SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม 2564 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5600)

สายน้ำ 10-07-2021 03:35

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม 2564
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มีร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ตะวันตก ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 12 ก.ค. 64


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 10 ? 11 ก.ค. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 ก.ค. 64 ร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ ในช่วงวันที่ 9 ? 12 ก.ค. 64 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 15 ก.ค. 64 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงประมาณ 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 10 - 11 ก.ค. 64 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันดามันและอ่าวไทยตอนบนระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 12 ก.ค. 64



https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

สายน้ำ 10-07-2021 03:37

ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์


เผยคนไทยและเพื่อนบ้านนับล้านเสี่ยงเจอน้ำทะเลท่วมเร็วกว่าที่คิด

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

หลายพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทยเผชิญกับความเสี่ยงจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยประชาชนนับล้านจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัย Deltares ของเนเธอร์แลนด์เผยผลการศึกษาการประเมินความสูงของภูมิประเทศโดยเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม LiDAR ซึ่งเป็นการวัดระยะจากระยะเวลาในการเดินทางของลำแสงเลเซอร์ในการเดินทางไปกลับระหว่างวัตถุเป้าหมายและเซ็นเซอร์ ซึ่งทำให้ได้ภาพถ่ายดาวเทียมที่มีความแม่นยำมากขึ้น

พบว่า ประเทศในแถบพื้นที่ราบลุ่มเสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และพื้นดินมีแนวโน้มที่จะจมเนื่องจากการทรุดตัว อาทิ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งหมายความว่าประชาชนจำนวนมากในประเทศเหล่านี้อาจต้องเผชิญภัยพิบัติที่รุนแรงมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ซึ่งมีแนวโน้มเลวร้ายลงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

อัลโยเชีย ฮูเยอร์ หนึ่งในผู้เขียนรายงานการวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications เผยว่า แบบจำลองระดับความสูงของพื้นดินที่ใช้เทคโนโลยีเรดาร์แบบเก่าไม่สามารถเจาะทะลุต้นไม้ได้อย่างเต็มที่ ทำให้ระดับความสูงของแผ่นดินที่ตรวจวัดได้สูงกว่าความเป็นจริงราว 1 เมตรหรือมากกว่านั้น นั่นหมายความว่าความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมที่คำนวณด้วยวิธีนี้ต่ำเกินไป

ด้วยเหตุนี้ พื้นดินในอินโดนีเซียที่มีระดับความสูงของแผ่นดินต่ำกว่า 2 เมตรจากการตรวจวัดด้วย LiDAR จึงมีมากกว่าที่ประเมินด้วยเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมจากเรดาร์กระสวยอวกาศ (SRTM) ถึง 14 เท่า ส่วนของไทยมีมากกว่าถึง 5 เท่า ฟิลิปปินส์มีมากกว่า 7 เท่า

อย่างไรก็ดี นักวิจัยชี้ว่าตัวเลขเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในระดับท้องถิ่น ซึ่งข้อมูลที่แม่นยำมากขึ้นจะช่วยให้ทางการวางแผนลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ทีมวิจัยประเมินว่า ขณะนี้ประชากร 157 ล้านคนในเขตร้อนของเอเชียอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความสูงต่ำกว่า 2 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นระดับที่มีการทำนายว่าจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด และตัวเลขนี้จะเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษข้างหน้านี้

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) คาดว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น 0.8 เมตรภายในปี 2100 และเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นทุกๆ 100 ปีอาจเกิดขึ้นทุกปีภายในสิ้นศตวรรษที่ 21 นี้

ภายใต้สมมติฐานว่าน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 1 เมตร ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2100 ชาวไทย 23 ล้านคน, ชาวเวียดนาม 38 ล้านคน และชาวอินโดนีเซีย 28 ล้านคนจะอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่น้ำจะท่วมชายฝั่งบ่อยขึ้น หรือเพิ่มขึ้นจากตัวเลขขณะนี้ถึง 21%

ผลกระทบอาจร้ายแรงในเมืองใหญ่ๆ ชุมชนชายฝั่ง และพื้นที่เกษตรกรรม โดยพื้นที่ขนาดใหญ่อาจไม่สามารถอาศัยอยู่ได้อีกหรือสูญเสียความอุดมสมบูรณ์

ขณะที่รายงานของ Greenpeace ซึ่งใช้ข้อมูลจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของ Climate Central เพื่อคำนวณความเสียหายทางเศรษฐกิจของ 7 เมืองใหญ่ที่สุดของเอเชียอันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นในปี 2030 ประเมินว่า อาจเกิดความเสียหาย (เฉพาะในชุมชนเมือง) ราว 724,000 ล้านเหรียญสหรัฐในกรุงเทพฯ จาการ์ตา มะนิลา ไทเป โซล โตเกียว และฮ่องกง

โดย 96% ของจีดีพีของกรุงเทพฯ และชาวกรุง 10 ล้านคนจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้


https://www.posttoday.com/world/657544


สายน้ำ 10-07-2021 03:39

ขอบคุณข่าวจาก บ้านเมือง


อุทยานเฮ! "แม่เพรียง" ขึ้นวางไข่รังแรกของปีบนเกาะทะลุ

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

วันที่ 9 ก.ค. นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (สบอ.3) สาขาเพชรบุรี ได้รับรายงานจาก นายภัทร อินทรไพโรจน์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม(เตรียมการ) ขณะร่วมกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม ลาดตระเวนและเฝ้าระวังการขึ้นวางไข่ของเต่าในพื้นที่เกาะทะลุ อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ อย่างต่อเนื่องกลางดึกที่ผ่านมา พบ "แม่เพรียง" เต่ากระหมายเลขไมโครชิพ 933076400505267 ขึ้นวางไข่บริเวณอ่าวเทียน เป็นรังที่ 1 ของปี 64 พิกัด 47 P 560322 E 1223940 N ซึ่งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) ตรวจดูเต่าเบื้องต้นไม่พบร่องรอยบาดแผลที่เกิดจากเครื่องมือการทำประมงแต่อย่างใด

สำหรับ "แม่เพรียง" เต่ากระอายุประมาณ 10 ปีขึ้น มีความยาวลำตัว 83 ซม.ความกว้างลำตัว 76 ซม.ขนาดรอยพาย 75 ซม.ขึ้นวางไข่ขนาดหลุมความกว้าง 26 เซนติเมตร ความลึก 49 เซนติเมตร มีจำนวนไข่ทั้งหมด 173 ฟอง นับเป็นรังที่ 13 ของเต่าที่วางไข่บนเกาะทะลุ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะทำการขุดหลุมรังไข่ ทำการย้ายไข่ไปไว้ในที่ซึ่งปลอดภัยจากสัตว์ที่จะเข้ามากินไข่เต่าและน้ำทะเลที่อาจท่วมถึงในช่วงเวลาน้ำทะเลขึ้นสูง

จากข้อมูลของมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม พบเต่ากระขึ้นวางไข่ในพื้นที่เกาะทะลุ ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติเมื่อปี พ.ศ.2552 จนถึงปัจจุบันพบไปแล้ว 9 แม่ (ทั้งหมด 9 แม่ เป็นแม่เต่าที่เกิดตามธรรมชาติ ไม่มีแม่เต่าที่มาจากแหล่งอนุบาลฯแต่อย่างใด ซึ่งเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวสยามได้เฝ้าระวังและเก็บข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับ "เต่ากระ" ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Eretmochelys imbricata (Linnaeus, 1766) เป็นสัตว์ทะเลหายาก สถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และจัดอยู่ใน Appendix 1 ของ


https://www.banmuang.co.th/news/region/241424



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 23:18

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger