SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2563 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5137)

สายน้ำ 16-05-2020 02:59

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2563
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนต่อเนื่อง สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่อ่าวเบงกอลตอนบน

อนึ่งพายุโซนร้อน ?หว่องฟ้ง? (VONGFONG) บริเวณประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 15 - 16 พ.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเกิดขึ้นบางพื้นที่ เนื่องจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน

ส่วนในช่วงวันที่ 17-21 พ.ค. 63 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอล จะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศอินเดียตอนบน


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 17-21 พ.ค. 63 ขอให้ประชาชนภาคใต้ฝั่งตะวันตกระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง



https://i1198.photobucket.com/albums...psglypkqpm.jpg


https://i1198.photobucket.com/albums...psvtihrlv8.jpg


https://i1198.photobucket.com/albums...psrz1bmpik.jpg


https://i1198.photobucket.com/albums...ps7v8n16af.jpg

สายน้ำ 16-05-2020 03:35

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


"เกาะลิบง" ใช้บทเรียน "มาเรียม" วาง "เขตอภัยทาน" อนุรักษ์พะยูน

https://i1198.photobucket.com/albums...psyw7xvhyq.jpg
ภาพชาวบ้านจังหวัดกระบี่ให้การช่วยเหลือ มาเรียม พะยูนเคราะห์ร้ายพลัดหลงแม่เกยตื้น ก่อนนำไปปล่อยในทะเลตรัง กระทั่งสิ้นใจตายเพราะกินพลาสติก.


ยังจำกันได้ไหม...? ช่วงปลายเดือน เม.ย.62 ที่ผ่านมา

ปธน.บราซิลยันเตรียมคลายล็อกดาวน์โควิด แม้ยอดตายยังสูงจนโลงไม่พอ
'สมุย' เปิดเกาะ สนามบินกลับมาให้บริการ จัดเข้มจุดตรวจคัดกรอง
"สาธิต" ตรวจเยี่ยมภูเก็ต พบเป็นศูนย์ 13 วันแล้ว พร้อมเปิดเกาะรับ นทท.
ลูกพะยูนกำพร้าเพศเมียที่ชื่อว่า "น้องมาเรียม" วัย 7-8 เดือน พลัดหลงแม่เข้ามาเกยตื้นในพื้นที่ จ.กระบี่ ได้ครองใจผู้คนในโซเชียลเป็นอย่างมาก เพราะความน่ารักและเรื่องราวของความ สู้ชีวิต เพื่อความอยู่รอด

เจ้าหน้าที่นำไปเลี้ยงในพื้นที่ธรรมชาติเขาบาตู หมู่เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง มีชาวบ้านในพื้นที่ช่วยกันอนุบาลให้สามารถเติบโตและมีชีวิตรอดในท้องทะเล

จนเกิดเป็นเรื่องราวความผูกพันระหว่างมนุษย์และสัตว์ทะเลตัวหนึ่ง ส่งผลทำให้มีกำลังใจจากผู้คนส่งไปยัง ?มาเรียม? มากมาย มีการจัดโครงการเพื่อระดมทุนช่วยเหลือ

มีการนำเสนอข่าวพัฒนาการของเจ้ามาเรียมอย่างต่อเนื่อง จนผู้คนในสังคมรับรู้แนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะทะเลไทย ผ่านการเฝ้ามองชีวิตของมาเรียมเป็นอย่างมาก

https://i1198.photobucket.com/albums...psgepgpqsu.jpg
ป้ายที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

แต่ความหวังของมนุษย์กลับมลายหายไป เมื่อ "มาเรียม" ต้องจากโลกนี้ไปอย่างน่าเสียดาย สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก ผลชันสูตรของทีมสัตวแพทย์ ลงความเห็น "มาเรียม" จากเราไปด้วยอาการช็อก

ที่สำคัญพบเศษพลาสติกเล็กๆหลายชิ้นขวางลำไส้ จนอุดตันบางส่วนและอักเสบ ทำให้มีแก๊สสะสมเต็มทางเดินอาหาร แถมติดเชื้อในกระแสเลือด และปอดเป็นหนองด้วย

การตายของ "น้องมาเรียม" ทำให้ผู้คนตระหนักว่า มนุษย์จะต้องเลือกใช้ชีวิตในแบบที่ไม่รบกวนสัตว์และธรรมชาติมากขึ้น รวมไปถึงกระตุ้นให้ภาครัฐเอาจริงกับการออกกฎหมายด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก

มาถึงวันนี้...วันเวลาผ่านไปครบขวบปีเศษ เรื่องราวสะเทือนใจเกี่ยวกับ ?น้องมาเรียม? ยังไม่จากหาย ประกอบกับมีวิกฤติเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบาดจนต้องปิดเกาะ ส่งผลทำให้ทะเลตรังอุดมสมบูรณ์ น้ำใสทะเลสวย

https://i1198.photobucket.com/albums...psathb0kqi.jpg
เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ภาคีเครือข่ายประมงพื้นบ้าน และชาวบ้านเกาะลิบง ร่วมกันวางทุ่นไข่ปลาระยะทาง 1 กม. บริเวณแหลมจุโหย.

เจ้าหน้าที่อุทยานฯพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ถอดบทเรียน "น้องมาเรียม" จัดวางทุ่นไข่ปลายาว 1 กม.เนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ บริเวณแหลมจุโหย ต.เกาะลิบง เป็นพื้นที่ที่มีแหล่งหญ้าทะเลใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

อีกทั้งพบว่ามีฝูงพะยูนอาศัยมากที่สุดในประเทศด้วย จึงได้กำหนด "เขตอภัยทาน" เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหายาก

"สิ่งที่คาดหวังคือ...อยากให้ตรงนี้เป็นเขตที่เหล่าสัตว์น้ำได้อยู่อย่างสงบจริงๆ ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำความเข้าใจกับพี่น้องชาวเกาะลิบงเรียบร้อยแล้ว ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยที่ให้มีเขตอภัยทานขึ้น"

เป็นคำกล่าวของ นายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ภายหลังนำเจ้าหน้าที่ร่วมกับตัวแทนประมงพื้นบ้าน และชาวบ้านเกาะลิบงร่วมกันวางทุ่นไข่ปลาบริเวณแหลมจุโหย หมู่ 1 ต.เกาะลิบง

เป้าหมายเพื่อกำหนดพื้นที่คุ้มครองแหล่งหญ้าทะเล พะยูน รวมถึงเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลหายาก ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการทำประมง การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าทางทะเล

พร้อมเดินหน้าบริหารจัดการคุ้มครองพื้นที่ให้เข้มข้นอย่างเป็นระบบและครอบคลุม เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรชายฝั่ง และสัตว์ทะเลหายากประเภทเต่าทะเล โลมา และพะยูน

https://i1198.photobucket.com/albums...psszk4yini.jpg
นักท่องเที่ยวแห่ชมพะยูน บนยอดเขาโต๊ะเต๊ะ หมู่ 4 บ้านบาตูปูโต๊ะ ที่มองเห็นพะยูนว่ายน้ำเข้ามาหากินได้ชัดเจน.

"เป็นการร่วมมือกับพี่น้องชาวเกาะลิบง เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กำหนดเป็นเขตอภัยทาน ห้ามล่าหรือทำการประมง ขณะเดียวกันยังเป็นแหล่งที่พะยูนอยู่กันเป็นกลุ่ม 20-30 ตัว จึงต้องสงวนที่ตรงนี้พิเศษ" นายชัยพฤกษ์ กล่าวย้ำ

นายชัยพฤกษ์ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้มีการใช้โดรนบินสำรวจก็พบฝูงพะยูนประมาณ 10-20 ตัว กระจายตัวเป็นเดี่ยวและเป็นคู่บริเวณอ่าว ทุ่งจีน หน้าเขาบาตูปูเต๊ะ ตั้งแต่ต้นปีเจ้าหน้าที่พบเจอพะยูนคู่แม่ลูกทั้งหมด 15 คู่ เพิ่มมากกว่าปี 62

จะเห็นได้ว่าสถิติการเพิ่มประชากรของพะยูนมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะนี้จากข้อมูลมีประชากรพะยูนรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 250 ตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทำให้ธรรมชาติสงบขึ้นมีเวลาพักฟื้นฟู

เพราะกิจกรรมของมนุษย์น้อยลงทำให้สัตว์ทะเลหายากต่างๆมีความสงบ ภัยคุกคามน้อยลง พะยูน เต่าทะเล ปลาโลมา ช่วงนี้จะเห็นบ่อยมากขึ้น

ส่วนแหล่งหญ้าทะเลที่มีเนื้อที่ประมาณ 18,000 ไร่ ตอนนี้ทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงได้วางทุ่นไข่ปลาไปแล้ว 40-50 ลูก ตั้งแต่บริเวณทุ่งจีน หาดมดตะนอย หน้าแหลมจุโหย รวมทั้งหมด 7,000 ไร่

เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกับพี่น้องชาวเกาะลิบง พลิกวิกฤติเป็นโอกาสได้อย่างเหมาะสมยิ่ง.


https://www.thairath.co.th/news/local/south/1845084


สายน้ำ 16-05-2020 03:41

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


ปิดอุทยานให้ธรรมชาติฟื้น ดีแต่ไม่ยั่งยืน นักอนุรักษ์แนะจัดท่องเที่ยวให้เหมาะสม ................. โดย ณิชา เวชพานิช

นักอนุรักษ์ชี้ นโยบายปิดอุทยานนั้นดี แต่ไม่ใช่ทางออกที่ยั่งยืน แนะควรจำกัดจำนวนคนและส่งเสริมคุณภาพนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ หลังกรมอุทยานฯ ประกาศให้ 133 แห่งทั่วไทยต้องมีช่วงปิดฟื้นฟูธรรมชาติไม่น้อยกว่า 3 เดือนทุกปี ตามแนวคิดใหม่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

https://i1198.photobucket.com/albums...pstwml1khz.jpg
ฝูงช้างออกหากิน ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี // ขอบคุณภาพจาก: ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วราวุธ ศิลปอาชา เผยบนเพจเฟซบุ๊กถึงแนวคิดปิดอุทยานแห่งชาติ 133 แห่งทั่วไทย ไม่ต่ำกว่า 3 เดือนทุกปีเพื่อให้ธรรมชาติได้พักฟื้น หลังพบทรัพยากรธรรมชาติฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดเพราะปราศจากการรบกวนจากมนุษย์ในช่วงอุทยานปิดเพื่อลดการแพร่ระบาดไวรัสตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม

นับตั้งแต่กรมอุทยานแห่งชาติ ประกาศปิดอุทยานแห่งชาติทุกแห่งทั่วประเทศ เพจเฟซบุ๊กฝ่ายประชาสัมพันธ์ของอุทยานต่างๆ ได้เผยภาพและคลิปสัตว์ป่าในพื้นที่ออกหากินอย่างคึกคักอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะอุทยานทางบก และอุทยานแห่งชาติทางทะเล เช่น พบฝูงช้างออกหากิน ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และฝูงโลมาปากขวดนับร้อยตัวบริเวณใกล้เกาะบอน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

"แนวคิดนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาข้อมูลร่วมกับนักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการปิดอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งในช่วงเวลาที่เหมาะสม ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป" วราวุธ กล่าว

อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวเป็นที่ตั้งคำถามของนักอนุรักษ์หลายรายถึงประสิทธิภาพ ผศ. ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการทางทะเล โพสเฟซบุ๊กว่า เห็นด้วยกับนโยบายปิดอุทยาน แต่จะต้องปฏิบัติด้วยความรอบคอบและครบถ้วน เนื่องจากอุทยานแต่ละแห่งมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น บางแห่งมีการปิดอุทยานเป็นธรรมเนียมทุกปีอยู่แล้ว บางแห่งมีนักท่องเที่ยวมาตลอดทั้งปี แต่ละที่มีศักยภาพรับนักท่องเที่ยวได้แตกต่างกัน จึงมีรายละเอียดหลายประการต้องพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุทยานทางทะเล ซึ่งจะกระทบกับการท่องเที่ยวอันเป็นรายได้หลักของประเทศ นอกจากนี้ เขาย้ำว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องทำควบคู่คือการจำกัดจำนวนผู้มาเยือนในเวลาหนึ่งไม่ให้มากเกินไป


https://i1198.photobucket.com/albums...ps94mqfwq9.jpg
ฝูงโลมาปากขวดนับร้อยตัวบริเวณใกล้เกาะบอน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน // ขอบคุณภาพจาก: สำนักอุทยานแห่งชาติ ? National Parks of Thailand

อย่างไรก็ดี เอกโชค บูรณอนันต์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมและการศึกษา สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การปิดอุทยานจะปิดกั้นการมีส่วนร่วมดูแลธรรมชาติของภาคประชาชน โดยนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นับเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยเก็บข้อมูลและเฝ้าดูแลรักษาธรรมชาติ เห็นได้จากเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากเกาะเต่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี เปิดให้นักท่องเที่ยวดำน้ำได้หลังการปิดเพราะสถานการณ์โควิด แทนที่จะพบภาพธรรมชาติฟื้นฟู นักดำน้ำกลับพบหลักฐานการลักลอบเข้ามาทำประมงบริเวณกองหินชุมพรช่วงไร้เรือนักท่องเที่ยว พวกเขาพบว่าปลาในบริเวณดังกล่าวหายไปผิดธรรมชาติ พร้อมพบซากลอบปลาและซากอวนในบริเวณ

เอกโชคยังเสริมว่า การปิดอุทยานอาจกระทบวัตถุประสงค์หลักของสถานที่ ซึ่งเป็นการเปิดให้ผู้คนเข้าไปสัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ โดยจะกระทบกับการจัดกิจกรรมเดินป่าเรียนรู้ธรรมชาติของนักเรียน ซึ่งเปิดโอกาสให้เยาวชนเรียนรู้ธรรมชาติจากของจริง

ทางออกที่ยั่งยืนสำหรับการฟื้นฟูธรรมชาติอาจไม่ใช่เพียงการปิดรับนักท่องเที่ยว นัท สุมนเตมีย์ ช่างภาพใต้น้ำ ให้ความเห็นว่า

"ผมว่าสิ่งที่เราควรจะต้องพิจารณามากกว่าคือ อุทยานแห่งชาติในแต่ละที่ได้มีการจัดการ หรือให้ความรู้ในด้านธรรมชาติกับนักท่องเที่ยวที่เข้าไปในเชิงรุกมากกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่"

https://i1198.photobucket.com/albums...pshku0bkp0.jpg
เจ้าหน้าที่อุทยานให้ความรู้เรื่องไฮยีน่าระหว่างกิจกรรมเดินชมอุทยาน ณ อุทยานแห่งชาติ Zion สหรัฐฯ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าร่วมได้ฟรีทุกวัย / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ณิชา เวชพานิช

เขายกตัวอย่างอุทยานในต่างประเทศซึ่งมีการอบรมนักท่องเที่ยวว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร เช่น อุทยานแห่งชาติในสหรัฐฯ บางแห่งที่เป็นถิ่นอาศัยของหมี นักท่องเที่ยวจะต้องเข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเวลาอยู่ในป่าก่อนเข้าชม นอกจากนี้อุทยานต่างๆ จะมีกิจกรรมนำโดยเจ้าหน้าที่ให้เลือกเข้าร่วมได้หลากหลายตามความสนใจ เช่น เดินชมอุทยาน ดูนก และถ่ายภาพ เป็นการส่งเสริมความรักและเข้าใจในธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

"จากประสบการณ์ที่ได้ไปอุทยานแห่งชาติอื่นๆ ในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลกมาสิ่งที่ผมพบเห็นอย่างหนึ่งก็คือ การทำสื่อเพื่อสื่อความหมายธรรมชาติของอุทยานไทยนั้นยังทำได้ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศ และเราไม่เคยเน้นในเรื่องของความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ให้กับนักท่องเที่ยวเลย"


https://greennews.agency/?p=21047



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:18

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger