SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   ท่องเที่ยวทั่วแผ่นดิน (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=5)
-   -   ขับรถท่องเที่ยวเทียวไป ทั่วแคว้นแดนไกล...หนองคาย...ลาว...เลย...ภาคที่ 2 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=2005)

สายชล 05-05-2012 18:59



วันนี้...เราจะไปชมทุ่งไหหิน ที่มีชื่อเสียงของแขวงเชียงขวางกันค่ะ แม้ว่าอากาศจะหนาว 9 องศาเซลเซียส และเมฆหมอกเต็มท้องฟ้าก็ตาม..

เมื่อรถทุกคันพร้อม..ขบวนคาราวานก็เคลื่อนที่ออกจากโรงแรม มุ่งหน้าไปทางตะวันออกของตัวเมืองโพนสะหวัน ที่เป็นที่ตั้งของทุ่งไหหิน ในระหว่างทาง...ไกด์สาวชาวลาว ได้เล่าให้เราฟังเรื่องแขวงเชียงขวางว่า ที่นี่เป็นแขวงที่อยู่ติดกับเวียตนาม ในอดีตเมื่อราวเกือบ 400 ปีมาแล้ว เคยตกเป็นเมืองขึ้นของเวียตนาม และถูกบังคับให้แต่งกาย และใช้ขนบธรรมเนียมประเพณีของเวียตนาม แต่ชาวเชียงขวางได้ต่อสู่จนเป็นอิสระและมารวมอยู่กับลาว






ในปี พ.ศ. 2513...ระหว่างสงครามอินโดจีนหรือสงครามเวียตนาม เชียงขวางกลายเป็นสมรภูมิรบอันดุเดือด เนื่องจากเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ห่างจากนครเวียงจันทน์ประมาณ 400 กิโลเมตร และจากเมืองโพนสะหวันซึ่งเป็นเมืองหลวงของเชียงขวาง ข้ามเทือกเขาอันสลับซับซ้อนบนทางหลวงหมายเลข 7 ไปสิ้นสุดที่ ด่านน้ำกลั่น ชายแดนทางตอนเหนือของประเทศเวียตนาม ระยะทางเพียงแค่ 130 กิโลเมตร


ในช่วงสงครามอินโดจีนเส้นทางสายนี้เคยใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุง รวมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆจากประเทศเวียตนามเหนือ สู่ขบวนการประเทศลาว ซึ่งในขณะนั้นเป็นพันธมิตรซึ่งกันและกัน เส้นทางสายนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เส้นทางโฮจิมินห์"




ขบวนการลาวได้ตัดสินใจตั้งกองบัญชาการใหญ่ขึ้นที่นี่ กองทัพอากาศอเมริกัน จึงส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด บี 52 เข้ามาทิ้งระเบิดปูพรหมหมายทำลายล้างขบวนการลาวอย่างหนัก หมู่บ้านใหญ่น้อยหลายร้อยแห่ง ตลอดจนวัดวาอารามถูกทำลายแทบทั้งหมด ที่หนักหนาสาหัส คือ "ฝนเหลือง" ที่ถูกโปรยลงมาตามแหล่งน้ำ และป่าเขาของเชียงขวาง ส่งผลให้ราษฏรและทหารฝ่ายขบวนการประเทศลาว ต้องอพยพเข้าไปอยู่ตามถ้ำและหุบเขาทั่วไป ในแขวงเชียงขวางและข้างเคียง




ไกด์สาวบอกเราด้วยน้ำเสียงเจ็บปวดว่า ชาวเชียงขวางเจ็บช้ำน้ำใจกับเรื่องนี้มาก เธอชี้ให้เราดูว่าสองข้างทางที่เราเห็น เป็นผลพวงของสงครามครั้งนั้น 30 กว่าปีผ่านไป..ระเบิดที่ยังไม่ระเบิด สามารถพบเห็นได้มากมายในดินแดนของแขวงเชียงขวาง บางส่วนได้ถูกกู้ไปแล้ว แต่ผลพวงของ "ฝนเหลือง" ยังส่งผลกระทบ ทำให้ดินแดนแถบนี้รกร้าง ทำไร่นาและสวนไม่ได้ผล


ที่ เมืองคูน เมืองหลวงเก่า ยังคงมีร่องรอยของสงครามให้เห็นอยู่โดยทั่วไป ซากปรักหักพังบางแห่ง ทางรัฐบาลลาวได้อนุรักษ์เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็น ถึงพิษภัยของสงครามที่เกิดขึ้นเมื่อในอดีต ร่องรอยของหลุมระเบิดขนาดใหญ่จากฝูงบิน บี 52 ของอเมริกันยังคงมีให้เห็นกันอยู่ทั่วไป ปัจจุบันได้ถูกดัดแปลงให้เป็นบ่อเลี้ยงปลาในนาข้าว ซากของลูกระเบิดน้ำหนักหลายสิบตัน ถูกดัดแปลงมาเป็นรั้วบ้าน เสาบ้าน รางข้าวหมู ที่นั่งเล่น เตาปิ้งบาร์บีคิวสำหรับนักท่องเที่ยว...





สายชล 05-05-2012 19:17



เรานั่งอยู่บนรถ ไม่ได้เห็นภาพอย่างที่ไกด์บอก แต่ก็รู้สึกได้ว่า สองข้างทางดูแห้งแล้ง ต้นไม้ต้นไร่ดูไร้ชีวิตชีวา ดินบางแห่งมีสีผิดปกติจากที่ได้เห็นแถววังเวียง หรือภูเพียงฟ้า..


http://i835.photobucket.com/albums/z...g-Kwang_16.jpg


รถเริ่มวิ่งแยกเข้าสู่ทุ่งไหหินกลุ่มที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองโพนสะหวัน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไปทางเมืองคูนเมืองหลวงเก่า ระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร


เรานำรถเข้าไปจอดในลานจอดรถเป็นระเบียบเรียบร้อย นอกจากขบวนรถคาราวานของพวกเราแล้ว มีรถตู้นักท่องเที่ยว ที่ส่วนมากเป็นพวกฝรั่งหัวแดง จอดอยู่แล้วหลายคัน..


http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_02.jpg


ทางเข้า มีป้ายบอกว่าแถวนี้เป็นเขตที่ยังกู้กับระเบิดไม่หมด ให้เดินในเขตสีขาวที่มีการกู้ระเบิดออกแล้วเท่านั้น มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายได้


การกู้ระเบิดครั้งนี้ รัฐบาลลาวได้รับการช่วยเหลือ และสนับสนุนเป็นอย่างดี จาก UNESCO


http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_03.jpg


ป้ายที่เห็นอยู่คู่กัน เป็นภาพวาดวิธีการที่จะช่วยกันดูแลทุ่งไหหิน...



สายชล 05-05-2012 20:06


ทางเดินเข้าทุ่งไหหิน เป็นทางดินลูกรังผ่านเข้าไปในทุ่งหญ้าคา ที่รกเรื้อสองข้างทาง...เดินไปๆ สายชลชักจะเริ่มหอบ เพราะทางเดินเริ่มไต่สูงขึ้นไปบนเนิน ระยะทางก็ไม่ใช่ใกล้ๆ คนแก่ชักจะหมดแรง...


http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_05.jpg


พอพ้นยอดเนิน...ก็เห็นผู้คนมากมาย เดินยั้วเยี้ยๆอยู่ตามไหใบใหญ่ ที่ตั้งบ้าง นอนตะแคงบ้างอยู่บนยอดเนิน..


http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_06.jpg


ขอหยุดหายใจหน่อยค่ะ...ตอนนี้ปล่อยให้คนอื่นเขาดูไหกันไปก่อนนะคะ..


สายชล 05-05-2012 20:19





ทุ่งไหหิน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของแขวงเชียงขวาง ชาวบ้านไปพบเข้าระหว่างไปหาของป่าและล่าสัตว์ ซึ่งภาชนะมีรูปทรงคล้ายไหทำด้วยหินทรายนี้มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ น้ำหนักมากที่สุดถึง 15 ตันและใบที่เล็กที่สุดหนักประมาณ 40 – 50 กิโลกรัม กระจัดกระจายอยู่ในละแวกของเมืองโพนสะหวัน จึงเรียกที่นี่ว่า "ทุ่งไหหิน" (Plain of Jars)


http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_09.jpg



จริงๆแล้วยังมีไหหินในทุ่งต่างๆของแขวงเชียงขวาง แต่ที่โพนสะหวันมีมากที่สุด คนจึงนิยมมาเที่ยวที่ทุ่งไหหิน เมืองโพนสะหวันมากกว่าที่อื่นๆ..



http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_11.jpg

สายชล 05-05-2012 20:36



ไหหินส่วนใหญ่สกัดมาจากหินทราย ที่เป็นวัสดุที่หาง่ายในบริเวณนั้น แต่ก็มีอยู่หลายใบ ที่ปรากฏร่องรอยว่าถูกชักลากมาจากที่อื่น บางไหยังสกัดไม่เสร็จก็มีค่ะ...


http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_10.jpg


ส่วนที่ไปที่มาของไหหินเหล่านี้ ยังไม่มีใครยืนยันได้ว่าไหหินมีไว้เพื่อทำการใด มีแต่เพียงข้อสันนิษฐาน 3 ประการว่า


ประการที่ 1...อาจจะทำขึ้นเพื่อบรรจุคนตายในสมัยก่อน หลายพันปีมาแล้ว (ก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ 3,000-4,000ปี) ตามความเชื่อของคนในสมัยนั้นที่ว่า สถานที่ฝังศพคนตายต้องรักษาไว้ในที่สูง เพื่อหลีกเว้นการเซาะพังทลายจากน้ำ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ไหหินอยู่ในสถานที่เป็นเนินสูง


ประการที่ 2...อาจจะเป็นไหเหล้าของนักรบโบราณ คือตามตำนานกล่าวไว้ว่าระว่างศตวรรษที่ 8 นักรบผู้กล้าหาญของลาวผู้หนึ่ง ชื่อว่า ท้าวขุนเจือง ได้ยกกำลังพลไปทำสงคราม แล้วก็ได้ชัยชนะอยู่ที่เชียงขวาง หลังจากได้รับชัยชนะแล้ว ก็ได้ทำการฉลองชัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 7 เดือน ไหที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นไหเหล้าสำหรับเลี้ยงไพร่พลในการฉลองชัยชนะของท้าวขุนเจือง ในคราวนั้น ดังนั้นคนลาวทั่วไปมักเรียกว่า “ไหเหล้าเจือง”



ประการที่ 3...เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติเช่นเดียวกับ Stone Henge ที่คล้ายคลึงกันคือเป็นหินตั้งกลางแจ้ง






ทุ่งไหหินที่เชียงขวางนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม


กลุ่มที่ 1...อยู่ห่างจากเมืองโพนสะหวัน 7.5 กิโลเมตร มีไหหินกระจัดกระจายอยู่ประมาณ 200 กว่าใบ มีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มอื่นๆ และมีไหใบใหญ่ที่สุดอยู่ที่นี่

กลุ่มที่ 2...อยู่ห่างออกไป 25 กิโลเมตร มีไหหินประมาณ 90 กว่าใบ


กลุ่มที่ 3...อยู่ห่างกลุ่มที่ 2 ไปประมาณ 10 กิโลเมตร มีไหหินอยู่ประมาณ 150 ใบ กระจายอยู่บนเนินเขาลูกเล็กๆ




สายชล 05-05-2012 20:49



ทุ่งไหหินที่เรามาเที่ยวกันนี้...เป็นทุ่งไหหินกลุ่มที่ 1 เพราะอยู่ไม่ไกล ไปมาสะดวก มีจำนวนมาก และไหใบใหญ่กว่ากลุ่มอื่นๆค่ะ


ดูความใหญ่ของไหใบใหญ่ที่สุดในบริเวณนี้ เทียบกับคนตัวใหญ่ๆเหมือนไหอย่างสองสายสิคะ...


http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_19.jpg



เขาว่าใบใหญ่ที่สุด..มีขนาดสูง 3.25 เมตร และปากกว้าง 3 เมตร


http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_21.jpg


ไหใบใหญ่ที่สุด...คงไม่ใช่ไหที่อยู่แถวๆนี้นะคะ...



http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_23.jpg

สายชล 05-05-2012 21:03



มองลงไปจากเนิน...มีไหหินเกลื่อนกลาด อยู่ในทุ่งข้างล่าง มากกว่าที่บนเนินนี้ ที่มีอยู่เพียง 20 ใบ


เดินลงไปดูดีกว่า..



http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_30.jpg


เราต้องเดินไต่ลงไปตามทางเดินที่เห็นๆอยู่ ไม่แตกแถวไปเดินในบริเวณอื่น เพราะเห็นรอยหลุมขนาดใหญ่อยู่ริมทางเดิน และไกด์บอกว่า นั่นคือหลุมระเบิดเก่า..


http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_27.jpg


มีป้ายปักไว้..ยืนยันว่าเป็นหลุมระเบิดจริงๆนะ จะบอกให้...


http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_28.jpg


สายชล 05-05-2012 21:17



ไหหินข้างล่างนี่มีสัก 70 ใบ เห็นจะได้...มากกว่าที่มีอยู่บนเนินที่เราไปดูมาแล้วจริงๆด้วยค่ะ



http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_24.jpg


แต่ไหข้างล่างนี่ ใบเล็กกว่าไหที่ได้เห็นข้างบนมาก..



http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_26.jpg


ขนาดของไห น่าจะมีการแบ่งชั้นวรรณะของผู้ใช้ประโยชน์จากไห หรือไม่หนอ...?


http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_29.jpg

สายชล 06-05-2012 10:41



ไม่ไกลจากลานทุ่งไหหินที่เราเดินดูอยู่นัก มีเขาลูกย่อมๆ ที่มีผู้คนเดินตรงไปที่นั่นกันเป็นทิวแถว ถามไถ่เพื่อนร่วมกองคาราวานว่าผู้คนเดินไปที่นั่นทำไมกัน เขาบอกว่าไปดูถ้ำ

ต้องมีอะไรดีแน่ๆ เดินตามไปดีกว่า...


http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_31.jpg


ระหว่างทาง...เราเจอหลุมระเบิดเป็นระยะๆ ดูที่นี่จะเป็นยุทธภูมิกรำศึก เดิมไหคงมีอยู่มากมาย แต่คงจะแตกไปเยอะเพราะระเบิด


http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_35.jpg



เมื่อไปใกล้ๆเนินเขา..ก็เห็นปากถ้ำเล็กๆ เดิมทีคงมีไม้ใหญ่ขึ้นบังปากถ้ำอยู่ แต่ถูกตัดไปเหลือไว้ให้เห็นแต่ราก มีผู้คนยืนล้นออกมาที่ปากถ้ำอยู่หลายคน แว่วเสียงไกด์กำลังเล่าเกี่ยวกับถ้ำ จับใจความได้ว่า ถ้ำเล็กๆแห่งนี้ ชาวบ้านใช้เป็นที่หลบลูกระเบิดที่อเมริกันนำมาทิ้งแถวๆนี้ เหมือนมีเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำถ้ำนี้ ช่วยคุ้มครองป้องกันให้ผู้คนอยู่รอดปลอดภัย ได้มากมายหลายราย เมื่อเสร็จสงครามแล้ว จึงมีการตั้งศาลไว้กราบไหว้บูชาที่หน้าถ้ำ เพื่อแสดงความคารวะและขอบคุณ...


http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_32.jpg



เรารอจนคนออกจากถ้ำไปจนเกือบหมด จึงเข้าไปในถ้ำ โดยไม่ลืมที่จะไหว้ศาลที่ตั้งไว้ด้านซ้ายของปากถ้ำก่อน เพื่อแสดงความคารวะ...



http://i835.photobucket.com/albums/z...Hai-Hin_33.jpg

สายชล 06-05-2012 11:22



ถ้ำที่เราได้เห็นนั้น มีลักษณะเหมือนสุ่มไก่หรือปล่องไฟเตาผิง พื้นเป็นดินราบเรียบ มีหินตกเกลื่อนอยู่เป็นหย่อมๆ เนื้อที่ในถ้ำตกราว 20 ตารางเมตร ลักษณะภายในถ้ำไม่ลึกมากนัก สามารถบรรจุคนได้ 20 –30 คน ถ้ำแห่งนี้เคยใช้เป็นที่หลบภัยสงครามของชาวเมืองเชียงขวางยามเมื่อเครื่องบินมาทิ้งระเบิด ปากถ้ำโค้งมนเหมือนมีใครมาเจาะและตกแต่งไว้...




ผนังถ้ำหินแดงที่ล้อมเป็นวงกลม สูงตรงขึ้นไปจากพื้นราว 5 เมตร ก่อนที่จะสอบเข้าหากันเหมือนปล่องไฟสูงจากพื้นราว 20 เมตร ที่ปลายบนสุดเยื้องไปทางด้านตะวันตกเล็กน้อย มีช่องทะลุทรงรี กว้างราวครึ่งเมตร เปิดรับแดดและลมอยู่ แสงแดดยามสายส่องทะลุผ่านช่องทะลุเข้ามา เป็นลำสีเงินยวง ให้แสงสว่างแก่ถ้ำนี้ได้เป็นอย่างดี

เรายืนอยู่ในถ้ำนั้น ด้วยความรู้สึกสลดรันทดใจ เมื่อนึกถึงสภาพผู้คนที่คงอกสั่นขวัญหาย เข้ามาอาศัยถ้ำนี้หลบภัยจากลูกระเบิด ที่ถูกทิ้งลงมาจากเครื่องบินไม่ขาดสาย..




เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 21:41

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger