SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2563 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5080)

สายน้ำ 21-03-2020 04:46

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2563
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกัน และระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 21 - 23 มี.ค. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น

ส่วนในช่วงวันที่ 24? 26 มี.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้มีฝนน้อย


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 21-23 มี.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 มีนาคม 2563)" ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2563

ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

วันที่ 21 มีนาคม 2563

ภาคเหนือ: จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา


ในช่วงวันที่ 22-23 มีนาคม 2563

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ทั้งนี้เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน ในขณะที่มีคลื่นอากาศในกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น



https://i1198.photobucket.com/albums...psluiuc0u0.jpg

https://i1198.photobucket.com/albums...psz7lp7nck.jpg

https://i1198.photobucket.com/albums...psenhpjkuf.jpg

https://i1198.photobucket.com/albums...pskxvnudeu.jpg

สายน้ำ 21-03-2020 05:20

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล แผนการเพื่อปกป้องมหาสมุทรตลอดไป ................ โดย Malachi Chadwick

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหามลพิษพลาสติก ไปจนถึงการทำเหมืองแร่ และการทำประมงเกิดขนาด สิ่งเหล่านี้คือภัยคุกคามที่มหาสมุทรต้องเผชิญเพิ่มมากขึ้นทุกวัน

แต่ตอนนี้ เรามีโอกาสช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับมหาสมุทรแล้ว นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากทั่วโลกร่วมกับกรีนพีซ ได้จัดทำแผนการปกป้องมหาสมุทรของเราขึ้น และดำเนินการผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ทั่วทุกมุมโลก โดยจะมีการวางอาณาเขตหลายล้านตารางกิโลเมตร เพื่อจำกัดการทำประมงแบบทำลายล้าง การทำเหมืองแร่ในทะเลและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ทำลายระบบนิเวศในมหาสมุทร

หากแผนการที่เราตั้งใจทำขึ้นนี้นับเป็นความพยายามครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ที่จะช่วยปกป้องโลกใบนี้ และแม้ว่าเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลนี้อาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกที่กำลังป่วยหนักขณะนี้ แต่การสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางบวกเพียงเล็กน้อย ก็สามารถช่วยประสานความเจ็บปวดของโลกและลดการสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าได้อย่างประเมินมูลค่าไม่ได้


เนื้อหาโดยสรุป

- มหาสมุทรนั้นเต็มไปด้วยความพิเศษ ที่เชื่อมโยงสรรพชีวิต เพราะมหาสมุทรนั้นเปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์ ที่มีความหลากหลายมากกว่าสัตว์ป่าในป่าฝนเขตร้อนเสียอีก

- ออกซิเจนกว่าครึ่งบนโลกนั้นมาจากมหาสมุทร และเป็นแหล่งอาหารให้กับผู้คนอีกกว่าพันล้านคน เพราะมหาสมุทรสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก จึงทำให้มหาสมุทรเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ดีที่สุดในการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

- แผนการช่วยเหลือมหาสมุทรจะช่วยสร้างโครงข่ายพื้นที่คุ้มครอง หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำในมหาสมุทรขนาดใหญ่ ซึ่งในบริเวณนี้มนุษย์จะไม่อนุญาตให้ทำการประมง ทำเหมืองแร่ใต้ทะเล และการทำอุตสาหกรรมอื่นๆ

- ร่วมแสดงพลังในการผลักดัน เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก เพื่อฟื้นฟูมหาสมุทรให้อุดมสมบูรณ์


แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแผนการนี้จะได้ผลจริง? และเพราะอะไรมันจึงสำคัญ?

https://i1198.photobucket.com/albums...psieffbudc.jpg
Brown meagre เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ปลาที่สวยที่สุดในบริเวณปหล่งปะการังในทะเลเมดิเตอเรเนียน ? Egidio Trainito / Greenpeace

อย่างแรกเลยทำไมเราต้องปกป้องมหาสมุทร? ไกลออกไปจากชายฝั่งหลายร้อยกิโลเมตร มหาสมุทรที่กว้างใหญ่นี้หากดูเผิน ๆ แล้วอาจดูห่างไกลจากวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา

แต่ความจริงแล้ว มหาสมุทรนั้นเต็มไปด้วยความพิเศษ ที่เชื่อมโยงสรรพชีวิต เพราะมหาสมุทรนั้นเปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์ ที่มีความหลากหลายมากกว่าสัตว์ป่าในป่าฝนเขตร้อนเสียอีก นอกจากนี้ ลึกลงไปใต้มหาสมุทรยังมีภูเขาใต้ทะเลที่สูงที่สุดและยาวที่สุดในโลก ภูเขาเหล่านี้มีร่องลึกคล้ายเหวที่ลึกพอ ๆ กับความสูงของเทือกเขาเอเวอร์เรส ที่นี่เองที่เปรียบเสมือนเส้นทางสำหรับการอพยพย้ายถิ่นฐานของฝูงวาฬและเต่าทะเล

การปกป้องสิ่งมีชีวิตที่น่าอัศจรรย์เหล่านี้คือสิ่งที่เราควรทำ ซึ่งไม่ใช่การปกป้องที่เพียงคำกล่าวอ้างแต่คือการปกป้องทุกชีวิต

ออกซิเจนกว่าครึ่งบนโลกนั้นมาจากมหาสมุทร และเป็นแหล่งอาหารให้กับผู้คนอีกกว่าพันล้านคน เพราะมหาสมุทรสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก จึงทำให้มหาสมุทรเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ดีที่สุดในการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


แผนการนี้มีรายละเอียดอย่างไร

แผนการช่วยเหลือมหาสมุทรจะช่วยสร้างโครงข่ายพื้นที่คุ้มครอง หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำในมหาสมุทรขนาดใหญ่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อย่างน้อย 30% ของมหาสมุทรทั้งโลกภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งในบริเวณนี้มนุษย์จะไม่อนุญาตให้ทำการประมง ทำเหมืองแร่ใต้ทะเล และการทำอุตสาหกรรมอื่นๆ หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

https://i1198.photobucket.com/albums...psshzu5a3i.jpg
แผ่นพับข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร ตั้งแต่ขั้วโลกเหนือไปจนถึงขั้วโลกใต้ ที่เรือเอสเพอรันซาของกรีนพีซออกสำรวจ ? Anastasia Yates / Greenpeace

เมื่อเราเห็นภาพรวมการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ก็จะช่วยให้เราเห็นภาพและเข้าใจว่าเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลนี้จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้อย่างไร หากเราดำเนินการตามสิ่งที่เราวางแผนเอาไว้อย่างเต็มรูปแบบแล้ว ก็จะทำให้ทรัพยากรในมหาสมุทรอุดมสมบูรณ์ขึ้น และสามารถรับมือกับภัยคุกคามระดับโลกอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ปัญหามลพิษพลาสติกได้


มีวิธีคัดเลือกพื้นที่อย่างไร ?

ด้วยเหตุนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์จึงใช้ข้อมูลประกอบ อาทิ แหล่งที่อยู่อาศัย ชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิต รูปแบบการทำประมง และรายละเอียดอื่น ๆ เช่น มีภูเขาใต้ทะเลและร่องน้ำลึกใต้ทะเลหรือไม่ เพื่อสร้างทางเลือกหลากหลายรูปแบบ สำหรับเป็นแนวทางในการกำหนดเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล พวกเขายังนำข้อมูลผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและข้อมูลการวิเคราะห์วิธีการปกป้องมาใช้ประกอบการวิเคราะห์อีกด้วย


เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลแตกต่างกับเขตคุ้มครองทั่วไปอย่างไร?

หลายคนอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับเขตคุ้มครองระบบนิเวศมหาสมุทรที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเขตคุ้มครองในน่านน้ำของประเทศต่าง ๆ หรือในพื้นที่อนุรักษ์พิเศษ เช่น ในทวีปแอนตาร์กติก

ทว่า เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เขตคุ้มครองเหล่านั้นส่วนใหญ่มักเป็นเพียง "นโยบายบนกระดาษ" เพราะกฎเกณฑ์ที่ร่างขึ้นไม่สามารถปกป้องคุ้มครองมหาสมุทรบริเวณได้ในทางปฏิบัติ เพราะขาดระเบียบข้อบังคับและบทลงโทษที่จริงจัง มีเขตคุ้มครองไม่กี่ที่ซึ่งได้รับการออกแบบมาอย่างเป็นระบบ และสามารถปกป้องมหาสมุทรได้จริง

https://i1198.photobucket.com/albums...psoia42w1e.jpg
ภาพโลมาดัสกี้ (Dusky dolphins ) ในทะเล Argentie ที่ถูกถ่ายได้ระหว่างการสำรวจมหาสมุทรในการรณรงค์ปกป้องมหาสมุทรโลก ? Martin Katz / Greenpeace

ทั้งนี้ เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลที่เราเสนอนั้นมีข้อแตกต่างจากเขตคุ้มครองแบบเดิมอยู่ 2 ข้อ ข้อแรกคือเรามั่นใจว่า แผนของเราจะสามารถคุ้มครองสรรพชีวิตได้อย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ เมื่อได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มที่ทั้งในด้านการใช้กฎหมายและในด้านเงินทุน ข้อที่ 2 คือ เรามีแผนที่จะดูแลและปกป้องสิ่งมีชีวิตทางทะเลอย่างเป็นระบบและชัดเจน


แล้วเราต้องทำอย่างไรเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลแบบนี้จึงจะเกิดขึ้น?

ในตอนนี้ เรายังไม่สามารถประกาศเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในน่านน้ำสากลได้ นอกเสียจากว่าผู้นำจากหลายประเทศจะร่วมลงนามยินยอมในสนธิสัญญาทะเลหลวง หากเป็นเช่นนั้น เราจะสามารถผลักดันให้เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นได้จริง

ปัจจุบันมีการเจรจาในประเด็นสนธิสัญญาทะเลหลวงซึ่งจัดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (Unnited Nation หากเหล่าผู้นำโลกลงนามในสนธิสัญญาทะเลหลวงร่วมกัน ก็จะเป็นใบเบิกทางให้เราผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลทั่วโลกให้เกิดขึ้นจริง สนธิสัญญาทะเลหลวงฉบับนี้จะช่วยทำให้องค์การสหประชาชาติร่างแผนการสร้างเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลโดยใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ และจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มที่ที่จะจำกัดอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ทำลายระบบนิเวศในท้องทะเลและมหาสมุทร


อะไรคือความท้าทายในการทำสนธิสัญญาทะเลหลวง ?

ความท้าทายของสนธิสัญญาทะเลหลวง หลักๆ ก็คือกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ลงทุนในมหาสมุทร เช่น อุตสาหกรรมประมงแบบทำลายล้าง หรือมีแผนทำเหมืองแร่ในทะเล บริษัทเหล่านี้ต่างก็คงพยายามอย่างมากที่จะรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจของตนเองไว้ รวมทั้งรัฐบาลบางประเทศก็ได้รับผลประโยชน์จากกลุ่มดังกล่าว ซึ่งอาจปฏิเสธที่จะการลงนามในสนธิสัญญา

https://i1198.photobucket.com/albums...ps4aixjah7.jpg
นักกิจกรรมกรีนพีซ ชูป้าย "Protect the Oceans" หน้าเรือขนถ่ายฝูง "เคย" จากเรือลำเล็กไปยังเรือแม่ บริเวณเกาะ South Orkney ในแอนตาร์กติก ? Andrew McConnell / Greenpeace

เราสามารถช่วยกันสะกัดอุปสรรคเหล่านั้น เหล่าผู้นำทางการเมืองจำเป็นต้องเห็นพลังการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องมหาสมุทรของคนทั้งในประเทศและทั่วโลกที่ออกมาเรียกร้องสนับสนุนการลงนามในสนธิสัญญาทะเลหลวง

ร่วมแสดงพลังในการผลักดัน เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก เพื่อฟื้นฟูมหาสมุทรให้อุดมสมบูรณ์ และจำกัดการเข้าถึงของอุตสาหกรรมที่ทำลายระบบนิเวศในทะเลและมหาสมุทรโลกร่วมกัน


https://www.greenpeace.org/thailand/...worlds-oceans/



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:54

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger