบซึ่งสำคัญที่สุด“ ...นักวิทยาศาสตร์อาวุโสรายนี้กล่าว ซึ่งอย่างหลังนี้ก็ขึ้นอยู่กับภาครัฐ แต่ก็เกี่ยวพันถึงประชาชน

ด้าน ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้อำนวยการโรงเรียนสัตยาไส อดีตนักวิทยาศาสตร์องค์การนาซา ระบุถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นว่า... ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เพราะฉะนั้นน้ำจากมหาสมุทรจะระเหยออกมามากขึ้น ซึ่งกลายเป็นความชื้นและเมฆ เมื่อมีความชื้นและมีเมฆมาก จึงทำให้มีความชื้นตลอดปี และเป็นเหตุทำให้สภาพดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปหมด ซึ่งก็จะเป็นอย่างนี้ไปอีกนานหลายปีหากไม่ลดภาวะโลกร้อนให้ได้ผล และก็จำเป็นต้องพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

“การเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ปรากฏการณ์ธรรมชาติใหม่ๆ เกิดจากภาวะโลกร้อน และไม่ใช่เกิดกับประเทศไทยที่เดียว แต่เกิดกับทั่วโลก เท่าที่มองโดยทั่วไปสถานการณ์ในอนาคตจะยังไม่ดีขึ้น เพราะสภาวะความชื้นจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง สึนามิ แผ่นดินไหว ก็จะเกิดขึ้นบ่อย เพราะเปลือกโลกเคลื่อนไหว”

ดร.อาจอง ระบุอีกว่า... มนุษย์มีการก่อสร้างที่ส่งผลถึงเรื่องน้ำ ในไทยก็ยกตัวอย่างเช่น สนามบินสุวรรณภูมิ แทนที่พื้นที่จะเป็นแก้มลิงรับน้ำ กลับกลายเป็นสนามบิน ก็เสี่ยงมากขึ้นที่น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ

กรณีภาวะโลกร้อน ดร.อาจอง บอกว่า... ที่จะส่งผลกับประเทศไทยโดยตรงมี 2 อย่างคือ ผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นทำให้น้ำท่วมมากขึ้น และการที่เปลือกโลกเริ่มเคลื่อนไหวจนเกิดรอยร้าว ซึ่งจะทำให้ เกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยมากขึ้น นี่คือ 2 อย่างการเปลี่ยนแปลงที่ไทยเราต้องเตรียมตัวรับมือให้ดี

เรื่องน้ำทะเลสูงขึ้น ถ้าไม่สร้างเขื่อนกั้นตรงอ่าวไทย ก็ต้องคิดย้ายเมืองหลวงภายใน 6 ปี เพราะอีก 15 ปีข้างหน้าน้ำจะเริ่มท่วมกรุงเทพฯ ?? สิ่งที่ดีที่สุดคือต้องสร้างเขื่อนกั้นไว้ก่อน รัฐบาลต้องคิดและวางแผนตั้งแต่วันนี้ ต้องทำเป็นวาระแห่งชาติ ต้องวางแผนล่วงหน้า 10 ปี ต้องวางแผนให้ดี เพื่อไม่ให้สูญเสียสถานที่สำคัญไป

“จะกลายเป็นสิ่งที่ดี ถ้าเราพูดถึงภัยอันตรายส่วนรวมแล้วมนุษย์เลิกทะเลาะกันเสียที เรามีภัยธรรมชาติเป็นศัตรูร่วมกัน ถ้าไม่ป้องกันอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปกรุงเทพฯและภาคกลางหลายจังหวัดจมน้ำแน่?? ฉะนั้นรัฐบาลต้องเร่งตัดสินใจ คนไทยต้องเลิกทะเลาะกัน คนไทยต้องสามัคคีกัน และปฏิบัติธรรมให้มากๆ ถ้าเราช่วยกัน เราก็จะอยู่ร่วมกันได้ และ ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย คนไทยเราก็จะอยู่ได้ด้วยตัวของเราเอง ท่ามกลางความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นในโลก ในอนาคตอันใกล้” ...ดร.อาจอง ระบุ

ใครจะเชื่อ-ไม่เชื่อเรื่องน้ำทะเลสูงท่วมกรุงเทพฯ...สุดแท้แต่

แต่...ในไทยก็คล้ายจะมีบทพิสูจน์ว่า ’ภัยน้ำกำลังถล่มโลก“

และ ’ทางรอด“ คนไทย...คือ ’ต้องพอเพียง-ต้องสามัคคี!!“.




จาก ........................ เดลินิวส์ วันที่ 21 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 31-10-2011 07:40


ขั้วโลกละลาย...น้ำทะเลเพิ่มสูง หนึ่งชนวนวิกฤติ 'น้ำท่วมกรุง'!?

http://www.dailynews.co.th/content/i...31/p4varth.jpg

นาทีนี้หากใครติดตามข่าวสารมาโดยตลอดจะทราบว่าคงไม่ใช่แค่ประเทศไทยประเทศเดียวที่กำลังประสบปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ เพราะทั่วโลกในหลายๆประเทศต่างก็ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกัน แต่อาจจะมากหรือน้อยแตกต่างไป และนี่อาจเป็นการส่งสัญญาณเตือนอะไรบางอย่างถึงความผิดปกติของโลกของเราในวันนี้ เพราะสภาพอากาศที่ร้อนจัดส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น แล้วปริมาณน้ำจำนวนมหาศาลนี้จะท่วมโลกหรือไม่อย่างไร...?!?

ถ้าหากเป็นเช่นนี้จริงก็เหมือนว่าเรากำลังเผชิญกับปัญหาอันหนักอึ้งและใหญ่หลวงมากหลายล้านเท่าหรือจะเป็นไปได้ว่าโลกของเรากำลังจะเปลี่ยนแปลงกลับไปสู่ยุคเมื่อ 10,000 ปีแล้วก็อาจเป็นได้…!!

ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ให้ข้อมูลย้อนกลับไปว่า เมื่อประมาณ 12,000 ปีที่แล้วโลกอยู่ในยุคน้ำแข็ง บริเวณอ่าวไทยมีสภาพเป็นพื้นดินที่มีแม่น้ำไหลผ่าน เนื่องจากระดับน้ำทะเลในขณะนั้นมีระดับต่ำกว่าปัจจุบันเป็นอย่างมาก จวบจนสิ้นสุดยุคน้ำแข็งเมื่อ 10,000 ปีที่ผ่านมา โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนทำให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ส่งผลทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นและไหลท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำโดยรอบอ่าวไทย

เมื่อโลกเข้าสู่ยุคโลกร้อนและถึงจุดสูงสุดเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่ผ่านมา ทำให้น้ำทะเลมีระดับสูงกว่าปัจจุบันประมาณ 4 เมตร และน้ำทะเลได้ท่วมเข้าไปไกลสุดถึงบริเวณตอนบนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการตกทับถมของตะกอนจากน้ำทะเลเป็นชั้นดินโคลนสีดำเนื้อนิ่ม และมีซากเศษหอยทะเลปนอยู่ทั่วไป อย่างเช่น เปลือกหอยนางรมยักษ์ที่พบอยู่ที่วัดเจดีย์หอย อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ต่อมาระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยขยับตัวขึ้นลงตามสภาพภูมิอากาศที่ผันผวน จนกระทั่งเมื่อ 1,000 ปีที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลได้ลดลง ทำให้เกิดพื้นที่ชายฝั่งเช่นในปัจจุบัน

ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลนั้นมีมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในช่วงที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นก็จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มระดับสูงขึ้นตามไปด้วย และในช่วงที่โลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็งระดับน้ำทะเลก็จะลดลง ซึ่งเรื่องดังกล่าวทางกรมทรัพยากรธรณีได้มีการศึกษาและติดตามสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ แต่จากการศึกษาเรื่องระดับน้ำทะเลในประเทศไทยนั้น เราพบว่ามีปัญหาเรื่องของการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกและทรุดตัวของพื้นดินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการปรับกระบวนการวัดระดับน้ำทะเลเพื่อหาค่าระดับที่แท้จริงของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลสัมบูรณ์ ซึ่งจากข้อมูลการตรวจวัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปี และนำมาประมวลผล เราพบว่าระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นประมาณ 4 มิลลิเมตรต่อปี

นอกจากปริมาณน้ำทะเลที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ในส่วนของการทรุดตัวของพื้นดินของที่ราบลุ่มภาคกลางนั้น มีอัตราแตกต่างกัน แล้วแต่บริเวณโดยมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งความหนาของชั้นดินโคลนทะเล การลดระดับของน้ำบาดาล และการพัฒนาพื้นที่ ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมาพื้นดินที่ราบลุ่มภาคกลางติดชายทะเลมีอัตราการทรุดตัวของพื้นดินประมาณ 2-5 เซนติเมตรต่อปี โดยพื้นที่ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีอัตราการทรุดตัวน้อยกว่าทางด้านตะวันออก ตามความหนาของชั้นดินโคลนทะเล ซึ่งจะมีความหนามากที่สุดอยู่ทางตะวันออกของกรุงเทพฯ ในเขตลาดกระบัง และหนองจอก และต่อเนื่องไปจนถึงอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โดยชั้นดินโคลนทะเลในบริเวณดังกล่าวมีความหนามากกว่า 18 เมตร อัตราการทรุดของพื้นดินในบริเวณดังกล่าวจะลดลง เนื่องจากชั้นดินโคลนทะเลมีการเกาะตัวกันแน่นขึ้น

อย่างไรก็ตามจากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลสัมพัทธ์ในอ่าวไทยตอนบน เป็นผลมาจากการทรุดตัวของพื้นดินมากกว่าการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลสัมบูรณ์ ซึ่งบางคนอาจไม่ทราบว่าบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ติดกับชายทะเล พื้นดินทรุดตัวลงจนกระทั่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางแล้ว ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลกระทบในหลายด้านดังที่พบเห็นในปัจจุบัน เช่น การกัดเซาะชายฝั่ง การท่วมขังของน้ำทะเลในพื้นที่ลุ่มต่ำ และมีผลต่อระบบการระบายน้ำลงทะเลทำได้ยากขึ้น

ปัญหาเหล่านี้จะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากลักษณะธรณีสัณฐานของพื้นที่ภาคกลางมีลักษณะค่อนข้างลุ่มต่ำมีความลาดชันน้อยมาก เมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประกอบกับพื้นดินทรุดตัว จึงส่งผลให้เหตุการณ์น้ำขึ้นน้ำลงประจำวันของทะเลมีอิทธิพลต่อพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางมากขึ้นทุกวัน และส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านตามที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลและสองฝั่งแม่น้ำ

ปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำที่ท่วมขังอยู่ทางด้านเหนือของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะการระบายน้ำตามแม่น้ำสายหลัก ซึ่งได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง หากระดับน้ำทะเลมีระดับสูงกว่า น้ำก็ไม่สามารถระบายลงสู่ทะเลได้ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในอนาคตจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง และต้องกระทำด้วยความรอบคอบ รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อปกป้องเมืองหลวงของพวกเราให้รอดพ้นจากพิบัติภัยธรรมชาติครั้งนี้ให้ถึงที่สุด

วิกฤติมหาอุทกภัยร้ายแรงในปี พ.ศ. 2554 นี้ น่าจะเป็นบทเรียนที่เราต้องนำมาศึกษาหาทางแก้ไขเพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์อันชอกช้ำนี้เกิดขึ้นมาซ้ำรอยได้อีกในอนาคต…!!.

.....................

แนวคิดการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของเนเธอร์แลนด์

ประเทศเนเธอร์แลนด์ ดินแดนแห่งกังหันลมมีสภาพปัญหาใกล้เคียงกับพื้นที่ลุ่มภาคกลางของประเทศไทย คือตั้งอยู่บนพื้นที่ปากแม่น้ำสายใหญ่ มีพื้นที่ลุ่มต่ำ น้ำทะเลรุกเข้ามาในแผ่นดิน และในอดีตเคยประสบปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่มานับครั้งไม่ถ้วน สร้างความสูญเสียทั้งทางด้านชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นคนฮอลแลนด์จึงมีความคิดที่จะสร้างคันกันน้ำทะเลมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 จนกระทั่งปี ค.ศ.1918 โครงการสร้างคันกั้นน้ำทะเลขนาดใหญ่จึงได้รับการอนุมัติ และเริ่มสร้างจนกระทั่งแล้วเสร็จเมื่อปี 1932 โดยคันกั้นน้ำหลักมีชื่อว่า Afsluitdijk ตัวคันกว้าง 90 เมตร ยาว 32 กิโลเมตรและสูงกว่าน้ำทะเล 7.25 เมตร เมื่อกั้นเสร็จแล้วพื้นที่ด้านในได้กลายเป็นทะเลสาบปิดขนาดใหญ่ มีชื่อว่า Ijsselmeer หลังจากนั้นจึงเริ่มวิดน้ำออก ทำให้ระดับน้ำลดลง พื้นที่บางส่วนโผล่พ้นน้ำ ปัจจุบันประเทศเนเธอร์แลนด์ได้พื้นที่ที่เคยถูกน้ำท่วมกลับคืนมาแล้ว จึงได้นำพื้นที่ดังกล่าวมาทำเป็นพื้นที่การเกษตรเป็นหลัก และบางส่วนสร้างเป็นเมืองใหม่.




จาก ........................ เดลินิวส์ วันที่ 31 ตุลาคม 2554

สายน้ำ 04-11-2011 08:06


มหาอุทกภัย !...น้ำเปลี่ยนเมือง

http://www.bangkokbiznews.com/home/m...g_417331_1.jpg

กรุงเทพธุรกิจ Green Report ฉบับที่ 6 สรุปบทเรียนอุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศในครั้งนี้ ส่งผลให้หลายหน่วยงานกำลังหาวิธีการจำกัดการขยายตัวของเมืองที่ขวางทางน้ำ

มหาอุทกภัยที่คนไทยเผชิญหน้ามาหลายเดือนติดต่อกัน ได้สร้างบทเรียนให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในพื้นที่กทม.และปริมณฑลที่เป็นใจกลางเศรษฐกิจและการติดต่อการค้าของประเทศรวมถึงมีชุมชนที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ ทั้งคอนโดมิเนียมกลางเมือง และโครงการบ้านจัดสรรชานเมืองและในปริมณฑล ที่ยังขยายตัวเป็นดอกเห็ด สาเหตุจากการตัดถนนใหม่ๆ และโครงการรถไฟฟ้า ทำให้การคมนาคมสะดวกรวดเร็ว แต่อีกด้านหนึ่งการขยายตัวกลับไม่คำนึงถึงความเสี่ยงของอุทกภัย

ความเสียหายที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ทำให้กทม.ต้องกลับมาทบทวนข้อกำหนดให้สิทธิประโยชน์การพัฒนาที่ดิน 500 เมตร เกาะแนวรถไฟฟ้า เกรงหากปล่อยให้ขยายตัวในเส้นทางชานเมือง ยิ่งเร่งให้เกิดหมู่บ้านจัดสรร และชุมชนหนาแน่น เพิ่มความเสี่ยงปัญหาน้ำท่วมมากในอนาคต

ม.ร.ว.เปรมศิริ เกษมสันต์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร กล่าวว่ากทม.อยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขผังเมืองรวมฉบับใหม่ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ต้องหันมาทบทวนเรื่องการให้สิทธิประโยชน์บางพื้นที่ เพื่อให้เมืองขยายสู่พื้นที่รอบนอกมากขึ้น โดยเฉพาะร่างผังเมืองรวมกทม.ฉบับปัจจุบันที่อนุญาตให้ที่ดินที่อยู่ในรัศมี 500 เมตร จากแนวรถไฟฟ้าสามารถพัฒนาโครงการประเภท ทาวน์เฮาส์ บ้าน ตึกแถว อาคารพาณิชย์ พื้นที่พาณิชยกรรม อาคารอยู่อาศัย รวมไม่เกิน 1,000 ตารางเมตรได้ แม้เส้นทางรถไฟฟ้าเหล่านั้นจะวิ่งผ่านพื้นที่ผังสีเดิม ซึ่งกำหนดให้สร้างได้เฉพาะบ้านเดี่ยว จึงอาจเปิดช่องให้เกิดโครงการหมู่บ้านจัดสรรใหม่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากแนวรถไฟฟ้ามุ่งหน้าออกสู่พื้นที่ชานเมืองกรุงเทพฯในหลายเส้นทาง ที่เกิดขึ้นแล้วคือ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางบางใหญ่ บางบัวทอง

"ในอนาคตจะเกิดโครงการรถไฟฟ้าหลายสาย เชื่อมไปถึงจังหวัดในเขตปริมณฑล เช่น นนทบุรี ปทุมธานี ซึ่งหลายพื้นที่ เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม หากผังเมืองรวมอนุญาตให้สร้างหมู่บ้านได้ ในรัศมี 500 เมตรจากรถไฟฟ้า อาจเกิดโครงการหมู่บ้านจัดสรรจำนวนมาก ในเขตพื้นที่บางใหญ่ และพื้นที่อื่นๆ ซึ่งจะกลายเป็นการพาประชาชนไปเจอน้ำท่วมได้ เราจึงต้องทบทวนกันใหม่" ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองกล่าว

อย่างไรก็ดี การพัฒนาที่อยู่อาศัยในรัศมีรถไฟฟ้า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับผังเมืองรวม กทม. เพียงผังเดียว แต่ยังครอบคลุมไปถึงผังเมืองจังหวัดปริมณฑลในพื้นที่ต่อเนื่องด้วย และล่าสุด สำนักผังเมืองฯได้ประชุมหารือกับผู้เกี่ยวข้อง ในการวางผังเมืองของจังหวัดในปริมณฑลแล้วครั้งหนึ่ง แต่ยังไม่มีข้อสรุป ซึ่งต้องประชุมร่วมกันต่อไป

“ปัญหาหนึ่งที่พบ คือ ผังเมืองรวมแต่ละจังหวัด มีผลบังคับใช้คนละช่วงเวลากัน บางผังอยู่ในช่วงร่างใหม่พร้อมๆกับของ กทม. แต่บางผังก็ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ดังนั้นการปรับรายละเอียดในผัง จำเป็นต้องทำร่วมกันเพื่อให้ครอบคลุมในระยะยาว “

ส่วนการปรับผังสี ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ม.ร.ว.เปรมศิริ กล่าวว่า ในเบื้องต้นคาดว่าจะไม่มีการปรับเปลี่ยนในส่วนของสีในแต่ละพื้นที่มากนัก แม้จะมีปัญหาน้ำท่วมใหญ่ก็ตาม เพราะร่างผังเมืองรวม กทม. (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ได้กำหนดให้พื้นที่วงแหวนรอบนอก ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในปัจจุบัน เช่น เขตทวีวัฒนา บางบอน บางขุนเทียน คลองสามวา มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง เป็นพื้นที่สีเขียว (ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม) และสีเขียวลายขาว (ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม) ซึ่งหมายถึงกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำอยู่แล้ว

ส่วนความต้องการของเอกชน ที่ต้องการให้ปรับอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio หรือ FAR) จากร่างผังเมืองรวมปัจจุบันที่กำหนดให้อยู่ที่ 10 เท่า เพิ่มเป็น 15 เท่า และความต้องการของสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ต้องการให้เหลือเพียง 8 เท่า ม.ร.ว.เปรมศิริ กล่าวว่า หากให้ปรับเหลือ 8 เท่าจะยินดีมาก แต่หากให้ปรับเพิ่มเกินกว่า 10 เท่า คงทำไม่ได้ เพราะการปรับเพิ่มในส่วนนี้ จะทำให้มีคนอยู่อาศัยในอาคารหนึ่งอาคารมากขึ้น เมื่อมีคนมากก็จะมีรถมาก มีปัญหาเรื่องที่จอดรถและปัญหาการจราจรภายในซอยและบนท้องถนนตามมา

กรณีที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอให้ขยายรัศมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยในรัศมีรถไฟฟ้าจาก 500 เมตร เป็น 1,000 เมตร เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยราคาถูกในบริเวณใกล้รถไฟฟ้าได้มากขึ้น ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อว่า ต่อให้ขยายพื้นที่รัศมีออกไปเป็น 1,000 เมตร ก็ไม่น่าจะช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยได้ เพราะเชื่อว่าโครงการที่ได้ชื่อว่าใกล้รถไฟฟ้า ถึงอย่างไรก็คงขายแพง ต่อให้เป็นรัศมีที่ห่างออกไปอีกก็ตาม

สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่นั้น ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงที่ให้คณะกรรมการพิจารณา 300 ความเห็นที่เสนอมาเมื่อวันที่ 25 ส.ค. เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับแก้ต่อไป ซึ่งหากเป็นไปได้ ต้องการให้ผังเมืองฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ในปี 2555 แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะสามารถออกบังคับใช้ได้ทัน เพราะในขั้นตอนการจัดทำผังนั้น ยังต้องผ่านการพิจารณาอีกหลายขั้นตอน โดยเมื่อสรุปความเห็นแล้ว ยังต้องส่งเรื่องไปยังคณะที่ปรึกษาผังเมืองรวมกทม. และอาจยังต้องมีการปรับแก้ผังเมืองรวมเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามหากผังเมืองรวมเสร็จไม่ทันเดือนพ.ค. 2555 ทางสำนักฯ จะต่ออายุผังเมืองรวมฉบับปัจจุบันครั้งที่ 2 เพื่อยืดอายุผังเมืองฉบับปัจจุบันออกไปอีก 1 ปี

ขณะที่นักวิชาการมองว่าสอดคล้องกันว่าถึงเวลาที่ร่างผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่ จะต้องควบคุมการพัฒนาไม่ให้หนาแน่น เนื่องจากพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มนุษย์ไม่สามารถฝืนธรรมชาติ หากปล่อยให้การใช้ที่ดินไม่สอดคล้องกับภูมิประเทศต่อไป และมีสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำ จะส่งผลให้ภัยพิบัติสร้างความเสียหายซ้ำรอยเดิม

รุจิโรจน์ อนามบุตร อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน คณะทำงานผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร บอกว่า กทม.กำลังร่างผังเมืองรวมที่ประกาศใช้ในปี 2555-2559 ซึ่งจะกำหนดลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยในเขตอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจะอยู่ชั้นใน เช่น เกาะรัตนโกสินทร์ ถัดออกมาจะเป็นเขตพาณิชยกรรม เช่น สีลม สยาม และถัดออกมา เป็นที่อยู่อาศัยในเขตเมือง และจากนั้นเป็นชานเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม เช่น มีนบุรี พุทธมณฑล ทวีวัฒนา ซึ่งขณะนี้ ได้รับฟังความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องไปแล้ว อยู่ระหว่างประมวลคำร้องของผู้ที่ไม่เห็นด้วย โดยผู้ร้องมีทั้งเจ้าของที่ดินและผู้พัฒนาที่ดิน ซึ่งส่วนมากเห็นว่าการทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครครั้งนี้ จำกัดสิทธิการพัฒนาที่ดินของผู้ประกอบการมากเกินไป

โดยจุดเปลี่ยนของผังเมืองใหม่มี 3 ส่วน ประกอบด้วย

1.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้า ซึ่งจะกำหนดพื้นที่สำหรับพัฒนาเป็นศูนย์พาณิชยกรรมชานเมือง ที่เป็นจุดตัดของรถไฟฟ้าและรถเมล์เพื่อให้ผู้อาศัยอยู่ชานเมือง ไม่ต้องเข้ามากลางเมืองเพื่อซื้อสินค้า ซึ่งจะรองรับการสร้างศูนย์การค้า ร้านอาหารและโรงมหรสพได้มาก โดยจากการสอบถามผู้ประกอบการพบว่าค่อนข้างพอใจ

2.พื้นที่กลางเมืองจะให้อาคารมีความสูงมากขึ้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยและทำให้ไม่ต้องขยายออกมาชานเมืองมากนัก

3.พื้นที่ชานเมือง เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย จะรักษาให้ไม่ให้หนาแน่น หรือกระจายตัวมาก เพราะหากหนาแน่นจะต้องลงทุนโครงสร้างมาก

ร่างผังเมืองกรุงเทพมหานครนี้ ต้องสามารถรองรับปัญหาน้ำท่วมได้ เป็นเป้าหมายที่รุจิโรจน์ บอกว่า แนวคิดให้พื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพฯ มีการพัฒนาที่เบาบางลง และให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมจะช่วยบรรเทาปัญหาไปได้ ซึ่งการยกร่างผังเมืองครั้งนี้ก็จะสอดคล้องกับแนวทางนี้ โดยต้องการให้พื้นที่ดังกล่าว ไม่ต้องมีการก่อสร้างมาก และให้บ้านชายเมืองมีสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งนี้ผู้อยู่ในเขตชานเมืองต้องยอมรับว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในข่ายที่น้ำจะท่วม

"หากผังเมืองไม่มากำหนดเช่นนี้ และปล่อยให้ทุกคนพัฒนาที่ดินตามใจชอบ จะทำให้มีอาคารเต็มไปหมด ซึ่งความจริงแล้วภาครัฐควรเข้มงวดการพัฒนาที่ดินในเขตเกษตรกรรมมานานแล้ว แต่ที่ผ่านมาสังคมพูดถึงสิ่งแวดล้อมน้อย จึงผ่อนปรน ซึ่งเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ เป็นข้อพิสูจน์ว่าเมื่อเกิดวิกฤติธรรมชาติแล้วสร้างความเสียหาย จึงเป็นเรื่องถูกต้องที่ผังเมืองจะมองเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ถูกต้องมากขึ้น โดยคำนึงว่าพื้นที่กรุงเทพฯ ต้องมีน้ำหลาก แม้จะมีการร้องคัดค้านว่า พื้นที่ชานเมืองที่กำหนดให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ควรอนุญาตให้พัฒนาที่ดินได้มากขึ้น แต่หากผังเมืองปล่อยให้สร้างได้มาก จะทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมและเจ้าของที่ดินจะเสียหาย จึงเป็นหน้าที่ของผู้วางผังเมือง ที่จะกำหนดว่าเขตดังกล่าว เป็นทางน้ำหลากตามธรรมชาติที่ฝืนไม่ได้ "

ขณะเดียวกันรุจิโรจน์ ยังกล่าวถึงพฤติกรรมของการซื้อขายที่ดินว่า ที่ผ่านมาผู้พัฒนาที่ดินจะซื้อที่ดินน้ำท่วมที่มีราคาถูก แล้วนำดินมาถม จึงเกิดปัญหาขวางทางน้ำ ซึ่งในกทม.มีจุดขวางทางน้ำหลายแห่ง รวมถึงในปริมณฑล เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ ที่ในอดีตเป็นหนองงูเห่า เป็นแหล่งซับน้ำ ดังนั้นหากมีน้ำเข้ามามากก็มีโอกาสที่สนามบินจะถูกน้ำท่วม จึงควรมีการออกแบบให้น้ำไหลผ่านได้ ดังนั้นผู้พัฒนาที่ดินในเขตน้ำท่วม ควรร่วมกันรับผิดชอบ เช่น ชี้แจงให้ผู้ซื้อทราบ หรือการทำบ่อหน่วงน้ำ เพื่อให้น้ำค่อยๆ ระบายออกจากพื้นที่ ซึ่งการก่อสร้างอาคารที่เบาบางจะทำให้มีช่องว่างให้ดินซับน้ำฝนที่ตกลงมา

"ปัญหาน้ำท่วมในกทม.เกิดจากการไม่ดูสภาพภูมิประเทศให้เหมาะสมกับการใช้ที่ดิน เช่น การถมที่ให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันน้ำท่วม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสภาพภูมิประเทศตามใจชอบ แบบไม่ดูผลกระทบและมองเฉพาะผลกำไรทางธุรกิจ ซึ่งหลายพื้นที่มีการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม เช่น พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่ลุ่ม ไม่เหมาะกับการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม แต่ก็มีการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมมานาน" รุจิโรจน์กล่าว

อย่างไรก็ตามวิกฤติน้ำท่วมในปัจจุบัน จะเป็นโอกาสที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้มาร่วมมือกันแก้ปัญหา โดยต้องมาทำความเข้าใจร่วมกันว่า ปัญหาเกิดจากอะไร หากสภาพภูมิประเทศอยู่ติดริมแม่น้ำ ก็ต้องยอมรับว่าจะมีความเสี่ยงเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ 10 ปี 1 ครั้ง และต้องมีระบบชดเชยให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดการน้ำ โดยต้องมีการถกเถียงกันว่า จะเก็บน้ำหรือปล่อยน้ำกันอย่างไรเพราะบาง พื้นที่ปลูกข้าวได้ปีละ 4 ครั้ง แต่บางพื้นที่ปลูกข้าวได้ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งหัวใจสำคัญต้องมองเรื่องความเสมอภาคทางสิ่งแวดล้อม

"การบริหารจัดการน้ำที่โปร่งใส และเสมอภาค แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการชี้แจงความจริงเกี่ยวกับการจัดการน้ำ เพราะอาจกังวลว่าจะเกิดความขัดแย้ง แต่เชื่อว่าหากมีความโปร่งใสจะไม่เกิดปัญหาขัดแย้งเหมือนประชาชนจังหวัดชัยนาทกับสุพรรณบุรีที่เริ่มมีความขัดแย้งกัน เพราะไม่มีระบบบริหารจัดการ และไม่มีการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบที่ยอมรับได้ ทำให้มีการใช้อำนาจมาบริหารจัดการน้ำซึ่งเป็นเรื่องน่ากลัว เพราะเท่ากับให้ผู้ที่มีพวกมากมากำหนดแผนการจัดการน้ำ "รุจิโรจน์ สรุป




จาก ....................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ 16-11-2011 07:53


กทม.เสี่ยงต่ำกว่าระดับน้ำทะเลอีก 50 ปี


ผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ แนะ กทม. อาจทรุดต่ำกว่าระดับน้ำทะเลภายใน 50 ปี หากยังไม่มีมาตรการรับมือที่เตรียมพร้อม

สำนักข่าวเอเอฟพี วิเคราะห์ว่า กทม. อาจเผชิญความเสี่ยงภัยต่อการเกิดอุทกภัยมากกว่าเดิม 4 เท่า ในอนาคต เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ที่ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น และการทรุดของกรุงเทพฯ ที่ยังคงลดต่ำลง และถ้าหากยังไม่มีการวางแผนที่ป้องกันที่ดีพอ อาจทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯ อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลภายใน 50 ปี โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทย จะสูงขึ้น 19- 29 ซ.ม. ภายในปี ค.ศ.2050 เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก ทำให้กรุงเทพฯ ซึ่งทรุดตัวต่ำลงอยู่แล้ว จากการสูบน้ำใต้ดิน เผชิญความเสี่ยงในการถูกน้ำท่วมสูงกว่าเดิม นักวิชาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า หากยังไม่มีมาตรการเตรียมพร้อมที่ดีเพียงพอ พื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯ อาจลดต่ำกว่าระดับน้ำทะเลภายใน50 ปี

ทั้ง นี้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ oecd ยังได้จัดให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองติด 10 ลำดับสูงสุดในโลก ที่เสี่ยงต่อผลกระทบที่เกิดจากน้ำท่วมชายฝั่งภายในปี 2070 ด้วย

เอเอฟพียังได้อ้างคำสัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญการจัดการน้ำ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งฝรั่งเศส ว่า ในระยะยาวแล้ว กรุงเทพฯ จะจมอยู่ใต้น้ำแน่นอน แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นเมื่อใด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายคน ได้แนะว่า ทางการไทยจำเป็นจะต้องแก้ปัญหาการวางแผนและใช้ที่ดินให้เหมาะสม และคำนึงถึงการย้ายโรงงานและนิคมอุตสาหกรรมออกไปจากพื้นที่ ที่เสี่ยง ต่อการน้ำท่วม

นอกจากนี้ ยังระบุว่า หากกรุงเทพฯ ต้องการที่จะไม่เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมอีกเลย กรุงเทพฯ อาจจะต้องย้ายทั้งเมืองไปอยู่ที่ใหม่ในพื้นที่ที่อยู่สูง

อย่างไรก็ ตาม หากกรุงเทพฯ ยังคงจะตั้งอยู่ที่เดิม ก็จำเป็นต้องมีมาตรการตั้งรับภัยพิบัติที่ดีกว่านี้ในอนาคต โดยนักวิชาการด้านวิศวกรแหล่งน้ำชายทะเล จากมหาวิทยาลัยเซาท์แฮมป์ตัน ประเทศอังกฤษ ยังคาดการณ์ว่า เหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ จะทำให้มีการลงทุนด้านการป้องกันภัยพิบัติอย่างหนักอีกตลอด 10-20 ปีข้างหน้า




จาก ..................... สำนักข่าว inn วันที่ 15 พฤศจิกายน 2554

สายชล 18-06-2012 13:23

กทม.-ปริมณฑล"ระทึก! "เสรี"เตือนเสี่ยง"น้ำท่วม" ชี้มาเร็ว-แรง! เผยแนวฟลัดเวย์3เส้นทาง
 
มติชน


http://www.matichon.co.th/online/201...339924321l.jpg



สถานการณ์ฝนตกน้ำท่วมในหลายจังหวัด ตอนนี้ทำให้ชาวกรุงเทพมหานครและปริมณ ฑลเริ่มหวั่นไหว ใจคอไม่ค่อยดี ลุ้นกันว่าปีนี้น้ำจะมาอีกหรือไม่


ทาง"มติชนออนไลน์"จึงตามไปสอบถามกูรูผู้เชี่ยวชาญมาไขความกระจ่างในเรื่องนี้กับรองศาสตราจารย์ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต


ทำให้ได้ทราบข้อมูล และมีเรื่องน่าตกใจ และกังวลใจไม่น้อย ในหลักการบริหารจัดการภัยพิบัติ ไม่มีคำว่า"เอาอยู่" ไม่มี"พิมพ์เขียว"สำหรับการบริหารจัดการภัยพิบัติ


เพราะเป็นการบริหารความเสี่ยง เพราะฉะนั้นพิมพ์เขียวที่ได้วันนี้ พรุ่งนี้อาจใช้ไม่ได้ มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ในหลายพื้นที่ที่ถูกกำหนดเป็นพื้นที่รับน้ำนอง และแนวทางระบายน้ำ(ฟลัดเวย์ )แต่ชาวบ้านหลายพื้นที่ยังงง !!




ปีนี้น้ำจะท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณหรือไม่



โอกาสกรุงเทพมหานคร และปริมาณมณฑลมีความเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วมไม่เกิน 20% หากถามว่า เมื่อไหร่จะชัดเจนว่า น้ำจะท่วมกทม.และปริมฑลหรือไม่ ต้องรอปลายเดือนกรกฎาคม 2555 ข้อมูลถึงจะชัดเจน เพราะจะมีข้อมูลเรื่องฝนได้แม่นย้ำขึ้น ดูพายุเข้า และความรุนแรงของร่องมรสุม



ปริมาณน้ำจะมามาก หรือมาน้อย


มาในระดับปี 2549 อาจจะน้อยกว่าปีที่แล้ว แต่ความรุนแรงอาจจะถึงปี 2554 น้ำอาจจะมาเร็วขึ้น และปริมาณน้ำไม่จำเป็นต้องมาเท่าเดิม ปริมาณน้ำอาจน้อยกว่าเดิม แต่ความรุนแรงมากขึ้นก็ได้ เพราะพอเรากั้นน้ำก็สูงขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา ความเสี่ยงจะอยู่ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลมาก เพราะเมื่อพื้นที่จังหวัดด้านบนไม่เอาน้ำ นิคอุตสาหกรรม 30,000 ไร่ไม่เอาน้ำ ชุมชนเทศบาลต่าง ๆ ป้องกันหมด ยกคันขึ้นสูง 50 เซนติเมตรเกือบหมด นั่นหมายถึง น้ำต้องลงมาด้านล่าง อยุธยาจะรุนแรงขึ้น เพราะเป็นพื้นที่ต่ำ



โครงการทำแนวป้องกันน้ำถึงวันนี้จะช่วยได้เพียงใด


ปีนี้ได้งบประมาณในการดำเนินโครงการ 120,000 ล้านบาท และได้มีการแจ้งว่า ใช้ไปไม่ถึง 20,000 ล้านบาทหรือประมาณ 18% ขณะที่เหลือเวลาอีก 5 เดือน ทำให้เรากังวล โดยแบ่งได้ 3 ประการ 1) บางแห่งทำสำเร็จแล้ว 2)บางแห่งกำลังทำอยู่ 3)บางแห่งทำไม่ได้ เมื่อไหร่จะทำได้ ก็ไม่รู้ การประเมินยากมากตอนนี้ เช่น

พื้นที่รับน้ำนอง 2 ล้านไร่ไปถามชาวบ้าน หลายพื้นที่ประชาชนยังไม่ทราบว่า ที่ดินของตัวเองอยู่ในพื้นที่รับน้ำนอง ข้อมูลไปไม่ถึงชาวบ้าน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจริงใจมากมีการประกาศชัดเจน แต่พอลงไปข้างล่าง ไม่มีการสานต่อหลายที่ ข้าราชการในพื้นที่ไม่อยากไปเผชิญปัญหา




คณะกรรมการแก้ปัญหาน้ำท่วมเอง ก็ไม่ได้เห็นสอดคล้องกันหลายเรื่อง


แน่นอน เพราะเวลาจะตัดสินไม่ได้มีการประเมินแนวทางที่เข้าใจ เข้าถึง และค่อยพัฒนา ยกตัวอย่างการทำคันป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจ 300 กิโลเมตรไม่มีใครเห็นด้วย เพราะไม่ได้ประเมิน แต่เมื่อตัดสินใจไปอย่างนั้น เราก็อยากให้เกิด แต่ทำไม่ได้ ขณะนี้มีความขัดแย้งสูงในพื้นที่ ประเด็นตรงนี้ รัฐบาลควรจะแจ้งประชาชนให้เตรียมตัว ถ้าทำไม่ได้ แล้วไม่บอกประชาชน ปัญหาจะหนักขึ้น เพราะประชาชนไม่ได้เตรียมอะไรเลย คิดว่า โครงการของภาครัฐทำได้ จะเห็นว่า ทำไมนครปฐมถึงไม่เอาฟัดเวย์ เป็นเรื่องที่ท้องถิ่นกับผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานในท้องที่ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนว่า รัฐบาลมีนโยบายอย่างนี้แล้ว



การเตรียมการเรื่องฟลัดเวย์ไปถึงไหน


ฟลัดเวย์เป็นแผนระยะยาว ที่รัฐบาลออกพระราชกำหนด 350,000 ล้าน เป็นฟลัดเวย์ถาวรทางฝั่งขวา และฝั่งซ้าย 2 เส้นทาง หากถามว่า เส้นทางอยู่ทางไหน เขา

ยังเก็บอยู่เป็นความลับกลัวว่า จะมีปัญหาการเก็งกำไร แต่ไม่ต้องห่วงการเก็งกำไร เพราะนักการเมืองซื้อหมดแล้ว



ฟลัดเวย์ 350 กิโลเมตรที่ว่าเป็นแผนอย่างไร ตรงจุดไหน


ปีนี้เองก็มีฟลัดเวย์น้ำ ทำเป็นคันชั่วคราวยาวประมาณ 350 กม.พื้นที่จะป้อง คือ พื้นที่ในเมืองตั้งแต่แม่น้ำป่าสัก ลงมาคลองพระยาบันลือ จะผ่าน 3 เส้นทาง จุดแรกจะลงมาแม่น้ำเจ้าพระยา จะทำคันกั้นริมน้ำทั้งหมด ตั้งแต่อยุธยาลงมาถึงปทุมธานี ถ้าใครอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาต้องสังเกตว่า ทางราชการได้ไปเสริมถมถนนหรือยัง จุดที่ 2 จะทำคันดินริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำท่าจีน จะลงทุนป้องพื้นที่อุตสาหกรรม ส่วนปล่อยฝั่งขวาเป็นไปตามธรรมชาติ

และจุดที่ 3 ทางด้านฝั่งตะวันออก จะมีการทำคันจากคลองระพีพัฒน์ลงไปคลอง 13 และลงไปคลองด่าน เพราะฉะนั้นคนฝั่งซ้ายของคลองแปดริ้วน้ำจะท่วมสำหรับปีนี้


วันนั้นผมเดินทางลงพื้นที่ คนนครปฐมไม่ต้องการฟลัดเวย์ ขึ้นป้ายเต็มเลย ไม่ใช่แนวคิดเรา เป็นแนวคิดที่ออกมาแล้ว เราก็รู้ว่า ทำไม่ได้ เพราะผมบอกแต่แรกว่า จะได้รับการต่อต้านจากประชาชนสูงมาก ก็เรื่องจริง เงิน 120,000 ล้านบาท เบิกไปใช้เพียง 20,000 ล้านบาท เพราะไปตรงจุดไหน ไม่มีใครอยากให้ทำคันกั้น


สมมุติเราบ้านอยู่ฝั่งนี้ แล้วไปทำคันดินกั้น เห็นชัดเจนว่า ฝั่งนี้น้ำจะท่วม อีกฝั่งน้ำไม่ท่วม มันเป็นไปได้อย่างไร อันนี้หลักคิด การบริหารจัดการมันผิดหลักคิดแล้ว อันนี้เป็นส่วนหนึ่ง ปัญหาคือ ทำไม่เสร็จทำไม่ได้ เพราะความขัดแย้งสูง โหว่วเป็นจุด ๆ น้ำก็ทะลักอีก ในที่สุดถ้าน้ำมาเหมือนเดิม ผมคิดว่าก็ท่วมเหมือนเดิม แต่อาจจะหนักด้านท้ายน้ำ เพราะคันป้องไม่มีทางเสร็จทัน เหลือเวลาอีกเพียง 3-4 เดือน ถ้าคิดในแง่หลักความจริง เพราะฉะนั้นก็ไม่รู้จะทำอย่างไร สุดท้ายคงตัวใครตัวมัน




สิ่งที่อาจารย์กังวล และพยายามเตือนรัฐบาลมาตลอด แต่รัฐบาลไม่ฟัง


จริง ๆ ฟัง แต่ปัญหาในท้องถิ่นมีอะไรบ้าง ผู้บริหารข้างบนไม่ค่อยรู้ นี่คือปัญหาหลักในการบริหารจัดการ เวลานางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีลงไปดูในพื้นที่ มันคนละเรื่องกับผมลงไปดูในพื้นที่ หลายพื้นที่ยังไม่สามารถทำคันกันน้ำได้ และมีปัญหามาก พอนายกรัฐมนตรีลงไป คนข้าง ๆ กับพูดแต่ว่า "ดีครับนาย ได้ครับผม" บ้านเราก็เป็นอย่างนี้ ทั้งที่ปัญหามันต้องแก้ไข ต้องให้ข้อเท็จจริง


ณ ขณะนี้ "ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ" การตัดสินที่จะสู้กับมัน ด้วยวิธีการอย่างนี้ แต่ไม่ศึกษา "อันตราย" ความจริงผมประชุมกับนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เดือนมกราคมและบอกว่า ก่อนที่จะออกมาเป็นแผนแม่บท ขอให้นายกประเมินขั้นต้นก่อน แต่ไม่มีการประเมินมา จนกระทั่งปัจจุบันผ่านมา 6 เดือน บางอันถึงลงไปปฏิบัติไม่ได้ พอปฏิบัติไม่ได้ก็เกิดคำถามขึ้นมา


ผมเพิ่งกลับจากพิษณุโลก สุโขทัย ข้อมูลก็เพี่ยนอีก บางระกำโมเดล ทุกคนบอกป้องกันน้ำท่วมได้ พอมีบางระกำแล้ว สบายใจ แต่ตอนนี้น้ำท่วมบางระกำเต็มไปหมดเลย นี่คือ สิ่งที่เกิดขึ้น บางระกำโมเดล พื้นที่บ่อน้ำมี 30 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำอยู่ในพื้นที่บางระกำ 600 ล้านลูกบาศก์เมตร มันไม่ใช่ ความเข้าใจ มันต้องเข้าใจ เพราะฉะนั้นรอบ ๆ ด้านนายกรัฐมนตรีอันตรายมาก น่ากลัว เราเลยต้องพึ่งวิทยาศาสตร์ เราจะทำอย่างไรให้เกิดข้อเท็จจริง เกิดข้อมูลส่งให้นายกรัฐมนตรีกลั่นกรอง อย่างนี้ดีที่สุดจึง "ทุบโต๊ะ"



ข้อมูลที่ให้ผู้บริหารตัดสินใจจะต้องได้รับการกลั่นกรองว่า ทิศทางเป็นเช่นนี้แล้ว ต้องทุบโต๊ะ สังเกตปีที่แล้วจะเห็นว่า บางอย่างมันซื้อเวลา ปีที่แล้วจะขอเปิดประตูน้ำแห่งนี่ 1.20 เมตร บอกขอเวลาดู 2 วัน นั่นคือ ซื้อเวลาแล้ว "หายนะไม่สามารถจะขอได้" "ขอหายนะดู 2 วันได้หรือไม่"



นอกจากนี้ "แผนเผชิญเหตุ" เวลาออกมาบอกรัฐบาลได้ทำแผนเผชิญเหตุเสร็จแล้ว เวลาเราประชุมก็ถาม แผนเผชิญเหตุเป็นอย่างไร สมมุติมีชาวบ้านออกมาขัดค้าน 1,000 คน มีตำรวจมา 10 คน ข้ราชการบอก"หนี" นี่คือ แผนเผชิญเหตุหรือเปล่า ผมบอกหนี ผิดคำสั่งผู้บังคับบัญชา คำสั่งคือ ให้ปิดประตูน้ำตัวนี้ แต่พอชาวบ้านที่อยู่เหนือประตูน้ำมาอีก 1,000 คน บอกให้เปิดประตูน้ำ ข้าราชการบอกผิดก็ผิด ดีจะได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น เขาบอกอย่างนั้น




โครงการป้องกันน้ำท่วม1.2 แสนล้านบาทต้องมาทบทวนความเป็นไปได้


ถูกต้อง ขณะนี้ต้องรีบประเมิน และนายกรัฐมนตรีกำลังจะทำการประเมิน ผมเรียนท่านนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เดือนมกราคมแล้วว่าต้องรีบประเมิน ปัญหามันจะเกิด ก็เกิดจริง ๆ ปัญหามันไม่ไปถึงท้องถิ่น ตอนนี้ประเด็นปัญหาเริ่มสะท้อนกลับมาว่า ตกลงปีนี้ น้ำจะมาเหมือนเดิม จะท่วมหรือไม่ท่วม ขณะนี้ยังไม่มีใครตอบได้ ถ้าน้ำ

มาเหมือนเดิม จะท่วมหรือไม่ท่วม เพราะว่า มาตรการที่ลงไป ยังไม่สามารถสร้างเป็นรูปธรรมได้



ต้องทำประชาพิจารณ์ก่อนลงมือทำโครงการในพื้นที่ด้วยหรือไม่


ขึ้นกับขนาดโครงการ ถ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่ต้องทำประชาพิจารณ์ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ แต่ถ้าเป็นโครงการธรรมดา ก็เพียงแต่ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ทั้ง 2 ฝั่งว่า แผนเป็นแบบนี้เอาหรือไม่


สายชล 18-06-2012 13:25

การที่นิคมสร้างเขื่อนป้องกันถือว่าเป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่ ทางวิทยาศาสตร์


ผมว่า ถูกต้อง นิคมอุตสาหกรรมเป็นพื้นที่ที่สำคัญ ความเสียหายปีที่แล้วในพื้นที่อุตสาหกรรมทั้งหมด 1 ล้านล้านบาท การทำถูกต้อง เพียงแต่ทำแล้วไม่บอกกับประชาชนว่า น้ำจะไปหาประชาชนหรือเปล่า คือ การประเมิน เพราฉะนั้นก็เกิดความขัดแย้ง และใครก็ไม่กล้าไปเผชิญความขัดแย้ง ท้องที่เกิดความขัดแย้งเกิดขึ้น พื้นที่รอบ ๆ นิคมอุตสาหกรรมมีความขัดแย้งเกิดขึ้น




รัฐบาลควรต้องมีเงินชดเชยค่าตอบแทนให้กับประชาชนที่ต้องแบกรับน้ำแทนนิคมอุตสาหกรรม


ถูกต้อง ถ้าประเมินแล้วชาวบ้านไม่มีปัญหาเลย น้ำเพิ่มขึ้นมา 2 เซนติเมตรก็บอกประชาชนไป แต่ปัญหาคือ ไม่มีใครบอก ต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์ ต้องใช้หลักวิชาการบอก ถ้ารัฐบาลทำตั้งแต่เดือนมกราคมอยากที่ผมบอก ตอนนี้ทุกอย่างออกมาจบไปแล้ว




ตอนนี้ข้าราชการมีปัญหาเรื่องการประสานงานเหมือนปีที่แล้ว


ใช่ครับ หน่วยราชการเองยังประสานงานกันเองไม่ลงตัว ยังไม่ดี ขณะที่การประสานงานกับประชาชนยังไม่ทำให้ประชาชนเข้าใจอย่างถูกต้อง หลายเรื่องซึ่งอันตราย ยกตัวอย่างปีที่แล้ว ตรงประตูน้ำพระยาสุเรนทร์ปีที่แล้วมีปัญหา ตอนนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะมาตกลงกัน เรียกว่า การบริหารจัดการ ก่อนเกิดเหตุ จะเปิดเท่าไหร่ หากน้ำมาเท่านี้ อีก


อีกกรณีหนึ่งสุพรรณบุรีกับชัยนาท ปีที่แล้วในสุพรรณบุรีมีข้อตกลงกันว่า หลัง 15 กันยายนให้รีบเก็บเกี่ยว น้ำเข้าทุ่งแน่นอน แต่คนชัยนาทไม่รู้ข้อตกลงตัวนี้ น้ำเข้าท่วมตลาดวัดสิงห์หนัก ขณะที่สุพรรณบุรีน้ำในทุ่งยังไม่มี มีการไปพังประตูน้ำ เพื่อให้น้ำเข้าเร็ว ๆ แต่ในที่สุดจังหวัดสุพรรณบุรีก็ถูกน้ำท่วมหนัก สิ่งที่เกิดขึ้นความขัดแย้งจะบานปลายถ้าเราไม่แก้ปัญหาตัวนี้ เพราะฉะนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภัยพิบัติในทุกภาคส่วนต้องมาคุยกัน




พื้นที่รับน้ำนองประชาชนยังไม่ทราบว่า อยู่ตรงไหน


พื้นที่ 2 ล้านไร่ ผมรู้ว่า ตรงนี้เมื่อผมลงไปในพื้นที่ประชาชนยังไม่ทราบ รัฐบาลไม่ประกาศ เพราะมาตรฐานการจ่ายเงินมันต่างกัน ถ้าประกาศความขัดแยังจะเพิ่มขึ้นมาอีก คนนี้ได้ 2,200 บาท พอเป็นพื้นที่รับน้ำนองได้ 7,000 บาท ประชาชนอีกแห่งบอก เขาอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากทำไม ไม่ได้บรรจุอยู่ในพื้นที่รับน้ำนอง มันไม่ชัดเจน ไปถึงมีแต่ความขัดแย้ง



เรามีการเตรียมตัวรับกับอุทกภัยเหล่านั้นสักกี่เปอร์เซ็นต์แล้ว


ถ้าวัดในเชิงโครงสร้างต่าง ๆ ที่ไปทำ ยอมรับว่า วัดได้ยากจริง ๆ เพราะตอนนี้เกิดในลักษณะต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างเอาตัวรอด เพราะฉะนั้นเราไม่รู้ว่า ชุมชนนี้จะป้องสูงระดับไหน ประชาชนในพื้นที่จะบอกว่า ปีที่แล้วน้ำท่วมหนัก เขาจะทำเขื่อนขึ้นมาสูงเท่านั้นเท่านี้ จะทำได้หรือไม่ งบประมาณอยู่ที่ไหน เราก็ไม่รู้อีก จะมีกรณีอย่างนี้เต็มไปหมด



และแน่นอนปริมาณน้ำเหล่านี้จะไหลลงข้างล่าง คนกรุงเทพ และปริมณฑลมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะฉะนั้นคนที่ถูกน้ำท่วมปีที่แล้วจะเข็มแข็งขึ้น เพราะจะปกป้อง แต่คนที่ไม่โดนปีที่แล้ว จะไม่ทำอะไร เพราะถือว่า ผ่าเหตุการณ์ เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ถูกท่วมปีที่แล้วก็จะท่วมปีนี้ ธรรมชาติเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว


อยากน้อยฟังข้อมูลแล้ว...จะสู้หรือจะหนี คงต้องตัดสินใจเตรียมตัวกันเอง !!


เรื่องโดย : กฤษณา ไพฑูรย์





ขอบคุณ...มติชนออนไลน์...http://www.matichon.co.th/news_detai...catid&subcatid



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:19

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger