SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   ปะการังฟอกขาว (Coral Bleaching) (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=1332)

สายน้ำ 14-01-2011 17:27

ปะการังฟอกขาว (Coral Bleaching)
 

ในปี 2553 สถานการณ์ปะการังฟอกขาว ได้แพร่กระจายไปทั่วทั้ง 2 ฝั่งของทะเลไทย มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ สาเหตุสำคัญมีทั้งมาจากธรรมชาติและน้ำมือมนุษย์

แต่ก่อนจะเข้าไปถึงเนื้อหาที่ค่อนข้างเครียด สองสายจะให้ชม VDO Clips ทั้งของไทยและของต่างประเทศ ที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆกันก่อน เป็นการอุ่นเครื่อง


เริ่มจาก VDO เผยแพร่ของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อน

ปะการังฟอกขาวคืออะไร?





สายน้ำ 14-01-2011 17:29


สาเหตุของปะการังฟอกขาว




สายน้ำ 14-01-2011 17:30


การแก้ปัญหาการเกิดปะการังฟอกขาว





สายน้ำ 17-01-2011 08:33


ได้รับรายงานล่าสุด เกี่ยวกับ ผลกระทบจากการเกิดปะการังฟอกขาวปี 2553
โดย กลุ่มชีววิทยาและนิเวศวิทยาทางทะเลและชายฝั่ง สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน

แต่เนื่องจากไฟล์เป็น pdf ผมจึงแปลงเป็น jpg จะได้โพสต์ให้อ่านได้ทั่วๆกันครับ




http://i835.photobucket.com/albums/z...-Coral_P01.jpg

สายน้ำ 17-01-2011 08:33

http://i835.photobucket.com/albums/z...-Coral_P02.jpg


http://i835.photobucket.com/albums/z...-Coral_P03.jpg

สายน้ำ 17-01-2011 08:34

http://i835.photobucket.com/albums/z...-Coral_P04.jpg


http://i835.photobucket.com/albums/z...-Coral_P05.jpg

สายน้ำ 17-01-2011 08:34

http://i835.photobucket.com/albums/z...-Coral_P06.jpg


http://i835.photobucket.com/albums/z...-Coral_P07.jpg

สายน้ำ 17-01-2011 08:35

http://i835.photobucket.com/albums/z...-Coral_P08.jpg


http://i835.photobucket.com/albums/z...-Coral_P09.jpg


http://i835.photobucket.com/albums/z...-Coral_P10.jpg

สายน้ำ 07-02-2011 07:57


หลายคำถามกับปะการังฟอกขาว (1) .................. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

http://pics.manager.co.th/Images/554000001364901.JPEG


เหตุการณ์ปิดจุดดำน้ำในเขตอุทยานอันเนื่องมาจากผลกระทบของปะการังฟอกขาว ทำให้เกิดเสียงฮือฮาในสังคม มีคำถามมากมายเกิดขึ้นเกี่ยวกับท้องทะเลไทย ด้วยเหตุนี้ ผมจึงขอคั่นจังหวะการไปฝรั่งเศสไว้หนึ่งตอน เพื่อบอกเล่าแนวคิดของผมเกี่ยวกับคำถามเหล่านี้ครับ

ปะการังฟอกขาวเพิ่งเกิดเหรอ ? - หากใครติดตามข่าวสารเกี่ยวกับทะเลไทย อาจจำได้ว่าเราเคยมีข่าวเกี่ยวกับปะการังฟอกขาวเมื่อกลางปี 2553 แต่ถ้านับข้อมูลที่รายงานโดยนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เราทราบเหตุการณ์มาตั้งแต่ต้นปีก่อน และเริ่มพยายามหาทางรวบรวมข้อมูลเรื่อยมา เช่น ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ ได้ลงพื้นที่ต่างๆ รวมถึงการศึกษาวิจัยใน “โครงการ สำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล” ภายใต้ความสนับสนุนของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้เรามีโอกาสติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับแนวปะการังในกลุ่มจังหวัดเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง

เหตุการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิด แต่เกิดมาตั้งแต่ต้นปีถึงกลางปีก่อน จนสถานการณ์ผ่านพ้นไปหมดแล้ว ปัจจุบัน เรากำลังรับมือจากผลของปะการังฟอกขาวที่ทำให้เกิดปะการังตายในหลายพื้นที่ทั่วทะเลไทย มิใช่รับมือกับปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว

แล้วทำไมเพิ่งฮือฮา ? - สำหรับสังคมแล้ว นี่อาจเป็นเรื่องเพิ่งฮืฮฮา แต่สำหรับเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เราติดตามสถานการณ์นี้มาตลอด หากจำกันได้ ผมเขียนเรื่อง “ความตายสีขาว” ใน “ผู้จัดการ” ในเดือนพฤศจิกายน 2553 โดยบอกรายละเอียดต่างๆไว้แล้วบ้าง กลุ่มนักดำน้ำบางท่านก็ไปเห็นเหตุการณ์จริงและเป็นกระทู้ในเว็บไซต์บางแห่งมาตลอด

ความหมายของ “ฮือฮา” เกิดเมื่อกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ประสานกับเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เห็นว่าสถานการณ์ไม่สู้ดี ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมยังไม่รับทราบปัญหา อีกทั้งฤดูการท่องเที่ยวกำลังเริ่มต้นแล้ว จึงออกมาแถลงข่าวเพื่อรายงานสถานการณ์จริงให้เป็นที่รับทราบ ตามด้วยข้อเสนอแนะในการปิดพื้นที่บางแห่งไม่ให้ท่องเที่ยว จากนั้นกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงเรียกประชุมกลุ่มนักวิชาการและเจ้าหน้าที่อุทยาน เพื่อหาทางออกร่วมกัน ก่อนกลายเป็นการแถลงข่าวในภายหลัง

เมื่อเทียบกับสึนามิแล้วเป็นเช่นไร ? - ภัยพิบัติตามธรรมชาติที่เกิดผลกระทบรุนแรงกับแนวปะการังไทย แยกง่ายๆเป็น 3 แบบ
-อันดับแรกคือพายุ เช่น พายุไต้ฝุ่นเกย์ทำให้ปะการังในเกาะเต่าและหมู่เกาะชุมพรแตกหักเป็นจำนวนมาก
-อันดับที่สองคือสึนามิ ทำให้ปะการังหลายพื้นที่ในทะเลอันดามันเกิดความเสียหาย
-อันดับสุดท้ายคือปะการังฟอกขาวที่เคยเกิดในทะเลไทยอย่างรุนแรงมาแล้วอย่าง น้อย 2 ครั้ง เช่น ปี 2540-41

ปะการังฟอกขาวเกิดผลกระทบต่างจากไต้ฝุ่นหรือสึนามิ ในสองกรณีนั้น ปะการังจะแตกหักจากความรุนแรงของคลื่นและกระแสน้ำ จุดที่ตั้งของแนวปะการังจึงเกี่ยวข้องกับผลกระทบที่เกิดขึ้น แนวปะการังในร่องน้ำหรือจุดที่คลื่นพัดผ่านย่อมเกิดผลรุนแรง แนวปะการังที่ไม่โดนคลื่นหรือโดนน้อยย่อมเกิดผลเบากว่า ผิดจากเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเลแบบผิดปรกติ น้ำร้อนไปถึงทุกที่ซึ่งมีแนวปะการัง ทำให้ผลกระทบกระจายกว้างกว่า อย่างไรก็ตาม จุดที่ตั้งของแนวปะการังอาจมีความเกี่ยวข้องอยู่บ้าง เช่น แนวปะการังบริเวณที่มวลน้ำไหลเวียนดี อาจได้รับผลกระทบน้อยกว่า แต่ไม่มากนัก

ชนิดของปะการังยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ปะการังเขากวาง ปะการังพุ่ม ปะการังแผ่นตั้งและแผ่นนอน จะได้รับผลกระทบมากกว่าปะการังก้อน โดยเฉพาะปะการังเขากวางที่ตายเกือบหมด อ่าวหลายแห่งที่มีปะการังเขากวางจำนวนมาก เช่น เกาะตอรินลา หมู่เกาะสุรินทร์ จะได้รับผลกระทบสูง จนเหลือปะการังที่รอดชีวิตไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ผิดจากแนวปะการังที่มีปะการังก้อนเป็นหลัก อาจมีปะการังที่รอดชีวิตมากกว่าครึ่ง

เมื่อเทียบความรุนแรงกับภัยพิบัติต่างๆที่ผ่านมา รวมทั้งเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวในอดีต เราถือว่าครั้งนี้คือเหตุการณ์รุนแรงที่สุด เพราะเราได้รับผลกระทบในแทบทุกเกาะทั้งสองฝั่งทะเล ไม่ใช่เฉพาะแต่ในทะเลอันดามัน แม้แต่การปิดจุดดำน้ำในอุทยานฯ ยังรวมถึงบางแห่งในอ่าวไทย เช่น เกาะพร้าว อุทยานฯหมุ่เกาะชุมพร

ปิดอุทยานหมายความว่าอย่างไร ? - นี่คือข้อความที่ต้องอธิบายให้กระจ่าย การปิดอุทยานแห่งชาติ หมายถึงไม่เปิดให้บริการด้านการท่องเที่ยวนันทนาการ เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แต่การปิดพื้นที่ดำน้ำในอุทยานฯ เป็นอำนาจของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ ไม่จำเป็นต้องรออธิบดีออกคำสั่ง

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นคือการ “ปิดพื้นที่ดำน้ำ” มิใช่ “ปิดอุทยาน” เราสามารถไปหมู่เกาะสุรินทร์ สิมิลัน พีพี ฯลฯ ตามปรกติ แต่เราอาจไม่สามารถดำน้ำในบางพื้นที่ซึ่งถูกปิด ในพื้นที่เหล่านั้นจะไม่มีทุ่นจอดเรือ แต่มีทุ่นสีขาวขึงไว้กั้นแทน อุทยานฯแต่ละแห่งยังประสานกับกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่เพื่อแจ้งให้ทราบ

ปิดแล้วช่วยได้จริงหรือ ? - คำถามนี้ไม่มีคำตอบที่แน่ชัด ในอดีตเราเคยปิดจุดดำน้ำแฟนตาซี หมู่เกาะสิมิลัน เพราะผลกระทบจากนักดำน้ำที่มีมากเกินไป หลังจากปิดมาแล้วเกือบสิบปี สภาพปะการังอ่อนและกัลปังหาฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่ เช่น อ่าวแม่ยาย หมู่เกาะสุรินทร์ ได้รับผลกระทบจากปะการังฟอกขาวในปี 2538 ปะการังเขากวางตาย มีสาหร่ายเห็ดหูหนูขึ้นคลุมพื้นที่หลายตารางกิโลเมตร เราจึงปิดพื้นที่นั่นติดต่อกันจนถึงปัจจุบัน แต่ผลที่เกิดขึ้นไม่ชัดเจน สาหร่ายอาจหายไปบ้าง แต่ก็กลับมาบ้าง หากดูการฟื้นตัวของแนวปะการังเขากวางนับว่าช้ามาก

การ “ปิด” จึงไม่ใช่วิธีการที่ยืนยันว่าจะได้ผล พื้นที่เปิดให้บริการบางแห่งอาจฟื้นตัวเร็วกว่าพื้นที่ปิดให้บริการ เพราะฉะนั้น การปิดพื้นที่จึงต้องกระทำควบคู่ไปกับการศึกษาวิจัยเพื่อติดตามการฟื้นตัวที่เกิดขึ้น รวมถึงหาแนวทางให้เหมาะสมในการจัดการ เพราะสำหรับธรรมชาติแล้ว เวลาเพียงหนึ่งปีหรือสิบปีน้อยนิดยิ่งนัก เมื่อเทียบกับเวลากว่า 8,000 ปีที่แนวปะการังอยู่คู่ประเทศไทย (แนวปะการังหมู่เกาะสุรินทร์เก่าแก่ที่สุด) หรือเวลา 400 ล้านปีที่ปะการังอยู่คู่โลก (ปะการังคือสัตว์โบราณที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก ควบคู่มากับฟองน้ำ)

การปิดครั้งสำคัญเกิดขึ้นในช่วงคลื่นสึนามิ แต่ครั้งนั้นเป็นการปิดทั้งอุทยานเนื่องจากเกิดความเสียหายอย่างหนักบนแผ่นดิน รวมถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว รวมถึงการปิดจุดดำน้ำในแทบทุกพื้นที่ การติดตามผลเห็นการฟื้นตัวของปะการังอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้อาจแตกต่างกัน เพราะผลที่เกิดขึ้นจากคลื่นสึนามิคือปะการังแตกหัก สามารถงอกใหม่ได้รวดเร็ว (ยกเว้นในพื้นที่โดนตะกอนทรายทับที่ไม่สามารถฟื้นคืนได้) แต่ครั้งนี้ปะการังตาย ที่เหลือแม้จะรอดอยู่ แต่อยู่ในสภาพอ่อนแอ การฟื้นตัวจึงแตกต่างกัน ยิ่งถ้าคิดถึงสาหร่ายทะเล

สาหร่ายเกี่ยวข้องอย่างไร ? - แนวปะการังไม่ได้มีเพียงปะการัง แต่ยังมีสาหร่ายหลายชนิดเป็นคู่แข่งสำคัญ สาหร่ายจะพยายามแย่งพื้นที่การลงเกาะ หากเป็นแนวปะการังในสภาพสมบูรณ์ ปะการังจะชนะสาหร่ายในเกือบทุกพื้นที่ แต่หากแนวปะการังผิดปรกติ สภาพการณ์อาจเปลี่ยนไป สาหร่ายจะชนะแนวปะการังและยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ ดังเช่นแนวปะการังหลายแห่งในอ่าวไทยที่เปลี่ยนไปเป็นแนวสาหร่าย กลายเป็นพื้นที่ไร้ประโยชน์ในด้านการดำน้ำ รวมถึงเป็นพื้นที่ซึ่งไม่มีความหลากหลาย ไม่สามารถเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนได้เหมือนแนวปะการัง

ผมตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้ให้ละเอียด เพื่ออธิบายให้พวกเราเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่า เราอาจเผชิญกับเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวอีกในอนาคตไม่ไกล เพราะฉะนั้น คงต้องขอต่อตอนสองในสัปดาห์หน้าครับ




จาก .................. ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 30 มกราคม 2554

สายน้ำ 07-02-2011 08:07


หลายคำถามกับปะการังฟอกขาว (2) .................. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

http://pics.manager.co.th/Images/554000001714701.JPEG


ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปะการังฟอกขาวอย่างต่อเนื่อง ทั้งการร่วมประชุมกับนักวิชาการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนการพูดคุยกับสื่อมวลชนและบุคลท่านต่างๆ ผมจึงรวบรวมคำถามและข้อมูลเหล่านั้นมาตอบไว้ในคอลัมน์นี้ เผื่อมีผู้สนใจอยากค้นคว้าอ้างอิงครับ

หลายคำถามตอบไปแล้วในสัปดาห์ก่อน แต่หนึ่งคำถามที่ยังไม่ได้ตอบชัดเจน ทั้งที่เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้ คือ สถานการณ์ปะการังฟอกขาวส่งผลกระทบขนาดไหน ? ปะการังตายที่ใดบ้าง ? ผมเพิ่งได้ข้อมูลล่าสุดที่สรุปโดยเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นข้อมูลที่ทำการสำรวจในเดือนธันวาคม ไม่ใช่ในช่วงปะการังฟอกขาว แต่เป็นช่วงที่ผลปรากฏชัดเจน ผมจึงจะไม่บอกว่าปะการังฟอกขาวแค่ไหน แต่จะบอกว่าปะการังตายแค่ไหน และปะการังเหลืออยู่เท่าไหร่ เช่น แนวปะการัง A 10% (50%) หมายความว่า แนวปะการัง A เดิมทีเคยมีปะการังปกคลุม 20% ปัจจุบันมีปะการังที่มีชีวิตปกคลุมพื้นที่ 10% ตัวเลขในวงเล็บ 50% คือปะการังที่ตายไปเพราะปะการังฟอกขาว

เน้นย้ำกันอีกครั้งว่านี่คือตัวเลขที่ผ่านการศึกษาและพิจารณาร่วมกันของเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลเรียบร้อยแล้ว เป็นวิธีการที่เป็นมาตรฐานเชื่อถือได้ และเป็นข้อมูลล่าสุดเท่าที่เรามี ตัวเลขเหล่านี้สามารถอ้างอิงได้ครับ

หมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา เกาะสต็อค 7.4% (78.9%) เกาะสุรินทร์เหนือ หน้าช่องขาด 3.2% (93.6%) อ่าวแม่ยายด้านเหนือ 0.1% (99.9%) อ่าวทรายแดง 8.4% (75.8%) อ่าวไม้งาม 12.5% (75%) เกาะสุรินทร์ใต้ อ่าวเต่า 11% (85%) เกาะปาชุมบา 1.1% (95%) เกาะตอรินลา 4.7% (79.1%)

หมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา เกาะสิมิลัน อ่าวประภาคาร 6.2% (89.3%) อ่าวเกือกหน้าหินใบ 11.1% (60.5%) เกาะบางู ด้านใต้ 6.5% (60.8%) เกาะปายู ตะวันออกเฉียงเหนือ 29.5% (25.9%) ปายู ตะวันตก 14.8% (49.5%) เกาะตาชัย ตะวันออก 8.6% (84%)

หมู่เกาะราชา จังหวัดภูเก็ต เกาะราชาใหญ่ ด้านเหนือ 1.4% (96.7%) ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ 20.5% (38.4%) ตะวันออก 17.5% (30.8%)

หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ อ่าวหยงกาเส็ม พีพีดอน 19.4% (51.5%) อ่าวลาน้ำ 12.7% (34.5%) แหลมตง 32.8% (36.6%) อ่าวต้นไทร 3.1% (94.9%) เกาะยูง 6.8% (88.5%) เกาะไผ่ ตะวันออก 22% (67.4%) ตะวันตก 14.9% (59.2%)

จากตัวเลขทั้งหมด จะเห็นว่าขาดไปบางพื้นที่ เช่น หมู่เกาะสิมิลัน มีรายงานจากนักดำน้ำว่าด้านตะวันตกของเกาะบอนก็ตายเยอะ และยังมีอีกหลายพื้นที่ หรือหมู่เกาะตะรุเตาตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ? ข้อมูลที่ผมนำมาลงไว้เป็นข้อมูลล่าสุดในเดือนธันวาคม เครือข่ายนักวิจัยมีปัญญาลงไปทำแค่นี้ เพราะขาดงบประมาณในการสนับสนุน เพราะตอนนั้นกรณีปะการังฟอกขาวยังไม่เป็นข่าวให้ฮือฮา (ถึงตอนนี้เป็นข่าวก็ยังไม่มีตังค์อยู่ดี)

เรามาดูข้อมูลที่มีตัวเลขชัดเจนก่อน จะเห็นได้ทันทีว่า แนวปะการังแต่ละพื้นที่ได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน แม้แต่แนวปะการังในเกาะเดียวกัน เช่น เกาะราชา บางแห่งก็ตายตั้ง 96% บางแห่งตายแค่ 30% เหตุผลสำคัญคือปะการังแต่ละกลุ่มทนต่อปะการังฟอกขาวไม่เท่ากัน ปะการังเขากวางจะเป็นกลุ่มที่ตายมากสุด ปะการังก้อนและปะการังเห็ดจะตายน้อยสุด แม้จะฟอกขาวแล้วแต่ก็ฟื้นกลับได้เยอะ หากแนวปะการังใดมีปะการังเขากวางเป็นปะการังกลุ่มหลัก ฟอกขาวตูมเดียวย่อมทำให้ตายเป็นเบือ หากแนวใดมีปะการังก้อนเยอะ แม้จะฟอกขาวเยอะ แต่ก็ฟื้นเยอะ เปอร์เซ็นต์ปะการังตายจึงต่ำ ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องจัดการกับแนวปะการังแต่ละแห่งแตกต่างกันไป ไม่ใช่เหมารวมปิดดะไปทุกจุด

ข้อมูลยังบอกว่า หมู่เกาะสุรินทร์คือพื้นที่ได้รับผลกระทบมากสุด ตัวเลขปะการังเกิน 75% ในทุกจุดศึกษา ถ้าดูตัวเลขปะการังที่เหลืออยู่ ยิ่งทำให้ใจสั่น ไม่มีที่ไหนมีปะการังเหลือเกิน 10% (เฉพาะจุดศึกษา) แถมหมู่เกาะสุรินทร์ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำตื้นสำคัญสุดของไทย ใครไปก็ล้วนแต่ประกอบกิจกรรมใส่ชูชีพใส่หน้ากากลอยตุ๊บป่องชมปะการัง การอนุรักษ์และการจัดการในอนาคตต้องให้ความสำคัญกับที่นี่เป็นอันดับแรก ระดมสมองและทุ่มทุกอย่างลงไป ผมเขียนได้แค่นี้น้ำตาก็พาลจะไหล เฮ้อ...

ผมดำน้ำที่นั่นเป็นครั้งแรกในพ.ศ.2524 จากนั้นก็ไปทำงานไม่รู้กี่ร้อยวันต่อเนื่องกันเกินยี่สิบปี ภาพดงปะการังเขากวางมหัศจรรย์ที่เกาะตอรินลา เกาะปาชุมบา และอีกหลายเกาะ ยังคงติดตา จึงอยากบอกชัดเจนว่า หากเป็นแนวคิดของผม ผมจะหยุดการพาคนขึ้นไปค้างบนเกาะชั่วคราว (บ้านพักของอุทยานทั้งหมด ผู้ประกอบการไม่เดือดร้อน) เปลี่ยนเป็นการท่องเที่ยวเดย์ทริป แต่ต้องควบคุมอย่างดีตามจุดที่กำหนด ตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งและขยะในพื้นที่หมู่บ้านชาวเล จัดตั้งคณะกรรมการหลายฝ่ายเพื่อช่วยกันดูแลหมู่เกาะสุรินทร์โดยเฉพาะ

มาถึงหมู่เกาะอื่นๆ ปัญหาไม่หนักหนาเท่าหมู่เกาะสุรินทร์ แต่เราก็ยังต้องมีการจัดการบางอย่างที่ต้องทำครับ เช่น การควบคุมถังเก็บน้ำทิ้งในเรือทัวร์ดำน้ำ (ขนาดใหญ่) การร่วมด้วยช่วยกันลดตะกอนและน้ำเสียจากชุมชนและรีสอร์ทบนหมู่เกาะบางแห่ง เช่น เกาะราชา พีพีดอน ฯลฯ

เรื่อยลงมาทางใต้ แม้ไม่มีข้อมูลตัวเลข แต่พอสรุปว่าสถานการณ์ปะการังตายไม่รุนแรงเหมือนทางเหนือ อย่างไรก็ตาม จะวางใจไม่ได้ โดยเฉพาะพื้นที่บางแห่งที่เคยเป็นแหล่งดำน้ำตื้นที่สำคัญ เช่น หาดทรายขาว เกาะราวี ถือเป็นจุดดำน้ำหลักในพื้นที่เลยก็ว่าได้ ในบริเวณนั้นปะการังตายค่อนข้างเยอะ แต่สำคัญกว่านั้นคือสาหร่ายที่ขึ้นมาคลุมแนวปะการังค่อนข้างมาก ควรต้องมีการระดมสมองหาทางร่วมกันเป็นพิเศษ นอกจากนี้ เราอาจช่วยกันตรวจสอบและดูแลบำบัดน้ำจากเกาะหลีเป๊ะที่อยู่นอกเขตอุทยาน ท้องถิ่นและผู้ประกอบการจะมีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในกรณีนี้ เราคงยังต้องดูปัญหาเดียวกันในหมู่เกาะบุโหลน

ผมกล่าวถึงแนวปะการังเฉพาะเขตอันดามัน เพราะข้อมูลฝั่งอ่าวไทยยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ อีกทั้งยังพอมีเวลาในเรื่องการปรับตัวของผู้ประกอบการ เนื่องจากฤดูท่องเที่ยวในอ่าวไทยจะเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม (อ่าวไทยฝั่งตะวันตก) เมื่อไหร่ที่ได้ข้อมูลมา จะรีบอธิบายให้คุณทราบครับ

ท้ายสุดคือสรุปแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการกับสถานการณ์ปะการังฟอกขาว เพื่อเป็นตุ๊กตาให้พิจารณาครับ มิใช่ระดมสมองครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ไม่มีจุดเริ่มต้นสักที



(มีต่อ)


สายน้ำ 07-02-2011 08:08


หลายคำถามกับปะการังฟอกขาว (2) (ต่อ)



รัฐบาล

- ผลักดันให้แผนยุทธศาสตร์ปะการังแห่งชาติออกมาเป็นภาคปฏิบัติให้เร็วที่สุด (แผนนี้ใช้เวลาจัดทำหลายปี ครอบคลุมทุกประเด็นไว้หมดแล้ว แต่พอทำเสร็จก็อยู่บนหิ้ง ตอนนี้เข้าใจว่าคงอยู่ที่หิ้งของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง)

- กำชับให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลพื้นที่ต่างๆของแนวปะการัง ได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติฯ กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์การต่างๆในส่วนจังหวัด ให้ตรวจสอบและจับกุมผู้กระทำผิดทางกฎหมาย โดยเฉพาะการลักลอบทำประมงในพื้นที่หวงห้าม และปัญหาเรื่องน้ำเสียและดินตะกอนที่มาจากการเปิดหน้าดินบนเกาะ

- ประสานงานกับภาคเอกชน ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกิจกรรมต่างๆในด้านการฟื้นฟูปะการัง เช่น ปะการังเทียม แหล่งดำน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น

- วางแผนด้านการขยายงานขององค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทะเล ให้มีศักยภาพมากขึ้นต่อการรับมือต่อปัญหาต่างๆในอนาคตอันใกล้


กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

- ร่วมมือกับนักวิจัยเพื่อติดตามประเมินสถานการณ์แนวปะการังตามพื้นที่ต่างๆอย่างละเอียด วางแผนในการปิด-เปิดจุดดำน้ำในพื้นที่ ตลอดจนวางแผนด้านการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์ และนำมาปฏิบัติให้เป็นจริง (มีอยู่แล้วทั้งนั้นในแผนแม่บทอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่ง)

- ร่วมมือกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อหาทางจัดการแนวปะการังร่วมกัน โดยเฉพาะปัญหาด้านน้ำเสียในเขตอุทยานที่ห่างไกลชายฝั่ง เช่น หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน ตลอดจนข้อควรปฏิบัติของนักท่องเที่ยวทั้งหลาย ไม่เฉพาะแต่นักดำน้ำ และการนำบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการที่ติดแบล็คลิสต์ให้คนทั่วไปมีโอกาสรับทราบ

- จัดการระบบเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมถึงค่าธรรมเนียนการดำน้ำลึกในอุทยานฯให้โปร่งใส มีสื่อเว็บไซต์หรือบอร์ดชี้แจงชัดเจนว่างบประมาณนำไปใช้ทำอะไร ? ตรงต่อวัตถุประสงค์หรือไม่ ? (ผมเป็นคนร่างวัตถุประสงค์ของการเก็บค่าธรรมเนียมแบบนี้ตั้งแต่แรก ระบุไว้ชัดเจนว่า 50% จะนำไปใช้เป็นค่าทุ่นจอดเรือ ค่าศึกษาวิจัยสถานการณ์ในแนวปะการัง และค่าดูแลรักษาทรัพยากรทางทะเล แต่ไม่เคยเห็นว่ามีการปฏิบัติตามนั้น)


กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

- ติดตามสถานการณ์แนวปะการังในพื้นที่นอกเขตอุทยานฯ ประสานกับหน่วยงานอื่นๆ โดยเฉพาะจังหวัดและท้องถิ่น เพื่อหาทางอนุรักษ์และจัดการแนวปะการังร่วมกัน

- ประสานกับนักวิจัยจากสถาบันต่างๆ เพื่อสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน จัดการระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ


กรมประมง

- รวบรวมข้อมูลผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวประมง โดยเฉพาะชาวประมงพื้นบ้าน ขอความสนับสนุนจัดทำปะการังเทียมเพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากพื้นที่ซึ่งอยู่ใกล้แนวปะการังเป็นอันดับแรก


กองทัพเรือ

- ให้ความสนับสนุนในด้านต่างๆ รวมถึงการจัดทำแหล่งดำน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น อุทยานใต้ทะเล และโครงการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อลดผลกระทบจากการดำน้ำในแนวปะการัง เพิ่มแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเลให้มากขึ้น และอนุรักษ์ทรัพยากรด้านความหลากหลายทางชีวภาพ


สถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ

- ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยด้านการฟื้นฟูแนวปะการัง โดยเฉพาะปะการังเทียมรูปแบบใหม่ๆ แหล่งดำน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น และการปลูกปะการัง

- ผลิตบุคลากรที่มีความรู้และมีประสบการณ์เกี่ยวกับแนวปะการัง ตลอดจนการศึกษา การจัดการ และวิธีการฟื้นฟูแนวปะการัง


การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

- วางแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความเป็นจริง ประสานงานกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว

- ส่งเสริมการท่องเที่ยวดำน้ำในแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อลดผลกระทบในแนวปะการัง


หน่วยงานอื่นๆ เช่น สถาบันการศึกษาทั่วไป

- ศึกษาข้อมูลจากกรณีปะการังฟอกขาว เพื่อนำไปสอนนักเรียนนิสิตนักศึกษา เพื่อให้เข้าใจกับปัญหาที่ประเทศไทยเผชิญ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน

- ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์ปะการังฟอกขาวอย่างชัดเจน


กลุ่มนักดำน้ำและอาสาสมัคร

- สร้างบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน เข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในรูปแบบต่างๆ

- สร้างเครือข่ายและตรวจสอบสถานการณ์ตลอดจนปัญหาที่เกิดในพื้นที่ จัดทำกิจกรรมดีๆตามหลักวิชาการ


หน่วยงานเอกชน

- ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการฟื้นฟูแนวปะการังที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ


ประชาชนทั่วไป

- เข้าร่วมในการช่วยอนุรักษ์แนวปะการัง เช่น แจ้งข้อมูลให้ภาครัฐทราบ เลือกใช้บริการผู้ประกอบการที่ดี

- รักแนวปะการังให้มากกว่าความสนุกหรือความสะดวกสบายของตัวเอง


กระทรวงท่องเที่ยวฯ

- กำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่มาก เช่น ในด้านการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว นายทะเบียนผู้ประกอบการ ฯลฯ




จาก ................. ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2554


สายน้ำ 01-03-2011 07:05

http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_01.jpg

สายน้ำ 01-03-2011 07:05

http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_02.jpg


http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_03.jpg

สายน้ำ 01-03-2011 07:06

http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_04.jpg

สายน้ำ 01-03-2011 07:06

http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_05.jpg

สายน้ำ 01-03-2011 07:07

http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_06.jpg


http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_07.jpg


http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_08.jpg

สายน้ำ 01-03-2011 07:07

http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_09.jpg


http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_10.jpg

สายน้ำ 01-03-2011 07:07

http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_11.jpg


http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_12.jpg

สายน้ำ 01-03-2011 07:08

http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_13.jpg


http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_14.jpg

สายน้ำ 01-03-2011 07:08

http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_15.jpg


http://i1198.photobucket.com/albums/...30_Page_16.jpg

สายน้ำ 01-03-2011 07:28

http://i835.photobucket.com/albums/z.../Phuket_01.jpg

http://i835.photobucket.com/albums/z.../Phuket_02.jpg

http://i835.photobucket.com/albums/z.../Phuket_03.jpg

http://i835.photobucket.com/albums/z.../Phuket_04.jpg

สายน้ำ 02-03-2011 08:09


ชี้ปะการังฟอกขาวมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น

http://www.dailynews.co.th/content/i...103/01/w31.jpg


ทช.ชี้ปะการังฟอกขาวแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น เผยอันดามันฟื้นแล้ว 7 % หวังปิดฤดูท่องเที่ยวตัวอ่อนลงเกาะเพิ่ม

วันนี้ (1 มี.ค.) นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวถึงความคืบหน้าสถานการณ์ปะการังฟอกขาว ว่า ขณะนี้อุณหภูมิน้ำทะเลเฉลี่ยของฝั่งอันดามันอยู่ที่ 28-29 องศาเซลเซียส ซึงถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ และอีก 2 เดือนข้างหน้าจะเข้าสู่ฤดูมรสุมที่จะมีการปิดฤดูกาลท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน เชื่อว่าสถานการณ์การลงเกาะของปะการังวัยอ่อนจะมีแนวโน้มในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเวลานี้พบว่าการลงเกาะของปะการังวัยอ่อนอยู่ในระดับที่ดีขึ้น มีการฟื้นตัวคิดเป็น 7 % ของพื้นที่ทะเลฝั่งอันดามันที่มีประมาณ 4.5 หมื่นไร่ โดยเฉพาะพวกปะการังโขดพบว่าสาหร่ายซูแซนเทลลีซึ่งทำให้ปะการังมีสีสันกลับสู่ปะการังเพิ่มขึ้น ดังนั้นสถานการณ์ในฝั่งอันดามันจึงน่าจะเป็นไปด้วยดี

นายเกษมสันต์ กล่าวอีกว่า สำหรับฝั่งอ่าวไทยการฟื้นตัวของปะการังวัยอ่อนยังสู้ฝั่งอันดามันไม่ได้ โดยมีการพื้นตัวเพียง 1 % กว่าๆ เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาคุณภาพน้ำทะเลไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งในช่วงอีก 2 เดือนข้างหน้าที่จะเข้าสู่ฤดูร้อนนั้นได้สั่งการให้มีการเฝ้าระวังและดูข้อมูลการเคลื่อนตัวของกระแสน้ำจากปรากฏการณ์ลานิญาในทะเลจีนใต้ไปสู่ มหาสมุทรแปซิฟิกว่าจะส่งต่ออุณหภูมิน้ำทะเลและปะการังอย่างไร

ด้านนายวรรณเกียรติ ทับทิมแสง ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน ทช. กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การฟอกขาวของปะการังนั้น พบว่าปะการังเขากวางได้รับความเสียหายมากที่สุด กว่า 60 % ทั้งฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย

อย่างไรก็ตาม ทช.ได้พยายามดำเนินการฟื้นฟูแม้จะใช้ระยะเวลานานกว่า 5 ปีก็ตาม โดยจะมีการวางแผ่นกระเบื้องเพื่อให้ตัวอ่อนปะการังเข้ามาเกาะ เพื่อเพิ่มจำนวนปะการังโดยจะเริ่มที่ฝั่งอันดามัน ซึ่งหลายพื้นที่พบว่าการลงเกาะของปะการังวัยอ่อนชนิดเขากวางมีค่อนข้างมาก เช่น ที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.ภูเก็ต หมู่เกาะช้าง จ.ตราด และทะเลในพื้นที่ จ.ชุมพร ส่วนปะการังโขดก็มีอัตราการฟื้นตัวเป็นที่น่าพอใจเช่นกัน โดยในบางพื้นที่พบว่ามีการฟื้นตัว 50-75 % ซึ่งปะการังชนิดนี้สามารถฟื้นตัวได้เร็วตามธรรมชาติอยู่แล้ว

ส่วนการคาดการณ์ในปี 2554 นี้ทาง ทช.ได้ติดตามข้อมูลทางสมุทรศาสตร์ พบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์การฟอกขาวจะไม่รุนแรงเท่าปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์สภาพฤดูฝนที่จะยาวนานมากขึ้น รวมถึงทิศทางการไหลของกระแสน้ำที่ไหลเป็นปกติ ทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลคงที่อยู่ในระดับปกติ ถือเป็นปัจจัยที่ดีในการเร่งการฟื้นคืนของปะการัง.




จาก ...................... เดลินิวส์ วันที่ 1 มีนาคม 2554

สายน้ำ 10-05-2012 08:24


สำรวจแนวปะการังหลังการฟอกขาวที่เกาะไข่ โดย ดร.มณฑล แก่นมณี ภาควิชาวิทยาศาสตร์การประมง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง




สายชล 10-05-2012 10:24



ผลงานของลาดกระบัง...แต่ในข่าว กลายเป็นธนบุรีซะนี่...:p



สื่อฯ ชอบทำข่าวผิดๆอย่างนี้เสมอ เหมือนที่เราชาว SOS เคยถูกรายการหนึ่งที่มาสัมภาษณ์เรา แต่บอกชื่อเราในคลิปเป็นที่อื่นไป...การจะแก้ข่าวให้ ไม่มีให้เห็นหรอกค่ะ..



Thoto_Dive 22-06-2012 22:09

ดีจังครับ ยังมีคนเฝ้าติดตามอยู่

สายชล 15-10-2013 12:58

ข่าวเพิ่มเติม...

http://hilight.kapook.com/view/55794


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 08:22

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger