SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2565 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5910)

สายน้ำ 01-05-2022 02:50

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2565
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้เคลื่อนลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ในวันนี้ (1 พ.ค. 65) ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากภัยดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนองซึ่งอาจเกิดอันตรายจากลมกระโชกแรงและฟ้าผ่าได้ เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับอ่าวไทยและภาคใต้มีลมตะวันตกพัดปกคลุม ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 1 ? 2 พ.ค. 65 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรง ประกอบกับ บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงหนือ และทะเลจีนใต้ในช่วงวันที่ 1 ? 4 พ.ค. 65 ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 5 ? 6 พ.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงหนือ และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อน อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง จะเคลื่อนตัวผ่านประเทศเวียดนามตอนใต้และกัมพูชา มีแนวโน้มจะอ่อนกำลังลง และจะเคลื่อนผ่านอ่าวไทยตอนบน ลงทะเลอันดามัน ในช่วงวันที่ 2- 3 พ.ค. 2565 ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 1 ? 2 พ.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2565)" ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 01 พฤษภาคม 2565

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่เข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันนี้ (1 พ.ค. 65) ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 1?2 พ.ค. 65 โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากภัยดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง และขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนองซึ่งอาจเกิดอันตรายจากลมกระโชกแรงและฟ้าผ่าได้ สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้


ในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด


วันที่ 2 พฤษภาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดนครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด



https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

สายน้ำ 01-05-2022 02:52

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ระบบคาดการณ์คลื่นความร้อนจากทะเลทั่วโลก

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

ปรากฏการณ์ความร้อนจากทะเลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและเด่นชัดในระบบนิเวศของมหาสมุทรทั่วโลก ซึ่งผลกระทบของคลื่นความร้อนในทะเลถูกบันทึกไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เช่น การลดลงของปลาและสัตว์น้ำจำพวกมีเปลือก ทำให้การประมงทั่วโลกสูญเสียหลายร้อยล้านดอลลาร์ หรือการกระจายพันธุ์ของสัตว์ทะเลที่เพิ่มความขัดแย้งและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในการจับปลา รวมถึงน้ำทะเลที่ร้อนจัดจนทำให้เกิดการฟอกขาวและการตายจำนวนมากของปะการัง ฯลฯ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นท้าทายให้นักวิจัยจำนวนมากพยายามหาวิธีแก้ไขและรับมือ ซึ่งมองว่าหากสามารถคาดการณ์คลื่นความร้อนจากทะเลทั่วโลกได้ น่าจะเป็นอีกหนทางช่วยลดผลกระทบต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ ล่าสุด ทีมวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์ประมงเซาท์เวสต์ ขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ในเมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาระบบที่เรียกว่า "มารีน ฮีตเวฟ แทรคเกอร์" (Marine Heatwave Tracker) ให้ตรวจสอบมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือเพื่อหาสัญญาณของคลื่นความร้อนจากทะเล ซึ่งคาดการณ์ว่าคลื่นความร้อนจากทะเลจะเกิดขึ้นที่ใดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า พร้อมคาดว่าจะมีอีกนานแค่ไหน

นักวิจัยระบุว่า คลื่นความร้อนจากทะเลอาจมีผลกระทบที่ไม่คาดคิด ซึ่งการรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นจะช่วยให้มีแนวทางป้องกันไว้ก่อนมากขึ้นเพื่อลดผลกระทบต่อการประมงและสัตว์คุ้มครอง อีกทั้งการทำความเข้าใจมหาสมุทรเป็นขั้นตอนแรกในการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยา.

Credit : NOAA


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2378641



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:20

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger