SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2563 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5336)

สายน้ำ 07-11-2020 02:59

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2563
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศกัมพูชา ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็น บริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาว กับมีฝนบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง

อนึ่ง พายุโซนร้อน "อัศนี" (พายุระดับ 3) บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะไต้หวัน มีแนวโน้มที่จะอ่อนกำลังลง และไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 7 ? 8 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ประกอบกับพายุ "โคนี" ได้อ่อนกำลังลงแล้วเคลื่อนขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามตอนกลางในวันที่ 6 พ.ย. 63 ทำให้บริเวณประเทศตอนบนมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ และมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณช่องแคบมะละกา

ส่วนในช่วงวันที่ 9 ? 12 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีอุณภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นและมีลมแรง ในขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบนและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง สำหรับพายุโซนร้อน "อัสนี" (พายุระดับ 3) บริเวณตอนบนของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะอ่อนกำลังลง ในช่วงวันที่ 6-7 พ.ย. 63 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ส่วนในช่วงวันที่ 10-11 พ.ย. 63 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนตัวผ่านบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนไว้ด้วย และประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ในช่วงวันที่ 6-7 พ.ย. 63 ขอให้เกษตรกรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย



https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds

สายน้ำ 07-11-2020 03:23

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


กลุ่มประเทศ 4 ชาติในอเมริกาใต้ร่วมต้านประมงเถื่อน

https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds

กลุ่มประเทศ 4 ชาติในอเมริกาใต้ทั้งชิลี โคลอมเบีย เอกวาดอร์และเปรู ต่างออกแถลงการณ์ร่วมกันเมื่อวันที่ 4 พ.ย. ด้วยการงัดมาตรการข่มขู่เพื่อปกป้อง การไม่สนับสนุนและร่วมกันเผชิญหน้ากับการลอบหาปลาที่ผิดกฎหมายใกล้เขตเศรษฐกิจพิเศษในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่แม้ไม่ได้ระบุประเทศชัดเจนว่าเป็นจีน แต่ทั้งกรีนพีซและโอเชียนา กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมย้ำเตือนหลายครั้งว่าเรือหาปลาลำขนาดใหญ่ของจีนเข้าไปยังพื้นที่น่านน้ำมากขึ้น ซึ่งทั้ง 4 ประเทศก็จะร่วมส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลตามเวลาจริงเพื่อเน้นให้เห็นว่ามีการจับปลาเถื่อนนอกชายฝั่งของประเทศ

ทั้งนี้ เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ทางเอกวาดอร์ก็แจ้งเรื่องร้องเรียนไปยังรัฐบาลจีนเกี่ยวกับเรือลากอวน 300 ลำนอกชายฝั่งกาลาปากอส และมีครึ่งหนึ่งที่ปิดระบบสัญญาณการติดตามเพื่อไม่ให้รู้จุดที่ตั้ง ซึ่งเมื่อต้นเดือน ส.ค. รัฐบาลจีนก็แบนเรือเดินสมุทรที่จะเข้าไปจับปลาใกล้เกาะกาลาปากอสนับแต่เดือน ก.ย.ถึงเดือน พ.ย.นี้ ทำให้เรือหาปลาของจีนหันไปมุ่งหน้าลงทางใต้ผ่านน่านน้ำสากลเพื่อจับปลาใกล้เขตเศรษฐกิจพิเศษของเปรูและชิลีแทน.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1970490


สายน้ำ 07-11-2020 03:27

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


สลดพบซากโลมา ไร้หัว ถูกสลักชื่อที่ตัว สเปนฮึ่มลุยสอบ-ลั่นไม่ปล่อยคนผิด!

https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds

สลดพบซากโลมา - วันที่ 6 พ.ย. เดอะซัน รายงานว่า ตำรวจสเปนเปิดการสอบสวนหลังพบซาก โลมา หลายตัวบนชายหาดอัลเมรีอา ในแคว้นอันดาลูซีอา ทางตอนใต้ของ ประเทศสเปน ถูกของมีคมฟันเป็นแผล บางส่วนโดนตัดหัว และอย่างน้อย 1 ตัวมีรอยมีดกรีดเป็นชื่อ "ฮวน" (Juan)

ขณะที่ทางการท้องถิ่นระบุจากผลตรวจชันสูตรซากโลมาในเบื้องต้นว่ารอยตัดและรอยกรีดที่พบไม่ได้เกิดจากบาดแผลทางธรรมชาติ รวมทั้งไม่ใช่อุบัติเหตุจากการโดนใบพัดเรือ หรือหินแหลมคมบาด แต่เป็นฝีมือของมนุษย์อย่างแน่นอน

https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds

กรณีดังกล่าวเปิดเผยโดยอีควิแนก องค์กรพิทักษ์สัตว์ของสเปน หลังจากเจ้าหน้าที่อาสาสมัครพบโลมา 1 ตัวนอนเกยตื้นบริเวณบนชายหาดคาลา พรินซิเป ในเขตซานโฆเซ เมืองนิฆาร์

แต่เมื่อเข้าไปหวังจะช่วยเหลือให้กลับลงทะเล ก็ต้องช็อกหนักกับภาพที่เห็น เพราะส่วนหัวของโลมาถูกหั่นจนขาดออกจากตัว หลังจากตรวจสอบเพิ่มเติมก็เจอซากโลมาอีกหลายตัวโดนตัดหัว และพบส่วนหัวของโลมาที่ถูกตัดและเริ่มกลายสภาพเน่าเปื่อย

ทั้งนี้ ทางการท้องถิ่นแคว้นอันดาลูซีอา กองกำลังป้องกันพลเรือนเมืองอัลเมรีอา หน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสเปน (เซโพรนา) กองกำลังทางทะเล องค์กรอีควิแนก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แถลงย้ำว่าไม่ได้นิ่งนอนใจกับกรณีที่เกิดขึ้น และจะเร่งสอบสวนอย่างถี่ถ้วน รวมถึงดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องและอยู่เบื้องหลังการกระทำอันป่าเถื่อน


https://www.khaosod.co.th/around-the...s/news_5266438


สายน้ำ 07-11-2020 03:29

ขอบคุณข่าวจาก บ้านเมือง


นักกินหอยน้ำจืดฝาเดียวระวัง! พบปลิงสกุลใหม่ครั้งแรกในไทยเกาะกินเลือด

ทีมนักวิจัย ม.เกษตรศาสตร์ ค้นพบปลิงสกุลใหม่ครั้งแรกในประเทศไทย เกาะอยู่กับหอยฝาเดียวน้ำจืด ในบ่อน้ำภายใน ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน

https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า Batracobdelloides bangkhenensis คณะผู้วิจัย นางสาวกฤติยา เชียงกุล นิสิตปริญญาเอก, ดร.ปรเมศร์ ตรีวลัยรัตน์ และ รศ.ดร.วัชริยา ภูรีวิโรจน์กุล ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Batracobdelloides bangkhenensis มีชื่อสามัญว่า "Bangkhen snail-eating leech" ชื่อไทย "ปลิงกินหอยบางเขน" เป็นปลิงกินหอยชนิดใหม่ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย พบเกาะอยู่กับหอยฝาเดียวน้ำจืดหลายชนิด ได้แก่ Bithynia siamensis siamensis, Indoplanorbis exustus, Radix rubiginosa, Physella acuta และ Pomacea canaliculata โดยปลิงจะดูดกินของเหลวจากตัวหอย ใช้เปลือกหอยเป็นที่พักพิงในช่วงที่ดูแลตัวอ่อน โดยในภาพจะเห็นตัวอ่อนเกาะอยู่บริเวณด้านท้องของปลิง ถูกค้นพบครั้งแรกในบ่อน้ำ สวน 100 ปี หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ปลิงกินหอยบางเขนนี้ มีขนาดเล็กยาวประมาณ 14 มิลลิเมตร ตัวใส มีเม็ดสีสีเขียวเข้มกระจายทางด้านหลัง มีตา 2 คู่ อยู่บริเวณปล้องที่ 3 การแยกชนิดของปลิงชนิดนี้ใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยา โดยการเปรียบเทียบยีน COI โดย phylogenetic tree ของยีน COI ระบุว่า B. bangkhenensis มีลักษณะแตกต่างจาก Batracobdelloides ชนิดอื่น ๆ

นับได้ว่า เป็นการพบปลิงสกุลใหม่ครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นการพบในเจ้าบ้านที่เป็นหอยฝาเดียว ซึ่งในอดีตมีรายงานพบปลิงกลุ่มนี้ในเอเชียโดยมีรายงานพบในหอยแมลงภู่ ปลาน้ำจืด


https://www.banmuang.co.th/news/education/211726

สายน้ำ 07-11-2020 03:31

ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย


เข้มลาดตระเวนทะเลคุ้มครองสัตว์หายาก

กรุงเทพฯ 6 พ.ย. ? ทช. จับมือสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า พัฒนาระบบลาดตระเวนทางทะเล นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมเข้ามาใช้บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองสัตว์ทะเลหายาก

https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds

นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า ทช. ลงนามร่วมกับสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทยเพื่อพัฒนาโครงการการลาดตระเวนเชิงคุณภาพทางทะเล (SMART Marine Patrol) เพื่อนำเทคโนโลยีและระบบปฏิบัติการใหม่ๆ มาพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามนโยบายของนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ที่กำหนดให้ใช้การพัฒนางานด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence : AI) ข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานถูกต้องแม่นยำและทันสมัย

ที่ผ่านมา ทส. นำอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ใช้ตรวจสภาพป่าไม้ซึ่งให้สามารถทราบถึงสถานการณ์ได้ตามเวลาจริง จึงเห็นควรให้ทช. พัฒนางานด้านลาดตระเวนเชิงคุณภาพทางทะเลด้วย

นายโสภณ กล่าวต่อว่า ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพคือ ระบบการลาดตระเวนพื้นที่ที่จัดการฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการจัดเก็บ สืบค้น วิเคราะห์ และรายงานผลการลาดตระเวนงานด้านการป้องกันและปราบปราม และการลักลอบกระทำผิดต่อทรัพยากรผ่านโปรแกรม SMART ซึ่งสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทยมีความรู้ ประสบการณ์ในด้านการสำรวจและฝึกอบรมด้านการลาดตระเวนและบริหารจัดการสัตว์ป่าและสัตว์ทะเล จึงเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันและปราบรามการกระทำผิดแก่เจ้าหน้าที่และยกระดับการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่งให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองสัตว์ทะเลหายากเช่น โครงการพัฒนาการสำรวจและติดตามพะยูน ภายใต้แผนพะยูนแห่งชาติ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 ? 2565) หุ่นยนต์อัจฉริยะในการดักขยะปากแม่น้ำ (SCG-DMCR Smart litter trap) เพื่อป้องกันสัตว์ทะเลได้รับอันตรายจากการกินขยะเข้าไป จนเป็นเหตุให้เจ็บป่วยและตายอย่างที่ผ่านมา .


https://tna.mcot.net/latest-news-578592


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:58

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger