SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=6208)

เด็กน้อย 23-02-2023 07:15

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566
 
3 Attachment(s)
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือ ทำให้ภาคเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น รวมถึงอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งในระยะนี้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 24-28 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิจะลดลง 2-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างมากเนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีเมฆบางส่วน
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย


ในช่วงวันที่ 22 ? 23 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ในขณะที่มีลมตะวันตกเฉียงเหนือในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือ ทำให้ภาคเหนือมีอุณหภูมิลดลง 1 ? 2 องศาเซลเซียส ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน แต่ยังทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
สำหรับในช่วงวันที่ 24 ? 28 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิจะลดลง 2 - 5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 25 ? 28 ก.พ. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ หลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว

เด็กน้อย 23-02-2023 08:47

ขอบคุณข่าวจาก BangkokBiznewws

?พรบ.โลกร้อน?งานใหญ่รัฐบาลใหม่ ดันไทยสู่เป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์

https://image.bangkokbiznews.com/upl...=style/LG-webp

เทคโนโลยีดาวเทียม เป็นของที่อยู่ไกลตัว แต่สร้างประโยชน์ใกล้ตัวได้อย่างไม่น่าเชื่อในการสัมนา Carbon Accounting : Observation from Space จัดโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA

วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง นโยบายและการขับเคลื่อนการปฎิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย เพื่อบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero GHG Emission ว่า การบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานอื่นๆ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อบรรลุเป้าหมายคาร์บอนศูนย์ ในปี 2065 และการกำหนดแผนการทำงานที่ไม่ได้เน้นการของบประมาณเพิ่มแต่เป็นการปรับการทำงานของหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว และใส่หลักการของการบรรลุเป้าหมายมาเป็นเครื่องชี้วัดการทำงาน Job Description(JD)ใหม่ เพื่อให้เป้าหมายการทำงานที่กำหนดไว้ประสบความสำเร็จ

เบื้องต้น กระทรวงได้ปรับจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมเสร็จสิ้นแล้ว ยังเหลือการพลักดัน(ร่าง)พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ..... ซึ่งคาดว่าจะไม่ทันรัฐบาลชุดปัจจุบัน ดังนั้น หากคำนวนกำหนดเวลาที่จะนำร่างกฎหมายนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ น่าจะเป็นช่วง ส.ค. 2566 ซึ่งต้องอาศัยการพลักดันของรัฐบาลชุดใหม่

?ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐมนตรี ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลเรื่องการผลักดันกฎหมายโลกร้อนนี้ยังเป็นสิ่งจำเป็นและมั่นใจว่าจะได้รับการพลักดันต่อเนื่องต่อไป เพราะเรื่องโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ใช่แค่ทางเลือกแต่เป็นอาณัติmandateที่ผู้มีหน้าที่ต้องลงมือทำ?

นอกจากการจัดโครงการการทำงานเพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้วยังได้ร่วมมือกับภาคเอกชนในการนำเทคโนโลยีมาใช้ ได้แก่ การดักจับและการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage: CCS) ซึ่งภาคเอกชนอย่างปตท.ได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนา ขณะนี้อยู่ในขั้นหาแหล่งชั้นหินที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นพื้นที่กักเก็บคาร์บอน และเป้าหมายจากนี้จะไม่ได้แค่การกักเก็บเท่านั้น แต่จะต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้ หรือ เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ให้ได้ในปี 2040 ซึ่งขณะนี้แม้จะดำเนินการได้แล้วแต่พบว่าต้นทุนการนำไปใช้ประโยชน์ยังสูงมากเฉลี่ยที่ 100 ดอลลาร์ต่อตันคาร์บอน

?ประเทศไทยเป็นผู้ปล่อยคาร์บอนลำดับที่ 19ของโลก แต่เราได้รับผลกระทบจากโลกร้อนลำดับที่ 9ของโลก สิ่งที่ผมทำคือ ไปบอกกับเวทีระหว่างประเทศว่า ไทยต้องได้รับการชดเชย ด้วยการนำความสามารถการกักเก็บ ดูดซับ และลดคาร์บอนไปแลกเกิดเป็นตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งไทยและสวิสเซอร์แลนด์เป็นประเทศแรกที่เทรดคาร์บอนระหว่างรัฐต่อรัฐ?

นอกจากนี้ พร้อมส่งเสริมเทคโนโลยีดาวเทียม เพื่อใช้ตรวจจับและวัดปริมาณคาร์บอนเพื่อให้ทราบสถานการณ์แบบเรียลไทม์ เพื่อให้การวางแผนทั้งฝั่งการรักษาเครื่องมือดูดซับคาร์บอน เช่น ป่าไม้ และฝั่งการลดการปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมเศรษฐกิจต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วสอดคล้องกับสถานการณ์จริง

ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อํานวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กล่าวว่า ข้อมูลจากดาวเทียมนั้นมีความสำคัญมาก นอกจากจะช่วยเรื่องการตรวจสอบไฟป่า น้ำท่วม ยังสามารถวัดปริมาณคาร์บอนได้ง่าย มีความแม่นยำและเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ

ปัจจุบันในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยได้นำเทคโนโลยีจากดาวเทียม หรือ Climate Tech มาสำรวจการกักเก็บปริมาณคาร์บอนในพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตร และพื้นที่อื่นๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ แก้ปัญหาและนำไปสู่การบรรเทาปัญหาโลกร้อน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC

https://image.bangkokbiznews.com/upl...bXV5OJhSh.webp

สำหรับการวัดปริมาณคาร์บอนทำได้สองแบบคือ การวัดโดยอ้อมด้วยการใช้คนนับจำนวนต้นไม้ ซึ่งอาจใช้เวลานานและมีความคลาดเคลื่อนสูง ในความเป็นจริง การสำรวจพื้นที่ภาคสนามไม่สามารถใช้แรงงานคนวัดต้นไม้ได้ทุกต้น ดังนั้น การวัดโดยใช้เทคโนโลยีจากดาวเทียมและข้อมูลภูมิสารสนเทศเข้ามาสนับสนุน จะทำให้สามารถจำแนกประเภทป่าไม้ และประเมินความหนาแน่นชั้นเรือนยอดต้นไม้จากแบบจำลองเชิงพื้นที่ เพื่อประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่า ได้อย่างถูกต้องเพียงพอกับการใช้งาน

ซิลเวีย วิลสัน จากหน่วยงานสำรวจด้านภูมิศาสตร์สหรัฐ หรือ United States Geological Survey (USGS) กล่าวว่า เทคโนโลยีดาวเทียมสามารถช่วยได้ทั้งการบอกปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนและขีดความสามารถการกักเก็บคาร์บนอโดยเฉพาะอย่างยิ่ง?ป่าไม้? ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่มีศักยภาพป่าไม้ที่ดีหากนำเทคโนโลยีดาวเทียมมาใช้มอนิเตอร์ศักยภาพของป่า ก็จะทำให้การจัดการเรื่องของคาร์บอนเครดิตเป็นไปอย่างง่ายมากขึ้น

การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกคน ต้องช่วยกันเพราะนี่คือภาระหน้าที่ไม่ใช่ทางเลือกและไม่ว่ารัฐบาล หรือรัฐมนตรี หรือแม้แต่ประเทศใดในโลกต่างต้องช่วยกันทำให้เป้าหมายประสบผลสำเร็จให้ได้

เด็กน้อย 23-02-2023 08:54

ขอบคุณข่าวจาก GreenNews

ประมงระยองพบคราบน้ำมันลอยกลางทะเลเป็นวงกว้าง ยังไม่ทราบต้นตอ ขณะบริษัท SPRC ต้นเหตุน้ำมันดิบรั่วกลางทะเลเมื่อต้นปี 65 ปฏิเสธ?ไม่ใช่ของ SPRC?

ด้านความคืบหน้า ?คดีน้ำมันรั่วระยอง? ที่ชาวบ้านผู้เสียหายยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐ 7 หน่วยงาน เครือข่ายประมงพื้นบ้านเผย ต้องดิ้นเรี่ยไรหาค่าธรรมเนียมศาลกว่า 1 ล้านบาท

https://i0.wp.com/greennews.agency/w...36%2C864&ssl=1

เหตุน้ำมันรั่ว (?) ระยองล่าสุด

กลุ่มประมงพื้นบ้านเรือเล็กระยองเปิดเผยว่า วานนี้ (21 ก.พ.) ขณะล่องเรือออกหาปลาบริเวณทะเลห่างฝั่งบ้านหนองแฟบ ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง ประมาณ 1-2 ไมล์ทะเล พบคราบน้ำมันเป็นลักษณะแผ่นฟิล์มกระจายเป็นวงกว้างทั่วบริเวณ จึงได้บันทึกคลิปไว้เป็นหลักฐานเพื่อนำไปแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบหาต้นตอ

บ่ายวันเดียวกัน บริษัท SPRC ต้นตอเหตุน้ำมันรั่วลงทะเลระยองเมื่อต้นปี 65 ที่ผ่านมาได้ออกแถลงการณ์ยืนยันจากเหตุการณ์พบฟิล์มน้ำมันทะเลหนองแฟบที่ปรากฏตามสื่อโซเชียล เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมานั้น ทางบริษัทฯได้ทำการตรวจสอบแล้วขอยืนยันว่าฟิล์มน้ำมันที่พบไม่ใช่ของบริษัทฯ และไม่ได้เกิดจากการทำกิจกรรมใดๆ ของบริษัท

เช้าวันนี้ (22 ก.พ.66) มีรายงานอีกว่า ได้มีชาวประมงพบเห็นคราบน้ำมันอีก มีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนสีดำขนาดใหญ่ถูกพบบริเวณชาดหาดแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี คาดว่าน่าจะมาจากแหล่งเดียวกันโดยถูกคลื่นลมทะเลพัดไปถึงชายหาดแสมสาร

ยังคงไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการ เปิดเผยถึงการดำเนินการใด ๆ ของหน่วยงานเกี่ยวข้องต่อเหตุดังกล่าว ตลอดวันที่ผ่านมา

https://i0.wp.com/greennews.agency/w...g?w=1016&ssl=1

?คดีน้ำมันรั่ว? ค่าธรรมเนียมศาล กว่า 1 ล้าน

รายงานข่าวเปิดเผยว่า กลุ่มผู้ฟ้องคดีน้ำมันดิบรั่วกลางทะเลระยอง เรี่ยไรเงินหน้าศาลจ่ายค่าธรรมเนียม เหตุไม่มีหลักฐานนำมาแสดงยกเว้น นายกประมงพื้นบ้านครวญอาชีพหาเช้ากินค่ำจะเอามาจากไหน ชี้หากรัฐจริงใจแก้ปัญหาชาวบ้านไม่ต้องดิ้นรนกันเอง

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 ? 13.00 น. ชาวประมงพื้นบ้าน ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว และอาชีพต่อเนื่อง เช่น แม่ค้ารถเร่ ร้านเช่าเตียงผ้าใบ ห่วงยาง ร้านค้าอาหารตามสั่ง ฯลฯ ในพื้นที่จ.ระยอง ประมาณ 700 คน ได้เดินทางไปที่ศาลปกครองระยอง ตามคำสั่งศาลซึ่งให้ผู้ฟ้องทั้ง 834 ราย ชี้แจงข้อมูลส่วนตัวเพื่อประกอบการพิจารณาขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล แต่ชาวบ้านไม่สามารถนำหลักฐานมาแสดงได้ จึงนำเงินไปจ่ายค่าธรรมเนียมศาลเอง

ในกรณีผู้ฟ้อง จำนวน 834 ราย ยื่นฟ้องต่อหน่วยงานรัฐ เหตุละเลยการปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ในการบริหารจัดการเหตุน้ำมันรั่วที่ระยอง เมื่อปี 2565 ซึ่งเป็นเหตุให้ทะเลระยองเกิดความเสียหายเกินสมควร ยากต่อการแก้ไขเยียวยา โดยศาลมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเฉลี่ยรายละ 1,370 บาท รวมเป็นเงิน 1,142,580 บาท

สืบเนื่องจากวันที่ 20 มกราคม 2566 สมาคมประมงพื้นบ้านท้องถิ่นระยอง ร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว และกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า พร้อมทีมทนายความจาก Rising Sun Law ได้ยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐ 7 หน่วยงาน คือ กระทรวงการคลัง ที่ 1, กระทรวงมหาดไทย ที่ 2, กรมเจ้าท่า ที่ 3, กรมธุรกิจพลังงาน ที่ 4, กรมประมง ที่ 5, กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ที่ 6 และกรมควบคุมมลพิษ ที่ 7 ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายในการบริหารจัดการเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลอย่างต่อเนื่องกลางทะเลจังหวัดระยองกว่า 400,000 ลิตร จากจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล (SINGLE POINT MOORING SYSTEM) ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 และป้องกันผลกระทบที่จะเกิดแก่ระบบนิเวศ ทรัพยากรทางทะเล และวิถีชีวิตของประชาชน แต่กลับละเลยในการป้องกันเหตุหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ประมาทเลินเล่อในการแก้ไขปัญหา

โดยผู้ฟ้องคดีทั้งหมด 834 ราย (เดิม 837 ราย ถอนตัว 3 ราย) ขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษา หรือมีคำสั่ง ให้มีการออกกฎหมายหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการรับมือแก้ไขและป้องกันสถานการณ์น้ำมันดิบรั่วไหล และจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวระยอง ตลอดจนให้เยียวยาชดใช้ความเสียหายอันเกิดจากการละเมิด จน ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของผู้ฟ้องคดีทั้งหมด และรับผิดเยียวยาชดใช้ค่าเสียโอกาสในการประกอบอาชีพในอนาคตของผู้ฟ้องคดีด้วย

https://i0.wp.com/greennews.agency/w...g?w=1080&ssl=1

เครือข่ายประมงพื้นบ้านระยองโอด ?เห็นใจกันหน่อย?

วีรศักดิ์ คงณรงค์ นายกสมาคมประมงพื้นบ้านท้องถิ่นระยอง เปิดเผยว่า เราฟ้องศาลปกครองเพื่อให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายจากการปฏิบัติงานล่าช้า จากปัญหาน้ำมันรั่วในระยอง แก่ผู้ฟ้องปีละ 6 หมื่นบาทต่อราย เนื่องจากประชาชนต้องแบกรับผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ และสูญเสียโอกาสสร้างรายได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต

?วันนี้ศาลให้พวกเรานำเอกสารหลักฐานมาแสดงต่อศาล เพื่อเป็นเหตุในการยกเว้นค่าธรรมเนียม แต่ในความเป็นจริงชาวบ้านทำไม่ได้หรือไม่มี เช่น บัญชีเงินฝาก ซึ่งเราไม่เคยมีกันเลย เพราะเราหาเช้ากินค่ำ หรือหลักฐานที่แสดงว่ามีบ้านเป็นของตนเอง เพราะชุมชนประมงส่วนใหญ่จะเป็นผู้อาศัย รวมทั้งหลักฐานด้านหนี้สินต่างๆ ซึ่งชาวบ้านไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีบัญชีทรัพย์สินที่ชี้ได้ว่ามีความเดือดร้อน เอกสารหลักฐานเหล่านี้จึงเป็นภาระที่หนักหน่วงของชาวบ้าน

นอกจากนี้ศาลยังมีเวลาจำกัดให้เราหาหลักฐานนำมาแสดง เพียง 4-5 วัน ดังนั้นชาวบ้านจึงจำเป็นต้องเลือกแนวทาง คือ เอาเงินมาวางศาล เป็นเงิน 1,370 บาทต่อคน จากผู้ฟ้องทั้งหมด 834 คน ชีวิตต้องลำบากมากจากการที่ไปกู้เงินมาวางค่าธรรมเนียมศาล บางรายถึงกับต้องเรี่ยไรช่วยกันเพราะเขาไม่มีจริงๆ

เราฟ้องเรื่องส่วนรวมคืออยากให้หน่วยงานรัฐแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูทะเลเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทั้งต่อทรัพยากรทางทะเลและวิถีชีวิตของชาวระยอง ดังนั้นทางกลุ่มฯ จึงมีความเห็นร่วมกันว่าเราไม่อยากให้พี่น้องตกขบวน หรือเสียโอกาสในการฟื้นฟูทางทะเล ซึ่งเขาไม่ได้กังวลเรื่องส่วนตัว แต่เขาสนใจว่าถ้าไม่จ่ายค่าธรรมเนียมศาลแล้ว ถ้าเขาตกหล่นแล้วใครจะฟ้องให้เขา ใครจะมาทวงสิทธิหรือเรียกร้องการแก้ไขปัญหาในอนาคตเพื่อลูกหลานเขาต่อไป

จริงๆ เราไม่จำเป็นต้องฟ้องเรียกร้องเอาเงินแก้ไขเยียวยา หากหน่วยงานรัฐจริงจังในการรับผิดชอบ และแก้ไขอย่างถูกจุดจนไม่เกิดปัญหา และเราก็คงไม่ต้องมาดิ้นรนกันขนาดนี้? วีรศักดิ์ กล่าว

https://i0.wp.com/greennews.agency/w...36%2C864&ssl=1


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:18

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger