SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2564 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5576)

สายน้ำ 18-06-2021 03:31

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2564
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรใช้ความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 18 ? 19 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง

ส่วนในช่วงวันที่ 20 ? 23 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 20 ? 23 มิ.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง



https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

สายน้ำ 18-06-2021 04:13

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


โครงสร้างเหล็กรูปดาว กระตุ้นระบบนิเวศปะการังที่กำลังจะตายให้งอกใหม่

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

หมู่เกาะในอินโดนีเซียเป็นที่อยู่อาศัยของปะการังมากกว่า 75% ของโลก ตามข้อมูลของโครงการฟื้นฟูปะการังข้ามชาติ Coral Triangle Initiative แต่ทุกวันนี้ ปะการังหลายแห่งเผชิญกับการกัดกร่อนและฟอกขาวในทุกปี ทว่าแนวปะการังในบาหลีเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่ถือว่าอยู่ในสภาพดี โดยที่เหลืออีก 30% อยู่ในสภาพย่ำแย่ และ 15% อยู่ในสภาพเลวร้ายกว่า ตามรายงานของกรมประมงของบาหลีในปี พ.ศ.2561 ซึ่งความเสียหายนั้นเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการประมงแบบคุกคาม ภาวะโลกร้อน และคลื่นรุนแรง

เมื่อเร็วๆนี้ มีข้อมูลเปิดเผยว่าแนวปะการังที่กำลังจะตายของบาหลีมีการงอกใหม่ เป็นผลงานของมูลนิธิ Nusa Dua Reef ที่นักอนุรักษ์ได้ใช้วิธีนำโครงสร้างเหล็กรูปทรงหกเหลี่ยมคล้ายดาว เรียกว่า ?รีฟ สตาร์? (Reef Star) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร ไปวางตามแนวปะการังที่ตายทั่วเกาะบาหลี เพื่อกระตุ้นการงอกและเติบโตของปะการังใหม่

ปารีอามา ฮูตาซูอิต นักอนุรักษ์สตรีชาวอินโดนีเซียเผยว่า มูลนิธิ Nusa Dua Reef ได้ติดตั้งโครงสร้างเหล็กนี้เกือบ 6,000 ชิ้น และตั้งเป้าจะติดตั้งเพิ่มตามแนวปะการังอีกประมาณ 5,000 ชิ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า ส่วนในอนาคตนั้น หากเป็นไปได้ก็ต้องการขยายการฟื้นฟูแนวปะการังออกไปนอกบาหลีเช่นกัน นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งของเงินบริจาคของมูลนิธิจะใช้ในโครงการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ชุมชนท้องถิ่นถึงความสำคัญของการปกป้องแนวปะการังของบาหลี.




https://www.thairath.co.th/news/foreign/2112837


สายน้ำ 18-06-2021 04:20

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


ชีวิตท่ามกลางหายนะภัยทางทะเลครั้งใหญ่ที่สุดของศรีลังกา .................. โดย Tashiya de Mel

นี่คือจุดจบ ความคิดแรกที่แล่นเข้ามาในหัวของฉันเมื่อได้อ่านข่าวรายงานข่าวไฟไหม้ของเรือ X-Press-Pearl แนวชายฝั่งบริเวณใกล้เคียงดำคล้ำด้วยเศษซากไหม้เกรียมและสินค้าอันตรายเกลื่อนชายฝั่งของศรีลังกา ไม่กี่วันต่อมา กระแสคลื่นพัดพาเม็ดพลาสติกขนาดเล็กที่เรียกว่า ?nurdles? ขึ้นมาเกลื่อนชายหาดทางตะวันตกและทางใต้

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds
เศษซากไหม้เกรียมและวัตถุอันตราย รวมทั้งสินค้าที่ถูกไฟไหม้และเม็ดพลาสติกขนาดเล็ก ถูกคลื่นซัดเกยตื้นบริเวณชายฝั่ง ศรีลังกากำลังเผชิญกับหายนะภัยด้านสิ่งแวดล้อมครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ หลังจากเม็ดพลาสติกจำนวนมากถูกพัดขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองหลวงที่มีชายหาดเก่าแก่ยาวหลายกิโลเมตร และคุกคามสิ่งมีชีวิตทางทะเล ? Tashiya de Mel / Greenpeace

วิกฤตทางทะเลครั้งใหญ่ที่สุดในศรีลังกากำลังเผยออกมาแบบเรียลไทม์ เมื่อความตระหนกในช่วงแรกที่เกิดเหตุการณ์สงบลง คลื่นความโกรธก็ถาโถม ตามมาด้วยความเศร้า รู้สึกหมดหนทาง และฉันทำได้แค่เรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์นี้ซึ่งดูเหมือนจะแย่ลงไปอีก

สารเคมีรั่วไหล

เพลิงไหม้

การระเบิด

เศษซากสิ่งมีชีวิตในทะเลถูกคลื่นซัดเกยขึ้นบนหาด

น้ำมันรั่วไหลที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา

และที่เลวร้ายไปกว่านั้น การล็อกดาวน์ทั่วประเทศขัดขวางไม่ให้อาสาสมัครรวมตัวกัน เพื่อช่วยจัดการปัญหา

ราวกับการถูกปลุกให้ตื่นขึ้นจากฝันร้าย


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds
เศษซากไหม้เกรียมและวัตถุอันตราย รวมทั้งสินค้าที่ถูกไฟไหม้และเม็ดพลาสติก ถูกคลื่นซัดเกยตื้นบริเวณชายฝั่ง ศรีลังกากำลังเผชิญกับหายนะภัยด้านสิ่งแวดล้อมครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ หลังจากเม็ดพลาสติกจำนวนมากถูกพัดขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองหลวงที่มีชายหาดเก่าแก่ยาวหลายกิโลเมตร และคุกคามสิ่งมีชีวิตทางทะเล ? Tashiya de Mel / Greenpeace

ฉันเติบโตมาในเมืองโคลัมโบและใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสำรวจพื้นที่ที่ห่างไกลของเกาะนี้ ทำให้เกิดความรักและความปรารถนาที่จะเชื่อมโยงผู้คนต่าง ๆ กับธรรมชาติ ในฐานะช่างภาพและนักกิจกรรม ฉันใช้วิธีการเล่าเรื่องผ่านภาพเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและการตระหนักรู้ต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

หลังจากเรือ X-Press Pearl ได้จมลง ฉันได้ตระหนักต่อความเป็นจริงที่ว่า ในปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับวิกฤตฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อม

เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ใครต้องรับผิดชอบ?

เราจะฟื้นฟูความเสียหายซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ ที่เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศ สัตว์ทะเล และวิถีการดำเนินชีวิตได้อย่างไร?


ซารากูวา เนกอมโบ เป็นหนึ่งในแนวชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด ระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงกำลังแย่ลงเรื่อย ๆ ในขณะที่ฉันกำลังเก็บบันทึกข้อมูลให้กับกรีนพีซ สากล ถึงผลกระทบของหายนะภัยจากเรือ X-Press-Pearl อยู่นี้ก็มีข้อค้นพบที่น่าสนใจ คือ


1. วิถีชีวิตและชีวิตที่ต้องดำเนินไป

มีการห้ามทำประมงภายในรัศมี 80 กม. จากซากเรือ การห้ามนี้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชาวประมงหลายพันคน ชาวประมงพื้นบ้านถูกห้ามไม่ให้จับปลาในบริเวณดังกล่าว เนื่องจากการปนเปื้อนสารเคมี แล้วพวกเขามีทางเลือกอื่นอะไรบ้าง? เพราะปลาเป็นอาหารหลักของพวกเขา หากไม่มีแหล่งรายได้ สถานการณ์ก็ยิ่งแย่ลง ภัยพิบัติดังกล่าวเป็นผลกระทบที่ซ้ำเติมชุมชนชาวประมงเหล่านี้

"การทำประมงเป็นส่วนสำคัญหลักของอัตลักษณ์ของพวกเรา เราไม่รู้ว่ามีอะไรที่จะทำได้ดีไปกว่านี้" สุราษฎ์กล่าว เขาเล่าเพิ่มเติมว่า มีการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาลในเหตุการณ์ครั้งนี้เพียงแค่น้อยนิดเท่านั้น

ฝนตกหนัก น้ำท่วม ภัยพิบัติทางทะเล การระบาดครั้งใหญ่ ยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง และชุมชนในพื้นที่ยังต้องเผชิญกับผลกระทบของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ในฐานะประเทศที่เป็นเกาะ ศรีลังกามีแนวโน้มที่จะเกิดมรสุมตามฤดูกาลและพายุที่ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น


2. การเสพติดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

เม็ดพลาสติกขนาดเล็กกว่าสามพันล้านชิ้นรั่วไหลลงสู่มหาสมุทร และตลอดแนวชายฝั่งของศรีลังกา การทำความสะอาดและเก็บรวบรวมอาจทำได้เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ซึ่งยังมีเม็ดพลาสติกปริมาณมหาศาลที่จะคงอยู่ในทรายและในปะการังต่อไปอีกหลายปี

สิ่งสำคัญที่สุดคือ ปัญหาใหญ่อย่างเม็ดพลาสติกที่ใช้เป็นวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด ถ้าเราต้องการกำจัดเม็ดพลาสติกเหล่านี้ เราต้องหยุดตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตและการบริโภค เราต้องก้าวออกจากอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งก่อมลพิษ และมองหาแนวคิดใหม่อย่างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนกว่า เราต้องเริ่มให้บริษัทต่าง ๆ รับผิดชอบต่อวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวที่พวกเขาผลิต และคัดง้างกับผลประโยชน์ที่ให้ความสำคัญกับผลกำไรมากกว่าสิ่งแวดล้อมและผู้คน

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds
กองทัพเรือศรีลังกาและหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล (MEPA) กำลังทำความสะอาดชายหาดในเนกอมโบ ศรีลังกา ที่กำลังเผชิญกับหายนะภัยด้านสิ่งแวดล้อมครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ หลังจากเม็ดพลาสติกจำนวนมากถูกพัดขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองหลวงที่มีชายหาดเก่าแก่ยาวหลายกิโลเมตร และคุกคามสิ่งมีชีวิตทางทะเล


3. ทุกสิ่งเชื่อมโยงกัน

หายนะภัยจากเรือ X Press Pearl ช่วยเตือนสติของเราถึงความเสี่ยงที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี ?ธุรกิจที่ดำเนินไปตามปกติ? อาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของวิกฤตสภาพภูมิอากาศและภาวะฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งกำหนดอนาคตของเรา

หนทางแสนไกล

การต่อสู้เพิ่งเริ่มต้นขึ้น ขณะที่ฉันเดินไปตามชายหาดเคปุงโกดา ซึ่งอยู่ทางเหนือของท่าเรือโคลัมโบเพียงไม่กี่กิโลเมตร ฉันมองเห็นซากเรืออับปางในขอบฟ้า และอดไม่ได้ที่จะไตร่ตรองในสิ่งที่ได้เห็น

เมื่อผลกระทบที่เห็นได้ชัดเริ่มเลือนลางลง และสื่อต่าง ๆ ที่รุมเสนอข่าวก็เริ่มหายไป ผลกระทบที่ตามหลังจากนี้ที่อาจจะเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี ก็จะมีเพียงชุมชนท้องถิ่นเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับผลกระทบในระยะยาว

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

สิ่งที่ยังไม่อาจเห็นได้คืออะไร ผลกระทบระยะยาวที่ยังคงเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตในทะเลและระบบนิเวศของศรีลังกาต่อไปคืออะไร?

เราต้องไม่มองข้ามประเด็นสำคัญในภาพกว้างที่เป็นต้นตอของหายนะภัยดังกล่าว หายนะภัยจากเรือ X-Press Pearl เป็นหายนะภัยด้านสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่ที่สุดของศรีลังกา และทำให้เกิดคำถามที่สำคัญเกี่ยวกับผลกระทบที่จะตามมาในวงกว้างซึ่งยังไม่ปรากฏชัดในขณะนี้

เราสามารถเรียนรู้จากอดีต และทำให้ดีขึ้น


https://www.greenpeace.org/thailand/...al-reflection/


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:20

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger