SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 15 กรกฏาคม 2563 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5218)

สายน้ำ 15-07-2020 03:20

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 15 กรกฏาคม 2563
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคเหนือและภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 15 - 17 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุม ประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้

ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 20 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุม ประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังแรงขึ้นลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 18 ? 20 ก.ค. 63 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย



https://lh3.googleusercontent.com/yx...-no?authuser=0


https://lh3.googleusercontent.com/jm...-no?authuser=0

สายน้ำ 15-07-2020 04:01

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


สุดยอดทีมวิจัยสตูลขยายพันธุ์ปลิงทะเลที่ใกล้จะสูญพันธุ์แห่งเดียวของไทยสำเร็จ

สุดยอดทีมวิจัยสตูล..ขยายพันธุ์ปลิงทะเลที่ใกล้จะสูญพันธุ์แห่งเดียวของประเทศไทยได้สำเร็จ แถมเป็นสินค้านิยมส่งออกขายมาเลเซียและจีน

https://lh3.googleusercontent.com/c1...-no?authuser=0

ที่ศูนย์วิจัยพัฒนาและพัฒนาประมง อันดามันตอนล่าง (สตูล) กรมประมง ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ทุกๆ วันเจ้าหน้าที่จะต้องดูดขี้จากปลิงกาหมาดจากบ่อพ่อแม่พันธุ์และบ่อลูกร่วม 300 ตัว ซึ่งเป็นการทำความสะอาดและนำเศษอาหารออกจากบ่อป้องกันน้ำเน่าเสียที่จะมีผลต่อปลิงกาหมาดได้

สำหรับ ปลิงกาหมาด เป็นหนึ่งในสัตว์ทะเลที่เสี่ยงจะสูญพันธุ์ เนื่องจากได้รับความนิยมในการจับมาเป็นอาหารและยารักษาโรคทำให้ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมง อันดามัน (สตูล) นำมาทดลองเพาะขยายพันธุ์จนประสบความสำเร็จแห่งแรกของประเทศไทย

ปลิงกาหมาด มีหลากหลายพันธุกรรม สีสัน ไม่มีตา มีต่อมรับแสงทั่วตัว เท้าเหนียวเหมือนตีนตุ๊กแก มีปากและมีหนวดรอบปาก การดูว่าเพศผู้หรือว่าเมียจะไม่สามารถดูได้ด้วยตาเปล่าจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อมีการปล่อยไข่น้ำเชื้อผสมไข่ด้านนอกตอนกลางคืนช่วง 13 ? 15 ค่ำ ออกไข่ครั้งละล้านตัวแต่อัตรารอดเพียงร้อยละ 19

ปลิงกาหมาด ตัวใหญ่สุดน้ำหนักมากถึงครึ่งกิโลกรัม ปลิงกาหมาดพบมากในพื้นที่ จ.สตูล นอกจากนี้ยังมีปลิงขาวและปลิงดำที่นำมาเพาะเพื่อขยายพันธุ์ด้วย ปลิงกาหมาด กินสาหร่ายบด ไม่ชอบแสง ชอบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังน้ำตื้น

https://lh3.googleusercontent.com/KI...-no?authuser=0

จากความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ปลิงทะเลของทางศูนย์วิจัยพัฒนาประมงฯ สามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติไป 1,200 ตัวขนาด 8-10 เซนติเมตรตามแนวปะการังน้ำตื้นชายฝั่ง อ.ละงู และเกาะสาหร่าย อ.เมืองสตูลแล้ว

นางสาวพัชรา แมเราะห์ นักวิจัยศูนย์วิจัยพัฒนาและพัฒนาประมง อันดามันตอนล่าง (สตูล) กรมประมง กล่าวว่า แม้จะไม่ใช่สัตว์คุ้มครองแต่พบว่าใกล้จะสูญพันธุ์เนื่องจากชาวบ้านนิยมจับมารับประทานและทำเป็นยารักษาโรค จึงมีการเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์พ่อแม่ปลิงทะเลเพื่อปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติเนื่องจากปลิงทะเลจะขยายพันธุ์ช้าอาจสูญพันธุ์ได้ และที่ จ.สตูลเป็นแห่งเดียวของประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ปลิงทะเลเหล่านี้

ชาวบ้านนิยมนำปลิงกาหมาด มาทำยาสมานแผลน้ำมันกาหมาดหรือนำมาดองน้ำผึ้งให้สตรีทานหลังคลอดบุตรเพราะเชื่อว่าเป็นการสมานแผลสดได้ดี อีกทั้งเป็นสินค้านิยมส่งออกขายมาเลเซีย และจีน โดยปลิงขาวกิโลละ 500 บาท ตากแห้ง 3,000 - 10,000 บาท ปลิงกาหมาดกิโลละ 200 บาท ไม่นิยมตากแห้ง ปลิงดำสดไม่มีราคาตากแห้ง 450 บาท


https://www.naewna.com/likesara/505302


สายน้ำ 15-07-2020 04:05

ขอบคุณข่าวจาก Nation TV


ไขคำตอบ "ปลาทะเลไม่มีพยาธิ" จริงหรือ?

ความเชื่อของหลายๆคนที่คิดว่า "ปลาทะเลไม่มีพยาธิ" เป็นที่ถกเถียงกันมานานว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ วันนี้มีคำตอบ .

https://lh3.googleusercontent.com/E7...-no?authuser=0

คนชอบกินปลาดิบอาจต้องระวังให้มากขึ้น เมื่อศูนย์วิจัยโรคปรสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (PDRC) ได้เผยแพร่บทความผ่านเพจเฟซบุ๊ก ระบุถึงการพบพยาธิมากมายในปลาซาบะ รวมถึงปลาทะเลชนิดอื่นๆ ซึ่งสามารถลบล้างความเชื่อของหลายๆคนที่คิดว่า "ปลาทะเลไม่มีพยาธิ" ไปได้อย่างชัดเจน โดยเพจดังกล่าวระบุข้อความดังนี้...


พยาธิตัวกลมทั้งหมดนี้พบในปลาซาบะสดที่ซื้อมาจากห้างแห่งหนึ่งในบ้านเรา ตัวเล็กๆเป็นเส้นๆ จำนวน 30 กว่าตัวจากปลาซาบะตัวเดียว

พยาธิระยะตัวอ่อนจะอยู่ในอวัยวะภายในช่องท้องและกล้ามเนื้อของปลา มองเห็นด้วยตาเปล่าขนาดประมาณ 1-2 ซม. X 0.3-0.5 มม.

ปกติแล้ว ปลาทะเลเมื่อนำมาจากทะเล จะแช่แข็ง -20 ถึง -35 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 1-2 วัน เพื่อกำจัดพยาธิ เวลาท่านชำแหละเนื้อปลาหากพบพยาธินิ่งสนิทแสดงว่าตาย แต่หากพบเคลื่อนไหวอยู่ ซึ่งอาจจะพบได้เช่นกัน ก็ควรงดการรับประทานดิบ

หลายท่านอาจจะมีความเชื่อว่า ปลาทะเลไม่มีพยาธิ ความจริงแล้วมีเยอะมากเช่นกัน มีการสำรวจชนิดพยาธิในปลาซาบะ หลายงานวิจัย พบพยาธิ Kudoa sp., didymozoid sp., Anisakis sp., Rhadinorhynchus sp., Pseudokuhnia sp. เป็นต้น

https://lh3.googleusercontent.com/1T...-no?authuser=0

ที่เห็นในภาพนี้ จำแนกด้วยสายตาระบุได้ยากว่าคือชนิดใด จำเป็นต้องตรวจทางชีวโมเลกุล แต่เทียบเคียงคร่าวๆได้ใกล้เคียงกับพยาธิ Anisakis ที่พบได้บ่อยในปลาทะเล อาทิ ปลาเซลม่อน ปลาเทร้าท์ ปลาคอด ปลาเฮอริ่ง ปลาซาบะ เป็นต้น

อาการที่พบเมื่อติดพยาธิ จะเริ่มเกิดหลังรับประทานอาหารที่มีพยาธินี้ เป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน มีอาการ ปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ ท้องอืด คล้ายกับอาการของโรคกระเพาะอาหาร อาจมีอาการท้องเสีย หรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด อาการเหล่านี้จะเกิดจากการเคลื่อนที่ไชในกระเพาะอาหาร และลำไส้


https://www.nationtv.tv/main/content...ampaign=recent

สายน้ำ 15-07-2020 04:10

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


โลกยังร้อนไม่หยุดแม้เจอโควิด ย้ำนานาชาติเร่งลดปล่อยคาร์บอน ก่อนหลุดเป้าความตกลงปารีส ................ โดย ปรัชญ์ รุจิวนารมย์

นักภูมิอากาศเตือน โลกเสี่ยงพลาดเป้าหยุดสภาวะโลกร้อนตามความตกลงปารีส และอาจต้องเผชิญกับผลกระทบใหญ่หลวงจากภัยการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศแบบสุดขั้ว หลังองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) คาดการณ์ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยโลกยังคงมีแนวโน้มไต่ระดับสูงขึ้น จนอาจพุ่งทะลุเส้นตายคุมโลกร้อนที่ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2563 WMO เปิดเผยรายงานการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกช่วงระหว่างปี พ.ศ.2563 ? พ.ศ.2568 ซึ่งชี้ว่า สภาวะโลกร้อนจะยังคงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยในขณะนี้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกได้เพิ่มขึ้นถึงระดับ 1 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิเฉลี่ยก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมแล้ว และคาดว่าภายในไม่กี่ปีข้างหน้า เราอาจได้เห็นอุณหภูมิของโลกทะยานขึ้นในระดับ 0.91 ? 1.59 องศาเซลเซียส ทะลุกรอบเส้นตายการควบคุมสภาวะโลกร้อนตามเป้าหมายของความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่ตั้งเป้าควบคุมไม่ให้อุณหภูมิโลกพุ่งสูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส

https://lh3.googleusercontent.com/iI...-no?authuser=0
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นกลุ่มควันไฟพวยพุ่งจากทุ่งทุนดราที่กำลังถูกไฟป่าเผาผลาญ บริเวณแม่น้ำ Berezovka ในประเทศรัสเซีย //ขอบคุณภาพจาก: Maxar Technologies

จากการประเมินปัจจัยผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ ตลอดจนปัจจัยด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่ส่งอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศโลก โดยใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ชั้นนำ ทีมนักอุตุนิยมวิทยาชี้ว่า ในระหว่างช่วง 5 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มประมาณ 70% ที่อุณหภูมิเฉลี่ยในบางช่วงเดือนจะมีอุณหภูมิสูงถึง 1.5 องศาเซลเซียสจากช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม และมีแนวโน้มราว 20% ที่อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีจะมีอุณหภูมิสูงแตะระดับ 1.5 องศาเซลเซียส นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขนานใหญ่ทั่วโลก

Petteri Taalas เลขาธิการ WMO กล่าวว่า ผลการพยากรณ์ดังกล่าวได้ย้ำเตือนถึงความท้าทายใหญ่หลวงของประชาคมโลกในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกภายในศตวรรษนี้ ไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความตกลงปารีส

"แม้ว่าอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงระหว่างการระบาดไวรัส COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้อัตราการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงปีนี้ลดต่ำลงด้วย อย่างไรก็ดี WMO ย้ำเตือนว่า ปรากฎการณ์ดังกล่าวไม่สามารถทดแทนการดำเนินมาตรการแก้ไขโลกร้อนอย่างเป็นระบบได้ เนื่องจากการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ชั่วคราวจากผลพวงการระบาดไวรัส COVID-19 ไม่สามารถช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมในชั้นบรรยากาศ ที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนได้" Petteri ระบุ

"ในขณะที่ปีนี้เราได้เห็นพิษภัยของไวรัส COVID-19 ที่ก่อให้เกิดวิกฤตด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจไปทั่วโลก ผลพวงจากความล้มเหลวในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยิ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวงและยาวนานต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลก ดังนั้นประชาคมโลกจึงควรใช้โอกาสนี้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน เพื่อให้เราสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจและสังคมหลังวิกฤต COVID-19 ได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน"

https://lh3.googleusercontent.com/R7...-no?authuser=0
กราฟสถิติอุณหภูมิเฉลี่ยเดือนพฤษภาคมของโลก แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิของโลกกำลังทะยานสูงขึ้นจนเข้าใกล้จุดอันตรายที่ 1.5 องศาเซลเซียส //ขอบคุณภาพจาก: NASA GISS Data

ในขณะที่ Niklas Hagelberg ผู้ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวย้ำว่า ผลการพยากรณ์ที่ชี้ถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมาวงการวิทยาศาสตร์ได้แสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงสภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้นแทบทุกๆ ปี อย่างไรก็ดี เราได้เรียนรู้บทเรียนราคาแพงจากวิกฤตการระบาดไวรัส COVID-19 ทั่วโลกในปีนี้ว่า มนุษย์จำเป็นต้องพึ่งพิงความมั่นคงของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างยิ่ง

"วิกฤตการระบาดไวรัส COVID-19 เปิดโอกาสให้มนุษยชาติได้ตั้งคำถามต่อระบบต่างๆ ที่ขับเคลื่อนสังคมของเรา ดังนั้นนี่จึงเป็นโอกาสอันดียิ่งที่เราจะกลับมาทบทวนระบบเศรษฐกิจและสังคมโลก เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่แนวทางการพัฒนาที่สะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน" Niklas กล่าว

UNEP อธิบายว่า อุณหภูมิเฉลี่ยโลกที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ถือเป็นหมุดหมายสำคัญในการป้องกันผลกระทบจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบสุดขั้ว เพราะเมื่ออุณหภูมิโลกขยับขึ้นไปถึง1.5 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม จะส่งผลให้เกิดสภาวะโลกร้อนรุนแรง สร้างความเสียหายอย่างประเมินค่ามิได้ต่อทั้งระบบนิเวศ สังคม และความเป็นอยู่ของมนุษย์

"มีการศึกษาและงานวิจัยวิทยาศาสตร์จำนวนมากยืนยันว่า หากโลกร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส จะส่งผลให้แนวปะการังทั่วโลกกว่า 70% ฟอกขาว, ภัยพิบัติเกี่ยวกับสภาพอากาศจะยิ่งเกิดถี่และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น, นอกจากนี้ ถิ่นที่อยู่อาศัยครึ่งหนึ่งของประชากรแมลงจะถูกทำลาย ส่งผลกระทบต่อพืชที่พึ่งพิงแมลงผสมเกสร และนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนอาหารในที่สุด" UNEP ระบุ

https://lh3.googleusercontent.com/cR...-no?authuser=0
แผนภาพเปรียบเทียบอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกในเดือนพฤษภาคมปีนี้ กับค่าเฉลี่ยมาตรฐาน แสดงให้เห็นว่าโลกกำลังร้อนขึ้นอย่างชัดเจน //ขอบคุณภาพจาก: UN Environment

UNEP ยังรายงานอีกว่า ปี พ.ศ.2563 ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งในปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการตรวจวัด โดยระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาพุ่งสูงจนทำลายสถิติเดือนพฤษภาคมที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ ในขณะที่เดือนมิถุนายนนี้ก็ร้อนไม่แพ้กัน และรั้งตำแหน่งเดือนมิถุนายนที่ร้อนที่สุดเป็นลำดับสอง สภาพอากาศที่ร้อนผิดปกติช่วงเดือนมิถุนายนในแถบขั้วโลกเหนือยังก่อให้เกิดไฟป่าครั้งร้ายแรง เผาไหม้ทุ่งทุนดราในแถบไซบีเรียเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณกว่า 59 เมกกะตัน ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ เสริมให้อุณหภูมิโลกยิ่งสูงขึ้น

แนวโน้มสภาพอากาศทั่วโลกที่ร้อนขึ้นอย่างผิดปกติในปีนี้ สอดคล้องกับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศสูงที่ทำลายสถิติสูงสุดอีกครั้ง จากการตรวจวัดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ สถานีตรวจวัดบนยอดเขา Mauna Loa โดยองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (NOAA) ซึ่งพบว่าค่าเฉลี่ยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในวันดังกล่าวพุ่งสูงถึง 418.32 ppm

ในขณะที่ในปีนี้ ประเทศไทยก็เผชิญกับสภาพอากาศร้อนผิดปกติเช่นกัน จากการเก็บข้อมูลสถิติสภาพภูมิอากาศทั่วโลก โดย Maximiliano Herrera นับตั้งแต่เริ่มวันขึ้นปีใหม่ จนถึงวันที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยในของประเทศไทยในเดือนมีนาคม และเดือนมิถุนายน ได้พุ่งสูงจนทำลายสถิติอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนสูงสุดเท่าที่เคยมีการตรวจวัด


https://greennews.agency/?p=21389



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:45

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger