SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2563 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5276)

สายน้ำ 12-09-2020 03:07

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2563
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน โดยในช่วงวันที่ 12-15 ก.ย. 63 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 12 - 15 ก.ย. 63 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากว่า 3 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 17 ก.ย. 63 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาว ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนน้อยลง ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคตะวันออก และภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากว่า 3 เมตร และบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 16 - 17 ก.ย. 63 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกจะเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปินส์ลงทะเลจีนใต้ตอนกลาง คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในระยะต่อไป


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 12 - 15 ก.ย. 63 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรงดการเดินเรือในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง



https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds

สายน้ำ 12-09-2020 03:36

1 Attachment(s)
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ไขความลับ "หินนิ้วมือ" จ.พังงา ไม่ธรรมดาเอาเสียเลย

กรมทรัพยากรธรณี เผยความลับ "หินนิ้วมือ" จ.พังงา เป็นแร่ควอตซ์ยุคเพอร์เมียน ถือเป็นอีกหนึ่งความมหัศจรรย์ธรรมชาติสรรค์สร้าง ที่เหมาะต่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยา

จากกรณีชาวเน็ตแห่แชร์ หินรูปร่างประหลาดบนเกาะคอเขา หมู่ 2 บ้านนอกนา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ที่มีรูปลักษณะคล้ายนิ้วมือคน จนถูกเรียกขานว่า ?หินนิ้วมือ? ล่าสุดทาง กรมทรัพยากรธรณี ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลทางวิชาการของหินดังกล่าว

โดยนายปรัชญา บำรุงสงฆ์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี สำนักทรัพยากรธรณี เขต 4 และคณะ ได้ประสานงานกับสำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพังงา และหน่วยงานในท้องถิ่น เพื่อเข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว

สำหรับผลการของการตรวจสอบพบว่า หินที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายนิ้วมือ มีเล็บติด สีขาว ขนาดกว้างยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร สามารถยืนยันได้ว่า ?หินนิ้วมือ? เป็นกรวดชนิดแร่ควอตซ์ (Quatz) สีขาว สะสมตัวแบบทุติยภูมิในหินตะกอนชนิดหินทรายเนื้อปนกรวด หมวดหินเกาะเฮ กลุ่มหินแก่งกระจาน ยุคเพอร์เมียน

โดยกรวดที่พบในหินทรายประกอบด้วยแร่ควอตซ์ แร่เฟลด์สปาร์ หินทรายแป้ง และหินแกรนิต ซึ่งในพื้นที่โดยรอบสามารถพบกรวดที่มีลักษณะตามธรรมชาติแบบต่าง ๆ ปะปนในเนื้อหินอยู่ทั่วไป

ดังนั้น "หินนิ้วมือ" ดังกล่าว คือ "แร่ควอตซ์สีขาว" ที่มีคุณสมบัติคงทนต่อการกัดกร่อนสูงและเกิดขึ้นเองโดยกระบวนการทางธรรมชาติ

ขณะที่ในส่วนของพื้นที่ที่พบ "หินนิ้วมือ" นั้นมีความเหมาะสมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ทางธรณีวิทยาต่อไป เนื่องจากมีภูมิประเทศที่โดดเด่นและมีลักษณะธรณีวิทยาที่น่าสนใจสำหรับการศึกษา สำรวจ และค้นหาเพิ่มเติมในอนาคต

สำหรับยุคเพอร์เมียน เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ในช่วงประมาณ 295 ? 248 ล้านปี ก่อนที่เปลือกโลกทวีปจะรวมตัวกันเป็นทวีปขนาดใหญ่ หรือมหาทวีปชื่อ "แพนเจีย"(Pangaea)

ยุคนี้ในทะเลมีแนวประการัง และไบโอซัวร์ ส่วนบนบกเกิดการแพร่พันธุ์ของสัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ที่สำคัญคือในปลายยุคเพอร์เมียนได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ (Mass extinction) ทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งบนบก และในทะเลหายไปร้อยละ 96 ของสปีชีส์ นับเป็นการสิ้นสุดมหายุคพาลีโอโซอิก


https://mgronline.com/travel/detail/9630000093279



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:32

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger