SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ.......การประมง (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=110)

สายชล 21-07-2015 17:45


ผู้จัดการออนไลน์
21-6-15


หลังเห็นภาพสุดโหด ชาวเน็ตจุดกระแสจี้รัฐจัด “กระเบนราหู” เป็นสัตว์คุ้มครอง

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...007236901.JPEG

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในโลกสื่อสังคมออนไลน์มีการเผยแพร่ภาพอันน่าโศกสลดของแวดวงประมงไทยเป็นภาพการขนถ่ายและชะแหละ “ปลากระเบนราหู (แมนตา)” ของชาวประมงไทยที่จังหวัดระนอง โดยระบุว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควร เพราะในทะเลอันดามันเหลือปาชนิดนี้ไม่เกิน 50 ตัวเท่านั้น
       
       เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านระบบนิเวศทางทะเล และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โพสต์ภาพและข้อความในเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า “ฆ่าแมนต้า ความตายของกระเบนใหญ่ที่สุดในโลก สนับสนุนกระเบนราหูเป็นสัตว์คุ้มครอง” พร้อมรายละเอียดว่า
       
       “ภาพอันน่าเศร้าที่เพื่อนธรณ์เห็น เกิดขึ้นที่ท่าเรือแห่งหนึ่งในประเทศไทย สัตว์ที่นอนตายกองกันอยู่ท้ายกระบะ คือหนึ่งในกลุ่มปลากระเบนใหญ่ที่สุดในโลก และสัตว์ที่เป็นเพื่อนรักของนักดำน้ำทุกราย กระเบนกลุ่มนี้ทำรายได้ให้การท่องเที่ยวมหาศาล เป็นความประทับใจแห่งอันดามันที่ผู้มาเยือนไม่เคยลืมเลือน
       
       น่าเสียดายที่ในทะเลมีเครื่องมือประมงบางอย่างที่สามารถจับแมนต้าและญาติกลุ่มนี้ที่น่ารักได้ น่าเสียดายที่มีความตายเกิดขึ้นอย่างโหดร้ายในทะเล
       
       การอนุรักษ์แมนต้าและญาติเป็นเรื่องยาก การห้ามการประมงกระเบนกลุ่มนี้เหมือนที่เคยใช้กับฉลามวาฬเป็นเรื่องที่ต้องศึกษา อย่างไรก็ตาม การปล่อยให้แมนต้าและญาติตายไปเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่คนรักทะเลยอมรับไม่ได้ ทางออกสุดท้าย...สัตว์คุ้มครอง
       
       ปลากระเบนกลุ่มแมนต้าและญาติเป็นสัตว์สงวนเช่นบรูด้าไม่ได้ เพราะเรามีข้อมูลน้อยมาก แต่เราอาจมีช่องทางในเรื่องสัตว์คุ้มครอง แม้มันจะยากแสนสาหัส แต่อย่างน้อยก็น่าจะดีกว่าเราไม่ทำอะไรเลย
       
       ผมจึงลองเสนอแผนง่ายๆ ดังนี้
       
       - พวกเราช่วยกันผลักดันวาฬบรูด้าเป็นสัตว์สงวน หากสำเร็จ กระทรวงทรัพยากรฯ จะจัดประชุมเพื่อพิจารณา หากเป็นไปได้ เราจะพยายามผลักดันแมนต้าและญาติให้เป็นสัตว์คุ้มครองเข้าไปในการประชุมครั้งนี้ด้วย
       
       - แมนต้าและกระเบนกลุ่มนี้เป็นปลาที่ออกลูกน้อยมาก หากแมนต้ารุ่นนี้ถูกฆ่าหมด โอกาสที่ปลากลุ่มนี้จะสูญพันธุ์ไปจากน่านน้ำบริเวณนี้เป็นเรื่องง่าย
       
       - เรามีบทเรียนกับปลาฉนากกับปลาโรนินมาแล้ว ปัจจุบัน เราไม่เจอปลาฉนากอีกเลยและแทบไม่เจอโรนินอีกแล้ว (ที่นักดำน้ำพอเจออยู่บ้างคือโรนัน)
       
       - แมนต้าและเพื่อนบางชนิดอยู่ใน CITES บัญชี 2 ถือเป็นสัตว์ที่ทั่วโลกให้การคุ้มครอง โอกาสนำเสนอเป็นสัตว์คุ้มครองในไทยเป็นไปได้
       
       - ระหว่างนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอาจกรุณาศึกษาความเป็นไปได้ของปลากระเบนกลุ่มนี้ก่อนครับ
       
       เอาเป็นว่า เรามาเริ่มต้นกันตรงนี้ก่อน เพื่อนธรณ์ช่วยกันได้โดยโหวตสนับสนุนให้วาฟบรูด้าเป็นสัตว์สงวน ทำให้เกิดการประชุม เราจะช่วยกันผลักดันแมนต้าและญาติๆเป็นสัตว์คุ้มครองครับ
       
       • www.change.org/saveourwhale”
       
       ปลากระเบนแมนตา หรือ ปลากระเบนราหู (Manta ray) เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความกว้างช่วงปีก (ครีบหู) ได้ถึง 6.7 เมตร หรือ 22 ฟุต มีน้ำหนักได้ถึง 1,350 กิโลกรัม หรือ 3,000 ปอนด์ อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ แนวปะการัง (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
       
       ทั้งนี้จากข้อมูล ปัจจุบันปลากระเบนราหู (แมนตา) ยังไม่ได้เป็นสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองทางกฎหมาย ทางฝั่งกรมประมง ว่าด้วยการห้ามทำการประมง หรือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จากพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 จากทางฝั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
       
       

สายชล 21-07-2015 19:09

ผู้จัดการออนไลน์
29-6-15


ทัพเรือภาค 2 จับเรือประมงเวียดนามลอบคราดปลิงทะเล เผย 10 เดือนจับได้แล้วกว่า 60 ลำ



http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...007559201.JPEG


ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เรือหลวงศรีราชา กองทัพเรือภาคที่ 2 จับกุมเรือประมงเวียดนาม 1 ลำ พร้อมลูกเรือ 6 คน ขณะลักลอบเข้ามาทำการประมงคราดปลิงทะเลในอ่าวไทย เผยในรอบ 10 เดือนสามารถจับกุมเรือประมงเวียดนามได้แล้วถึง 68 ลำ

วันนี้ (28 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ร.ท.นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 ได้สั่งการให้เรือหลวงศรีราชา ทัพเรือภาคที่ 2 สงขลา ออกลาดตระเวนตรวจสอบในพื้นที่อ่าวไทย และสามารถจับกุมเรือประมงเวียดนาม จำนวน 1 ลำ พร้อมลูกเรือ 6 คน ที่ลักลอบเข้ามาทำการประมงคราดปลิงทะเลในเขตน่านน้ำอ่าวไทย ทางด้านทิศเหนือของเกาะโลซิน จ.ปัตตานี หลังจากได้รับแจ้งจากเรือประมงในชมรมวิทยุมดดำนาวีทัพเรือภาคที่ 2 และนำลากกลับเข้าฝั่งที่เทียบท่าเทียบเรือฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 มาสอบสวนทราบว่า เดินทางมาจากเมืองเกียนยาง ประเทศเวียดนาม เจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวส่ง สภ.เมืองสงขลา ดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง และ พ.ร.บ.ว่าด้วยสิทธิการประมงและการประกอบการเรือประมงไทย ก่อนที่จะผลักดันกลับประเทศต่อไป

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...007559202.JPEG

สำหรับการจับกุมเรือประมงเวียดนามที่รุกล้ำเข้ามาทำการประมงในน่านน้ำไทยในครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 19 ในรอบ 10 เดือน นับตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2557 ถึงมิถุนายนปีนี้ สามารถจับกุมเรือได้แล้ว จำนวน 68 ลำ และพบว่า ยังคงลักลอบรุกล้ำน่านน้ำอ่าวไทยเข้ามาทำการประมงคราดปลิงทะเลผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง และทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำในอ่าวไทย


สายชล 21-07-2015 19:12


ไทยรัฐ
30-6-15

เกมวัดใจ

http://www.thairath.co.th/media/EyWw...IlIB2ZMqSk.jpg

ปัญหาหลายด้านประดังเข้ามาพร้อมกันเล่นเอารัฐบาล หัวหมุนเป็นใบพัดเรือบิน

ปัญหาเศรษฐกิจก็หนักอยู่แล้ว ยังดันเกิดวิกฤติภัยแล้งซ้ำเติม

ปัญหาไอซีเอโอ “ปักธงแดง” ต้องเร่งแก้ไขให้เสร็จก่อนสิ้นปี

ยังมีปัญหาสหภาพยุโรป หรืออียู แจก “ใบเหลือง” ประเทศไทยต้องเร่งแก้ไขให้เสร็จภายใน 6 เดือน

เจอทั้งธงแดงไอซีเอโอ เจอทั้งใบเหลืองอียู เป็นแพ็กคู่ทูอินวัน

“แม่ลูกจันทร์” กราบเรียนว่ากรณีสหภาพยุโรป หรืออียูแจก “ใบเหลือง” ให้เวลารัฐบาลไทยแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายให้เสร็จภายใน 6 เดือน

มิฉะนั้น อียูจะเปลี่ยน “ใบเหลือง”...เป็น “ใบแดง”

ห้ามสินค้าทะเลจากไทยเข้าตลาดอียูอย่างสิ้นเชิง!!

ซึ่งจะทำให้รายได้ประเทศหายไปห้าหมื่นล้านบาทต่อปี

ใบเหลืองอียู จึงเป็นวาระเร่งด่วนที่นายกฯ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ต้องจัดระเบียบการประมงอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู

พรุ่งนี้ (1 ก.ค.) จะถึงกำหนดดีเดย์ที่รัฐบาลจะเริ่มตรวจสอบ จับกุมดำเนินคดี เรือประมงไทยทุกลำที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง คสช.

เอาจริงซะที...หลังจากรัฐบาลผ่อนผันมาแล้ว 2 เดือน

“แม่ลูกจันทร์” ยํ้าว่าตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป เรือประมงไทยจะต้องปฏิบัติตามกฎเหล็ก คสช.

1, เรือประมงทุกลำต้องจดทะเบียน และต้องมีใบอนุญาตใช้เรือ เพื่อแก้ปัญหาเรือเถื่อน เรือสวมทะเบียน ที่ปล่อยปละละเลยกันมานาน

2, ลูกเรือทุกคนต้องขึ้นทะเบียน และมีเลขประจำตัว เพื่อป้องกันปัญหาแรงงานเถื่อน ที่เป็นเงื่อนไขให้อียูแจกใบเหลืองใบแดง

3, ห้ามเจ้าของห้องเย็นแพปลา ผู้ประกอบการแปรรูปสินค้าทะเลรับซื้อสัตว์นํ้าจากการประมงผิดกฎหมายทุกกรณี

4, การเข้าฝั่ง หรือออกจากฝั่งของเรือประมงทุกลำต้องขออนุญาตตามขั้นตอน

5, เรือประมงขนาดตั้งแต่ 30 ตันขึ้นไป ต้องติดตั้งระบบติดตาม (วีเอ็มเอส) เพื่อตรวจสอบตำแหน่งเรือและจุดที่ทำประมง

6, เครื่องมือทำการประมงต้องเป็นมาตรฐานสากล ห้ามใช้เครื่องจับปลาที่ทำลายระบบนิเวศน์ ทำลายปะการัง ทำลายการวางไข่และทำให้สัตว์ทะเลเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

7, เรือประมงที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง คสช.จะถูกจับกุมดำเนินคดี มีโทษปรับครั้งละ 1 แสนบาท โทษจำคุก 1 ปี

“แม่ลูกจันทร์” ชี้ว่ายังไม่ทันถึงกำหนดที่รัฐบาลจะเริ่มจัดระเบียบการประมงอย่างเข้มงวดจริงจัง

กลุ่มเจ้าของเรือประมงก็เริ่มออกอาการทันที

อ้างว่าระเบียบใหม่เข้มงวดเกินไป จนเจ้าของเรือประมงปรับตัวไม่ทัน

ล่าสุด เครือข่ายเรือประมง 22 จังหวัดกว่า 30,000 ลำ ประกาศจะหยุดจับปลา เอาเรือกลับเข้าฝั่งพร้อมกัน

อ้าว...หยุดจับปลากันหมดแล้ว

ชาวบ้านจะเอาปลาที่ไหนกิน??

“แม่ลูกจันทร์” สรุปว่ารัฐบาลมีทางเลือก 2 ทาง

ถ้าจะแก้ปัญหาใบเหลืองอียู ก็ต้องเดินหน้าจัดระเบียบการประมงให้เสร็จภายใน 6 เดือน

ซึ่งจะเป็นการยกระดับการประมงไทย และรักษาทรัพยากรทางทะเลไทยให้ยั่งยืนในระยะยาว

หรือ...ถ้าไม่อยากให้เรือประมง 22 จังหวัดนัดหยุดจับปลา ซึ่งจะทำให้อาหารทะเลขาดแคลน

รัฐบาลต้องผ่อนผันการจัดระเบียบไปอีกปี...? หรือสองปี??

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้แลแฮ.


สายชล 21-07-2015 19:14

ข่าว อสมท. MCOT News
30-6-15

วิถีประมงพื้นบ้าน พลิกฟื้นวิกฤติทะเลไทย

http://www.tnamcot.com/wp-content/up...7df9f24831.jpg

หนึ่งปัญหาที่อียูตั้งคำถามถึงการจัดการประมงไทยผิดกฎหมาย คือ การทำประมงเกินศักยภาพของท้องทะเล และมีเรือผิดกฎหมายจำนวนมาก ซึ่งในไทยมีการออกใบอนุญาตเรืออีกประเภทหนึ่ง คือ เรือประมงพื้นบ้าน ล่าสุดชาวประมง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ก็เรียกร้องให้รัฐส่งเสริม เพราะเป็นการทำประมงที่เป็นแบบอย่าง เน้นพึ่งพาธรรมชาติ

ช่วงเวลา 02.00 น. ของทุกวัน เป็นเวลาที่ชาวประมงพื้นบ้าน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จะออกเรือไปไกลกว่า 8 ไมล์ทะเล หรือราว 10 กิโลเมตร “ปิยะ” เจ้าของเรือประมงพื้นบ้านลำนี้ เล่าว่า แต่ก่อนไม่ต้องออกเรือแต่เช้า และไม่ต้องไปไกลชายฝั่งมาก ก็ได้ปลาจำนวนมากพอขายเลี้ยงครอบครัวแล้ว แต่ทุกวันนี้ปลาเหลือน้อย เรือทุกลำโดยเฉพาะเรือพาณิชย์ก็ต้องหาปลาให้ได้มากที่สุด

http://www.tnamcot.com/wp-content/up...233c8a9a08.jpg

วิถีการทำประมงพื้นบ้านจะใช้อุปกรณ์เพียง 2-3 ชิ้น ใช้เฉพาะอวนติดตา ขนาดตาอวนไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร

“ปิยะ” ยังเล่าเพิ่มเติมว่า ปลาที่ได้วันนี้นำไปขาย เมื่อหักต้นทุนค่าน้ำมันที่จ่ายไป เหลือเงินเป็นกำไรไม่มากนัก แต่ก็พออยู่ได้ เพราะใช้แรงงานเป็นคนในครอบครัว ปลาทูและปลาแดงที่ได้มีขนาดโตเต็มวัย ขายได้กิโลกรัมละ 40-50 บาท ถึงจะได้เงินไม่มาก แต่ก็ภูมิใจที่ได้จับสัตว์น้ำแบบไม่ทำลายท้องทะเลที่เขารัก

http://www.tnamcot.com/wp-content/up...8b1f4ae735.jpg

ชุมชนอ่าวคั่นกระได มีชาวประมงพื้นบ้านอยู่กว่า 100 ครัวเรือน เมื่อปี 2551 ทะเลที่นี่เผชิญกับภาวะวิกฤติ เหตุทำประมงผิดวิธีมานับสิบปี ใช้อวนตาถี่กวาดเอาปลาทุกชนิดที่หาได้ อาชีพประมงแทบล่มสลาย กระทั่งชาวบ้านเริ่มคิดพลิกฟื้นชายฝั่ง เปลี่ยนเครื่องมือหาปลา ใช้เวลาเพียง 1 ปี ทะเลกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง แนวกำแพงจากต้นมะพร้าวนี้เป็นแนวกั้นเริ่มต้นเขตอนุรักษ์ชายฝั่งที่ชาวบ้านทำขึ้นเอง

ไม่ไกลจากชายฝั่งเป็นที่ตั้งธนาคารปูของชุมชน “ลุงน้อย” ชาวประมงพื้นบ้านอีกคนหนึ่ง ชี้ให้ดูแม่ปูไข่ 13 ตัว ซึ่งชาวบ้านจะหมุนเวียนกันมาช่วยดูแลให้แม่ปูเหล่านี้ขยายพันธุ์ต่อไปได้อีก

http://www.tnamcot.com/wp-content/up...9afafda28a.jpg

ไทยมีเรือประมงพื้นบ้านประมาณ 40,000 ลำ ใน 23 จังหวัดชายฝั่งทะเล เรียกร้องให้กรมประมงศึกษาผลกระทบและการมีส่วนร่วมของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ก่อนออกแผนบริหารจัดการเรือประมงใหม่ทั้งระบบ.


สายชล 21-07-2015 19:16

GREENPEACE
30-6-15

เมนูเอ็นหอยจอบ กับรอยแผลบาดลึกใต้ท้องทะเล

สะดือหอย หรือเอ็นหอยจอบที่เราชอบกินกัน มีที่มาจากการประมงที่ทำร้ายท้องทะเลมากที่สุด และสร้างความขัดแย้งมากที่สุดระหว่างผู้ทำการประมงอย่างรับผิดชอบและไร้ความรับผิดชอบ หากคุณรู้ว่าการทำประมงเอ็นหอยจอบนั้น ต้องแลกมาด้วยระบบนิเวศทางทะเลที่พังทลายต้องใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัว มาจากการใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม และทำให้ผู้บริโภคเป็นปลายเหตุของปัญหาโดยไม่รู้ตัว .. คุณยังจะอยากกินเอ็นหอยจอบอยู่อีกไหม


http://www.greenpeace.org/seasia/th/...562_189999.jpg

ประมงหอยจอบ เปลี่ยนทะเลเป็นซากหอยและตะกอนดิน

การทำประมงหอยหอยจอบ เพื่อเอาเอ็นหอยมีเบื้องหลังที่ทำร้ายท้องทะเล ด้วยการดำเอาหอยขึ้นมา เลือกตัดเฉพาะเอ็นของหอยจอบเพียง 2 เซนติเมตรเท่านั้น แล้วทิ้งเนื้อหอยและเปลือกกลับลงสู่ท้องทะเล ส่งผลให้น้ำทะเลเน่าเสีย เหมือนกับการรื้อบ้านของสัตว์น้ำวัยอ่อน และปะการัง ทิ้งให้ทะเลเต็มไปด้วยเศษซากของเปลือกหอยและตะกอนดิน

“หอยจอบมีความยาวสูงสุดประมาณ 30-50 เซนติเมตร ฝังตัวอยู่ในดินแนวชายฝั่งทะเลไม่เกิน 3 ไมล์ทะเล โผล่ขึ้นมาเพียงนิดเดียว ถ้าดินบริเวณนั้นอุดมสมบูรณ์สูง ในหนึ่งตารางเมตรจะมีประมาณ 10 ถึง 20 ตัว ยิ่งหนาแน่นจะมีหมึกกล้วย หมึกกระดอง เพรียง และแพลงก์ตอน อาศัยอยู่เยอะ ถือเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน และเมื่อเราขุดหอยจำนวนมากขึ้นมานั่นหมายถึงการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยสัตว์น้ำวัยอ่อนและระบบห่วงโซ่อาหาร เกิดปัญหาน้ำขุ่นน้ำเสีย สัตว์น้ำจะต้องอพยพ รวมถึงไม่สามารถทำประมงอื่นได้ อีกทั้งเศษซากเปลือกหอยส่งผลทำให้เครื่องมือประมงพื้นบ้านได้รับความเสียหาย” นายปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านทุ่งน้อย ประจวบคีรีขันธ์ กล่าว

ผืนทะเลอันอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์กำลังถูกรุกรานด้วยการประมงหอยจอบ ตั้งแต่ปากน้ำปราณ สามร้อยยอด บ้านปากคลองเกลียว โพธิ์เรียง บ่อนอกและทุ่งน้อย ซึ่งอยู่ในแนวเขตอนุรักษ์ของจังหวัดที่ประกาศไว้ 5 ไมล์ทะเล เพื่อสร้างความมั่นคงภายในจังหวัดเพื่อยุติแก้ไขความขัดแย้งเรื่องหอยจอบ จนกว่าจะมีข้อตกลงหรือกฏหมายร่วมกัน แต่ยังถือไม่ใช่กฎหมายประมง โดยการเคลื่อนไหวของการประมงที่ทำลายท้องทะเลเพียงเพื่อสะดือหอยขนาด 2 เซนติเมตรนี้อยู่ภายใต้การจับตามองของกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากการสังเกตุพบว่าเรือประมงหอยจอบอาจมีมากถึง 180 ลำต่อวัน ซึ่งแต่ละลำนั้นจะทำการประมงครั้งละ 3-5 ตันต่อลำ ส่วนมากจะเป็นเรือมาจากจังหวัดอื่น โดยที่แม้ชาวประมงพื้นบ้านประจวบคีรีขันธ์นั้นรู้ว่าตลอดแนวชายฝั่งของจังหวัดมีหอยจอบอาศัยอยู่จำนวนมากก็ตกลงร่วมกันในชุมชนว่าจะไม่ทำการประมงที่ทำลายล้างระบบนิเวศ และทำลายวิถีชีวิตชุมชน

http://www.greenpeace.org/seasia/th/...570_190015.jpg


ชีวิตและน้ำตาที่ต้องสังเวยเพื่อสะดือหอย

นายปิยะ เทศแย้ม อธิบายเพิ่มว่า “การประมงหอยจอบทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชน เนื่องจากมีการละเมิดกติกาข้อตกลงระหว่างกลุ่มดำหอยจอบ และพี่น้องประมงพื้นบ้านของปราณบุรี ซึ่งเรารับไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่อชีวิตของผู้ดำหอย กล่าวคือ กระบวนการดำหอยนั้นจะใช้เรือทอดสมอไว้เฉยๆ มีปั๊มลมบนเรือคล้ายปั๊มลมปะยาง เพื่อให้คนอยู่ในน้ำใช้เป็นออกซิเจน และใช้ตะกั่วลูกละกิโลกรัมจำนวน 30 ลูก เป็นน้ำหนักรวม 30 กิโลกรัม ถ่วงไว้ที่เอว คนงานมีอัตราเสียชีวิตสูงเพราะเมื่อเครื่องดับหรือสายยางรั่ว ก็จะไม่สามารถกลับขึ้นมาบนผิวน้ำได้ เนื่องจากถูกตะกั่วที่หนักถึง 30 กิโลกรัมถ่วงอยู่ โดยในปีที่ผ่านมามีการเสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 25 คน ยังไม่นับรวมผู้ที่สูญหายในท้องทะเลอีกประมาณ 40 คน และมีบางกรณีที่เรือแกล้งทำสายยางแตก หรือเครื่องดับ เพื่อให้การเกิดสายยางรั่วทำให้เสียชีวิตได้ เพียงเพราะไม่สามารถจ่ายค่าแรงได้ นอกจากนี้แรงงานที่จับหอยโดยส่วนมากจะเป็นแรงงานต่างชาติอีกด้วย เนื่องจากคนไทยรับรู้ดีว่ามีความเสี่ยงที่จะจับหอยจอบด้วยวิธีนี้”

ยากที่จะคาดคิดว่าก่อนที่จะได้มาซึ่งเอ็นหอยนั้น ต้องมีผู้เดือดร้อนได้รับผลกระทบจำนวนมาก นอกจากชาวประมงพื้นบ้านผู้อนุรักษ์ท้องทะเลจะไม่สามารถทำการประมงในบริเวณนั้นได้แล้ว ยังมีประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของลูกจ้างจนกระทั่งมีกรณีเสียชีวิต ซึ่งยังไม่รวมถึงระบบนิเวศทางทะเลที่ต้องเสียหายไปจนยากจะฟื้นฟู

http://www.greenpeace.org/seasia/th/...563_190001.jpg

“ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่หมู่บ้านม่องล่าย ในชุมชนอนุญาตให้ดำหอยจอบอยู่ 2 เดือน ในพื้นที่ 5 ตารางกิโลเมตร จนกระทั่งหอยหมด ขณะนี้ผ่านมา 2 ปีแล้วแต่ยังไม่มีสัตว์น้ำให้ทำการประมง จนต้องมาทำการประมงที่หมู่บ้านคั่นกระได กลายเป็นปัญหาความขัดแย้งเพิ่มเนื่องจากแต่พื้นที่มีกฎกติกาแตกต่างกันออกไป และแต่ละพื้นที่ไม่สามารถรองรับเรือประมงที่อพยพมาได้ทั้งหมด” นายปิยะ เทศแย้ม เสริม

ล่าสุดได้มีกฎหมายห้ามทำการประมงหอยจอบห่างจากชายฝั่งในระยะ 5 ไมล์ทะเล จากข้อเรียกร้องของประมงพื้นบ้านแล้ว เนื่องจากการดำหอยจอบเป็นการประมงที่ทำลายระบบนิเวศอย่างร้ายแรง จากการสำรวจตัวอย่างจากจังหวัดตราดพบว่า ต้องใช้ระยะเวลากว่า 5 ปีในการฟื้นสภาพความอุดมสมบูรณ์ของหอยจอบในท้องทะเล

ยังมีอาหารทะเลอีกมากให้เราได้เลือกทาน และเอ็นหอยจอบไม่ควรเป็นเมนูที่เราส่งเสริม ไม่ว่าจะมองในมุมไหน หากพื้นที่บริเวณที่หอยจอบอาศัยอยู่นั้นคงความอุดมสมบูรณ์ไว้ได้ เราจะยังมีบ้านให้สัตว์น้ำได้อยู่อาศัย และมีปลาอร่อยๆ เติบโตให้เราได้กินอีกมาก เรายังสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทะเลชายฝั่งได้อีกมาก โดยที่ไม่ทำลายจนสิ้นเพียงเพื่อการขุดเอาเอ็นของหอยจอบ

ก่อนสั่งเมนูเอ็นหอยจอบครั้งหน้า ลองคิดถึงที่มาของหอยจอบอีกครั้งว่าคุ้มแล้วหรือกับสิ่งที่เราต้องแลกมาเพื่ออาหารหนึ่งจาน เพื่อที่คุณจะไม่เป็นปลายทางของปัญหาการประมงหอยจอบอย่างไร้ความรับผิดชอบ ทำร้ายทั้งท้องทะเลจนยากจะฟื้นฟู และทิ้งคราบน้ำตาไว้ให้กับชาวประมงพื้นบ้านผู้อนุรักษ์ทะเล


สายชล 21-07-2015 19:21

ไทยรัฐ
2-7-15

ไม่โอเค

http://www.thairath.co.th/media/EyWw...m76DcZfmxh.jpg

กรณีเครือข่ายประมง 22 จังหวัดประกาศฮึ่มๆให้เรือประมงทุกลำหยุดจับปลาพร้อมกัน

เพื่อกดดันรัฐบาลให้ชะลอการตรวจสอบจับกุมเรือประมงผิดกฎหมายไปก่อนชั่วคราว

ถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการก่อหวอดประท้วงคำสั่งรัฐบาล คสช.

โดยใช้เรือประมงสามหมื่นลำเป็นเงื่อนไขต่อรอง

เป็นเกมวัดใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยตรง

“แม่ลูกจันทร์” เชื่อว่า ถ้าเป็นยุครัฐบาลปกติ จะต้องรีบเชิญแกนนำเครือข่ายเรือประมง 22 จังหวัดมาเจรจาต่อรอง

เพราะถ้าเรือประมง 22 จังหวัดนัดหยุดงานประท้วงรัฐบาลจริงๆ จะทำให้ “กุ้งหอยปูปลา” ขาดตลาด พี่น้องประชาชนจะเดือดร้อน

และกระทบการส่งออกสินค้าอาหารทะเล

แต่ยุคนี้ ยุค คสช. การประกาศปิดอ่าวไทยนัดหยุดจับปลาพร้อมกัน ไม่ทำให้รัฐบาลต้องถอยกรูดตามแรงกดดัน

เนื่องจากรัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาใบเหลืองอียูให้เสร็จเรียบร้อยภายในเวลา 6 เดือน

เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศในระยะยาว

คำตอบของรัฐบาลคือ...เดินหน้าลูกเดียว

“แม่ลูกจันทร์” ชื่นชม พล.อ.ประยุทธ์ ที่ประกาศจุดยืนเด็ดขาดชัดเจน ซึ่งจะทำให้อียูเกิดความมั่นใจว่ารัฐบาลไทยมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาเรือประมงผิดกฎหมายอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู

พล.อ.ประยุทธ์ ยํ้าว่าถ้าเรือประมง 22 จังหวัดจะนัดหยุดจับปลาพร้อมกันก็หยุดไป

แต่รัฐบาลจะไม่ยอมผ่อนผันการกวดขันจับกุมเรือประมงผิดกฎหมายจากกำหนดเดิม

“แม่ลูกจันทร์” เห็นใจความเดือดร้อนของเครือข่ายเรือประมง ซึ่งเกี่ยวข้องกับคนนับแสนคน

เป็นธุรกิจสำคัญที่สร้างรายได้เลี้ยงประเทศหลายแสนล้านบาทต่อปี

“แม่ลูกจันทร์” ยอมรับว่ามาตรการจัดระเบียบของรัฐบาลจะทำให้เรือประมงไทยทำมาหากินไม่สะดวกเหมือนเดิม

โดยเฉพาะเรือประมงเถื่อน เรือประมงสวมทะเบียนที่มีจำนวนนับหมื่นลำ

มาตรการห้ามจ้างแรงงานเถื่อนจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงต้องจ่ายค่าจ้างสูงขึ้นอีกเท่าตัว

แต่ถ้ามองในแง่ดี...นี่คือการยกมาตรฐานการประมงไทยให้เป็นระบบครบวงจร

การบังคับให้เรือประมงทุกลำต้องมีใบอนุญาตทำประมง ลูกเรือประมงทุกคนต้องมีบัตรประจำตัว ฯลฯ จะทำให้ประเทศ ไทยปลดล็อก “ใบเหลืองใบแดง” อย่างสิ้นเชิง

การควบคุมเครื่องมือประมงที่ไม่ทำให้สัตว์ทะเลสูญพันธุ์จะเกิดประโยชน์มหาศาลต่อธุรกิจประมงไทยในระยะยาว

“แม่ลูกจันทร์” ยอมรับว่าการทำสิ่งผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมายย่อมยากลำบากเป็นธรรมดา

การต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ 15 ข้อของอียูทำให้เครือข่ายประมงไทยไม่แฮปปี้แน่นอน

แต่ถ้าไม่ทำวันนี้...ปล่อยไว้จนอียูแจกใบแดงจะเดือดร้อนสาหัสยิ่งกว่าเดิม

“แม่ลูกจันทร์” อยากขอร้องเรือประมงไทยอย่านัดกันหยุดจับปลา เพราะจะทำให้สินค้าอาหารทะเลขาดแคลน

แต่ถ้าหยุดจับปลานานเกินไปจะทำให้เจ้าของเรือประมงเองได้รับผลกระทบเช่นกัน

ไม่มีอาหารทะเลกินก็ยังกินหมูเห็ดเป็ดไก่แทน

แต่ถ้าเรือประมงหยุดจับปลาก็จะไม่มีรายได้อะไรเลย

เจ้าของเรืออาจไม่เดือดร้อน แต่คนงานเดือดร้อนนะโยม.


สายชล 21-07-2015 19:28

เดลินิวส์
2-7-15


'ปั้นฮีโร่' แห่งอ่าวไทย 'วาฬบรูด้า' จะติดโผ 'สัตว์สงวน?' | .................... สกู๊ปหน้า1


http://i1198.photobucket.com/albums/...psr0q6zmkw.jpg

"วาฬบรูด้าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ปัจจุบันมีเพียง 50 ตัวในอ่าวไทย โดยจะเข้ามาหากินในพื้นที่ชายฝั่งชลบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพฯ ซึ่งไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีวาฬบรูด้าเข้ามาหากินใกล้กับเมืองหลวงมากที่สุด”

...นี่เป็นข้อความซึ่งได้มีการระบุผ่านทางเว็บไซต์ www.change.org/saveourwhaleที่ทางกลุ่มนักวิชาการ คนรักวาฬบรูด้า จัดทำขึ้น เพื่อรณรงค์-เรียกร้องให้ภาครัฐ “ขึ้นบัญชีวาฬบรูด้า” ในฐานะ “สัตว์สงวน” ชนิดล่าสุดของไทย

หวังให้ ’วาฬบรูด้า“ เป็น “ตัวแทนอนุรักษ์”

ปั้นเป็น ’สัญลักษณ์ปกป้องทะเลอ่าวไทย“


เกี่ยวกับการรณรงค์เพื่อเสนอให้ “ขึ้นบัญชีวาฬบรูด้า” นั้น กับเรื่องนี้ได้มีกระแสมาสักพักใหญ่ ๆ ทางอินเทอร์เน็ต-ในโลกโซเชียล จากแนวคิดที่ทางกลุ่มคนรักวาฬ คนรักทะเลไทย ได้นำเสนอ และมี ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเล และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เป็นอีกหนึ่งคนที่ร่วมผลักดันในเรื่องนี้

“วาฬบรูด้าเป็นสัตว์ทะเลชนิดเดียวที่ สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานชื่อ (สายสมุทร และสมสมุทร)...” “วาฬบรูด้าหากินในอ่าวไทยจนเกือบถึงฝั่ง ทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงแห่งเดียวที่มีสัตว์ใหญ่ที่สุดในโลกมาอวดโฉมกินปลาในระยะใกล้ถึงเพียงนี้...” “วาฬบรูด้าต่างจากสัตว์ป่าหายากบนบก เพราะไม่มีใครเพาะเลี้ยงได้ อนาคตของวาฬบรูด้าจึงขึ้นกับถิ่นฐานในธรรมชาติเท่านั้น...” ...นี่เป็นข้อมูลบางส่วนที่ ผศ.ดร.ธรณ์ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก thon.tham rongnawasawat ไว้ เพื่อย้ำถึงความสำคัญ...

ที่ควรจะ “ต้องอนุรักษ์วาฬบรูด้า” ฝูงนี้ไว้

ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้อธิบายเกี่ยวกับ “วาฬบรูด้า” ไว้ว่า... วาฬบรูด้าขนาดโตเต็มที่อาจจะมีความยาวของลำตัวได้ถึง 14–15 เมตร และมีน้ำหนักตัวได้มากถึง 12-20 ตัน (บางตำราสูงถึง 30 ตัน) โดยวาฬเพศเมียจะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าเพศผู้เล็กน้อย ซึ่งวาฬบรูด้าจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุ 8-13 ปี และจะให้ลูกครั้งละ 1 ตัวในทุก 2 ปี โดยระยะเวลาในการตั้งท้องนั้น วาฬบรูด้าใช้เวลาตั้งท้องนานประมาณ 11-12 เดือน

“อายุวาฬบรูด้า” นั้น ข้อมูลระบุว่า...’วาฬบรูด้าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาวมาก อยู่ที่ประมาณ 50 ปี แต่มีเอกสารบางฉบับบันทึกว่า...เคยพบวาฬบรูด้าที่มีอายุมากถึง 72 ปี“...เป็นข้อมูล “วาฬบรูด้า” ที่ถูกเสนอเป็น “สัตว์สงวน” ในขณะนี้

ขณะที่ “พฤติกรรมหากิน” ของวาฬชนิดนี้ ปกติชอบจับกลุ่มกันออกหาอาหาร โดยแหล่งอาหาร-แหล่งหากินของวาฬบรูด้านั้น ก็ยังใช้เป็น ’ตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ของทะเล“ ในบริเวณดังกล่าวได้ด้วย ซึ่งการพบวาฬบรูด้าใน “อ่าวไทย” นั้น...

ตอกย้ำว่า...ทะเลไทย “สมบูรณ์แค่ไหน??”

ทว่า...ด้วย “จำนวนวาฬมีอยู่น้อย” มีอยู่เพียง 50 ตัวในอ่าวไทย เรื่องนี้ได้ทำให้หลายฝ่ายเป็นห่วง และกลัวว่า...กิจกรรมทางทะเลที่เกิดขึ้นอย่างหนาแน่นในพื้นที่อ่าวไทย อาจจะไปกระทบกับสัตว์ขนาดใหญ่ที่สุดชนิดนี้ได้ จึงเรียกร้องให้ “ขึ้นบัญชีวาฬบรูด้า” หลังจากที่ประเทศไทยไม่มีการขึ้นบัญชีสัตว์ชนิดใหม่ ๆ ในฐานะ “สัตว์สงวน” มานานมาก...

นับตั้งแต่ “ขึ้นบัญชีพะยูน” เมื่อ 23 ปีก่อน!!!

เมื่อพลิกดูรายชื่อบัญชีสัตว์ที่ได้รับการประกาศเป็น “สัตว์สงวน” ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 พบว่า...ประเทศไทยมีการขึ้นบัญชีสัตว์ไว้ 15 ชนิด ได้แก่...

1.นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
2.แรด
3.กระซู่
4.กูปรี หรือโคไพร
5.ควายป่า หรือมหิงสา
6.ละอง หรือละมั่ง
7.สมัน หรือเนื้อสมัน
8.เลียงผา
9.กวางผา
10.นกแต้วแล้วท้องดำ
11.นกกระเรียน
12.แมวลายหินอ่อน
13.สมเสร็จ
14.เก้งหม้อ
โดยชนิดที่ 15 ลำดับสุดท้ายที่ได้มีการขึ้นบัญชีเป็นสัตว์สงวนไว้ คือ “พะยูน” หรือ “หมูน้ำ” นั่นเอง

ซึ่งถ้า “วาฬบรูด้า” ได้รับการขึ้นบัญชี ก็จะเป็น “สัตว์สงวนชนิดที่ 16” ของประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็ยังต้องลุ้นกันอีกหลายยก เพราะมี “ขั้นตอน” อีกหลายส่วน ทั้งนี้ การ “รวบรวมรายชื่อ” เพื่อเสนอก็เป็นส่วนหนึ่ง โดยเมื่อได้รายชื่อ 20,000 รายชื่อขึ้นไป ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจะเสนอให้กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ทำการพิจารณา หากผ่านการเห็นชอบก็จะเข้าสู่ที่ประชุม “คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า” ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน...

จากนั้น ถ้าคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบ เรื่องนี้ก็จะนำเสนอต่อ “คณะรัฐมนตรี” เพื่ออนุมัติออกเป็นรายชื่อแนบท้ายพระราชกำหนดต่อไป ...นี่เป็น ’ขั้นตอนเกี่ยวกับการขึ้นบัญชี“ ตามที่เว็บไซต์ www.change.org/saveourwhaleระบุไว้...

กับ ’วาฬบรูด้า“ หลายคนหวังไว้ว่าจะไม่ล่ม!

ทั้งนี้ ในกรณีที่สำเร็จ ไม่เพียงประเทศไทยจะมี “วาฬบรูด้า” เป็น “สัตว์สัญลักษณ์ประจำอ่าวไทย” แต่ยังเกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มากมาย ทั้งทางวิชาการ ที่จะมีโครงการศึกษาวิจัยต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยจะกลายเป็น “แหล่งดูวาฬเชิงอนุรักษ์ระดับโลก” ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้ กระจายรายได้สู่ชุมชนโดยรอบแหล่งอาศัยของ “วาฬบรูด้า”...

’ปั้นวาฬบรูด้า“ เป็น ’สัญลักษณ์อ่าวไทย“


’กระแส“ เรื่องนี้ยึดโยง ’รักษ์ทะเลไทย“

แต่ที่สุดจะอย่างไร??...ยังต้องรอดู...“


สายชล 21-07-2015 19:31


คม ชัด ลึก
2-7-15


ใช้ยาแรงปลด‘ใบเหลือง’ไอยูยู ยึดโมเดล‘ฟิลิปปินส์’แก้ประมง ........................ ทีมข่าวความมั่นคง

http://www.komchadluek.net/media/img...faa975h695.jpg

แม้เจ้าของเรือประมงจะประกาศหยุดเดินเรือเพื่อขอให้รัฐบาลยืดเวลาผ่อนผันการจับกุมเรือประมงที่ผิดกฎหมายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 ตามเกณฑ์ของการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและขาดการควบคุม (ไอยูยู) แต่รัฐบาลโดยศูนย์บัญชาการการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ก็ยืนยันว่าจะบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด

แหล่งข่าวระดับสูงใน ศปมผ. ยืนยันว่า เรื่องนี้ ศปมผ.ได้มีการผ่อนปรน และอะลุ้มอล่วยมานานกว่า 2 เดือนแล้ว เพื่อให้มีการแก้ไขสิ่งที่ผิดกฎหมายให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งหากเทียบกับประเทศฟิลิปปินส์ที่เคยโดนใบเหลืองเหมือนกันถือว่าเราผ่อนปรนมาก เพราะกรณีฟิลิปปินส์มีการสั่งห้ามทำประมงนานถึง 3 เดือนจนกระทั่งหลุดพ้นจากใบเหลืองมาได้ในที่สุด

"รัฐบาลได้ให้นโยบายเรื่องนี้ชัดเจน และเราจำเป็นต้องทำตามนโยบายของรัฐบาล ที่ผ่านมามีเรือที่จดทะเบียนกับกรมประมง 28,000 กว่าลำ จดกับกรมเจ้าท่า 42,000 กว่าลำ ซึ่งจะเห็นว่ายอดแตกต่างกันมาก เรากำลังสำรวจว่ายอดที่ต่างกันหายไปไหนบ้าง โดยฐานข้อมูลเดิมปี 2539 มีเรือผิดกฎหมาย 3,000 กว่าลำ แต่ผ่านมา 20 ปีก็ยังไม่มีการตรวจสอบข้อมูลตรงนี้"

แหล่งข่าวระดับสูงใน ศปมผ. ตั้งเป้าว่า จะมีการลดยอดการทำประมงให้น้อยลงไปอีกประมาณ 40% เพราะการทำประมงที่ผ่านมาทำให้สัตว์น้ำลดน้อยหรือสูญพันธุ์เป็นจำนวนมาก โดยสถิติการจับสัตว์น้ำในปี 2504 ชาวประมงสามารถจับสัตว์น้ำได้ในอัตราเฉลี่ยชั่วโมงละ 300 กิโลกรัม แต่ในปี 2558 สามารถจับได้เพียงชั่วโมงละ 24 กิโลกรัมเท่านั้น

เขายังแสดงความเป็นห่วงว่า หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป ปริมาณของสัตว์น้ำในทะเลไทยจะลดลงเรื่อยๆ และสถิติการจับสัตว์น้ำก็อาจจะกว่า 10 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เพราะสัตว์น้ำโตไม่ทันโดยเฉพาะการใช้อวนลากอวนรุนที่กวาดเอาสัตว์น้ำขนาดเล็กไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้สัตว์น้ำลดปริมาณลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา

แหล่งข่าวระดับสูงคนเดิมระบุว่า ขณะนี้ ศปมผ.ได้จัดทำแผนในการแก้ไขปัญหาทั้งระบบเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งตอนนี้ชาวประมงอาจมองว่าเป็นการสร้างความเดือดร้อนเฉพาะหน้า แต่ถ้าผ่านไปอีกสัก 5-10 ปีก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของปริมาณสัตว์น้ำที่จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

"ที่ผ่านมามีการทำผิดกฎหมายกันจนเคยชิน เปรียบไปก็เหมือนคนเผาป่าเพียงเพราะต้องการหาของป่าเท่านั้น ซึ่งเป็นการมองแต่ประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น ไม่ได้มองถึงประโยชน์ของส่วนรวม หากเป็นโทษของไอยูยูจะมีโทษปรับถึง 1 ล้าน จำคุก 1 ปี แต่ถ้าเป็นกฎหมายของเราโทษจะเบาบางลง ส่วนใหญ่เป็นความผิดลหุโทษ เช่น ใบขับขี่เรือ การจดทะเบียนเรือ เป็นต้น"

แหล่งข่าวระดับสูงใน ศปมผ. ระบุว่า ในวันที่ 2 กรกฎาคม นี้ ศปมผ.จะมีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา และยืนยันว่า จะใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างจริงจัง เพราะหากไม่ทำก็จะไม่พ้นจากใบเหลืองของไอยูยู และจะแก้ไขปัญหาอะไรไม่ได้เลย

นอกจากนี้ ทาง ศปมผ.ยังสั่งการให้กองทัพเรือ (ทร.) ทำการสแกนพื้นที่ "อ่าวไทย" เพื่อสำรวจดูว่า มีเรือประมงที่ปฏิบัติตามกฎหมายได้แล้วจำนวนเท่าใด โดยที่ผ่านมาได้ใช้เวลาสำรวจไปแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ในฝั่งอ่าวไทยไม่ค่อยมีสัตว์น้ำแล้ว โดยปัจจุบันฝั่งทะเลอันดามันจะมีสัตว์น้ำมากกว่า ซึ่งจะมีการเข้าไปสำรวจข้อมูลในส่วนนี้ด้วย

จับปฏิกิริยาล่าสุดของระดับบนสุดตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ไล่มาจนถึงหน่วยปฏิบัติอย่างศปมผ. กองทัพเรือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดล้วนยืนยันในท่าทีที่จะใช้ "ยาแรง" แบบเจ็บ-แต่จบด้วยกันทั้งสิ้น เพราะหากมีการผ่อนปรนดังเช่นที่ผ่านมาคงไม่สามารถหนีพ้น "ใบเหลือง" หรืออาจถึงขั้น "ใบแดง" จากไอยูยูได้


สายชล 21-07-2015 19:34


โพสต์ทูเดย์
2-7-15

ชี้ชะตาอนาคตทะเลไทย วัดใจล้างบาง "อวนลาก"

http://www.posttoday.com/media/conte...8009217172.jpg

เสมือนหนึ่งว่าจับตัวเองและผู้บริโภคเป็นตัวประกัน เมื่อกลุ่ม “ประมงอวนลาก” แสดงท่าทีแข็งกร้าวประกาศหยุดเดินเรือ พร้อมกันทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป หากรัฐบาลไม่ยอมยืดเวลา “จับ-ปรับ” เรือประมงผิดกฎหมายออกไปในเดือน ก.ย.

มุมหนึ่งการกดดันค่อนข้างได้ผล สะท้อนจากราคาอาหารทะเลในตลาดขายส่งขนาดใหญ่ที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น

อีกมุมหนึ่งกลับเกิดข้อเคลือบแคลง... เราควรสนับสนุนให้รัฐบาลผ่อนปรนตามข้อเรียกร้องเช่นนั้นจริงหรือ?

ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจบิดเบือนได้คือ แม้เรือประมงอวนลากจะมีทั้งถูกและผิดกฎหมาย หากแต่เครื่องมือที่ใช้ซึ่งก็คือ “อวนลาก” นั้น เป็นเครื่องมือทำลายล้างทรัพยากรทางทะเลไทยอย่างแท้จริง

ปี 2523 หรือประมาณ 35 ปีที่แล้ว ประเทศไทยแสดงความกังวลต่อเครื่องมือประหัตประหารชนิดนี้ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัดสินใจออกประกาศเพื่อกำราบการเพิ่มขึ้นของเรือประมงอวนลาก ด้วยการ “หยุดจดทะเบียน” และ “หยุดต่ออายุ” อาชญาบัตร

นั่นหมายความว่า เรือประมงอวนลากถูกคุมกำเนิดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงที่สำแดงในปี 2558 กลับพบเรือประมงอวนลากจำนวนมากดำเนินกิจการอยู่ และยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ

นั่นเพราะตั้งแต่ปี 2523 จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลเปิด “นิรโทษกรรม” ให้กับเรืออวนลากผิดกฎหมายมาแล้วถึง 5 ครั้ง

กล่าวคือในปี 2523 2524 2525 2532 และ 2539 รัฐบาลเปิดให้เรืออวนลากขึ้นทะเบียน ซึ่งจะได้รับการผ่อนผันให้ประกอบกิจการต่อไปได้ และในปี 2558 ก็มีความพยายามจะเปิดนิรโทษกรรมครั้งที่ 6 เพื่อแก้ปัญหา “ใบเหลือง” ไอยูยู หรือการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่มีการบันทึกรายงาน และไม่มีการควบคุม

เป็นที่น่าสังเกตว่าก่อนการเปิด “นิรโทษกรรม” อย่างเป็นทางการในแต่ละครั้ง จะเกิดการรวมกลุ่มของประมงอวนลากเพื่อกดดันรัฐบาลด้วยการขู่หยุดเดินเรือในลักษณะเดียวกันนี้มาแล้ว

มูลค่าทางเศรษฐกิจถึงเดือนละ 1.5 หมื่นล้านบาท คือตัวเลขความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย หากเรืออวนลาก 22 จังหวัดทั่วประเทศพร้อมใจกันหยุดเดินเรือ

นั่นเป็นน้ำหนักที่กดดันให้รัฐบาลต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง

งานวิจัยของ สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ นักวิชาการด้านประมง ซึ่งเผยแพร่เมื่อปี 2555 ระบุว่า มีเพียง 33.3% ของผลผลิตที่ได้จากเรืออวนลากทั้งหมด เป็นสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ส่วนอีกประมาณ 66.7% เป็นปลาเป็ด-ปลาตัวเล็กตัวน้อย

นอกจากนี้ รายงานของกรมประมงซึ่งเก็บข้อมูลผลผลิตจากการลงแรงทำประมง 1 ชั่วโมง พบว่าลดลงเรื่อยๆ จากปี 2504 ระยะเวลา 1 ชั่วโมง สามารถจับปลาได้ 298 กิโลกรัม และลดลงเรื่อยๆ กระทั่งปี 2549 เหลือเพียงชั่วโมงละ 14 กิโลกรัมเท่านั้น

ทั้งสองผลการศึกษา ฉายภาพสถานการณ์วิกฤตทะเลไทย และการจับปลาอย่างไร้ความรับผิดชอบ (Over fishing)

“70% ของสัตว์น้ำที่เรือประมงอวนลากจับได้เป็นปลาเป็ด ส่วนอีก 30% เป็นอาหารคน จากตัวเลขนี้ก็ชัดเจนแล้วว่าเรืออวนลากไม่ได้สร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างที่มีการกล่าวอ้าง ดังนั้นการประกาศหยุดออกเรือจะส่งผลกระทบแค่เฉพาะในธุรกิจสายนี้ไม่ได้ทำให้เกิดผลกับผู้บริโภคอย่างแน่นอน” สุภาภรณ์ ระบุ

ประเทศไทยใช้เวลามากถึง 35 ปี (ตั้งแต่ปี 2523) แต่กลับล้มเหลวในการแก้ปัญหา ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา กรมประมงเปิดเผยข้อมูลผ่านเว็บไซต์ว่า ประเทศไทยมีเรือประมงอวนลาก 4,180 ลำ (รวมกับที่ผิดกฎหมายคาดการณ์ว่ามีไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นลำ)

ตรงข้ามกับสถานการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง “อินโดนีเซีย” ที่ได้ผ่านกฎหมายห้ามใช้อวนลาก และกล้าใช้ยาแรงถึงขั้น “ระเบิดเรือ” ที่ไม่ยอมปฏิบัติตามมาแล้ว ส่วน “มาเลเซีย” ก็กำหนดมาตรการห้ามใช้เครื่องมือทำลายล้างในปี 2559 อย่างเด็ดขาด

การตัดสินใจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในวันนี้ จึงนับเป็นวันชี้ชะตาอนาคตทะเลไทยอย่างแท้จริง


สายชล 21-07-2015 19:37


คม ชัด ลึก
3-7-15


นายกฯประมงนอกน่านน้ำ แจงปมปัญหาไอยูยู-เรือล้นระบบ

http://www.komchadluek.net/media/img...a77ga6dggc.jpg

กรณีเรือประมงเข้าจอดฝั่ง ไม่ออกทำประมง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ หลังจากครบกำหนดที่รัฐบาลขีดเส้นต้องแก้ไขให้ถูกต้องตามไอยูยู หรือ "การทำประมงผิดกฎหมายขาดการรายงานและการควบคุม" ที่สหภาพยุโรป หรืออียู แจกใบเหลืองต่อประเทศไทย ซึ่งมีเรือประมงเข้าจอดฝั่งประมาณ 3,000 ลำ ทั้งที่รัฐบาลให้เวลา 3 เดือนก่อนถึงกำหนดใช้มาตรการเข้มงวดจับกุม 1 กรกฎาคม ที่ผ่านมา จึงมีคำถามว่าชาวประมงมีข้อจำกัดหรือมีอุปสรรคด้านใดถึงไม่สามารถทำตามกฎระเบียบได้ และการจอดเรือครั้งใหญ่ครั้งนี้จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมและผู้บริโภคอย่างไร
"อภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์" นายกสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย ในฐานะฝ่ายผู้ประกอบการ ได้คลี่ข้อสงสัยตลอดจนชี้แจงถึงปัญหาของชาวประมง ในรายการ "ชั่วโมงที่ 26" ทางช่องนาว 26 คืนวันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม ดำเนินรายการโดย อติชาต วงศ์วุฒิวัฒน์ อย่างละเอียดและให้ข้อคิดเห็นแนวทางแก้ปัญหาไว้ด้วย

อภิสิทธิ์ กล่าวว่า การที่นายกรัฐมนตรีระบุต้องทำตามระเบียบตามที่อียูให้ดำเนินการในกรอบไอยูยู ไม่เช่นนั้นจะส่งผลเสียต่อภาพรวมอุตสาหกรรมประมงของประเทศที่มีมูลค่าหลายแสนล้านบาท แต่จริงๆ แล้วชาวประมงสนับสนุนนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ข่าวที่ออกมาว่าชาวประมงออกมาประท้วง ต้องไปดูว่าใครเป็นคนให้ข้อมูล จริงแล้วไม่มีชาวประทงมาประท้วง ที่ออกมาว่าเป็นพันลำนั้นออกมาสนับสนุนรัฐบาลที่จะแก้ปัญหาเรื่องไอยูยู ที่ต้องทำให้ถูกต้อง

"แต่ที่ต้องวิ่งเข้าฝั่ง เพราะยังทำไม่ถูกต้อง ซึ่งภาพที่เรือจำนวนมากเข้าฝั่งกลายเป็นมาประท้วง แต่จริงๆ ไม่ใช่ ผิดเรื่องเอกสาร ผิดเรื่องต่างๆ จึงต้องวิ่งกลับเข้ามาเพื่อจัดการให้ถูกต้อง เพราะเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมเป็นเดดไลน์ เท่าที่ทราบมีประมาณ 3,000 กว่าลำกลับเข้ามา"

ส่วนคำถามที่ว่าช่วงที่รัฐบาลให้ระยะเวลาเพื่อจัดการทุกอย่างให้ถูกระเบียบทำไมไม่จัดการ อภิสิทธิ์ ยืนยันว่า ทุกคนพยายามทำแต่รัฐบาลไม่ได้แก้ไขให้ ยกตัวอย่าง 3,000 ลำ แบ่งเป็นสองส่วน บางลำมีอาชญาบัตรแต่เครื่องมือไม่ตรง ตรงนี้ก็ผิดไอยูยู อีกส่วนไม่มีเลยก็ผิดเหมือนกัน ตัวเลข 3,000 ลำ ที่จอดฝั่ง ก่อนหน้านี้กรมประมงเคยออกไปสำรวจ และชาวประมงก็ให้ความร่วมมือและไปสารภาพบาปเลยว่ามีจำนวนเท่านี้

นายกสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย ชี้แจงถึงขั้นตอนขออนุญาตทำประมงว่า อาชญาบัตร คือการที่จะไปทำมาหากินในทะเลได้นั้น ทรัพยากรทางทะเลถือเป็นทรัพยากรของชาติ เรือประมงไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ใช่จับปลาได้เลย ต่อเรือเสร็จต้องไปที่กรมประมงเพื่อขออาชญาบัตรทำการประมงและเครื่องมือประมงที่มีหลากหลาย โดยกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดเรามีประมงอวนลาก ตรงนี้ต้องไปจ่ายค่าธรรมเนียมถึงจะไปทำประมงได้

ดังนั้น ส่วนประกอบหลักของเรือ คือ มีใบอนุญาตใช้เรือ ทะเบียนเรือ และอาชญาบัตรทำประมงและเครื่องมือประมง นี่คือ 3 ตัวหลักที่ต้องมี รวมทั้งผู้ควบคุมเรือ หรือ "ไต้ก๋ง" ก็ต้องไปกรมเจ้าท่าเพื่อขอใบอนุญาตเช่นกัน

"ปัญหานี้เราเคยแจ้งรัฐบาลไปแล้ว แต่รัฐบาลบอกว่าเรือ 3,000 ลำ ทำให้ไม่ได้ ภาครัฐไม่ได้ช่วยชาวประมง ทางภาครัฐก็มีเหตุผล เช่นใบอาชญาบัตรที่เป็นการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน โดยผลสำรวจของกรมประมงพบว่าเราทำประมงแบบโอเวอร์ฟิชชิ่ง คือจับสัตว์น้ำทะเลมากกว่าที่ควรจะทำ พอโอเวอร์แล้วก็เลยจะมาออกให้เรือ 3,000 ลำ ไม่ได้ จากนั้นก็มีการนั่งคุยกัน ทางชาวประมงก็ถามภาครัฐว่าเรือประมงในประเทศมีกี่ลำ ตรงนี้ก็เป็นคำถามมาสิบปีแล้ว ไม่มีใครตอบได้ พอมีศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) แต่ปรากฏว่ากรมประมงก็มีตัวเลขหนึ่ง กรมเจ้าท่าก็มีอีกตัวเลขหนึ่ง ต่างกันเป็นหมื่นลำ" อภิสิทธิ์ กล่าวถึงปมปัญหา และว่า เคยถามภาครัฐว่าจะทำไงกับ 3,000 กว่าลำนี้ แต่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีคำตอบ แต่เห็นว่ารัฐบาลจะเยียวยา แต่ถามว่าทำไมไม่คิดก่อนหน้านี้ แต่ก็ยังดีวันนี้คิดได้ก็อาจจะมีทางออก

อภิสิทธิ์ เห็นว่า ช่วงเวลาในการทำให้ถูกต้องตามระเบียบ ให้เร็วที่สุดต้องประมาณ 2 อาทิตย์ถึงหนึ่งเดือน แต่เรือประมงก็อาจออกไม่ได้อยู่ดี เพราะศูนย์วันสต๊อปเซอร์วิสของแรงงานก็ปิดไปเมื่อสิ้นเดือนที่แล้ว เพราะแม้เรือประมงจะมีอาชญาบัตร ใบอนุญาต เครื่องวิทยุและอุปกรณ์วีพีเอส ไต้ก๋ง ถูกต้องแต่ไม่มีลูกเรือ ถามว่าจะออกเรือได้อย่างไร

"คือลูกเรือไม่ได้อยู่กับเราเหมือนโรงงานหรืออาชีพอื่น ลูกเรือประมงพอลงเรือบางทีก็เบื่อไปทำโรงงาน เรือลำหนึ่งใช้ลูกเรือประมาณ 30-40 คน และเราต้องจ่ายล่วงหน้าให้ก่อนคนละหมื่นก็เป็นต้นทุนไปแล้ว 3-4 แสนบาท และศูนย์วันสต๊อปเซอร์วิสปิดอีก 3 เดือน จะไปเอาแรงงานประมงที่ไหน ขอยกตัวอย่าง เรือลำนึงมีลูกเรือ 30 คน พอนัดแรงงานที่ถูกกฎหมายออกเรือ แต่ปรากฏมาไม่ครบ ก็ต้องไปหาแรงงานอื่นที่ไหนก็ได้ ที่อาจยังไม่มีใบอนุญาตทำงานถูกกฎหมายเอามาทำงานก่อน ตรงนี้ก็ผิดแล้ว ซึ่งแรงงานก็อยู่ใน ศปมผ.ด้วย และเราเคยบอกถึงปัญหาให้ทราบก่อนหน้านี้แล้ว แต่เขาเอาอย่างนี้เปิด 3 เดือน ปิด 3 เดือน ทั้งที่ควรจะเปิดตลอดปี"

อภิสิทธิ์ ขมวดปมปัญหาว่า มีสองเรื่องหลัก คือแรงงานประมงและการออกใบอนุญาตทำประมง โดยเฉพาะเรื่องการจัดทรัพยากรทางทะเลไม่ให้โอเวอร์ฟิชชิ่ง ที่มีปัญหาเรื่องข้อมูลของภาคราชการกับภาคเอกชนที่ไม่รับตรงนี้ การจัดการบริหารทางทะเลทางกรมประมงมีนักวิชาการไปทำสำรวจข้อมูลมีทรัพยากรเท่าไหร่ แต่พอตัวเลขวิชาการที่เรืออวนลากจับปลาได้กำหนดชั่วโมงละ 24 กิโลกรัม พอมีตัวเลขนี้ก็มีปัญหากับเรือประมง

"คุณไม่ต้องมาบังคับหรอก จอดเรือโดยอัตโนมัติ เพราะตัวเลขนี้เห็นๆ ว่าขาดทุนแน่นอน แรงงาน 30 คน ค่าจ้างวันละเท่าไหร่ ค่าน้ำมันอีก จับปลาแค่นี้ไม่คุ้มทุนแน่"

ส่วนการยึดตัวเลขภาครัฐดังกล่าวกับจำนวนเรือประมงที่เหมาะสม อภิสิทธิ์ ระบุว่า นอกเหนือจากเรือที่มีอาชญาบัตรถูกต้องแล้ว ในส่วนที่จอดอีก 3,000 ลำ คงต้องออกจากระบบ ทางเราก็มีคุยกันมีแนวคิดเปลี่ยนเครื่องมือประมงดีไหม ซึ่งมีเครื่องมือประมงที่ยอมรับกันทั่วโลก เช่น เรือเบ็ด แต่ว่าก็ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา เหมือนเปลี่ยนขับรถไปขับเครื่องบินคนละเรื่องกันเลย อีกหลายคนคิดว่าจับปลาง่ายมากแต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เครื่องมือชนิดหนึ่งความชำนาญก็แตกต่างกันแล้ว ต้องใช้ทักษะกว่า 20 ปี

"ก็มีแนวคิดว่าให้ภาครัฐซื้อเรือประมงไป อียูก็แก้ปัญหาแบบนี้ ก่อนที่อียูจะแจกใบเหลือง ทางอียูก็มีปัญหาแบบเดียวกับเรา เมื่อเราลอกแบบมาแต่ลอกไม่หมด รู้หรือไม่อียูต้องใช้งบเท่าไหร่ซื้อเรือออกจากระบบ แล้วให้คนส่วนนั้นไปทำอาชีพอื่น ไปถามอียูเลย ชาวประมงของเราบางส่วนก็ยินดีเพราะอย่างน้อยมีเงินไปทำอาชีพอื่น ส่วนอีกแนวทางหาประเทศอื่นที่ไม่ทำประมง มีทรัพยากรทางทะเลสมบูรณ์ ทำพันธมิตรกัน จับมือกันแบ่งผลประโยชน์"

นายกสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย เสนอว่า กฎระเบียบบางตัวไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เป็นการจัดการในประเทศของเรา ไม่ต้องไปล้อวิธีการของประเทศอื่น ประเทศไทยทำเองได้โดยบนวิถีทางจัดการทรัพยากรทางทะเลแบบยั่งยืน แล้วก็ไม่ผิดสัตยาบันที่เราให้ไว้ในอนุสัญญา 1982 ซึ่งการจะให้ทุกอย่างถูกต้องทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องง่าย บางประเทศใช้เวลา 2-5 ปี ที่บอกจะทำภายใน 3 เดือน 6 เดือน มันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น

"ยกตัวอย่าง เรือมีทุกอย่างครบแล้ว ต้องมีล็อกบุ๊ก ที่ไต้ก๋งต้องลงบันทึก บางทีอียูอาจจะบอกว่าเชื่อถือไม่ได้ ถามว่าจะต้องทำอย่างไรให้เชื่อถือได้ วันนี้อียูใช้ระบบอีล็อกบุ๊ก จับปลาวันนี้ลงบันทึกส่งข้อมูลเข้าศูนย์กลางเลย ผมอยากเสนอรัฐบาลให้ใช้ระบบซีแอลเอสที่บริษัทนี้ไปวางระบบให้อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลี ประเทศพวกนี้หลุดใบเหลืองหมดเลย แก้ง่ายและเร็วที่สุด"

ทิ้งท้ายกับผลกระทบจากเรือประมงกว่า 3,000 ลำ หยุดออกทะเลครั้งนี้ นายกสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย ระบุว่า อาหารทะเลขึ้นแน่นอน แต่คงขึ้นไม่มากมาย แต่ไม่มีจะขาย ซึ่งการหยุดครั้งนี้เรื่องบริโภคส่วนหนึ่ง แต่หนักที่สุดคืออุตสาหกรรมทางทะเล ถามว่าไม่มีวัตถุดิบจะเอาสินค้าที่ไหนไปส่งออก โจทย์เราคือส่งออก 3.5 หมื่นล้านบาท จะเอามาจากไหน


สายชล 21-07-2015 19:39


แนวหน้า
3-7-15


แนะ'เรือประมง'อย่ากลัวกม.ใหม่ พบไร้ทะเบียนกว่า 1.6 หมื่นลำ

http://static.naewna.com/uploads/news/source/166565.jpg

2 ก.ค.58 นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกรณีปัญหาเรือประมงหยุดออกหาปลา เพราะเกรงว่าจะถูกเจ้าหน้าที่จับกุม จากการบังคับใช้กฎหมายประมงฉบับใหม่ที่เข้มงวด ว่า พี่น้องชาวประมงไม่ต้องกังวล เรือลำใดที่มีการขออนุญาตถูกต้อง 3 ด้าน คือ 1.ตัวเรือมีทะเบียนเรือ จากกรมเจ้าท่า 2.มีใบอนุญาตการทำงานของไต้ก๋ง นายท้ายเรือ และช่างเครื่อง จากกรมเจ้าท่า และ 3.มีใบอนุญาตทำการประมง หรืออาชญาบัตร ซึ่งไปติดต่อขออนุญาตได้ที่สำนักงานอำเภอ ก็สามารถออกเรือได้ไม่มีปัญหา ถ้ามีใบอนุญาตไม่ครบขาดไปอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถไปติดต่อขอได้ที่หน่วยเคลื่อนที่เร็วของกรมประมง และกรมเจ้าท่า 8 จุดทั่วประเทศ สามารถออกใบอนุญาตได้เสร็จภายในวันเดียว

สำหรับจำนวนเรือประมงทั่วประเทศ ที่มีทะเบียนเรือถูกต้อง ข้อมูลเดิมกรมเจ้าท่า รายงานว่ามีทั้งสิ้น 42,000 ลำ แต่เมื่อมีการลงพื้นที่สำรวจจริงพบว่า มีเรือที่มีทะเบียนประมาณ 28,000 ลำเท่านั้น และยังพบเรือที่ไม่มีทะเบียนถึง 16,900 ลำ โดยเรือที่ไม่มีทะเบียนส่วนใหญ่พบว่าเป็นเรือประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก ขนาดไม่เกิน 5 ตันกรอส หรือความยาว 11 - 12 เมตร กลุ่มนี้ขอให้ชาวบ้านมาขอใบอนุญาตให้ถูกต้อง ราชการปลดล็อคให้แล้ว สามารถขอใบอนุญาตได้ง่ายขึ้น ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 ก.ค.นี้

นายชวลิต กล่าวต่อว่า สำหรับเรือประมงพาณิชย์ ที่ขึ้นทะเบียนเรือแล้วมีทั้งสิ้นประมาณ 20,000 ลำ ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา แต่ที่มีปัญหามีประมาณ 4,000 ลำ เพราะเป็นกลุ่มที่มีทะเบียนเรือ แต่ไม่มีอาชญาบัตร เพราะใช้เครื่องมือจับปลาที่กฎหมายห้าม 4 ประเภท ได้แก่ อวนรุน อวนลาก อวนล้อมปลากะตัก และอวนช้อนครอบปลากะตัก ซึ่งเรือกลุ่มนี้เป็นเงื่อนไขที่สหภาพยุโรป (อียู) อาจออกใบเหลืองรอบ 2 หรือออกใบแดงให้แก่สินค้าประมงไทยได้ ที่ผ่านมารัฐได้ผ่อนผันการบังคับใช้กฎหมายให้แล้ว ตอนนี้ผ่อนผันอีกไม่ได้ จึงกลายเป็นเรือกลุ่มที่มีความกังวลกฎหมายใหม่แล้วไม่ออกเรือ แต่ประเมินว่าเรือจำนวนนี้กระทบต่อผลผลิตอาหารทะเลไทยไม่มาก

"ตอนนี้ได้สั่งการให้กรมประมงเร่งไปประเมินให้ชัดเจนโดยเร็วว่า เรือประมงที่หยุดออกหาปลาในช่วงนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณการจับสัตว์น้ำของไทย ซึ่งปกติมีประมาณ 1.5 ล้านตันต่อปี เป็นจำนวนเท่าไร อียูให้เวลาไทยปรับปรุงตัวในเดือน ก.ย.นี้ ประเด็นหลักที่อียูให้ความสำคัญ คือ การแก้ปัญหาการจับปลามากเกินที่ทรัพยากรสัตว์น้ำจะรองรับได้ หรือโอเวอร์ฟิชชิง ซึ่งกรมประมงได้ควบคุม โดยจำกัดเครื่องมือประมง 4 ชนิด ที่ทำลายทรัพยากรหน้าดินรุนแรง ที่ผ่านมาได้หยุดออกอาชญาบัตรให้ตั้งแต่ปี 2523 และจากนี้จะไม่ออกใหม่ให้อีก" นายชวลิต กล่าว


สายชล 21-07-2015 19:46


แนวหน้า
4-07-15


ทช.เร่งผลักดัน‘วาฬบรูด้า’เป็นสัตว์สงวน หวั่นยักษ์ใหญ่แห่งท้องทะเลใกล้สูญพันธุ์!

http://static.naewna.com/uploads/use...k_opt(24).jpeg

ปัจจุบันสัตว์ทะเลได้รับการคุกคามจากภัยต่างๆ เป็นอย่างมาก ทั้งภัยจากมลภาวะทางน้ำ ขยะที่เกิดจากการท่องเที่ยวการบุกรุกทำลายถิ่นฐาน รวมถึงปัญหาจากการประมงที่อาจทำให้เกิดการเกยตื้นหรือถูกลากติดอวนจนเสียชีวิต สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางชีวภาพรวมถึงการสูญพันธุ์ของสัตว์ทะเลหายากอย่างเป็นวงกว้าง



กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสัตว์ทะเลหายากและเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ จึงได้มีการประกาศเจตนารมณ์ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กำหนดเขตคุ้มครองเน้นความปลอดภัยของสัตว์รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน เตรียมเสนอ “วาฬบรูด้า” เป็นสัตว์สงวนลำดับที่ 16 ในรายชื่อสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ เพื่อพิจารณา พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ที่บ้านท้ายหาดรีสอร์ทและบริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก จ.สมุทรสงคราม

นายชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้พบเห็นสัตว์ทะเลหายากจำพวก เต่าทะเล พะยูน วาฬ และโลมาเกยตื้นตายตามชายหาด หรือติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นปัญหาที่ต้องเร่งหาวิธีแก้ไข ทางทช. ยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้เป็นของตัวเอง โดยที่ผ่านมาได้มีการใช้กฎหมายพระราชบัญญัติของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชรวมทั้งได้รับอำนาจบางมาตราจากกรมประมง จนกระทั่งรัฐบาลปัจจุบันได้ยกกฎหมายพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2558 จากสาเหตุหลายๆอย่างเราจึงได้พิจารณาว่าในมาตรา 3 ของกฎหมายนั้นต้องดูแลเรื่องของสัตว์ทะเลหายาก ซึ่งการดูแลก่อนหน้านี้เป็นเพียงเชิงอนุรักษ์ทั่วไป แต่กฎหมายที่แท้จริงของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งยังไม่ได้มีการร่างอย่างเป็นทางการเมื่อมีกฎหมายบังคับใช้ทางกรมจึงมีหน้าที่ในการดูแลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรวมถึงสัตว์ทะเลที่หายาก

http://static.naewna.com/uploads/new...ine/166756.jpg

ในส่วนของการดูแลสัตว์ทะเลหายากแบ่งเป็น 2 แนวทาง

แนวทางที่ 1 คือการประกาศเขตคุ้มครอง โดยกฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประกาศเขตคุ้มครองเพื่อที่จะดูแลระบบนิเวศทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นปะการัง หญ้าทะเล รวมถึงระบบนิเวศของสัตว์ทะเลหายาก ได้แก่ พะยูน โลมา เต่า วาฬ

แนวทางที่ 2 คือการกำหนดให้สัตว์ทะเลเหล่านี้เป็นสัตว์สงวนคุ้มครอง ไม่ว่าจะออกไปนอกเขตพื้นที่การคุ้มครองก็ยังคงเป็นสัตว์สงวน เราจึงมีการพิจารณาการใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าปี 2535 ทั้งยังพบว่าสัตว์เกือบ 20 ชนิด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของการสูญพันธุ์ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ วาฬ โดยเฉลี่ยแล้วในหนึ่งปีมีอัตราการเสียชีวิตรวมกว่า 800 ตัว และมีการเกิดเพียง 2-4% ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตสูงถึง 5% หากเรายังเพิกเฉยปล่อยให้วาฬที่มีอยู่ดำเนินชีวิตไปโดยไม่มีการควบคุมอาจก่อให้เกิดการสูญพันธุ์หลงเหลือไว้เพียงแค่รูปถ่าย ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องหันมาช่วยกันรณรงค์ปลูกจิตสำนึกประชาชนเพราะการตายของสัตว์ทะเลเกิดจาก “ขยะ”แน่นอนว่าขยะที่พบมากที่สุดเกิดจากการท่องเที่ยวและจากการประมง “ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับระบบนิเวศทางทะเลอย่างเป็นเรื่องเป็นราว” โดยเฉพาะในปีนี้เป็นปีที่ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้มีกฎหมายบังคับใช้เป็นของตนเอง เราจะดำเนินการและอนุรักษ์ไว้ซึ่งสัตว์ทะเลหายากอย่างเต็มที่

ขณะที่ ดร.ปิ่นสักก์ สรัสวดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน มีเป้าหมายอยู่ใน 3 ประเด็นหลัก คือ

ประเด็นที่ 1 เป็นเรื่องของการให้ได้มาซึ่งข้อมูลสถานภาพและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของประชากรสัตว์ทะเลหายากโดยกลุ่มงานวิจัยจะช่วยทำให้เข้าใจว่าตอนนี้มีสัตว์กี่ชนิดอยู่ในท้องทะเลไทย กี่ชนิดที่เป็นสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์อีกทั้งยังมีการศึกษาพฤติกรรมและสภาพทางชีววิทยาว่าเป็นอย่างไรเมื่อเข้าใจแล้วจึงมีมาตรการหรือแนวทางในการจัดการที่เหมาะสม

ประเด็นที่ 2 เป็นกลุ่มงานที่ช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากและเกยตื้นจากสถิติพบว่าสัตว์ทะเลหายากเหล่านี้มีการเกยตื้นเป็นจำนวนมาก เราทุกคนจึงมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยกันดูแลรักษาและงานนี้จะไม่สามารถก่อให้เกิดความสำเร็จได้หากทุกคนไม่ร่วมมือกันประเด็นที่ 3 เป็นเรื่องของการช่วยชีวิตว่าควรมีการช่วยเหลืออย่างไร ใช้วิธีการรักษาเบื้องต้นที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพที่ดีอย่างไรก็ตามประชากรของสัตว์ทะเลหายากลดลงจนไม่สามารถฟื้นตัวกลับสู่ธรรมชาติได้ เราทุกคนจึงมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูและเป็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องร่วมมือกันในระดับภูมิภาค

“ผมเชื่อว่าชาวบ้านให้ความสำคัญกับทรัพยากรไม่น้อยไปกว่าภาครัฐ” ดร.ปิ่นสักก์ กล่าวทิ้งท้าย

นอกจากนี้ทาง ทช. ยังให้ความสำคัญกับเครือข่ายภาคประชาชน และชุมชนท้องถิ่น เพราะกลุ่มบุคคลที่มีโอกาสพบเหตุการณ์ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประมงพื้นบ้านหากมีความความรู้ความเข้าใจในการช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากเบื้องต้นก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในรอดชีวิตของสัตว์เหล่านี้ได้มากขึ้นและ “วาฬ” ยังถือว่าเป็นหนึ่งในสัตว์ทะเลหายากที่จะต้องช่วยกันดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยเราทุกคนยังจะต้องช่วยกันผลักดัน พ.ร.บ. การอนุรักษ์ให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

หากทางรัฐมีการประกาศให้วาฬบรูด้าเป็นสัตว์สงวนก็จะช่วยลดอัตราการสูญพันธุ์ ไม่เพียงแต่วาฬบรูด้าเท่านั้นเพราะสัตว์ทะเลทุกชนิดไม่ใช่ทรัพยากรหมุนเวียนหากแต่เป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป


สายชล 21-07-2015 19:50


ผู้จัดการออนไลน์
6-07-15


ปลาในทะเลไทยมีเยอะแยะ แต่เรือประมงเถื่อนมีมากกว่า ....................... โดย ณขจร จันทวงศ์

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...007858701.JPEG
(ภาพประกอบ : ประสาท นิรันดรประเสริฐ www.facebook.com/prasart.nirundornprasert)

ข่าวเกี่ยวกับการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย แน่นอนสื่อมวลชนจะต้องจะพยายามรายงานให้ครบทุกประเด็นทุกมิติ นำเสนอความคิดเห็นจากคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเมื่อไล่ดูความเกี่ยวข้องก็พบว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับคนทั้งประเทศ รวมถึงคนต่างประเทศที่มารับจ้างใช้แรงงานและยังขยายไปถึงผู้บริโภคทั้งในและนอกประเทศอีกด้วย

หลังจากเรือเถื่อนหลายพันลำหยุดออกทะเลมาได้เกือบ 1 อาทิตย์ ทำให้ได้เห็นว่าแท้จริงแล้วเรือประมงถูกกฎหมาย ทั้งประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ เอาจำนวนจากทุกจังหวัดมารวมกัน

ไม่รู้จะสู้จำนวนเรือผิดกฎหมายได้หรือเปล่า?

หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องคงรายงานเรื่องนี้ให้สาธารณชนทราบได้อย่างไม่ลำบากว่าตอนนี้มีเรือผิดกฎหมายจอดอยู่ท่าเรือแต่ละแห่งกี่ลำ และที่ยังจับปลากันอยู่มีลำไหนอีกบ้างที่ไม่ทำผิดกฎหมาย

เมื่อเรือผิดกฎหมายหลายพันลำพากันมาแสดงตัว รายงานเบื้องต้นบอกว่ามีราว 3 พันลำ บ้างก็ว่ามากกว่านั้น เหตุผลที่หยุดบ้างก็ว่าเพื่อประท้วงรัฐบาล บ้างก็บอกว่าหยุดเพราะกลัวถูกจับ

แต่สุจริตชนมองว่าดีแล้ว เพราะนั่นคือการเคารพกฎหมาย

ส่วนเรือที่ไม่ได้ทำอะไรผิด วันไหนสภาพคลื่นลมเป็นใจก็ไม่มีอะไรให้ต้องกลัว ระยะ 3-4 วันมานี้มีรายงานไม่เป็นทางการจากชาวประมงทั้งเรือพาณิชย์และประมงพื้นบ้านว่าหลังจากเรืออวนลาก อวนรุน เรือปั่นไฟ ผิดกฎหมายหยุดออกทะเล พวกเขาจับปลาได้มากขึ้น

ข่าวอย่างเป็นทางการจากสื่อหลายสำนักรายงานตรงกันว่าที่ จ.กระบี่ มีเรือประมงออกจับปลาคืนเดียวได้ปลากลับมามูลค่ากว่า 2 ล้านบาท

มากเป็นประวัติการณ์!!!

จากเดิมได้แค่หลักหมื่นหลักแสนต่อคืนเท่านั้น เรื่องนี้ยังต้องติดตามกันต่อไปว่าเรือลำเดียวจับปลาคืนเดียวมีใครได้มากกว่านี้ ชาวประมงเชื่อว่าจับปลาได้มากเพราะไม่มีเรืออวนลาก อวนรุน เรือปั่นไฟผิดกฎหมายมาลากอวนในทะเล

แสดงว่าที่ผ่านมาปลาในทะเลไทยมีเยอะแยะ แต่ก็ยังน้อยกว่าเรือประมงผิดกฎหมาย ใช่หรือเปล่า (ฮา)


สายชล 21-07-2015 20:00


ผู้จัดการออนไลน์
6-07-15

ทะเลไทยในกำมือ “พล.อ.ประยุทธ์” เมื่อชาวบ้านหนุนล้างบางเรือผิดกฎหมาย เลิกเครื่องมือทำลายล้าง

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...007821101.JPEG

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สมาพันธ์สมาคมชาวประมงพื้นที่บ้านแห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายต่อเรือประมงเถื่อนของรัฐบาล พร้อมเปิดตลาดสินค้าสัตว์น้ำปลอดสารพิษราคาเป็นธรรม ยืนยันสินค้าสัตว์น้ำยังไม่ขาดแคลน แนะรัฐประกาศยกเลิกอวนลาก อวนรุน เรือปั่นไฟ ทะเลไทยจะอุดมสมบูรณ์ถึงลูกหลาน ชี้อนาคตทะเลไทยอยู่ในกำมือ “พล.อ.ประยุทธ์”

หลังจากที่สหภาพยุโรป (EU) ให้ใบเหลืองแก่ประเทศไทยกรณีไม่สามารถควบคุมการทำประมงที่ผิดกฎหมายได้ ทำให้รัฐบาลต้องยื่นคำขาดออกมาตรการเข้มบังคับให้เรือประมงทุกลำต้องดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามระเบียบ หากไม่ปฏิบัติตามเจ้าของเรือจะถูกดำเนินคดีทันที ซึ่งมาตรการนี้ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา

และไม่น่าเชื่อว่า ผลจากการประกาศบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดของรัฐบาล ส่งผลให้ประมงพาณิชย์ไม่ต่ำกว่า 3,000 ลำ ต้องนำเรือเข้าจอดเทียบท่าเพราะเรือกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เป็นเรือที่ทำประมงโดยผิดกฎหมาย มีจำนวนมากที่ใช้เครื่องมือประมงซึ่งไม่ตรงกับที่ระบุในอาชญาบัตร หรือใบอนุญาตการทำประมง และมีจำนวนมากที่เป็นเรือสวมทะเบียน

มาตรการเข้มงวดของรัฐบาลครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการเรือประมงพาณิชย์ที่มีเรือประมงไม่ถูกกฎหมายได้รวมตัวกันยื่นข้อเรียกร้องกดดันรัฐบาลให้ผ่อนผันมาตรการทางกฎหมายออกไปอีก ขณะเดียวกัน พบว่าการพร้อมใจกันหยุดออกหาปลาของเรือประมงพาณิชย์ดังกล่าวได้ทำให้สินค้าสัตว์น้ำขาดตลาด และเริ่มมีราคาสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม เรือประมงพาณิชย์ที่ปฏิบัติตามระเบียบถูกต้องตามกฎหมาย และเรือประมงของเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านยังคงออกหาปลาตามปกติ แต่เนื่องจากท่าเรือหลายแห่งได้ปิดกิจการไม่มีกำหนดทำให้ระบบการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำมีปัญหา โดยมีรายงานว่า มีความพยายามสร้างสถานการณ์ให้สังคมเข้าใจว่า การหยุดออกหาปลาของเรือผิดกฎหมายนั้นทำให้สินค้าอาหารทะเลขาดตลาด

สมาพันธ์สมาคมชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ซึ่งติดตามสถานการณ์การแก้ปัญหาเรือประมงผิดกฎหมายมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี ได้ออกมาเคลื่อนไหวเมื่อวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา ด้านหนึ่งสนับสนุนให้รัฐบาลจัดการขั้นเด็ดขาดต่อเรือประมงที่ผิดกฎหมายเพื่อปลดล็อกใบเหลืองจาก EU และฟื้นฟู และรักษาทรัพยากรในท้องทะเลไทยให้เป็นแหล่งผลิตอาหารที่ยั่งยืนด้วยการเสนอให้รัฐบาลประกาศยกเลิก และสั่งห้ามการใช้เครื่องมืออวนลาก อวนรุน และเรือปั่นไฟ โดยเด็ดขาด

โดยนายสะมะแอ เจ๊ะมูดอ สมาพันธ์สมาคมชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ระบุในคำแถลงการณ์ถึงผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และสื่อมวลชน ว่า ชาวประมงพื้นบ้านจากทั่วประเทศได้รับความเดือดร้อนจากการทำประมงผิดกฎหมาย เราติดตามการแก้ไขปัญหากรณีประเทศไทยโดนสหภาพยุโรปออกใบเตือนว่า อาจคว่ำบาตรสินค้าประมงไทย เพราะยังมีปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ไม่มีการควบคุม และไม่มีรายงาน โดยพวกเราเองก็เป็นชาวประมงเล็กๆ ที่ถูกมาตรการของภาครัฐโดย ศป.มผ. ให้ดำเนินการจดแจ้งรายละเอียดต่างๆ เช่นกัน

“เราอยากบอกท่านทั้งหลายว่า ประมงทะเลไทยเป็นแหล่งทำการประมงที่สำคัญและเป็นแหล่งอาหาร สัตว์น้ำที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เป็นแหล่งรายได้ที่ชาวบ้านท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ ใช้พึ่งพาอาศัยจับสัตว์น้ำเป็นอาหารคุณภาพปลอดภัยให้สังคมไทย จนมีเครื่องมือประมงอวนลาก อวนรุน เรือปั่นไฟจับสัตว์น้ำวัยอ่อนในเวลากลางคืน เกิดขึ้นในประเทศไทย และจำนวนมากมุ่งจับสัตว์น้ำเพื่อป้อนโรงงานอาหารสัตว์ ทำให้ทะเลไทยเกิดความเสื่อมโทรมลง เรือผิดกฎหมายได้ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำขนาดเล็กมากเกินไป เป็นเครื่องมือที่ทำลายระบบนิเวศ และทำลายเครื่องมือชาวประมงอื่นเสมอๆ จนหลายประเทศเริ่มห้ามมิให้ใช้เครื่องมือเหล่านี้ทำการประมง”

ที่สังคมไทยต้องทราบคือ การประมงเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นการประมงแบบธุรกิจของนักลงทุน พวกเขาลงทุนใช้เครื่องมือชั้นเลว เพื่อหวังกอบโกยทำร้ายทรัพยากรทะเล และชาวประมงอื่นๆ มาโดยตลอด ดังนั้น ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีนโยบายในการควบคุมเครื่องมือประมงเหล่านี้ไม่ให้เพิ่มขึ้น พวกเขาก็ใช้วิธีการลักลอบทำอย่างผิดกฎหมาย เมื่อถูกจับกุมมักวิ่งเต้นจ่ายค่าปรับ แล้วกลับมาทำผิดต่ออีก

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...007821103.JPEG

เมื่อปี 2515 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศห้ามทำการประมงอวนลาก อวนรุนในเขต 3,000 เมตร จากชายฝั่งเพื่อป้องกันการขัดแย้งต่อชุมชน และทำลายทรัพยากรมากเกินไป อนุญาตให้ทำได้ในทะเลไทยนอกเขต 3,000 พันเมตรออกไป ซึ่งกินพื้นที่กว่า 300,000 เมตรหรือประมาณ 300 กิโลเมตร ในขณะที่ชาวประมงพื้นบ้านเฝ้าระวังพื้นที่แค่ 3 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ปรากฏว่า กลุ่มทุนจำนวนมากยังคงบุกรุกเข้ามาจับปลาในเขตหวงห้าม 3,000 เมตร

“เรารับรู้ว่ากลุ่มนายทุนเหล่านี้กำลังให้ข่าวอ้างว่า ชาวประมงพื้นบ้านที่มีจำนวนมากน่าจะเป็นฝ่ายที่ทำให้เกิดการประมงเกินศักยภาพการผลิตของทะเล ซึ่งเป็นการบิดเบือนความจริงอย่างหน้าด้านๆ เป็นการตอกย้ำว่า กลุ่มนายทุนเหล่านี้ใช้วิธีสกปรกทุกทางเพื่อให้ตนหลุดพ้นจากความผิด และจะได้กระทำการเอารัดเอาเปรียบชาวประมงเล็กๆ ต่อไป ทั้งที่มีข้อมูลชัดเจนยืนยันได้ว่า ในการประมงทะเลไทยนั้น ชาวประมงพื้นบ้านซึ่งเป็นคนในชุมชน ท้องถิ่น มีจำนวนมากถึงประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ของชาวประมงทั้งหมด แต่จับปลาในทะเลรวมกันได้ 23 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ทั้งหมดใช้ป้อนตลาดเป็นอาหารของคน ในขณะที่อีก 77 เปอร์เซ็นต์ จับโดยนายทุนประมงพาณิชย์ที่ใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ และจับจำนวนมาก ทำแบบผิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิชุมชนท้องถิ่น โดยสัตว์น้ำที่จับได้เกือบทั้งหมดใช้ป้อนโรงงานปลาป่นผลิตอาหารสัตว์ สร้างความร่ำรวยให้แก่ตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น”

ล่าสุด หลังรัฐบาลกำหนดจะใช้มาตรการตามกฎหมายเพื่อแก้ปัญหา IUU เมื่อจะถึงกำหนด บรรดาเรือประมงขนาดใหญ่ รวมทั้งเรืออวนลากจำนวนมากกลับเข้าฝั่ง และเสนอว่าหากรัฐไม่ผ่อนผันการบังคับใช้กฎหมาย จะทำให้พวกเขาไม่สามารถออกทำการประมงได้ และประเทศจะขาดสินค้าประมงตามข่าวในสื่อต่างๆ แต่สิ่งที่เรารับรู้ในหลายมาตรการมีการหมกเม็ด และให้การผ่อนผันทำประมงผิดประเภท แรงงานผิดกฎหมายต่อไป ยกเว้นกรณีให้ติดเครื่องมือติดตาม (VMS) เท่านั้นที่กำหนดให้ต้องติดตั้งภายในวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา กลับปรากฏว่า บรรดาเรือประมงใหญ่เหล่านี้ยังเรียกร้องให้ผ่อนผันต่อไปเพื่ออะไร

เราขอเรียนว่า มีเครื่องมือประมงที่ดี ที่รับผิดชอบ ที่สามารถสร้างผลผลิตสัตว์น้ำให้ประเทศไทย ได้โดยไม่ต้องกังวลว่าประเทศไทยจะขาดอาหารทะเลบริโภค เพียงต้องยกเลิกการทำประมงที่ทำลายมากเกินไปเท่านั้น

“ถึงแม้ว่าทะเลไทย และชาวประมงพื้นบ้านเจ็บช้ำจากการกระทำของกลุ่มนายทุนอวนลาก อวนรุน และเรือปั่นไฟ มาเป็นเวลานาน ทั้งเครื่องมือประมงพื้นบ้านเสียหาย ถูกรุมทำร้ายเคยถูกชาวประมงอวนลากไล่ยิงกลางทะเล เคยถูกเรือประมงผิดกฎหมายแบบนี้ฆ่าตาย เพียงเพราะไปขอให้พวกเขาออกไปจากเขตอนุรักษ์ 3,000 เมตร เราก็ไม่เคยคิดอิจฉาว่านายทุนอวนลากร่ำรวยมากเกินไป เราไม่เคยคิดที่จะเปลี่ยนเครื่องมือตัวเองแล้วหันไปทำผิดกฎหมายเหมือนกัน เพราะเรารู้ว่านั่นไม่ต่างจากฆ่าตัวเราเอง ฆ่าอนาคตของลูกหลานเราเอง เราไม่เคยคิดที่จะรุกไล่ไม่ให้พี่น้องชาวประมงที่ทำประมงขนาดใหญ่เลิกทำประมง แต่เราเรียกร้องให้พวกเขาเปลี่ยนเครื่องมือประมงมาทำด้วยเครื่องมือถูกกฎหมายอื่นๆ ที่คนทั่วไปเขาทำกัน และหยุดทำร้ายเราเสียที”

เรามีความเห็นว่า นายทุนประมงได้รับการเอื้อเฟื้อโอนอ่อนผ่อนผันมาเป็นเวลากว่า 30 ปี นาน เกินไปที่จะพูดว่าควรให้โอกาสอีก รัฐบาลต้องดำเนินการให้การทำประมงอวนลาก อวนรุน และการปั่นไฟ จับลูกปลาต้องหมดไปจากทะเลไทย เราขอเรียกร้องให้ชาวประมงทั้งหลายหันกลับมาทำประมงด้วยเครื่องมืออื่นที่รับผิดชอบต่อทรัพยากร รับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมอาชีพ

เราเชื่อมั่นว่าหากสามารถเลิกการประมงทำลายล้างเหล่านี้ได้ ประเทศไทยจะยิ่งมีอาหารสัตว์น้ำที่มีคุณภาพมากขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น ผู้บริโภคจะได้กินในราคาที่ถูกลง ปริมาณสัตว์น้ำเต็มวัยจะเพิ่มขึ้น และภายใต้มาตรการอื่นๆ ประกอบกัน ประเทศไทยจะสามารถแก้ปัญหาการส่งออกไปสหภาพยุโรปได้ด้วย

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...007821104.JPEG

ด้านนายบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าวว่า วิกฤตทะเลไทยเกิดขึ้นมายาวนานแล้ว ความผิดพลาดเกิดขึ้นในการบริหารจัดการทะเลมีหลายสาเหตุ เช่น ขาดการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องต่อมาตรการในการอนุรักษ์และฟื้นฟู เรายังปล่อยให้มีการทำการประมงแบบทำลายล้าง อย่างอวนลาก อวนรุน และเรือปั่นไฟ ทำการประมงอยู่ได้

“เคยมีความพยายามจากนักวิชาการกรมประมงที่เสนอว่า ปัญหาทะเลไทยเสื่อมโทรมมาตรการแก้ไขคือ ต้องหยุดอวนลาก โดยงดการต่อทะเบียน และออกอาชญาบัตรให้แก่เรืออวนลาก ซึ่งเป็นข้อเสนอที่นุ่มนวลที่สุด เพราะคนที่มีเรืออวนลากอยู่ในตอนนี้ก็ทำต่อไปได้ แต่ในทางวิชาการ อายุเรืออวนลากจะไม่เกิน 12 ปี หากยึดตามนั้นป่านนี้ทะเลไทยปลอดเรืออวนลาก ตัวทำลายพันธุ์สัตว์น้ำไปนานแล้ว”

นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าวและว่า แต่เพราะความหย่อนยานในการบังคับใช้กฎหมาย และอำนาจทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงข้าราชการประจำสูงมากๆ การสร้างเรือเพิ่ม การสวมทะเบียนเรือจึงเกิดขึ้นต่อเนื่อง และนักการเมืองก็นิรโทษให้เรือเหล่านั้นกลับมาถูกต้องตามกฎหมายอีก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากกว่าไทยหลายเท่า และเป็นประเทศที่มีเกาะแก่งในทะเลมากที่สุด ทำให้มีทรัพยากรสัตว์น้ำมากที่สุดในเอเชีย ซึ่งการที่อินโดนีเซียไม่โดนใบเหลืองจากอียูเพราะรัฐบาลอินโดฯ มองไปข้างหน้าเพื่อคนส่วนใหญ่

“ในกรณีอวนลากซึ่งเป็นตัวทำลาย เขาใช้มาตรการประกาศยกเลิกห้ามทำอวนลากทุกชนิดไปเมื่อ 9 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา ขอย้ำว่า อวนลากทุกชนิด อียูก็เห็นความจริงใจของรัฐบาลอินโดฯ ว่าทำจริงไม่ใช่ทำแบบผักชีโรยหน้า เชื่อว่าอีกไม่เกิน 1 ปีต่อจากนี้ อินโดฯ จะกลายเป็นประเทศที่ส่งออกอาหารทะเลใหญ่ที่สุดในเอเชียแน่นอน ประชาชนในชาติของเขาก็จะมีแหล่งอาหารโปรตีนธรรมชาติที่ยั่งยืน หากนายกฯ คิดว่านี่คือโอกาสทั้งในแง่ใช้โอกาสนี้ทำความสะอาดทะเลไทยเสียที โอกาสนี้เหมาะที่สุด คือ หยุดเครื่องมือทำลายล้างสำคัญๆ 3 ชนิด คืออวนลาก อวนรุน และเรือปั่นไฟ ในขณะเดียวกัน ก็หามาตรการเยียวยาอย่างชอบธรรมและตรงไปตรงมาต่อผู้ทำการประมงเหล่านั้น ผมคิดว่าท่านจะสร้างคุณูปการให้แก่สังคมไทยที่ยากจะหาอะไรมาเปรียบเทียบ” นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าว


สายชล 21-07-2015 20:03


สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
6-07-15

บทความ : รู้จัก “กฎหมายประมงฉบับใหม่”

http://112.121.129.75/centerWeb/Uplo...5001005602.jpg

พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ได้ใช้มาเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้สาระสำคัญ ของกฎหมายในหลาย ๆ เรื่องไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ของการประมงในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก ซึ่งจำเป็นต้องทำการปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่ เพื่อให้กฎหมายประมงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารจัดการการประมงของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต กรมประมงจึงได้จัดทำพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2558 โดยยกเลิกกฎหมายเดิมทั้งฉบับ และเพิ่มหลักการใหม่ๆ ที่สำคัญ ประกอบด้วย

1. กำหนดให้มีการแบ่งเขตการประมงในน่านน้ำไทยออกเป็น 3 เขต อย่างชัดเจน ได้แก่ เขตประมงน้ำจืด เขตประมงทะเลชายฝั่ง และเขตประมงทะเลนอกชายฝั่ง โดยในแต่ละเขตจะมีการบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่และตามประเภทของเครื่องมือประมง ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายเดิมไม่ได้กำหนดเขตพื้นที่ทำการประมง ทำให้เครื่องมือประมงที่ได้รับอนุญาตสามารถทำการประมงในทะเลได้อย่างเสรีในเกือบทุกพื้นที่ ก่อให้เกิดปัญหา การแย่งชิงพื้นที่ทำการประมง และมีแนวโน้มความรุนแรงมากขึ้น เช่น ระหว่างชาวประมงพื้นบ้านหรือเครื่องมือประมงขนาดเล็ก กับชาวประมงที่ทำการประมงในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งหลักการนี้จะช่วยลดปัญหาการแย่งชิงทรัพยากร ลดความขัดแย้งระหว่างชาวประมงที่ใช้เครื่องมือประมงต่างประเภทกัน และเกิดความสะดวกต่อการบริหารจัดการในแต่ละเขตพื้นที่

2. กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและ มีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน โดยรัฐมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนผู้ประสงค์ จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของตนให้ได้มาตรฐาน และออกหนังสือรับรองให้ นอกจากนี้ยังกำหนดให้รัฐสามารถออกมาตรการควบคุมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบางประเภทให้มีคุณภาพ ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อร่างกายมนุษย์หรือต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือสาธารณสมบัติ ซึ่งจะทำให้สัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยงของประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า

3. กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมด้านสุขอนามัย โดยรัฐมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติ ขั้นพื้นฐานด้านสุขอนามัยสำหรับประชาชนผู้ประสงค์ทำให้สัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของตนมีสุขอนามัยที่ได้มาตรฐาน และออกหนังสือรับรองให้ นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มีมาตรการควบคุมด้านสุขอนามัยของสัตว์น้ำ ในกิจการบางประเภท นับตั้งแต่ขั้นตอนการจับ การดูแลสัตว์น้ำหลังการจับ และการขนส่ง อันจะส่งผลให้สามารถรักษาคุณภาพสัตว์น้ำให้มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคยิ่งขึ้น

4. กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมง อันจะทำให้รัฐสามารถกำหนดมาตรการด้านการบริหารจัดการได้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และความต้องการของประชาชน เป็นหลักการที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้มีส่วนร่วมในหลายลักษณะ ได้แก่ การให้ตัวแทนภาคประชาชนร่วมเป็นคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารจัดการ และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

การให้ตัวแทนภาคประชาชนจากองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นต่าง ๆ ที่มาขึ้นทะเบียนกับกรมประมง มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแต่ละจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรการในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงในเขตพื้นที่จังหวัดให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ทางการประมงของจังหวัด รวมทั้งการพิจารณาแก้ไขปัญหาและพัฒนาการประมงในเขตพื้นที่ดังกล่าว ภายใต้หลักการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และรับผิดชอบร่วมกัน

การกำหนดให้กรมประมงมีหน้าที่ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้ำ ภายในเขตประมงน้ำจืดหรือเขตประมงทะเลชายฝั่ง โดยให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดทำนโยบายการพัฒนาการประมงให้สอดคล้องกับปริมาณของทรัพยากรสัตว์น้ำ และขีดความสามารถในการทำประมง การให้คำปรึกษา การช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานหรือกิจกรรมของชุมชน รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานดังกล่าว

5. กำหนดให้มีคณะกรรมการประมงนอกน่านน้ำไทย เพื่อนำเสนอการแก้ไขปัญหา เสนอแนะนโยบายและแนวทางการพัฒนาการประมงนอกน่านน้ำไทย ต่อคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ และเสนอแนะต่อหน่วยงานในการออกกฎ ระเบียบต่างๆ ในการจัดระเบียบการใช้เรือไทยออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยเป็นการเฉพาะ เพื่อส่งเสริมการทำประมง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำการประมงนอกน่านน้ำไทยอย่างเป็นระบบ มาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ชาวประมงไทยออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำอย่างมีจรรยาบรรณ ไม่กระทำผิดกฎหมายหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ

สำหรับหลักการในเรื่องอื่น ๆ ยังคงยึดถือแนวทางตามกฎหมายฉบับเดิมซึ่งมีความเหมาะสมอยู่แล้ว เพียงแต่มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน เช่น การกำหนดอัตราโทษ อัตราค่าอากร ค่าธรรมเนียมให้มีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น กรมประมงได้เริ่มยกร่างกฎหมายนี้ในปี พ.ศ. 2543 โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนหลายครั้งมาอย่างต่อเนื่อง และได้ทำการแก้ไขปรับปรุงมาเป็นลำดับ จนท้ายที่สุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติให้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2558 เป็นต้นไป

http://112.121.129.75/centerWeb/Uplo...5001005601.jpg

พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2558 ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการประมง และสภาพของสังคมในปัจจุบัน โดยกำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำ และการดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมให้ประชาชนหรือชุมชนประมงท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างสมดุล เพื่อให้สามารถนำทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน และกำหนดมาตรการส่งเสริมให้สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงหรือจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีคุณภาพได้มาตรฐานด้านสุขอนามัย มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมิให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมและจัดระเบียบการใช้เรือประมงไทยในการทำการประมงนอกน่านน้ำไทย

ดังนั้น จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากฎหมายประมงฉบับใหม่ จะเป็นคำตอบหรือเป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาทางการประมงในปัจจุบัน และพัฒนาการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ของกรมประมงที่ว่า “มุ่งสู่การเป็นผู้นำทางการประมงอย่างยั่งยืนในภูมิภาค เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน


สายชล 21-07-2015 20:05


ผู้จัดการออนไลน์
7-07-15

เฟชบุ๊ก ‘บรรจง นะแส นายกฯ ส.รักษ์ทะเลไทย’ ถูกบล็อก คาดฝีมือสมุนนายทุนประมงเถื่อน

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...007915901.JPEG

ศูนย์ข่าวภาคใต้ - บัญชี Facebook นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย ถูกบล็อก หลังโพสต์เนื้อหาตีแผ่ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายและแฉบริษัทยักษ์ใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังการทำลายทรัพยากรในท้องทะเลไทยมาอย่างต่อเนื่อง

วันนี้ (6 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา บัญชีผู้ใช้ Facebook ของนายบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย ในชื่อ “บรรจง นะแส” ได้หายไปจากการเชื่อมต่อกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยระบบของ Facebook แจ้งว่าไม่พบหน้าเพจดังกล่าว หน้าเพจดังกล่าวอาจมีการเลิกใช้งานหรือถูกลบไปแล้ว

โดยจากการค้นหาชื่อบัญชี Facebook บรรจง นะแส จากโปรแกรมค้นหา google.com พบเพียงแคชของหน้าโปรไฟล์ในชื่อ “บรรจง นะแส” ที่อัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ก.ค.ที่ผ่านมาเท่านั้น

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...007915902.JPEG

ด้านนายบรรจง นะแส เปิดเผย ‘ASTVผู้จัดการภาคใต้’ ว่า เพิ่งทราบเรื่องนี้หลังเสร็จจากอัดรายการสัมภาษณ์ประเด็นเกี่ยวกับปัญหาการทำประมงที่สถานีโทรทัศน์ NEWS 1 ที่สำนักงานบ้านเจ้าพระยา ถ.พระอาทิตย์ กรุงเทพฯ เมื่อเชื่อมต่อเข้าใช้งาน Facebook ด้วยสมาร์ทโฟนตามปกติพบว่าไม่สามารถเข้าใช้บัญชีได้ โดยขณะนี้ยังไม่ทราบว่าบัญชีถูกบล็อกหรือไม่

“พรรคพวกหลายคนโทรมาสอบถามเพราะไม่เห็นเราในเฟชบุ๊ก ก็คิดว่าน่าจะเป็นผู้ที่เสียผลประโยชน์จากการทำธุรกิจประมงและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพราะปกผมจะใช้หน้าเฟชบุ๊กสื่อสารกับสาธารณชนเรื่องปัญหาการทำประมง ทุนใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังการทำประมงผิดกฎหมาย จับสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งตอนนี้เขากำลังเดือดร้อนจากกฎหมายประมงที่บังคับใช้อยู่ อาจมีความไม่พอใจแล้วแกล้งรายงานบัญชีผู้ใช้ของเรา ทำให้ถูกบล็อก ต้องไปตรวจสอบอีกครั้งว่าเกิดจากอะไร”

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...007915903.JPEG

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับนายบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย ถือเป็นผู้ที่ต่อสู้และขับเคลื่อนการแก้ปัญหาประมงพาณิชย์ทำลายล้างทะเล กลุ่มทุนค้าปลีกผูกขาด และโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ละเมิดสิทธิชุมชน มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจถูกกลั่นแกล้งด้วยการรายงานบัญชีผู้ใช้หรือแฮ็กบัญชีเพื่อไม่ให้นายบรรจง สื่อสารกับสาธารณะได้อย่างสะดวก


สายชล 21-07-2015 20:06


คม ชัด ลึก
7-07-15

เจาะลึกวิกฤติ‘ประมงเทียบท่า’ ผลกระทบโดมิโน-สู่ความยั่งยืน ................... ทีมข่าวภูมิภาค

http://www.komchadluek.net/media/img...bc9bbbdd8b.jpg

กลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อประเทศชาติและประชาชนโดยตรง เมื่อ "สมาคมประมง" มีมติให้สมาชิกกลุ่ม "เรือประมงพาณิชย์" หลายพันลำนำเรือเทียบท่าใน 22 จังหวัด หลังจากคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งที่ 10/2558 ลงวันที่ 29 เมษายน 2558 เพื่อจัดระเบียบ และแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายที่เป็นปัญหาหมักหมมมาเนิ่นนานกว่า 30 ปี โดยคำสั่งดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากสหภาพยุโรป (อียู) ให้ "ใบเหลือง" ประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่า ไทยไร้ศักยภาพ ไม่สามารถควบคุมการทำประมงที่ผิดกฎหมายได้
ทั้งนี้ แม้ที่ผ่านมารัฐบาลจะให้เวลาหลายเดือน เพื่อให้กลุ่มประมงพาณิชย์ทำทุกสิ่งอย่างให้ถูกต้องตามข้อกำหนด แต่ดูเหมือนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกลับไม่ได้รับการตอบสนองจากกลุ่มประมงพาณิชย์เท่าใดนัก

กระทั่งเวลาผ่านไปเนิ่นนานจนมาถึงเส้นตายของการบังคับใช้กฎหมายในวันที่ 1 กรกฎาคม กลุ่มผู้ประกอบการประมงพาณิชย์กลับต้องการให้รัฐผ่อนปรนข้อบังคับต่างๆ ไปอีกสักระยะ พร้อมยื่นข้อเสนอก่อนจะพากันนำเรือหลายพันลำเข้าเทียบท่าในจังหวัดต่างๆ โดยขอให้ผ่อนผันการบังคับใช้ ประกาศนียบัตรนายเรือ ประกาศนียบัตรช่างเครื่อง บัตรประชาชนผู้ควบคุมเรือ (ไต๋) บัตรประชาชนนายเรือ บัตรประชาชนช่างเครื่อง หรือแม้กระทั่งการผ่อนผันข้อบังคับในเรื่องอาชญาบัตรเรือ ที่รัฐบาลจะไม่ยอมออกให้เรือที่ใช้เครื่องมือประมงผิดประเภท ทั้ง อวนรุน อวนลาก อวนล้อม อวนล้อมปลากะตัก เพราะถือเป็นเครื่องมือที่ทำลายวงจรการเติบโตของสัตว์น้ำ

นอกจากนี้กลุ่มชาวประมงพาณิชย์ยังขอให้รัฐผ่อนปรนในเรื่องแรงงานที่รัฐบาลต้องการให้มีแรงงานไทยอยู่บนเรือประมงในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อสามารถควบคุมการทำงานบนเรือได้ แต่ในความเป็นจริงแรงงานในภาคประมงบนเรือ 90% คือแรงงานต่างด้าว

ส่วนประเด็นสุดท้ายคือ กลุ่มประมงพาณิชย์ยังขอให้รัฐผ่อนปรนในเรื่องการติดตั้งเครื่องวิทยุภายในเรือ เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลน เพราะอุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับรองจากหน่วยงานรัฐ

ทั้งนี้ "กลุ่มประมงพาณิชย์ทั้ง 22 จังหวัด" ถือเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมอาหารทะเลในประเทศไทย ดังนั้นการนำเรือเทียบท่าหยุดทำประมงของกลุ่มประมงพาณิชย์จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม โดยเฉพาะประมงพาณิชย์ในภาคใต้นับเป็นแหล่งการทำประมงขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมทั้งอ่าวไทย และอันดามัน

จากข้อมูลของ "ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สาขาภาคใต้" ได้วิเคราะห์ถึงผลที่จะตามมาจากการลงมติของสมาคมประมงที่ให้เรือประมงกลับเข้าสู่ฝั่ง ไว้ได้อย่างน่าสนใจ

ธปท.วิเคราะห์เรื่องปัจจัยภายในประเทศเป็นสิ่งสำคัญ โดยมองว่า ก่อนหน้านี้การทำประมงของไทยก็ประสบปัญหาอินโดนีเซียปิดน่านน้ำ ทำให้ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือลดลงร้อยละ 8 ดังนั้นหากมีการหยุดเรือเพิ่มขึ้นจะทำให้ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ลดลงไปมากยิ่งขึ้น ซึ่งทุกปัจจัยจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของ "ชาวประมง, เจ้าของเรือ, ธุรกิจเกี่ยวเนื่องประมง"

ขณะเดียวกัน "ผู้บริโภค" ต้องรับภาระราคาสัตว์น้ำที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามราคาสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลดีต่อเรือประมงที่ยังสามารถออกทำประมงได้

ทั้งนี้ภาคประมงมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ และร้อยละ 4.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคใต้ ปี 2556

ส่วนการส่งออกจะกระทบต่อการส่งออกอาหารทะเลแปรรูปเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบมีมากขึ้น

"จากเดิมที่ได้รับผลกระทบจากการปิดน่านน้ำของอินโดนีเซีย เรายังประสบปัญหาการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ของสหภาพยุโรป ทำให้ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ปลาและหมึก มีปริมาณลดลงร้อยละ 8.8 และ 17.4 ส่วนอาหารทะเลกระป๋องคงได้รับผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ ขณะที่กุ้งแปรรูปปริมาณการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงเริ่มขยับขึ้นจากปัญหาโรคตายด่วน (อีเอ็มเอส) ที่เริ่มคลี่คลาย ซึ่งในปีที่ผ่านมาไทยมีการส่งออกอาหารทะเลทั้งหมดประมาณ 2 แสนล้านบาท"

ทั้งนี้ ในส่วนของพื้นที่ภาคใต้ที่เป็นศูนย์กลางเทียบท่าของเรือประมง และเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป

จากการศึกษาของ ธปท. พบว่า ในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปเพื่อการส่งออกจากภาคใต้ มี 3 กลุ่มหลัก คือ ปลาและหมึกแปรรูปแช่เย็นแช่แข็ง กุ้งแปรรูปแช่เย็นแช่แข็ง และอาหารทะเลกระป๋องจะได้รับผลกระทบจากการหยุดการทำประมง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการประมง ห้องเย็นและแปรรูป รวมทั้งแรงงานที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปลาและหมึกแปรรูป แต่ปัญหานี้สืบเนื่องมาจาก "หลักเกณฑ์สากล และการทำประมงยั่งยืน" รัฐจึงต้องแก้ไขให้ลุล่วงในที่สุด ดังนั้นทางออกที่ดีคือ การหารือและแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อทำให้อนาคตอุตสาหกรรมดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ธปท. มองว่า ผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของภาคใต้อาจจะไม่สูงมากนัก เนื่องจากปลาและหมึกมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกอาหารทะเลทั้งหมดของภาคใต้ และคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคใต้

นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการก็ปรับตัวด้วยการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าสินค้า บางแห่งหันไปผลิตสินค้าแปรรูปอย่างอื่น เพื่อชดเชยปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบอยู่แล้ว

ส่วนกุ้งแปรรูปและอาหารทะเลกระป๋องคงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป (กุ้ง ปลา และหมึก ) ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก ส่วนอาหารทะเลกระป๋องส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ

สุภาวดี โชคสกุลนิมิต กรรมการผู้จัดการบริษัทปัตตานีปลาป่น (1988) จำกัด เปิดเผยว่า การที่ภาคประมงบางส่วนหยุดออกจับสัตว์น้ำ ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการประมง และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประมงที่มีบทบาทของการเป็นฐานรากของเศรษฐกิจไทย สัตว์น้ำที่นำขึ้นท่า 70 เปอร์เซ็นต์ ใช้เพื่อการบริโภคภายในประเทศ 30 เปอร์เซ็นต์ ส่งออก ดังนั้นการหยุดทำประมงจึงส่งผลกระทบที่สร้างความเสียหายต่อทั้งระบบของเศรษฐกิจสูงถึง 5 หมื่นล้านบาท จากความชะงักงันที่เกิดขึ้น

"จ.ปัตตานีเอง ถือเป็นจังหวัดที่ทำประมงเป็นฐานราก หากประเมินคร่าวๆ จะมีเรือที่ต้องหยุดทำประมงตามมติของสมาคมประมงไม่ต่ำกว่า 200 ลำ นอกจากนี้ยังมีเรือที่ไม่เข้ากฎเกณฑ์ตามที่ภาครัฐออกข้อกำหนดอีกพอสมควร โดยสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้จะทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประมงกระทบกระเทือนทั้งหมด ทั้งคนงานที่อยู่ในเรือประมง คนงานแพปลา คนคัดเลือกปลา โรงงานน้ำแข็ง ส่วนตัวมองว่า การแก้ปัญหาของรัฐบาลนั้นไม่ถูกจุด ที่เห็นได้ชัดคือเรื่องของอาชญาบัตร เพราะที่ผ่านมารัฐก็ไม่ได้ต่อให้เรือประมงมาตั้งแต่ปี 2539 ปล่อยปละละเลยมาจนลุกลาม"

สุภาวดี กล่าวอีกว่า ธุรกิจประมงภายในประเทศก่อให้เกิดการจ้างงาน ทำให้มีเงินหมุนเวียนภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐกลับมองเพียงเรื่องการส่งออก ซึ่งธุรกิจส่งออกส่วนใหญ่ก็คือนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เพื่อการส่งออกไม่ต้องจ่ายภาษี แต่ประมงที่ทำภายในประเทศเกิดการจ้างงาน มีการจ่ายภาษีเข้าสู่ระบบ

"อยากให้รัฐบาลมองว่า หากเราไม่เข้าใจธุรกิจประมงนั้น ท้ายที่สุดจะกระทบไปทั้งระบบ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ หากไม่มีวัตถุดิบก็ไม่สามารถผลิตได้ และที่กระทบมากที่สุด คือปลาป่น ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารสัตว์" สุภาวดี กล่าว

มานะ ศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทแมนเอ โฟรเซ่นฟู๊ด จำกัด กล่าวว่า ปัญหาตอนนี้คือภาครัฐ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตีโจทย์ของอียูผิดทั้งหมด โดยประเด็นที่อียูให้ใบเหลืองคือ ต้องการให้ไทยทำประมงอย่างยั่งยืน แต่การแก้ปัญหาในขณะนี้มองต่างกันออกไป แนวทางที่ถูกต้องคือ รัฐบาลต้องมาทำความเข้าใจเรื่องการประมง ส่วนตัวข้อตั้งคำถามว่า หากวันนี้เรือประมงหยุดเดินเรือ เผาเรือ แล้วอียูจะปลดล็อกให้หรือไม่ก็ไม่

"ตอนนี้ในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารทะเลเพื่อการส่งออกที่เคยใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เมื่อเจอปัญหา เขาก็ดิ้นรนไปหาวัตถุดิบจากต่างประเทศ บริษัทใหญ่ๆ ไปแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม อินโดนีเซีย นอกจากนี้ข่าวที่ออกไปกระทบกับออเดอร์ของที่มีในต่างประเทศ เช่นของบริษัทผมมีตลาดญี่ปุ่น พอมีข่าวแบบนี้ คู่ค้าหันไปหาซื้อที่อื่น เลยกลายเป็นว่าผิดกันไปทั้งหมด" มานะ กล่าว

เช่นเดียวกับ "ปรีชา ศิริแสงอารัมพี" ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า หากประเมินจากการที่เรือประมงพาณิชย์พากันกลับเข้าฝั่ง แน่นอนว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นโดยตรงกับผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับประมงในทุกส่วน โดยเฉพาะความเสี่ยงในเรื่องการว่างงาน นอกจากนี้ยังมองว่า การที่เรือประมงพาณิชย์กลับเข้าฝั่งจะทำให้ไม่มีสัตว์น้ำเข้ามาสู่ระบบ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการขาดแคลนสัตว์น้ำเพื่อการอุปโภค- บริโภค โดยส่วนตัวเชื่อว่า น่าจะเกิดขึ้นอีก 2 เดือนนับจากนี้ เพราะสินค้าที่เก็บไว้ในห้องเย็นจะหมดไปจากระบบ

"ปัญหาในขณะนี้ขึ้นอยู่กับว่า จะเลือกมองในส่วนใด หากมองในภาครัฐนี่คือการจัดระเบียบประมงเพื่อให้เกิด "ความยั่งยืน" ขณะที่ในมุมคนทำประมงเขามองว่า ประมงคือความเป็นอาชีพ รัฐควรจะให้ความสำคัญ หรือหาทางช่วยเหลือ และในฐานะของภาคเอกชนได้แต่คาดหวังผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการหยุดทำประมงจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาอันสั้น โดยทุกฝ่ายสามารถหาทางคลี่คลายสถานการณ์ไม่ให้ลุกลามไปมากว่านี้" ปรีชา กล่าว

สิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นภาพด้านหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ หลังจากเรือประมงบางส่วนเทียบท่า ซึ่งท้ายที่สุดคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงหนีไม่พ้นประชาชนตาดำๆ อีกเป็นแน่แท้


สายชล 21-07-2015 20:08


โพสต์ทูเดย์
7-07-15

แจงน้ำทะเลเปลี่ยนสีทำปลาตายเกลื่อนบางแสน

http://www.posttoday.com/media/conte...D1D72347BE.jpg

ชลบุรี-คณะวิทยาศาสตร์ม.บูรพาเผยปลาตายเกลื่อนบางแสนเกิดจากปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ

เมื่อวันที่ 6 ก.ค. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา แจ้งว่า ปลาจำนวนมากนอนเกยตื้นบริเวณชายหาดบางแสน อ.เมือง จ.ชลบุรี เกิดจากปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี หรือชาวบ้านเรียกว่าปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ ทำให้สัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง ไม่มีอากาศหายใจหนีขึ้นมาบริเวณชายหาด ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพักผ่อน ชายหาดบางแสน ได้นำอุปกรณ์ที่หาได้มาช่วยกันจับปลา อาทิ ปลากระเบน ปลาเห็ดโคน ปลาหมึก และปลาตัวเล็กๆ เพื่อนำไปเป็นอาหาร

ทั้งนี้ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้หายไปจากหาดบางแสนนานแล้ว คาดว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เนื่องมาจากน้ำในชุมชนได้ปล่อยลงทะเล โดยเฉพาะชายหาดบางแสนรับน้ำทะเลจากแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้น้ำทะเลได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่จึงได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ออกซิเจนในทะเลหมดลง จึงเป็นสาเหตุทำให้ปลาตายก่อนถูกคลื่นซัดเข้าสู่ชายฝั่ง

อย่างไรก็ตามทางเทศบาลเมืองแสนสุขได้ระดมเจ้าหน้าที่ช่วยกันเก็บกวาดซากปลาและขยะอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้ได้นำซากสัตว์น้ำและตัวอย่างน้ำทะเลส่งต่อให้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อหาสาเหตุให้แน่นอนอีกครั้ง และไม่แนะนำให้ลงเล่นน้ำเนื่องจากอาจเกิดอาการแพ้ได้ ซึ่งเทศบาลจะทดลองทิ้ง อีเอ็ม บอล เพื่อปรับสภาพน้ำก่อนคาดว่า ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสูจะทุเลาขึ้นในอีก 3-4วันข้างหน้า


*********************************************************************************************************************************************************


ปลาทะเลจะราคาแพงขึ้นจริงหรือ? ........................... เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat

http://www.posttoday.com/media/conte...A95A0CDACF.jpg

เพื่อนๆ สอบถามกันมาเรื่องปลาทะเลราคาแพง บ้างอยากรู้ว่าปลาอะไรบ้าง ผมจึงอยากบอกไว้ 6 ข้อ ดังนี้ครับ

1) เรือประมงที่หยุดแบ่งเป็น 2 พวก กลุ่มหนึ่งหยุดเพราะมีอะไรไม่เรียบร้อยนิดหน่อย อีกไม่นานคงกลับออกไปหาปลาได้ อีกพวกคือเรือที่อาชญาบัตรผิดประเภทหรือไม่มี จะเป็นเฉพาะ 4 เครื่องมือ ได้แก่ อวนรุน อวนลาก และอวนปลากะตัก (2 แบบ) ท่าจะหยุดนานครับ

2) อวนรุน-อวนลาก จะลากกวาดสัตว์หน้าดินทั้งหมด แต่กวาดมานานปี ทำให้ปัจจุบันเกือบทั้งหมดเป็นลูกปลาวัยอ่อน นำไปทำปลาป่น ไม่ใช่นำมาให้คนกิน จึงไม่มีผลกระทบโดยตรงกับอาหารทะเล

3) สัตว์น้ำบางส่วนที่อาจติดมากับอวนรุน-อวนลากบ้าง เช่น ปลาทราย ปลาลิ้นหมา กุ้งบางชนิด ปูม้า หอยเชลล์ หมึกสายขนาดเล็ก กระเบน ฯลฯ ราคาอาจขึ้นบ้าง แต่สัตว์น้ำบางส่วนได้มาจากการทำประมงแบบอื่น รวมถึงประมงพื้นบ้านด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นสัตว์ที่เราพอมีทางเลือกในการกิน

4) สัตว์น้ำที่พวกเราส่วนใหญ่กินกัน เช่น กะพงขาว กุ้ง หอยแมลงภู่ หมึกทะเล (ปลาหมึก) ปลาสาก ปลาอินทรี ปลามง ฯลฯ ได้มาจากเครื่องมือชนิดอื่น บ้างก็ได้จากการเพาะเลี้ยง บ้างก็นำเข้ามาจากต่างประเทศ (เมืองไทยนำเข้าปลาหมึกจำนวนมากจากทั่วโลกครับ) สัตว์น้ำกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบน้อยมากจากการหยุดทำประมงอวนรุน-อวนลาก

5) ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่อาจได้รับผลกระทบ เช่น ปูอัด (ทำจากเนื้อปลา) อาจใช้การนำเข้าปลามาแทน แต่ราคาอาจเปลี่ยนแปลงบ้าง

6) ในส่วนของปลากะตัก สัตว์น้ำที่ได้รับผลกระทบคือปลากะตัก แต่ต้องดูกันต่อไปว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงแค่ไหน

ด้วยเหตุนี้ ผมไม่คิดว่าอาหารทะเลจะขึ้นทุกอย่าง เรายังกินปลาทะเลได้ครับ โดยเลือกกินปลาที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการหยุดทำประมงอวนรุน-อวนลาก และเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ทะเลไทยและลูกหลานไทยจะได้รับ ผมคิดว่ามันคุ้มค่าครับ

ก็หวังว่ารัฐบาลจะยืนยันหนักแน่นต่อไป แต่ก็หวังว่ารัฐบาลจะรีบช่วยให้ชาวประมงที่เดือดร้อนจากกรณีอื่นๆ ได้กลับไปหาปลาโดยไว เพื่อการประมงไทยจะได้เข้าสู่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ – การประมงที่ได้รับการควบคุมและแบ่งปันกุ้งหอยปูปลาในทะเลอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่เฉพาะสำหรับพวกเราในวันนี้ แต่เป็นธรรมต่อลูกหลานของเราในวันหน้าด้วยครับ

ที่มา https://www.facebook.com/thon.thamrongnawasawat


สายชล 21-07-2015 20:16


โพสต์ทูเดย์
7-07-15


ฟื้นทะเลสาบสงขลา ทวงคืนโลมาอิรวดี ............................ โดย...อัสวิน ภฆวรรณ

http://www.posttoday.com/media/conte...0DB5019276.jpg

ทะเลหลวง หรือทะเลสาบสงขลาตอนบน ในพื้นที่ อ.กระแสสินธุ์ จ.พัทลุง มีพื้นที่กว้างที่สุดประมาณ 460 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือเป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ แทบไม่มีน้ำเค็มเข้ามาปะปน จึงเป็นแหล่งวางไข่ ขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำนานาชนิด รวมทั้งโลมาอิรวดี แต่ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความเสื่อมโทรมของทะเลสาบสงขลา น้ำเสียที่เข้ามาปะปน การใช้เครื่องมือประมงผิดประเภท กระทบต่อโลมาอิรวดีอย่างหนัก ในแต่ละปีจะพบซากโลมาอิรวดีลอยตายปีละเกือบสิบตัว ทำให้พื้นที่ทะเลสาบสงขลา โดยเฉพาะทะเลหลวง ถือเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่วิกฤตที่สุดของโลมาอิรวดี

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง (พัทลุง-สงขลา) ได้ร่วมกับเครือข่ายอนุรักษ์โลมาอิรวดีในพระบรมราชินูปถัมภ์ เอาจริงเอาจังกับการลักลอบหาปลาในเขตพื้นที่ถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งได้ปักแนวเขตอย่างชัดเจน เพื่อกันไว้เป็นเขตคุ้มครองพิเศษแก่โลมาอิรวดีจำนวน 100 ไร่ 3 ปีผ่านไป ไม่เพียงลดการสูญเสียโลมาอิรวดีลงได้เท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มจำนวนสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง

จำนง กลายเจริญ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง บอกว่า หลังจากที่ได้ร่วมกับเครือข่ายอนุรักษ์โลมาอิรวดีในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดสร้างซั้งบ้านปลาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2555 เพื่อให้เป็นแหล่งอาหารของโลมาอิรวดี ปรากฏว่ามีผลเกินคาด มีกุ้ง หอย ปู ปลา อย่างชุกชุม โดยได้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างเก็บผลผลิตจากการจัดทำซั้งบ้านปลา จำนวน 10 ซั้ง จากพื้นที่ 100 ซั้ง ซึ่งสามารถพบชนิดปลากว่า 9 ชนิด ชนิดปลาที่พบมากที่สุด เช่น ปลากดคัง

“แต่ชาวบ้านได้นำอวนมาลักลอบวางปลา ทอดแห และดักไซ จนมีผลกระทบต่อโลมาอิรวดี ผมได้ว่ากล่าวตักเตือน และสั่งห้ามเข้าพื้นที่เขตคุ้มครองพิเศษอย่างเด็ดขาด หากยังพบการลักลอบอีก จะบังคับใช้กฎหมายอย่างเฉียบขาด”

จำนงเล่าว่า ความสูญเสียโลมาอิรวดี จากสถิติปี 2555 พบเสียชีวิตจำนวน 14 ตัว เป็นเพศเมีย 10 ตัว เพศผู้ 3 ตัว และไม่ทราบเพศจำนวน 1 ตัว ส่วนใหญ่สาเหตุการตายมาจากติดอวนปลาบึก และพลัดหลงจากแม่ ปี 2556 เสียชีวิตจำนวน 4 ตัว เป็นเพศเมีย 2 ตัว เพศผู้ 2 ตัว ปี 2557 พบเสียชีวิตจำนวน 6 ตัว เป็นเพศเมีย 3 ตัว เพศผู้ 1 ตัว และไม่ทราบเพศจำนวน 2 ตัว สาเหตุการตายคือพลัดหลงจากแม่ ป่วย และแก่ตาย และล่าสุดปี 2558 พบโลมาอิรวดีเสียชีวิตจำนวน 2 ตัว เป็นเพศเมีย 1 ตัว ไม่ทราบเพศ 1 ตัว ส่วนสาเหตุการตายยังไม่แน่ชัดเช่นกัน และคาดว่ามีโลมาอิรวดีตัวเป็นๆ เหลืออยู่ในทะเลสาบสงขลาตอนบนเพียง 25-30 ตัวเท่านั้น โดยเสียชีวิต 4 ปี รวม 26 ตัว

http://www.posttoday.com/media/conte...F197A687AC.JPG

โลมาอิรวดีไม่เพียงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองบัญชีที่ 1 ของอนุสัญญา ไซเตส โดยจัดให้อยู่ในสถานะสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤตต่อการสูญพันธุ์ นอกจากนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับโลมาอิรวดีน้ำจืดในทะเลหลวงไว้เป็นสัตว์ป่าในพระบรมราชินูปถัมภ์ ตามประกาศจังหวัดพัทลุง ณ วันที่ 3 ต.ค. 2544

“ปัจจุบันสถานการณ์ภัยคุกคามโลมาอิรวดีทะเลสาบสงขลาตอนบน มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย การลักลอบหาปลา แหล่งอาหารลดลง การผสมสายพันธุ์เดียวกันจนเกิดสายเลือดชิด มีการใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมี การทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล การชะล้างพังทลายของตะกอนดิน จนเกิดการทับถมและตื้นเขิน”

จำนง บอกว่า เมื่อปี 2556 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ทำเอ็มโอยูร่วมกับบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม และชาวบ้านริมทะเลใน 2 จังหวัด จัดโครงการอนุรักษ์โลมาอิรวดีในพระบรมราชินูปถัมภ์ 3 ปีที่ผ่านมาอบรมชาวบ้านไปแล้วกว่า 300 คน และจัดทำซั้งบ้านปลาปีละ 100 ซั้ง เป็นการสร้างแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้โลมาอิรวดีน้ำจืด และชุมชน

สมใจ รักษ์ดำ ประธานเครือข่ายอนุรักษ์โลมาอิรวดี จังหวัดพัทลุง กล่าวว่า โครงการจัดสร้างซั้งบ้านปลาเป็นความหวังในการกู้วิกฤตให้โลมาอิรวดีมีถิ่นอาศัย มีแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ ลดความเสี่ยงจากการติดเครื่องมือประมง และซั้งบ้านปลายังเป็นที่พักพิงแหล่งอาหารของนกนานาชนิด ทั้งนกอพยพ และนกประจำถิ่น ที่สำคัญคือเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ


สายชล 21-07-2015 20:17


ผู้จัดการออนไลน์
8-07-15

ชาวประมงพื้นบ้านเมืองคอนจัดกิจกรรม “ประมงเพื่อลูกหลาน” ต้านนิรโทษประมงเถื่อน

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...007947103.JPEG

นครศรีธรรมราช - เครือข่ายประมงพื้นบ้านนครศรีฯ ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “ประมงเพื่อลูกหลาน” ต้านนิรโทษประมงทำลายล้าง ขณะที่ราคาสัตว์น้ำขยับสูงขึ้นหลังพ่อค้าเข้ากว้านซื้อให้ราคานำตลาด

วันนี้ (7 ก.ค.) ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช พร้อมด้วยนักเรียนซึ่งเป็นลูกหลานของชาวประมง ครู ข้าราชการกรมประมง พร้อมด้วยชาวประมงพื้นบ้าน ได้รวมตัวกันบริเวณริมชายหาด บ.เกาะเพชร อ.หัวไทร ร่วมทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “ทำประมงเพื่อลูกหลาน” เพื่อสนับสนุนการทำประมงอย่างถูกกฎหมาย ไม่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำ

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...007947101.JPEG


ขณะที่ นายวิรชัช เจ๊ะเหล็ม นายกสมาคมประมงพื้นบ้านหัวไทร อ่านแถลงการณ์สนับสนุนของเครือข่ายประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย พร้อมกันนั้น ได้แสดงการคัดค้านการนิรโทษเรืออวนรุน อวนลาก สนับสนุนการใช้เครื่องมือที่ไม่มีการทำลายล้าง และมีการแสดงเปรียบเทียบถึงทรัพยากรที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ และคุณภาพจากเรือประมงพื้นบ้าน กับปลาจากเรือประมงพาณิชย์ที่ใช้เครื่องมือในการทำลายล้าง โดยปลาที่ได้นำไปแปรรูปเป็นอาหารสัตว์เท่านั้น

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...007947104.JPEG

ชาวประมงระบุว่า ปลา และสัตว์น้ำที่ได้ในขณะนี้มีปริมาณที่มากขึ้น และมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากมีพ่อค้าที่มาดักรอซื้อจากริมหาดในราคาสูงกว่าปกติถึง 30-50 บาท ถือว่าเป็นราคาที่สูงกว่าเดิม ส่วนสัตว์น้ำที่อยู่ในตลาดสดจะมีราคาสูงกว่าเดิมเช่นกัน และนับเป็นโอกาสดีของผู้บริโภคที่สามารถบริโภคสินค้าที่ปราศจากสารปนเปื้อน


สายชล 21-07-2015 20:18


คม ชัด ลึก
8-07-15


ต้องหยุดประมงทำลายล้างเด็ดขาด ...................... สัมภาษณ์พิเศษ บรรจง นะแส

http://www.komchadluek.net/media/img...ajc59kbhe6.jpg

บนสถานการณ์ที่อุตสาหกรรมประมงไทยกำลังเผชิญกับมรสุมลูกใหญ่ ด้านหนึ่งถูกกดดันจากสหภาพยุโรป (อียู) ที่บังคับให้เราต้องทำประมงตามกฎเกณฑ์ ขณะที่อีกด้านหนึ่งกลับถูกต่อต้านจากกลุ่มเรือประมงที่ยังปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จนกลายสภาพเป็นเรือผิดกฎหมาย ทำให้คนไทยต้องจมอยู่กับความตื่นตระหนกว่าอาหารทะเลจะขาดแคลนมานานกว่า 1 สัปดาห์ ในมุมมองของนักอนุรักษ์ธรรมชาติ มองวิกฤตินี้อย่างไร บรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเล ถ่ายทอดผ่านบทสัมภาษณ์ไว้น่าสนใจยิ่ง


0 มองสถานการณ์ประมงไทยภายใต้กฎหมายใหม่อย่างไร

ผมว่าเป็นกลไกการต่อรองปกติที่ทุกสาขาอาชีพพยายามรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง ที่ผ่านๆ มากลุ่มประมงพาณิชย์เคยชนะมาแล้วอย่างน้อยก็ 5 ครั้ง ในการกดดันให้รัฐต้องปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของตัวเอง คือนิรโทษกรรมให้แก่การทำการประมงผิดกฎหมาย ประเทศเราเลยแก้ปัญหาการทำการประมงที่เกินศักยภาพของทะเล (over fishing) ไม่ได้เสียที ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรในทะเล ความล่มสลายของอาชีพชุมชน ประมงชายฝั่งจึงปรากฏแก่สายตาของเราอยู่ทุกวันนี้

แต่ครั้งนี้มีปัจจัยที่เหนือกว่ากลไกการเมืองและระบบราชการ คือการกดดันจากมาตรการของอียู ซึ่งกระทบต่ออีกกลุ่มที่มีผลประโยชน์ที่ก้ำกึ่งกัน คือธุรกิจส่งออกอาหารทะเลไปตลาดอียู ซึ่งบางกลุ่มไม่ได้สัมพันธ์เชื่อมโยงกับกลุ่มประมงพาณิชย์ เพราะพวกเขาจะสูญเสียผลประโยชน์มหาศาลหากอียูให้ใบแดงและพวกเขาจะไม่ยอมเด็ดขาด นี่ต่างหากที่ทำให้กลุ่มประมงพาณิชย์ที่กำลังหยุดเรือประท้วงอยู่อาจจะไม่มีกำลังมากพอที่จะกดดันรัฐบาลได้เหมือนในอดีตที่ผ่านๆ มา และอาจจะต้องพ่ายแพ้ไปในที่สุด


0 เครื่องมือทำลายล้างแน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อทรัพยากร แต่อีกแง่มุมอาจมองว่า มันคือ “เศรษฐกิจ”

เราต้องมองให้กว้างว่า ”เศรษฐกิจ” ในระดับไหน และมองไปในอนาคตว่า เราจะเอาอย่างไร จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบแก้ผ้าเอาหน้ารอด หรือผ่าตัดเพื่อสิ่งที่ดีและยั่งยืน สำหรับประเทศในอนาคต ปัญหาหนึ่งที่สำคัญสำหรับสังคมเราคือ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ว่านั้น มันได้กระจายอย่างเป็นธรรมต่อผู้คนในสังคม

กรณีเรื่องประมงที่ใช้ฐานทรัพยากรจากทะเลร่วมกัน เราจะพบว่า 85% คือชาวประมงพื้นบ้าน ส่วนที่ประท้วงกันอยู่เป็นประชากรแค่ 15% ของชาวประมง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะละเลยพวกเขา เพียงแต่โอกาสนี้เป็นโอกาสของการปฏิรูปประเทศที่สังคมไทยมีปัญหาหมักหมมหลายเรื่อง เพราะฉะนั้นต้องเอาข้อมูล ข้อเท็จจริงที่รอบด้านออกมาหงาย ไม่ว่าข้อมูลทางฐานทรัพยากร สถิตการนำเข้า ส่งออก ธุรกิจต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการประมง เมื่อทุกอย่างถูกหงายขึ้นมาก็จะทำให้เราตัดสินใจได้ว่าการคำนึงถึงเศรษฐกิจเฉพาะหน้ากับการจะต้องเสียสละเพื่อการตั้งหลักสู่ธุรกิจที่ยั่งยืนจะเลือกอย่างไหน


0คุณค่าของประมงพื้นบ้านกำลังถูกเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้น เครือข่ายประมงพื้นบ้านควรรักษาตัวตนของเขาอย่างไร

อาชีพประมงพื้นบ้านก็เหมือนกับเกษตรกรอื่นๆ ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน แต่สังคมให้ความสำคัญน้อยและถูกรุกคืบ แย่งพื้นที่ หรือความอยู่รอดในการสืบทอดวิถีของตัวเองให้เข้มแข็ง ให้มีศักดิ์ศรี มันถดถอยลงไปทุกวัน การจัดตั้งคือหัวใจที่จะทำให้อาชีพของตัวเองอยู่ได้

ในชุมชนประมงพื้นบ้าน สมาคมรักษ์ทะเลไทยร่วมทำงานกันมากว่า 30ปี เราพบว่าการจัดตั้งองค์กรของเขาให้เข้มแข็ง ให้ช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด ให้ผู้นำสามารถนำเสนอปัญหาและทางออกของปัญหาที่เขาเผชิญหน้าอยู่ต่อส่วนต่างๆ ในสังคมได้ ในขณะเดียวกันก็มีปฏิบัติการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร การทำบ้านปลา ธนาคารปู ปลูกป่าชายเลน สร้างเขตอนุรักษ์ เป็นต้น

ตอนนี้ประมงพื้นบ้านขยับตัวสู่การเชื่อมต่อกับผู้บริโภคจากจุดเล็กๆและขยายพื้นที่มากขึ้น เรามีร้านคนจับปลาหลายสาขา มีแพปลาชุมชนที่เกิดจากระดมทุนกันเองภายในชุมชน การรักษาตัวตนของอาชีพประมงพื้นบ้านที่กำลังก่อตัวและขยายพื้นที่ออกไปเรื่อยๆ การรักษาตัวตนของเขาก็คือการรักษาฐานอาชีพและพัฒนาองค์กรของเขาให้เข้มแข็งและขยายพื้นที่ออกไปให้ครอบคลุมพี่น้องชุมชนชายฝั่ง ซึ่งมีหัวอกเดียวกันในทั่วชายฝั่ง นี่คือทิศทางครับ


0 อียูมีอิทธิพลต่อทิศทางการประมงไทย เห็นอะไรอยู่ในเรื่องนี้

อียู ด้านหนึ่งเขาก็พยายามสร้างอิมเมจว่าตลาดเขาต้องคลีน มีธรรมาภิบาล ดังนั้นมาตรการนี้ก็มีสองด้าน ทั้งในแง่การกีดกันทางการค้าหรือการเมืองในระดับสากล เพราะก็มีเสียงนินทาให้ฟังอยู่บ่อยเช่น สมาชิกอียูอย่างสเปน แอฟริกาใต้ ก็ไปทำการประมงแบบทำลายล้าง แต่กรณีที่เขานำมาตรการ ไอยูยู ฟิชชิ่ง ใช้กับประมงบ้านเรา ผมมองว่าเป็นผลบวกต่อการแก้ไขปัญหาทรัพยากรในทะเลไทยมากกว่าด้านลบ เพราะเราเผชิญปัญหานี้มานาน จนการเมืองไทยไม่สามารถแก้ไขได้

"ผมมองว่า งานนี้ถ้าอียูไม่ออกมาตรการนี้ สังคมไทยก็คงไม่มีโอกาสรับรู้กันกว้างขวางถึงขนาดนี้ว่าประเทศนี้ปล่อยปละละเลยให้มีการทำการประมงแบบทำลายล้างมาอย่างยาวนานแค่ไหน"


0รัฐบาลควรดำเนินการต่อไปอย่างไร

ตอนนี้รัฐบาลยังมองแค่ปรับกลไกในการทำการประมงเพียงแค่การปลดล็อกจากอียูเป็นหลัก เพราะพลังของธุรกิจส่งออกมีอำนาจเหนือพี่น้องประมงพาณิชย์ที่กำลังจอดเรือประท้วงอยู่มากนัก โดยเฉพาะรัฐก็กลัวลุกลามไปสู่ธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ ไม่ว่าธุรกิจอาหารสัตว์ที่นำปลาเล็กปลาน้อยที่จับด้วยเครื่องมืออวนลาก/อวนรุนที่ผิดกฎหมายและจะถูกแบนลุกลามไปยังไก่ หมู หรือผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่องกันกับการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย ยังไม่ได้มองถึงปัญหาเสื่อมโทรมของทรัพยากรในทะเลที่อยู่ในภาวะที่เรียกว่า โอเวอร์ ฟิชชิ่ง ออกทะเบียนให้เรือเถื่อน/เรือสวมทะเบียน แล้วเรือก็ออกทำการประมงแบบทำลายล้างดังเดิม วิกฤติทะเลก็จะดำรงอยู่

คิดว่ารัฐจะต้องบริหารบนฐานของข้อมูลที่ตรงไปตรงมา ถ้าเพื่อความยั่งยืนของอาชีพประมงและความมั่นคงทางอาหาร รัฐบาลต้องหาทางยกเลิกการทำการประมงแบบทำลายล้าง 3 ชนิด คือ อวนลาก อวนรุน และเรือปั่นไฟ ทันที เราอาจจะต้องหาทางชดเชยในบางระดับต่อเรือที่ถูกกฎหมาย ผมเชื่อว่า ถ้าเราหยุดเครื่องมือทำการประมงแบบทำลายล้าง 3 ชนิดนี้ภายในไม่เกิน 1 ปี ทะเลไทยจะฟื้นตัวและเป็นทั้งแหล่งอาหาร/อาชีพให้คนในสังคมในปริมาณที่มากกว่าที่มีกันอยู่ในปัจจุบันนี้แน่นอน


0 ประมงขนาดใหญ่ควรทบทวนการทำประมงของตัวเองไหม

ประมงขนาดใหญ่ที่ไม่ทำการประมงด้วยเครื่องมือลาก รุน หรือ ปั่นไฟ ก็ปรับตัวมาจับสัตว์น้ำที่โตเต็มวัยชนิดต่างๆ ได้ปกติอยู่แล้ว เพียงแต่ในระยะแรกอาจต้องรอให้พันธุ์สัตว์น้ำเติบโตก่อน เพราะที่ผ่านๆ มาเราทำลายพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนตัวเล็กๆ ทุกชนิดมายาวนาน

อีกส่วนหนึ่งคือ พี่น้องที่ออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำ รัฐบาลอาจจะต้องแสวงหาแหล่งทำการประมงกับประเทศอื่นๆ ให้มากขึ้น ไม่ใช่ปล่อยให้ประมงพาณิชย์ต้องช่วยตัวเองเช่นที่ผ่านมา เช่น กรณีไปติดสินบนทหารในอินโดนีเซีย ไปร่วมลงทุนทำประมงแบบลวกๆ เมื่อเขาเอาจริงเพื่อรักษาทะเลของเขา เราก็ไปไม่ได้ ขาดทุนล้มละลายกันอยู่นี่ไง ส่วนหนึ่งก็เบนหัวเรือมาถล่มทะเลไทย ซึ่งอยู่ในภาวะวิกฤติอยู่แล้วให้หนักเข้าไปอีก โดยสรุปรัฐบาลอย่ามีแต่มาตรการปราบปราม แต่หนุนช่วยให้เขาได้มีโอกาสไปทำการประมงแบบถูกต้องในประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากพื้นที่ทะเลไทยด้วย


0สมาคมรักษ์ทะเลไทย เป็นกำลังหลักของประมงพื้นบ้าน ขอความมั่นใจให้แก่พี่น้องว่าเราจะอยู่กับประมงพื้นบ้านต่อไป

สมาคมรักษ์ทะเลไทยเป็นองค์กรเล็กๆ แต่มีประสบการณ์มากว่า 30 ปี แต่เรามีจุดอ่อนเหมือนองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ คือ ต้องอาศัยงบประมาณจากหน่วยงานของรัฐบ้าง ต่างประเทศบ้าง และมีระยะการทำงานไม่ต่อเนื่อง หลายๆ ครั้งเจ้าหน้าที่ไม่มีเงินเดือน ไม่มีค่าเดินทาง แต่เราก็ทำงานกันเท่าที่ศักยภาพที่เรามี เป้าหมายหลักของเราคือ สร้างองค์กรของพี่น้องประมงให้เข้มแข็ง เมื่อแต่ละพื้นที่มีองค์กรของพวกเขาแล้ว บทบาทของสมาคมก็จะลดลงหรือเจ้าหน้าที่ของเราก็ปรับตัวไปเป็นลูกจ้างของพี่น้องชาวประมงในอนาคตก็ได้


สายชล 21-07-2015 20:20


ผู้จัดการออนไลน์
9-07-15


“สมยศ” ฮึ่มอิทธิพลประมงเถื่อน ขวางเรือประมงถูกกฎหมายออกหาปลา


http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...007994201.JPEG

ผบ.ตร.สั่งตรวจสอบกลุ่มเรือประมงเถื่อนขัดขวางการทำประมงถูกกฎหมายออกหาปลาในทะเล หากผิดต้องดำเนินคดี ลั่นต้องบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามที่ประชาคมโลกยอมรับ

วันนี้ (8 ก.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มคนเรือประมงรวมตัวปิดอ่าวขัดขวางไม่ให้กลุ่มเรือประมงที่ถูกกฎหมายออกหาปลาในทะเลในช่วงนี้ว่า หากมีผู้อยู่เบื้องหลังหรือใช้อิทธิพลบังคับเรือประมงไม่ให้ออกจับปลาถือว่าไม่ถูกต้อง หากตรวจสอบพบว่ามีเหตุการณ์เช่นนี้ตำรวจในพื้นที่ต้องดำเนินการ ขณะที่ฝ่ายความมั่นคงและฝ่ายการข่าวต้องติดตามหาข้อมูล ความชัดเจน พิสูจน์ทราบว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นใคร หากพบว่าการกระทำเข้าข่ายความผิดต้องดำเนินการตามกฎหมาย โดยต้องดูว่าสิ่งที่คนเหล่านั้นทำ ทำให้ใครเดือดร้อน หรือเกิดความเสียหายต่อภาพรวมหรือไม่ หรือทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบอย่างไรหรือไม่ ถ้าไปบังคับขู่เข็ญไม่ให้เรือประมงออกหาปลา แล้วเรือประมงเหล่านั้นมาร้องทุกข์กล่าวโทษ เป็นหน้าที่ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดำเนินการตามกฎหมาย

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข้อมูลว่ากลุ่มที่ออกมาขัดขวางเป็นกลุ่มสมาคมเรือประมง ต้องมีการพูดคุยกับกลุ่มนี้หรือไม่ พล.ต.อ.สมยศกล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีจุดประสงค์เรื่องนี้ชัดเจนว่าต้องการทำให้ถูกกฎหมาย ให้เป็นไปตามที่ประชาคมโลกยอมรับ มีกติกาชัดเจน หากไม่ยอมรับตรงนี้เราก็ไม่สามารถอยู่ในสังคมโลกกับเขาได้ หากฝืนอีกหน่อยธุรกิจการประมงและที่เกี่ยวเนื่องจะขายให้ประเทศอื่นไม่ได้ ถึงเวลานั้นความเดือดร้อนผู้ประกอบการประมงทั่วประเทศ การกระทำใดหากให้ผู้อื่นเดือดร้อนไม่ควรทำ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องปรับตัว แรกๆ อาจอึดอัดกับกฎหมาย กฎระเบียบที่ออกมา แต่นี่คือกติกาของสังคมโลกยอมรับถือปฏิบัติกัน ไม่เช่นนั้นเราอยู่ร่วมกับเขาไม่ได้

“ผมว่าสิ่งที่รัฐบาลได้ทำก็ต้องการทำให้สังคมชาวโลกเห็นว่าเรามีการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ หรือที่เกี่ยวข้อง เรามีความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่หมักหมมมาเป็นระยะเวลายาวนานให้มีมาตรฐานเช่นประเทศเจริญแล้ว ผมว่าการบังคับใช้กฎหมายที่ทำอยู่ขณะนี้กำลังถูกต้องแล้ว เราต้องทำ” พล.ต.อ.สมยศกล่าว


สายชล 21-07-2015 20:29


GREENPEACE
9-07-15


กรมประมงยืนยันมาตรการขจัด IUU fishing ไม่มีการนิรโทษกรรมเครื่องมือประมงทำลายล้างและผิดกฏหมาย

http://www.greenpeace.org/seasia/th/...59/GP04N1X.jpg

เครือข่ายประมงพื้นบ้านและภาคประชาสังคม ประกอบด้วย สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย สมาคมรักษ์ทะเลไทย มูลนิธิสายใยแผ่นดิน องค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย และกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงความชื่นชมหลังจากกรมประมงส่งหนังสือยืนยันอย่างเป็นทางการเรื่องมาตรการในการต่อสู้การประมงผิดกฎหมาย ไม่มีการรายงานและขาดการควบคุม (IUU) โดยระบุว่าจะไม่มีการนิรโทษกรรมเครื่องมือประมงทำลายล้าง 3 ชนิด คือ อวนลาก อวนรุน และเครื่องมือจับปลากระตักประกอบแสงไฟล่อในเวลากลางคืน

การยืนยันจากกรมประมงนี้ถือเป็นจังหวะก้าวสำคัญในการฟื้นฟูทะเลไทยจากวิกฤตการทำประมงเกินศักยภาพที่ดำเนินสืบเนื่องมาหลายทศวรรษ และการยกเลิกเครื่องมือประมงทำลายล้างเหล่านี้ยังจะส่งผลให้พันธุ์สัตว์น้ำในทะเลไทยมีโอกาสเติบโตและขยายพันธุ์ และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับผู้บริโภคและสังคมไทยในระยะยาว

กรมประมงได้ส่งหนังสือลงวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ตอบรับข้อเรียกร้องของเครือข่ายประมงพื้นบ้านและภาคประชาสังคมต่อกรณีใบเหลืองประมงจากสหภาพยุโรป โดยกรมประมงได้จัดทำร่างนโยบายการบริหารจัดการประมงทะเลไทยที่มีแผนระดับชาติในการป้องกันและยับยั้ง IUU fishing และมีการเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งสมาคมประมง ผู้ประกอบการ และประมงพื้นบ้าน เข้าร่วมให้ข้อมูล และข้อคิดเห็นต่อการจัดการในเรื่องนี้

นายบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทยกล่าวว่า

“การตอบรับและตัดสินใจเรื่องไม่นิรโทษกรรมเครื่องมือประมงผิดกฏหมายทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมที่ภาครัฐมีความใส่ใจนำข้อคิดเห็นจากประชาชนมาเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลระดับชาติ และในอนาคตหวังว่าจะเกิดการจัดการแก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วมเช่นนี้ต่อไป”

การที่กรมประมงได้นำข้อคิดเห็นเหล่านี้มาปรับปรุงในร่างนโยบายการจัดการดังกล่าว โดยเนื้อหาสำคัญคือไม่มีการนิรโทษกรรมเครื่องมือทำลายล้างทั้ง 3 ชนิด เป็นเรื่องที่น่ายินดีซึ่งเป็นผลมาจากการผลักดันและรณรงค์ร่วมกันของประชาชนและเครือข่ายภาคประชาสังคม ที่ต่อสู้เรียกร้องประเด็นนี้เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมมาอย่างยาวนาน โดยความสำเร็จจากการรณรงค์ร่วมกันในครั้งนี้จะส่งผลดีต่อการฟื้นฟูทะเลไทยซึ่งเป็นทรัพยากรร่วมกันของชาติ อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง


สายชล 21-07-2015 20:42


ผู้จัดการออนไลน์
12-07-15

“หยุดประมงล้างผลาญ” แนวโน้มดีใน “รัฐบาลท็อปบูต” ..................... โดย ศูนย์ข่าวหาดใหญ่

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...008113601.JPEG
บรรจง นะแส

หากประเทศไทยไม่ถูกสหภาพยุโรป (EU) ให้ใบเหลืองอย่างเป็นทางการเมื่อ 21 เม.ย.ที่ผ่านมา ประชาชนทั่วไปก็คงยังไม่มีโอกาสได้รู้ว่า ที่ผ่านๆ มาในน่านน้ำไทยมีเรือประมงพาณิชย์ผิดกฎหมายออกทำการประมงอยู่กว่า 1 หมื่นลำ และเกือบจะทั้งหมดเป็นเรืออวนลาก อวนรุน และเรือปั่นไฟ ซึ่งกรมเจ้าท่าสำรวจพบว่าเป็นเรือที่ไม่มีทะเบียนถึง 16,900 ลำ ส่วนเรือที่ตรงตามทะเบียนจริงมี 28,000 ลำ จากจำนวนเรือที่ขึ้นทะเบียนไว้ทั้งหมด 42,051 ลำ

เรือประมงพาณิชย์ผิดกฎหมายกว่า 16,900 ลำดังกล่าวคือ ประจักษ์พยานของ “ความล้มเหลว” ในนโยบายการแก้ปัญหาเรือประมงผิดกฎหมายของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย เป็นปัญหาเรื้อรังมาไม่ต่ำกว่า 40 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2503 ที่เริ่มนำเครื่องมืออวนลากที่จับสัตว์น้ำได้เพิ่มขึ้นมาใช้ทำประมง

ทว่า จากการศึกษาวิจัยในปี 2513 พบว่า การทำประมงด้วยอวนลากส่งผลให้มีการจับสัตว์น้ำหน้าดินจนเกินศักยภาพการผลิตของทะเล โดยในปี 2525 ผลผลิตของประมงอวนลากอยู่ที่ 990,000 ตัน เกินกว่ากำลังการผลิตของทะเลกว่า 30% เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรทะเลเกิดความเสื่อมโทรมอย่างมหาศาล

สะมะแอ เจ๊ะมูดอ ประธานสมาพันธ์สมาคมชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ชาวประมงพื้นบ้านทั้ง 23 จังหวัดของไทย ซึ่งมีสัดส่วนถึง 85% ของชาวประมงในประเทศ ต้องได้รับความเดือดร้อนจากเรือประมงพาณิชย์อวนลาก อวนรุน และเรือปั่นไฟอย่างสาหัสสากรรจ์

“ปี 2515 กระทรวงเกษตรฯ ห้ามทำประมงอวนลาก และอวนรุนในเขต 3,000 เมตรจากชายฝั่ง ป้องกันความขัดแย้งต่อชุมชน และไม่ให้ทำลายทรัพยากรมากเกินไป แต่ปรากฏว่า กลุ่มทุนจำนวนมากยังคงบุกรุกเข้ามาจับปลาในเขตหวงห้าม 3,000 เมตร เรือประมงเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจของนักลงทุน พวกเขาลงทุนใช้เครื่องมือชั้นเลว เพื่อหวังกอบโกยทำร้ายทรัพยากรทะเลและชาวประมงอื่นๆ มาโดยตลอด แม้ว่าไทยจะมีนโยบายควบคุมเครื่องมือประมงเหล่านี้ไม่ให้เพิ่มขึ้น พวกเขาก็ใช้วิธีการลักลอบทำอย่างผิดกฎหมาย เมื่อถูกจับกุมมักวิ่งเต้นจ่ายค่าปรับ แล้วกลับมาทำผิดต่ออีก”

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...008113602.JPEG

จากการศึกษาของ ดร.สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ นักวิจัยอิสระด้านการจัดการประมง พบว่า การแก้ปัญหาประมงของไทยดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง หลังพบว่าเครื่องมืออวนลากได้ส่งผลกระทบหลายด้าน โดยในปี 2523 กรมประมงประกาศไม่ออกใบอนุญาตทำประมงให้แก่เรือประมงอวนลากใหม่ เพื่อลดจำนวนในระยะยาว

แต่ด้วยความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการ และกลุ่มประมงอวนลากในขณะนั้น ทำให้กรมประมงอนุญาตให้เรืออวนลากผิดกฎหมายที่ไม่มีทะเบียน ได้ไปจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือเป็นการนิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อน ซึ่งการแก้ปัญหาในลักษณะนี้เกิดขึ้น 3 ครั้ง คือ ในปี 2525 ปี 2532 และปี 2539 เป็นนโยบายการแก้ปัญหาแบบไม่ฟังเสียงท้วงติงของเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านทั่วประเทศ

ล่าสุด คือปี 2555 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เสนอแก้ปัญหาประมงพาณิชย์ผิดกฎหมาย ด้วยการนิรโทษกรรมเรือเถื่อนเช่นกัน ซึ่งนโยบายการแก้ปัญหาลักษณะนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ไม่สามารถแก้ไขปัญหา และควบคุมเรือประมงผิดกฎหมายได้จริง

บรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย ให้ความเห็นว่า ผลประโยชน์จากเรือประมงพาณิชย์อวนลาก อวนรุน และเรือปั่นไฟผิดกฎหมาย ล้วนเกี่ยวโยงต่อกลุ่มข้าราชการ และนักการเมืองเกือบทุกพรรค และพบว่า สัตว์น้ำที่เรือเหล่านี้จับขึ้นจากทะเลคือ สัตว์น้ำวัยอ่อนนานาชนิด

“แล้วส่งขายให้แก่โรงงานปลาป่นในเครือข่ายธุรกิจของกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ระดับ ‘เจ้าสัว’ ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับข้าราชการ และนักการเมืองทุกพรรคและทุกรัฐบาล” บรรจง กล่าวก่อนเสริมว่า

สัตว์น้ำวัยอ่อนจำนวนมหาศาลถูกจับไปส่งโรงงานปลาป่น เพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์สำหรับเลี้ยงหมู ไก่ กุ้ง และปลาในฟาร์มเพาะเลี้ยงของบริษัทยักษ์ใหญ่ แหล่งอาหารโปรตีนของคนไทยจึงถูกแย่งชิงไปใช้ทำอาหารเลี้ยงสัตว์ กระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของคนทั้งประเทศ ขณะเดียวกัน ธุรกิจเรือประมงอวนลาก อวนรุน และเรือปั่นไฟ ยังก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ๆ ตามมาอีกมากมาย ทั้งการค้ามนุษย์ แรงงานทาส แรงงานผิดกฎหมาย ซึ่งไม่มีรัฐบาลไหนกล้าจัดการเพราะผลประโยชน์มันมหาศาล

แต่หลังจากคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป ประกาศบังคับใช้กฎระเบียบการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ที่ไม่มีการรายงาน และที่ไม่มีกฎข้อบังคับ หรือ IUU (Illegal Unreported and Unregulated Fishing : IUU) อย่างเป็นทางการเมื่อ 29 ก.ย.2551 และกฎข้อบังคับนี้เริ่มมีผลต่อไทยในวันที่ 1 ม.ค.2553 การแก้ปัญหาเรือประมงพาณิชย์ผิดกฎหมายของไทยก็ได้ถูกจับตามองอย่างลับๆ จากคณะทำงานที่คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปแต่งตั้งให้ติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิด

แล้วก็พบว่า การแก้ปัญหาเรือประมงพาณิชย์ผิดกฎหมายของไทยไม่มีอะไรพัฒนาไปในทางที่ดีเลย จนนำมาสู่การให้ “ใบเหลือง” แก่ไทย

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...008113603.JPEG

นับจากวันที่ได้รับใบเหลืองจาก EU รัฐบาลไทยมีเวลา 6 เดือนเพื่อแก้ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย โดยได้ออกมาตรการต่างๆ ประกอบด้วย 1.การปรับปรุง พ.ร.บ.การประมงและกฎหมายลำดับรอง 2.การจัดทำแผนระดับชาติในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมง IUU 3.การเร่งจดทะเบียนเรือประมงและออกใบอนุญาตทำการประมง 4.การพัฒนาระบบควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง โดยเฉพาะการควบคุมการเข้า-ออกท่าของเรือประมง 5.การจัดทำระบบติดตามตำแหน่งเรือ และ 6.การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ให้ผู้ประกอบการเรือประมงพาณิชย์ดำเนินการภายใน 60 วัน มีผลเมื่อ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา

ส่งผลทำให้เรือประมงพาณิชย์ผิดกฎหมายกว่า 1 หมื่นลำ พากันมาจอดเทียบท่าไม่กล้าออกทะเล

มาตรการแก้ปัญหาครั้งนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มผู้ประกอบการที่มีเรือประมงผิดกฎหมายอยู่ในครอบครอง รวมทั้งธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อการทำประมงล้วนได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน นักการเมืองบางคนจึงต้องออกโรงนำเสนอทางแก้แบบเดิมๆ คือ ให้นิรโทษกรรมเรือเถื่อนเหมือนทุกๆ ครั้งที่ผ่านๆ มา

ขณะที่เครือข่ายประมงพื้นบ้าน และภาคประชาสังคม ประกอบด้วย สมาพันธ์สมาคมชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย สมาคมรักษ์ทะเลไทย มูลนิธิสายใยแผ่นดิน องค์การอ็อกแฟมประเทศไทย และกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านการนิรโทษกรรมเรือเถื่อน พร้อมเสนอให้รัฐบาลประกาศยกเลิกการใช้อวนลาก อวนรุน และเรือปั่นไฟ ยุติการทำลายล้าง แล้วหันมาฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่ภาคประชาชนเสนอแนะต่อรัฐบาลมาทุกยุคทุกสมัย แต่ไม่ได้รับการตอบสนองจากภาครัฐแต่อย่างใด

ล่าสุด 9 ก.ค.กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แจ้งข่าวต่อสื่อมวลชนว่า เมื่อ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา กรมประมงได้ส่งหนังสือตอบรับข้อเรียกร้องของเครือข่ายประมงพื้นบ้านและภาคประชาสังคมต่อกรณีใบเหลืองประมงจากสหภาพยุโรป โดยกรมประมงได้จัดทำร่างนโยบายการบริหารจัดการประมงทะเลไทยที่มีแผนระดับชาติในการป้องกันและยับยั้ง IUU fishing และมีการเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งสมาคมประมง ผู้ประกอบการ และประมงพื้นบ้านเข้าร่วมให้ข้อมูล และข้อคิดเห็นต่อการจัดการในเรื่องนี้ โดยระบุว่าจะไม่มีการนิรโทษกรรมเครื่องมือประมงทำลายล้าง 3 ชนิดคือ อวนลาก อวนรุน และเครื่องมือจับปลากระตักประกอบแสงไฟล่อในเวลากลางคืน

กรีนพีซ ระบุว่า การยืนยันจากกรมประมงนี้ถือเป็นจังหวะก้าวสำคัญในการฟื้นฟูทะเลไทย จากวิกฤตการทำประมงเกินศักยภาพที่ดำเนินสืบเนื่องมาหลายทศวรรษ และการยกเลิกเครื่องมือประมงทำลายล้างเหล่านี้ยังจะส่งผลให้พันธุ์สัตว์น้ำในทะเลไทยมีโอกาสเติบโต และขยายพันธุ์ และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่ผู้บริโภค และสังคมไทยในระยะยาว

ส่วนนายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย มองว่า การที่กรมประมงได้นำข้อคิดเห็นเหล่านี้มาปรับปรุงในร่างนโยบายการจัดการดังกล่าว โดยเนื้อหาสำคัญคือ ไม่มีการนิรโทษกรรมเครื่องมือทำลายล้างทั้ง 3 ชนิด เป็นเรื่องที่น่ายินดี ซึ่งเป็นผลมาจากการผลักดัน และรณรงค์ร่วมกันของประชาชน และเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ต่อสู้เรียกร้องประเด็นนี้ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมมาอย่างยาวนาน โดยความสำเร็จจากการรณรงค์ร่วมกันในครั้งนี้จะส่งผลดีต่อการฟื้นฟูทะเลไทย ซึ่งเป็นทรัพยากรร่วมกันของชาติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง

“การตอบรับ และตัดสินใจเรื่องไม่นิรโทษกรรมเครื่องมือประมงผิดกฎหมายทั้ง 3 ชนิด เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมที่ภาครัฐมีความใส่ใจนำข้อคิดเห็นจากประชาชนมาเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนการแก้ปัญหา และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลระดับชาติ และในอนาคตหวังว่าจะเกิดการจัดการแก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วมเช่นนี้ต่อไป”

ปรากฏการณ์นี้ทำให้หลายคนมองเห็นว่า การแก้ปัญหาเรือประมงผิดกฎหมายของไทยที่เรื้อรังมานานกว่า 40 ปี เริ่มมีเค้าลางของความสำเร็จปรากฏให้เห็นบ้างแล้วในวันนี้


สายชล 21-07-2015 20:44


คม ชัด ลึก
12-07-15


เปิดพื้นที่อนุรักษ์ 'วาฬบรูด้า' สัตว์ทะเลหายากที่ใกล้สูญพันธุ์ ..................... รักชีวิต รักษ์สิ่งแวดล้อม โดย ธนชัย แสงจันทร์

http://www.komchadluek.net/media/img...keajjig7jk.jpg

ปัจจุบันสถานการณ์ทะเลไทยอยู่ในภาวะวิกฤติ ทรัพยากรทางทะเลเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลหายากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น เต่าทะเล พะยูน วาฬ และโลมา ซึ่งต่างตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

ที่น่าสนใจ ชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้พบเห็นสัตว์ทะเลหายาก เช่น เต่าทะเล พะยูน วาฬ และโลมา บาดเจ็บ เกยตื้นตายตามชายหาด หรือติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากการเก็บและรวบรวมข้อมูลสถานการณ์สัตว์ทะเลหายากในประเทศไทยรอบ 12 ปี (พ.ศ.2546- 2557) พบว่า สัตว์ทะเลหายากเกยตื้นตาย รวม 2,201 ตัว ประกอบด้วย เต่าทะเล 1,209 ตัว โลมาและวาฬ 851 ตัว และพะยูน 141 ตัว โดยในแต่ละปีมีแนวโน้มของการบาดเจ็บและเกยตื้นตายเพิ่มสูงขึ้น จึงถือเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข โดยเฉพาะ "วาฬบรูด้า" ที่มีอัตราการเกิด และการตาย เท่ากันในอัตราร้อยละ 4-5 น้อยกว่าสัตว์ทะเลกลุ่มเสี่ยงชนิดอื่นๆ

“ก่อนหน้านี้ (ช่วงปี 2557) เกิดกระแส ‘บรูด้า ฟีเวอร์’ โดยนักท่องเที่ยวน้อยใหญ่ ทั้งที่เป็นชาวไทย และชาวต่างชาติ ต่างแห่ออกไปเฝ้าชมวาฬบรูด้าที่เข้ามาหาอาหารในบริเวณอ่าวไทยตอนบน หรือ อ่าวไทยรูปตัวกอ กลายเป็นการท่องเที่ยวทางเลือก สร้างรายได้ให้แก่ชาวเรือ ที่หยุดหาปลา มาพานักท่องเที่ยวชมวาฬไปไม่น้อย และจากความสวยงามของวาฬบรูด้าในยามที่โฉบเฉี่ยวปรากฏตัวเหนือน้ำทะเล เพื่อขึ้นมากินปลาเล็กปลาน้อย ถูกฉาบไว้ด้วย สถานการณ์เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ทั้งที่เกิดจากความตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจของมนุษย์ ก็นับว่าน่าเสียดาย”

อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวด้วยว่า กรมเตรียมเสนอให้ “วาฬบรูด้า” เป็นสัตว์สงวนลำดับที่ 16 ใน พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ซึ่งหากมีการขึ้นทะเบียนสำเร็จ “บรูด้า” จะเป็นสัตว์ทะเลตัวที่ 2 ต่อจากพะยูน ที่จะได้รับการประกาศเป็นสัตว์สงวนในรอบ 23 ปี ทั้งนี้เพื่อยกระดับความสำคัญของวาฬบรูด้า และเป็นการผลักดันให้การอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้เสนอข้อมูลต่อกรมประมง เพราะเป็นหน่วยงานที่ดูแลในเรื่องของสัตว์น้ำ ก่อนที่จะเสนอให้กระทรวงทัพยาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นชอบต่อไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 60 วัน นับจากปลายเดือนมิถุนายน

อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า การคุ้มครองสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์นั้น กรมให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งด้านวิชาการและภาคประชาชน โดยในส่วนของเครือข่ายด้านวิชาการจะมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และฐานข้อมูลทางวิชาการ ด้านแหล่งการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเลหายากแก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมหาวิทยาลัยต่างๆ

นอกจากนี้ กรมยังให้ความสำคัญกับเครือข่ายภาคประชาชน และชุมชนท้องถิ่น เพราะกลุ่มบุคคลที่มีโอกาสพบเหตุการณ์ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประมงพื้นบ้าน ด้วยการสร้างความเข้าใจและให้ความรู้การช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากเบื้องต้นอย่างถูกต้อง ก่อนประสานแจ้งเหตุมายังหน่วยงานของกรม ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของสัตว์เหล่านี้ได้มากขึ้น

ด้าน สุรศักดิ์ ทองสุกดี นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการรักษาสัตว์หายากให้อยู่คู่ท้องทะเลไทยต่อไป อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เตรียมใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยเนื้อหา พ.ร.บ.ได้กำหนดบทบาทให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สามารถประกาศพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้

สำหรับพื้นที่ที่จะประกาศต้องมีสภาพสมบูรณ์ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชตามธรรมชาติ และเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุรักษ์ ดูแล และช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากแล้ว ยังสนับสนุนการทำงานร่วมกับเครือข่ายชุมชนเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากที่มีอยู่ในท้องถิ่น

ส่วนสาระสำคัญของประกาศ เป็นการป้องกันการสูญพันธุ์ของวาฬบรูด้า ทั้ง 52 ตัว ที่เข้ามาหาอาหารในบริเวณอ่าวไทยตอนบน หรือ อ่าวไทยรูปตัว กอ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีปลาตัวเล็กอาศัยอยู่อย่างสมบูรณ์ เพราะเป็นปากแม่น้ำ 4 สาย ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา บางปะกง แม่กลอง และท่าจีน ทำให้วาฬบรูด้าปรากฏโฉมให้เห็นอยู่เป็นประจำ กระทั่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บริเวณอ่าวไทยรูปตัวกอ

“และการปรากฏตัวของเจ้าวาฬบรูด้าในบริเวณน่านน้ำไทยนั้น บงบอกถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศใต้ท้องทะเล แต่น่าเสียดายความสมบูรณ์ และความงดงามของธรรมชาติลดลง จากจำนวนขยะใต้ท้องทะเลที่เพิ่มมากขึ้นกว่า 52 ตัน เมื่อสัตว์ทะเลกินเข้าไปก็ส่งผลต่อร่างกายและต้องเกยตื้นตาย รวมทั้งการประมงที่ผิดประเภทเช่นกัน”

“ในขณะนี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้เร่งสำรวจและเก็บดีเอ็นเอของวาฬ พร้อมกับการฝังชิพติดตามพฤติกรรม และการย้ายถิ่นอาศัย นอกจากนี้ยังได้ประสานไปยังกลุ่มประเทศต่างๆ ที่มีน่านน้ำติดกับไทย ให้เกิดความร่วมมือในการดูแลวาฬร่วมกัน” นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ กล่าว

อีกหนึ่งความเคลื่อนไหว ในการผลักดันให้วาฬบรูด้า เป็นสัตว์สงวน เกิดขึ้นโดย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีการเคลื่อนไหวผ่านโซเชียลมีเดีย โดยการนำเสนอกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น การประกวดภาพวาดและภาพถ่าย สัตว์สงวนและสัตว์คุ้มครอง 24 ชนิด เพื่อชิงรางวัลมูลค่ามากกว่า 3 แสนบาท

ที่สำคัญมีการรณรงค์ให้มีการตระหนักถึงความสำคัญของวาฬบรูด้า และลงชื่อสนับสนุนให้มีการขึ้นทะเบียนวาฬบลูด้าเป็นสัตว์สงวน ผ่านเว็บ http://www.change.org/SaveOurWhale โดยแจ้งวัตถุประสงค์บางส่วนว่า “การผลักดันวาฬบรูด้าให้เป็นสัตว์สงวน จะช่วยยกระดับความสำคัญของวาฬ ทำให้เกิดมาตรการต่างๆ ในการดูแลและช่วยเหลือวาฬ เช่น ศูนย์วิจัยและช่วยเหลือวาฬ การให้ความรู้และสร้างการท่องเที่ยวชมวาฬอย่างยั่งยืน เช่น พิพิธภัณฑ์วาฬ เครือข่ายท่องเที่ยวชมวาฬ ฯลฯ ตลอดจนยกระดับให้วาฬบรูด้าเป็น "สัตว์สัญลักษณ์แห่งอ่าวไทย" ช่วยส่งเสริมให้กรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียงกลายเป็นแหล่งดูวาฬเชิงอนุรักษ์ระดับโลก และเกิดพลังสร้างความเปลี่ยนแปลงในการอนุรักษ์ความสมบูรณ์ในอ่าวไทยไว้ให้จงได้” ซึ่งตัวเลขล่าสุดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2558 มีผู้ร่วมลงชื่อแล้วกว่า 25,000 คน

อย่างไรก็ตาม นอกจากวาฬบรูด้าแล้ว ยังมีสัตว์ทะเลหายากกว่า 20 ชนิด ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากระบบนิเวศทางทะเล เช่น วาฬบรูด้า โลมา เต่ามะเฟือง กลุ่มปลาโรนัน ปลาโรนิน ซึ่งเกิดจากขยะ ท่องเที่ยว และประมง ที่เราทุกคนต่างมีส่วนกระทำทั้งสิ้น


สายชล 21-07-2015 20:46


greennewstv
12-07-15

ประมงพื้นบ้าน-พาณิชย์ประสานเสียง ต้องหยุดเรือประมงทำลายล้าง ปีหน้ามีปลา 20 ล้านตัน

http://www.greennewstv.com/wp-conten...1-1024x768.jpg

เวทีราชดำเนินเสวนา นายกสมาคมประมงพื้นบ้านรับ มาตรการหยุดเรือประมงทำลายล้างกระทบเรือประมงพื้นบ้านด้วย ที่ปรึกษาสมาคมเรือประมงไทยขอรัฐเพิ่มขนาดตาอวนลาก-จัดโซนนิ่งขนาดเรือ เผยโรงแรมดังบอยคอร์ตอาหารทะเลไทยมานานแล้ว ระบุหยุดเรือประมงทำลายล้าง ปีหน้าเพิ่มปริมาณปลาน่านน้ำไทย 20 ล้านตัน มูลค่า 2 ล้านล้านบาท

วันนี้ (13 ก.ค.) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม และสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดเวทีราชดำเนินเสวนาเรื่อง “แบนประมงผิดกฎหมายเด็ดขาด…คนทั้งชาติยังมีปลากิน?” ที่ชั้น 3 ห้องอิศรา อมันตกุล โดยมีตัวแทนจากประมงพื้นบ้าน องค์กรภาคประชาชน ตัวแทนประมงพาณิชย์ และตัวแทนจากกรมประมง เป็นผู้ร่วมเสวนา

“นายสะมะแอ เจะมูดอ” นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย กล่าวทำความเข้าใจต่อประมงพื้นบ้านว่า มีองค์ประกอบหลายๆอย่าง ทั้งเรื่องของตัวเรือ เครื่องมือประมง หรือแม้กระทั่งแรงงานบนเรือ ซึ่งยอมรับว่าเรือประมงพื้นบ้านส่วนหนึ่งก็มีเครื่องมือประมงทำลายล้างเช่นกัน ซึ่งการออกมาตรการหยุดเรือประมงทำลายล้างก็กระทบกับประมงพื้นบ้านเช่นเดียวกัน ประมงพื้นบ้านเองก็ไม่สามารถขออาชญาบัตรได้ทุกเครื่องมือ

นายสะมะแอระบุว่า การบังคับใช้กฎหมายเด็ดขาดช่วงนี้ไม่ได้ให้ประโยชน์กับเรือประมงพื้นบ้านมากนัก เพราะเป็นช่วงเดือนหงายที่ไม่ค่อยมีสัตว์น้ำ และยังมีมรสุม แต่ยังพอจับปลาได้ในทุกพื้นที่ตั้งแต่สตูลจนถึงภูเก็ต ต่างจากเมื่อก่อนที่ออกเรือประมงทุกประเภท ทำให้สัตว์น้ำค่อนข้างหายาก ซึ่งการที่พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าให้เรือประมงพาณิชย์หยุดทั้งหมด เพราะเราเองก็ต่างประกอบอาชีพประมงเหมือนกัน แต่สิ่งที่ต้องทำคือทบทวนเครื่องมือที่ใช้ ว่านั่นคือเครื่องมือทำลายล้างหรือไม่ ก็เพื่อความมั่นคงทางอาหาร

นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยยังฝากทางหน่วยงานรัฐบาลว่า ขอให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมทำงานอย่างบูรณาการ เพราะการทำการประมงนั้นมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละหน่วยงานต่างมีกฎหมายของแต่ละแห่ง บางแห่งก็ไม่เข้าใจวิถีชีวิตของชาวประมง อย่างเช่นห้ามเด็กออกเรือไปพร้อมกับพ่อแม่ หรือการที่เรือประมงหลบมรสุมมาขึ้นเกาะ กลับโดนเล่นงานจากกรมอุทยานฯ เป็นต้น

http://www.greennewstv.com/wp-conten...7/Picture3.jpg

ด้าน “นายนิธิวัฒน์ ธีระนันทกุล” ที่ปรึกษาสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แม้จะยอมรับถึงปัญหาการประมงว่าเราละเลยกันมากว่า 20 ปี ซึ่งในวันนี้เราจะละเลยต่อไปไม่ได้ แต่การบังคับใช้แบบรุนแรงและกะทันหันเช่นนี้เรียกได้ว่าล้มทั้งยืน ซึ่งการที่เรือประมงพาณิชย์ต้องหยุดเรือกันที่ผ่านมานั้นมิใช่เพื่อการประท้วงหรืออย่างใด ที่จริงต่างอยากออกไปจับปลาด้วยกันทั้งนั้น แต่ที่ต้องหยุดเพราะกฎระเบียบเข้มข้นของราชการนั้นหนักหนาสาหัส และการจัดการแบบปุบปับเช่นนี้ก็ไม่สามารถที่จะปรับตัวได้ทัน

ซึ่งข้อเสนอที่อยากฝากถึงรัฐบาลคือ ให้บังคับใช้กฎเกณฑ์บางประเภทที่จะแก้ปัญหาในระยะยาว เช่น เปลี่ยนขนาดตาอวนลากให้ใหญ่ขึ้น, ลดเครื่องมือประกอบการประมงเช่นเรือปั่นไฟล่อปลา, การขึ้นทะเบียนซั้งล่อปลา ควบคุมและมีการจัดการทางสถิติ, การทำโซนนิ่งให้เหมาะกับขนาดเรือ กำลัง แรงม้า และขนาดเครื่องมือ, การกำหนดเวลาในการทำการประมง, การกำหนดโควตาตามชนิดเครื่องมือการทำการประมง, การกำหนดโควตาปริมาณการจับสัตว์น้ำ, การพัฒนาเพื่อกระจายพื้นที่การทำการประมงเพื่อลดการทำลายพื้นที่เติบโต ไปทำประมงน้ำลึก, การพัฒนาระบบการติดตาม ควบคุม และการเฝ้าระวัง MCS, การพัฒนาระบบการตรวจสอบย้อนกลับให้เข้าถึง ฐานข้อมูลมากขึ้น และนำไปใช้ในการประเมินปริมาณสัตว์น้ำในอนาคต Stock assessment, การจัดการเพื่อยกระดับการดำรงชีพของชาวประมง การให้ชาวประมงเข้าถึงแหล่งความรู้ในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปสู่อาชีพใหม่ทั้งในท้องถิ่นเดิม และการไปสู่ท้องถิ่นใหม่ Raise up Livelihood and development

“นายมาโนช รุ่งราตรี” ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง กล่าวว่า หากเราย้อนดูตั้งแต่เริ่มแรกจะเห็นได้ว่าทางกรมประมงได้ดำเนินการแก้ไขการประมงผิดกฎหมายมาตั้งแต่ พ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2490 ก่อนหน้าที่จะเกิดกระแสเรื่องของความยั่งยืนที่ทาง FAO ได้เริ่มเข้ามาร่างกฎระเบียบ แต่กฎดังกล่าวนั้นใช้วิธีดำเนินการด้วยความสมัครใจและร่วมมือ เมื่อไม่มีการบังคับก็ไม่เป็นที่สนใจ

หลังจากนั้นทางสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งเป็นผู้ซื้ออาหารทะเลรายใหญ่เกิดความกังวลว่าอาหารทะเลที่ส่งไปขายนั้นเกิดจากการประมงที่มีความรับผิดชอบหรือไม่ จึงต้องประกาศกฎการประมงที่ผิดกฎหมาย หรือ ไอยูยูฟิชชิ่ง ที่ต้องสามารถรับรองได้ว่าอาหารทะเลที่ได้มาจากการประมงที่ไม่ผิดกฎหมาย ปฏิบัติตามระเบียบ มีการรายงาน ควบคุม และตรวจสอบได้

ซึ่งทางกรมประมงเองก็ได้ดำเนินการป้องกันประมงผิดกฎหมายดังกล่าว มีทั้งการตรวจสอบย้อนกลับ มีการขึ้นทะเบียน มีอาชญาบัตร มีการทำรายงานบันทึก นอกจากนี้ยังรวมถึงการควบคุม มีการประกาศกฎระเบียบต่างๆ เช่นการห้ามทำประมงบริเวณแหล่งวางไขหรือแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ หรือการประกาศห้ามเครื่องมือประมงทำลายล้าง ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ถ้ากลับไปดูแล้วจะดำเนินการไว้ค่อนข้างคลอบคลุมทุกด้าน

“แต่ในขณะเดียวกันการควบคุมที่ผ่านมาก็ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทางกรมประมงเองก็ไม่สามารถทำอะไรได้มาก ด้วยกรมประมงเองก็เป็นกรมวิชาการ การดำเนินงานที่ผ่านมาก็เป็นเรื่องของวิชาการโดยตลอด เมื่อเกิดเรือที่ผิดกฎหมายจำนวนมากมาย พอเกิดปัญหาขึ้นก็ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน”



ส่วน “น.ส.สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ” ผู้จัดการโครงการประมงพื้นบ้าน-สัตว์น้ำ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน กล่าวว่า ที่ผ่านมาการบริหารทรัพยากรประมงเจอปัญหา ก็เพราะลักษณะทางธรรมชาติของทรัพยากรประมงนั้นบริหารจัดการได้ยาก ดำเนินการเหมือนแมวไล่จับหนู เมื่อแมวไม่อยู่หนูก็ร่าเริง จึงเป็นเรื่องที่ว่ามือใครยาวสาวได้สาวเอา แต่เมื่อคนหนึ่งใช้มากแล้วก็จะส่งผลกระทบต่อผู้อื่นที่มีส่วนใช้ทรัพยากร เพราะฉะนั้นเราจึงประสบกับจุดวิกฤตเมื่อประมาณปี พ.ศ.2535-2536 แต่ก็ดีขึ้นเมื่อถึงปี 2538 เพราะหลายคนเริ่มปรับพฤติกรรมเมื่อรู้ว่าสุดท้ายแล้วในอนาคตต้องพึ่งพาทรัพยากร และต้องปล่อยให้ฟื้นฟู แต่หากมองในมิติของการประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง เมื่อเขามองว่าต้องหากินในวันนี้ หากปลาที่จับได้วันนี้แล้วอย่าคิดว่าพรุ่งนี้ปลาเหล่านั้นจะมาให้จับอีก นี่คือลักษณะมุมมองต่อการใช้ทรัพยากรที่ต่างกัน

นอกจากนี้ในด้านของผู้บริโภคเองไม่มีทางรู้ว่าอาหารทะเลที่เลือกมาจากการประมงทำลายล้างหรือไม่ เมื่อมาถึงตลาดลักษณะก็เหมือนกันหมด ปัญหาคือระบบตลาดในประเทศมีการผูกขาด เมื่อปลาทุกตัวจะต้องไปเวียนตามสะพานปลาขนาดใหญ่ก่อน กว่าจะมาถึงผู้บริโภคจึงไม่ปลอดภัยต่อสารเคมี รวมถึงผู้กำหนดราคากลางกลับไม่ใช่พ่อค้าแต่เป็นตลาดปลา เรามีระบบที่เพี้ยนมาตลอด เราจึงต้องสร้างทางเลือกเส้นทางปลาใหม่ อย่าผูกขาดว่าจะต้องประมูลที่สะพานปลา

“จริงๆแม้เราจะไม่ได้โดนไอยูยูในวันนี้ แต่เราก็โดนฝรั่งแบบอาหารทะเลในประเทศมานานแล้ว โรงแรมห้าดาวหลายแห่งไม่เลือกซื้อปลาไทย หลายรายเลิกซื้อปลาไทยจนกระทั่งได้มาเจอกับตลาดปลาพื้นบ้าน เขาก็ถามว่าจับมาจากไหน มีสารเคมี มีการใช้แรงงานทาสหรือเปล่า จะเห็นได้ว่าคนต่างชาติเองเขาก็สงสัยว่าทำไมเรามีชายฝั่งที่ยาวไกลแต่กลับมีผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ และอยากจะเห็นหน้าตาของการประมงไทยเปลี่ยนจากการส่งออกกุ้งราคาถูก มาเป็นปลาคุณภาพที่มีราคาแพง”

http://www.greennewstv.com/wp-conten...2-1024x562.jpg

ขณะที่ “นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี” กรรมการสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าวว่า พื้นที่จับสัตว์น้ำไทยนั้นมีลักษณะที่โดดเด่นกว่าทั่วโลก ตามข้อมูลแล้วเราจับปลาได้กว่าล้านตันจากน่านน้ำในประเทศ อีกกว่าล้านตันนอกน่านน้ำไทย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่ว่าคนไทยกินอาหารทะเลรวมกันประมาณ 2 ล้านตันหรือ 28-31 กก.ต่อคน/ปี เทียบกับคนอเมริกันที่ 50 กก.ต่อคน/ปี และคนญี่ปุ่นที่ 69 กก.ต่อคน/ปี เมื่อดูปริมาณการส่งออกก็อยู่ที่ประมาณ 2 ล้านตัน เพราะฉะนั้นจึงสามารถอนุมานได้ว่าหากจะให้เพียงพอกับการบริโภคในประเทศและส่งขายต่างประเทศ เราจึงต้องมีปลาในระบบจากทั้งผลผลิตในประเทศ ส่วนที่นำเข้า และการเพาะเลี้ยง ประมาณ 4 ล้านตัน

หากดูในส่วนข้อมูลของสัตว์น้ำที่จับได้ในประเทศประมาณ 1.1-1.2 ล้านตัน กว่า 80% หรือคิดเป็น 8-9 แสนตันมาจากการประมงพาณิชย์ หากในจำนวนนั้นกว่า 50% หรือประมาณ 4-5 แสนตันเป็นปลาเป็ด หรือลูกปลาที่จะผลิตเป็นปลาป่นป้อนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ซึ่งก็ตรงกับข้อมูลปลาเป็ดในระบบจากกรมประมง และในจำนวนนั้นกว่า 30% หรือประมาณ 1.5-2 แสนตันคือปลาเป็ดเทียมหรือปลาเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเป็นปลาทูซึ่งหากปล่อยให้โตหนึ่งปีจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 100 เท่า นั่นเท่ากับว่าหากเราหยุดการประมงทำลายล้างได้ ในหนึ่งปีข้างหน้าเราจะมีจำนวนปลาในท้องทะเลเพิ่มขึ้นถึง 20 ล้านตัน

“เพราะฉะนั้นคำถามที่ว่าหากเราหยุดอวนลากอวนรุนแล้ว คนในชาติจะยังมีปลากินหรือไม่ อย่าว่าแต่กินเลย ผมขอใช้คำว่าเรามีอาบได้เพราะมันมากมาย หากคิดราคาปลาทูที่กิโลกรัมละ 100 บาท เราจะมีทรัพย์สินของการประมงที่สต็อกอยู่ในท้องทะเลเท่ากับ 2 ล้านล้านบาทในหนึ่งปี แม้การเทียบอย่างนี้จะไม่ถูกนักเพราะยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมาก แต่ต่อให้ลดตัวเลขลงไปอีก 70-80% นั่นก็ยังเป็นจำนวนมหาศาลอยู่ดี”

“นายวรพงศ์ สาระรัตน์” เจ้าหน้าที่ประมงอาวุโสปฏิบัติหน้าที่นิติกร กรมประมง กล่าวว่า เครื่องมือหลักจัดการทรัพยากรในเวลานี้คือกฎหมาย ซึ่งอันเดิมถูกออกแบบไว้ตั้งแต่ปี 2490 ที่ทรัพยากรในเวลานั้นยังมีมากมาย โดยหลักคิดในเวลานั้นคือการจัดการยังเป็นของรัฐ ต่อมากรมประมงเริ่มทำกฎหมายฉบับใหม่ตั้งแต่ปี 2543 จนมาสำเร็จในปี 2558 ซึ่งความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือเพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบ เพราะในมุมของกฎหมายกับการบังคับใช้นั้น หากเรามีตัวกฎหมายที่ดีการบังคับใช้ก็จะดีไปด้วย แต่หากกฎหมายไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เป็นจริงก็จะเกิดปัญหา การที่เราจะทำให้กฎหมายสอดคล้องก็คือการมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องนั่นเอง

แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายใหม่ฉบับนี้ จะต้องมีการตรากฎหมายลำดับรองอีก 70-80 ฉบับ ซึ่งก็อาจไม่ทันกับความเร่งด่วนในปัจจุบัน จึงมีการออกประกาศคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 10 เพื่อใช้แก้ปัญหาไปพลางๆก่อน โดยเน้นการมีส่วนร่วมที่ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มกันของชาวประมง แล้วมาขึ้นทะเบียนเพื่อสิทธิที่จะสามารถส่งผู้แทนมาเป็นคณะกรรมการประมงจังหวัด สามารถออกแบบกฎในระดับพื้นที่ได้มากขึ้น ซึ่งเรื่องของคณะกรรมการประมงจังหวัดที่ผ่านมายังไม่เคยมี

“บทบาทที่สำคัญคือการมาช่วยกันออกกติกาเรื่องการจับสัตว์น้ำทั้งหลายให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ ซึ่งที่ผ่านมาออกโดนส่วนกลางที่ขาดความเหมาะสมไปบ้าง รวมทั้งความล่าช้า เพราะฉะนั้นในกฎหมายประมงฉบับใหม่เป็นจึงเป็นกฎหมายที่เกิดการมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น การจัดที่ทำสอดคล้องกับพื้นที่ ตอบโจทย์ต่างๆตามที่เราคาดหวังไว้มากขึ้น”


สายชล 21-07-2015 20:57


greennewstv
15-07-15


พ.ร.บ. ประมงฉบับใหม่ ยังไม่ปลดล็อคใบเหลือง EU

http://www.greennewstv.com/wp-conten...5001005601.jpg

หลังจากที่มีการผลักดันมาอย่างยาวนานในที่สุด พ.ร.บ.ประมง 2558 ก็ถูกประกาศใช้ไปแล้ว เพื่อแก้ปัญหาประมงในน่านนํ้าไทยที่เรื้อรังมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อสำรวจรายละเอียดก็ยังไม่สามารถปลดพันธการจากคำเตือนของสหภาพยุโรปในการป้องกันและยับยั้งการทำประมงผิดกฎหมายได้

ตั้งแต่ปี 2543 ได้มีความพยายามจากภาครัฐและประชาสังคม เพื่อร่างแก้ไขกฎหมายประมงใหม่จากเดิมที่ใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประมง 2490 ซึ่งได้ผ่านกระบวนขั้นตอนอย่างยาวนาน จนในที่สุดฉบับใหม่คือ พ.ร.บ.ประมง 2558 นี้ก็ได้ประกาศผ่านราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เมื่อ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา เพราะมีการกดดันจากสหภาพยุโรป (EU) ที่ให้ใบเหลืองอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทย เนื่องจากพบมีการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) แต่ทั้งนี้สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ที่เร่งให้ผ่านมาฉบับนี้ในสายตาของผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้านยังมองว่าไม่ตอบโจทย์ และครอบคลุมประเด็นที่ถูกกดดันจาก EU นัก เพราะยังขาดมิติการแก้ปัญหาที่สอดคล้องระหว่างประเทศ การทำประมงนอกน่านน้ำที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งที่ EU จับตามองอยู่ รวมทั้งการที่ยังไม่มีกฎหมายลูกครบถ้วน จึงยังไม่อาจหวังได้ว่าจะแก้ปัญหาประมงได้อย่างยั่งยืน

โดย IUU Fishing ที่ทางสหภาพยุโรปได้ตั้งมานั้น นอกจากการทำผิดกฎหมายขาดการควบคุมและรายงานแล้ว ยังรวมไปถึงการทำประมงในเขตน่านน้ำของประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือฝ่าฝืนต่อระเบียบและกฎหมาย และการทำประมงที่ไม่สอดคล้องกับความรับผิดชอบของรัฐเพื่อการเพิ่มจำนวนปลาด้วย ซึ่งหลังจากไทยได้ใบเหลืองจาก EU ซึ่งขณะนั้นอยู่ในห้วงเดือนเมษายน พ.ร.บ.ประมงฉบับใหม่ยังไม่ประกาศใช้ ทำให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ประกาศคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 10/2558 เรื่องการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย และให้จัดตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (สปมผ.) และรัฐบาลก็พยายามออกมาตรการเร่งด่วนมาแก้ไข เช่น การเร่งจดทะเบียนเรือประมงและออกใบอนุญาตทำการประมง รวมถึงการปรับปรุงพระราชบัญญัติการประมงและกฎหมายลำดับรองด้วย ทำให้กระบวนการพิจารณา พ.ร.บ.ฉบับนี้ที่ยืดเยื้อมายาวนานได้รับการพิจารณาภายใน 7 เดือน จึงทำให้มีข้อพกพร่องไม่ครอบคลุมทุกประเด็นเท่าที่ควร

http://www.greennewstv.com/wp-conten...8-1024x768.jpg

ในเวทีราชดำเนินเสวนา “แบนประมงผิดกฎหมายเด็ดขาด…คนทั้งชาติยังมีปลากิน?” ซึ่งจัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม และสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา นายวรพงศ์ สาระรัตน์ เจ้าหน้าที่ประมงอาวุโสปฏิบัติหน้าที่นิติกร กรมประมง ได้ชี้แจงสาเหตุที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังไม่สมบูรณ์ว่าอาจเป็นเพราะกระบวนการร่างกฎหมายที่ที่มานานกว่า 15 ปี ทำให้ยังไม่สอดรับกับประเด็นใหม่ที่เข้ามาเช่น การลงทุนจับปลานอกน่านน้ำไทยซึ่งมีมิติที่เปลี่ยนไป

“ก็ได้มาระดับหนึ่งแต่ก็ยังขาดเรื่องของความสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะตอนที่กฎหมายนี้เริ่มทำตั้งแต่ปี 2543 มาเสร็จปี 2558 เราก็ไปเน้นเรื่องของการมีส่วนร่วมของชุมชน แต่ว่ามิติระหว่างประเทศเรายังไปไม่ถึง เราก็เลยใส่ได้น้อย อีกอย่างหนึ่งก็คือหากไปแก้เยอะจะมีปัญหา เพราะร่างเดิมเราทำมาอย่างนี้ ในเวลานั้นมิติของกฎหมายระหว่างประเทศมันยังเข้ามาไม่เยอะ เรือที่ไปจับปลานอกน่านน้ำมันก็มีหลายเรื่องที่เปลี่ยนไปเยอะ เช่น การไปลงทุนจับปลากับต่างประเทศโดยที่ไม่ได้ใช้เรือของเรา แล้วทีนี้เกิดไปจับปลาผิดกฎหมาย คนนั่งอยู่บ้านก็สบายใจ ลงทุนอย่างเดียว มิติของกฎหมายทำแบบนี้ไม่ได้ เหมือนรัฐไม่รับผิดชอบ”

http://www.greennewstv.com/wp-conten...1-1024x740.jpg

ทั้งนี้นิติกรของกรมประมงเห็นว่ายังมีข้อดีของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ที่จะเน้นไปที่การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนโดยผ่านคณะกรรมการจังหวัด เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาการจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายยังด้อยอยู่มาก เพราะเป็นการดำเนินงานจากภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเดิมการตรวจการทำประมงผิดกฎหมายนั้น มีหน่วยงานหลักที่ดูแลคือหน่วยตรวจการของกองบริการจัดการด้านการประมง ซึ่งมีเจ้าหน้าอยู่เพียง 700 คนเท่านั้น ดูแลทั้งน้ำจืดและทะเล ไม่สามารถดูแลได้เพียงพอ

“เดิมรัฐกำหนดฝ่ายเดียว แล้วชาวบ้านไม่ได้ร่วมกันคิด เขาก็ไม่ยอมรับ ฝ่าฝืน เขาบอกว่าเป็นทรัพยากรของรัฐเขาก็เข้าไปจับ ใครได้มากก็ได้ประโยชน์ แต่คอนเซ็ปใหม่ก็คือเป็นทรัพยากรร่วมกัน กติกานี้เพื่อที่จะรับผิดชอบอนาคตของพวกเรา ถ้าเราจับปลามาเยอะ วันหน้าจะเอาปลาที่ไหนกิน ถ้าคิดร่วมกันแล้วการฝ่าฝืนมันก็จะน้อยลง การบังคับใช้มันก็จะราบรื่นขึ้น” นายวรพงศ์กล่าว

อย่างไรก็ตามนายวรพงศ์กล่าวว่า ภายหลังจากนี้จะมีการเสนอร่างใหม่เพื่อแก้ไขเพิ่มมิติเรื่องระหว่างประเทศให้ครอบคลุม และมีการออกกฎหมายลูกมารองรับซึ่งอาจต้องใช้มากกว่า 70 ฉบับเพื่อแก้ปัญหาประมงไทยให้มีการยอมรับจากสหภาพยุโรป และเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรชายฝั่งทะเลไทยอีกต่อไปด้วย

http://www.greennewstv.com/wp-conten...2015/07/31.jpg

ขณะที่ น.ส.สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ หัวหน้างานจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่ง มูลนิธิสายใยแผ่นดิน ได้ให้ความเห็นต่อ พ.ร.บ.ฉบับนี้เช่นเดียวกันว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้ความสำคัญที่เรื่องการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง แต่ยังขาดเรื่องของการจัดการกับการทำประมงนอกชายฝั่งและนอกน่านน้ำที่เกินออกไปจากระยะ 3 ไมล์ทะเล ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแก้ไข อีกทั้งยังไม่มีได้พูดถึงเรื่องการจับปลาเกินศักยภาพซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่เชื่อมโยงกับปัญหาความยั่งยืนของทรัพยากรไทยอีกด้วย

“เรื่องน่านน้ำและประมงนอกชายฝั่งถูกพูดถึงน้อยมากซึ่งมันเป็นเป็นประเด็นที่ EU กังวลว่าเราจะจัดการเรือใหญ่อย่างไร เพราะว่า พ.ร.บ.2558 นี้พูดถึงเรื่องอำนาจจังหวัดที่จะดูแลเรื่องเขต 3 ไมล์ทะเล แต่ว่าพอหลังจากนั้นไม่ได้ให้รายละเอียด แล้วก็เรื่องนอกน่านน้ำไม่ได้พูดว่าจะถูกจัดการด้วยกฎหมายอย่างไร พูดแต่ว่าเป็นอำนาจของส่วนกลางเท่านั้น ซึ่งก็ต้องไปออกกฎหมายลูกอีกทีว่าจะทำอย่างไร แต่ว่ากฎหมายใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญ ไม่ได้มีนโยบายชัดเจนว่าจะทำอย่างไร คิดว่าตรงนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่สหภาพยุโรปตั้งคำถาม และ พ.ร.บ.ประมง 2558 ไม่ได้พูดถึง overfishing นัก คือเรื่องของการจับปลาตัดตอนหรือเรื่องอวนลาก อวนรุน ซึ่งสัตว์น้ำ 70 เปอร์เซ็นต์มันถูกจับไปเป็นอาหารสัตว์จำนวนมาก พ.ร.บ.2558 การควบคุมดูแลบริหารจัดการไม่ให้เกิด overfishing มันไม่ได้ถูกพูดถึง ไม่มีการแก้ปัญหา พูดแต่ห้ามเครื่องมือชนิดไหนบ้าง แต่ไม่ได้พูดถึงปลาที่จับได้ขึ้นมา” น.ส.สุภาภรณ์กล่าว

พ.ร.บ.ประมง 2558 ที่ถูกคาดหวังว่าจะเป็น “ดาบอาญาสิทธิ์” ที่จะถูกนำไปแก้ปัญหาประมง และช่วยฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลของประเทศอย่างยั่งยืน และยังโฆษณาว่าเป็นกฎหมายประมงฉบับแรกที่สร้างความมีส่วนร่วมจากประชาชนและท้องถิ่นให้ช่วยกันแก้ไขปัญหาประมงในระยะยาว แต่ถึงขณะนี้ก็ยังขาดอีกหลายมิติที่เป็นเรื่องใหญ่และสำคัญ นั่นจึงทำให้ยังไม่อาจความเชื่อมั่นได้ว่าจะสามารถปลดพันธการจากคำเตือนของ EU ได้อย่างแท้จริง


สายชล 21-07-2015 21:01


ผู้จัดการออนไลน์
17-07-15

คนกินปลาเฮ! มติ ศปมผ.ยกเลิกเครื่องมือประมงทำลายล้าง คาดออกประกาศกฎกระทรวงเร็วๆนี้

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...008354502.JPEG
(ภาพ : Greenpeace)

ศูนย์ข่าวภาคใต้ - นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทยเผยคนกินปลาเตรียมเฮหลังที่ประชุม ศปมผ.มีมติให้ให้ออกประกาศยกเลิกเครื่องมือประมงที่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำ อวนรุน ไอ้โง่ อวนล้อมปลากะตักปั่นไฟและโพงพาง คาดออกประกาศเป็นกฎกระทรวงเหมือนอินโดฯ ชี้ถือเป็นชัยชนะของคนกินปลาทั่วประเทศที่ตื่นตัวจนมีแรงขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดี

วันนี้ (16 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่านายบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย ได้โพสต์ภาพในเฟซบุ๊กส่วนตัว ซึ่งเป็นภาพหน้าของการประชุมเกี่ยวกับการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมายในที่ประชุมของศูนย์บัญชาการการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) โดยในภาพระบุข้อความว่า “มติที่ประชุม ศปมผ.ครั้งที่ 11/2558”

“2.ให้ สน.กม.ศปมผ.ออกประกาศยกเลิกเครื่องมือการทำประมงที่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำ ได้แก่อวนรุน (ยกเว้นอวนรุนเคย) ไอ้โง่ อวนล้อมปลากะตักปั่นไฟและโพงพาง”

“3.ให้ กปม.กำหนดจำนวนและขนาดเครื่องมือการทำประมงที่จะใช้กับเรือประมงแต่ละประเภท โดยรายงานให้ที่ประชุมร่วมพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป”

http://mpics.manager.co.th/pics/Imag...008354501.JPEG
(ภาพ : บรรจง นะแส)

เกี่ยวกับเรื่องนี้นายบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย ซึ่งเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ได้เปิดเผย ‘ASTVผู้จัดการภาคใต้’ ว่าถือเป็นมิติที่ดีมากๆ ของการแก้ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมายของประเทศไทยแต่ในทางปฏิบัติยังต้องรอดูเพราะเกินศักยภาพของกรมประมงเพราะฉะนั้นทุกภาคส่วนต้องบูรณาการ ทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ มีในพื้นที่ไหน หัวหน้าส่วนนั้นๆ ต้องร่วมรับผิดชอบมาตรการแก้ไขให้สำเร็จถึงจะเป็นจริง

“เพราะตัวอย่างอวนรุนในทะเลสาบสงขลามีกฎหมายห้ามชัดเจนแต่ก็มีอวนรุนกว่า 100 ลำเป็นตัวอย่าง ส่วนแนวโน้มความเป็นไปได้คาดว่าเพื่อความรวดเร็วคงออกมาเป็นประกาศกระทรวง เหมือนกับประเทศอินโดนีเซียที่ออกประกาศกฎกระทรวงยกเลิกเครื่องมือพวกนี้ไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ผมมีข้อสังเกตเรื่องมติคืออ้วนล้อมปั่นไฟมีกฎหมายห้ามอยู่แล้วอยากให้กรมประมงไปดูประกาศกระทรวงที่อดีต รมช.เกษตรฯ นายมณฑล ห้ามไว้ชัดเจนแต่เลี่ยงบาลีให้เรือปั่นไฟใช้อวนช้อน ครอบ ยก เจตนารมณ์คือให้กลับไปใช้ประกาศของอดีตรมช.บุญเอื้อ คือยกเลิกการทำการประมงด้วยเรือปั่นไฟ”

นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าวว่า อย่างไรก็ตามหากมองในมิติของการต่อสู้กับการทำประมงที่ผิดกฎหมายมายาวนานไม่ต่ำกว่า 30 ปี ถือว่าเป็นชัยชนะของคนกินปลาทั่วประเทศที่ตื่นตัวจนมีแรงกดดันสูงมากพอจนสามารถผลักดันเรื่องนี้ได้


สายชล 21-07-2015 21:12


แนวหน้า
17-07-15

มติ 'ศปมผ.' ยกเลิก 4 เครื่องจับปลา ยึดเวลาบริการประมงถึง 24 ก.ค.นี้

http://static.naewna.com/uploads/news/source/169033.jpg

16 ก.ค.58 พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เป็นประธานในการประชุม การติดตามความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหา ตามข้อสังเกตในการตรวจเยี่ยมของคณะสหภาพยุโรป ของ ศปมผ.ครั้งที่ 11 ณ ห้องประชุมกองบัญชาการกองทัพเรือ วังนันทอุทยาน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ โดยในวันนี้มีหัวหน้า ผู้แทน ส่วนราชการใน ศปมผ.และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม

โดยมติที่ประชุมมีดังนี้

1.ให้ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) โดยศูนย์การแจ้งเรือเข้า/ออก (PIPO) ร่วมกับกรมประมง กรมเจ้าท่า และ กสทช.ขยายช่วงเวลาการออกหน่วยบริการด้านการประมงเคลื่อนที่ จนถึงวันที่ 24 ก.ค.58 โดยให้สมาคมการประมงต่างๆ ประชาสัมพันธ์ให้ชาวประมงได้รับทราบต่อไป

2.ให้ส่วนกฎหมายและจัดระเบียบเรือประมง (สน.กม.ศปมผ.) ออกประกาศยกเลิกเครื่องมือทำการประมงที่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำได้แก่ อวนรุน (ยกเว้นอวนรุนเคย) ไอ้โง่ อวนล้อมปลากระตักปั่นไฟ และโพงพาง

3.ให้กรมประมงกำหนดจำนวน และขนาดเครื่องมือทำการประมงที่ใช้กับเรือประมงแต่ละประเภท โดยรายงานให้ที่ประชุมร่วมพิจารณาในการกระชุมครั้งต่อไป

4.ให้สำนักงานเลขานุการ ศปมผ.(สล.ศปมผ.) ร่วมกับกรมประมง และกรมเจ้าท่า ดำเนินการกำหนดพื้นที่ทำการประมงของเรือประมงพื้นบ้าน และประมงพาณิชย์ ให้มีความชัดเจน และรายงานให้ที่ประชุมร่วมพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป และ

5.ให้ส่วนกฎหมายและจัดระเบียบเรือประมง (สน.กม.ศปมผ.) และคณะทำงานจัดทำนโยบาย จัดการด้านการประมงทะเล ชี้แจงรายละเอียดตามข้อคิดเห็นในการประชุมครั้งต่อไป


สายชล 21-07-2015 21:13


แนวหน้า
17-07-15

ส่องแผนเซฟชีวิต ‘วาฬบรูด้า’ อีก 2 ขั้น ดันสู่ ‘สัตว์สงวน’ เป็นจริง

http://static.naewna.com/uploads/news/source/169036.jpg

สถานการณ์ท้องทะเลไทย ณ ปัจจุบัน ถือได้ว่าอยู่ในขั้น “วิกฤติ” เพราะทรัพยากรที่เคยสมบูรณ์ นับวันจะยิ่งทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะ “กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก” ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการ “สูญพันธุ์”

ระยะหลังๆ ภาพการ “เกยตื้นตาย” ตามชายหาดของกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก เช่น “วาฬ-โลมา-พะยูน-เต่าทะเล” ปรากฏให้เห็นมากขึ้นและต่อเนื่อง ซึ่งจากการเก็บข้อมูลสถานการณ์สัตว์ทะเลหายากในประเทศไทยรอบ 12 ปี หรือตั้งแต่ปี 2546-2557 ของ “กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง” หรือ ทช. พบว่า มีสัตว์ทะเลเกยตื้นตาย รวม 2,201 ตัว ประกอบด้วย เต่าทะเล 1,209 ตัว คิดเป็น 55%, โลมาและวาฬ 851 ตัว คิดเป็น 39% และพะยูน 141 ตัว คิดเป็น 6% และในแต่ละปีมีแนวโน้มของการเกยตื้นเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะ.....

“วาฬบรูด้า”!!!

ที่ “เป็น-ตายเท่าๆกัน” เพราะมีอัตราการเกิดและการตายเท่ากันในอัตรา 4-5% น้อยกว่าสัตว์ทะเลกลุ่มเสี่ยงชนิดอื่นๆ จึงถือเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข ไม่เช่นนั้นในอนาคต “วาฬบรูด้า” ที่กลุ่มนักอนุรักษ์ยกให้เป็น “สัญลักษณ์แห่งอ่าวไทย” คงเหลือไว้เพียงชื่อ

http://static.naewna.com/uploads/use...s/P01_opt.jpeg

นี่จึงกลายเป็นที่มาของการผลักดันให้มีการ “ขึ้นบัญชีวาฬบรูด้า” ในฐานะ “สัตว์สงวน” ของกลุ่มนักวิชาการ “คนรักวาฬบรูด้า” ที่ลุกขึ้นมารณรงค์-เรียกร้องผ่านเว็บไซต์ www.change.org/saveourwhale ซึ่งเมื่อพลิกดูรายชื่อ “บัญชีสัตว์” ที่ได้รับการประกาศเป็น “สัตว์สงวน” ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 พบว่า ประเทศไทยมีการขึ้นบัญชีสัตว์ไว้ 15 ชนิด ได้แก่ 1.นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร 2.แรด 3.กระซู่ 4.กูปรี หรือโคไพร 5.ควายป่า หรือมหิงสา 6.ละอง หรือละมั่ง

7.สมัน หรือเนื้อสมัน 8.เลียงผา 9.กวางผา 10.นกแต้วแล้วท้องดำ 11.นกกระเรียน 12.แมวลายหินอ่อน 13.สมเสร็จ 14.เก้งหม้อ โดยชนิดที่ 15 ลำดับสุดท้ายที่ได้มีการขึ้นบัญชีเป็นสัตว์สงวนไว้ คือ“พะยูน” หรือ “หมูน้ำ” ที่ถูกเสนอเป็นสัตว์สงวนในปี 2503

ถ้า “วาฬบรูด้า” ได้รับการขึ้นบัญชี จะเป็น “สัตว์สงวนชนิดที่ 16” ของประเทศไทย จะถือเป็นการทลายกำแพงที่กั้นขวางการขึ้นบัญชี “สัตว์สงวน” เป็นครั้งแรกในรอบ 55 ปี!!!

ข้อมูลของ “ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์” นักวิชาการด้านทะเล และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) หนึ่งในผู้ร่วมผลักดันในเรื่องนี้ ระบุว่า “วาฬบรูด้า”เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล มีความยาวเกิน 15 เมตร น้ำหนักมากกว่า 20 ตัน จึงถือเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่สุดที่อาศัยอยู่เป็นประจำในประเทศไทย ปกติ “วาฬบรูด้า” จะเข้ามาหากินในพื้นที่ชายฝั่ง จ.ชลบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพฯ ทำให้ไทยถือเป็นประเทศเดียวในโลกที่มี “วาฬบรูด้า” เข้ามาหากินใกล้กับเมืองหลวงมากที่สุด

นอกจากนี้ยังเป็นสัตว์ทะเลชนิดเดียวที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อ คือ “สายสมุทร และสมสมุทร” แต่ปัจจุบันมีเพียง 50 ตัว ในอ่าวไทย จึงสมควรต้องอนุรักษ์ไว้

ทั้งนี้ ปริมาณสัตว์ทะเลหายากลดน้อยลงอย่างน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะ “วาฬบรูด้า” เหลือเพียง 50-70 ตัว และในรอบ 4 ปี วาฬตายมากถึง 15 ตัว ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งสิ้น โดยจากการศึกษาจำนวนประชากรวาฬในประเทศไทย ระหว่างปี 2553-2557 พบจำนวนประชากรวาฬบรูด้าในอ่าวไทย 50 ตัว เป็นแม่วาฬบรูด้าที่มีลูก 13 ตัว และพบลูกวาฬเกิดใหม่ 21 ตัว ในแต่ละปีมีลูกเกิดใหม่ 2-5 ตัว

อย่างไรก็ตาม ยังมีการตายของวาฬบรูด้าอยู่ระหว่างปีละ 1-4 ตัว ตายสะสมรวม 14 ตัว ในจำนวนนี้เป็นลูกวาฬบรูด้ามากถึง 3 ตัว อัตราการตายเฉลี่ยที่มีมากกว่า ร้อยละ 5 ต่อปี ทำให้กลุ่มประชากรวาฬบรูด้าในอ่าวไทยกลุ่มนี้อยู่ในภาวะความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

“พฤติกรรมหากินของวาฬชนิดนี้ ปกติชอบจับกลุ่มกันออกหาอาหาร โดยแหล่งอาหารของวาฬบรูด้ายังใช้เป็นตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ของทะเลในบริเวณดังกล่าวได้ด้วย ซึ่งการพบวาฬบรูด้าในอ่าวไทยตอกย้ำว่าทะเลไทยสมบูรณ์
แค่ไหน จึงถึงเวลาที่จะให้วาฬบรูด้าถูกจัดให้เป็นสัตว์สงวนลำดับที่ 16 เพื่อหยุดความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของวาฬบรูด้า สัตว์ประจำถิ่นขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทยชนิดนี้” ธรณ์ กล่าว

จนล่าสุดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ภารกิจผลักดัน “วาฬบรูด้า” เป็น “สัตว์สงวน” ได้ผ่านขั้นตอนที่ 3 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อที่ประชุม “กรมประมง” เห็นควรให้นำเสนอวาฬบรูด้า วาฬโอมูระ ฉลามวาฬ และเต่ามะเฟือง เพื่อเป็นสัตว์สงวน

ขั้นตอนต่อไป คือ ส่งผ่านให้คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพิจารณา จากนั้นนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่ออนุมัติออกเป็นรายชื่อแนบท้ายพระราชกำหนดต่อไป

เท่ากับเหลือ “บันได” อีกเพียง 2 ขั้น “วาฬบรูด้า” และสัตว์ทะเลหายากในกลุ่มเดียวกัน จะขยับขึ้นสู่การเป็น “สัตว์สงวน” ซึ่งนั่นย่อมหมายถึงโอกาสที่มันจะอยู่รอดมีมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม นอกจาก “วาฬบรูด้า” แล้ว ยังมีสัตว์ทะเลหายากกว่า 20 ชนิด ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากระบบนิเวศทางทะเลที่เสื่อมโทรมเช่นกัน ซึ่ง ทช. หน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบไม่ได้นิ่งนอนใจ.....

“ชลธิศ สุรัสวดี” อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า กรมให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งด้านวิชาการและภาคประชาชน ในส่วนของเครือข่ายด้านวิชาการจะมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และฐานข้อมูลทางวิชาการ ด้านแหล่งการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเลหายากแก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมหาวิทยาลัยต่างๆ

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับเครือข่ายภาคประชาชนและท้องถิ่น ด้วยการสร้างความเข้าใจและให้ความรู้การช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากเบื้องต้นอย่างถูกต้อง กรณีพบสัตว์เหล่านี้ให้ประสานมายังหน่วยงานของกรม นั่นจะทำให้สัตว์เหล่านี้มีโอกาส “รอดชีวิต” ได้มากขึ้น

การนำเสนอ “วาฬบรูด้า” วาฬโอมูระ ฉลามวาฬ และเต่ามะเฟือง เป็น “สัตว์สงวน” ถือเป็นการยกระดับความสำคัญของสัตว์เหล่านี้ ซึ่งเป็นสัตว์ที่นักท่องเที่ยวและนักดำน้ำทั่วโลกให้ความสนใจ ถ้าประเทศไทยมีแผนการอนุรักษ์และการจัดการที่ชัดเจน จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในด้านการศึกษาวิจัย การอนุรักษ์ และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมได้


สายชล 21-07-2015 21:28


สำนักข่าวอิศรา
19-07-15

นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย ชี้ยกเลิกอวนรุนสัตว์น้ำทะเลกลับมาถึง 50%

http://www.isranews.org/images/2015/.../2312_copy.jpg

นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย เผยยกเลิกใช้ 'อวนรุน' สัตว์น้ำทะเลกลับมาสมบูรณ์ 50% ขอบคุณรัฐบาลกล้าตัดสินใจ พร้อมตั้งข้อสงสัยไม่ยกเลิกอวนลากเพราะเชื่อมโยงธุรกิจอาหารสัตว์หรือไม่

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2558 ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) มีการประชุมการติดตามความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาตามข้อสังเกตในการตรวจเยี่ยมของคณะสหภาพยุโรป ครั้งที่ 11โดยในการประชุมดังกล่าวมีมติให้ยกเลิกอวนรุนในการทำประมง

นายบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าวกับสำนักข่าวอิศรา หลังศปมผ. มีมติให้ยกเลิกอวนรุนในการใช้เป็นเครื่องมือทำประมง ว่า การที่รัฐบาลกล้าตัดสินใจยกเลิกอวนรุนถือว่าพอใจในระดับหนึ่ง แต่หากจะให้พอใจที่สุดจะต้องยกเลิกอวนลากด้วยต้องทำแบบที่ประเทศอินโดนีเซียทำ พันธุ์สัตว์น้ำทะเลต่างๆจะกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง อย่างไรก็ตามเพียงแค่ยกเลิกอวนรุน โพงพาง เรือปั่นไฟ ก็สามารถช่วยเรียกคืนพันธุ์สัตว์น้ำทะเลได้ถึง 50% แล้ว ส่วนอีก 50% ที่จะต้องทำต่อไปคือการยกเลิกอวนลาก แต่ในการประชุมไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องของอวนลากเลยสักนิด

นายบรรจง กล่าวถึงการเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวนั้นเข้าไปในฐานะผู้ให้ข้อมูลไม่ใช่คณะกรรมการ คนที่เคาะมติที่ประชุมคือพล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ซึ่งยกเลิกอวนรุนให้ ส่วนในเรื่องของอวนลากได้พยายามอธิบายและยกข้อมูลงานวิจัยจากกรมประมงว่า อวนลากทำลายสัตว์น้ำอย่างรุนแรง สัตว์ที่จับมาได้จากอวนลากสามารถนำมาบริโภคได้เพียง 30% ส่วน70% คือนำไปทำอาหารสัตว์

“ดังนั้นจึงตั้งข้อสังเกตว่า ที่ไม่กล้าเคาะอาจจะเป็นเพราะอวนลากเชื่อมโยงกับธุรกิจประเภทอาหารสัตว์ ฉะนั้นหากอยากให้การยกเลิกอวนลากสำเร็จสังคมอาจจะต้องช่วยกันกดดันให้มากกว่านี้”

สำหรับปริมาณอวนรุนกับอวนลากในขณะนี้มีอวนประเภทไหนมากกว่ากัน นายบรรจง กล่าวว่า ถ้าดูทั้งหมดไม่นับเฉพาะลงทะเบียนอวนรุนจะมากกว่ามีอยู่เป็นหมื่นลำ ส่วนอวนลากมีน้อยกว่าก็จริง แต่ถุงอวนมีขนาดที่แน่นมากแม้แต่นิ้วก้อยยังออกไม่ได้หากติดอยู่ในอวนลาก ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่อนาคตจะต้องผลักดันให้มีการยกเลิกเนื่องจากอวนลากเป็นสาเหตุให้ชุมชนประมงพื้นบ้านล่มสลาย แต่ก็ขอบคุณที่รัฐบาลกล้าตัดสินใจสำหรับการยกเลิกอวนรุน

http://www.isranews.org/images/2015/...07/seathai.jpg

ด้านแหล่งข่าวจากกรมประมง ให้ข้อมูลว่า สำหรับการยกเลิกเครื่องมือประเภทอวนรุนนั้น ทางพล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้พยายามเร่งเพื่อที่จะประกาศใช้อย่างเร็วที่สุด ส่วนกรอบกำหนดระยะเวลาว่าจะมีการประกาศใช้เมื่อไหร่นั้นยังไม่สามารถให้คำตอบได้ แต่พยายามจะทำให้เร็วที่สุด ส่วนเครื่องมือประเภทอวนลากสำหรับการประชุมเมื่อวันที่ 16 ก.ค.คือไม่มีการนำเข้าประชุม แต่ก็มีการพูดคุยกันอยู่

เมื่อถามว่าประชุมในครั้งต่อไปจะมีการนำเรื่องอวนลากเข้าที่ประชุมหรือไม่ แหล่งข่าวจากกรมประมง กล่าวว่า ไม่ทราบขึ้นอยู่กับประธานศปมผ.


สายชล 21-07-2015 21:29


GREENPEACE
19-07-15


การให้อาหารปลาในแนวปะการัง อย่าคิดว่าไม่มีผลกระทบ!!

http://www.greenpeace.org/seasia/th/...229_191472.jpg

เมื่อวันหยุดยาวมาถึง จุดมุ่งหมายของคนเมืองหรือมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ น่าจะเป็นการนอนชิลริมทะเลหรือดำน้ำเพื่อคลายร้อนและชื่นชมแนวปะการังและฝูงปลาที่ทะเลสวยๆสักแห่งหนึ่ง

กระแสข่าวที่มีการถกเถียงกันเรื่องการให้อาหารปลาในแนวปะการังเพื่อหลอกล่อให้เจ้าฝูงปลาสีสวยในแนวปะการังมารวมฝูงเพื่อถ่ายรูปด้วยความภาคภูมิใจถึงความสวยงามของทะเลไทย แต่เขาเหล่านั้นกลับทำร้ายทะเลและระบบนิเวศโดยไม่รู้ตัว เรามาดูกันว่าพฤติกรรมเช่นนี้ทำร้ายหรือสร้างผลกระทบอะไรบ้าง

1. สัญชาติญาณในการระวังภัยตามธรรมชาติหายไป ทำให้เสี่ยงต่อการถูกทำร้ายจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ เช่นการว่ายน้ำเข้าหาเรืออาจจะมีความเสี่ยงถูกใบพัดเรือบาดได้

2. พฤติกรรมสัตว์น้ำเปลี่ยนไปเมื่อมีการให้อาหาร พฤติกรรมการกินของปลาจึงเปลี่ยนไป เนื่องจากเมื่อมันกินขนมปังหรืออาหารอื่นที่นักท่องเที่ยวให้จนอิ่ม มันจึงไม่กินอาหารตามธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดการขาดสารอาหาร สุขภาพสัตว์น้ำอ่อนแอและตายในที่สุด

3. ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อมีการให้อาหารในบริเวณนั้นๆปลาจะมารวมฝูง โดยเฉพาะ เจ้าสลิดหินเมื่อมันรวมฝูงใหญ่จะมีนิสัยก้าวร้าวและมันจะมาไล่ปลาอื่น ๆ ออกจากบริเวณนั้น ในที่สุดปลาที่มีนิสัยสุภาพเรียบร้อย เช่น ปลาผีเสื้อ ปลาสินสมุทร ก็จะลดจำนวนลง และต้องย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น ทำให้ระบบนิเวศบริเวณนั้นเสียความสมดุล

4. แนวปะการังเสียหาย สิ่งปฏิกูลที่เกิดจากการย่อยสลายของเศษอาหารและการขับถ่ายของปลาส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตของสาหร่ายบางชนิดอย่างรวดเร็วและไปปกคลุมบริเวณปะการังส่งผลให้แนวปะการังเสื่อมโทรมและตายในที่สุด

5. เกิดการสะสมสารพิษในห่วงโซ่อาหาร ขนมปังที่นำมาใช้เป็นอาหารปลาโดยส่วนใหญ่จะเป็นขนมปังที่หมดอายุซึ่งอาจจะมีเชื้อราและสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งมีความเป็นพิษสูงปนเปื้อนอยู่ เมื่อปลากินเข้าไปก็จะไปสะสมและเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารในที่สุด เช่นเดียวกับการให้อาหารปลารอบๆเรือ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีคราบน้ำมันบริเวณผิวน้ำโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีเรือท่องเที่ยวจอดรวมกัน คราบน้ำมันเหล่านี้จะซึมเข้าสู่อาหารที่ลอยอยู่ที่ผิวน้ำ เมื่อปลาตัวเล็กกินอาหารเหล่านี้เข้าไปสารพิษในน้ำมันก็จะสะสมในตัวปลาและส่งต่อสู่สายอาหารต่อกันไปเป็นทอดๆและผู้บริโภคสูงสุดในห่วงโซ่อาหารคือมนุษย์นั่นเอง



ให้อาหารปลาผิดกฎหมาย!

กรมอุทยานแห่งชาติทางทะเลได้มีประกาศ ห้ามให้อาหารปลาในเขตอุทยานฯ อย่างเด็ดขาด หากฝ่าฝืนถือว่ามีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2555 โดยมีโทษจับและปรับ 500-10,000 บาท ส่วนการให้อาหารปลานอกเขตอุทยานฯ ขณะนี้ยังไม่ผิด แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ก็จะผิดแน่นอน ทางที่ดีก็คือไม่ควรให้อาหารปลาไม่ว่าจะกรณีใดๆทั้งสิ้น


อ้างอิง: Feeding or Harassing Marine Mammals in the Wild is Illegal and Harmful to the Animalslink: http://www.nmfs.noaa.gov/pr/dontfeedorharass.htm


สายชล 21-07-2015 21:31


คม ชัด ลึก
21-07-15


กวาดล้างเครื่องมือประมงทำลายสัตว์น้ำ เสียงสะท้อนบวก-ลบ ต่อนโยบายรัฐ ............................ โดย ทีมข่าวภูมิภาค

http://www.komchadluek.net/media/img...fejbhi66g5.jpg

ผลจากการประชุมติดตามความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหา ตามข้อสังเกตในการตรวจเยี่ยมของคณะสหภาพยุโรป ของศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ที่มี พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะผู้บัญชาการ ผบ.ศปมผ. เป็นประธาน ณ ห้องประชุมกองทัพเรือ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ตัวแทนจากกองทัพเรือ, จุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง, ธงชัย พงษ์วิชัย ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานเรือ กรมเจ้าท่า รวมทั้งผู้แทนจากสมาคมประมงต่างๆ รวมทั้งตัวแทนกลุ่มประมงพื้นบ้าน

ในมติที่ออกมารวม 5 เรื่อง น่าสนใจว่า มีการพาดพิงไปถึงเรื่องการควบคุมเครื่องมือการทำประมงประกอบด้วย ให้ส่วนกฎหมายและจัดระเบียบเรือประมง ในสังกัด ศปมผ. ออกประกาศยกเลิกเครื่องมือทำการประมงที่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำได้แก่ อวนรุน (ยกเว้นอวนรุนเคย), ไอ้โง่, อวนล้อมปลากระตักปั่นไฟ และโพงพาง, ให้กรมประมงกำหนดจำนวน และขนาดเครื่องมือทำการประมง ที่ใช้กับเรือประมงแต่ละประเภท โดยรายงานให้ที่ประชุมร่วมพิจารณาในการกระชุมครั้งต่อไป ให้สำนักงานเลขานุการ ศปมผ. ร่วมกับกรมประมง และกรมเจ้าท่า ดำเนินการกำหนดพื้นที่ทำการประมงของเรือประมงพื้นบ้าน และประมงพาณิชย์ ให้มีความชัดเจน และรายงานให้ที่ประชุมร่วมพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป

ทั้งนี้ โพงพาง, ลอบไอ้โง่ หรือลอบรถไฟ, อวนล้อมปลากะตัก และอวนรุน เครื่องมือเหล่านี้ ถือเป็นอุปกรณ์ประมงที่มีส่วนต่อการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ชายฝั่งอย่างรุนแรง ส่งผลให้สัตว์น้ำชายฝั่งลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากลักษณะของการจับสัตว์น้ำ คือการจับเอาตัวอ่อนหรือตัวเจริญพันธุ์ไปด้วย ทั้งนี้ปัญหาการทำลายล้างทรัพยากรทางธรรมชาติ โดยไร้การควบคุม จากการลักลอบใช้เครื่ิองมือทำประมง ที่่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นอีกประเด็นที่รัฐบาลหันมาให้ความสำคัญ ต่อการที่จะดำเนินการอย่างจริงจัง ดังนั้นการยกเลิกเครื่องมือทำประมงข้างต้น หากบังคับใช้ได้จริง จึงหมายถึงการที่จะฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ เอื้ิอต่อการทำประมงทุกส่วน ทั้งประมงพื้นบ้าน และประมงพาณิชย์ เป็นการลดความขัดแย้งระหว่างประมง 2 ฝ่ายที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว "อำนาจ ศิริเพชร นักวิชาการประมง สำนักงานประมง นครศรีธรรมราช แสดงความคิดเห็นว่า หากยุติเครื่องมือทำลายล้างเหล่านี้ จะมีส่วนต่อการสร้างงานสร้างรายได้ให้คนไทยในภาคประมงพื้นบ้านได้มากกว่า 2 แสนคน กระจายไปทั้ง 22 จังหวัดชายฝั่ง เป็นการกลับมาสร้างความมั่นคงให้แก่ภาคการประมงได้ทันที และถ้ายกเลิกอวนลากได้ ปะการังเทียมที่ทำมาแล้ว 37 ปี จะกลับมาทำหน้าที่ฟื้นฟูทรัพยากรให้แหล่งประมงชายฝั่งทันที ทุกวันนี้ อวนลากและปั่นไฟล่อปลาออกมาจากปะการังเทียมแล้วล้อมจับ มีส่วนต่อการทำลายพันธุ์สัตว์น้ำแบบล้างผลาญ

ขณะที่ สุกิจ รัตนวินิจกุล ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ที่ผ่านมาเครื่องมือทำลายล้างที่เป็นปัญหาของนครศรีธรรมราชมากที่สุดคือ “ไอ้โง่” ที่ระบาดอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในแถบอ่าวปากพนัง และอ่าวท่าซัก สำหรับ “ไอ้โง่” หรือ “คอนโดดักปลา” เป็นอุปกรณ์ดักปลา ใช้วางดักปลา มีลักษณะเป็นโครงเหล็ก หุ้มด้วยตาข่ายไนลอนคล้ายๆ ลอบดักปลา แต่เอาหลายๆ อันมาวางเรียงกลับหัวกลับหาง ความยาวของ “ไอ้โง่” หรือ “คอนโดดักปลา” อยู่ที่ขนาดและจำนวนลอบที่ใช้ทำ โดย “ไอ้โง่” จะใช้วางตามร่องน้ำ สามารถดักสัตว์น้ำได้ทุกชนิด ที่ผ่านมาการใช้ “ไอ้โง่”ได้รับความนิยม เพราะลงทุนและใช้แรงงานน้อย เพียงเอาไปวางไว้ตามร่องน้ำ ถึงเวลาก็ไปเก็บกู้ เช่นเดียวกับโพงพาง ที่มีปัญหาอยู่ในร่องน้ำที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ก็จะนำเรือออกไปรื้อถอน แต่ชาวประมงก็จะกลับมาติดตั้งใหม่ แต่หลังจากนี้ไป หากมีบทลงโทษที่ชัดเจน ก็น่าจะควบคุมได้

สุพร โต๊ะเส็น นายกสมาคมเครือข่ายประมงพื้นบ้านท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราข กล่าวว่า เห็นด้วยกับการประกาศควบคุมเครื่องมือประมงทำลายล้าง ประมงพื้นบ้าน พร้อมที่จะส่งเสริมแนวทางนี้ของกรมประมงอย่าง "ผมอยากให้กลุ่มประมงพาณิชย์เปิดใจ ยอมรับว่า ที่ผ่านมาการจับสัตว์น้ำด้วยเครื่ิองมือเหล่านี้ สัตว์น้ำที่ได้ไปนั้นล้วนเป็นสัตว์วัยอ่อน วัยเจริญพันธุ์ ทั้งที่ควรจะอนุรักษ์และจับเมื่อถึงเวลาที่แท้จริง ที่ผ่านมาภาครัฐมีความอ่อนแอในเรื่องเวลาและกำลังคน ขณะที่กฎหมายล้าสมัยไม่ทันกับวิธีการประมง การพัฒนาเครื่องมือแบบทำลายล้างจึงเกิดขึ้น การที่รัฐจะมาบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง จึงเป็นความหวังว่าจะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติกลับมาอุดมสมบูรณ์เกิดการกระจายทรัพยากรในรูปของการแบ่งปัน" สุพร กล่าว

ขณะเดียวกันในส่วนของประมงพาณิชย์ กลับมองต่างมุมกันอย่างสิ้นเชิง

พงศธร ชัยวัฒน์ นายกสมาคมประมงสมุทรสงคราม กล่าวว่า การยกเลิกเครื่องมือทำประมงประเภทอวนรุน อวนล้อมปลากะตักปั่นไฟ ไอ้โง่ และโพงพาง แนวทางนี้ ไม่เห็นด้วยเพราะในทางปฏิบัติแล้ว มีวิธีบริหารจัดการที่ชาวประมงไม่ต้องเดือดร้อนได้ เช่นการขยายขนาดตาอวน การจำกัดพื้นที่ทำการประมง หรือจำกัดโควตาการจับปลา โดยเฉพาะปลากะตัก เพราะต่างประเทศก็จับปลากะตักเหมือนกัน ทั้งนี้ เครื่องมือทำประมง 4 ประเภท ประกอบด้วยอวนลากคู่ อวนลากเดี่ยว อวนรุน และอวนล้อมปลากะตักปั่นไฟ ควรให้อยู่เหมือนเดิมเพียงแต่ต้องมีการบริหารจัดการว่าเครื่องมือประมงทั้ง 4 ประเภทจะจัดการอย่างไร เช่นอวนปลากะตัก กำหนดให้ว่าทั่วประเทศสามารถจับได้เท่าไรต่อปี เมื่อจับได้ครบก็หยุดจับ การไม่ให้จับปลากะตักคงทำไม่ได้เพราะอย่างไรคนไทยก็ยังบริโภคปลากะตักอยู่ ส่วนเรืออวนรุนควรไปบริหารจัดการตาอวน ระยะเวลาการทำประมง หรือพื้นที่การทำประมง

"หากยกเลิกชาวประมงคงเดือดร้อน และอุตสาหกรรมต่อเนื่องประมงตั้งหลักไม่ทัน ต่างประเทศไม่ได้หักดิบอย่างนี้ เขาเอาวิธีบริหารจัดการมาแก้ปัญหา เพื่อให้ทรัพยากรคงอยู่ คนคงอยู่ และวิถีชีวิตคงอยู่ การยกเลิกเลย ภาครัฐมีแผนรองรับแก้ไขความเดือดร้อนให้เขาหรือยัง ที่สำคัญกลุ่มประเทศยุโรปไม่ได้บอกให้ยกเลิกเครื่องมือประมง แต่ให้บริหารจัดการทรัพยากรให้ดี” นายกสมาคมประมงสมุทรสงคราม กล่าว

บุญยืน ศิริธรรม ที่ปรึกษาเครือข่ายอนุรักษ์พิทักษ์ดอนหอยหลอด ต.บางแก้ว จ.สมุทรสงคราม กล่าวว่า คำถามที่ต้องการคำตอบคือ เมื่อมีการยกเลิกเครื่องมือทำการประมงแล้วจะเยียวยาชาวประมงที่ได้รับผลกระทบอย่างไร "อวนรุนใน จ.สมุทรสงคราม ส่วนใหญ่ถูกกฎหมาย มีใบอนุญาตถูกต้อง มีอาชญาบัตร เท่าที่ฟังมาจะมีการยกเลิกกลุ่มที่ผิดกฎหมายก่อน แต่ต้องมาดูกลุ่มที่ถูกกฎหมายว่ายกเลิกแล้วจะเยียวยาอย่างไร ที่คิดว่าจะเลิกเครื่องมือประมง คิดอย่างไรก็ได้เพราะนั่งในห้องแอร์ ในฐานะนักอนุรักษ์คิดว่าต้องให้คนอยู่ได้ และปลาอยู่ได้” บุญยืน กล่าว

บุญยง นิ่วบุตร นายกสมาคมชาวประมง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี กล่าวว่า การเลิกเครื่องมือทำประมงแบบล้างผลาญเป็นการดี เพราะทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างรุนแรง “การยกเลิกเครื่องมือประมงบางประเภทมีทั้งผลดี และผลเสีย ซึ่งหากเป็นเครื่องมือล้างผลาญทรัพยากรสัตว์น้ำก็ต้องเลิก แต่ภาครัฐต้องมาช่วยเหลือเยียวยาแก้ปัญหาความเดือดร้อนผู้ได้รับผลกระทบ เพราะชาวประมงบางคนไม่ใช่คนรวย ทำประมงแล้วเป็นหนี้ บางรายเป็นหนี้เยอะมาก เพราะการทำประมงลงทุนสูง ทั้งเรือประมง เครื่องมือทำประมง ค่าน้ำมัน ค่าแรงงาน ต้องใช้เงินทุนทั้งนั้น" บุญยง กล่าว

สุชาติ เสือนาค สมาชิกเครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบน จ.เพชรบุรี กล่าวว่า เห็นด้วยที่มีการยกเลิกเครื่องมือประมงล้างผลาญ ทั้งไอ้โง่ อวนล้อมปลากะตักปั่นไฟ และอวนรุน โดยไอ้โง่เป็นเครื่องมือล้างผลาญเพราะจับสัตว์น้ำหมดไม่เว้นสัตว์น้ำวัยอ่อน เรือปลากะตักปั่นไฟเมื่อไม่ได้ปลากะตัก ก็จับลูกปลาทูวัยอ่อนขนาดประมาณ 1 นิ้ว หรือ 1 นิ้วเศษๆ มาแทน เอาขึ้นจากทะเลมาครั้งละ 1-3 ตัน เป็นการล้างผลาญเผ่าพันธุ์ปลาทู ส่วนอวนรุน ก็จับปลาทุกชนิดทั้งปลาหน้าดิน ปลากลางน้ำ และปลาผิวน้ำ

"ที่่ผมไม่อยากให้ยกเลิกคือโพงพาง เพราะเป็นเครื่องมือทำการประมงอยู่กับที่ ไม่ได้เคลื่อนที่ไปหาสัตว์น้ำ เป็นภูมิปัญญาของคนโบราณ อวนลากก็เลียนแบบโพงพาง แต่อวนลาก ลากออกไปหาปลาจับสัตว์น้ำได้เยอะ ส่วนโพงพางจับสัตว์น้ำได้น้อย ไม่ใช่อุปกรณ์การประมงที่ล้างผลาญ รัฐต้องรอบคอบ" สุชาติ กล่าว

นี่เป็นเสียงสะท้อนต่อแนวทางที่รัฐจะเข้าบริหารจัดการภาคประมง


สายชล 21-07-2015 21:34


ประชาชาติธุรกิจ
21-07-15


"ส่วย" อีกหนึ่งต้นเหตุ ปลาอ่าวไทยลดวูบ

http://i1198.photobucket.com/albums/...psbj4guzo9.jpg

นายพงษ์ธร ชัยวัฒน์ รองประธานกรรมการบริหารสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวถึงประเด็นภาครัฐจัดระเบียบไม่ให้มีการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ว่า เรือประมงกว่า 40% ต้องหยุดหาปลา แม้ว่าศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) จะผ่อนผันกฎระเบียบลดลงจาก 15 ข้อเหลือ 8 ข้อ แต่ปลาหน้าดินหายไปกว่า 40% ส่งผลกระทบต่อโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล ตลาดปลาแม่กลองที่เปิดอีกครั้งเมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา รถบรรทุกขนาดใหญ่เคยวิ่งเข้าตลาดวันละ 40-50 ตู้ เหลือเพียง 2-3 ตู้ต่อวัน รถบรรทุกขนาดเล็กที่วิ่งเข้าวันละ 100 กว่าตู้ เหลือเพียง 10 ตู้ ทำให้แพปลาต้องคัดคนงานออก ขณะที่เรือประมงต้องวิ่งเคลียร์หนี้สินทั้งในและนอกระบบ

"ที่ระนองเรือที่มีอาชญาบัตรเครื่องมือจับปลาถูกต้อง มีเรืออวนลากเพียง 2 คู่ จากปกติมีมากกว่า 100 ลำ เมื่อเป็นเช่นนี้ องค์การสะพานปลา (อสป.) จะรับมือกับผลกระทบอย่างไร เพราะรายได้จะลดลงจากที่เคยได้ค่าธรรมเนียมเรือประมงเทียบท่า 1% ของมูลค่าปลา การขายน้ำแข็ง ค่าจอดรถ"

ปลาในทะเลอ่าวไทยขณะนี้ การปิดอ่าวเพื่อให้ปลาวางไข่เริ่มล้มเหลว ทะเลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร มีระบบส่วย เรือประมงที่ต้องการละเมิดกฎหมายจับปลา 30-50 ลำ จ่ายค่าส่วยลำละ 3-5 แสนบาท กำไรยังเหลือลำละเป็นล้านบาท มาปีนี้ปิดอ่าวไทยอีก มีเรือจ่ายส่วย 100 กว่าลำเข้าไปจับปลาในเขตห้าม โดยเก็บลำละ 5 แสนบาท ฉะนั้นการปิดอ่าวตัว ก.ในอ่าวไทยจะล้มเหลวอีก เพราะวงจรปลาถูกตัดไปตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชุมพร

ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย กล่าวถึงแผนการนำเข้าปลาจากต่างประเทศมาชดเชยปลาที่ขาดแคลนในไทยว่า คงต้องรออีกประมาณ 1 เดือนให้คณะรัฐมนตรีอินโดนีเซียปรับ ครม.ก่อน การเจรจาให้อินโดฯเปิดน่านน้ำจับปลาน่าจะสะดวกขึ้น เท่าที่ดูจากเงื่อนไขให้เรือประมงต่างชาติต้องลงทุนหรือร่วมทุนแปรรูปสัตว์ น้ำเบื้องต้น ก็คงจะมีการลงหุ้นกับคู่ค้าในอินโดฯต่อไป เช่น การร่วมหุ้นในโรงงานทำเนื้อปลาบดหรือซูริมิเพื่อส่งออกมาไทยอีกทอดหนึ่ง

เรือประมงนอกน่านน้ำของไทย จับปลาที่อินโดนีเซียมากที่สุด แต่หยุดหาปลามา 8 เดือนแล้ว เนื่องจากทางรัฐมนตรีกระทรวงการประมง ต้องการตรวจสอบความถูกต้องของเรือว่าทำประมงถูกกฎหมายหรือไม่ ต้องยอมรับว่า เขตอินโดฯเหนือที่อยู่ใกล้ไทย ตั๋วปลอมหรือใบอนุญาตจับปลาไม่ถูกกฎหมายมีมาก ส่วนใหญ่เป็นเรือประมงแช่น้ำแข็งจากปัตตานี สงขลา และนครศรีธรรมราช จับปลาได้ประมาณ 3-4 แสนตัน/ปี เมื่ออินโดฯจะตรวจสอบ เรือเหล่านี้จะวิ่งกลับไทยหมด เหลือแต่เรือประมงที่ถูกต้องให้อินโดฯตรวจสอบ

ในส่วนการประมงเขตอินโดฯใต้ ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสมาคม จับปลาโดยถูกต้องตามกฎหมาย จับได้ปีละประมาณ 3-4 แสนตัน


สายชล 21-07-2015 21:35


ประชาชาติธุรกิจ
21-07-15


จัดระเบียบ "ประมงถูกกม." อวนลาก-รุน ไต๋ต่างด้าวหมดสิทธิ์ลุ้น

http://i1198.photobucket.com/albums/...psvff56hly.jpg

ใกล้เข้ามาทุกขณะ เพราะปลายเดือนนี้รัฐขีดเส้นตายให้เรือประมงที่ล่องหน ต้องมารายงานตัว มิเช่นนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ไม่ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุน อาทิ การได้รับใบอาชญาบัตรใหม่จับปลาประเภทต่าง ๆ ภายหลังจากทราบจำนวนเรือประมงที่ชัดเจนในสิ้นเดือนนี้แล้วนำมาคำนวณกับจำนวน ทรัพยากรสัตว์น้ำ ทั้งประเภทผิวน้ำ หน้าดิน และปลากะตัก หากทรัพยากรมีมากพอ ก็อาจจะออกใบอาชญาบัตรให้ หากมีน้อยแต่เรือมีมาก

รัฐจะช่วยเยียวยา หาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพให้ใหม่หรือปรับเปลี่ยนเครื่อง มือทำประมงใหม่ ซึ่งตัวเลขของกรมเจ้าท่าล่าสุดในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา มีเรือประมงทุกประเภท 42,051 ลำ มารายงานตัวต่อภาครัฐประมาณ 2.8 หมื่นลำ ยังเหลือ 1 หมื่นกว่าลำไม่มารายงานตัว

"เราต้องการข้อมูลที่ชัดเจน รถโมบายเคลื่อนที่ของกรมประมงและกรมเจ้าท่าจึงได้ขยายเวลารับจดทะเบียนเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ อาชญาบัตร ที่เดียวเบ็ดเสร็จใน 22 จังหวัดติดชายทะเลจากวันที่ 15 ก.ค.นี้ ไปสิ้นสุดในปลายเดือน ก.ค.นี้แทน" นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2558 ได้พิจารณาในกรอบการดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) โดยมอบหมายให้กรมประมง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการทำประมง ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องไม่ผิดระเบียบของ IUU และไม่กระทบกับการทำประมงพื้นบ้าน

ส่วนการดำเนินมาตรการคุมเข้มทาง กฎหมายสำหรับการทำประมงของเรือประเภทต่าง ๆ ที่เสนอ ครม. ได้แก่ 1.ทะเบียนเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ ใบอนุญาตทำการประมง (อาชญาบัตร) และสมุดบันทึกการทำประมง (Fishing Logbook) ไม่สามารถผ่อนผันได้

แต่ให้ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) กรมประมง และกรมเจ้าท่า ออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ร่วมกันรับจดทะเบียนเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ อาชญาบัตร ที่เดียวเบ็ดเสร็จในระหว่างวันที่ 1-15 ก.ค. 2558 ก็ขยายเวลาออกไปถึงปลายเดือน ก.ค.นี้

2.บุคลากรในเรือ ทั้งไต๋เรือ นายท้ายเรือ ช่างเครื่อง จะต้องมีบัตรประชาชน และนายท้ายเรือและนายช่างเครื่องจะต้องมีใบประกาศ อีกทั้งในเรือยังต้องมีทะเบียนลูกจ้าง ใบอนุญาตทำงาน สัญญาจ้างของแรงงานบนเรือ ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายบังคับไว้ อย่างไรก็ตาม ไต๋เรือและนายท้ายเรือ จะต้องเป็นคนไทยเท่านั้น ตาม พ.ร.บ.สิทธิการทำประมงในเขตน่านน้ำไทย พ.ศ. 2482 และเกี่ยวข้องกับความมั่นคง ส่วนช่างเครื่อง ให้ผ่อนผันเป็นคนต่างด้าวได้ แต่ต้องไปแก้ไขกฎระเบียบแรงงานตาม MOU ที่กำหนดไว้ว่าคนต่างด้าวต้องเป็นกรรมกรหรือแม่บ้านเท่านั้น นอกจากนี้ ในเรือประมงพื้นบ้าน ขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ผ่อนผันให้นายท้ายเรือและนายช่างเครื่องเป็นคนเดียวกันได้ แต่ต้องเป็นคนไทยเท่านั้น

3.มอบหมายกรมประมงหาแนวทางในการออกอาชญาบัตรแบบใบเดียวหลายเครื่องมือ และลดค่าอากรอาชญาบัตรให้เรือประมงพื้นบ้าน อีกทั้งให้เร่งดำเนินการจัดฝึกอบรมความรู้เรื่องการเขียน Fishing Logbook ให้กับผู้ประกอบการเรือประมงขนาด 30 ตันกรอส ตลอดจนหามาตรการบรรเทาผลกระทบที่เหมาะสมด้วย ทั้งหมด ครม.มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอกรอบการดำเนินงานมา

สำหรับ สถานการณ์ทางการประมงล่าสุดนั้น นายจุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์โดยทั่วไปเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว เรือประมงออกทำการประมงมากขึ้น ยกเว้นในพื้นที่ที่ทะเลมีคลื่นลมแรงจัด เรือขนาดเล็กหยุดออกทำการประมง โดยเฉพาะในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน เช่น สตูล ตรัง กระบี่ เป็นต้น ในพื้นที่อื่น ๆ เรือประมงออกทำการประมงตามปกติ ส่วนการแจ้งเข้าออกเรือประมง ณ ศูนย์ PIPO 28 แห่ง พบว่าเรือประมงขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไปมีการแจ้งเข้าออกมากขึ้น เรือประมงที่หยุดทำการประมงมีจำนวนลดลง ส่วนใหญ่เป็นเรือประมงที่ยังไม่มีใบอนุญาตทำการประมงหรือใบอนุญาตอื่นยังไม่ ครบถ้วน โดยพบว่าส่วนมากเป็นเรือที่ใช้เครื่องมืออวนลาก อวนรุน และเครื่องมือทำการประมงปลากะตัก



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:16

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger