SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม 2566 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=6270)

สายน้ำ 09-05-2023 02:44

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม 2566
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร และอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9-14 พ.ค. 66 ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนล่าง ทำให้ภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น ส่วนทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 14 พ.ค. 66 นี้ไว้ด้วย

ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ประเทศไทยมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากมีฝนเพิ่มขึ้นและการระบายอากาศดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 9 - 10 พ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 พ.ค. 66 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9 - 14 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนบน ขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 9 - 10 พ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง ส่วนในช่วงวันที่ 11 ? 14 พ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 9 - 14 พ.ค. 66



******************************************************************************************************



พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 6 (135/2566) (มีผลกระทบถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2566)


บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9-14 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน

ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. 2566 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้


วันที่ 9 พฤษภาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด


วันที่ 10 พฤษภาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9-14 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนกลางและทะเลอันดามันตอนบน หลังจากนั้นจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเมียนมา ส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. 66 ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าว



https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

สายน้ำ 09-05-2023 03:31

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


"หาดเทียม" ดึงเที่ยว! พัทยา-นาจอมเทียน

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

นิสัยคนไทยคงลืมเลือนกันไปแล้ว...กับบิ๊กโปรเจกต์ซีรีส์นิคมอุตสาหกรรมจะ ?ถมทะเล? แหลมฉบัง 3,000 ไร่ ภายใต้โครงการส่วนขยายปิโตรเคมีปี 2562 ที่ทำเอาชาวบ้านแถวนั้นวี้ดว้ายจะหาเรือมารับจ้างขนหินไปทิ้งปูทาง...กะจะรวยกันแบบฉับพลันทันตาในคราวนั้น

ผ่านมาถึงวันนี้เรื่องเดินไปถึงไหนไม่รู้...รู้แต่ว่าคล้ายจิ้งจกร้องทักด้วยเสียงนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมแสดงความห่วงใยผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและวิถีประมงชายฝั่ง เนื่องจากแหล่งทำกินหดสั้นจนอาจต้องสัญจรหาที่ทำกินใหม่

อีกทั้งทำลายระบบนิเวศทางทะเลเมื่อเกิดขุ่นตะกอนลอยสูงรบกวนการหายใจของสัตว์น้ำอย่างเลือดเย็น...กรณีสถานะทางสมุทรศาสตร์เกิดปิดกั้นการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำ ผลร้ายที่ตกตามมาคือ...ชายหาดพัทยาที่มนุษย์ลือกันให้แซ่ดสนั่นโลกว่า โค้งรีดั่งจันทร์คืนแรมจะเว้าแหว่งเพราะถูก "น้ำเซาะทราย"

พัดหายไปปีละกว่า 3 เมตรเป็นอย่างน้อย...นิทานเลียน "อีสป" เรื่อง "ลาโง่กินน้ำค้าง" จึงจางหายไปนับแต่บัดนั้น

ทว่า...มหาโปรเจกต์ขุดแล้วถมหาดพัทยา-นาจอมเทียน และหาดบางแสนของชนชั้นกรรมาชีพมิได้จบแค่นั้น...เมื่อกรมเจ้าท่าอ้างการศึกษา พบว่า นับแต่ปี 2510-2558 ชายหาดภาคตะวันออกได้สูญหายไปแล้วกว่า 60 ไร่ จากการถูกกระแสน้ำกัดเซาะและหากปล่อยทิ้งไว้อนาคตคงไม่เหลือเม็ดทรายไว้ให้เห็นอีกต่อไป

กระแสที่ว่านี้ทำเอากลุ่มนักวิชาการสมุทรศาสตร์ทางทะเลขนลุกซู่ ด้วยกลัวอุบัติการณ์จะสวนกระแสที่ว่าเมื่อมีการถมทะเลวันใดย่อมหมายถึงการฆาตกรรมหาดพัทยาวันนั้น และยังฉงนต่อการคิดบิ๊กโปรเจกต์

ขณะปัญหาหญ้าปากคอกอย่างเรือเจ็ตสกีหรือสกูตเตอร์ยังหลงทางจะเป็นเรือติดเครื่องยนต์ท้ายก็ไม่ใช่มอไซค์ลอยทะเลก็ไม่เชิง ที่สุดเหมารวมเป็น "เรือเพื่อเช่า" แทนคำว่า "เรือสำราญกีฬา" ในการจัดระเบียบแก้ปัญหาธุรกิจชนิด "แก้ผ้าเอาหน้ารอด" จนวันนี้

"พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง"...เมื่อนักวิชาการระหว่างฝ่ายไม่เห็นด้วยถมทะเล กับฝ่ายเจ้าท่ากระต่ายขาเดียวถม "หาดจริง" สร้าง "หาดเทียม" นาจอมเทียน เฟสแรกระยะทาง 3.5 กิโลเมตรกว้าง 50 เมตรแล้วเสร็จไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมากับเฟสสอง 3 กิโลเมตรกว้าง 50 เมตร

เริ่มปีนี้กำหนดแล้วเสร็จปลายปี 2568...คุยเชิงประกาศให้รู้ด้วยว่าสุดสวยอลังการรักษาระบบนิเวศดีเยี่ยม สร้างงานปั่นรายได้แก่ชุมชนเสมอ "ซอฟต์เพาเวอร์" ฟื้นฟูท่องเที่ยวตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี...ว่าไปนั่น!

แว่วว่างานนี้ใช้งบประมาณสมัยรัฐบาลสร้างนิสัยคนไทยขยัน "เที่ยวด้วยกัน" แบบ "ขี่ช้างจับตั๊กแตน" แค่ 986 ล้านบาท...สะกิดใจอดีตนักวางแผนผู้เคยจัดทำแผนแม่บทพัฒนาเมืองท่องเที่ยวหลักภาคตะวันออกอย่างพัทยาเมื่อ 50 กว่าปีก่อน ที่ร่วมกับ "ไจก้า" หรือ?องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น? ถึงกับอดไม่ได้ที่จะลุกขึ้นมาแย้งโจทย์ข้อนี้

"แผนที่ว่าจัดทำขึ้นขณะพัทยายังเหมือนทารกเพิ่งหัดเดิน จะได้ไม่เป็นลูกปูเดินตามแม่ปู โดยคำนึงถึงธรรมชาติเป็นสำคัญเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวปราศจากสิ่งแปลกปลอม ป้องกันถนนเลียบหาดจำกัดเป็นโซนต้องห้ามรถทุกชนิดให้คนเดินลงชายหาดอย่างปลอดภัย โรงแรมริมหาดต้องสูงไม่เกินยอดมะพร้าว

รักษาภูมิทัศน์เมือง...แต่ทุกอย่างล้มเหลวหมดอย่างที่เห็น"

อดีตนักวางแผนบอก...ทัศนะอุจาดยังลามไปถึงหาดนาจอมเทียน ซึ่งแต่เดิมสวยและสงบไร้มลภาวะ ไม่นานอีหรอบเดียวกับพัทยาคือสิ่งจอมปลอมเต็มหาด

มาวันนี้...ถมทะเลขยาย "หาดธรรมชาติ" เป็น "หาดเทียม" ด้วยงบประมาณ 986 ล้านบาทอ้างถูกน้ำกัดเซาะและสร้างมุมมองใหม่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เคยมีมากถึงปีละ 18 ล้านคนทำรายได้นับหมื่นล้านฯ

สถานการณ์เช่นนี้อดีตนักวางแผนรายเดิมชี้ว่า ปัจจุบันเรากำลังให้ความสำคัญ "ท่องเที่ยว" เป็นแก้วสารพัดนึกช่วยแก้ปัญหาสารพันจนเกินเลย และน่าเป็นห่วงถึงความคุ้มค่ากับการใช้ทรัพยากรแลกเปลี่ยนทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิต...ตัวอย่างเห็นได้ชัดช่วงวิกฤติโควิดที่ท่องเที่ยวโตแบบพองลม

ครั้น...ประสบปัญหาถึงพากันล้มระเนนระนาด

การสร้างธรรมชาติเทียมก็เช่นกันใครจะการันตีได้ว่าหาดจะไม่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะเปลี่ยนทิศทาง ต้องไม่ลืมบ้านเรามีแนวหาดทรายทั่วประเทศ 1,630.70 กิโลเมตร มากพอใช้ขายการท่องเที่ยวโดยไม่แตะต้อง...

สิงคโปร์ยอมถมทะเลสร้างสนามบินชางงีขึ้นชั้น "ฮับ" อาเซียนแล้วสร้างหาด "ซิโลโซ่" เกาะเซนโตซ่าให้ประชาชนทดแทน เพราะไม่มีหาดทรายเหมือนไทย ฮ่องกงตัดสินใจถมทะเลเนรมิตสนามบิน "ไขตั๊ก" เมื่อเกือบร้อยปี ญี่ปุ่นมีสนามบินฮาเนดะกับนาริตะชานโตเกียวไม่พอรับเที่ยวบินพาณิชย์


...จึงถมทะเลสร้างสนามบิน "คันไซ" โอซากา

เวียดนามถมทะเลหมู่เกาะสแปรตลีย์ทางทะเลจีนใต้บนแนวหินแบบปกปิด สร้างท่าเทียบเรือเช่นฟิลิปปินส์ มาเลเซียยกเลิกความคิดถมทะเลทำ ?มะละกาเกตเวย์? ด้วยเกรงจะกระทบต่อระบบนิเวศ...

ทั้งหมดเหล่านี้ไม่เห็นประเทศใดในหล้าคิดถมทะเลทำหาดจอมปลอมเหมือนพัทยา?นาจอมเทียน แลกกับสมดุลธรรมชาติที่หายไป?

ประเด็นร้อนๆนี้ผู้ประกอบการละแวกนั้นกระซิบเบาๆ...เฟสแรก 3 กิโลครึ่งเป่าคาถาเสร็จตกอยู่ในเขตบริหารจัดการโดยเมืองพัทยา ลักษณะกายภาพจึงถอดแบบจากออริจินัลคือมีเก้าอี้ผ้าใบร่มกางขายสินค้าเกลื่อนหาด...ได้ความว่าสงวนสิทธิ์ให้เฉพาะผู้ค้าหน้าเดิมที่จ่ายภาษีเงินได้หรือ "ภ.ง.ด.90" ประจำปีเมืองพัทยา

รายละ 1 ล็อกหน้าหาดกว้างจากทางเท้าถึงหาดเทียม 7 เมตรยาว 9 เมตร...ห้ามซื้อขายถ่ายโอนกันเด็ดขาด

แต่บางรายสามารถกางได้ยาวพรึบ 18-27-36 เมตร โดยเมืองพัทยาทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นหรือไม่รู้ไม่ชี้?...ยิ่งแปลกกว่านั้นหาดเทียมอีกแปลงยาว 3 กิโลเมตรอยู่ในความรับผิดชอบเทศบาลตำบลนาจอมเทียน อ.สัตหีบ...กลับห้ามผู้ใดรุกล้ำทำการค้าทุกชนิดทั้งที่อยู่บน "หาดเทียม" เดียวกัน

เอาว่าฝ่ายหนึ่งถือกฎหมายเมืองพิเศษ อีกฝ่ายคาบคัมภีร์เทศบัญญัติคนละฉบับจึงเอวังแบบนี้?

และที่พิสดารอีกอย่าง...คือไร้การจัดระเบียบถนนเลียบหาดร่วม 10 กิโลเมตร เชื่อมเมืองพัทยากับเทศบาลตำบลนาจอมเทียน ซึ่งมีพื้นผิวจราจรกว้าง 6 เมตรไหล่ทางด้านละ 1.5 เมตร กลับปล่อยให้รถจอดนิ่งบนไหล่ทางปิดถนนเดินรถให้แคบลง ทางเดินเท้าก็ไม่ต่างอะไรกันขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ

...มีเศษสิ่งปฏิกูลรกเป็นกาฝากประดับ "หาดเทียม" ตั้งแต่เขตเมืองพัทยาถึงนาจอมเทียน

สิ่งคาดหวังที่อยากให้เกิดและมี "หาดเทียม" ...มูลค่า 986 ล้านบาทจะเป็นนวัตกรรมใหม่พัทยา?นาจอมเทียน เพื่อเป็น "นิวโมเดล" เมืองท่องเที่ยวทางทะเลอื่นๆ...จึงเป็นได้แค่ "ฝันค้าง" กลางวันเสียมากกว่าจะเป็นจริง?


http://www.saveoursea.net/forums/new...uote=1&p=63889


สายน้ำ 09-05-2023 03:33

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


องค์การอุตุฯ โลก เผยทั่วโลกต้องเตรียมพร้อม เพราะอาจเจอเอลนีโญรุนแรง 80% ภายในเดือนกันยายนนี้

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

จากเหตุการณ์สภาพอากาศที่ร้อนมากในหลายประเทศ และวิกฤตภัยแล้งที่กำลังส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ทั่วโลก ทาง องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติ WMO (World Meteorological Organization ) จึงได้มีการออกรายงานเตือนทุกๆ ประเทศ ให้มีการเตรียมตัวรับมือกับวิกฤตในปีนี้ เนื่องจากอาจเจอเอลนีโญรุนแรงเกิดขึ้น ซึ่งมีโอกาสจะเกิดขึ้น 80% ภายในเดือนกันยายนนี้

การพยากรณ์อากาศนั้นเป็นเป็นเรื่องที่ซับซ้อน แม้ข้อมูลจะยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าอนาคตจะเกิดเอลนีโญรุนแรงขึ้นจริงหรือไม่เพราะ แต่ดูเหมือนว่าในหลายๆ เหตุการณ์วิกฤตความร้อนและภัยแล้งที่ทั่วโลกเผชิญอยู่ ก็มีโอกาสที่เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ โดยรายงานนี้ได้ระบุว่า มีโอกาส 60% ที่เอลนีโญจะเกิดขึ้นภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 70% ภายในเดือนสิงหาคม และ 80% ภายในเดือนกันยายนนี้

แม้จะเป็นรายการพยากรณ์ แต่ทางองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกฯ ได้ย้ำเตือนให้ทุกประเทศทั่วโลกเตรียมพร้อมรับมือกับความร้อน ความแห้งแล้ง หรือปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นในบางส่วนของโลก เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของอากาศเกิดขึ้นในปัจจุบัน

จากเหตุการณ์คลื่นความร้อนที่ร้อนทำลายสถิติในหลายพื้นที่ของทวีปเอเชีย ภัยแล้งในพื้นที่ทวีปยุโรป ไฟป่าที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ไทย สเปน แต่ในขณะเดียวกันกลับมีฝนตกรุนแรงในประเทศรวันดา ทวีปแอฟริกา ที่ข้อมูลรายงานว่าคร่าชีวิตคนไปแล้ว 130 คน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปีนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า เอลนีโญที่จะมาถึงอาจรุนแรงผิดปกติกำลังจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้นี้ แต่ปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ทำให้ปรากฏการณ์เหล่านี้รุนแรงและคาดเดาได้ยากขึ้น

ด้วยวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกที่ผันผวนรวดเร็วแบบนี้ การมีคำเตือนให้หลายๆ ประเทศได้เตรียมรับมือ จึงถือว่าเป็นการเตรียมตัวที่ดี เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที


https://mgronline.com/science/detail/9660000042104



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:12

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger