SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2563 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5099)

สายน้ำ 09-04-2020 03:03

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2563
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 9 - 11 เม.ย. 63 บริเวณประเทศไทยจะมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ และมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่งในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยในช่วงวันที่ 12 - 14 เม. ย. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 12 - 14 เม. ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย



https://i1198.photobucket.com/albums...pspjccfsod.jpg


https://i1198.photobucket.com/albums...pssenkvcsf.jpg


https://i1198.photobucket.com/albums...psfx9gtdp2.jpg

สายน้ำ 09-04-2020 03:07

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


ชั้นโอโซนโลกกำลังฟื้นตัวดีขึ้น .................. คอลัมน์ พุ่มไม้ใบบัง

ข่าวดี!?นักวิจัยเผยชั้นโอโซนโลกกำลังฟื้นตัวดีขึ้น!?เพราะโลกร่วมกันแบนปล่อยสาร?ที่ส่งผลให้โอโซนเป็นรู?ทำให้การหมุนเวียนอากาศเปลี่ยน?

https://i1198.photobucket.com/albums...psb7jcilr1.jpg

ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์พบว่าโอโซนในชั้นบรรยากาศทวีปแอนตาร์กติกาถูกทำลายจนเป็นรูขนาดใหญ่มหึมา?ซึ่งก่อนหน้านี้มนุษย์ใช้สารที่เรียกว่า?CFCs (chlorofluorocarbons)?ในเครื่องทำความเย็นอย่างตู้เย็น?แอร์?เสปรย์ฉีกพ่นหรือทำโฟม?ซึ่งสารนี้ลอยไปในอากาศที่ส่งผลต่อชั้นโอโซนนี้เอง?

เรื่องนี้เป็นที่น่ากังวลเพราะโอโซนเป็นแก๊สที่ปกป้องสัตว์โลกจากรังสีอัลตราไวโอเล็ต?UV?พลังงานสูง?หากถูกทำลายไปมากก็ส่งผลกระทบต่อมนุษย์อย่างแน่นอน??

โดยสถานการณ์ดีขึ้น หลังหลายประเทศร่วมลงนามงดการใช้และปลดปล่อยแก๊ส?CFCs?หรือ ozone depleting substances (ODS)?สู่ชั้นบรรยากาศใน?Montreal Protocal?ปี?ค.ศ. 1987?


ซึ่งในปี?2019?รูรั่วชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกา?เล็กลงที่สุดในรอบ?30?ปี?ตั้งแต่หลังการแบนดังกล่าว?

https://i1198.photobucket.com/albums...psscklomfu.jpg

ล่าสุด?นักวิจัยตีพิม์ใน?Nature?เผยว่า?หลุมในชั้นโอโซนที่ปกคลุมแถบแอนตาร์ติกากำลังฟื้นฟูตัวเอง?ซึ่งการฟื้นฟูตัวเองนี้จะหยุดการเปลี่ยนแปลงของกระแสลมที่เคยส่งผลไม่ดีให้กับซีกโลกใต้

Antara Banerjee?นักวิจัยจาก University of Colorado Boulder?เผยว่า?การที่ชั้นบรรยากาศกลับมาดีขึ้นได้นั้นเป็นผลมาจากการหยุดผลิตสารที่ทำลายชั้นโอโซน?(ODS)?ตั้งแต่ในช่วงทศวรรษ?1980?

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ส่งผลกับกระแสลมเร็วในซีกโลกใต้?เพราะปกติเมื่อชั้นโอโซนถูกทำลาย?ลมเร็วจะเคลื่อนลงมาทางซีกโลกใต้และทำให้การตกของฝนและน้ำทะเลเปลี่ยนไป?แต่ในขณะนี้ดูเหมือนว่าการเคลื่อนตัวดังกล่าวจะมีทิศทางที่เปลี่ยนไป?

Antara Banerjee?กล่าวว่า?อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะเกิดเพียงชั่วคราวเท่านั้น?เนื่องจากจะมีจำนวนก๊าซคาร์บอนที่เพิ่มขึ้น?และสารที่ทำลายชั้นโอโซน?(ODS)?กำลังถูกปล่อยมาอีก

ในอดีต?ก่อนปี?2000?กระแสลมเร็วในช่วงละติจูดกลางได้เคลื่อนตัวไปทางขั้วโลกใต้?พร้อมกับที่กระแสลมเร็ว ที่ก่อให้เกิดพายุเฮอริเคน กำลังแพร่กระจายเป็น บริเวณกว้างพอดี?สองสิ่งนี้ทำให้ช่วงนั้นรูปแบบของฝน?และกระแสน้ำในมหาสมุทรบริเวณซีกโลกใต้เปลี่ยนไป?ส่งผลให้ประเทศอย่างเช่น ออสเตรเลียต้องเผชิญกับความแห้งแล้งอย่างหนัก?

แต่ล่าสุดนักวิจัยเผยว่า กระแสลมเร็วได้หยุดเคลื่อนตัวไปทางใต้?ในขณะเดียวกับที่?ชั้นโอโซนกำลังซ่อมแซมตัวเองได้การเคลื่อนตัวย้อนกลับของกระแสลมอาจส่งผลดีให้ฝนกลับมาตกในบริเวณชายฝั่งของออสเตรเลีย

เมื่อปี?2019?ที่ผ่านมาชั้นโอโซนบริเวณแอนตาร์กติกโดนทำลายจนเกิดเป็นหลุมน้อยที่สุดเป็นประวัติการ?ตั้งแต่ที่เริ่มมีการบันทึกครั้งแรกในปี?1982?

https://i1198.photobucket.com/albums...ps3vc8pekk.jpg

อย่างไรก็ตามนักวิจัยนิยามการหยุดเคลื่อนตัวของกระแสลมเร็วว่าเ ป็นเพียงการ?"หยุดชั่วคราว??เท่านั้น?ยังมีแนวโน้มที่มันจะกลับมาสู่สภาพเดิมอยู่ดี?

Banerjee?ระบุว่า?สงครามสองขั้วระหว่างการพยายามฟื้นฟูชั้นโอโซน และการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก จะเป็นตัวที่ตัดสินว่าโลกในภายภาคหน้าจะเป็นอย่างไร?

https://i1198.photobucket.com/albums...psvwlhkhxr.jpg

นอกจากนี้เธอและทีมของเธอกล่าวว่า?งานนี้ชี้ให้พวกเขาพบว่า ข้อตกลงที่ทำเพื่อโลกอย่างข้อตกลงตามพิธีสารมอนทรีออลในปี?1987?สามารถหยุดหรือย้อนการทำลายสิ่งแวดล้อมได้ชั่วคราวได้จริงอีกด้วย?

การลดลงของโอโซน?(Ozone Depletion)?คือภาวะการสูญเสียหรือการลดลงของปริมาณก๊าซโอโซน?(Ozone)?ในชั้นบรรยากาศโลกที่ระดับความสูงราว?20?ถึง?40?กิโลเมตรเหนือพื้นดินขึ้นไป?หรือชั้น??สตราโตสเฟียร์? (Stratosphere)?จากปฏิกิริยาเคมีระหว่างก๊าซโอโซนกับสารเคมีที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น?ซึ่งก่อให้เกิดปรากฏการณ์??หลุมโอโซน? (Ozone Hole)?จนส่งผลให้รังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตจากดวงอาทิตย์สามารถส่องลงมายังพื้นผิวโลกได้โดยตรง

ทีมวิจัยระบุว่า การถูกทำลายของชั้นโอโซนมาจากบริเวณที่มีการทำอุตสาหกรรมอย่างหนัก

โดยจากเรื่องนี้ทำให้เราเข้าใจว่า หากโลกร่วมกันลดสาร? หรือ มลพิษที่ทำร้ายโลก ก็จะสามารถทำให้โลกดีขึ้นได้.


https://www.dailynews.co.th/article/767483


สายน้ำ 09-04-2020 03:11

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


เฮ! ทีมสำรวจพบโลมาเกาะไม้ท่อน จ.ภูเก็ต กลับมารวมฝูงใหญ่ขึ้น หลังไร้สิ่งรบกวน

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เฮ! ทีมสำรวจพบโลมา เกาะไม้ท่อน จ.ภูเก็ต กลับมารวมฝูงใหญ่ขึ้น หลังไร้สิ่งรบกวน ระบุเป็นสิ่งบ่งบอกหลังจากนี้ควรมีมาตรการในการปฏิบัติของเรือท่องเที่ยวที่พานักท่องเที่ยวไปดูโลมา

https://i1198.photobucket.com/albums...psfw7sggh5.jpg

วันนี้ (8 เม.ย.) นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน (ภูเก็ต) ได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพโดยระบุถึงผลสำรวจฝูงโลมาที่บริเวณเกาะไม้ท่อน จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่เรือท่องเที่ยวนิยมจะพานักท่องเที่ยวไปดูฝูงโลมาที่บริเวณดังกล่าว โดยมีการระบุข้อความว่า

"เพียงช่วงเวลา 2 เดือนของการไร้นักท่องเที่ยวรบกวน ทีมงานวิจัยพบว่าโลมาประจำถิ่นเกาะไม้ท่อน มีการรวมเป็นฝูงขนาดใหญ่กว่าเดิม โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคมปีเดียวกันนี้"

https://i1198.photobucket.com/albums...ps5tcy8axg.jpg

และอีกข้อความระบุว่า "แม้ว่าโลมาปากขวดเกาะไม้ท่อนมีการมารวมฝูงเป็นขนาดที่ใหญ่ขึ้น แต่ร่องรอยการถูกคุกคามยังปรากฏอยู่ Photo by Chinakorn Tongchai"

อย่างไรก็ตาม จากการสอบถาม นายก้องเกียรติ ทราบว่า ที่ผ่านมามีการสำรวจฝูงโลมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมาพบว่า โลมาที่เกาะไม้ท่อน จะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงใหญ่ มีประมาณ 26 ตัว แต่หลังจากนั้นขนาดฝูงโลมาเริ่มเล็กลงเรื่อยๆ เนื่องจากมีการรบกวนจากสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะเรือท่องเที่ยวที่พานักท่องเที่ยวไปดูโลมา ซึ่งเรือบางลำก็ดีไม่พาเรือแล่นตามฝูงโลมา แต่บางลำต้องการเอาใจนักท่องเที่ยวโดยไม่สนใจว่าโลมาจะได้รับบาดเจ็บหรือตื่นกลัวหรือไม่ ขับเรือไล่ตามฝูงโลมาที่กำลังหากินอาหาร

ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวทำให้โลมาเริ่มที่จะแยกฝูงและลดขนาดฝูงให้เล็กลงเรื่อยๆ ซึ่งจากการสำรวจเมื่อ 2 ปีที่แล้ว พบว่า โลมาที่เกาะไม้ท่อนเหลือแค่ 10 ตัว และเมื่อเดือน ม.ค.ปีนี้ พบว่าฝูงโลมามีสมาชิกเหลือแค่ 8 ตัวเท่านั้น จะเห็นว่าขนาดฝูงเล็กลงไปเรื่อยๆ

https://i1198.photobucket.com/albums...psy7ydj8es.jpg

แต่จากการสำรวจล่าสุด หลังจากเรือท่องเที่ยวหยุดให้บริการนำนักท่องเที่ยวไปเที่ยวบริเวณเกาะไม้ท่อน พบว่า จำนวนฝูงโลมา มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยมีโลมากลับมารวมฝูงมากถึง 15 ตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการท่องเที่ยวจะต้องกลับมาหามาตรการและแนวปฏิบัติเพื่อไม่ให้การท่องเที่ยวไปรบกวนฝูงโลมา เพราะถ้ายังมีการรบกวนการคุกคามเชื่อว่าโลมาจะลดขนาดและจำนวนลงไปเรื่อยๆ อย่างแน่นอน

นายก้องเกียรติ กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกอย่างคือ การประกอบอาชีพประมงที่ทำให้สัตว์ทะเลตายมาแล้วจำนวนมาก ซึ่งจากการบินสำรวจพบว่า มีโลมาบางตัวที่ถูกเชือกหรือเศษอวนรัดติดอยู่ที่ลำตัว


https://mgronline.com/south/detail/9630000036409



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:25

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger