SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ.......การประมง (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=110)

สายชล 10-06-2009 09:59

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ.......การประมง
 

กระดานข่าวที่แล้ว เราได้รวบรวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการประมงไทยไว้ เพื่อให้ผู้สนใจเข้ามารับรู้และเรียนรู้

เมื่อมาเปิดกระดานข่าวใหม่ สายชลก็คิดว่าเราน่าจะรวบรวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการประมงจากทั่วโลกมาไว้ในกระดานข่าวใหม่ เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป

เริ่มเลยนะคะ....

สายชล 10-06-2009 10:00


กรุงเทพธุรกิจ


การขจัดการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU fishing) โดย สกล หาญสุทธิวารินทร์

การทำประมงที่ผิดกฎหมาย Illegal Unreported and Unregulated fishing (IUU Fishing) ถือเป็นภัยคุกคามต่อปริมาณปลาและสัตว์น้ำที่เป็นแหล่ งอาหารที่สำคัญของมนุษย์ และความหลากหลายของพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศวิทยาทางทะเล และเป็นการเอาเปรียบชาวประมงที่ทำการประมงโดยถูกต้อง ทั้ง FAO และประเทศต่างๆ หลายประเทศก็ได้พยายามร่วมกันในการหามาตรการขจัดและต ่อต้าน สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศแรกที่ได้กำหนดมาตรการเพื่ อป้องกันและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมายดังกล่าว โดยออกเป็นกฎระเบียบที่ 1005/2008 ลงวันที่ 29 กันยายน 2551 จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553


กฎระเบียบของสหภาพยุโรปดังกล่าวให้ความหมายของการทำป ระมงที่ผิดกฎหมายไว้คือ

- Illegal fishing เป็นกรณีทำการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบและกฎหมาย หรือเป็นกรณีทำการประมงโดยเรือที่ชักธงของประเทศที่เ ป็นสมาชิกองค์กรในภูมิภาคที่รับผิดชอบบริหารจัดการกา รทำประมง โดยฝ่าฝืนต่อมาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อการอนุรักษ์ปลา ที่ประเทศนั้นได้ผูกพันไว้ หรือเป็นกรณีที่ทำการประมงโดยเรือประมง ด้วยการฝืนกฎหมาย หรือฝ่าฝืนพันธกรณีระหว่างประเทศด้านการประมง รวมทั้งพันธกรณีตามความตกลงร่วมมือทางประมงในภูมิภาค ด้วย

- Unreported fishing เป็นกรณีทำการประมงแล้วไม่ได้รายงาน หรือรายงานอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่กำ หนดไว้ ต่อหน่วยงานกำกับดูแลการประมงแห่งชาติ หรือองค์กรบริหารจัดการการประมงในภูมิภาคแล้วแต่กรณี

- Unregulated fishing เป็นกรณีทำการประมงในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์กรบร ิหารจัดการการประมงในภูมิภาค โดยเรือไม่ปรากฏสัญชาติ หรือโดยเรือที่ติดธงของประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก หรือโดยองค์กรประมงอื่นๆ ในประการที่ไม่สอดคล้องหรือฝ่าฝืนต่อมาตรการที่กำหนด ขึ้น เพื่อการอนุรักษ์ปลา รวมถึงการทำประมงในบริเวณสงวนเพื่อการเพิ่มจำนวนปลาท ี่ยังไม่เป็นบริเวณที่มีการกำหนดมาตรการอนุรักษ์ไว้ ในประการที่ไม่สอดคล้องกับความรับผิดชอบของรัฐ เพื่อการสงวนอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำภายใต้กฎหมายระ หว่างประเทศ

ผลของกฎระเบียบที่มีต่อการส่งออกสินค้าประมง กฎระเบียบของสหภาพยุโรปส่วนที่มีผลต่อการส่งออกสินค้ าประมงที่สำคัญ คือ ส่วนที่บัญญัติว่าสินค้าประมงที่ผลิตหรือกำเนิดมาจาก การจับปลาที่ผิดกฎหมายเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเ ข้าสหภาพยุโรป และกำหนดให้สินค้าประมงที่จะนำเข้าสหภาพยุโรป จะต้องมีหนังสือรับรองการจับปลา (catch certificate) ออกโดยหน่วยงานของรัฐของเรือประมงที่จับปลา หรือที่ได้ปลามา รับรองว่าไม่ได้เป็นหรือผลิตจากปลาที่จับโดยผิดกฎหมา ย ประกอบการนำเข้าสหภาพยุโรปด้วย กฎระเบียบดังกล่าวครอบคลุมถึงสินค้าประมงทุกประเภท ไม่ว่าจะมีชีวิต สด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป แต่ไม่รวมถึงปลาและสัตว์น้ำจืด ปลาและสัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยง และสัตว์น้ำประเภทหอยบางชนิด

ผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทย สินค้าประมงเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้ให้ประเทศไทย ที่สำคัญในลำดับต้นๆ กฎระเบียบของสหภาพยุโรปดังกล่าว ย่อมมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทยอย่างไม่ อาจหลีกเลี่ยงได้ ปัญหาคือไทยมีความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎระเบียบดังก ล่าวแล้วหรือไม่ เบื้องแรกคือผู้อยู่ในวงจรการค้าสินค้าประมง ตั้งแต่ผู้จับปลา ผู้ค้า ผู้แปรรูป ผู้ส่งออกสินค้าประมง เข้าใจต่อกฎระเบียบดังกล่าว และพร้อมที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องแล้วหรือไม่ หน่วยงานของไทยที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการค้าการส่ งออกสินค้าประมงของไทยมีหน่วยงานหลักอย่างน้อยสองหน่ วย คือ กรมประมงที่มีหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแลการประมงของไ ทย และกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศที่มีหน้าที่บริหารการส่งออก และเป็นผู้ให้บริการการออกหนังสือรับรองการส่งออกต่า งๆ มีความพร้อมที่จะให้บริการในการออกหนังสือรับรองการจ ับปลา ตลอดจนหนังสือรับรองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า และมีความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าปร ะมงหรือให้เกิดให้น้อยที่สุด

ทั้งกรมประมงและกรมการค้าต่างประเทศ จะต้องประสานร่วมมือกันในการดำเนินการต่างๆ และหากมีปัญหาและอุปสรรคที่ต้องแก้ไขหรือเจรจาแก้ไข ก็ควรต้องประสานร่วมมือกันดำเนินการให้เป็นไปในทิศทา งเดียวกัน ดังเช่นในอดีตที่เคยมีปัญหาการส่งออกปลาโบนิโตกระป๋อ งไปสหภาพยุโรป ทั้งกรมประมงและกรมการค้าต่างประเทศประสานและให้ความ ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างดียิ่ง จนปัญหาดังกล่าวลุล่วงไปในทางที่ดี ไม่มีประเด็นปัญหาว่าปลาและสัตว์น้ำเป็นของฉันท่านอย ่ามายุ่ง การออกหนังสือรับรองและการเจรจาการค้าสินค้าเป็นของก รมฉันในส่วนนี้ฉันขอดำเนินการเอง เพราะมิฉะนั้นแล้ว การดำเนินการของทางราชการจะกลับกลายเป็นการเพิ่มอุปส รรคให้การส่งออกสินค้าประมงเข้าไปอีก ถ้าหากเกิดเหตุเช่นที่กล่าวขึ้น จนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าประมงมากขึ้นไป อีก ก็คงต้องมีการนำมาบอกกล่าวให้สังคมได้รับทราบกันบ้าง ละครับว่า หน่วยงานใดเป็นผู้ก่อปัญหา

อนึ่ง มีเสียงสะท้อนมาจากผู้ส่งออกสินค้าประมงรายใหญ่บางรา ย ว่า หากไทยยังมีความพร้อมไม่สมบูรณ์ในการปฏิบัติตามกฎระเ บียบดังกล่าว ก็ควรร้องขอต่อสหภาพยุโรปโดยหากร้องในนามอาเซียนได้ก ็เป็นการดี ขอขยายเวลาการบังคับใช้หรือการต้องปฏิบัติตามกฎดังกล ่าวออกไปอีกระยะหนึ่ง โดยแสดงให้เห็นว่าไทยเห็นด้วยกับการต่อต้านและขจัดกา รทำประมงที่ผิดกฎหมาย เรื่องใดที่ไทยพร้อมแล้ว และเรื่องใดที่ต้องใช้เวลาเตรียมตัวเตรียมความพร้อมอีกระยะหนึ่ง


8 มิถุนายน 2552

สายชล 10-06-2009 10:01

ข่าวสด


ชี้ปัญหาประมงพื้นที่แก้ยาก

ตราด - นายวิระชาญ ประทีปาระยะกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลคลองใหญ่ จ.ตราด เปิดเผยว่า จากการที่กลุ่มประมงพื้นบ้านของ ต.คลองใหญ่ และกลุ่มประมงอวนลากมีปัญหาความขัดแย้งในเรื่องพื้นท ี่ทำกินในทะเลของ อ.คลองใหญ่ จนมีการปะทะและการชุมนุมประท้วงกันบ่อยครั้ง ทำให้ทางอำเภอคลองใหญ่ต้องแก้ไขปัญหาเรื่องนี้บ่อยคร ั้งแต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จนเกิดความขัดแย้ง อยู่บ่อยครั้ง เรื่องนี้ทางอำเภอและท้องถิ่นใน อ.คลองใหญ่ ได้เคยคิดที่จะแก้ไขปัญหาโดยการออกกฎหมายของท้องถิ่น 4 องค์กร เพื่อป้องกันมิให้เรือประมงอวนลากเข้ามาทำประมงในพื้ นที่ทำกินของประมงพื้นบ้าน แต่จากการศึกษาปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจังปรากฏว่ายั งไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

"กฎหมายท้องถิ่นยังไม่สามารถออกมาให้ครอบคลุมหรือป้อ งกันไม่ให้เรือประมงอวนลากเข้ามาในพื้นที่ 3,000 เมตรได้เนื่องจากกฎหมายท้องถิ่นครอบคลุมไปไม่ถึง จึงไม่สามารถแก้ไขได้ จำเป็นต้องสร้างจิตสำนึกให้กับชาวประมงทั้ง 2 ฝ่าย และขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายเคารพกติกาที่ทางราชการได้กำหนดไว้ กฎหมายประมงก็ได้มีการออกมาเพื่อป้องกันไว้แล้วแต่ต้ องมีการใช้อย่างเข็มงวด"





มติชน


ชาวประมง"ภูเก็ต"ต่อต้านสร้างมารีน่าลงในทะเล

นายจุรุณ ราชพล ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต พร้อมตัวแทนกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านยามู กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านผักฉีดและบางลา ร่วมยื่นหนังสือต่อนายสุนันท์ ศิริมากุล ประมงจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.เพื่อผ่านไปถึงอธิบดีกรมประมง เกี่ยวกับการคัดค้านการอนุญาตสร้างท่าเทียบเรือมารีน ่าแหลมยามู เพราะทะเลและชายฝั่งเป็นสาธารณสมบัติที่ประชาชนสามาร ถใช้ประโยชน์ร่วมกัน

"พื้นที่ ต.ป่าคลอก ยังได้รับงบประมาณจากจังหวัด 1.6 ล้านบาท ทำโครงการฟื้นฟูทรัพยากรประมงทั้งตำบล เป็นโครงการตามพระราชดำริ โดยมีสำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับหลายหน่วยงาน หากอนุญาตให้สร้างมารีน่าลงในทะเล จะกระทบต่อการฟื้นฟูทรัพยากรประมง แหล่งหญ้าทะเล ปะการัง และสัตว์ทะเลหายาก เช่น พะยูน เต่า ซึ่งการสร้างมารีน่าเป็นการใช้ประโยชน์เกินความจำเป็ น และเพิ่มมูลค่าให้สิ่งปลูกสร้างบนฝั่ง อีกทั้ง จ.ภูเก็ต ยังมีโครงการสร้างมารีน่าไว้บริการนักท่องเที่ยวตามโ ครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต จึงไม่สมควรที่จะส่งเสริมท่าเทียบเรือมารีน่าโดยไม่ม ีการควบคุม เพราะมีผลกระทบต่อฐานการผลิตทรัพยากรประมง และทำลายวิถีชีวิตชุมชน รวมถึงความมั่นคงของห่วงโซ่อาหารในอนาคต หากอนุญาตให้เอกชนก่อสร้าง ชาวบ้านพร้อมใจกันเดินหน้าคัดค้านให้ถึงที่สุด" นายจุรุณ กล่าว



10 มิถุนายน 2552

สายชล 10-06-2009 10:14

เดลินิวส์


ประมงเตรียมเดินสาย สร้างความเข้าใจ กฏเหล็กอียูต่อต้านการทำประมงผิดกฏหมาย


ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมประมงได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อจัดท ำระบบ รองรับการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ โดย กรมประมงได้แต่งตั้งคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ ดำเนินงานเพื่อรองรับกฎระเบียบสหภาพยุโรปในการต่อต้า นการทำประมงผิด กฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอ กชน ในการจัดทำแนวทางการตรวจรับรองสินค้าประมงที่ได้จากก ารจับสัตว์น้ำ ส่งออกไปสหภาพยุโรป นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 ที่ผ่านมา ได้นำคณะเจ้าหน้าที่กรมประมงเข้าพบและหารือกับเจ้าหน ้าที่ระดับ สูงของกระทรวงประมงและกิจการทางทะเล ของสหภาพยุโรป เกี่ยวกับความชัดเจนของกฎระเบียบดังกล่าว เพื่อให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามได้และไม่เป็นอุปส รรคทางการค้า และได้เน้นย้ำให้สหภาพยุโรปเข้าใจถึงความซับซ้อนในทา งปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าว ทั้งในด้านวัตถุดิบที่มาจากเรือไทยและที่นำเข้าจากปร ะเทศอื่น ซึ่งประกอบด้วยชนิดพันธุ์ที่มีความหลากหลาย

ทั้งนี้ ประเทศไทยเห็นว่าหากสหภาพยุโรปปรับแนวทางการดำเนินกา รตามกฎระเบียบให้ง่ายต่อการปฏิบัติจะเป็นประโยชน์อย่ างยิ่ง แก่ทั้งสองฝ่าย โดยสามารถควบคุมและบริหารจัดการทรัพยากรประมง และต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมายได้โดยไม่เป็นอุปสรรคท างการค้าสำหรับผู้ที่ทำการประมงโดยสุจริต นอกจากนั้นได้มีการหารือเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาการ บังคับใช้กฎระเบียบดังกล่าวออกไป ซึ่งในขั้น ต้นเจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปให้ความเห็นว่า กฎระเบียบนี้เป็นกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมา ธิการแห่งสหภาพยุโรป ซึ่งมาจากผู้แทนของประเทศสมาชิก ยากที่จะเลื่อนออกไปได้ อย่างไรก็ตาม กรมประมงจะได้หารือในเรื่องดังกล่าวในเวทีของคณะทำงา นประมงอาเซียนที่จะมีการประชุมในต้นเดือนมิถุนายน 2552 ที่ประเทศเวียดนามต่อไป

พร้อมกันนี้จะมีการจัดสัมมนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั ้งภาครัฐและภาคเอกชนตลอดสายการผลิต ทั้งในภาคกลาง จ.สมุทรสาคร ภาคตะวันออก จ.ระยอง ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จ.สงขลา และภาคใต้ฝั่งอันดามัน จ.ภูเก็ต เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่การทำประมงทะเลของประเทศไทย และได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเป็นระบบร่วมกับผู้ม ีส่วนได้เสียที่จะได้รับผลกระทบ ซึ่งเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี ่ยวข้องจะสามารถดำเนินการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำไ ด้ทันตามกำหนดเวลาในเดือนมกราคม 2553

ทั้งนี้เนื่องจากที่สหภาพยุโรปได้ออกกฎระเบียบ EC No 1005/2008 ลงวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2008 ว่าด้วยการป้องกัน ต่อต้าน และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป โดยประกาศดังกล่าว บังคับให้สินค้าประมงที่ส่งขายไปยังประชาคมยุโรปต้อง แนบใบรับรองการ จับสัตว์น้ำ เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของสินค้าปร ะมงเหล่านั้นได้.


วันที่ 5 มิถุนายน 2552

สายชล 10-06-2009 10:15

แนวหน้า


กลุ่มชาวประมงเมืองดาบได้เฮ มาตราการปิดอ่าวช่วยเพิ่มสัตว์น้ำ

กระบี่:นายมานิต ดำกุล นายกสมาคมชาวประมงจังหวดกระบี่ กล่าวว่า ภายหลังจากที่ทางกลุ่มจังหวัดอันดามัน ได้แก่ จ.กระบี่ พังงา และภูเก็ต ได้ประกาศปิดอ่าวในช่วงฤดูปลาวางไข่ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2552 เป็นต้นไป โดยมีระยะเวลา 3 เดือน ขณะนี้พบว่าจำนวนสัตว์น้ำมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อาชีพทำประมงทุกชนิด ทั้งกลุ่มประมงพื้นบ้าน กลุ่มประมงชายฝั่ง และเรือพาณิชย์ต่างรับทรัพย์ไปตามๆ กัน เนื่องจากมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น บวกกับราคาสัตว์น้ำในระยะหลังมานี้มีราคาสูงขึ้น

สำหรับมูลเหตุที่ทำให้สัตว์น้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการประกาศปิดอ่าว 3 เดือนในช่วงที่ปลาวางไข่และถือปฏิบัติมาร่วม 5 ปี ติดต่อกันแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกประการ คือ การทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมประมงทะเลฝั่งอันดามั น ที่ได้มีการนำเรือออกปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีกลุ่มอาสาสมัครแจ้งเหตุไม่น้อยกว่า 600 คน เข้าร่วมคอยตรวจตรากลุ่มประมงที่กระทำผิดกฎหมายและสา มารถจับกุมได้ทุกครั้ง



วันที่ 2 มิถุนายน 2552

สายชล 10-06-2009 10:18


แนวหน้า


กรมประมงประกาศให้รางวัล พบปลาลัง-ปลาทู-ปลาทูแขก ติดเครื่องหมาย-จ่ายตัวละ 200

ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่าปลาลัง ปลาทู ปลาทูแขก นับเป็นทรัพยากรปลาผิวน้ำ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและภูมิภาคเอเ ชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากสัตว์น้ำกลุ่มนี้มีพฤติกรรมการเคลื่อนย้ ายของประชากร และการอพยพย้ายถิ่นเพื่อวางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน ข้อมูลดังกล่าวจึงมีความสำคัญเพื่อใช้กำหนดมาตรการจั ดการทรัพยากรสัตว์น้ำเหล่านี้ให้มีความยั่งยืนได้ตลอ ดไป โดยกรมประมง ประเทศไทย และประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 7 ประเทศ คือ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม จึงร่วมกันจัดทำโครงการติดเครื่องหมายปลาผิวน้ำชนิดท ี่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในบริเวณทะเลจีนใต้และทะเลอ ันดามันขึ้น จำนวน 17 จุด เพื่อเป็นฐานข้อมูลวิเคราะห์ประชากรและอนุประชากรของ ทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยกำหนดพื้นที่ดำเนินงาน จำนวน 4 จุด คือ บริเวณน่านน้ำในจังหวัดตราด สงขลา ระนอง และสตูล เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวสามารถบ่งชี้ถึงการเคลื่อนย ้ายของปลาผิวน้ำได้อย่างชัดเจน เพราะมีอาณาเขตติดต่อกับน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน

อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า หากชาวประมงพบหรือจับปลาที่ติดเครื่องหมายปลาผิวน้ำอ ันได้แก่ ปลาลัง ปลาทู และปลาทูแขกได้ สามารถนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินตัวละ 200 บาท โดยปลาที่นำมาแลกจะต้องทำการแช่แข็ง และบันทึก วัน เดือน ปี รวมถึงบริเวณที่ทำการประมง หรือสถานที่พบปลาติดเครื่องหมาย หรือชื่อเรือประมงที่จับปลาติดเครื่องหมายด้วย โดยติดต่อขอแลกเปลี่ยนจากเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของ กรมประมงทุกแห่งใกล้บ้าน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จังหวัดระยอง สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมงโทรศัพท์ 0-3865-1764



วันที่ 28 พฤษภาคม 2552

สายชล 10-06-2009 11:25

เนชั่น

ประมงไทย100ลำถอนสมออินโดฯเล็งเข้าพม่า
4 มิย. 2552 12:44 น.


นายทวี บุญยิ่ง ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสมาคมประมงแห่งประเทศไทยและนายกสมาคมประมงจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จากปัญหาที่กองเรือประมงของไทยได้ทยอยกลับจากน่ายน้ำประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นเขตพื้นที่จับปลาสำคัญของไทยสำคัญ 2 แหล่งที่อยู่บริเวณประเทศอินโดนีเซีย คือย่านทะเลจีนใต้ และเขตน่านน้ำอาราปูล่า ที่มีกองเรือประมงจากประเทศไทย เข้าไปทำการประมงประมาณ 1,000 ลำ แต่จากการที่ทางประเทศอินโดนีเซีย ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบการทำประมงใหม่ด้วยการยกเลิกระบบสัมปทาน เปลี่ยนเป็นการร่วมทุนกับผู้ประกอบการในท้องถิ่นแทน ( JOINCE VENTURE )

พร้อมทั้งกำหนดให้ต้องนำปลาที่จับได้ขึ้นที่ท่าเรือประมงของอินโดนีเซีย ไม่อนุญาตให้ขนกลับมายังประเทศไทยเช่นที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการประมงไทยเล็งเห็นว่าไม่คุ้มกับการลงทุนเพราะราคาซื้อขายปลาที่อินโดนีเซียถูกมาก อีกทั้งหากจะนำย้อนกลับมายังประเทศไทยก็เท่ากับเป็นการซื้อขาย 2 ต่อส่งผลให้ราคาสูงจนไม่สามารับได้จึงทำให้ผู้ประกอบการประมงเริ่มทยอยเดินทางกลับมาแล้วจำนวนมาก

การทยอยเดินทางกลับมาของกองเรือประมงจากประเทศอินโดนีเซีย เท่ากับมาเพิ่มจำนวนเรือในเขตน่านน้ำไทย รวมถึงเรือประมงส่วนหนึ่งที่เดินทางกลับจากอินโดนีเซียขณะนี้ทราบว่า กำลังมองหาลู่ทางขยายเข้าไปทำประมงในน่านน้ำพม่าจำนวนประมาณ 100 ลำ ส่วนหนึ่งทำให้ผู้ประกอบการประมงในเขตพื้นที่ระนองซึ่งมีกองเรือประมง 3,000 ลำ จับปลาในเขตน่านน้ำพม่าประมาณกว่า 200 ลำ กำลังหวาดวิตกว่ากองเรือประมงจากอินโดนีเซีย ที่ทยอยกลับนั้นทราบว่า ส่วนหนึ่งประมาณ 100 ลำ ได้เดินทางมายังจังหวัดระนองเพื่อหาช่องทางการเข้าไปทำประมงในน่านน้ำพม่า

ปัจจุบันยอมรับว่าปริมาณสัตว์น้ำที่เรือประมงไทยจับได้มีจำนวนมากพอสมควร และแต่หากมีกองเรือประมงเข้าไปเพิ่มเติมอาจจะเป็นการแย่งทรัพยากรกันเอง เพราะเขตพื้นที่หรือโซนที่ได้รับสัมปทานมีจำนวนจำกัด ดังนั้นตนจึงอยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาถึงความสมดุลจำนวนเรือกับปริมาณสัตว์น้ำ

นายสุรินทร์ โหลสงค์ เจ้าของเรือประมงที่ได้รับตั๋วสัมปทานเข้าไปทำประมงในเขตน่านน้ำพม่ากล่าวว่า ปัจจุบันมีเรือประมงพม่าออกทำการประมงในน่านน้ำพม่าไม่ต่ำกว่า 4,000 ลำ หากรวมกับกองเรือประมงไทยและของชาติอื่นๆทั้งหมดที่อยู่ในน่านน้ำพม่าไม่น่าจะต่ำกว่า 5,000 ลำ ซึ่งถือเป็นจำนวนที่มากพอสมควร

ดังนั้นหากจะมีจำนวนเรือประมงที่จะเข้าไปจับปลาในน่านน้ำพม่าเพิ่มขึ้นอีกนั้น ตนมองว่าควรจะศึกษาข้อมูลในละเอียดถึงจำนวน และความเหมาะสม รวมถึงการเจรจากับรัฐบาลพม่าถึงความเป็นไปได้ในการขยายเขตพื้นที่สัมปทาน เพราะหากมีเขตพื้นที่จำกัด แต่มีเรือประมงมากอีกไม่นานปลาก็จะหมด ซึ่งจะส่งผลเสียตามมาในอนาคต

ส่วนน่านน้ำในประเทศอื่นๆที่น่าสนใจและทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะเข้ามาช่วยเพื่อหาช่องทางที่จะขยายเข้าไปคือเขตน่านน้ำของอินเดีย ซึ่งขณะนี้มีเรือประมงจากระนองเข้าไปทำประมงประมาณ 20 ลำ ทราบว่าผลตอบรับดีมาก แต่ติดขัดเรื่องกฎระเบียบต่างๆ ที่ต้องใช้วิธีการหลบเลี่ยงจึงจะทำประมงได้ แต่หากสามารถเข้าไปได้อย่างถูกต้อง เปิดเผยตนมองว่าจะเป็นโอกาสที่ดีมากๆ



http://breakingnews.nationchannel.co...?newsid=384685

สายชล 10-06-2009 11:31


ล้วงลึกขบวนการค้าแรงงานประมง


เรื่องโดย : นายเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์มูลนิธิกระจกเงา www.notforsale.in.th



จำนวนตัวเลขผู้เสียหายกว่า60 กรณีที่แจ้งเข้ามาขอความช่วยเหลือยังศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา ทำให้พอมองเห็นภาพได้ว่า ปัญหาการล่อลวงและบังคับใช้แรงงานในภาคประมงนอกน่านน้ำ ยังเป็นปัญหาอาชญากรรมที่แก้ไม่ตก ถึงแม้ว่า วาระแห่งชาติเรื่องการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ จะถูกกล่าวอ้างจากหน่วยงานภาครัฐเสมอมา แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในกรณีนี้กลับสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง



เมื่อเกิดสภาวะวิกฤติการขาดแคลนแรงงานภาคประมงคู่ขนานมากับปัญหาคนในชนบท ตกงานและต้องเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามาหางานทำในเมืองหลวง ขบวนการค้ามนุษย์ที่แอบแฝงอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ จึงอาศัยจังหวะนี้ “ลงมือ” ล่อลวงพา “เหยื่อ” ไปขายให้กับเรือประมงอีกทอดหนึ่ง



ขบวนการค้ามนุษย์เหล่านี้มีโครงสร้างอย่างไร และเหตุใดการค้าคนในลักษณะนี้ จึงยังดำรงอยู่ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์มูลนิธิกระจกเงามีคำตอบในเรื่องนี้



ใบสั่งจากเรือประมง



ถึงแม้ว่าปัจจุบันปัญหาพิษทางเศรษฐกิจจะรุมเร้าภาคอุตสาหกรรมทำให้เกิดภาวะการว่างงานจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกันสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ประกาศเมื่อปลายปีที่แล้วว่า อุตสาหกรรมประมงทะเลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากประมงทะเลยังคงขาดแคลนแรงงานเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เรือประมงที่กำลังออกจากท่าเรือไปหาปลาในน่านน้ำต่างประเทศ ยังต้องการแรงงานเพื่อให้ครบตามตำแหน่งงานก่อนออกเรือ ซึ่งเรือประมงส่วนใหญ่จะใช้แรงงานประมาณ 10-40 คน ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ



ปัญหาเรื่องการค้าแรงงานประมง จะอยู่ตรงที่ ผู้ประกอบการบางราย ได้จ้างเหมาให้ ผู้ควบคุมเรือประมง (ไต๋ก๋ง) เป็นผู้บริหารจัดการแรงงานและส่วนแบ่งจากการจับปลา เป็นผลให้ ผู้ควบคุมเรือประมงต้องทำทุกวิถีทางให้มีแรงงานประมงครบตามจำนวนก่อนเรือออกเดินทาง “ใบสั่งแรงงาน” จึงเกิดขึ้นและส่งไปถึง “นายหน้าค้าแรงงานประมง” เพื่อบอกจำนวนแรงงานที่ต้องการและวันที่เรือต้องออกเดินทาง



วิธีการสั่งแรงงานจะอยู่ในรูปของการโทรศัพท์ติดต่อระหว่างผู้ควบคุมเรือกับนายหน้าค้าแรงงาน ซึ่งนายหน้าค้าแรงงานจะมีขบวนการหลายทอดหลายต่อเริ่มตั้งแต่ นายหน้านกต่อ นายหน้าพักแรงงาน และนายหน้าท่าเรือ



นายหน้านกต่อ



นายหน้านกต่อ เป็นนายหน้าค้าคนลำดับแรก ที่จะหลอกล่อเหยื่อให้ติดกับ โดยนายหน้าเหล่านี้จะแฝงตัวอยู่ตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 5 พื้นที่เสี่ยงในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ บริเวณสถานีขนส่งหมอชิต สถานีรถไฟหัวลำโพง บริเวณสนามหลวง บริเวณวงเวียนใหญ่ และสวนสาธารณะรมณีนาถ นายหน้าเหล่านี้เป็นมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่ตามสถานที่ดังกล่าวมานานจนคนในย่านนั้นต่างคุ้นหน้าเป็นอย่างดีว่า “หากินแถวนี้” แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งที่กลุ่มนายหน้าค้าคนเหล่านี้ กลับไม่อยู่ในบัญชีประวัติอาชญากร หรือ บุคคลเฝ้าระวัง ของตำรวจในพื้นที่นั้นๆ แต่อย่างใด

นายหน้ากลุ่มนี้มีทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุตั้งแต่คนวัยทำงานยันคนแก่ มีวาทศิลป์และจิตวิทยาเป็นเลิศ มีความอดทนใช้เวลาในการหว่านล้อมและมีเทคนิคแพรวพราว ทั้งพูดจาภาษาถิ่นเดียวกัน เสนอเงื่อนไขและลักษณะงานที่น่าสนใจ บางกรณีอาจจะมีการเลี้ยงอาหารหรือสุราแก่เหยื่อด้วย ซึ่งกลุ่มนายหน้าเหล่านี้ดูภายนอกท่าทางภูมิฐานและน่าเชื่อถือ



นายหน้าเหล่านี้มีทั้งแบบ FULL TIME และ PART TIME คือแบบพวกหาเหยื่ออย่างเดียว และแบบมีอาชีพประจำเพื่อบังหน้า เช่น จักรยานยนต์รับจ้าง และคนขับแท็กซี่



โดยปกตินายหน้ากลุ่มหนึ่งจะมีหลายคนกระจายตัวกันไป เวลาหาเหยื่อจะลงมือทำงานเพียงคนเดียวต่อเหยื่อหนึ่งราย จะไม่ใช้กำลังบังคับหรือประทุษร้าย แต่จะใช้คำโฆษณาชวนเชื่อจนเหยื่อติดกับแล้วเดินตามไปเอง ซึ่งกลุ่มคนพวกนี้มักจะอ้างตอนถูกจับกุม ว่าเป็นความสมัครใจของผู้เสียหายเอง จึงทำให้หลายครั้งที่มีการแจ้งเบาะแสไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ไปตรวจสอบกลุ่มนายหน้าที่เดินเร่หาเหยื่อ พวกนี้จึงถูกดำเนินคดีแค่ฐานสร้างความเดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณะ โทษปรับแค่ 500 บาท !!!!



นายหน้าพักแรงงาน



นายหน้าพักแรงงาน จะเป็นนายหน้าลำดับที่สอง ที่รับช่วงต่อจาก นายหน้านกต่อ โดยเมื่อล่อลวงแรงงานมาจากสถานที่ต่างๆ ได้แล้ว นายหน้านกต่อจะนำเหยื่อมา “ขาย” ให้กับนายหน้าพักแรงงานในราคา 1,000-3,000 บาทต่อราย จากนั้นภารกิจของนายหน้านกต่อเป็นอันเสร็จสิ้น



นายหน้าพักแรงงาน จะมีบ้านพักเหยื่อ เพื่อรอให้ได้แรงงานตาม ออเดอร์ ก่อนส่งไปตามท่าเรือประมงต่างๆ โดยในพื้นที่กรงุเทพฯและใกล้เคียงมีพิกัดบ้านพักแรงงาน ดังนี้ ชุมชนหลังวัดดงมูลเหล็ก , ชุมชนกิโลเมตรที่ 11 (หลังสวนรถไฟ) , ชุมชนท้ายบ้าน ปากน้ำ , และในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร



กรณีตัวอย่างของนายหน้าพักแรงงาน ที่จังหวัดสมุทรสาคร มีขาใหญ่ อยู่ 2 ราย อักษรย่อ ป๋า พ. และ เจ๊ ต. กลุ่มนายหน้าเหล่านี้จะเช่าบ้านไว้พักเหยื่อตามจุดต่างๆ ในสมุทรสาคร มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนบ้านไปเรื่อยๆ ภายในบ้านจะมีลูกน้องเป็นชายฉกรรจ์พร้อมอาวุธคอยควบคุมเหยื่ออยู่อีกชั้นหนึ่ง



บ้านพักแรงงานของ เจ๊ ต. เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมาก เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากสถานีตำรวจเมืองสมุทรสาคร และภูธรจังหวัดสมุทรสาคร โดยบ้านพักแรงงานของเจ๊ ต เป็นบ้านเดี่ยวขนาดใหญ่ มีรั้วล้อมขอบชิด และเดินลวดหนามไว้รอบบ้าน ภายในมีชายฉกรรจ์อยู่หลายคน บ้านหลังนี้มีทางเข้าออกทะลุได้หลายช่องทาง และมีลูกน้องของเจ๊ ต. ซึ่งเป็น วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างดักอยู่ทุกทางเข้าออก ทำให้เจ๊ ต. จะทราบความเคลื่อนไหวของคนนอกหรือเจ้าหน้าที่ ซึ่งแปลกปลอมเข้าไปในพื้นที่!!!


ซึ่งจากสายข่าวของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา ทราบว่า จะมี รถแท็กซี่ขาประจำ นำเหยื่อมาส่งที่บ้านหลังนี้เกือบทุกวันในช่วงเวลา ตี 3 ถึง 6 โมงเช้า โดยมีเหยื่อโดนหลอกมาครั้งละ 1-3 ราย เมื่อได้รับออเดอร์จากนายหน้าท่าเรือประมง นายหน้ากลุ่มนี้จะนำเหยื่อขึ้นรถกระบะ หรือรถสาธารณะ ไปส่งในพื้นที่สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสงขลา อีกทอดหนึ่ง



พฤติกรรมอันอุจอาจของนายหน้ากลุ่มนี้ที่ยังลอยนวลอยู่ได้ ถึงแม้จะมีผู้เสียหายถูกกักขังอยู่ในบ้านก็ตาม เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจค้น เหยื่อหลายรายซึ่งต้องเป็นพยานก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองถูกหลอก เพราะนึกแต่เพียงว่ากำลังรอไปทำงาน ประกอบกับในทางกฏหมายมองว่ายังไม่ได้นำผู้เสียหายไปทำงาน จึงยังไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์ ดังนั้น จึงยังไม่ครบองค์ประกอบของการ ค้ามนุษย์ !!!



นายหน้าท่าเรือ



นายหน้าท่าเรือจะเป็นนายหน้าลำดับสุดท้าย ที่รับเหยื่อต่อมาจากนายหน้าพักแรงงาน โดยนายหน้าท่าเรือจะจ่ายเงิน “ค่าหัว” แรงงานในอัตรา 5,000-20,000 บาทต่อราย ให้กับนายหน้าพักแรงงาน จากนั้น นายหน้าท่าเรือ อาจจะนำเหยื่อขึ้นเรือประมงทันที หรือถ้าเรือยังไม่ออก ก็จะพาเหยื่อไปพักยังห้องเช่า ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณท่าเรือประมง ซึ่งเมื่อนายหน้าท่าเรือนำเหยื่อไปขายให้กับผู้ควบคุมเรือแล้ว จะได้ “ค่าหัว” ตั้งแต่ 10,000-30,000 บาทต่อคนเลยทีเดียว ดังนั้น เมื่อผู้ควบคุมเรือได้จ่ายเงินเป็นค่าหัวของแรงงานเหล่านั้นให้กับนายหน้าแล้ว ย่อมหมายความว่า แรงงานประมงเหล่า ต้องทำงานฟรี หรือได้รับเงินที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมากๆ



นายหน้าท่าเรือประมง จะอยู่ตามพื้นที่ท่าเรือประมงต่างๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร และสงขลา คอยรับใบสั่งจากผู้ควบคุมเรือว่าต้องการแรงงานจำนวนเท่าใด และกำหนดวันที่เรือต้องออกเดินทางเพื่อมาส่งแรงงานให้ทันตามกำหนด ซึ่งในวงการจะทราบกันเป็นอย่างดีว่าใครเป็นคนทำธุรกิจมืดนี้บ้าง นายหน้าประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่เคยเป็นผู้ควบคุมเรือหรือเคยทำงานบนเรือประมงมาก่อน แล้วผันตัวเองเข้าสู่ธุรกิจมืดนี้ จึงทำให้รู้จักกับผู้ควบคุมเรือประมงลำต่างๆ เป็นอย่างดี



นายหน้าท่าเรือที่รัฐควรจับตามอง มีอยู่ 2 คนที่น่าสนใจ ได้แก่ นาย ต. เป็นนายหน้าอยู่ที่สมุทรปราการ และ นาย ช. เป็นนายหน้าอยู่ที่จังหวัดสงขลา ทั้งสองคนนี้มีพฤติกรรมในการเป็นนายหน้ามาเป็นเวลานาน เคยถูกจับกุมดำเนินคดี แต่ก็รอดไปได้ เนื่องจากขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมของไทยใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะถึงการพิจารณาในชั้นศาล ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่สามารถติดตามผู้เสียหายมาขึ้นศาลได้ เนื่องจากผู้เสียหายมักประกอบอาชีพรับจ้างไม่เป็นหลักแหล่ง ประกอบกับพนักงานอัยการไม่ได้ร้องขอให้สืบพยานล่วงหน้าไว้ก่อน ดังนั้น คดีค้ามนุษย์แรงงานประมงส่วนใหญ่จึงมักลงเอยด้วยการ ยกฟ้อง!!!



นี่คงเป็นเพียงเศษเสี้ยวของปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ามนุษย์ในรูปแบบค้าแรงงานประมงนั้น ยังคงเป็นเรื่องที่อยู่ในมุมมืด เนื่องจากมีกลุ่มอิทธิพลและเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง การทำมาหากินบนชีวิตของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเป็นเรื่องที่โหดร้ายทารุณ หน่วยงานรัฐจึงอย่าปิดหูปิดตาต่อปัญหาที่เกิดขึ้น หากมีกลุ่มอิทธิพลและการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องก็จำเป็นต้องแก้ด้วยการเมืองเช่นเดียวกัน คงถึงเวลาแล้วที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องขยับทำงานมากกว่าการแจกเงินสงเคราะห์และถุงยังชีพเสียที...



ข้อมูลจาก................http://www.thaihealth.or.th/node/7733

สายชล 07-07-2009 12:51

แนวหน้า


เกษตรเร่งสร้างความเข้าใจกฎเหล็ก"อียู" ตีกรอบนำเข้าสินค้า-สกัดทำประมงผิดกม.

นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับใหม่ของสหภาพยุโรปว่าด้วยการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือ iuu ซึ่งกำหนดให้การค้าสินค้าสัตว์น้ำที่จะส่งไปขายยังสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ต้องมีใบรับรองการจับสัตว์น้ำกำกับด้วยทุกครั้ง เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ประมงเหล่านั้นว่า ได้ปฏิบัติตามระเบียบการต่อต้านการทำประมงแบบ iuu หรือไม่

ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จึงเร่งประชาสัมพันธ์รายละเอียดและข้อปฏิบัติของกฎระเบียบ iuu ให้ทุกภาคส่วนทราบผ่านการสัมมนาใน 5 พื้นที่ ซึ่งครอบคลุมเขตการทำประมงทะเลของประเทศไทย ได้แก่ สงขลา สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี กระบี่ และระยอง ซึ่งเชื่อมั่นว่า หากร่วมมือกันศึกษาและปฏิบัติอย่างจริงจัง ทันต่อเวลาที่สหภาพยุโรปกำหนดที่กำลังจะมาถึงในอีก 6 เดือนข้างหน้า การส่งออกสินค้าประมงไทยไปยังสหภาพยุโรปภายใต้กฎระเบียบดังกล่าวจะเป็นโอกาสดีมากกว่าวิกฤติอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ ยังจะร่วมมือกับผู้ประกอบการธุรกิจประมง ชาวประมงพื้นบ้าน ชาวประมงพาณิชย์ แพปลา และผู้ประกอบการโรงงาน ทดสอบระบบปฏิบัติการตามขั้นตอนของกฎระเบียบ iuu โดยทดลองดำเนินการให้มีความใกล้เคียงกับสถานการณ์ที่ต้องปฏิบัติจริงตั้งแต่ขั้นตอนแรก จนถึงขั้นตอนสุดท้าย เพื่อให้ทราบปัญหาอุปสรรคและเร่งนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ไม่มีข้อผิดพลาด และสร้างความคุ้นเคย อันจะส่งผลให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว เมื่อถึงเวลาที่ต้องปฏิบัติจริงอีกด้วย


สายชล 07-07-2009 12:57

คม ชัด ลึก


ประมงเผยฉลามวาฬโดนใบพัดเรือนักท่องเที่ยว

นายปราโมทย์ ชุ่มเชื้อ ประธานกลุ่มประมงบ้านอ่าวยาง กล่าวว่า ภายหลังข่าวการพบฉลามวาฬ 2 ตัว เผยแพร่ออกไป ทำให้เกิดเรือรับจ้างเพื่อให้บริการพากลุ่มชาวบ้านและนักท่องเที่ยวเข้าไปดูฉลามวาฬอย่างใกล้ชิด โดยเก็บครั้งละ 10 บาท หรือ 20 บาทต่อคน ขณะนี้พบว่ามีฉลามตัวใหญ่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกใบพัดเรือแล้ว อาจส่งผลให้ฉลามวาฬไม่กลับมาที่นี่อีกก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี ข้อควรระวังในการเข้าไปดูฉลามวาฬคือไม่ควรจับ ขี่ ไล่กวด หรือเข้าไปใกล้มากๆ โดยจะต้องเว้นระยะห่างจากตัวปลาไม่น้อยกว่า 4 เมตร สำหรับการตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังและช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากนั้น เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างเร่งด่วน และเห็นด้วยที่ภาคเอกชนเสนอเข้ามาเป็นคนกลาง ซึ่งจะป็นการรักษาพันธุ์สัตว์ทะเลหายากเพื่อดูแลให้อยู่คู่ทะเล ด้านสมาชิกเครือข่ายฯ ในเบื้องต้นจะเป็นกลุ่มประมงหมู่ 3 บ้านอ่าวยางก่อน และวางแผนเชิญชวนทั้งพี่น้องชาวประมงบวกกับพี่น้องทั่วไป ที่อยากเป็นอาสามัครมาช่วยกันทำงานด้านนี้

นายลิขิต บุญสิทธิ์ หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการด้านการประมง สำนักงานโครงการจัดการประมงโดยชุมชนอ่าวบางสะพาน กล่าวว่า กลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์สัตว์น้ำบางสะพานซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของชาวประมง 9 กลุ่ม ตั้งแต่อ่าวบางสะพาน เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ยินดีให้ความร่วมมือจัดตั้งเครือข่ายฯ เพราะในพื้นที่จะพบสัตว์ทะเลหายากหลายชนิด ได้แก่ ฉลามวาฬ ปลาโลมา เต่าตนุ ซึ่งนับวันจะยิ่งหาดูได้ยากและใกล้สูญพันธุ์ หากมีการดูแลและร่วมมือกันโดยเฉพาะการนำกลุ่มประมงทุกกลุ่มรวมทั้งกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติในพื้นที่อำเภอบางสะพานเข้าร่วมเป็นพันธมิตร จะช่วยปกป้องและรักษาสัตว์ทะเลเหล่านี้ให้อยู่คู่ทะเลไทยและทะเลบางสะพานไปอีกนาน

ส่วนภายหลังการพบฉลามวาฬในพื้นที่นั้น ทางกรมประมงได้ส่งเรือเข้าไปดูแลและเฝ้าตลอดเวลาตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งจากการเฝ้าระวังจะเห็นนักท่องเที่ยวเข้ามาดูจำนวนมากแต่ยังไม่พบรายงานว่ามีเรือลำใดเข้าไปทำร้ายฉลามวาฬหรือไม่ จะมีเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาซึ่งพบนักท่องเที่ยววัยรุ่นเข้าไปดูด้วยคึกคะนอง ซึ่งได้ว่ากล่าวตักเตือนไป อย่างไรก็ตามช่วงนี้จะพบว่าภายหลังมีนักท่องเที่ยวเข้าไปดูจำนวนมากจึงทำให้ปลาฉลามวาฬไม่ค่อยได้ขึ้นมาให้เห็นเท่าไร จึงมีข้อสันนิษฐานได้หลายประการ เช่น การมีคนมาดูตลอดทั้งวัน เรือเข้าไปรบกวน ซึ่งกระทบวิถีชีวิต หรือข้อสันนิษฐานที่ว่าอาจโดนใบพัดเรือที่เข้ามาดูก็เป็นไปได้

นายสมศักดิ์ ศิวะไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ท่าเรือประจวบ จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ศูนย์บริหารจัดการและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เครือสหวิริยา ได้เข้าไปหารือเบื้องต้นกับสำนักงานโครงการจัดการประมง โดยชุมชนอ่าวบางสะพานและตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมงในพื้นที่ เรื่องการจัดตั้ง “เครือข่ายเฝ้าระวังและช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายาก” หลังพบฉลามวาฬหลายครั้งทั้งในพื้นที่อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก และอำเภอหัวหิน โดยรูปแบบของการตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังฯ นั้น ศูนย์สิ่งแวดล้อมฯ เครือสหวิริยา จะทำหน้าที่เป็นส่วนกลางในการประสานงานให้กับส่วนราชการและกลุ่มประมงในพื้นที่ซึ่งจะตั้งเป็นหน่วยรับแจ้งเรื่องสัตว์ทะเลหายาก ทั้งวาฬ เต่า หรือโลมา โดยมีหน่วยงานจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง จังหวัดชุมพร เป็นหน่วยงานหลัก ในการเข้ามาดูแลร่วมกันและร่วมกันศึกษา เพื่อให้เฝ้าระวังและดูแลสัตว์ทะเลทุกชนิด


สายชล 07-07-2009 12:58

บ้านเมือง


พบฉลามวาฬยืนยันสมดุลสิ่งแวดล้อม เดินหน้าตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังสัตว์ทะเล

ประจวบคีรีขันธ์/ นายสมศักดิ์ ศิวะไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ท่าเรือประจวบ จำกัด บริษัทในเครือสหวิริยา เปิดเผยกรณีพบฉลามวาฬ บริเวณบ้านหนองมงคล อำเภอบางสะพาน ว่า เป็นดัชนีชี้วัดว่าในขณะที่มีอุตสาหกรรมเหล็กอยู่ในพื้นที่มาเกือบ 20 ปี แต่ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลแถบนี้ก็ยังมีอยู่ ซึ่งความสมบูรณ์ของทะเลที่ อ.บางสะพาน มีการพูดถึงอยู่เสมอ แม้กระทั่งบริเวณหน้าท่าเรือประจวบฯ เอง ที่ชาวประมงก็สามารถจับปลาได้จำนวนมากเป็นประจำ เนื่องจากแหล่งอาหารที่หลากหลาย รวมทั้งแนวปะการังเทียม-เขื่อนกันคลื่นของท่าเรือก็น่าจะเป็นแรงดึงดูดที่ดีด้วย และจากผลการศึกษาของศูนย์วิจัยทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง พบว่าพื้นที่บริเวณอ่าวไทยในบริเวณ จ.ประจวบฯ เป็นจุดที่สามารถพบโลมาและวาฬได้ปกติ มีเปอร์เซ็นต์การพบโลมาถึง 63% และพบวาฬถึง 30%

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ท่าเรือประจวบ กล่าวว่า ในกรณีที่จะมีโครงการท่าเรือส่วนขยายเกิดขึ้น รวมทั้งโครงการโรงถลุงเหล็กนั้น เชื่อมั่นว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อทะเลบางสะพานแน่นอน เนื่องจากตัวท่าเรือที่จะสร้างใหม่เป็นแบบโครงสร้างโปร่ง มีตัวอย่างท่าเรือขนส่งสินแร่ที่ควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ที่สามารถอยู่ร่วมกับชาวประมงและสัตว์ทะเลได้เป็นอย่างดี รวมถึงเทคโนโลโลยีที่ใช้สำหรับโรงถลุงเหล็กเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ เทคโนโลยีน้ำเสียเป็นศูนย์ คือนำน้ำในการผลิตมาบำบัดและกลับมาใช้ใหม่ทั้งหมด ไม่มีการปล่อยออกนอกโครงการ สำหรับในอนาคต การสนับสนุนหรือช่วยเหลือเรื่องสัตว์ทะเลหายาก ทั้งข้อมูล, กำลังคน หรือเครื่องมือนั้น กรรมการผู้จัดการ บริษัท ท่าเรือประจวบ กล่าวว่า ยินดีและเต็มใจให้ความช่วยเหลือชุมชน โดยบริษัทฯ มีแนวคิดจัดตั้ง “เครือข่ายเฝ้าระวังและช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายาก” ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการหารือกับชุมชนและปรึกษาจากหน่วยงานภาครัฐเพื่อร่วมเป็นภาคีกันต่อไป


สายชล 07-07-2009 12:58

ผู้จัดการออนไลน์


รวบ 9 ผู้ต้องหาลอบจับสัตว์น้ำในเขตหวงห้ามกลางทะเลกระบี่

กระบี่-เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลฝั่งอันดามัน จ.กระบี่ จับกุมผู้กระทำผิด พ.ร.บ.การประมง ในเขตหวงห้าม 1 ราย ได้ผู้ต้องหา 9 คน เป็นลูกเรือชาวพม่า 6 คน ส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย

นายประเวช อวิรุทธพาณิชย์ เจ้าหน้าที่บริหารงานประมงอาวุโส พร้อมด้วย นายสุขเกษม ศรีงาม เจ้าหน้าที่ท้ายเรือกลชายทะเล ศูนย์ป้องกัน และปราบปรามประมงทะเลฝั่งอันดามัน จ.กระบี่ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ 6 คน ทำการจับกุมผู้กระทำผิด พ.ร.บ.การประมง ในเขตหวงห้าม 1 ราย ได้ผู้ต้องหา 9 คน โดยมี นายวัชระ แก้วประเสริฐ เป็นไต๋ก๋งเรือ พร้อมลูกเรือรวม 9 คน มีนายพล ไชยวงค์ นายจุมพล จันทเวช และชาวพม่า อีก 6 คน พร้อมของกลางเรือประมงชื่อ “น.ชัยมงคล 1” และ “น ชัยมงคล 2” เครื่องมืออวนลากคู่ พร้อมอุปกรณ์ และสัตว์น้ำเบญจพรรณ ชนิดต่าง ๆ จำนวน 200 กิโลกรัม อยู่ในสภาพเน่าเสีย ซึ่งทำลายทิ้งไปแล้ว

ผู้ต้องหาทั้งหมดลักลอบทำการประมงในเขตหวงห้ามบริเวณ ใกล้แนวชายฝั่งห่างจากบริเวณเกาะหมา หมู่ 7 ตำบลอ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ อยู่ในเขตหวงห้าม 3,000 เมตร เขตห้ามจับสัตว์น้ำด้วยเรืออวนลากคู่ ซึ่งนำตัวมาสอบสวนที่ศูนย์ป้องกัน และปราบปรามประมงทะเลฝั่งอันดามัน จ.กระบี่ เบื้องต้น ให้การรับสารภาพ จึงส่งตัวไปดำเนินคดีตามกฎหมาย.


สายชล 07-07-2009 12:59

ผู้จัดการออนไลน์


ชาวประมงพื้นบ้านภูเก็ตวอนทุกหน่วยแก้ปัญหาระบบนิเวศชายฝั่งถูกทำลาย

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ชาวประมงพื้นบ้านภูเก็ตระบุระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งถูกทำลาย เหตุเกิดจากการพัฒนาการท่องเที่ยว วอนทุกหน่วยร่วมมือกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

นายสุธา ประทีป ณ ถลาง ตัวแทนชาวประมงพื้นบ้าน ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต กล่าวถึงปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเลในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตว่า ปัจจุบันนี้บริเวณชายฝั่งทะเลทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายไปจำนวนมาก และที่ผ่านระบบนิเวศชายฝั่งได้รับผลกระทบจากการใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวซึ่งไม่สามารถที่จะจัดการได้ เช่น เรื่องของน้ำเสียที่มาจากทั้งครัวเรือน จากสถานประกอบ รวมทั้งเรื่องของการก่อสร้างเปิดหน้าดิน ปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงทะเลลดน้อยลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งเป็นอย่างมาก ส่งผลให้สัตว์น้ำวัยอ่อนในแนวปะการังลดลง เมื่อระบบนิเวศชายฝั่งมีปัญหาไม่ใช่เฉพาะผู้ประกอบการประมงพื้นบ้านเท่านั้นที่มีปัญหาแต่รวมไปถึงประมงพาณิชย์ที่หากินนอกบริเวณชายฝั่งด้วย

“สำหรับระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งของจังหวัดภูเก็ตนั้นถือว่าแย่มากในปัจจุบันเมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่การท่องเที่ยวจะเข้ามาก็คาดว่าน่าจะลดลงไปประมาณ 50% สัตว์น้ำบางชนิดก็สูญพันธ์ไป” นายสุธา กล่าวและว่า

เพื่อร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งให้กลับมามีสภาพดีขึ้น อยากให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมมือกันในการดูแลและฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม เพราะการที่จะรอให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้ดูแลเพียงหน่วยงานเดียวคิดว่าไม่น่าจะทำได้ คงจะต้องอาศัยความร่วมมือและบูรณาการในการดูแลให้เกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งนอกจากหน่วยงานราชการแล้วในส่วนของผู้ประกอบการก็จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องมานั่งคุยกันเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

นายสุธากล่าวต่อไปว่า การจะนำกฎหมายมาบังคับใช้เพียงอย่างเดียวคิดว่าไม่ใช่ทางออกของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่ง ทางออกที่ดีของการแก้ปัญหาเรื่องของสิ่งแวดล้อมนั้น คิดว่าควรที่จะเริ่มจากการพูดคุยมากกว่าที่จะนำกฎหมายมาบังคับใช้ เพราะเชื่อว่าทุกคนน่าจะให้ความร่วมมือและพูดคุยกันได้แต่จะต้องนำความจริงมาพูดคุยกัน ถ้าทำได้เชื่อว่าการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมบริเวณชายฝั่งน่าจะประสบความสำเร็จ


***************************************************************************************


ชาวแม่รำพึงพบฉลามวาฬหากินใกล้ฝั่ง

เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 52 เวลาประมาณ 17.00 น. บริเวณชายหาดระหว่างบ้านหนองมงคลกับหาดบ้านดอนสำราญ ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ฉลามวาฬ ขนาดใหญ่ 2 ตัว มีลำตัวยาวประมาณเกือบ 10 เมตร ส่วนอีกตัวมีความยาวประมาณ 6 เมตร เข้าหากินอาหาร ลูกปลาบริเวณหน้าหาดบ้านหนองมงคล ซึ่งเป็นหาดที่เชื่อมต่อระหว่างหาดบ้านดอนสำราญ และหาดบ้านกรูด ห่างจากฝั่งไม่ถึง 30 เมตรสามารถมองเห็นได้ด้วยตาจากชายหาด

นายนินทร์ ศรีเมือง อายุ 45 ปี ชาวประมงชายฝั่งที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว เล่าว่า ปกติจะพบเห็นฉลามวาฬเมื่อออกเรือไปหาปลาไกลฝั่ง แต่ช่วงนี้ฉลามวาฬเข้ามาหากินใกล้ฝั่งมาก

“วันนี้เป็นวันที่ที่ 3 แล้วที่เห็นฉลามวาฬคู่นี้เข้ามาหากินใกล้ฝั่งขนาดนี้ ผมจะเห็นมันว่ายหากินตรงหน้าหาดบ้านหนองมงคล แล้วก็ตรงหน้าหาดบ้านดอนสำราญซึ่งอยู่ไม่ไกลกัน”

นายสุพจน์ ส่งเสียง รองประธานกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง ซึ่งลงเรือเพื่อบันทึกภาพฉลามวาฬในครั้งนี้ กล่าวว่า จากที่ได้พูดคุยกับชาวบ้านทราบว่าปกติก็จะมีฉลามวาฬมาหากินบริเวณนี้เป็นประจำอยู่แล้วแต่ส่วนใหญ่จะเจอเวลาที่ออกเรือไปหาปลาซึ่งจะอยู่ห่างจากฝั่งมากกว่านี้ แต่ช่วงนี้ ฉลามวาฬได้เข้ามาใกล้ฝั่งมากจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าโดยไม่ต้องส่องกล้อง

“ธรรมชาติของสัตว์ตระลฉลามหรือวาฬ จะมาหากินในเฉพาะในทะเลที่มีความสมบูรณ์”

นายสุพจน์กล่าวต่อว่า เมื่อช่วงเช้าก็มีชาวประมงจาก อ.ทับสะแก แจ้งว่า เห็นฉลามวาฬเช่นกัน นั่นก็แสดงให้เห็นว่าชายหาดบริเวณนี้เป็นหาดที่มีความสมบูรณ์เป็นอย่างมาก คงเป็นเพราะชายหาดบริเวณอ่าวแม่รำพึง มีปริมาณแพลงตอนสูงมากโดยไหลออกมาจากป่าพรุแม่รำพึง ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์น้ำวัยอ่อนและลูกปลาเล็กปลาน้อย ลูกปลาเหล่านี้เป็นอาหารในอีกห่วงโซ่หนึ่งของปลาที่ใหญ่กว่า เช่นฉลามวาฬที่เราพบกันในวันนี้

“บริเวณที่พบฉลามวาฬนี้ก็อยู่ห่างจากที่ตั้งของโครงการโรงถลุงเหล็กที่ชาวบ้านคัดค้านการก่อสร้างไม่ถึง 1 กม. พวกเราจึงอยากให้กลุ่มทุนที่พยายามผลักดันโครงการนี้มองเห็นถึงความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลที่เรามีอยู่อย่าได้เอาอุตสาหกรรมที่มีมลพิษสูงอย่างโรงถลุงเหล็ก มาทำลายความสมบูรณ์และความสวยงามของบางสะพานเลย เราควรส่งเสริมการพัฒนาตามศักยภาพที่โดดเด่นในพื้นที่ของเรา เช่น เรื่องของการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรมจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนมากกว่า และยังเป็นการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย” นายสุพจน์ กล่าว


สายชล 29-07-2009 19:12

ผู้จัดการออนไลน์


กระบี่จับเรือประมงลากคู่จับปลาเขตหวงห้าม

http://pics.manager.co.th/Images/552000008888801.JPEG http://pics.manager.co.th/Images/552000008888802.JPEG

กระบี่ - จนท.ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลฝั่งอันดามัน จ.กระบี่ จับเรือประมงอวนลากคู่ ในเขตหวงห้ามบริเวณหน้าอ่าวมาหยา ได้ผู้ต้องหา 20 คน เป็น พม่า 9 มอญ 9 พร้อมของกลางสัตว์น้ำเบญจพรรณ กว่า 400 กิโลกรัม

เมื่อเวลา 11.30 น.วันที่ 22 กรกฎาคม 2552 เจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลชายฝั่งอันดามันจังหวัดกระบี่ โดย นายแสน สีงาม หัวหน้าศูนย์ป้องกันละปราบปรามประมงทะเลชายฝั่งอันดามันจังหวัดกระบี่ จ่าเอก อำพน คงแก้ว เจ้าพนักงานสื่อสารชำนาญงาน นายสุรีย์ สิงห์สถิตย์ เจ้าพนักงานเดินเรือชำนาญงาน และเจ้าหน้าที่ประจำเรือ 11 นาย ร่วมกันจับกุม เรือประมงอวนลากคู่ 4 ลำ ลักลอบจับปลา ในเขตหวงห้ามบริเวณ หน้าอ่าวมาหยา เกาะพีพี ม.7 ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่

จากการจับกุมได้ผู้ต้องหาจำนวน 20 คน ประกอบด้วย ผู้ควบคุมเรือ 2 คน ทราบชื่อ คือ นายวิจิตร หอมสมบัติ อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 59/111 ม.7 ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต และ นายนิคม ศรีทำเลา อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 8 ม.2 ต.องมหาริน อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย เป็นไต๋กง พร้อมลูกเรือสัญชาติพม่า 9 คน และสัญชาติมอญ 9 คน

นอกจากนั้น ยังตรวจยึดของกลางไว้ได้รวม 8 รายการ ประกอบด้วย เรือประมง 4 ลำ ชื่อ ร.พัฒนาจำนวน 2 ลำ และ เรือ ส.พัฒนา จำนวน 2 ลำ พร้อมด้วยอุปกรณ์เครื่องมือประมงอวนลากคู่ จำนวน 2 ปาก และสัตว์น้ำเบญจพรรณ จำนวนกว่า 400 กิโลกรัม

ก่อนจับกุมเจ้าหน้าที่ ได้รับแจ้งว่า มีเรือเรือประมงอวนลากคู่เข้าลักลอบทำการประมงในเขตหวงห้าม ระยะ 3,000 เมตร ที่บริเวณ ด้านทิศตะวันตกของเกาะพญานาค และเกาะปิด๊ะนอก ห่างจากอ่าวมายา ประมาณ 1 ไมล์ทะเล จึงพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมนำเรือตรวจประมงทะเล 606 เข้าทำการตรวจสอบ พบผู้ต้องหาทั้งหมด กำลังทำการประมงอยู่ จึงเข้าจับกุม พร้อมแจ้งข้อกล่าวหาร่วมกันลักลอบทำการประมงอวนลากคู่ประกอบเรือยนต์ในเขตหวงห้าม 3,000 เมตร เบื้องต้นผู้ต้องหาทั้งหมดให้การรับสารภาพ จึงนำส่งเจ้าพนักงานสอบสวนสภ.เมืองกระบี่ดำเนินคดีตามกฎหมาย


สายชล 29-07-2009 19:14

ผู้จัดการออนไลน์


ชาวประมงกระบี่แห่จับปลาทูได้จำนวนมากผลพ่วงจากการขยายเวลาปิดอ่าวห้ามจับปลา

http://pics.manager.co.th/Images/552000009112401.JPEG

ชาวกระบี่จับปลาทูได้จำนวนมาก จากการที่ปิด่อาวเป็นเวลานานทำให้ปลาทูขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก

กระบี่ - ชาวประมงชายฝั่งจังหวัดกระบี่ แห่จับปลาทูได้จำนวนมาก คนละไม่ต่ำกว่า 300-1,000 กิโลกรัมต่อวัน รายได้เฉลี่ยคนละไม่ต่ำกว่า 3,000-7,000 บาท เผยเป็นผลพวงมาจากการขยายเวลาปิดอ่าวห้ามจับปลาในฤดูวางไข่เพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำปริมาณมากเป็นประวัติการณ์

วันนี้ (27 ก.ค.) ที่บริเวณท่าเรือประมงพื้นบ้าน บ้านไหนหนัง หมู่ที่ 3 ต.เขาคราม อ.เมือง จ.กระบี่ กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านได้นำลูกหลานช่วยกันเก็บอวน และช่วยกันสลัดปลาทูที่ติดอวนอยู่จำนวนนับพันกิโลกรัมมากองรวมกันบนพื้น ภายหลังจากที่นำเรือหางยาวออกไปทำการประมงที่บริเวณชายฝั่งทะเล บริเวณอ่าวบ้านไหนหนัง ซึ่งแต่ละลำได้ปลากลับมาเกือบเต็มลำเรือ ทำให้ชาวประมงมีรายได้เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว

โดยเฉพาะตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา ชาวประมงบ้านไหนหนังมีรายได้เฉลี่ยคนละไม่ต่ำกว่า 3,000-7,000 บาทต่อวัน สร้างรายได้ให้แก่ชาวประมงเพิ่มมากขึ้น

นายดลหล้อ เหมพิทักษ์ อายุ 50 ปี ตัวแทนกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านบ้านไหนหนัง กล่าวว่า ตนทำอาชีพประมงมานานกว่า 30 ปี แต่ยังไม่เคยเห็นปลาทูขึ้นมากขนาดนี้มาก่อน ซึ่งในปีนี้ถือว่ามีปริมาณมากเป็นประวัติการณ์ เพราะทุกๆ ปีที่ผ่านมาชาวประมงนำเรือออกไปวางอวนจับปลาทู จะได้ปลาอย่างมากลำละไม่เกิน 50-100 กิโลกรัม แต่ในช่วงต้นเดือนกรกรกฎาคมที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ชาวประมงหาปลาได้ปริมาณมากขึ้นหลายเท่าตัว ได้อย่างน้อยลำละ 300-1,000 กิโลกรัมต่อวัน มีรายได้เฉลี่ยคนละไม่ต่ำกว่า 3,000-7,000 บาท

บางคนมีรายได้วันละ 10,000 บาท ก็ยังมีในบางวันบางช่วง แต่อย่างไรก็ตามราคาที่พ่อค้ามารับซื้อนั้นยังถูกมากไม่เป็นที่พอใจของชาวประมงมากนัก เพราะพ่อค้าจะมารับซื้อในราคากิโลกรัมละ 7-10 บาท แต่ราคาในท้องตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 25-30 บาท จึงถือว่าเป็นการกดราคากันเกินไป

นายแสน ศรีงาม หัวหน้าศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลชายฝั่งอันดามัน จ.กระบี่ กล่าวว่า จากการสำรวจปริมาณสัตว์น้ำในบริเวณชายฝั่งกระบี่ตั้งแต่เริ่มเปิดอ่าวในวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พบว่าชาวประมงในหลายพื้นที่สามารถจับสัตว์น้ำได้ปริมาณมากขึ้นและปลามีขนาดใหญ่ขึ้นโดยเฉพาะชาวประมงพื้นบ้านที่อยู่แถบชายฝั่ง เช่น ในพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอ อ่าวลึก อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา

ทั้งนี้ สาเหตุเนื่องมาจากในปีนี้มีการเพิ่มระยะเวลาปิดอ่าว ห้ามจับปลานานขึ้นกว่าเดิม จากเดิมจะปิดอ่าวเป็นเวลา 2 เดือน แต่ในปีนี้ขยายเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 3 เดือน ทำให้สัตว์น้ำมีระยะเวลาขยายพันธุ์มากขึ้น และนอกจากนี้ยังมีการขยายเขตห้ามจับสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นด้วย


สายชล 29-07-2009 19:15

เนชั่นแชนแนล : เนชั่นทันข่าว


ผลขยายปิดอ่าวกระบี่ ทำประมงชายฝั่งมีรายได้เพียบ

วันที่ 27 ก.ค.52 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณท่าเรือประมงพื้นบ้าน บ้านไหนหนัง หมู่ที่ 3 ต.เขาคราม อ.เมือง จ.กระบี่ กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านได้นำลูกหลานช่วยกันสาวอวน และช่วยกันสลัดปลาทูที่ติดอวนอยู่จำนวนนับพันกิโลกรัมมากองรวมกันบนพื้น

หลังจากที่นำเรือหางยาวออกไปทำการประมงที่บริเวณชายฝั่งทะเลบริเวณใกล้เคียงเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละลำได้ปลากลับมาเกือบเต็มลำเรือ ทำให้ชาวประมงมีรายได้เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว โดยเฉพาะตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา ชาวประมงบ้านไหนหนังมีรายได้เฉลี่ยคนละไม่ต่ำกว่า3,000-7,000 บาทต่อวัน สร้างความดีใจให้กับชาวประมงเป็นอย่างมาก

นายดลหล้อ เหมพิทักษ์ อายุ 50 ปี ตัวแทนกลุ่มชาวประมงบ้านไหนหนัง กล่าวว่า ตนทำอาชีพประมงมานานกว่า30 ปี แต่ยังไม่เคยเห็นปลาทูขึ้นมากขนาดนี้มาก่อน ซึ่งในปีนี้ถือว่ามีปริมาณมากเป็นประวัติการณ์ เพราะทุกๆปีที่ผ่านมาชาวประมงนำเรือออกไปวางอวนลอย จะได้ปลาอย่างมากลำละไม่เกิน 50-100 กิโลกรัมเท่านั้น

แต่ในช่วงต้นเดือน ก.ค.52 ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ชาวประมงหาปลาได้ปริมาณมากขึ้นหลายเท่าตัว ได้อย่างน้อยลำละ 300-1,000 กิโลกรัมต่อวัน มีรายได้เฉลี่ยคนละไม่ต่ำกว่า 3,000-7,000 บาท บางคนได้วันละ 10,000 บาทก็ยังมี

แต่อย่างไรก็ตามราคาที่พ่อค้ามารับซื้อนั้นยังถูกมากไม่เป็นที่พอใจของชาวประมงมากนัก เพราะพ่อค้าจะมารับซื้อในราคากิโลกรัมละ 7-10 บาท แต่ราคาในท้องตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 25- 30 บาท

นายแสน ศรีงาม หัวหน้าศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลชายฝั่งอันดามัน จ.กระบี่ กล่าวว่า จากการสำรวจปริมาณสัตว์น้ำในบริเวณชายฝั่งกระบี่ ตั้งแต่เริ่มเปิดอ่าวในวันที่1 กรกฎาคม2552ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน พบว่าชาวประมงในหลายพื้นที่สามารถจับสัตว์น้ำได้ปริมาณมากขึ้นและปลามีขนาดใหญ่ขึ้นโดยเฉพาะชาวประมงพื้นบ้านที่อยู่แถบชายฝั่ง เช่น ในพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภออ่าวลึก อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา

ทั้งนี้สาเหตุ เนื่องมาจากในปีนี้มีการเพิ่มระยะเวลาปิดอ่าว ห้ามจับปลานานขึ้นกว่าเดิม จากเดิมจะปิดอ่าวเป็นเวลา2 เดือน แต่ในปีนี้ขยายเวลาเพิ่มขึ้นเป็น3 เดือน ทำให้สัตว์น้ำมีระยะเวลาขยายพันธุ์มากขึ้น และนอกจากนี้ยังมีการขยายเขตห้ามจับสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นด้วย

ด้านนายมานิต ดำกุล นายกสมาคมชาวประมงจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า การที่ชาวประมงพื้นบ้านจับปลาออกมาขายได้ในปริมาณที่มากขึ้นเป็นสิ่งดี เนื่องจากทรัพยากรสัตว์น้ำมีปริมาณเพิ่มจำนวนมากขึ้น เนื่องจากนโยบายของกรมประมงที่มีการประกาศปิดอ่าว เพื่อมิให้มีการจับปลาในฤดูวางไข่ แต่เมื่อมีการเปิดอ่าวในวันที่ 1 ก.ค.52 ที่ผ่านมา ชาวประมงพื้นที่บ้าน บ้านไหนหนัง หมู่ที่ 3 ต.เขาคราม อ.เมือง บ้านบางกัน ต.อ่าวลึกน้อย อ.อ่าวลึก และบ้านแหลมสัก ต.แหลมสัก อ.อ่าวลึก สามารถจับปลาทูบริเวณอ่าวปาเกาะ ซึ่งอยู่ระหว่างอำเภอเมืองกระบี่และอำเภออ่าวลึก วันละ 1 แสนกิโลกรัม ขายในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ส่งโรงงานแปรูปลาทูนึ่งที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา ทำให้มีเงินหมุนเวียน 1 ล้านบาทต่อวัน

แต่สาเหตุที่ราคากิโลกรัมละ 7-10 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำ เนื่องจากการจับปลาของประมงพื้นบ้านไม่มีการเก็บไว้ในห้องเย็นเหมือนกับเรือพาณิชย์ทั่วไป ทำให้ปลานิ่ม คุณภาพต่ำ ราคาจึงแตกต่างถึง 10-20 บาท เพราะปลาทูที่ประมงพื้นบ้านจับมาได้นั้นส่งโรงงานปลาทูนึ่งและทำปลาเค็มได้เท่านั้น


สายชล 21-08-2009 20:00

เดลินิวส์


กรมประมงคุมเข้มการนำเข้าสัตว์น้ำต่างถิ่น

สิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่ง อาจเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตธรรมดา ๆ ที่ไม่อาจรุกรานใครได้ แต่เมื่อย้ายถิ่นฐานไปยังถิ่นอื่น จะเบียด บังสิ่งมีชีวิตอื่นที่อาศัยอยู่ก่อนแล้ว จนต้องถอย ร่นให้กับผู้มาใหม่ที่รุกราน สิ่งมีชีวิตประเภทนี้เรียกว่า “เอเลี่ยนสปีชีส์”

ภาวะคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ประเด็นหนึ่ง คือ การนำเข้าและการแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นรุกราน สำหรับประเทศไทยได้มีการนำเข้าชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นจากต่างประเทศมาก มายหลาย สายพันธุ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันโดยอาจนำมาเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงาม จำหน่าย หรือนำมาพัฒนาปรับปรุงพันธุ์เพื่อการบริโภค กิจกรรมมากมายของมนุษย์ได้ชักนำให้ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นเข้าสู่ พื้นที่ใหม่ที่ไม่อาจไปถึงได้โดยวิถีทางธรรมชาติ ซึ่งการแพร่ระบาดของสัตว์น้ำต่างถิ่นรุกรานก่อให้เกิดการสูญเสียต่อความหลาก หลายทางชีวภาพ โดยเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศและทำให้ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นสูญพันธุ์และยังมีผล กระทบเชื่อมโยงไป ถึงด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสุข อนามัย

เมื่อสัตว์น้ำต่างถิ่นหลุดรอดลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติแล้วจะสามารถ ปรับตัวและเจริญเติบโตหรือแทนที่ชนิดพันธุ์พื้นเมืองที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ได้ดี บางชนิดสามารถแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนได้รวดเร็วและแพร่กระจายไปได้ทั่ว อาจก่อให้เกิดผลกระทบในภาพรวม อาทิ การล่าปลาพื้นเมืองกินเป็นอาหาร เป็นตัวแก่งแย่งถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร แหล่งวางไข่ของปลาพื้นเมืองเดิม และอาจนำโรคหรือปรสิตมาสู่คนได้

สำหรับสัตว์น้ำต่างถิ่นที่รุกรานแล้ว ตามทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ควรป้องกัน ควบคุม และกำจัดของไทย ได้แก่ ปลาช่อนอเมซอน หอยเชอรี่ ปลาซัคเกอร์ ปลาดุกแอฟริกัน ปลาหมอเทศ เต่าญี่ปุ่น ตะพาบไต้หวัน และสัตว์น้ำต่างถิ่นที่มีแนวโน้มรุกราน ได้แก่ ปลาหมอสียักษ์ ปลาจะละเม็ดน้ำจืด ปลาคู้ดำ ปลาแกมบูเซีย ปลากดหลวง ปลาเรนโบว์เทร้าท์ ปลาหางนกยูง ปลามอลลี่ ปลาเซลฟิน กบ บลูฟร็อก และกุ้งเครย์ฟิช

ทั้งนี้ กรมประมงได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว ในส่วนของการควบคุมและกำกับดูแลได้ดำเนินการปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้ นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาฯ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2547 และมีผลบังคับใช้แล้ว นอกจากนี้ ยังได้มีคณะกรรมการระดับสถาบันด้านความปลอดภัย และความหลากหลายทางชีวภาพของกรม ประมงคอยกำกับดูแลและพิจารณาอนุมัติการนำเข้าสัตว์น้ำต่างถิ่นที่ผู้นำเข้า เสนอขออนุญาตต่อกรมประมงอีกทางหนึ่ง เพื่อจะได้ควบคุมการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นมิให้มีผลกระทบต่อทรัพยากร ชีวภาพสัตว์น้ำของชาติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่การปฏิบัติอย่างได้ผลคงจะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้นำ เข้า ผู้เลี้ยง ตลอดจนประชาชนทั่วไป

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการช่วยกันเฝ้าระวังการเพิ่มจำนวนของสัตว์น้ำต่างถิ่นในแหล่ง น้ำธรรมชาติ ทางกรมประมงแจ้งมาว่าอยาก ให้ผู้ที่มีสัตว์น้ำต่างถิ่นในครอบครอง ไม่ปล่อย สัตว์น้ำดังกล่าวลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยเด็ดขาด เพื่อรักษาระบบนิเวศให้คงอยู่ตลอดไป ในกรณีที่ไม่สามารถเลี้ยงและดูแลต่อไปได้ เช่น มีขนาดใหญ่กว่าภาชนะที่เลี้ยง หรือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ควรส่งมอบให้กับกรมประมงเพื่อดำเนินการบริหารจัดการต่อไป.


วันที่ 21 สิงหาคม 2552


สายชล 21-08-2009 20:07

ข่าวสด


ประมงประจวบฯสนองพระราชดำริ เล็งฝึกเกษตรกรเพาะ"ปลานวลจันทร์"ในบ่อดิน

ประจวบ คีรีขันธ์ - นายฐานันดร์ ทัตตานนท์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง เปิดเผยว่า กรมประมงน้อมนำพระราชดำริศึกษาวิจัยปลานวลจันทร์ทะเล เพื่อเตรียมพร้อมขยายผลสู่เกษตรกรเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์มาดำเนินการ ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ เพาะเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในบ่อดินได้สำเร็จ ซึ่งปลานวลจันทร์เลี้ยงง่ายโตไว รสชาติดี ถอดก้างแล่เนื้อ ทำอาหารได้หลายชนิด จากนั้นจะฝึกอบรมเกษตรกรที่สนใจตามโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนด้านประมงชายฝั่งให้มีความรู้ในเรื่องนี้ และจะมอบลูกปลาให้ไปทดลองเลี้ยงเป็นอาชีพต่อไป

นายฐานันดร์ กล่าวด้วยว่า การเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยเมื่อครั้งเสด็จฯ พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทอดพระเนตรปลานวลจันทร์ทะเลที่สถานีประมงคลองวาฬ เมื่อปี 2508 ซึ่งปรากฏในกระแสพระราชดำรัสวันที่ 4 ธ.ค. 2544

ด้าน น.ส.จินตนา นักระนาด ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบ คีรีขันธ์ กล่าวว่า หลังจากประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ในบ่อดินได้นำผลผลิตมา แปรรูป เช่น ปลาต้มเค็ม ปลาส้ม ปลาแหนม ปลาร้า ทำทอดมันและเปาะ เปี๊ยะ เพิ่มเติมจากที่ประสบความสำเร็จในการวิจัยสัตว์น้ำชายฝั่งที่มีความสำคัญทาง เศรษฐกิจมาแล้ว อาทิ งานอนุรักษ์หอยมือเสือ งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลชายฝั่ง เช่น หอยเป๋าฮื้อ ปลิงทะเล หอยหวาน หอยชักตีน การเพาะเลี้ยงแพลงตอนพืช และแพลงตอนสัตว์





..................................................................


แนวหน้า


กษ.เร่งสร้างปะการังเทียม ร่วมสนองพระราชเสาวนีย์

กษ.:ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์(กษ) เปิดเผยว่า ตามที่นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้กรมประมง เร่งดำเนินการจัดสร้างปะการังเทียมให้แก่ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ จ.ปัตตานี และนราธิวาส ตามที่ได้เข้าชื่อร้องมา โดยได้ขอความร่วมมือไปยังกระทรวงคมนาคมและกรุงเทพมหานคร เพื่อขอรับการสนับสนุนตู้รถไฟเก่าและรถขนขยะที่ไม่ใช้งานแล้ว ทั้งนี้เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรม ราชินีนาถ ที่ได้ทรงกล่าวในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2552

ดังนั้นจึงได้สั่งการให้ประมง จ.ปัตตานีและนราธิวาส รวจในพื้นที่จริงเพื่อดูความเหมาะ สมเชิงวิชาการด้านระบบนิเวศพร้อมทั้งลงจุดพิกัดให้แน่นอน โดยให้เร่งดำเนินการโดยด่วนและให้แล้วเสร็จภายใน 31 ส.ค. นี้ ซึ่งคาดว่าผลจากการสร้างปะการังเทียม จะช่วยทำให้ชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 20-30 เปอร์เซ็นต์ และยังช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้ได้ผลอย่างยั่งยืนอีกด้วย


วันที่ 21 สิงหาคม 2552

สายชล 04-11-2009 11:18



ตัวอย่างการทำประมงแบบล้างผลาญ กับ การทำประมงแบบอนุรักษ์ ต่างกันอย่างไร ลองมาอ่านข้อพิพาทเรื่องนี้กันนะคะ....


ไทยรัฐ


เพชรบุรี-แม่กลอง เปิดศึกชิงหอย

"ถ้าเราไม่โพงหอย เราจะทำอะไรกิน"

เสียงยายม่วย พยุง อายุกว่า 70 ปี พึมพำ ท่ามกลางเสียงคลื่นอ่าวบ้านแหลม เบื้องหน้ายายเต็มไปด้วยหอยแครงตัวเล็กๆ ที่เพิ่งงมขึ้นมาจากทะเล เพื่อให้เห็นกันชัดๆว่า หอยแครงที่ชาวแม่กลองกับชาวบ้านอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เปิดศึกชิงกันนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร

ริมอ่าวไทย บริเวณตั้งแต่ชลบุรี เลาะเลียบป่าชายเลนเรื่อยไปจนถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ละปีไม่บริเวณใดก็บริเวณหนึ่ง หรือไม่ก็หลายบริเวณจะมี "หอยเกิด"

คำว่า หอยเกิด ชาวประมงหมายถึง ไข่ของหอยแครงฟักเป็นตัวออกมาตัวเล็กๆ เริ่มจากขนาดเท่าเม็ดทราย ค่อยเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตามวงจรชีวิตของหอยแครง ช่วงเวลานี้เองคือ "วันที่รอคอย" ของชาวบ้านมงริมอ่าวไทย

ยายม่วยแม้จะชราภาพ แต่ด้วยความชำนาญในอาชีพ ประกอบกับฐานะยากจนจึงยึดอาชีพโพงหอยเลี้ยงชีพ หอยที่ได้ยายนำมาเลี้ยงและขาย

ยายบอกว่าทำมาตั้งแต่เยาว์วัยเรื่อยมาจนบัดนี้อายุกว่า 70 ปีแล้วก็ยังทำอยู่ และยืนยันว่าจะทำต่อไป

การโพงหอย หรือช้อนหอยแครงเล็กๆ จากทะเล ชาวประมงจะทำกันอย่างเอิกเกริกเมื่อรู้ว่าหอยเกิดในบริเวณใด และไม่ว่าจะเป็นอ่าวไหน แต่มาปีนี้ เมื่อหอยเกิดบริเวณอ่าวย่านตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ชาวแม่กลองและย่านอื่นๆจึงพากันไปจับเหมือนปฏิบัติกันมา แต่ปีนี้กลับถูกเจ้าถิ่นต่อต้าน

"ทำไมต้องมาหวงกันด้วย ในเมื่อหอยเกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ และเราก็ทำมาหากินกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ" นายนิกรถาม

นายนิกร แก้วประสม อายุ 74 ปี อยู่บ้านเลขที่ 26 หมู่ 4 ต.คลองโคน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เป็นหนึ่งในชาวบ้านที่ยึดอาชีพโพงหอย

หลังตั้งคำถามแล้วยังบอกอีกว่า ชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นตำบลคลองโคน หรือถิ่นอื่นๆ พากันตระเวนหาโพงหอยกันทั้ง 5 จังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ชลบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และสุราษฎร์ธานี พอรู้ว่าหอยเกิดก็จะพากันไปจับกันเพื่อการดำรงชีพ

เครื่องมือประกอบอาชีพโพงหอยคือ เรือ 1 ลำ ชะเนาะสำหรับช้อน 1 อัน กะละมัง 1 ใบ และกระดานเลน 1 อัน ก็สามารถหากินได้แล้ว

วิธีการโพงหอยของชาวบ้านคือ พายเรือออกไปที่หอยเกิด ผูกกะละมังให้ลอยน้ำไว้กับเรือ แล้วดำลงไป ใช้ชะเนาะครูดผิวดินแผ่วๆแล้วโผล่ขึ้นมาเทสิ่งที่ครูดได้นั้นลงกะละมัง จากนั้นคัดแยกหอยตามต้องการ ส่วนปลอมปนใดๆที่ติดมาก็ปล่อยคืนทะเลไป

การเดินทางไปโพงหอยที่อ่าวบ้านแหลม นายสมพงษ์ สุดสนิท อายุ 62 ปี บ้านเลขที่ 33/1 หมู่ 4 ต.คลองโคน ฉายภาพชีวิตให้เห็นว่า แล่นเรือออกจากบ้านไปตั้งแต่เย็นย่ำ ระยะทางจากบ้านคลองโคนถึงอ่าวบ้านแหลมประมาณ 30 กม. ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. เสียน้ำมันเครื่องเรือประมาณ 4 ลิตร ถ้าไปกลับก็ประมาณ 8 ลิตร

การช้อนหอยเริ่มประมาณ 20.00 น. เพราะน้ำทะเลเริ่มลง

ระดับน้ำที่ลงโพงหอย ตั้งแต่ระดับท่วมหัวลดลงมาเรื่อยๆ บ่า อก เอว และถ้าเป็นกลางวันก็ใช้กระดานเลนวางลงไป นั่งคุกเข่าบนกระดาน ใช้เท้าถีบลื่นไปบนเลน เก็บหอยขนาดต่างๆตามต้องการ

หอยแครงเล็กๆที่เก็บมาได้ ขายกิโลกรัมละ 30-100 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด ถ้าตัวหอยขนาดเล็กราคาก็จะแพงกว่า

หอยที่ได้มาส่วนหนึ่งขาย ส่วนหนึ่งใส่คอกเลี้ยง

คอกหอยแครงล้อมด้วยเฝือก ลักษณะเป็นไม้ไผ่ผ่าซี่ ถักออกมาเป็นแผงปักลงในน้ำ หอยในคอกใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 1.5 ปีถึง 2 ปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของหอยที่ใส่คอกไปว่าเล็กหรือใหญ่

สมพงษ์บอกว่า ทำมาหากินกันอย่างนี้มาตั้งแต่บรรพบุรุษ ไม่เคยมีปัญหาอะไร แต่คราวนี้กลับมามีปัญหา และย้ำว่า "ที่หอยเกิดที่บ้านเรา หน้าอ่าวคลองโคนของเรา คนถิ่นอื่นๆเข้ามาจับพวกเขาก็เข้ามาจับ เราไม่เห็นว่าอะไรเลย เราไม่เห็นต้องไปหวงห้ามอะไรเขาเลย อย่างปี พ.ศ. 2550 นั่นก็เกิดมาก ทาง สกว.เขามาสำรวจแล้วบอกว่า ถ้าคิดเป็นเงินไปแล้วไม่ต่ำกว่า 35 ล้านบาท"

สำหรับเหตุการณ์เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กรณีข่าวว่าชาวบ้านล้อมประมงที่เข้าไปตรวจตรานั้น ผู้นำคนหนึ่งของตำบลคลองโคน บอกว่า จริงๆแล้ว ชาวบ้านไม่ได้ไปล้อมชาวประมง แต่ต้องการเข้าไปพูดจากันให้รู้เรื่อง

"เราต้องเข้าไปคุยไม่ได้ไปจับ เขา เพราะชาวบ้านที่ถูกจับไปต้องจ่ายค่าปรับ 5,000 บาท คิดดูสิครับ ถ้าจ่ายค่าปรับไปเราจะเอาอะไรกิน ต้องกู้หนี้ยืมสินเข้าไปจ่าย ข่าวที่ออกไปว่าเราไปล้อมจับนั้น ไม่เป็นความจริง"

ความจริงในวันนั้นคือ "เราเข้าไปล้อมเพื่อจะพูดคุยเท่านั้น เมื่อ เราเข้าไปประมงก็หนีเข้าแม่น้ำไป เลยไม่รู้เรื่องกัน แล้วเขาก็โทร.บอกตำรวจ" ผู้นำชาวบ้านคลองโคนยืนยัน

เหตุการณ์วันต่อมา "ตำรวจนัดไปคุยกันที่บ้านแหลม แต่เราตกลงกันไม่ได้ นายอำเภอก็จัดการไม่ได้ วันที่ 30 ที่ผ่านมา เราเลยจะไปกัน 4-5 คน แต่เราได้ยินว่าทางโน้น (คนบ้านแหลม) เขาให้คนมาด้วย พวกเรารู้กันก็เลยไปกัน 6-700 คน และยังมีชาวบ้านที่จับหอยจากที่อื่นๆมาสมทบอีก"

ชาวบ้านแหลมห้ามจับหอยด้วยเหตุผลอะไร

ผู้นำชาวบ้านคลองโคนบอกว่า ทางบ้านแหลมบอกว่าต้อง การอนุรักษ์ ถ้าจะไปจับต้องใช้มืออย่างเดียว ไม่ให้ใช้ชะเนาะ "เราถามหน่อยเถอะ ถ้าต้องการอนุรักษ์ ทำไมมีนายทุนหนุนหลัง ใช้เรือเครื่องคราดหอยได้"

" เมื่อทางโน้นเขาไม่ยอม อ้างว่าเป็นพื้นที่อนุรักษ์ เราก็ไม่ว่าล่ะ เอาอย่างนี้ได้ไหม ขอบางส่วนที่เข้าไปเก็บ ขอพื้นที่แค่ 1 ใน 3 ก็ได้" นายทศพลแนะทางออก

นายทศพล แดงชื่น อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 45 หมู่ 4 ตำบลคลองโคน เป็นหนึ่งในคนโพงหอย นอกจากแนะทางออกแล้วยังเปรยว่า หากินมาตั้งแต่รุ่นพ่อ รุ่นแม่ หอยมันเกิดของมันแต่ละที ปีเว้นปี "ผมเกรงว่า เมื่อหอยโตเขาก็จะให้นายทุนเข้ามาลาก" นายทศพลบอก

และว่า "คนตำบลบางขุนไทร เมื่อก่อนเขามีอาชีพโพงหอยที่ไหน เขาทำหอยเสียบกัน เขาเพิ่งมารู้จักหอยแครง ก็ทำเป็นกลุ่มอนุรักษ์ขึ้นมา เมื่อเราเข้าไปโพงหอยก็โดนจับ" ทศพลยืนยัน

คนที่เคยถูกเจ้าหน้าที่จับ นายไพโรจน์ พยุง อายุ 40 ปี บ้านเลขที่ 44/3 หมู่ 4 ต.คลองโคน บอกว่า ถูกจับที่บางขุนไทร เขตอ่าวบ้านแหลม ขณะกำลังจับหอยอยู่มีชาวบ้านและประมงเข้ามาจับตัวไป

"เขาขังผมไว้ 1 คืน ปรับผมไป 5,000 บาท แล้วก็ปล่อยตัวมาครับ ตอนนี้ผมอยู่ในระหว่างภาคทัณฑ์ ถ้าโดนจับอีกจะต้องติดคุก 4 เดือน" นายไพโรจน์บอก

กลุ่มของไพโรจน์ถูกจับไป 4 คน ต้องจ่ายค่าปรับไป 20,000 บาท เงินจำนวนนี้แยกเป็นค่าปรับรายละ 4,000 บาท และค่าออกจับของเจ้าหน้าที่อีกรายละ 1,000 บาท

เสียงจากบ้านคลองโคน ฟังแล้วก็น่าเห็นใจ แต่อีกฟากฝั่งหนึ่งเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องฟังและต้องทำความเข้าใจร่วมกัน.

http://www.saveoursea.net/forums/att...1&d=1257294135

สายชล 04-11-2009 11:22



ลองมาฟังเจ้าถิ่น นักอนุรักษ์พูดบ้างนะคะ....


ไทยรัฐ


คนหัวไทรเสียงแข็ง จับหอยได้ห้ามโพง

"ถ้าใช้มือจับเราไม่ว่า แต่นี่มาโพงเราไม่ยอม"

สมยศเสียงแข็ง

สม ยศ ภู่ระหงษ์ อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 113 หมู่ 3 ต.บางขุนไทร อ.บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี หนึ่งในคนต่อต้านการมาจับหอยของชาวบ้าน ตำบลคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม และชุมชนอื่นๆ ที่มาจับลูกหอยแครงในอ่าวบ้านแหลม

เมื่อคนถิ่นอื่นเข้ามาจับ เจ้าถิ่นจึงรวมตัวกันต่อต้าน โดยอาศัยกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ประมง ชาวบ้าน อาวุธสำคัญของชาวบ้านแหลมคือ ประกาศของจังหวัดเพชรบุรี เรื่องกำหนดห้ามทำการประมงหอยสองฝา

การ ผลักดันของเจ้าหน้าที่ราชการ และชาวบ้านที่เข้ามาจับหอยที่อ่าวบ้านแหลม ทำให้มีการกระทบกระทั่งกัน กลายเป็นศึก "ชิงหอยแครง" มาตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม

"ผมใช้มือเก็บ และเก็บตัวขนาดตั้งแต่ 6 มิลลิเมตรขึ้นไป ไม่ได้โพง"

สมยศยืนยันและบอกว่า ยึดอาชีพเก็บหอยขายมาตั้งแต่อายุ 21 ปี รายได้แต่ละวันเริ่มจาก 200 บาทเรื่อยไปจนถึงประมาณ 300 บาท

" ผมไม่เคยไปเก็บที่อื่น เครื่องมือผมมีแค่ใช้กระดานเลนวางลงไป แล้วเลื่อนไปเรื่อยๆ ใช้มือเก็บเอา ถ้าเขามาเก็บแล้วใช้มือผมไม่ว่าหรอก ต้องทำให้เหมือนกันสิ คนแถวบ้านผมเก็บหอยขนาด 6 มิลลิเมตรขึ้นไปเท่านั้น ไม่เก็บตัวเล็กลงมาหรอก" สมยศยืนยัน

และบอกว่า "หอยเล็กๆ 1 กิโลกรัม จะมีประมาณ 10,000 ตัว มันเล็กเกินไปครับ จับไปอย่างนี้เท่ากับตัดวงจรหอย"

การ ถีบกระดานเลนเก็บหอยแครงนี้ นายผิน อ้นเปี่ยม อายุ 62 ปี บ้านเลขที่ 155/1 หมู่ 10 ต.บางขุนไทร อ.บ้านแหลม เป็นอีกคนหนึ่งที่ยืนยันว่า ชาวบ้านแหลมใช้วิธีถีบกระดานเก็บเท่านั้น ไม่ได้ใช้วิธีการอื่นๆ

"ผม มายึดอาชีพนี้ตั้งแต่ไล่ทหาร (อายุ 21 ปี) ตอนนี้อายุกว่า 60 แล้ว ทำมาตั้งกว่า 40 ปี รายได้วันหนึ่งตั้งแต่ 100 บาทเรื่อยไปจนถึง 300 บาท ได้มากได้น้อยขึ้นอยู่กับน้ำแห้งมากแห้งน้อย ถ้าแห้งมากก็จะได้มาก เพราะพื้นที่เก็บเยอะ" นายผินบอก

"ถ้าเขาเก็บเหมือนเรา ทำเหมือนเราละก็เข้ามาจับเลย เราไม่ว่าหรอก ไม่มีการหวงห้าม แต่นี่เขามาจับเอาตัวเล็กๆไป" ผู้ใหญ่จรรยงบอก

ผู้ใหญ่จรรยง พิทักษ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 ต.บางขุนไทร อ.บ้านแหลม หนึ่งในผู้นำต่อต้านการเข้ามาจับหอยแครงของชาวบ้านถิ่นอื่นๆ

การกำหนดมาตรการดูแล ผู้ใหญ่บอกว่า เราให้เจ้าหน้าที่จัดการไปก่อน ให้เป็นไปตามกฎหมายและประกาศของจังหวัด ถ้าใครทำผิดก็ต้องดำเนินไปตามกฎหมาย ประกาศของจังหวัดเพชรบุรีนั้น ออกเมื่อ พ.ศ.2551 สมัยผู้ว่าการการจังหวัด ชื่อนายสยุมพร ลิ่มไทย

เนื้อหาสำคัญคือ
1. ห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงทุกชนิด ทำการประมงหอยสองฝาในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลตำบลบ้านแหลม ตำบลบางขุนไทร และตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลม ยกเว้นการทำประมงหอยสองฝาด้วยวิธีการจับหรือเก็บด้วยมือเท่านั้น

2. ประกาศนี้มิได้ใช้บังคับแก่การทำการประมงเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง และ

3. ประกาศนี้เมื่อมีผลบังคับใช้แล้ว ให้ยกเลิกประกาศอื่นที่มีข้อความขัดแย้งกับประกาศนี้ ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2551

พื้นที่ห้ามในประกาศ หมายถึงพื้นที่ชายทะเล ตั้งแต่อ่าวบ้าน-แหลม ต.บ้านแหลม ลากยาวขนานทะเลไปจนถึงอ่าวปากทะเล ตำบลปากทะเล ใครจะมาจับหอยในพื้นที่เหล่านี้ ต้องใช้มือจับเท่านั้น ถ้ามีอุปกรณ์ช่วยจับใดๆ ถือว่าผิดกฎหมายทั้งสิ้น

ถ้าฝ่าฝืนจะถูกจับและปรับคนละ 4,000 บาท และค่าจับอีก 1,000 บาท อย่างที่ชาวคลองโคน จังหวัดสมุทรสงครามถูกจับและเสียค่าปรับไปแล้ว

ผู้ใหญ่จรรยงบอกว่า การห้ามเป็นเรื่องยาก "เพราะเขาไม่เคารพกติกาของบ้านเมือง เขามาเป็นม็อบตลอด ทุกครั้งเขาอยู่เหนือกฎหมายกันไปเสียหมด ถ้าเคารพกติกาของชุมชนเรา จะมาเก็บมาจับเอาไปเท่าไรก็ได้"
สาเหตุที่ต้องเก็บหอยไว้ "เพราะเราต้องการอนุรักษ์ไว้เพื่อลูกเพื่อหลานของเรารุ่นต่อๆไป..."

ผู้ใหญ่ยังเปรยเรื่องทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลว่า "นับจากแม่กลองมาถึงบ้านแหลม คุณลองไปดูสิ เขาให้สัมปทานใช้พื้นที่ชายทะเลกันหมด มีคอกหอยเต็มไปหมด เหลือพื้นที่ของเราที่บ้านแหลมที่เดียวที่เราไม่ยอมให้มีคอกหอย เมื่อหอยมาเกิดที่นี่ก็เลยเกิดปัญหาที่นี่"

พลางยืนยันเสียงแข็งว่า "พื้นที่นี้เป็นตายอย่างไรเราก็ไม่ให้หรอก เราไม่ทำ เพราะเราต้องการอนุรักษ์ไว้ คนเก็บหอยบ้านเราก็ไม่ได้ร่ำรวย พอกิน พอใช้ไปวันๆ แต่ชาวบ้านรักเพราะเป็นอาชีพอิสระ ออกไปหาหอยกลับมาอย่างไรก็มีกินแน่ๆ ขอให้ขยันอย่างเดียว" ผู้ใหญ่พิทักษ์บอก

พื้นที่เกิดหอยของอ่าวบ้านแหลม นายพัทยา เกษมรุ่ง อายุ 45 ปี บ้านเลขที่ 105/1 หมู่ 10 ต.บางขุนไทรบอกว่า อ่าวบ้านแหลมเป็นแหล่งพันธุ์หอยธรรมชาติที่ชุกชุมมาก อาจจะเป็นแหล่งเดียวของโลก

เพราะความอุดมสมบูรณ์นี้ ชาวบ้านจึงหวงแหนและเก็บหอยไป "ส่วนคนแม่กลองเขามาช้อนไปใส่คอก เขามีคอกเป็นส่วนตัวของเขา แต่พวกเราไม่มีคอก แค่จับหอยขายไปวันๆ และยึดอาชีพจับหอยขายอย่างเดียว จึงกลายเป็นเรื่องขัดแย้งกัน เพราะถ้าหอยที่นี่หมด พวกเราก็ไม่รู้จะไปจับที่ไหน" นายพัทยาบอก

เกี่ยวกับหอยแครง ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Arca granulosa เป็นหอย จำพวกกาบคู่ อาศัยอยู่พื้นท้องทะเลชายฝั่งตื้นๆ ที่เป็นโคลนหรือโคลนเหลว พบมากที่จังหวัดที่มีชายทะเล เช่น สมุทรสงคราม จังหวัดชลบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี และปัตตานี เป็นต้น
อาหารของหอยแคลงคือ พวกไดอะตอม แพลงก์ตอนพืช และแพลงก์-ตอนสัตว์

หอยแครงจะมีอุปนิสัยชอบฝังตัวอยู่ตามผิวดินโคลน ลึกตั้งแต่ 1-12 นิ้ว โดยเราจะสังเกตเห็นเป็นรูจำนวน 2 รูป ที่ผิวดินซึ่งเป็นช่องทางน้ำเข้า-ออก และสามารถเห็นรอยการเคลื่อนที่ของหอยเป็นร่องๆ โดยใช้เท้าในการเคลื่อนที่เพื่อหาอาหาร

หลบหลีกศัตรู และเพื่อหาสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม หอยแครงจะขึ้นมาที่ผิวดินเมื่อน้ำขึ้นเพื่อหาอาหาร และจะฝังตัวใต้ผิวดินเมื่อน้ำลงเพื่อป้องกันน้ำออกภายนอกตัวหอย แต่จะเปิดฝาทั้ง 2 เล็กน้อย

หอยแครงมีหลายชนิด เช่น หอยแครงเทศ หอยแครงขุ่ย หอยแครงปากมุ้ม หอยแครงมัน หรือหอยแครงเบี้ยว เป็นหอยที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ชนิดที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่จะเรียกหอยครางหรือหอยแครงขน

หอยแครงชนิดที่ชาวบ้านจับและมีปัญหากันอยู่ นายศรีเพชร สุ่มอ่ำ อายุ 40 ปี อบต.บางขุนไทร บอกว่า คือหอยแครงปากมุ้ม ถ้าจับตัวเล็กๆ ขนาดเม็ดทรายต้องใช้เวลาดูแลประมาณ 1 กว่าถึง 2 ปี

ถ้าจับตัวขนาด 6 มิลลิเมตร ใน 1 กิโลกรัม จะมีหอยประมาณ 3-400 ตัว อนุบาลไว้ประมาณ 7 เดือน น้ำหนัก 1 กิโลกรัม จำนวนตัวหอยจะเหลือประมาณ 60-70 ตัวเท่านั้น และขนาดนี้ก็นำไปประกอบอาหารได้แล้ว

นายศรีเพชร สุ่มอ่ำ อบต.บางขุนไทร บอกว่า สาเหตุที่อนุรักษ์ไว้ นอกจากเป็นอาชีพของชาวบ้าน ต่อไปจะเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและที่สำคัญ "เด็กๆช่วงปิดเทอมก็สามารถมาจับหอย การทำอาชีพเก็บหอยไม่มีเกษียณอายุ ทำได้ตั้งแต่เด็กๆ เรื่อยไปจนถึงแก่เฒ่า ตราบใดที่ยังมีหอย ขอให้มีความขยันอย่างเดียว อย่างไรก็มีกิน" นายศรีเพชรบอก

ศึกชิงหอยแครงในอ่าวบ้านแหลม ระหว่างคนพื้นที่กับคนถิ่นอื่นๆ แม้จะไม่รุนแรงนัก แต่เป็นสัญญาณให้รู้ว่า การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ เกิดปัญหาแล้ว.



สายชล 04-11-2009 11:25

http://www.saveoursea.net/forums/att...1&d=1255075639 http://www.saveoursea.net/forums/att...1&d=1255075639

คงจำกันได้....พวกเราชาว SOS เพิ่งไปปล่อยปูม้าสองแสนตัว และหอยแครงล้านตัว ที่แหลมผักเบี้ย ที่ไม่ไกลจากอ่าวบ้านแหลม ที่กำลังมีเรื่องพิพาทเรื่องคนจากคลองโคน สมุทรสงคราม เข้าไป "โพงหอยแครง" ในเขตอนุรักษ์ของชาวบ้านแหลมนัก

เราได้เห็นภาพประทับใจว่าคนที่นั่น เขางมหอยแครงด้วยมือเปล่า โดยไม่ใช้เครื่องมืออื่นใดมาช่วย ตามแนวทางที่ชาวบ้านได้ร่วมกันตั้งกฎไว้ เพื่ออนุรักษ์หอยแครงและสัตว์น้ำอื่นๆในบริเวณนี้

แล้วมันผิดด้วยหรือ.....ถ้าเจ้าถิ่นที่เริ่มรู้จักคำว่า "อนุรักษ์" พากันจับกุ้งหอยปูปลาที่มีในท้องถิ่นของตนมากินมาขายกันแบบพอเพียงด้วยมือเปล่า เพื่อให้มีสัตว์น้ำเหลือไว้กินในวันข้างหน้า ถ้าคนถิ่นอื่นจะเข้าไปหากินในเขตอนุรักษ์ และทำตามกฎที่เขาวางไว้ ไม่ใช่ทำแบบกอบโกยอย่างนี้ เขาก็คงจะไม่ร่วมกันต่อต้านให้เดือดร้อนกันอย่างที่เป็นข่าวนะคะ


milo15 04-11-2009 16:16

จริงๆแล้ว พวก"โพงหอยแครง" น่าจะตระหนักบ้างนะว่า วิธีการดังกล่าวนั้นทำให้ หอยแครงลดจำนวนลงแทบจะสูญพันธุ์ ในบริเวณที่เคยทำมาหากินกันมา เลยต้องตะเลิดเปิดเปิง ข้ามถิ่นมารุกล้ำที่ทำมาหากินของคนอื่นเขา เขาก็ไม่ว่า ยอมแบ่งบันให้ เพียงให้ใช้วิธีจับแบบของเขา คือ "ใช้มือจับ" พวก"โพงหอยแครง"ไม่พอใจ จะใช้วิธีของเขาให้ได้ คงเป็นเพราะความโลภฝังหัว ปัญหาจึงเกิด.... เรื่องคงยาวครับ อ.สองสาย คนเพชรบุรีบ้านผม ไม่ยอมใครหรอกครับ ถ้าไม่ผิด....

สายชล 18-03-2010 09:42

เดลินิวส์


รองรับกฏระเบียบของสหภาพยุโรป ประมงไทยมีความคืบหน้า

สืบเนื่องจากสหภาพยุโรปได้ออก กฎระเบียบฉบับที่ 1005/2008 ลงวันที่ 29 กันยายน 2551 ว่าด้วยการจัดตั้งระบบของประชาคมยุโรปเพื่อป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือการทำการประมง ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป กฎระเบียบดังกล่าวได้กำหนดให้สินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงซึ่งได้จากการทำประมง ทะเลที่จะส่งเข้าไปยังสหภาพยุโรป จะต้องมีเอกสารรับรองการจับ ว่าไม่ได้มาจากการทำประมง นอกจากนี้ จะต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับ ถึงแหล่งที่มาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงทะเลได้ตลอดสายการผลิต อีกด้วย กฎระเบียบนี้จะส่งผลกระทบต่อการส่งสินค้าสัตว์น้ำของประเทศไทยไปยังประเทศ สหภาพยุโรป ซึ่งไทยส่งออกสินค้าสัตว์น้ำไปขายต่างประเทศทั้งในรูปสัตว์น้ำมีชีวิต สดแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์แปรรูป โดยในปี 2551 ที่ผ่านมาสินค้าสัตว์น้ำที่ส่งออกทั้งสิ้นมีปริมาณรวม 1,907,072 ตัน คิดเป็นมูลค่า 228,218 ล้านบาท ในจำนวนนี้ส่งเข้าสหภาพยุโรป 268,806 ตัน คิดเป็นมูลค่า 36,232 ล้านบาท

ล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงได้ดำเนินการเพื่อรองรับกฎระเบียบของสหภาพยุโรปไว้อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา โดยทางกรมประมงได้จัดประชุมสัมมนาในเรื่องของกฎระเบียบสหภาพยุโรปเกี่ยวกับ การประมงแบบป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และเตรียมตัวรองรับกฎระเบียบดังกล่าว โดยมีวิทยากรจากสหภาพยุโรปมาชี้แจง ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากสหภาพยุโรป ร่วมกันศึกษาผลที่เกิดแก่ประเทศไทยหลังกฎระเบียบนี้บังคับใช้แล้ว ซึ่งจากผลการศึกษาทราบว่าประเทศไทยมีศักยภาพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบ ได้อย่างแน่นอน แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเพื่อรองรับกฎระเบียบของสหภาพยุโรป โดย กรมประมงได้จัดวางระบบการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ ระบบการตรวจสอบย้อนกลับโดยใช้ระบบการควบคุมการทำประมงให้เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งมี การรายงานการทำการประมง และคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กรมประมงเป็นหน่วยงาน ในการรับรองสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากการทำการประมงที่ไม่ได้มาจากการทำประมงไอยูยู

พร้อมกันนี้ได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในกฎระเบียบ เกี่ยวกับเรื่องของการทำการประมงไอยูยู เพื่อรองรับกฎระเบียบดังกล่าวแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ประกอบการเรือประมง และผู้ส่งออกสินค้า รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ตลอดจนจัดพิมพ์สมุดบันทึกการทำการประมงแจกให้ชาวประมง เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกภาคส่วนได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดียว กัน

มีการจัดทำกิจกรรมเร่งด่วน 6 กิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบรับรองสัตว์น้ำขึ้นท่าและการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ การควบคุมการทำประมงให้สอดคล้องกับกฎระเบียบดังกล่าว การปรับปรุงสุข อนามัยเรือประมงและท่าเทียบเรือประมง จัดตั้งศูนย์ข้อมูลตรวจสอบรับรองการจับสัตว์น้ำ การประชาสัมพันธ์การดำเนินการตามกฎระเบียบนี้ และตั้งศูนย์ประสานงานการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ

แจกสมุดบันทึกการทำการประมงไปแล้วจำนวน 2,242 เล่ม และมีผู้ส่งสำเนา คืน 1,383 แผ่น ร่วมกับกรมเจ้าท่าออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ ให้บริการจดทะเบียน เรือ และออกใบอนุญาตใช้เรือ รวมทั้งออกอาชญาบัตรการทำการประมง ในพื้นที่ 22 จังหวัดชายทะเล โดยเริ่มที่จังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดนำร่อง ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ และ ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม ที่ผ่านมานี้ โดยมีชาวประมงมาใช้ บริการ 117 ราย และมีเป้าหมายรวม 7,000 ราย สำหรับปีงบประมาณ 2553 นี้

และเพื่อให้การประมงของไทยได้รับผลกระทบจากกฎระเบียบฉบับนี้น้อยที่สุด ทางกรมประมงจึงขอความร่วมมือจากพี่น้องชาวประมง ผู้ประกอบการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ แพปลา ผู้รับซื้อสัตว์น้ำ และผู้ประกอบการโรงงานแปรรูป ได้ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของระบบต่าง ๆ ที่กรมประมงได้วางไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์อันพึงได้ของส่วนที่เกี่ยวข้องต่องานด้านการประมงไทย นั้นเอง.


สายน้ำ 21-03-2010 06:59


กระบี่ สั่งปิดอ่าวช่วงฤดูปลาวางไข่


กระบี่ - นายเจริญ โอมณี หน.ศูนย์ป้องกันและปราบปราม ประมงทะเลฝั่งอันดามัน จ.กระบี่ เปิดเผยว่า ตามที่กรมประมง กระทรวงเกษตรฯ ออกประกาศเรื่องกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิด ทำการประมงในฤดูปลาที่มีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูก ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง เป็นประจำทุกปี ในปีนี้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-30 มิ.ย. รวมระยะเวลา 3 เดือน บริเวณที่มีการประกาศปิดอ่าว เริ่มตั้งแต่ปลายแหลมพันวา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ถึงตะวันออกปลายแหลมหัวล้านเกาะยาวใหญ่ อ.เมือง จ.พังงา ถึงปลายแหลมเกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ถึงปลายแหลมเกาะลิบง จ.ตรัง ถึงเกาะสุกร ถึงปลายแหลมหยงสตาร์ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

สำหรับเครื่องมือประมงที่ห้ามมีอยู่ 3 ชนิด คือ อวนลากทุกประเภท ทุกขนาดที่ใช้ประกอบเรือกล อวนล้มจับทุกชนิด และอวนติดตา ขนาดช่องตาเล็กกว่า 4.7 ซ.ม. ทำการประมงในพื้นที่หวงห้าม ยกเว้นเครื่องมืออวนล้มจับปลากะตักในเวลากลางวัน เครื่องมืออวนลากคานถ่าง ที่ใช้ประกอบเรือกล เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเข้ มีคานถ่างหรืออวนลากที่ประกอบเรือกล ซึ่งใช้เชือกเส้นใย ประดิษฐ์เป็นสายลากอวน ฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับและมีการริบเครื่องมือทำการประมงด้วย



จาก : ข่าวสด วันที่ 21 มีนาคม 2553

Super_Srinuanray 23-03-2010 19:09

เมื่อ 4 วันที่ผ่านมา สังเกตุ เหมือนว่า ปลาที่สิมิลัน ก็ท้องป่อง เหมือนจะมีไข่ เหมือนกันนะคะ

ทำไม ไม่ปิดอ่าวที่ พังงา หรือจังหวัดชายทะเล บ้างคะ จะได้มีปลาไว้จับ ช่วงที่เค้าเจริญเติบโตเต็มที่

สายน้ำ 03-04-2010 07:38


ประกาศปิดอ่าวฝั่งอันดามัน3เดือน อนุรักษ์ปลาวางไข่-ห้ามเด็ดขาดเรือกลอวนลาก


กระบี่ - นายกมล จิตระวัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายน 2553 อนุรักษ์สัตว์น้ำวางไข่ 3 เดือน โดยมีการบวงสรวง พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พร้อมปล่อยเรือตรวจประมงทะเลออกปฏิบัติงาน ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจำพวก กุ้งทะเล 1 ล้านตัว ปลากะพงขาว 1 แสนตัว ปูม้า 1 แสนตัว และเต่าตนุ 5 ตัว

มีนายประสิทธิ์ โอสถานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ นายวิฑูร พ่วงทิพากร ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการด้านการประมง ข้าราชการ ประชาชนผู้ประกอบอาชีพทำการประมงและเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต กว่า 1,000 คน เข้าร่วมพิธี ซึ่งทุกปีในช่วงที่มีการประกาศใช้มาตรการปิดอ่าว ทำให้พันธุ์สัตว์มีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ประชากรชาวประมงสามารถจับสัตว์น้ำหลังจากพ้นระยะเวลาการปิดอ่าวได้เป็นจำนวนมาก และสร้างรายได้ ประชากรชาวประมงในพื้นที่ 4 จังหวัด มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทุกปี

สำหรับการประกาศปิดอ่าว เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายนของทุกปี ในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต และจังหวัดตรัง เริ่มตั้งแต่ปลายแหลมพันวา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ถึงตะวันออกปลายแหลมหัวล้านเกาะยาวใหญ่ อ.เมือง จ.พังงา ถึงปลายแหลมเกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ถึงปลายแหลมเกาะลิบง จังหวัดตรัง ถึงเกาะสุกร ถึงปลายแหลมหยงสตาร์ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง รวมเนื้อที่ 4,696 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,935,000 ไร่

สำหรับเครื่องมือประมงที่ห้ามมีอยู่ 3 ชนิด คือ อวนลากทุกประเภท ทุกขนาดที่ใช้ประกอบเรือกล อวนล้อมจับทุกชนิด และอวนติดตาขนาดช่องตาเล็กกว่า 4.7 เซนติเมตร ทำการประมงในพื้นที่หวงห้าม ยกเว้นเครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตักในเวลากลางวัน เครื่องมืออวนลากคานถ่างที่ใช้ประกอบเรือกล เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเข้ มีคานถ่างหรืออวนลากที่ประกอบเรือกล ซึ่งใช้เชือกเส้นใย ประดิษฐ์เป็นสายลากอวน หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีการริบเครื่องมือทำการประมงด้วย



จาก : ข่าวสด วันที่ 3 เมษายน 2553

Super_Srinuanray 03-04-2010 22:07

ม่ายยยย พอค่ะ อยากให้ปิดไปถึงเขต ระนองเลย เริ่ม ตั้งแต่ นาใต้ ถึง ระนองเลย

นะคะ คุณผู้ว่าเจ้าขา.....

สายน้ำ 15-02-2011 08:09

แนวหน้า


กรมประมงประกาศปิดอ่าว ให้สัตว์น้ำวางไข่ขยายพันธุ์

ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงเตรียมจัดพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ในฤดูปลาที่มีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน ฝั่งทะเลอ่าวไทย (ปิดอ่าวฝั่งทะเลไทย) ประจำปี 2554 ในช่วงระหว่างวันที่ 15 ก.พ. - 15 พ.ค.2554 รวมระยะเวลา 3 เดือน มีผลบังคับใช้ในอาณาเขตพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตรของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี โดยการกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิด ที่อาจส่งผลต่อการแพร่พันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์และสัตว์น้ำวัยอ่อนในท้องทะเลอ่าวไทย

ทั้งนี้จากการศึกษาวิจัยยังคงพบว่าช่วงระหว่างวันที่ 15 ก.พ.- 15 พ.ค.ของทุกปี ในท้องทะเลบางส่วนของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งวางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำหลายชนิด และจากการเก็บข้อมูลจำนวนประชากรสัตว์น้ำในช่วงหลังฤดูกาลปิดอ่าวฯ เมื่อปี 2553 พบว่าปริมาณการจับสัตว์น้ำได้มีจำนวนมากถึง 43,115.1 ตัน ซึ่งมากกว่าช่วงก่อนปิดอ่าวฯ กว่าเท่าตัว แสดงให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวนี้สามารถสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องทะเลให้คืนกลับมาได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชาวประมงมีรายได้ในการประกอบอาชีพได้อย่างดี

หากมีชาวประมงรายใดฝ่าฝืนใช้เครื่องมือต้องห้ามทำการประมงในพื้นที่ที่ได้ ประกาศปิดอ่าวฯ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ


****************************************************


ประกาศปิดอ่าวไทย 3 เดือน เกษตรฯดีเดย์15กพ.-15พค. เข้มห้ามจับปลาช่วงวางไข่

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เดินทางไปยังท่าเทียบเรือ ต.ท่ายาง อ.เมือง จ.ชุมพร เพื่อเป็นประธานในพิธีประกาศปิดอ่าวฝั่งทะเลอ่าวไทยเป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์-15 พฤษภาคม

นายธีระ กล่าวว่า ในขณะที่ศักยภาพทางการประมงพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ประชากรสัตว์น้ำกลับลดน้อยลงไปทุกวัน ดังนั้นการดูแลฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ จึงเป็นนโยบายหลักที่กระทรวงเกษตรฯให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ โดยเฉพาะมาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูปลาที่มีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนฝั่งทะเลอ่าวไทย หรือที่เรียกว่า "ปิดอ่าว" ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 15 พฤษภาคมของทุกปี คลุมพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี รวมอาณาเขต 26,400 ตารางกิโลเมตร

โดยมีการกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดที่อาจส่งผลต่อการแพร่พันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์และสัตว์น้ำวัยอ่อนในท้องทะเลอ่าวไทย โดยเฉพาะ "ปลาทู" สัตว์น้ำที่มีคุณค่าและความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามประกาศกระทรวงเกษตรฯ สามารถที่จะช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องทะเลให้คืนกลับมาได้อย่างยั่งยืน

ด้านนางสมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์ จึงได้ตั้งศูนย์เฉพาะกิจฯ ขึ้นมา แบ่งตามภารกิจเป็น 4 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ชาวประมงและประชาชนเข้าใจถึงผลดีของการปิดอ่าวฯ
2.กลุ่มควบคุมดูแลปราบปราม รับผิดชอบการควบคุมตรวจปราบปรามผู้กระทำผิดตามกฎหมาย
3.กลุ่มติดตามผลการดำเนินคดี รับผิดชอบในการติดตามผลการดำเนินคดีในการจับกลุ่มผู้กระทำผิด และ
4.กลุ่มประเมินผลทางวิชาการ ทำหน้าที่สำรวจ รวบรวมข้อมูล ศึกษาและประเมินสภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำ
ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มได้ปฏิบัติงานร่วมกันอย่างบูรณาการ และเพื่อให้กลุ่มชาวประมงและชุมชนชาวประมงในท้องถิ่นเกิดความรู้ความเข้าใจในมาตรการปิดอ่าวฯ และตระหนักถึงความสำคัญต่อการอนุรักษ์สัตว์น้ำ


สายน้ำ 09-06-2012 07:58


การนิรโทษกรรมเรือประมงอวนลากเถื่อน : อีกครั้งของความล้มเหลวในการจัดการประมงทะเลไทย ......................... โดย ดร.สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ นักวิจัยอิสระด้านการจัดการประมง

http://pics.manager.co.th/Images/555000006815801.JPEG

ในขณะนี้กรมประมงกำลังพิจารณาเสนอให้มีการ “นิรโทษกรรมเรือประมงอวนลากเถื่อนทั่วประเทศ” อีก 2,107 ลำ โดยให้เหตุผลว่าผลผลิตของเรืออวนลากเถื่อนเหล่านี้ไม่สามารถส่งออกให้กับสหภาพยุโรปได้ เพราะการบังคับใช้มาตรการ IUU Fishing ในการนำเข้าสินค้าของสหภาพยุโรป “IUU Fishing” มาจากคำว่า Illegal, Unreported and Unregulated Fishing ซึ่งแปลว่าการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม ซึ่งหมายความว่าสหภาพยุโรปจะไม่นำเข้าสินค้าประมงที่มาจากการทำประมงผิดกฏหมาย การทำประมงที่ขาดการรายงานแหล่งที่มาของสัตว์น้ำ และเป็นการทำประมงที่ไม่มีการควบคุม

เพื่อทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจในประเด็นนี้มากขึ้น เพื่อเกิดการวิพากษ์ในประเด็นอย่างกว้างขวาง ผู้เขียนจึงมขอเสนอข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการทำประมงอวนลากดังต่อไปนี้

ด้วยความช่วยเหลือของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนีทำให้การทำประมงอวนลากเกิดขึ้นในประเทศไทยประมาณปี พ.ศ.2503 ซึ่งเป็นระยะแรกเริ่มของการพัฒนาประมงทะเลของไทย ด้วยศักยภาพของเครื่องมืออวนลากทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าดินสูงสุด

งานวิจัยชิ้นหนึ่งกล่าวไว้ว่า อ่าวไทยมีศักยภาพการผลิต (carrying capacity) ของสัตว์น้ำหน้าดินอยู่ที่ประมาณ 750,000 ตัน ซึ่งต้องการการลงแรงประมงอวนลาก (fishing effort) อยู่ที่ 8.6 ล้านชั่วโมง (Muntana, Somsak, 1982 อ้างโดย the Southeast Asian Fisheries Development Center, 1987) อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมาได้มีการจับสัตว์น้ำหน้าดินด้วยอวนลากเกินศักยภาพการผลิตของทะเล โดยที่ในปี พศ. 2525 ผลผลิตของประมงอวนลากอยู่ที่ 990,000 ตัน ซึ่งเกินกว่ากำลังการผลิตของทะเลกว่า 30% ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งของความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทะเล ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2529 ผลผลิตของเรือประมงอวนลากลดลงเหลือ 648,560 ตันแต่ต้องลงแรงทำการประมงถึง 11.9 ล้านชั่วโมง

จากสำรวจของกรมประมงพบว่า อัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยของการทำประมงอวนลากลดลงอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2504 อัตราการจับสัตว์น้ำของอวนลากอยู่ที่ 297.6 กก./ชม. ลดลงเหลือ 49.2 กก./ชม. ในปี พ.ศ. 2525 และ 22.78 กก./ชม. ในปี พ.ศ. 2534 (Phasuk, 1994) ในปี พ.ศ. 2549 อัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยของอ่าวไทยตอนบนเหลืออยู่เพียง 14.126 กก./ชม. (โอภาส ชามะสนธิ และ คณิต เชื้อพันธุ์, 2552)

ในขณะที่งานวิจัยเรื่ององค์ประกอบของผลผลิตอวนลากได้พบว่า สัดส่วนของสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ต้องการมีเพียงร้อยละ 33.3 ที่เหลือเป็นปลาเป็ดร้อยละ 66.7 และร้อยละ 30.1 ของปลาเป็ดเป็นสัตว์ส่วนของสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจวัยอ่อน (Chantawong, 1993)

ผลงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่นำเสนอโดย FAO (Food and Agriculture Organization of the United Nations) ร่วมกับกรมประมงในปี พ.ศ. 2547 ได้กล่าวว่า เพื่อคงไว้ซึ่งศักยภาพการผลิตของทะเลสูงสุดของสัตว์หน้าดิน การทำประมงอวนลากในอ่าวไทยต้องลดลงอีก 40% แต่ถ้าต้องการทำให้เกิดผลทางเศรษฐกิจสูงสุดต้องลดลงอีก 50% ของการลงแรงประมงที่เป็นอยู่

นอกจากนี้แล้ว งานวิจัยทัศนคติของชาวประมงชายฝั่งต่อผลกระทบของการทำประมงอวนลาก พบว่า ชาวประมงพื้นบ้านชายฝั่งได้รับความเดือดร้อนจากเรือประมงอวนลากอย่างหนักหนาสาหัสทั่วหน้ากัน อวนลากไม่เพียงแต่ทำลายสัตวน้ำเศรษฐกิจวัยอ่อน ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยและระบบนิเวศสัตว์น้ำชายฝั่ง แต่ยังได้ทำลายเครื่องมือประมงของชาวประมงพื้นบ้านที่วางทิ้งไว้ในทะเลเพื่อดักจับสัตว์น้ำให้เสียหายอีกด้วย

จึงกล่าวได้ว่าการทำประมงอวนลากส่งผลกระทบทางลบทั้งต่อตัวทรัพยากรทะเล และวิถีการทำประมงของชุมชนชายฝั่งซึ่งเป็นชาวประมงส่วนใหญ่ของประเทศ

ถึงแม้ว่าการทำประมงอวนลากจะถูกห้ามดำเนินการในเขตพื้นที่ชายฝั่ง 3,000 เมตรทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เป็นต้นมา แต่ด้วยข้อจำกัดหลายประการของกรมประมงทำให้การควบคุมการทำประมงอวนลากให้ปฏิบัติตามกฏหมายที่ผ่านมาขาดประสิทธิภาพและเป็นไปได้ยาก ความพยายามของกรมประมงในการควบคุมจำนวนเรือประมงอวนลากก็ไม่ประสบความสำเร็จในทางปฏิบัติ

ในปี พ.ศ.2523 กรมประมงประกาศที่จะไม่ออกใบอนุญาติทำประมงให้กับเรือประมงอวนลากใหม่ เพื่อเป้าหมายในการลดจำนวนเรืออวนลากในระยะยาว แต่ด้วยการเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการและกลุ่มประมงอวนลากในขณะนั้น ทำให้กรมประมงอนุญาติให้เรืออวนลากผิดกฏหมายที่ไม่มีทะเบียนมาจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย (ขออนุญาตเรียกว่า นิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อน) เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น 3 ครั้งด้วยกัน ในปี พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2532 และ พ.ศ.2539

ทำให้เห็นว่าการควบคุมจำนวนเรืออวนลากของกรมประมงที่ผ่านมา เป็นเพียงการควบคุมตัวเลขเรืออวนลากที่จดทะเบียนเท่านั้น แต่มีเรืออวนลากเถื่อนเต็มท้องทะเลที่กำลังรอวันนิรโทษกรรม

ดังนั้น การที่กรมประมงกำลังดำเนินการพิจารณานิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อนอยู่ในขณะนี้ ด้วยเหตุผลเพื่อแก้ปัญหาการส่งสินค้าประมงของไทยเข้าสหภาพยุโรปตามมาตรการ IUU Fishing แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลวิชาการเรื่องผลกระทบของการทำประมงอวนลากข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่าการนิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อนครั้งนี้เป็นการดำเนินการที่บิดเบือนเจตนารมณ์ของมาตรการ IUU Fishing ของสหภาพยุโรป ที่ต่อต้านการประมงที่ผิดกฎหมาย การทำประมงที่ขาดการรายงานและไร้การควบคุม ที่ถือว่าเป็นการทำประมงที่ส่งผลร้ายแรงต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเล

ผู้เขียนคิดว่า บทบาทหน้าที่ของกรมประมงควรตั้งอยู่บนหลักการที่สำคัญสองประการ

- ประการแรกคือ การจัดการประมงให้เกิดการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน เพื่อคงไว้ซึ่งการผลิตอาหารและการประกอบอาชีพของชาวประมงทั่วประเทศ และ

- ประการที่สองคือ การกระจายการเข้าถึงทรัพยากรอย่างเป็นธรรมที่จะช่วยลดความขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำในสังคม และเกิดธรรมมาภิบาลในการบริหารจัดการประมง ถ้ากรมประมงดำเนินงานอยู่บนหลักสองประการนี้ก็จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายอื่นๆของกรมประมงที่ได้ตั้งไว้




จาก ...................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 26 พฤษภาคม 2555

สายน้ำ 14-06-2012 08:22


การนิรโทษกรรมเรือประมงอวนลากเถื่อน : อีกครั้งของความล้มเหลวในการจัดการประมงทะเลไทย (2) ......................... โดย ดร.สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ นักวิจัยอิสระด้านการจัดการประมง

http://pics.manager.co.th/Images/555000007626001.JPEG

ลักษณะการทำงานของอวนลากบริเวณพื้นท้องทะเล

การทำประมงอวนลากเกิดขึ้นในประเทศไทยประมาณปี พ.ศ.2503 ซึ่งเป็นระยะแรกเริ่มของการพัฒนาประมงทะเลของไทย อวนลากมีศักยภาพสูงในการจับสัตว์น้ำ โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดินท้องทะเล (demersal fish) ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำถูกจับขึ้นมาใช้ประโยชน์ในปริมาณมากเกินศักยภาพการผลิต (carrying capacity) ของทะเล ตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 เป็นต้นมา ด้วยลักษณะของเครื่องมืออวนลากที่เป็นถุงอวนแข็งแรงขนาดใหญ่ มีโซ่ร้อยที่ปากอวนเพื่อถ่วงน้ำหนักให้ปากอวนเปิดกว้าง และกินน้ำได้ลึกในขณะทำการประมง และวิธีการทำประมงของอวนลากที่ลากครูดไปกับพื้นท้องทะเลได้ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ เช่น แหล่งปะการัง หน้าดินพื้นท้องทะเล เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัยและแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศชายฝั่งเสื่อมโทรมลง

นอกจากนี้แล้ว การลากอวนขนาดใหญ่ไปตามพื้นท้องทะเลเป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง ทำให้ไม่สามารถเลือกจับทั้งชนิด และขนาดของสัตว์น้ำได้ จากผลงานวิจัยพบว่า สัดส่วนของสัตว์น้ำที่ได้แต่ละครั้งจะมีสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ต้องการ (target species) อยู่เพียงหนึ่งในสามของสัตว์น้ำที่จับได้ทั้งหมด ที่เหลืออีกสองในสามเป็นปลาเป็ด (trash fish) เพื่อขายให้แก่โรงงานปลาป่นผลิตอาหารสัตว์ และประมาณร้อยละสามสิบของปลาเป็ดเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนที่สามารถเจริญเติบโตมีมูลค่าสูงต่อไปได้

ข้อมูลวิชาการจำนวนมากได้พิสูจน์แล้วว่า อวนลากเป็นเครื่องมือประมงที่มีศักยภาพในการทำลายล้างสูง ถึงแม้ พ.ร.บ.ประมงจะห้ามทำการประมงอวนลากในเขต 3,000 เมตรจากชายฝั่ง และให้ควบคุมจำนวนเรืออวนลากไม่ให้มีเพิ่มขึ้นอีก แต่การบังคับควบคุมให้การทำประมงอวนลากเป็นไปตามกฏหมายของกรมประมงก็ดูเหมือนไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทำประมงอวนลากมากที่สุดคือ ชาวประมงขนาดเล็กที่ทำมาหากินอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทุกจังหวัดของประเทศไทย

นอกเหนือจากการเผชิญกับปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำอันเนื่องมาจากการทำประมงอวนลากแล้ว พวกเขายังต้องสูญเสียเครื่องมือประมงที่วางทิ้งไว้ในทะเลเพื่อดักจับสัตว์น้ำไปกับการทำประมงอวนลากอีกด้วย โดยเฉพาะชาวประมงอวนจมปู และชาวประมงลอบหมึก อวนจมปูหนึ่งชุดมีมูลค่าประมาณ 7,000-10,000 บาท หรือลอบหมึกหนึ่งชุดประมาณ 30-40 ลูก มีราคาประมาณ 3,000-5,000 บาท การสูญเสียเครื่องมือประมงไม่ได้หมายถึงแค่การสูญเสียเครื่องมือทำมาหากิน แต่พวกเขาได้สูญเสียรายได้ที่จะเลี้ยงครอบครัว และการมีหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ชาวประมงอวนจมปูรายหนึ่งที่อ่าวบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์กล่าวว่า “ผมเพิ่งซื้ออวนปูชุดใหม่ เอาไปวางไว้ในทะเลเมื่อวานนี้ พอวันนี้อวนทั้งหมดหายไปกับอวนลาก ผมจะไปกู้ยืมเงินก้อนใหม่จากกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนประมงไม่ได้อีก เพราะว่ายังไม่ได้คืนเงินเก่า ทางเดียวที่ทำได้คือ กลับไปหาพ่อค้าคนกลางเพราะเค้ามีเงินให้ยืมเสมอสำหรับชาวประมงที่เป็นลูกหนี้ที่ดี” ในการลากอวนของเรืออวนลากแต่ละเที่ยวไม่ได้ทำลายเครื่องมือประมงของชาวประมงขนาดเล็กเพียงแค่คนเดียว แต่ได้ทำลายเครื่องมือประมงของชาวประมงหลายคนที่วางไว้ในรัศมีการลากอวนของเรืออวนลากลำนั้นๆ

จากประสบการณ์ของผู้เขียนในการเก็บข้อมูลงานวิจัยเกือบทุกจังหวัดชายฝั่งทั่วประเทศตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี พบว่า ชุมชนประมงชายฝั่งทุกชุมชนที่ได้ให้สัมภาษณ์มีประสบการณ์ในทางลบกับเรือประมงอวนลากด้วยกันทั้งสิ้น ผลกระทบที่ได้รับหนักหนาสาหัสต่อการประกอบอาชีพประมงเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว พวกเขาได้เรียนรู้ว่า การพึ่งพาหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เขาได้ เป็นเวลาเกือบสองทศวรรษแล้วที่มีชุมชนชายฝั่งมากมายหลายชุมชนลุกขึ้นมาปกป้องพื้นที่ชายฝั่งหน้าหมู่บ้านของตนเองให้รอดพ้นจากการรุกล้ำของเรือประมงอวนลาก มีการตั้งกลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อสอดส่องดูแลการทำประมงที่ผิดกฏหมาย และเมื่อมีกรณีเกิดขึ้นก็จะขับไล่ให้พ้นไปจากพื้นที่ทะเลหน้าชุมชน หรือประสานงานกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการจับกุมผู้กระทำความผิด

นอกจากนี้ ชุมชนยังได้พยายามฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ดัง เดิมด้วยการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ที่หลากหลาย เช่น การสร้างบ้านให้ปลาด้วยการทำซั้งกอ เพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย วางไข่ และขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ พร้อมด้วยมาตรการห้ามทำการประมงรอบซั้งที่สร้างไว้เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ในบริเวณรอบซั้งเหล่านั้น มีการจัดตั้งธนาคารปู ธนาคารกุ้ง เพื่อให้แม่พันธุ์ที่มีไข่เต็มท้องที่ถูกจับได้มีโอกาสวางไข่ก่อนที่จะถูกนำไปขาย มีการปลูกป่าชายเลนเพิ่มเติมเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนที่สำคัญ เป็นต้น


พื้นที่โครงการนำร่องการจัดการประมงโดยชุมชนอ่าวบางสะพาน

โครงการนำร่องการจัดการประมงโดยชุมชนอ่าวบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอีกความพยายามหนึ่งของชุมชนชายฝั่ง 9 ชุมชนในอ่าวบางสะพานร่วมกับเจ้าหน้าที่ประมงในท้องถิ่นดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบของการทำประมงอวนลาก ก่อนที่โครงการนำร่องการจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2542 ชาวประมงชาวขนาดเล็กในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการทำประมงอวนลากอย่างแสนสาหัส เรือประมงอวนลากจากจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ เพชรบุรี และบางพื้นที่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้บุกรุกเข้ามาลากอวนในเขต 3,000 เมตร ของชายฝั่งอ่าวบางสะพาน

การรุกล้ำพื้นที่ชายฝั่งของอวนลาก ทำให้ชาวประมงในท้องถิ่นทำมาหากินได้อย่างยากลำบาก เพราะระบบนิเวศชายฝั่งถูกทำลาย ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง และทำลายเครื่องมือประมงของชาวประมงขนาดเล็กที่วางทิ้งไว้ในทะเลเพื่อดักสัตว์น้ำให้เสียหายอีกด้วย ผลกระทบจากการทำประมงอวนลากดังกล่าว ทำให้ชาวประมงท้องถิ่นส่วนใหญ่มีรายได้ลดลง มีต้นทุนการทำประมงสูงขึ้น และมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้พวกเขาเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงในการประกอบอาชีพ ซึ่งได้ขยายไปสู่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างสองฝ่าย มีการต่อสู้ทั้งทางวาจา และการใช้กำลังทำให้ชาวประมงขนาดเล็กซึ่งมีสถานภาพทางสังคมที่ด้อยกว่า มีความรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตอีกด้วย

ด้วยการต่อสู้เรียกร้องของชาวประมงในพื้นที่ต่อปัญหาเรือประมงอวนลากอย่างต่อเนื่อง และเข้มข้น ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชนชาวประมงในอ่าวบางสะพาน และเจ้าหน้าที่ประมงในท้องถิ่นในการดำเนิน “โครงการนำร่องการจัดการประมงโดยชุมชนอ่าวบางสะพาน” ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ประกาศเขตพื้นที่โครงการนำร่อง: เส้นสีเหลือง (ดูภาพประกอบที่ 2) และห้ามอวนลากเข้ามาทำการประมงในพื้นที่โครงการ ทำให้เขตห้ามทำการประมงงอวนลากในอ่าวบางสะพาน ขยายจาก 3 กิโลเมตร หรือเขตเส้นสีแดงออกไปถึงประมาณ 10 กิโลเมตรจากชายฝั่ง หรือเขตเส้นสีเหลือง พร้อมทั้งมีการตั้งกลุ่มชาวประมงอาสาอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งดำเนินการตรวจจับการทำประมงผิดกฏหมายร่วมกับเจ้าหน้าที่โครงการนำร่องอีกด้วย

http://pics.manager.co.th/Images/555000007626002.JPEG

ความสำเร็จที่สำคัญประการหนึ่งของ “โครงการนำร่องการจัดการประมงโดยชุมชนอ่าวบางสะพาน” ที่ดำเนินเนินการมาเป็นเวลาเกือบ 13 ปี คือ ชาวประมงในพื้นที่กว่า 400 ครัวเรือนยอมรับว่า โครงการนำร่องนี้เป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาเรืออวนลากให้พวกเขาได้อย่างแท้จริง เพราะเรือประมงอวนลากได้หายไปจากพื้นที่โครงการเกือบทั้งหมดตั้งแต่ปีแรกๆ ของการดำเนินโครงการ

นอกจากนี้แล้ว ยังได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน และผู้สนใจทั่วไปที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพราะโครงการนำร่องอ่าวบางสะพานนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ชุมชนท้องถิ่นมีศักยภาพเพียงพอในการปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนทั้งต่อคนในท้องถิ่น และต่อประเทศโดยรวม ถ้าพวกเขาได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอจากภาครัฐที่มีอำนาจ และทรัพยากรอยู่ในมือ เพราะโดยการจัดการเพียงลำพังของภาครัฐก็ยากที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้

กรมประมงกำลังดำเนินการพิจารณานิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อนที่มีอยู่มากมายในท้องทะเลไทย ให้มาขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฏหมายอีกกว่า 2,000 ลำ ด้วยเหตุผลว่า เรือประมงอวนลากเถื่อนเหล่านี้ไม่สามารถส่งสินค้าไปขายให้แก่สหภาพยุโรปได้ภายใต้มาตรการ IUU Fishing (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) ซึ่งเป็นมาตรการที่สหภาพยุโรปห้ามนำเข้าสินค้าประมงที่มาจากการทำประมงผิดกฏหมาย (Illegal) ไม่มีการรายงานแหล่งที่มาของสินค้าสัตว์น้ำ (Unreported) และไม่มีการควบคุมการได้มาซึ่งสินค้านั้นๆ (Unregulated)

การที่กรมประมงจะทำให้เรืออวนลากเถื่อนที่ผิดกฏหมายกลายเป็นถูกกฏหมาย จึงเป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของสหภาพยุโรปในการใช้มาตรการ IUU Fishing เพื่อที่จะส่งเสริมให้เกิดการทำประมงอย่างรับผิดชอบ และความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากรทางทะเลของประเทศผู้ส่งออกสัตว์น้ำ ที่สำคัญ ยังเป็นการทำร้ายจิตใจชาวประมงขนาดเล็กชายฝั่งทั่วประเทศที่เฝ้าปก ป้องรักษาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้รอดพ้นจากการทำร้ายของการประมงอวนลาก และรณรงค์ต่อสู้เพื่อให้เรือประมงอวนลากหมดไปจากท้องทะเลไทย

ดังนั้น ก่อนที่กรมประมงจะเดินหน้าตัดสินใจนิรโทษกรรมเรือประมงอวนลากเถื่อน กรมประมงน่าจะปรึกษาหารือกับพี่น้องชาวประมงชายฝั่งว่ามีความคิดเห็นอย่างไร ในฐานะที่พวกเขาได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขในการตรวจจับเรือประมงอวนลากผิดกฏหมาย และร่วมฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งกับกรมประมงมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลทั้งปวงที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้ผู้เขียนมีความเชื่อว่า จะไม่มีชุมชนชาวประมงขนาดเล็กแม้เพียงชุมชนเดียวที่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของกรมประมงในครั้งนี้




จาก ...................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 13 มิถุนายน 2555

สายน้ำ 11-01-2013 10:00


ในยุคกระเบื้องเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยถอยจมเลยต้องเอา “ปลากะพงมาเลี้ยงกุ้งฝอย” ..................... โดย สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ

http://pics.manager.co.th/Images/556000000178001.JPEG
สัตว์น้ำที่จับได้โดยเรือประมงอวนลากมีหลากหลายชนิดแ ละขนาด จากสถิติปริมาณไม่ถึงร้อยละ 40 มีคุณภาพดีพอสำหรับการบริโภค ที่เหลือส่งขายโรงงานปลาป่น

การที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนเหนือเส้นศูนย์สูตร เพียงเล็กน้อย ทำให้ระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่งของประเทศมีความหลากหลายมากที่สุดแห่งหนึ่ งของโลก ประกอบกับการมีชายฝั่งทะเลที่ทอดยาวกว่าสองพันกิโลเม ตร ทำให้เราได้เปรียบประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศ ทั้งในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมง ที่มีหลากหลายชนิดและมีปริมาณมากมายมหาศาล ตลอดจนความกว้างใหญ่ของอาณาเขตพื้นที่ทะเลให้ชาวประม งไทยได้ทำมาหากินกัน

ด้วยลักษณะทางธรรมชาติของทะเลในเขตร้อน ทำให้องค์ประกอบชนิดของปลาในทะเลมีความหลากหลาย (Multi Species Composition) มากกว่าทะเลในเขตอบอุ่น ซึ่งมีองค์ประกอบชนิดของปลาที่มีความหลากหลายน้อยกว่ า (Single Specie Composition) ดังนั้น การทำประมงของไทยที่เป็นการทำประมงขนาดใหญ่ ซึ่งใช้เครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูงในการจับส ัตว์น้ำ เช่น เครื่องมือประมงอวนลาก หรือการทำประมงที่ใช้เครื่องมือประมงที่ไม่เลือกจับช นิดสัตว์น้ำ เช่น อวนรุน โพงพาง เป็นต้น จะจับปลาได้หลากหลายชนิด และหลากหลายขนาดในการทำประมงแต่ละครั้ง

ดังตัวอย่างงานวิจัยของกรมประมงที่ได้เสนอไว้ว่า องค์ประกอบของผลผลิตสัตว์น้ำอวนลากมีสัดส่วนของสัตว์ น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ต้องการ (targeted species) มีเพียงร้อยละ 33.3 ที่เหลือเป็นปลาเป็ด (ไม่สามารถใช้บริโภค ใช้สำหรับผลิตอาหารสัตว์) ถึงร้อยละ 66.7 และร้อยละ 30.1 ของปลาเป็ดทั้งหมด เป็นสัดส่วนของสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจวัยอ่อ น (Chantawong, 1993) ซึ่งถ้าคำนวนร้อยละ 30 ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนที่สูญเสียไปของผลผลิตสัต ว์น้ำของอวนลากทั้งหมดทั่วประเทศ จะเห็นว่าเป็นตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูญเสียไปอย่างมหาศาลในแต่ละปี

ในอดีต การผลิตปลาป่นเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมการประมง โดยจะใช้ของเหลือจากการทำประมง หรือที่เรียกว่า “ปลาเป็ด” ซึ่งประกอบด้วยปลาที่ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพราะไม่เป็นที่นิยมรับประทานกัน และ/หรือปลาที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง แต่มีขนาดเล็กเกินไป เช่น ลูกปลาอินทรี ปลาทู ปลาเก๋า ปลากระพง เป็นต้น ที่ติดมากับเครื่องมือประมงมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต “ปลาป่น” เพื่อนำไปใช้เลี้ยงกุ้งในฟาร์มเป็นหลัก และใช้ในการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นๆรองลงไป

แต่หลังจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกในประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นเป็นอย่างมา ก และรวดเร็วในระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้การผลิตปลาป่นกลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมกา รผลิตอาหารสัตว์ของประเทศ ที่มีการกำหนดเป้าหมายการผลิต และปริมาณความต้องการผลผลิตปลาป่นที่ชัดเจนขึ้น การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีข ีดจำกัด เพื่อเป็นอาหารของคนในประเทศ และเพื่อการส่งออก ส่งผลให้ความต้องการปลาป่นมีปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เมื่อความต้องการผลผลิตปลาป่นมีปริมาณที่สูงขึ้น ส่งผลให้ชาวประมงขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งปรับเปลี่ยนพฤติก รรมการทำประมงให้ตอบสนองกับความต้องการนี้ ตัวอย่างเช่น ในประมาณปี พ.ศ.2545 ผู้เขียนได้รับข้อมูลมาว่า ในฤดูปิดอ่าวไทยในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ปลาทูวางไข่ และเจริญเติบโต มีเรือประมงอวนล้อมปั่นไฟขนาดใหญ่เข้ามาแอบลักลอบจับ ลูกปลาทูในเขตห้ามทำการประมง เพื่อนำไปขายให้แก่โรงงานปลาป่นด้วยราคาเพียง 5 บาทต่อกิโลกรัม (ขณะนั้นราคาปลาขนาดปกติซื้อขายที่แพปลาราคา 17 บาทต่อกิโลกรัม) อวนล้อมแต่ละลำสามารถจับลูกปลาทูได้ประมาณ 10-20 ตันต่อคืน ทำให้ลูกปลาทูถูกจับอย่างมากมายมหาศาลในช่วงฤดูวางไข่ของแต่ละปี

หรือตัวอย่างของการทำประมงอวนลาก ที่ทำประมงอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการหยุดพัก เพราะถึงแม้ว่าการทำประมงในบางช่วงเวลาจะไม่สามารถจั บปลาเศรษฐกิจเป้าหมายได้อย่างที่ตั้งใจ แต่เรืออวนลากเหล่านี้ก็ยังสามารถจับปลาเป็ดขายให้แก่โรงงานปลาป่นได้

http://pics.manager.co.th/Images/556000000178002.JPEG
ลูกเรือประมงกำลังคัดเลือกสัตว์น้ำที่จับโดยเครื่องมือประมงอวนลาก ซึ่งใช้วิธีกวาดต้อนใต้ท้องทะเลมาก่อน แล้วค่อยคัดแยกที่หลัง ทำให้เกิดการทำลายระบบนิเวศท้องทะเล และตัดวงจรชีวิตสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญๆ

อาจกล่าวได้ว่า อุตสาหกรรมปลาป่นได้สร้างแรงจูงใจให้เกิดการทำประมงอ ย่างเอารัดเอาเปรียบธรรมชาติ ทะเลไม่มีโอกาสฟื้นตัว และลูกปลาวัยอ่อนมีโอกาสถูกจับมากกว่าได้เจริญเติบโต เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป ปลาเป็ดที่ขายให้แก่โรงงานปลาป่นมาจากการทำประมงขนาดใหญ่ ที่เน้นจับปลาในปริมาณมาก ไม่เลือกชนิดสัตว์น้ำ จับมาก่อน และค่อยคัดแยกทีหลัง

ในขณะที่ผลผลิตที่มาจากเรือประมงขนาดเล็กส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ชนิด และขนาดที่เหมาะสมของสัตว์น้ำเป้าหมายดังที่ตั้งใจไว้ เช่น ถ้าจะจับปูม้าก็ใช้อวนลอยปู จับกุ้งก็จะใช้อวนลอยกุ้งสามชั้น จับหมึกหอมก็จะใช้ลอบหมึก หรือจับปลากระบอกก็จะใช้อวนลอยปลากระบอก เป็นต้น อาจจะมีสัตว์น้ำชนิดอื่นๆติดมาบ้าง ก็จะถูกนำมาเป็นอาหารสำหรับสมาชิกในครัวเรือน

เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่า ปลาทะเลเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีคุณต่อสุขภาพสูงกว่าเนื้อสัตว์ประเภทไก่ หมู และเนื้อวัว แต่ปลาทะเลที่มีคุณค่า และมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกลับถูกตัดวงจรชีวิต ถูกจับมาแปรรูปเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์เหล่านี้

การกระทำเช่นนี้ขัดแย้งกับสำนวนไทยที่ว่า “เอากุ้งฝอยมาตกปลากะพง” ซึ่งหมายถึงการเอาสิ่งใดใดที่มีมูลค่าต่ำมาแลกเปลี่ย น หรือมาทำให้เกิดสิ่งอื่นๆที่มีมูลค่าสูงกว่า เพราะเรากำลังเอา “ปลากะพงไปเลี้ยงกุ้งฝอย” ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้เพราะ “ปลากะพง” นั้นไม่มีเจ้าของ เป็นสมบัติสาธารณะ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบของรัฐไม่สามารถบริหารจัดการได ้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ “กุ้งฝอย” กลับเป็นของบริษัทผลิตปลาป่น และอาหารรายใหญ่ของประเทศ



จาก ...................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 8 มกราคม 2556

สายน้ำ 11-01-2013 10:10

2 Attachment(s)

จาก ......... ไทยรัฐ วันที่ 10 มกราคม 2556

สายชล 12-02-2014 09:47


ปิดอ่าวไทยช่วงปลาวางไข่ 3 เดือน ................... หลากเรื่องราว

http://www.dailynews.co.th/imagecach...er/556992.jpeg

เป็นประจำทุกปีที่ กรมประมง ประกาศปิดอ่าวไทยเป็นระยะเวลา 3 เดือนในช่วงระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์–15 พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูปลาที่มีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนในฝั่งทะเลอ่าวไทย เพื่อเปิดโอกาสให้สัตว์น้ำได้แพร่ขยายพันธุ์ตามฤดูกาล พร้อมขอความร่วมมือชาวประมงปฏิบัติตามกฎหมาย โดยปีนี้จะมีการทำพิธีปล่อยขบวนเรือตรวจประมงทะเลออกปฏิบัติการ ภายใต้ประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 57 นี้ ณ บริเวณท่าเทียบเรือเทศบาลปากน้ำชุมพร ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวกรมประมงจะประกาศห้ามให้ชาวประมงใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำประมงในช่วงเวลาดังกล่าว ในพื้นที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานีอย่างเด็ดขาด หากพบการกระทำผิดจะดำเนินการจับกุมทันทีไม่มีการผ่อนผันใด ๆ ทั้งสิ้น

นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำนั้น ครอบคลุมพื้นที่ทำการประมงประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี โดยกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิด ที่อาจส่งผลต่อการขยายพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์และสัตว์น้ำวัยอ่อนในท้องทะเลอ่าวไทย โดยเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามจำนวน 6 ประเภท คือ

1. เครื่องมืออวนลากทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกล ยกเว้นเครื่องมืออวนลากที่ใช้ประกอบกับเรือกลลำเดียวที่ความยาวเรือไม่เกิน 16 เมตร ให้ทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางคืน

2. เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมงด้วยวิธีล้อมติดปลาทู หรือด้วยวิธีอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน

3. เครื่องมืออวนติดตาทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมง ยกเว้น ก. เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่วางเครื่องกลางลำไม่มีเก๋ง (หลังคา) ขนาดความยาวเรือไม่เกิน 14 เมตร หรือการใช้เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือยนต์เพลาใบจักรยาว ข. เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลและเครื่องมือกว้าน ช่วยในการทำการประมงโดยใช้อวนที่มีขนาดความลึกอวนไม่เกิน 70 ช่องตาอวน ความยาวอวนตั้งแต่ 4,000 เมตร ลงมาในขณะทำการประมงแต่ละครั้ง ทำการประมงในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 15 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ของทุกปี กรณีใช้อวนตามข้อ ข. วรรคแรกซึ่งมีความยาวอวนเกินกว่า 4,000 เมตร ขึ้นไป ในขณะทำการประมงในแต่ละครั้ง ห้ามใช้เครื่องมือกว้านช่วยในการทำการประมง การนับความยาวอวนให้นับความยาวอวนทั้งหมดรวมกันขณะทำการประมง

http://www.dailynews.co.th/imagecach...er/556993.jpeg

4. เครื่องมืออวนล้อมจับทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมง

5. เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงปลากะตัก และ

6. เครื่องมืออวนรุนที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่มีขนาดความยาวเรือเกินกว่า 14 เมตรขึ้นไป ในการวัดขนาดความยาวของเรือกลที่ใช้ประกอบกับเครื่องมือทำการประมง ตามความในประกาศนี้ให้ใช้วิธีการวัดขนาดความยาวเรือตลอดลำ (Length Over All : L.O.A.) คือ วัดความยาวเรือทั้งหมด

หากพบมีชาวประมงรายใดฝ่าฝืนใช้เครื่องมือต้องห้ามทำการประมงในพื้นที่ที่ได้ประกาศปิดอ่าวฯ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งการประกาศปิดอ่าวฯ ของกรมประมงแสดงให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวนี้เป็นอีกแนวทางที่จะสามารถสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องทะเลให้คืนกลับมาอย่างยั่งยืน ชาวประมงมีรายได้จากการประกอบอาชีพประมง และพี่น้องประชาชนมีสัตว์น้ำบริโภคตลอดไป.


จาก....เดลินิวส์ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557


สายชล 10-06-2014 12:28

กฎหมายการประมงของไทยฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ " พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐" และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง ศึกษาได้ที่นี่ค่ะ


http://www.fisheries.go.th/if-phayao/Menu_head/law.htm


พระราชบัญญัติ

การประมง

พ.ศ. ๒๔๙๐

---------------

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร พระยามานวราชเสวี

ให้ไว้ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2490

เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน



โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการประมง พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้



มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490



มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป



มาตรา 3 ให้ยกเลิก

(1) พระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ รัตนโกสินทรศก 120
(2) พระราชบัญญัติเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอากรค่าน้ำรัตนโกสินทรศก 120
(3) ประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ ร.ศ.120
(4) พระราชบัญญัติเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ ศก 120
(5) พระราชบัญญัติอากรค่าน้ำแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2472
(6) พระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ รัตนโกสินทรศก 120 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477
(7) พระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2479
(8) พระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2481
(9) กฎกระทรวงว่าด้วยวิธีจัดการและตั้งอัตราเก็บเงินอากรค่าน้ำตามความในพระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ ศก 120
และบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบทบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดแย้งกับบทแห่ง
พระราชบัญญัตินี้



มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

(1)(1) สัตว์น้ำ หมายความว่า สัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า กระ ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ

(2)(1 ทวิ) ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้สัตว์น้ำตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อเป็นวัตถุดิบ

(2) ทำการประมง หมายความว่า จับ ดัก ล่อ ทำอันตราย ฆ่าหรือเก็บสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือทำการประมงหรือด้วยวิธีใด ๆ

(3) เครื่องมือทำการประมง หมายความว่า เครื่องกลไกเครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ ส่วนประกอบ อาวุธ เสา หลัก หรือเรือบรรดาที่ใช้ทำการประมง

(4) เรือ หมายความว่า ยานพาหนะทางน้ำทุกชนิด

(5) ที่จับสัตว์น้ำ หมายความว่า ที่ซึ่งมีน้ำขังหรือไหล เช่น ทะเล แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง บ่อ เป็นต้น และหาดทั้งปวง บรรดาซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งป่าไม้ และพื้นดินซึ่งน้ำท่วมในฤดูน้ำไม่ว่าจะเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินอันบุคคลถือกรรมสิทธิ และภายในเขตน่านน้ำไทยหรือน่านน้ำอื่นใด ซึ่งประเทศไทยใช้อยู่หรือมีสิทธิที่จะใช้ต่อไปในการทำการประมง โดยที่น่านน้ำเหล่านั้น ปรากฏโดยทั่วไปว่ามีขอบเขตตามกฎหมายท้องถิ่น หรือธรรมเนียมประเพณี หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสนธิสัญญาหรือด้วยประการใด

(6) บ่อล่อสัตว์น้ำ หมายความว่า ที่ล่อสัตว์น้ำเพื่อประโยชน์ในการทำการประมงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(7) บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ หมายความว่า ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(8) ประทานบัตร หมายความว่า ใบอนุญาตซึ่งข้าหลวงประจำจังหวัดออกให้บุคคลผู้ประมูลได้ ให้มีสิทธิทำการประมงในที่ว่าประมูล

(9) ใบอนุญาต หมายความว่า ใบอนุญาตซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่บุคคลใดใช้ทำการประมง หรือทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่อนุญาต

(10) อาชญาบัตร หมายความว่า ใบอนุญาตซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่ผู้รับอนุญาตเพื่อใช้เครื่องมือทำการประมง

(11) ผู้รับอนุญาต หมายความว่า บุคคลผู้ได้รับประทานบัตร ใบอนุญาต อาชญาบัตร หรือผู้ได้รับอนุญาตให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้

(12) เครื่องมือประจำที่ หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งใช้วิธีลงหลักปัก ผูก ขึง รั้ง ถ่วง หรือวิธีอื่นใด อันทำให้เครื่องมือนั้นอยู่กับที่ในเวลาทำการประมง

(13) เครื่องมือในพิกัด หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งระบุชื่อ ลักษณะ หรือวิธีใช้ไว้ในกฎกระทรวง

(14) เครื่องมือนอกพิกัด หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในกฎกระทรวงว่าเป็นเครื่องมือในพิกัด

(15) สถิติการประมง หมายความว่า สถิติหรือข้อความที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ การค้าสินค้าสัตว์น้ำ การทำการประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

(16) พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าหลวงประจำจังหวัดและนายอำเภอท้องที่ พนักงานประมง และผู้ซึ่งรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้มีหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

(17) อธิบดี หมายความว่า อธิบดีกรมการประมง

(18) รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้



มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราอากร และค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้และกำหนดกิจการอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้



กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้



หมวด 1 ที่จับสัตว์น้ำ



มาตรา 6 บรรดาที่จับสัตว์น้ำทั้งปวงให้กำหนดเป็น 4 ประเภท คือ

(1) ที่รักษาพืชพันธุ์
(2) ที่ว่าประมูล
(3) ที่อนุญาต
(4) ที่สาธารณประโยชน์



มาตรา 7 ให้คณะกรมการจังหวัดโดยอนุมัติของรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศกำหนดประเภทที่จับสัตว์น้ำภายในเขตท้องที่ของตนว่า เข้าอยู่ในประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ที่ว่าประมูล หรือที่อนุญาตที่จับสัตว์น้ำซึ่งมิได้มีประกาศตามความในวรรคหนึ่งให้ถือเป็นที่สาธารณประโยชน์



มาตรา 8 ที่รักษาพืชพันธุ์ คือที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในบริเวณพระอารามหรือปูชนียสถาน หรือติดกับเขตสถานที่ ดังกล่าวแล้ว บริเวณประตูน้ำ ประตูระบายน้ำ ฝาย หรือทำนบ หรือที่ซึ่งเหมาะแก่การรักษาพืชพันธุ์สัตว์น้ำ



มาตรา 9 ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดให้



มาตรา 10 ที่ว่าประมูล คือที่จับสัตว์น้ำซึ่งสมควรจะให้บุคคลว่าประมูลผูกขาดทำการประมง และ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การกำหนดที่จับสัตว์น้ำแห่งใดเป็นที่ว่าประมูลนั้น จะต้องไม่อยู่ในเขตชลประทานหลวง หรือไม่เป็นการเสียหายแก่การทำนา หรือการสัญจรทางน้ำ



มาตรา 11 ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูล เว้นแต่ผู้รับอนุญาตผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด



การทำการประมงในที่ว่าประมูลเฉพาะเพื่อบริโภคภายในครอบครัวให้กระทำได้ แต่ต้องใช้เครื่องมือทำการประมงตามที่คณะกรรมการจังหวัดประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี



มาตรา 12 ที่อนุญาต คือที่จับสัตว์น้ำซึ่งอนุญาตให้บุคคลทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และรวมตลอดถึงบ่อล่อสัตว์น้ำ



มาตรา 13 ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่อนุญาต เว้นแต่ผู้รับอนุญาตผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด



มาตรา 14 ห้ามมิให้บุคคลใดขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนในที่ดินอันบุคคลถือกรรมสิทธิ์ บุคคลย่อมขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำได้แต่ต้องไม่เป็นการเสียหายแก่พันธุ์สัตว์น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์



มาตรา 15 ผู้รับอนุญาตมีหน้าที่ติดโคมไฟและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยของการสัญจรในทางน้ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวง



มาตรา 16 ที่สาธารณประโยชน์ คือที่จับสัตว์น้ำซึ่งบุคคลทุกคนมีสิทธิทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้บุคคลใดซึ่งทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่สาธารณประโยชน์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา



มาตรา 17(1) ห้ามมิให้บุคคลใดปลูกสร้างสิ่งใดลงไปในที่รักษาพืชพันธุ์ที่ว่าประมูล ที่อนุญาต ซึ่งมิใช่ที่ของเอกชนและที่สาธารณประโยชน์ หรือปลูกบัวข้าว ปอ พืชหรือพันธุ์ไม้น้ำอื่นใดตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อในที่เช่นว่านั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด



มาตรา 18(2) ห้ามมิให้บุคคลใดวิดน้ำในที่รักษาพืชพันธุ์ ที่ว่าประมูลที่อนุญาต ซึ่งมิใช่ที่ของเอกชน และที่สาธารณประโยชน์ หรือบ่อล่อสัตว์น้ำ หรือทำให้น้ำในที่จับสัตว์น้ำเช่นว่านั้นแห้งหรือลดน้อยลง เพื่อทำการประมง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด



มาตรา 19(3) ห้ามมิให้บุคคลใด เท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาลงไปในที่จับสัตว์น้ำ หรือกระทำการใด ๆ อันทำให้สัตว์น้ำมึนเมาหรือเท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้สิ่งใดลงไปในที่จับสัตว์น้ำในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำหรือทำให้ที่จับสัตว์น้ำเกิดมลพิษ เว้นแต่เป็นการทดลองเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่



มาตรา 20 ห้ามมิให้บุคคลใดใช้วัตถุระเบิดในที่จับสัตว์น้ำ เว้นไว้แต่ในกรณีที่ทำเพื่อประโยชน์ในทางวิทยาศาสตร์และได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดให้



มาตรา 20 ทวิ(4) ห้ามมิให้บุคคลใดมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสัตว์น้ำ โดยรู้ว่าได้มาโดยการกระทำผิดตามมาตรา 20



มาตรา 21 ห้ามมิให้บุคคลใดทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งมิได้อยู่ในที่ดินอันบุคคลถือกรรมสิทธิ์ให้ผิดไปจากสภาพที่เป็นอยู่ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้



มาตรา 22 ห้ามมิให้บุคคลใด ติดตั้ง วาง หรือสร้างเขื่อน ทำนบรั้ว เครื่องมือที่เป็นตาข่าย หรือเครื่องมือทำการประมงอื่น ๆ ในที่จับสัตว์น้ำซึ่งกางกั้นทางเดินของสัตว์น้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือกระทำการเช่นว่านั้นเพื่อประโยชน์แก่การกสิกรรมในที่ดิน อันบุคคลถือกรรมสิทธิ์

ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้ เช่นบันไดปลาโจน หรือเครื่องอุปกรณ์อื่น ๆเพื่อให้สัตว์น้ำว่ายขึ้นลงได้


สายชล 10-06-2014 12:39



พรบ. การประมง พศ. 2490 (ต่อ)


หมวด 2 บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ




มาตรา 23 ห้ามมิให้บุคคลใดขุดหรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำในที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต



มาตรา 24 การทำการประมงในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ต้องขออนุญาตและไม่ต้องเสียเงินอากรตามพระราชบัญญัตินี้







หมวด 3 การจดทะเบียนและการขออนุญาต




มาตรา 25 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกประกาศกำหนดให้ผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีการะบุไว้ในท้องที่ใด ๆ มาจดทะเบียนได้ และจะกำหนดให้ผู้มีอาชีพเช่นว่านี้มาขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนดำเนินอาชีพเช่นว่านั้น โดยให้เสียค่าธรรมเนียมหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้



มาตรา 26 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกประกาศกำหนดให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองเครื่องมือทำการประมงชนิดหนึ่งชนิดใดในท้องที่ใด ๆ จดทะเบียนการมีไว้ในครอบครองซึ่งเครื่องมือนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่



มาตรา 27 เมื่อมีกรณีจำเป็นแก่ราชการหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยอนุมัติรัฐมนตรี ข้าหลวงประจำจังหวัดอาจสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาต หรือประทานบัตรรายใด ๆ ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้รับอนุญาตได้รับคืนเงินอากรเฉพาะส่วนที่ต้องเพิกถอน



มาตรา 28 บุคคลใดจะใช้เครื่องมือในพิกัดทำการประมงได้ต่อเมื่อได้รับอาชญาบัตรระบุชื่อบุคคลนั้นและเสียเงินอากรตามพระราชบัญญัตินี้แล้วรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศยกเว้นไม่ต้องให้รับอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือทำการประมงอย่างหนึ่งอย่างใดในท้องที่ใด ๆ ก็ได้



มาตรา 28 ทวิ(1) บุคคลใดเป็นเจ้าของเรือ ใช้หรือยอมให้ใช้เรือของตนทำการประมงหรือเพื่อทำการประมง จนเป็นเหตุให้มีการละเมิดน่านน้ำของต่างประเทศ และทำให้คนประจำเรือหรือผู้โดยสารไปกับเรือต้องตกค้างอยู่ ณ ต่างประเทศ บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อันเกิดจากการละเมิดน่านน้ำของต่างประเทศซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีจำนวนไม่เกินเจ็ดคนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าว

ในกรณีที่ไม่สามารถแจ้งคำวินิจฉัยแก่บุคคลตามวรรคหนึ่ง เพราะไม่พบตัวบุคคลดังกล่าวหรือไม่มีผู้ใดยอมรับแทน ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแล้วในเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ส่งคำวินิจฉัยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือปิดคำวินิจฉัยไว้ในที่เห็นได้ง่าย ณ สำนักงานภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ของบุคคลดังกล่าวโดยมีพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นพยานในการนั้น



มาตรา 29 เครื่องมือในพิกัดซึ่งได้รับอาชญาบัตรในท้องที่จังหวัดใดแล้ว ถ้าบุคคลใดประสงค์จะนำไปใช้ทำการประมงในท้องที่จังหวัดอื่น ซึ่งจะต้องเสียเงินอากรสูงกว่า จะต้องเสียอากรเพิ่มเติมให้ครบตามอัตราในท้องที่นั้นเสียก่อนจึงจะใช้เครื่องมือนั้นได้



มาตรา 30 บุคคลใดประสงค์จะทำการประมงในที่อนุญาต ต้องขออนุญาตและเสียเงินอากรตามพระราชบัญญัตินี้ และเงินซึ่งผู้รับอนุญาตที่จะต้องชำระโดยการว่าประมูล ให้ถือว่าเป็นเงินอากรตามพระราชบัญญัตินี้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศยกเว้นไม่ต้องเสียเงินอากรค่าอนุญาตในที่อนุญาตรายตัวบุคคลได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ถือว่าได้รับอนุญาตแล้ว



มาตรา 31 ห้ามมิให้บุคคลใดตั้ง หรือปัก หรือสร้างเครื่องมือประจำที่ลงในที่สาธารณประโยชน์ ส่วนที่จับสัตว์น้ำ อื่น ๆ ห้ามมิให้บุคคลใดกระทำการเช่นว่านั้น โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่



มาตรา 32 รัฐมนตรีหรือข้าหลวงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีเฉพาะภายในเขตท้องที่ของตน มีอำนาจประกาศกำหนดได้ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดขนาดตาและระยะช่องเครื่องมือทำการประมงทุกชนิด กำหนดขนาด ชนิดจำนวนและส่วนประกอบของเครื่องมือทำการประมงที่อนุญาตให้ใช้ในที่จับสัตว์น้ำ

(2) กำหนดมิให้ใช้เครื่องมือทำการประมงอย่างหนึ่งอย่างใดในที่จับสัตว์น้ำโดยเด็ดขาด

ุ(3) กำหนดระยะที่ตั้งเครื่องมือประจำที่ให้ห่างกันเพียงใด

(4) กำหนดวิธีใช้เครื่องมือทำการประมงต่าง ๆ

(5) กำหนดฤดูปลาที่มีไข่และวางไข่เลี้ยงลูก กำหนดเครื่องมือที่ให้ใช้และกำหนดวิธีทำ การประมงในที่จับสัตว์น้ำใด ๆ ในฤดูดังกล่าว

(6) กำหนดชนิด ขนาด และจำนวนอย่างสูงของสัตว์น้ำที่อนุญาตให้ทำการประมง

(7) กำหนดมิให้ทำการประมงสัตว์น้ำชนิดหนึ่งชนิดใดโดยเด็ดขาด



มาตรา 33 การโอนประทานบัตร ใบอนุญาตและอาชญาบัตรและการออกใบแทนเอกสารเช่นว่านั้น และการสลักหลังอาชญาบัตร เพื่อแก้ไขหรือเพิ่มเติมผู้มีสิทธิใช้เครื่องมือทำการประมงจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้

ใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรใดซึ่งหมดอายุแล้ว แต่ได้ยื่นคำขอต่ออายุก่อนวันสิ้นอายุมิให้ถือว่าการทำการประมง หรือการใช้เครื่องมือนั้นเป็นการกระทำโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งว่าไม่อนุญาต



มาตรา 34 ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือทำการใด ๆ ในเครื่องมือประจำที่ของผู้รับอนุญาต หรือในบริเวณที่ตั้งเครื่องมือเช่นว่านั้นตามที่คณะกรมการจังหวัดจะได้ประกาศกำหนดเขตโดยอนุมัติรัฐมนตรี



มาตรา 35 ผู้รับอนุญาตจะต้องนำประทานบัตร ใบอนุญาต และอาชญาบัตร ติดตัวไปด้วยเสมอในเวลาไปทำการประมงและต้องนำออกแสดงเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจ



มาตรา 36 ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประทานบัตร ใบอนุญาต หรืออาชญาบัตรหรือค้างเงินอากรที่เกี่ยวกับประทานบัตรใบอนุญาต หรืออาชญาบัตรพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งเพิกถอนประทานบัตร ใบอนุญาต หรืออาชญาบัตรนั้นเสียก็ได้


มาตรา 37 ในขณะใดหรือในท้องที่ใดยังไม่สมควรจะเก็บเงินอากรให้ประกาศยกเว้นโดยพระราชกฤษฎีกา



มาตรา 38 โดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้คณะกรมการจังหวัดมีอำนาจยกเว้น งด หรือคืนอากรค่าประทานบัตรใบอนุญาต และอาชญาบัตร ให้บางส่วนหรือทั้งหมดตามแต่จะเห็นสมควร



มาตรา 39 โดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้คณะกรมการจังหวัดมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ผ่อนเวลาชำระเงินอากรได้ตามที่เห็นสมควรสำหรับเงินอากรที่ค้างนั้น ผู้รับอนุญาตจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละสิบต่อปีของเงินอากรและเงินดอกเบี้ยนี้ให้ถือเป็นเงินอากรค้าง



มาตรา 40 ถ้าผู้รับอนุญาตค้างชำระเงินอากร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ประกาศหรือแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตนำเงินอากรที่ค้างมาชำระภายในเวลาตามที่เห็นสมควร

(2) เมื่อได้ดำเนินการตามอนุมาตรา (1) แล้ว ผู้รับอนุญาตยังเพิกเฉยอยู่ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจสั่งให้หยุดทำการประมง

(3) จัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ผู้รับอนุญาตนำมาวางเป็นหลักประกัน หรือจัดการเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระเงินอากรแทนผู้รับอนุญาต เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้คิดชำระเงินอากรและค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดจนครบ เหลือเท่าใดให้คืนแก่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ค้ำประกัน แล้วแต่กรณี



มาตรา 41 เงินอากรที่ค้างชำระนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดและจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้รับอนุญาตแต่พอคุ้มกับเงินอากรที่ค้างชำระ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการยึดและการขายทอดตลาด



มาตรา 42 ประทานบัตร ใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรที่ถูกสั่งเพิกถอนตามมาตรา 36 นั้น อากรที่ชำระแล้วจะเรียกคืนมิได้



มาตรา 43 กำหนดอายุอาชญาบัตรสำหรับการขออนุญาตและเสียเงินอากรนั้น ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง วันที่ 31 มีนาคม



มาตรา 44 ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 43 เพื่อประโยชน์แก่การเก็บอากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้คณะกรรมการจังหวัดมีอำนาจประกาศกำหนดฤดูกาลทำการประมงตามความเหมาะสมแห่งท้องที่ โดยให้นับเวลาสิบสองเดือนเป็นหนึ่งฤดู และให้ถือระยะเวลาดังกล่าวแล้วเป็นระยะเวลาสำหรับการขออนุญาตและเสียอากรสำหรับหนึ่งปี



มาตรา 45 ในการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องออกไปตรวจสอบหรือกำหนดที่ตั้งเครื่องมือประจำที่ให้แก่ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องมือ ให้ผู้ขออนุญาตจัดหาพาหนะรับและส่งพนักงานเจ้าหน้าที่หรือออกค่าใช้จ่ายให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เท่าที่จำเป็นและจ่ายจริงตามแต่ผู้ขออนุญาตจะเลือก



มาตรา 46 ในกรณีที่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกประทานบัตรใบอนุญาตและอาชญาบัตรไม่ยอมออกเอกสารเช่นว่านั้น ให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียอุทธรณ์ไปยังรัฐมนตรีได้โดยยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานเช่นว่านั้นภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำอุทธรณ์นั้นให้เจ้าพนักงานเช่นว่านั้นเสนอรัฐมนตรีโดยมิชักช้า คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด







หมวด 4 สถิติการประมง




มาตรา 47 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้ทำการเก็บสถิติการประมงในท้องที่ใด ๆ ได้ตามที่เห็นสมควร



มาตรา 48 เมื่อได้มีประกาศตามความในมาตรา 47 แล้ว อธิบดีอาจขอให้ผู้หนึ่งผู้ใดที่มีอาชีพเกี่ยวกับสัตว์น้ำส่งรายการข้อความจำนวนเกี่ยวกับสถิตินั้นได้



มาตรา 49 คำขอของอธิบดีนั้น ให้ทำเป็นหนังสือระบุชื่อเจ้าของกิจการผู้จัดการหรือผู้แทน และให้กำหนดเวลา สถานที่และวิธีการยื่น



มาตรา 50 บุคคลซึ่งได้รับคำขอตามมาตรา 48 ต้องกรอกคำตอบลงในแบบพิมพ์แสดงรายการข้อความจำนวนตามที่รู้เห็น พร้อมทั้งลงชื่อกำกับ และจัดการยื่นตามกำหนดเวลา ณ สถานที่และตามวิธีการที่กำหนดในคำขอ



มาตรา 51 ถ้ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีเพื่อการนี้ มีอำนาจเข้าในสถานที่ทำการของผู้รับคำขอในเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อทำการตรวจสอบ จดข้อความจำนวนเกี่ยวกับสถิติการประมง และให้เป็นหน้าที่ของผู้รับคำขอ หรือผู้แทนตอบคำถาม อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการนี้







สายชล 10-06-2014 12:43


พรบ. การประมง พศ. 2490 (ต่อ)



หมวด 5 การควบคุม




มาตรา 52 โดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้คณะกรมการจังหวัดมีอำนาจประกาศห้ามมิให้บุคคลอื่นนอกจากผู้รับอนุญาต เข้าไปในที่จับสัตว์น้ำแห่งหนึ่งแห่งใด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้รับอนุญาตหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน



มาตรา 53(1) ห้ามมิให้บุคคลใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำชนิดใดชนิดหนึ่งตามที่ระบุไว้ ในพระราชกฤษฎีกา หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำชนิดใดชนิดหนึ่งเกินจำนวนหรือปริมาณ หรือเล็กกว่าขนาดที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรณีที่สัตว์น้ำที่ห้ามบุคคลมีไว้ในครอบครองเป็นชนิดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือทรัพย์สินของบุคคลหรือสาธารณชน ให้กำหนดลักษณะของสัตว์น้ำนั้นว่าจะมีอันตรายอย่างใด และกำหนดเวลาสำหรับผู้ซึ่งมีสัตว์น้ำนั้นในครอบครองอยู่แล้วส่งมอบสัตว์น้ำนั้นให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งด้วย

การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

บุคคลใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในวันที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในวรรคหนึ่งใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำนั้นต่อไป ต้องยื่นคำขออนุญาตตามวรรคสามภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ เว้นแต่ในกรณีสัตว์น้ำตามวรรคสอง จะขออนุญาตหรืออนุญาตมิได้ และในระหว่างเวลาที่กำหนดไว้ สำหรับการขออนุญาตจนถึงวันที่ได้รับคำสั่งไม่อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่มิให้นำมาตรา 67 ทวิ มาใช้บังคับ

ในกรณีที่บุคคลตามวรรคสี่ยื่นคำขออนุญาตแล้วแต่ไม่ได้รับอนุญาตอธิบดีมีอำนาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวส่งมอบสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับคำสั่ง

ในกรณีมีการส่งมอบสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำตามวรรคสองหรือวรรคห้า ให้กรมประมงคิดราคาสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำดังกล่าวตามสมควรแก่ผู้ส่งมอบ

ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า และวรรคหก มิให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นเฉพาะที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา



มาตรา 54 ห้ามมิให้นำสัตว์น้ำชนิดหนึ่งชนิดใดตามที่ระบุในพระราชกฤษฎีกาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่



มาตรา 55 ห้ามมิให้บุคคลใดนำสัตว์น้ำชนิดหนึ่งชนิดใดตามที่ระบุในพระราชกฤษฎีกา ไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำแห่งหนึ่งแห่งใด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่



มาตรา 56 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะเข้าไปในที่จับสัตว์น้ำแห่งใด ๆ หรือเรือทำการประมงของบุคคลใด ๆ เพื่อตรวจการทำการประมงเครื่องมือทำการประมงสัตว์น้ำ หลักฐานบัญชีและเอกสารต่าง ๆ ของผู้รับอนุญาตได้ทุกเมื่อ ผู้รับอนุญาตต้องอำนวยความสดวกและชี้แจงแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ทุกประการ



มาตรา 57 เมื่อปรากฏว่าบุคคลใดกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ากระทำการเช่นว่านั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมผู้นั้นพร้อมด้วยเรือ เครื่องมือทำการประมง สัตว์น้ำ และสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ในการกระทำผิดเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย



มาตรา 58 ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้รับอนุญาตรื้อถอนเครื่องมือทำการประมงสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งใด ๆ ในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งได้กระทำโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งประทานบัตรหรือใบอนุญาตได้สิ้นอายุแล้วบรรดาที่เป็นของผู้รับอนุญาต ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนดังกล่าวแล้ว ให้ผู้รับอนุญาตเป็นผู้ออก



มาตรา 59 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจทำการรื้อถอน ทำลายหรือยึดเครื่องมือซึ่งตั้งอยู่ในที่จับสัตว์น้ำ โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ และสิ่งต่าง ๆ ซึ่งระบุไว้ในมาตรา 58 ในกรณีที่ผู้รับคำสั่งไม่ได้รื้อถอนไปภายในเวลาอันสมควร ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนดังกล่าวให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ฝ่าฝืนเป็นผู้ออก



มาตรา 60 การประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้ามิได้กำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ทำเป็นหนังสือปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและศาลากลางจังหวัดประจำท้องที่เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน


หมวด 6 บทกำหนดโทษ




มาตรา 61(1) บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 11 มาตรา 14 มาตรา 15 มาตรา 16 วรรคสอง มาตรา 23 มาตรา 31 มาตรา 34 หรือมาตรา 52 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ



มาตรา 62(2) บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 9 มาตรา 13 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 30 มาตรา 54 หรือมาตรา 55 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ



มาตรา 62 ทวิ(3) บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 19 หรือมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท



มาตรา 62 ตรี(4) บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 20 ทวิ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกิน ห้าพันบาท



มาตรา 63 บุคคลใดไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา 25 หรือมาตรา 26 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ



มาตรา 64(5) บุคคลใดใช้เครื่องมือทำการประมง ซึ่งต้องมีอาชญาบัตรตามพระราชบัญญัติโดยไม่มีอาชญาบัตรตามมาตรา 28 หรือมิได้เสียเงินอากรเพิ่มเติมตามมาตรา 29 ต้องระวางโทษปรับสามเท่าของเงินอากรและให้อธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้

เมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสิบห้าวันให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน



มาตรา 64 ทวิ(6) บุคคลใดไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการตามมาตรา 28 ทวิ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือจำคุกไม่เกินห้าปีหรือทั้งปรับทั้งจำ



มาตรา 65(7) บุคคลใดฝ่าฝืนประกาศของรัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งประกาศตามความในมาตรา 32 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ



มาตรา 66 ผู้รับอนุญาตใดไม่ปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 35 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าสิบบาท



มาตรา 67 บุคคลซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการตามมาตรา 50 หรือมาตรา 51 หรือมาตรา 56 ละเลยไม่ปฏิบัติการเช่นว่านั้น มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท



มาตรา 67 ทวิ(8) บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 53 วรรคหนึ่งหรือวรรคห้าต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

ถ้าหากปรากฏว่าสัตว์น้ำนั้นเป็นสัตว์ชนิดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาตรา 53วรรคสอง ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนสองหมื่นบาทหรือจำคุกไม่เกินหกปีหรือทั้งปรับทั้งจำ



มาตรา 68 ผู้รับอนุญาตใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของข้าหลวงประจำจังหวัด ซึ่งสั่งตามมาตรา 58 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาทหรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ



มาตรา 69(9) เรือ เครื่องมือทำการประมง สัตว์น้ำ และสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้หรือได้มาโดยการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้ ศาลจะริบเสียก็ได้แต่ถ้าสิ่งเช่นว่านั้น ได้ใช้หรือได้มาโดยการกระทำความผิดในที่รักษาพืชพันธุ์หรือโดยการฝ่าฝืนมาตรา 20 ให้ศาลริบเสียทั้งสิ้น



มาตรา 70 เครื่องมือทำการประมงที่ได้มีประกาศตามความในมาตรา 32 ห้ามมิให้บุคคลใดใช้โดยเด็ดขาดนั้น ถ้านำมาใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ ให้ศาลริบเครื่องมือนั้นเสีย

มาตรา 71 ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่ผู้นำจับตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกินสองพันบาทและต้องชดใช้เงินซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการไปตามมาตรา 59 ในกรณีที่ศาลลงโทษผู้กระทำความผิดให้ศาลพิพากษาให้ผู้กระทำความผิดชำระเงินดังกล่าวแล้ว ถ้าไม่ชำระให้จัดการตามมาตรา 18 แห่งกฎหมายลักษณะอาญาโดยถือเสมือนว่าเป็นค่าปรับ



มาตรา 72 บุคคลใดทำลาย ถอดถอน หรือทำให้โคมไฟ เครื่องหมายหลักเขต แผ่นประกาศหรือสิ่งอื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำไว้ในที่จับสัตว์น้ำบุบสลาย หรือเสียหายด้วยประการใด ๆ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ







บทเฉพาะกาล



มาตรา 73 ในกรณีที่ได้มีประกาศกำหนดประเภทที่จับสัตว์น้ำไว้ก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเป็นประกาศที่ออกตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ เป็นต้นไป ประทานบัตร อาชญาบัตร และใบอนุญาตที่ออกก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเป็นประทานบัตร อาชญาบัตร และใบอนุญาตที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้แล้วแต่กรณี และให้คงใช้ต่อไปได้จนหมดอายุแห่งประทานบัตร อาชญาบัตร และใบอนุญาตนั้น ๆ





ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเรือตรี ถ. ธำรงนาวาสวัสดิ์
นายกรัฐมนตรี







บัญชีหมายเลข 1 อัตราเงินอากรค่าที่อนุญาต

บัญชีหมายเลข 2 อัตราเงินอากรอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือในพิกัด

บัญชีหมายเลข 3 อัตราเงินอากรค่าใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมง

บัญชีหมายเลข 4 อัตราค่าธรรมเนียม




สายชล 10-06-2014 12:46

พรบ. การประมง พศ. 2490 แก้ไขเพิ่มเติม



พระราชบัญญัติการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496


หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ด้วยปรากฏว่าเวลานี้มีผู้ใช้วัตถุระเบิดทำการประมงทั้งในน่านน้ำจืดและน่านน้ำเค็มกันเป็นจำนวนมาก อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 ผู้ฝ่าฝืนไม่ค่อยกลัวเกรง เพราะโทษแห่งความผิดได้กำหนดไว้ให้ในอัตราต่ำ และการจับกุมผู้กระทำผิด ก็จับได้ด้วยความยากลำบาก การใช้วัตถุระเบิดทำการประมงนั้น ปรากฏจากผลของการทดลองของกองทัพเรือ ร่วมกับกรมการประมงว่า เป็นการทำลายพันธุ์ปลาชนิดดี ๆ อย่างร้ายแรงมาก การใช้วัตถุระเบิดส่วนมาก ผู้ฝ่าฝืนใช้ตามหินกองในท้องทะเลซึ่งมีปลาพันธุ์ดีอาศัยอยู่ เช่น ปลาเหลือง ปลาสีกุน การระเบิดครั้งหนึ่ง ๆ ปรากฏว่าได้ทำลายพันธุ์ปลาที่อยู่ในรัศมีการระเบิดโดยสิ้นเชิง ทั้งปลาใหญ่และลูกปลาที่เป็นปลาที่มีราคาและปลาเหล่านี้เป็นปลาประจำท้องที่ ถ้าหากยังมีการฝ่าฝืนเช่นนี้ต่อไปอีก ไม่ช้าพันธุ์ปลาดี ๆ ในท้องทะเลก็จะถูกทำลายให้สูญพันธุ์ในกาลต่อไปได้ เป็นการทำลายอาชีพการประมงของบรรดาชาวประมง และบัดนี้ก็ปรากฏว่าเครื่องมือทำการประมงบางชนิดเช่น อวนยอ อวนมุโร เบ็ดสาย ลอบปะทุน ทำการประมงไม่ได้ผล เพราะบริเวณที่ใดถูกระเบิดปลาก็ถูกทำลายแทบหมดสิ้น ไม่มีพันธุ์พอที่จะเกิดและเพิ่มปริมาณให้มีการจับได้อีกเป็นเวลานาน ทำให้ชาวประมงที่ใช้เครื่องมือประจำที่ทำการจับไม่ได้ต่างพากันร้องว่าเดือดร้อน ฉะนั้น จึงควรกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนไว้ในอัตราสูง เพื่อปราบปรามให้เข็ดหลาบ และป้องกันการทำลายพันธุ์ปลาไว้มิให้ถูกทำลายหมดไป โดยการกระทำของผู้เห็นประโยชน์ส่วนตัวเฉพาะหน้า

อนึ่ง ปรากฏว่ามีผู้ฝ่าฝืนทำการบุกรุกและวิดน้ำจับสัตว์น้ำ ในที่จับสัตว์น้ำอันเป็นที่สาธารณประโยชน์ โดยมิได้รับอนุญาต เป็นเหตุให้เกิดการเสียหายแก่ที่จับสัตว์น้ำและพันธุ์สัตว์น้ำ จึงเห็นควรแก้ไขให้การควบคุมและการรักษาสัตว์น้ำได้ประโยชน์รัดกุมยิ่งขึ้น

*[รก.2496/61/1145/29 กันยายน 2496]





พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2513

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากปรากฏว่าได้มีผู้มีปลาปิรันยา (PIRANHA) หรือปลาคาริบี (CARIBE) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดในสกุลเซราซาลมัส (SERASALMUS) และมีแหล่งกำเนิดเดิมอยู่ในแม่น้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล ไว้ในครอบครอง ปลาชนิดนี้เป็นปลาขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายปลาแปบ หรือปลาโคก แต่มีฟันคมและมีนิสัยดุร้ายมาก ชอบอาศัยอยู่เป็นฝูง ชอบรุมกัดกินเนื้อมนุษย์และสัตว์ทุกขนาดเป็นอาหาร เช่น โค กระบือ ม้า ฯลฯ ที่ลงไปในแม่น้ำลำคลองที่ปลานี้อาศัยอยู่ และบัดนี้มีผู้นำหรือสั่งปลาในสกุลนี้มาจากต่างประเทศเข้ามาขายในประเทศไทยหลายราย โดยจำหน่ายเป็นปลาประเภทสวยงาม และแปลกประหลาด ถ้าปล่อยให้มีปลาในสกุลนี้ไว้ในครอบครองอาจจะมีการผสมพันธุ์ปลาในสกุลนี้ขึ้นจำหน่าย หรืออาจจะมีผู้นำไปปล่อยในแหล่งน้ำสาธารณะ ปลาสกุลนี้จะขยายพันธุ์และแพร่หลายทั่วไปจะเป็นอันตรายต่อประชาชน สัตว์เลี้ยงและสัตว์น้ำอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการประมง โดยห้ามมิให้มีสัตว์น้ำตามที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาไว้ในครอบครอง ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อการค้าหรือไม่ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และโดยที่เป็นกรณีเหตุฉุกเฉินมีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความปลอดภัยสาธารณะหรือป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ ก่อนที่จะได้มีการขยายพันธุ์จนสายเกินที่จะป้องกันกำจัดได้ สมควรออกพระราชกำหนดโดยด่วน

*[รก.2513/27/1พ./30 มีนาคม 2513]





พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2513

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปรากฏว่าได้มีมีผู้นำปลาปิรันยา (Piranha) หรือปลาคาริบี (Caribe)ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดในสกุลเซราซาลมัส (Serasalmus) จากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหลายราย เพื่อจำหน่ายและเลี้ยงเป็นปลาประเภทสวยงาม ปลาชนิดนี้มีเหล่งกำเนิดเดิมอยู่ในแม่น้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล เป็นปลาขนาดเล็ก รุปร่างคล้ายปลาแปบหรือปลาโคก แต่เป็นปลาที่มีฟันคมและมีนิสัยดุร้ายมาก อาศัยอยู่เป็นฝูง ชอบรุมกัดกินเนื้อมนุษย์และสัตว์มีชีวิตทุกขนาดเป็นอาหาร เช่น โค กระบือ ม้า ฯลฯ ที่ลงไปในแม่น้ำลำคลองที่ปลาชนิดนี้อาศัยอยู่ ถ้าปล่อยให้บุคคลมีปลาชนิดนี้ไว้ในครอบครอง อาจจะมีการผสมขยายพันธุ์พืชเพื่อจำหน่ายหรืออาจจะมีผู้นำไปปล่อยในแหล่งน้ำสาธารณะ ปลาชนิดนี้สามารถขยายพันธุ์ได้โดยรวดเร็ว เพราะถิ่นกำเนิดเดิมมีอุณหภูมิอยู่ในระดับเดียวกับ ประเทศไทย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อประชาชน สัตว์เลี้ยงและสัตว์น้ำอย่างร้ายแรง เพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะดังกล่าวแล้ว และเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็นและรีบด่วน จึงจำเป็นต้องออกเป็นพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 โดยบัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดมีสัตว์น้ำตามระบุในพระราชกฤษฎีกาไว้ในครอบครองไม่ว่าจะมีไว้เพื่อการค้าหรือไม่ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ สำหรับผู้ที่มีปลาชนิดนี้ไว้ในครอบครองในวันพระราชกฤษฎีกาออกใช้บังคับ โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกประกาศให้นำปลาชนิดนี้มาส่งมอบแก่เจ้าพนักงานกรมประมงภายใน 7 วัน โดยกรมประมงจะคิดค่าสัตว์น้ำให้ตามสมควรจึงได้ออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2513 ประกาศในราชกิจจนุเบกษา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2513 ฉะนั้น จึงเห็นสมควรออกพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าวตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 146 ต่อไป





พระราชบัญญัติการประมง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 (มาตรา 15)


มาตรา 15 บรรดาพระราชกฤษฎีกาและประกาศรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาหรือประกาศรัฐมนตรีให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง แล้วแต่กรณี





พระราชบัญญัติการประมง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปรากฏว่าในปัจจุบันนี้มีประชาชนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ใช้วัตถุมีพิษเพื่อทำการประมงอันอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคสัตว์น้ำได้ จึงสมควรจะได้กำหนดมาตรการควบคุมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น พร้อมกับกำหนดความรับผิดของเจ้าของเรือ กรณีที่มีการละเมิดน่านน้ำของต่างประเทศ และทำให้คนประจำเรือหรือผู้โดยสารไปกับเรือต้องตกค้างอยู่ ณ ต่างประเทศ ประกอบกับมีสัตว์น้ำบางชนิดที่มีคุณค่าในทางเศรษฐกิจ เช่น เต่า และกระ ได้ถูกจับจนเกินปริมาณที่สมควร หากไม่มีมาตรการอนุรักษ์ที่เหมาะสมแล้ว สัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจประเภทดังกล่าวจะถูกทำลายจนไม่มีเหลือสำหรับแพร่พันธุ์ หรือนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป จึงสมควรที่จะออกมาตรการห้ามครอบครองสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำบางชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจดังกล่าว และโดยที่พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ไม่มีบทบัญญัติครอบคลุมไปถึงมาตรการเหล่านี้ อีกทั้งโทษบางมาตราที่บัญญัติไว้มีอัตราต่ำไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

*[รก.2528/120/38พ./5 กันยายน 2528][/B]


สายชล 10-06-2014 12:59

จะเห็นได้ว่า กฏหมายการประมงที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน ยึด พรบ. การประมง พศ. 2490 เป็นหลัก เมื่อสถานการณ์ด้านการประมงของไทยและของโลกเปลี่ยนไป มีแนวความคิดใหม่ๆ ที่ต้องการให้มีการทำประมงแบบยั่งยืน คิดถึงเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณ มีการประท้วงเรื่องการทำประมงแบบล้างผลาญ กับทั้งมีกลุ่มประมงพื้นบ้านเข้ามามีส่วนในการประสานและต่อรองกับทางการมากขึ้น จึงมีความพยายามที่จะมีการแก้ไขกฎหมายการประมงให้ทันยุคทันสมัย ใช้ได้กับโลกในปัจจุบัน...

ลองอ่านข่าวคราวเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายการประมงดูนะคะ

สายชล 10-06-2014 13:03



พระราชบัญญัติกรมประมงฉบับใหม่

เป้าคลี่คลายปัญหาการประมง


ผลผลิตของภาคการประมงสามารถ ทำรายได้ให้แก่ประเทศปีละกว่า 2 แสนล้านบาท แต่ปัจจุบันการประมงต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย อาทิ ภัยธรรมชาติ ความเสื่อมโทรม ของทรัพยากรประมง มลพิษในแหล่งน้ำ รวม ถึงการแย่งชิงทรัพยากรประมง โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการทาง กฎหมายว่าด้วยการประมงที่ล้าสมัย ซึ่งบังคับใช้มาเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 ทำให้ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป หลายฝ่ายจึงเห็นพ้องต้องกันว่าควรแก่ การปรับปรุงแก้ไขใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ........ โดยยกเลิกกฎหมายเดิมทั้งฉบับ และเพิ่มหลักการใหม่ ๆ ที่สำคัญ ๆ อาทิ มีการกำหนดให้มีแบ่งเขตการประมงในน่านน้ำไทยออกเป็น 3 เขต อย่างชัดเจน ได้แก่ เขตประมงน้ำจืด เขตประมงทะเลชายฝั่ง และเขตประมงทะเลนอกชายฝั่ง ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายเดิมไม่ได้กำหนดเขตพื้นที่ทำการประมง ทำให้เครื่องมือประมงที่ได้รับอนุญาตสามารถทำการประมงในทะเลได้อย่างเสรีในทุกเกือบพื้นที่ ก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงพื้นที่ทำการประมง และมีความรุนแรงมากขึ้น

กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน โดยรัฐมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนผู้ประสงค์จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของตนให้ได้มาตรฐาน และออกหนังสือรับรองให้ ซึ่งจะทำให้สัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยงของประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า

กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมด้านสุขอนามัย นับตั้งแต่ขั้นตอนการจับ การดูแลสัตว์น้ำหลังการจับ และการขนส่ง โดยรัฐออกหนังสือรับรองให้ กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมง โดยกำหนดให้มีส่วนร่วมใน 2 ลักษณะ คือ การให้ตัวแทนภาคประชาชนร่วมเป็นคณะกรรมการนโยบายประ มงแห่งชาติ และกำหนด ให้กรมประมงมีหน้าที่ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้ำภายในเขตประมงน้ำจืดหรือเขตประมงทะเลชายฝั่ง และกำหนดให้มี คณะกรรมการประมงนอกน่านน้ำไทย เพื่อเสนอแนะนโยบายและแนวทางการพัฒนาการประมงนอกน่านน้ำไทยต่อคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ และเสนอแนะต่อหน่วยงานในการออกกฎ ระเบียบต่าง ๆ ในการจัดระเบียบการใช้เรือไทยออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยเป็นการเฉพาะ

สำหรับหลักการอื่น ๆ ยังคงยึดถือแนวทางตามกฎหมายฉบับเดิม เพียงแต่มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันให้มากขึ้น เช่น การกำหนดอัตราโทษ อัตราค่าอากร ค่าธรรมเนียมให้มีความเหมาะสม กับสภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น ทั้งนี้ กรมประมงได้เริ่มยกร่างกฎหมายนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนหลายครั้งมาอย่างต่อเนื่อง และได้ทำการแก้ไขปรับปรุงมาเป็นลำดับ ซึ่งคณะกรรมการ กฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาและนำเสนอคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลปัจจุบันให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 และกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในเวลาไม่ช้านี้

“หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากฎหมายประมงฉบับใหม่นี้ จะเป็นคำตอบหรือเป็นกลไกที่สำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาทางการประมงในปัจจุบัน และพัฒนาการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ของกรมประมงที่ว่า มุ่งสู่การเป็นผู้นำทางการประมงอย่างยั่งยืนในภูมิภาค เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน” ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง กล่าว.




ข้อมูลจาก....http://www.farmrachan.com/%E0%B8%81%...%E0%B9%88.html

สายชล 10-06-2014 13:06



สาระสำคัญของกฎหมายการประมงฉบับใหม่

กฎหมายการประมงที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันคือ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. 2490 ซึ่งได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานาน จึงไม่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน

ปัญหาด้านการประมงนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในแต่ละปีการประมงสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 2 แสนล้านบาท แต่การประมงก็พบกับอุปสรรคมากมายนานับประการ ไม่ว่าจะเป็นความเสื่อมโทรมของธรรมชาติ มลพิษในน้ำที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม กากน้ำมันของเรือต่างๆ ระบบนิเวศน์ถูกทำลาย

ร่างกฎหมาย พ.ร.บ. การประมง พ.ศ... จะมีหลักการใหม่ ๆ ที่สำคัญๆ เช่น การกำหนดแบ่งเขตการประมงในน่านน้ำไทยออกเป็น 3 เขต คือ (1) เขตประมงน้ำจืด หมายถึง เขตประมงที่อยู่ในแผ่นดิน (2) เขตประมงทะเลชายฝั่ง หมายถึง เขตตั้งแต่ชายฝั่งทะเลออกไป 3 ไมล์ทะเล และอาจขยายได้แต่ไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล และ (3)เขตประมงทะเลนอกชายฝั่ง หมายถึง เขตทะเลนอกเหนือจากเขตทะเลชายฝั่งออกไปจนสุดเขตน่านน้ำไทย ในแต่ละเขตมีการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำแตกต่างกันตามความเหมาะสม ตามประเภทของเครื่องมือประมง และสภาพพื้นที่การใช้เครื่องมือประมงที่ไม่เหมาะสมกับทรัพยากรสัตว์น้ำ จะทำให้สัตว์น้ำขนาดเล็กถูกจับขึ้นมาใช้ประโยชน์ก่อนวัยอันควร การใช้เครื่องมือประมงที่ถูกต้องและเหมาะสมตามสภาพ ย่อมเป็นวิธีที่จะรักษาระบบนิเวศน์อีกด้วย ซึ่งกฎหมายเดิมไม่ได้กำหนดเขตพื้นที่ทำการประมง ทำให้เครื่องมือประมงที่ได้รับอนุญาตสามารถทำการประมงในทะเลได้อย่างเสรีในทุกเกือบพื้นที่ ก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงพื้นที่ทำการประมง

การกำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้รัฐสามารถออกมาตรการควบคุมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้ได้คุณภาพมีมาตรฐาน ซึ่งกฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดไว้ชัดเจน จึงทำให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ผ่านมามีการใช้สารเคมี จึงมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทำให้ขาดศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า

การกำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมด้านสุขอนามัย โดยรัฐมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานด้านสุขอนามัยสำหรับประชาชน นับตั้งแต่ขั้นตอนการจับ การดูแลสัตว์น้ำหลังการจับ การแปรรูป และการขนส่งหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำ อันจะส่งผลให้สามารถรักษาคุณภาพสัตว์น้ำให้มีคุณภาพ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งกฎหมายเดิมไม่มีบทบัญญัติส่งเสริมควบคุมด้านสุขอนามัย ทำให้ไม่สามารถควบคุมสัตว์น้ำให้มีคุณภาพสุขอนามัย

การกำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ บำรุงรักษา อนุรักษ์ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำ ซึ่งจะส่งผลดีในระยะยาวต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ อันจะทำให้รัฐสามารถกำหนดมาตรการด้านการบริหารจัดการได้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และความต้องการของประชาชน ซึ่งกฎหมายเดิมไม่มีบัญญัติไว้

การกำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ เพื่อกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการพัฒนาการประมงของประเทศ แนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ แนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านการประมง การแก้ไขปัญหาการทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ซึ่งกฎหมายเดิมไม่มีบัญญัติไว้ จึงทำให้ขาดการบริหารจัดการการประมงภาพรวม และทำให้เกิดปัญหาการทำการประมงโดยละเมิดน่านน้ำและฝ่าฝืนข้อตกลงระหว่างประเทศ

การแก้ไขพ.ร.บ การประมง โดยแก้ไขหลักการที่สำคัญต่างๆเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ที่มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น และมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมการประมง แต่พื้นที่การประมงยังคงมีเท่าเดิม และการกำหนดให้มีคณะกรรมการนโนบายประมงแห่งชาติ จึงน่าจะทำให้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆด้านการประมงลดน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านการประมง เพื่อการจัดการทรัพยากรประมง การผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อให้ได้คุณภาพต่อการบริโภคของประชากรในประเทศ และเพื่อการส่งออกอันจะเป็นการสร้างอาชีพและทำรายได้ให้กับประเทศ

ร่างกฎหมายฉบับใหม่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตามกฎหมายที่จะใช้บังคับจะสัมฤทธิ์ผลเพียงใด ก็ต้องขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนที่ต้องร่วมมือกันปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ที่ออกมาใช้บังคับอย่างจริงจัง

รุจิระ บุนนาค

rujira_bunnag@yahoo.com

Twitter : @ RujiraBunnag


ข้อมูลจาก....http://www.naewna.com/politic/columnist
/7603


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 08:48

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger