SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม 2566 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=6214)

เด็กน้อย 03-03-2023 08:57

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม 2566
 
4 Attachment(s)
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลงเล็กน้อยกับมีลมแรง โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งและลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักที่เกิดขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เว้นแต่ภาคเหนือที่ยังมีแนวโน้มการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย
อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 2 ? 5 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 8 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 2 ? 5 มี.ค. 66 ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

เด็กน้อย 03-03-2023 09:08

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ

?เศรษฐกิจสีน้ำเงิน ?ระบบจัดการ นิเวศน์ทางทะเลคงอยู่คู่ความมั่งคั่ง

https://image.bangkokbiznews.com/upl...=style/LG-webp

?เศรษฐกิจสีน้ำเงิน? คือหนทางของความยั่งยืนทางทะเลเป็นรูปแบบสำคัญของการฟื้นฟู และดูแลธรรมชาติ และความหลากหลายในทางทะเล และเศรษฐกิจในอนาคต

ข้อมูลของธนาคารโลก ระบุว่า เศรษฐกิจสีน้ำเงิน คือ ?การใช้ทรัพยากรมหาสมุทรอย่างยั่งยืนเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และการมีงานทำในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาสุขภาพของระบบนิเวศน์ในมหาสมุทรด้วย?

ส่วนองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติเสริมว่า ?เศรษฐกิจสีน้ำเงินยังรวมถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่อาจไม่มีจำหน่าย เช่น การกักเก็บคาร์บอน การปกป้องชายฝั่ง คุณค่าทางวัฒนธรรม และความหลากหลายทางชีวภาพ?

?มหาสมุทร? มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และสามารถสร้าง โอกาสในการเติบโตของประเทศที่พัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนาซึ่งกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องร่วมกันเพื่อการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมหาสมุทรอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ได้พบว่ามีความท้าทายที่สำคัญของเศรษฐกิจสีน้ำเงินนั่น คือ การเข้าใจ และจัดการได้ดีขึ้น และยั่งยืนในระดับตั้งแต่การประมงอย่างยั่งยืนไปจนถึงสุขภาพของระบบนิเวศน์ไปจนถึงการป้องกันมลพิษ

สุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่าเศรษฐกิจทางทะเลจะสร้างมูลค่า 1.5 ล้านดอลลาร์ สร้างงาน 31 ล้านตำแหน่ง ในปี 2030 แต่การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากทะเลส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากนำแนวคิด ?เศรษฐกิจสีน้ำเงิน? มาใช้จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและทรัพยากรให้มีอย่างยั่งยืนด้วย

โดยองค์ประกอบของเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ได้แก่ ความยั่งยืน คือ การประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการดำเนินกิจกรรม การใช้ประโยชน์อย่างเป็นธรรม ต้องคำนึง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง

?ผลที่จะได้รับของไทย 1.สิ่งแวดล้อมของไทยจะดีขึ้น 2. ทำให้ผู้ประกอบการชุมชนที่อยู่รอบชายฝั่งมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรม ตั้งแต่การดำเนินการมาตั้งแต่ 6 ปี การฟื้นฟูธรรมชาติอย่างเห็นได้ไม่ชัดเจนแต่ก็ยังถือว่าระยะเวลาดำเนินการยังน้อยอยู่มาก?

??ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ระบุว่า กำลังขยายการจัดหาเงินทุนเพื่อมหาสมุทร และเศรษฐกิจสีน้ำเงินที่ยั่งยืน เพราะมหาสมุทรของโลกเผชิญกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากมลพิษ จากภาคเกษตรกรรม และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ไม่ยั่งยืนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน

https://image.bangkokbiznews.com/upl...Im8fGwFtK.webp

?ADB จึงจัดตั้งศูนย์กลางการเงิน Blue SEA (อาเซียน) เมื่อปี 2564 ศูนย์ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากอาเซียน และยังมี Catalytic Green Finance Facility (ACGF) ที่ตั้งขึ้นเมื่อ 2562 เพื่อส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างยั่งยืน?

การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นสิ่งจำเป็นที่ระดับนโยบายในทุกประเทศ และประชาชนในท้องถิ่นต้องเร่งดำเนินการแต่หากกิจกรรมดังกล่าวสร้างผลเสียต่อพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก อย่าง ?มหาสมุทร? การพัฒนานั้นอาจเป็นการเร่งตัวเองไปสู่หายนะ ?เศรษฐกิจสีน้ำเงิน? จึงเป็นเข็มทิศที่ดีที่จะไม่นำไปสู่ ?การพัฒนาที่หลงทาง?

เด็กน้อย 03-03-2023 09:12

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด

สดจากเยาวชน: ?ดุหยง? 2023 เจ้าถิ่นเกาะลิบง กับภารกิจฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล

https://www.khaosod.co.th/wpapp/uplo...%872023-01.jpg


3 มี.ค. 2566 - 09:00 น.

สดจากเยาวชน: ?ดุหยง? ? มีคำเปรียบเปรยว่า เกาะลิบง คือ เมืองหลวงของพะยูน ก็เพราะว่าเกาะลิบงเป็นแหล่งอาศัยของพะยูนมากที่สุดในประเทศไทย สำรวจพบมากกว่า 200 ตัว

คนเกาะลิบงผูกพันกับพะยูน ดูแลกันมานานหลายสิบปีแล้ว เด็กๆ และชาวบ้านที่เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เรียกพะยูนว่า ?ดุหยง?

พะยูนไม่ใช่ปลา ถึงแม้จะอยู่ในทะเลและว่ายน้ำคล้ายปลาก็ตาม เด็กๆ ชี้ให้ดูจมูกของพะยูนเมื่อพะยูนโผล่ขึ้นมาหายใจเหนือน้ำ มันว้าว! มาก ด.ช.ฮัสซิน สารสิทธิ์ ชั้นป.4 บอกว่า ?มันไม่ใช่ปลานะ มันเป็นดุหยง ถ้าปลาหายใจด้วยเหงือก แต่ดุหยงมันคล้ายๆ คน มันขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ ท่าว่ายน้ำไม่เหมือนปลา ดูที่ครีบหางมันจะโบกขึ้นลงคล้ายโลมา ถ้าเป็นปลาจะโบกซ้ายขวา?

https://www.khaosod.co.th/wpapp/uplo...%872023-09.jpg

ด.ช.ฮัสซิน สารสิทธิ์

เด็กๆ ช่างสังเกต มีประสบการณ์เกี่ยวกับพะยูนเยอะก็เพราะเกิดและเติบโตที่เกาะลิบง คุ้นเคยกับพะยูนเหมือนเพื่อน พะยูนอยู่แบบไหน อยู่อย่างไร นอนอย่างไร กินอะไร ที่ไหน รู้ไปหมด ?ดุหยงเป็นสัญลักษณ์ของเกาะลิบงนะครับ ใครมาเที่ยวเกาะลิบงต้องได้เห็นดุหยง? เด็กชายฮัสซินบอกอย่างภูมิใจ

คนเกาะลิบงหากินกับท้องทะเล ทั้งใกล้บ้านและไกลออกไป อาชีพและรายได้หลักมาจากการทำประมงพื้นบ้าน กุ้ง หอย ปู ปลา ล้วนอาศัยหญ้าทะเลเป็นที่ฟักตัวอ่อนและหลบภัย จนกว่าจะเติบโตออกสู่ทะเลใหญ่ หญ้าทะเลยังเป็นอาหารหลักของดุหยงหรือพะยูนด้วย

หญ้าทะเลสำคัญอย่างไร ถ้าถามเด็กๆ เกาะลิบง ทุกคนตอบได้หมด ?หนึ่งเป็นอาหารของพะยูน สองเป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำทุกชนิด สามเป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำตอนยังเล็ก สี่เป็นแหล่งขยายพันธุ์สัตว์น้ำ? ความรู้ในห้องเรียนบวกประสบการณ์ตรงของลูกทะเลชั้นป.4 บอกอย่างนี้

https://www.khaosod.co.th/wpapp/uplo...%872023-08.jpg

ด.ช.ปิยวัฒน์ เสียมไหม

ในขณะที่คนเกาะลิบงประกอบอาชีพการท่องเที่ยวมากเป็นที่สองรองจากอาชีพประมง ท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ นักท่องเที่ยวประทับใจในบริการทริปดูพะยูน ท่องทะเล สัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่บนเกาะ

แต่วันนี้ความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆ สะสมมาทีละน้อย เริ่มส่งผลต่อวิถีการท่องเที่ยวแบบสัมผัสถึงชุมชนแล้ว จะหาหอยก็ไม่ได้ง่ายดายและมากมายเหมือนเก่า จะดูพะยูนก็พบน้อยลงกว่าเดิม เริ่มสัมผัสได้ด้วยตาว่าหญ้าทะเลหายไปไหน

ด.ช.ปิยวัฒน์ เสียมไหม น้องป๊อก บอกว่า ?ถ้าไม่มีหญ้าทะเล อย่าว่าแต่ดุหยงเลย ชาวบ้านก็เดือดร้อนเพราะเขาต้องหาปูหาปลา? เด็กชายชั้นป.4 กล่าว

https://www.khaosod.co.th/wpapp/uplo...%872023-07.jpg
พะยูนหรือดุหยง เจ้าถิ่นเกาะลิบง

ในวันที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับหญ้าทะเล แหล่งหญ้าทะเลที่เคยงอกงามกินอาณาบริเวณกว้างไกล ลดจำนวนลงไปมาก คงส่งผลกระทบต่อพะยูนที่เกาะลิบงไม่ช้าก็เร็ว ที่ไหนมีหญ้าทะเล มีอาหาร พะยูนจะไปอยู่ที่นั่น ในอนาคตเมืองหลวงของพะยูนอาจไม่ใช่ที่เกาะลิบงอีกต่อไป

จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกันอย่างไร คงต้องทบทวนผลกระทบจากการพัฒนาทั้งจากภายนอกและภายในชุมชน สำรวจและหาวิธีการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลให้กลับคืนมา เพราะแหล่งหญ้ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ทั้งพะยูน สัตว์น้ำ และชีวิตผู้คนบนเกาะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ไปเยี่ยมพะยูน 2023 เยี่ยมชาวบ้านและเกาะลิบงด้วยกันในทุ่งแสงตะวัน ตอน ดุหยง เสาร์นี้ 4 มีนาคม 2566 เช้าๆ เวลา 05.05 น. ที่ช่อง 3 กด 33 และทางเพจเฟซบุ๊กทุ่งแสงตะวัน ยูทูบอีกครั้งในเวลา 07.30 น. เอาใจช่วยพะยูนและหญ้าทะเลให้กลับมาสดชื่นมีชีวิตชีวาอีกครั้ง


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:30

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger