SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 31 กรกฏาคม 2563 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5233)

สายน้ำ 31-07-2020 03:49

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 31 กรกฏาคม 2563
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลจีนใต้มีกำลังแรงขึ้น และคาดว่าจะเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสู่บริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งจะส่งผลทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 31 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม 2563


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 31 ก.ค. - 5 ส.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน และพายุโซนร้อนในระยะต่อไป และจะเคลื่อนตัวมาผ่านบริเวณเกาะไหหลำ ประเทศจีน เข้าสู่ประเทศเวียดนามและลาวตอนบนในช่วงวันที่ 2 - 4 ส.ค. 63 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าฟ้าคะนองจะคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 31 ก.ค. - 5 ส.ค. 63 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ และขอให้ชาวเรือในบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนัก และคลื่นลมแรงบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม ถึง 4 สิงหาคม 2563)" ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2563

หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในระยะต่อไป และเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสู่ชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย โดยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ในช่วงวันที่ 31 ก.ค. - 4 ส.ค. 63

ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังผลกระทบจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย

อนึ่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว



https://lh3.googleusercontent.com/yq...-no?authuser=0


https://lh3.googleusercontent.com/6m...-no?authuser=0


https://lh3.googleusercontent.com/77...-no?authuser=0

สายน้ำ 31-07-2020 04:35

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


นักท่องเที่ยวผงะ เจอปลายักษ์หน้าตาประหลาดตายเกยตื้นชายหาดออสเตรเลีย

ปลายักษ์หน้าตาประหลาด ความยาวกว่า 2 เมตร ถูกพบตายเกยตื้นบนชายหาดออสเตรเลีย สร้างความตกตะลึงให้กับบรรดานักท่องเที่ยวที่พบเห็น

https://lh3.googleusercontent.com/DF...-no?authuser=0

เคธ แรมป์ตัน และทอม ผู้เป็นสามี สองนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลีย พบปลาหน้าตาแปลกประหลาดขนาดใหญ่ ลำตัวยาวกว่า 2 เมตร ตายเกยตื้นอยู่บนชายหาดเคนเน็ตต์ ริเวอร์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐวิคตอเรีย

สองนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นสัตวแพทย์ เปิดเผยกับเว็บไซต์ข่าว Daily mail ว่าพวกเขาพบปลาตัวนี้ขณะเดินเล่นบนชายหาด เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (25 ก.ค.) เลยถ่ายภาพเก็บไว้ โดยพบว่า ปลาตัวนี้อาจจะเป็น "ปลาแสงอาทิตย์" (Ocean sunfish) สัตว์ทะเลขนาดใหญ่และหายากที่สุดในโลก เจ้าตัวนี้มีขนาดลำตัวยาว 2 เมตร เชื่อว่าเมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดใหญ่กว่านี้อีกเท่าตัว

เธอเล่าว่า ตอนที่พบปลาตัวนี้ นักท่องเที่ยวหลายคนต่างตื่นเต้นตกใจและบอกว่า หน้าตามันแปลกประหลาดเหมือนเอเลี่ยน แม้จะมาเที่ยวที่ชายหาดแห่งนี้บ่อยครั้ง แต่พวกเขาไม่เคยเห็นปลาแบบนี้และตัวใหญ่เท่านี้มาก่อน

นายราล์ฟ ฟอสเตอร์ ผู้จัดการแผนกของสะสมประเภทปลา ของพิพิธภัณฑ์เซาท์ ออสเตรเลียน เปิดเผยว่า ปลาแสงอาทิตย์เป็นปลาขนาดใหญ่ ประมาณ 3-4.2 เมตร น้ำหนักประมาณ 2.5 ตัน นับว่าเป็นปลาหายาก อาศัยอยู่ตามกระแสน้ำทะเลเขตร้อนทั่วโลก ทั้งบริเวณน่านน้ำแถบเอเชีย อย่างออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน โดยอันตรายของพวกมันที่ทำให้ถึงตายได้ส่วนใหญ่คือการถูกเรือใหญ่ชน บางครั้งก็กินขยะพลาสติกเข้าไป หรืออาจจะไปกินแมงกะพรุนมีพิษร้ายแรง.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1899867


*********************************************************************************************************************************************************


ยูนิเซฟเตือนเด็กกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก มีสารตะกั่วในเลือดระดับอันตราย

กลายเป็นภัยเงียบ สำหรับสารตะกั่วที่ถูกพบเป็นอย่างมากในเด็กที่อาศัยอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และเศรษฐกิจ

https://lh3.googleusercontent.com/nm...-no?authuser=0

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม องค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ได้เปิดเผยรายงานที่ทำร่วมกับองค์การ "เพียว เอิร์ธ" (Pure Earth) พบว่าเด็กกว่า 800 ล้านคนทั่วโลกหรือคิดเป็นเด็ก 1 ใน 3 มีสารตะกั่วอยู่ในเลือดมากกว่า 5 ไมโครกรัมต่อ 1 เดซิลิตร ซึ่งเป็นระดับที่เป็นพิษต่อระบบประสาท และเป็นอันตรายต่อสมองของเด็กๆจนไม่สามารถเยียวยาได้ โดยปริมาณสารตะกั่วที่มากจะมีผลต่อการพัฒนาการเรียนรู้รับรู้ของเด็ก โดยในรายงานระบุว่าเด็กที่ได้รับสารตะกั่วในปริมาณดังกล่าวทำคะแนนวัดความฉลาดได้น้อยกว่าคนทั่วไป 3 ถึง 5 คะแนน

เจ้าหน้าที่ขององค์การยูนิเซฟ ระบุว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างมากที่โลกอาจจะเผชิญกับปัญหาด้าน "ไอคิว" หรือความฉลาดทางปัญญา ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะประเทศโลกที่ 3 ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความคิดสร้างสรรค์และเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งในรายงานระบุว่ากลุ่มคนที่ได้รับสารตะกั่วเป็นปริมาณมากนับตั้งแต่เด็กส่งผลให้รายได้รวมกันลดลงกว่า 3 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ในรายงานยังระบุอีกว่า เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ถือเป็นกลุ่มที่อันตรายมากเป็นพิเศษ เนื่องจากร่างกายในช่วงอายุดังกล่าวสามารถซึมซับสารตะกั่วได้ดีกว่าในช่วงอายุอื่นๆ และจากการสำรวจของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ระบุว่าเด็กที่ได้รับสารตะกั่วจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวและสมาธิสั้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญประจำมหาวิทยาลัยกล่าวว่า "สารตะกั่วเป็นภัยเงียบในตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา และส่งผลกระทบต่อเด็กรุ่นใหม่ที่ควรจะมีประสิทธิภาพในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจมากกว่านี้"

โดยประชาชนส่วนใหญ่ได้รับสารตะกั่วจากเหมืองตะกั่วหรือท่อประปา รวมไปถึงการเผาขยะอิเล็กทรอนิกส์ แต่สาเหตุที่ใหญ่ที่สุดและคิดเป็นร้อยละ 85 มาจากการรีไซเคิลแบตเตอรี่รถยนต์ที่ผิดวิธี โดยการรีไซเคิลที่ถูกวิธีนั้น จำเป็นต้องมีกฎระเบียบที่ถูกต้องและการดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งมีรายงานเป็นจำนวนมากว่ามีโรงงานลักลอบรีไซเคิลแบตเตอรี่ ส่งผลให้สารตะกั่วรั่วไหล ทั้งนี้มีรายงานว่าประชาชนจำนวนหนึ่งไม่รู้ถึงอันตรายของสารตะกั่วและใช้ชีวิตตามปกติอย่างไม่ระมัดระวัง

ทางองค์การยูนิเซฟ กล่าวว่า ประชาชนสามารถลดระดับสารตะกั่วในเลือดได้ในอนาคต แต่ทางองค์การไม่สามารถซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นไปกับร่างกายและสมองไปแล้ว.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1900077

สายน้ำ 31-07-2020 04:46

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


พิษโควิดทำพลาสติกระบาด: เรื่องสุขภาพที่เราลืมป้องกัน .................. โดย ณิชา เวชพานิช

พลาสติกและพฤติกรรมใช้ครั้งเดียวทิ้งกลับมาระบาดทั่วโลกท่ามกลางโควิด ปริมาณขยะพลาสติกไทยช่วงล็อกดาวน์เพิ่ม 15% รมต.ทส.เผย คนไทยยังตระหนักเรื่องนี้ดี มุ่งหน้าตามโร้ดแมพจัดการพลาสติกเดิมที่ตั้งไว้ ด้านนักวิชาการชี้พฤติกรรมใช้ครั้งเดียวทิ้งกำลังสร้างปัญหาสุขภาพระยะยาว แถมไม่ได้ช่วยให้ปลอดภัยจากไวรัส

https://lh3.googleusercontent.com/t-...-no?authuser=0
ปลาตายเพราะขยะพลาสติก กรกฎาคม พ.ศ.2563 / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ปรัชญ์ รุจิวนารมย์

หลายคนมักพูดว่าหากไม่สบาย ให้ไปพักผ่อนริมทะเล ? ห่างไกลความวุ่นวาย ภาระงาน และมลพิษในเมือง ทว่าทุกวันนี้การไปทะเลอาจไม่ได้ดีต่อสุขภาพกายและใจขนาดนั้น เพราะเราพาตัวเองมายืนมองคลื่นสีครามนำพาเค้าลางของปัญหามาเกยฝั่ง?ขยะทะเลจำนวนมหาศาล

ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่ทิ้งขยะลงทะเลสูงสุดอันดับ 6 ของโลก

จนกระทั่งเมื่อปลายปีพ.ศ.2562 เราได้ลดลำดับลงมาเป็นที่ 10 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแถลงว่าเป็นผลสำเร็จจากการร่วมมือลดขยะของทุกภาคส่วน

ทว่ากระแสดังกล่าวได้จางหายไปเมื่อคลื่นลูกใหม่ชื่อ "โควิด-19" เข้ามาขโมยความสนใจ โรคระบาดได้แทรกแซงและปรับแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต ผู้คนเปลี่ยนมาทำงานจากบ้านและใช้บริการเดลิเวอรี่อาหารเพิ่มขึ้น จนปริมาณขยะพลาสติกจากอุปกรณ์ทานอาหารต่างๆ เพิ่มขึ้นจากปกติ 15% ยังไม่ได้นับรวมขยะหน้ากากอนามัยและขยะจากการกักตัว ซึ่งเป็นขยะพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้เพราะเป็นขยะอันตรายทางการแพทย์

ปริมาณขยะเป็นสิ่งที่ประเมินออกมาเป็นตัวเลขได้ กระนั้น ยังมีอีกสิ่งสำคัญที่เราไม่อาจรู้ได้แน่ชัดด้วยซ้ำว่าเปลี่ยนไปเท่าไหร่ คือ ?พฤติกรรมลดขยะ? ที่สังคมไทยรณรงค์กันมาตลอด

https://lh3.googleusercontent.com/Qq...-no?authuser=0
ปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นช่วงล็อกดาวน์ / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / พรเทพ จันทร์ยม


ชีวิตติดพลาสติก : นิวนอร์มอลหลังโควิด ?

โรคระบาดทำให้หลายประเทศทั่วโลกประกาศเลื่อนแผนการลดขยะพลาสติกเพราะเป็นห่วงเรื่องสุขอนามัย สำนักข่าว New York Times รายงานว่า รัฐและเมืองใหญ่ในอเมริกาไม่น้อยกว่า 4 แห่งเปลี่ยนแผน เช่น นครนิวยอร์กและรัฐเมนส์เลื่อนการแบนถุงพลาสติกออกไปจากที่ตั้งไว้ปีนี้ รัฐนิวแฮมเชอร์ประกาศให้ร้านค้าแจกถุงพลาสติกหรือถุงกระดาษแทนการให้ลูกค้าใช้ถุงผ้า นอกจากนี้ เมืองบางแห่งที่ออกกฎหมายแบนการใช้พลาสติกไปแล้วยังกลับลำ กรุงเม็กซิโกซิตี้ เมืองหลวงประเทศเม็กซิโก ได้ยกเลิกมาตรการแบนผลิตภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคมที่ผ่านมา แม้ว่ามาตรการนี้จะช่วยลดขยะพลาสติกกว่า 85%

ด้านประเทศไทย วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยกับสำนักข่าวสิ่งแวดล้อมว่าโควิด-19 จะไม่ทำให้โร้ดแมพการจัดการพลาสติก พ.ศ. 2561 ? 2573 ที่ตั้งไว้ล่าช้า

"ช่วงโควิด ขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ เพราะความปลอดภัยของชีวิตของพี่น้องประชาชนต้องมาก่อน จริงๆ แล้วโครงการลดขยะต่างๆ ยังทำการอยู่ตลอด แต่เราไม่อยากเพิ่มความกดดันให้พี่น้องประชาชนก็เลยดูเหมือนจะแผ่วไป"

ตามโร้ดแมพ ภายในปีพ.ศ.2563 นี้ ประเทศไทยจะต้องลดการใช้กล่องอาหารโฟม หลอด แก้วน้ำพลาสติกแบบบาง และถุงพลาสติกความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอนได้ 50% เพื่อจะได้เลิกใช้อย่างสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2565

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ร้านอาหารและร้านกาแฟหลายแห่งได้ระงับนโยบายให้ลูกค้านำภาชนะส่วนตัวมาซื้อสินค้าและไม่เผยแนวโน้มว่าจะกลับมาดำเนินการตามเดิมเมื่อไหร่ แม้นักวิชาการหลายคนจะออกมาชี้แจ้งว่า ความคิดดังกล่าวเป็น "ความเชื่อที่ไร้เหตุผล"


จะติดโควิด หรือติดพลาสติก : ทางสองแพร่งที่ต้องเลือก?

สาเหตุที่สังคมกลับมาเป็นมิตรกับบรรจุภัณฑ์พลาสติกอีกครั้ง ตั้งอยู่บนฐานความเชื่อว่าบรรจุภัณฑ์ใช้ครั้งเดียวทิ้งนั้นสะอาดและปลอดภัยกว่าภาชนะใช้ซ้ำ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการจากสถาบันชั้นนำกว่า 125 คนได้ร่วมลงชื่อในจดหมายเรียกร้องให้สังคมทบทวนความคิดดังกล่าว

"การเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์ใช้ครั้งเดียวทิ้งไม่ได้ทำให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น"
Dr.Ben Locwin นักระบาดวิทยาและที่ปรึกษาศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (CDC-Centers of Disease Control and Preventions) ชี้แจ้ง "การใช้บรรจุภัณฑ์ส่วนตัวและหมั่นทำความสะอาดนั้นปลอดภัยจากไวรัส และผมขอย้ำว่า วิธีนี้ 'ไม่เคย' ไร้ประสิทธิภาพ"

เขาอธิบายว่า ไวรัสโคโรน่ามีลักษณะเป็นไวรัสที่มีเปลือกเป็นไขมันห่อหุ้ม (Enveloped Virus) ดังนั้นสารทำความสะอาด เช่น สบู่และน้ำยาซักผ้าซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิวจึงมีศักยภาพฆ่าเชื้อได้ โดยจะทำให้ไขมันหลุดไปแขวนลอยกับน้ำ

"ไวรัสโคโรน่าทำลายได้ง่ายมาก คุณใช้น้ำสบู่ร้อนทำความสะอาดแก้วน้ำหรือถุงผ้าก็เพียงพอ วิธีการป้องกันอีกระดับหนึ่งคือเวลาไปซื้อของควรหลีกเลี่ยงให้ผู้อื่นสัมผัสภาชนะส่วนตัว เช่น เวลาซื้อกาแฟให้วางแก้วบนโต๊ะ ให้พนักงานริน หรือเวลาไปซื้อของก็หยิบของใส่ถุงผ้าด้วยตนเอง ปลอดภัยทั้งคนซื้อและคนขาย ปัจจุบัน เราไม่เคยพบเคสติดเชื้อผ่านอาหาร"

https://lh3.googleusercontent.com/Mz...-no?authuser=0
วิธีใช้บรรจุภัณฑ์ใช้ซ้ำให้ปลอดภัย ไร้โควิด / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / พรเทพ จันทร์ยม

เขาเน้นว่า พฤติกรรมใช้ซ้ำอาจปลอดภัยกว่าการใช้ครั้งเดียวทิ้งด้วย เพราะพลาสติกเป็นวัสดุที่ไวรัสติดอยู่บนพื้นผิวนานถึง 2-3 วัน และทำให้ผู้บริโภคเผลอ "การ์ดตก" นึกว่าปลอดภัยไร้โรค แม้ภาชนะดังกล่าวจะต้องผ่านมือพนักงานมาก่อน กระนั้น ถึงแม้ว่าข้อมูลต่างๆ จะการันตีความปลอดภัยของพฤติกรรมใช้ซ้ำ ทว่าสังคมได้มีอคติไปแล้วจึงเป็นเรื่องแก้ยาก

"ตามทฤษฎีจิตวิทยากลุ่ม ในวิกฤตโรคระบาดแบบตอนนี้ คนเราจะเครียดและขาดการใช้เหตุผล เราจะมองแต่ปัจจุบันและปัดให้เรื่องของอนาคตตกไป ทว่าเรื่องโรคระบาดและสิ่งแวดล้อมมันไม่ใช่ทางสองแพร่งที่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ปัญหาขยะพลาสติกก็เป็นปัญหาสุขภาพ เราต้องป้องกันปัญหาหลายอย่างได้พร้อมกัน" Ben กล่าว

งานวิจัยหลายชิ้นได้รับรองความเกี่ยวโยงของไมโครพลาสติกกับสุขภาพมนุษย์ แม้ขยะพลาสติกจะจัดเก็บถูกวิธีและถูกส่งไปฝังกลบมักจะรั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำและต่อสู่ทะเล โดนย่อยสลายตามธรรมชาติจากแสงพระอาทิตย์และคลื่นทำให้แตกหักจากพลาสติกชิ้นใหญ่กลายเป็นชิ้นจิ๋ว เรียกว่า "ไมโครพลาสติก"

ผศ.ดร.ถนอมศักดิ์ บุญภักดี อาจารย์จากภาควิชาวาริชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา อธิบายถึงอันตรายของไมโครพลาสติกว่า

"น้ำ 1 ลิตรมีไมโครพลาสติกกว่าหมื่นชิ้น ไมโครพลาสติกเองก็เป็น ?มลพิษ? อย่างหนึ่ง ปนเปื้อนอยู่ในทะเล อยู่ในลำคลอง และอาหารทะเลที่คนกินกันอย่างหอยแมลงภู่และหอยนางรมเพราะมันมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอนเลยสามารถเคลื่อนไปอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิตได้"

"งานวิจัยที่ผมทำ พบว่าหอยแมลงภู่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อเมื่อไมโครพลาสติกเข้าสู่เซลล์ ทำให้ระบบสืบพันธุ์ล้มเหลว นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งที่แสดงว่าไมโครพลาสติกมีคุณสมบัติทางเคมีคือไม่ละลายน้ำ (Hydrophobics) ไมโครพลาสติกจะทำหน้าที่เป็นนิวเคลียสให้สารละลายอื่นๆ มาเกาะ เช่น สารตระกูลปิโตรเลียม ดังนั้นพอไมโครพลาสติกปนเปื้อนอยู่ในห่วงโซ่อาหารและเข้าร่างกายคนได้ มันก็จะพาเอาสหายสารพิษทั้งหลายเข้าไปด้วย"

ถนอมศักดิ์พบไมโครพลาสติกจำนวนมากกับสาร BPA (Bisphenol A) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ผลิตขวดพลาสติกในน้ำทิ้งลงลำคลองที่ชลบุรี แม้จะยังไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเมื่อสารสองตัวนี้มาเจอกันจะเกิดปฏิกิริยาอะไรขึ้น แต่เขาตั้งคำถามถึงผลกระทบทางสุขภาพเพราะสารตัวนี้นับเป็นสารก่อมะเร็งตัวหนึ่งที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการสมอง

"ปัจจุบัน งานวิจัยเกี่ยวกับไมโครพลาสติกในไทย รวมถึงในต่างประเทศยังมีน้อยมาก เป็นเหตุให้ยังไม่สามารถออกค่ามาตรฐานได้ว่าไมโครพลาสติกปริมาณเท่าไหร่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและหาทางรับมือที่เหมาะสม ผมว่าเราต้องพูดคุยเรื่องนี้กันต่ออย่างเร่งด่วน"


(มีต่อ)

สายน้ำ 31-07-2020 04:46

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


พิษโควิดทำพลาสติกระบาด: เรื่องสุขภาพที่เราลืมป้องกัน ..... ต่อ


ทางเลือกของคนไทย

ปัญหาขยะพลาสติกเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่คนไทยเป็นห่วงมากที่สุด Kantar บริษัทเก็บข้อมูลได้ออกรายงานเมื่อเดือนมีนาคม เผยว่าผู้บริโภคไทย 18% เป็นห่วงเรื่องขยะพลาสติก สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ 15% เรียกได้ว่า คนไทยเป็นชาติที่ใส่ใจปัญหาขยะพลาสติกมากที่สุดในโลก

งานวิจัยดังกล่าวยังเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า 35% ของผู้บริโภคคาดหวังให้บริษัทผู้ผลิตเป็นผู้รับผิดชอบและนำเทรนด์การลดขยะพลาสติก

วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ได้มอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษร่วมมือกับบริษัทจัดส่งอาหารภาคเอกชน ลดปริมาณขยะพลาสติกจากการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ ซึ่งนับเป็นต้นกำเนิดหลักของขยะพลาสติกช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

ความร่วมมือนี้จะพัฒนาบริการรับส่งอาหารแบบไร้ขยะ แต่ยังรักษาความพอใจของลูกค้า เช่น ให้ลูกค้าเลือกใช้บริการกล่องอาหารที่ใช้ซ้ำได้ โดยจ่ายค่ามัดจำไว้แล้วรับคืนเมื่อส่งคืนกล่องอาหารในเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ภาชนะดังกล่าวจะต้องนำไปรีไซเคิลได้ เป็นแนวทางหนึ่งที่รองรับธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์ที่เติบโตขึ้นกว่า 300% ช่วงล็อกดาวน์

https://lh3.googleusercontent.com/Hd...-no?authuser=0
แนวทางลดขยะจากการสั่งเดลิเวอรี่ / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / พรเทพ จันทร์ยม

สำหรับคำชี้แจ้งว่าพฤติกรรมใช้ซ้ำนั้นปลอดภัยไร้โรคเหมือนที่สังคมกังวลหรือไม่ เขาแจ้งว่าไม่ทราบรายละเอียด แต่จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการต่างๆ ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทน

"ชาวไทยทุกคนยังตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาขยะพลาสติกดีและพร้อมจะกลับมาลดปริมาณขยะพลาสติกกันทุกคน ต้องขอบคุณพี่น้องคนไทยทุกคนครับ" ผู้นำทิศทางสิ่งแวดล้อมไทย กล่าว


https://greennews.agency/?p=21480



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:54

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger