SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   ท่องเที่ยวทั่วแผ่นดิน (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=5)
-   -   ขอความรู้เรื่องเกลือสมุทรครับ (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=131)

nudie 16-06-2009 11:38

ขอความรู้เรื่องเกลือสมุทรครับ
 
อยากทราบข้อมูลเชิงวิชาการว่าเกลือสมุทรมีไอโอดีนต่ำจริงไหม แค่ไหนจึงจะพอ หากไม่พอต้องเติมเท่าไหร่ และเราจะหวังไอโอดีนจากเกลือสมุทรอย่างเดียวหรือ

ที่บ้านใช้เกลืออะไร ซื้อจากที่ใหน บรรจุเท่าไร ราคาเท่าไร ผลิตที่ไหนกับบ้างขอรับ

ขอบคุณคร้าบบบ:)

nudie 16-06-2009 12:03

ผมอยากหาวีธีช่วยให้ชาวนาเกลือสมุทร สามารถแข่งขันได้อย่างมีเกียรติ ไม่ต้องกัดก้อนเกลือกิน

ตลอดมาผมบริโภคเกลือที่อ้างว่ามาจากเมดิเตอเรเนียน เพราะคิดว่าสะอาดดี ถามว่าหากเกลือสมุทรของไทย ทำให้มั่นใจว่าสะอาด หน้าตาดี (หลงรูป ? คนหนอคน) จะช่วยให้ชาวนาเกลือขายได้ราคาที่เป็นธรรมมากขึ้น และมีความเป็นอยู่ดีขึ้นไหม

จะลองทำต้นแบบ และหากดี จะได้ชวนชาวนาเกลือมาร่วมกันทำ

nudie 17-06-2009 15:38

1 Attachment(s)
เกลือสมุทรรายย่อยที่มีไอโอดีนโดยธรรมชาติ ผลิตโดยแรงคนกับแรงลมและแสงแดดธรรมชาติ ไม่สามารถแข่งขันกับเกลือสินเธาว์ที่ต้องเติมไอโอดีนของนายทุนที่ทำเป็นอุตสาหกรรม แถมออกกฏหมายมาเอื้อประโยชน์นายทุน

ฟังแล้วคุ้นๆ เหมือนประมงพื้นบ้าน กับร้านโชห่วยไหมครับ เรือประมงขนาดใหญ่คราดหอยแต่ละที อย่าหวังว่าจะมีอะไรหลุดรอดไปได้ แล้วค่อยมาคัดทิ้ง :confused:

chickykai 17-06-2009 17:23

ไม่ทราบจริงๆค่ะ แต่หาข้อมูลมาได้เท่านี้ ถ้ามีอะไรเพิ่มจะมาแปะให้ค่ะ

ไอโอดีน
ไอโอดีน เป็นธาตุในหมู่ 7 ของตารางธาตุ มีน้ำหนักอะตอม 126.9 มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติ พบใน หิน ดิน น้ำ น้ำทะเล อากาศ และสิ่งมีชีวิต มีปริมาณมากน้อยที่แตกต่างกัน อาหารทะเลจะมีไอโอดีนสูงกว่าแหล่งอื่น ในธรรมชาติ มักพบในรูปเกลือ ไอโอเดต ( KIO3 ) และในรูปไอโอไดด์ หรือเป็นสารประกอบอินทรีย์ ในสิ่งมีชีวิต เช่น ในเลือด เนื้อเยื่อ น้ำนม เหงื่อ และปัสสาวะ

ไอโอดีนถูกนำมาใช้ครั้งแรกในการฆ่าเชื้อโรคในรูปของทิงเจอร์ ( Tincture of iodine ) ร่างกายของคนเราใช้ไอโอดีนในรูป ไอโอไดด์ เพื่อสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ โดยไอโอไดด์ถูกออกซิไดซ์แล้วสร้างพันธะกับไทโรโกลบูลิน (Thyroglobulin ) ได้ไทโรซิน (Thyrosine ,T3 ) และไทรอกซิน ( Thyroxine ,T4) ดังรูป

ไทรอยด์ฮอร์โมน เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะไปช่วยควบคุมการเผาผลาญสารอาหารเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทอัตโนมัติ
ถ้าขาดสารไอโอดีน จะทำให้หญิงมีครรภ์แท้งบุตร เด็กคลอดออกมาไม่สมประกอบ พัฒนาการช้า ปัญญาอ่อน ระบบประสาทไม่ดี ทำให้เป็นง่อย หูหนวกเป็นใบ้ แคระแกร็น ในผู้ใหญ่ถ้าขาดไอโอดีน เป็นเวลานานจะเป็นโรคเอ๋อ และคอหอยพอก ( Goiter ; hypothyroidism )
ถ้ารับประทานเกินประมาณวันละ 2,000 ส่วนในล้านส่วนเป็นเวลานาน ทำให้เกิดโรคคอหอยพอกเป็นพิษ( Hyperthyroidism ; Grave' s disease ) มีอาการเหนื่อยง่าย ผอมผิดปกติ บริโภคโดยตรงในครั้งเดียวประมาณ 2 กรัม ทำให้ปวดท้อง คลื่นเหียน อาเจียน ท้องร่วง เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ปอดอักเสบ ไตวาย หมดสติ และตาย ไอที่ความเข้มข้นเกิน 0.1 ส่วนในล้านส่วน เมื่อสัมผัสเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการระคายเคืองตาและระบบหายใจ ( อุดมเกียรติ , วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์:2539 )
WHO / ICCIDD / UNICEF ( 1993 ) แนะนำปริมาณไอโอดีนที่ร่างกายควรได้รับคือ 150 ไมโครกรัม /คน / วัน ในหญิงมีครรภ์และให้นมบุตร ควรได้รับเพิ่มอีกวันละ 25 และ 50 ไมโครกรัม ตามลำดับ ทารกอายุ 0-6 เดือนควรได้รับ 40 ไมโครกรัม / วัน ( องค์การอนามัยโลก )
ประเทศไทยพบปัญหาประชากรเป็นโรคขาดสารไอโอดีนมาก ( Iodine deficiency disorders, IDD ) แถบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และที่ห่างไกลทะเล ปัจจุบัน มีการส่งเสริมให้บริโภคสาหร่ายทะเล คุกกี้ ขนมอบกรอบ ผสมสาหร่ายทะเลผมนาง มีการเสริมโพแทสเซียมไอโอไดด์ ( KI ) และโพแทสเซียมไอโอเดต ( KIO3 ) ในอาหาร น้ำ เครื่องดื่ม และ เกลือบริโภค เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาโรคขาดสารไอโอดีน

กระทรวงสาธารณสุขมีประกาศกำหนดการใช้ไอโอดีนในอาหาร เช่น

ชนิดอาหาร ปริมาณไอโอดีน ประกาศกระทรวงฉบับที่
นมดัดแปลงสำหรับทารก, อาหารทารก ไม่น้อยกว่า 5 ไมโครกรัม / 100 กิโลแคลอรี ฉบับที่ 85 , 86 ( พ.ศ. 2528 )
อาหารเสริมสำหรับเด็ก ไม่น้อยกว่า 5 และไม่เกิน 20 ไมโครกรัม / 100 กิโลแคลอรี ฉบับที่ 87 ( พ.ศ. 2528 )
อาหารสำหรับผู้ที่ต้องควบคุมน้ำหนัก ไม่น้อยกว่า 15 ไมโครกรัม / 100 กิโลแคลอรี ฉบับที่ 121 ( พ.ศ. 2532 )
เกลือบริโภค ไม่น้อยกว่า 30 ไมโครกรัม / กิโลกรัม ฉบับที่ 153 ( พ.ศ. 2537 )


การเสริมไอโอดีนลงในเกลือ
เพื่อแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีน โดยทั่วไป ใช้โพแตสเซี่ยมไอโดด์ (KI) หรือ โซเดียมไอโอไดด์ (NaI) หรือโพแตสเซียมไอโอเดต (KIO2 ) เติมลงในเกลือบริโภค เนื่องจากเกลือบริโภคมีราคาถูก มีการใช้ในทุกครัวเรือน โดยประมาณการว่าคนทั่วไปจะบริโภคเกลือ วันละ 5-10 กรัม การเติมไอโอดีนลงในเกลือใช้เทคนิคไม่ยุ่งยาก ประกอบกัน ความเค็มของเกลือ จะทำให้ผู้บริโภคไม่เสี่ยงต่อการได้รับไอโอดีนมากเกินไป โดยธรรมชาติเกลือสมุทร มีไอโอดีนอยู่แล้ว แต่มีในปริมาณต่ำ (น้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ซึ่งไม่พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย
การผลิตเกลือเสริมไอโอดีน ทำได้หลายวิธี ได้แก่
Dry mixing เป็นการพ่น KIO3 ลงในเกลือผ่านระบบสายพาน พ่นลงในเกลือเหมาะกับการผสมเกลือป่น
Drip feed addition ใช้กับเกลือเม็ด โดยละลาย KI หรือ KIO3 และหยดในอัตราสม่ำเสมอลงสู่สายพานลำเลียงเกลือตลอดเวลา โดยคำนวณให้มี Iodine ในปริมาณไม่ต่ำกว่า 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
Spray mixing เป็นการพ่นสารละลาย KIO3 เป็นวิธีการพ่นสารละลายไอโอดีน ภายใต้ความดันที่สม่ำเสมอลงบนเกลือที่ไหลมาตามสายพาน
Submersion process เป็นวิธีการที่เสริมสารละลายไอโอดีนลงในขบวนการผลิตเกลือเป็นสารละลาย และปล่อยให้เกลือตกผลึก วิธีนี้ใช้เวลานาน แต่เกลือที่ได้มีไอโอดีนสม่ำเสมอ
Blender process เป็นวิธีการเสริมสารละลายไอโอดีน โดยการพ่นสารละลายไอโอดีนในเครื่องผสม เหมาะสำหรับผสมเกลือในขวด 0.5 - 3 ต้น/ช.ม.

ปริมาณไอโอดีนที่กำหนดให้มีในเกลือตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 153 (พ.ศ.2537) ต้องไม่น้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ที่มา http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/B...ITY/IODINE.HTM

โดยส่วนตัวแล้วพบว่าเกลือสมุทรที่ขายโดยชาวบ้านริมทาง(เวลาไปดอนหอยหลอด) จะมีปัญหาคือความบริสุทธิ์ของเกลือค่ะ เท่าที่เคยซื้อมามันจะมีเศษดินทรายปนอยู่บ้าง ซึ่งอาจจะเป็นประเด็นที่ทำให้คนไม่ค่อยซื้อเกลือชาวบ้านไปยริโภค

แต่ถ้าจำไม่ผิดจะมีชาวบ้านนาเกลือบางกลุ่มที่นำเกลือที่เค้าผลิตได้มาแปรรูปเป็นเกลือขัดผิดส่งสปา ซึ่งก็เป็นทางเลือกอีกแบบ คิดในแง่ที่ว่าเราไม่มีกำลังไปสู้กับอุตสาหกรรมเกลือบริโภคนะคะ ก็เลี่ยงมาตลาดที่ยังพอมีช่องว่างอยู่
:D

เบลูก้าน้อย 17-06-2009 17:25

^
^
เจ๊เกลือมาเอง:p:p:p

chickykai 17-06-2009 18:24

อ้างอิง:

ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ เบลูก้าน้อย (โพส 2161)
^
^
เจ๊เกลือมาเอง:p:p:p

อ้าว อ้าว เจ๊ เล่นกันเองซะแร้ววววว
ก็ช่วยๆกันไปค่า :cool:

nudie 18-06-2009 08:34

1 Attachment(s)
ขอบคุณคุณchickykaiที่กรุณาให้ข้อมูลครับ ที่จริงเป็นเกลือก็ดีนะครับ มีความหมายที่ดีหลายอย่างเช่น จงรักษาความดี ดุจเกลือรักษาความเค็ม :) หรือ ใกล้เกลือ กินด่าง

ไม่เห็นจะมีคำพูดว่า จงรักษาความดี เหมือนนักการเมืองรักษาจริยธรรม นอกเรื่องไปไกล

เรื่องเกลือ หากเราลองไตร่ตรองแบบกาลามสูตร ยังไม่เชื่อนักวิชาการ หรือลองไตร่ตรองคำพูดของ อ ล้อม เพ็งแก้ว บรรพบุรุษของคนไทยภาคกลาง ภาคใต้ใช้แต่เกลือสมุทร ไม่มีการเติมไอโอดีน แต่ก็ไม่เห็นมีใครที่ผมรู้จักเป็นโรคคอพอกเลย หรือเราได้ไอโอดีนจากปลาทู และอาหารทะเลอื่นๆ หรือเราอาจไม่ต้องการไอโอดีนมากขนาดนั้น เราจะเชื่อทุกอย่างที่เราได้ฟังมาหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ชาวนาเกลือกำลังแย่ เหมือนร้านโชห่วย และประมงพื้นบ้าน ขณะที่ประมงขนาดใหญ่ โมเดอร์นเทรด กำลังสูบทุกอย่างออกไปแบบเจ้ามือกินรวบ

ส่วนความสะอาดของเกลือ เป็นโอกาศดีที่เราจะสื่อสารให้ชาวนาเกลือเข้าใจความคาดหวังของผู้บริโภค และช่วยหาทางออกให้เขา เพื่อสักวัน เขาจะแข่งขันกับยักษ์ แบบ เดวิด กับ โกไลแอท:)

nudie 22-06-2009 05:44

Reduce Reuse Recycle

คำสามคำนี้คือ ลดการใช้ให้น้อยลง นำมาใช้ซ้ำและนำไปแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้อีก และเราเรียนคำสามคำนี้ จากต่างประเทศ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรโลก และลดโลกร้อน และเราก็ตื่นเต้นกัน มาก ทุกโรงเรียน ทุกหน่วยงานต่างกระตือรือล้นที่จะนำแนวคิดนี้มาใช้ มีการประชาสัมพันธ์จากภาครัฐให้ปิดไฟทั้งประเทศปีละครั้ง ห้างสรรพสินค้าชี้ชวนให้ใช้ถุงผ้า แต่การใช้ถุงพลาสติกก็ไม่ลดลง นำเยื่อกระดาษจากขยะกระดาษมาฟอกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ผ่านไปไม่นาน ฝรั่งเจ้าเดิมก็กลับมาบอกว่า เยื่อกระดาษที่นำกลับมาใช้ใหม่ก่อให้เกิดผลกระทบจากสารเคมีมากกว่า สิ้นเปลืองพลังงานมากกว่า การนำมา ใช้ใหม่ไม่ดีเสียแล้ว จนเราชักสับสนว่าอย่างใหนดีที่สุด เพราะลงท้าย ถุงพาสติกเท่าเดิม ถุงผ้าลงสีสีมากขึ้น ขยะก็ยังท่วมเมืองเช่นเดิม ใช้กระดาษมากขึ้น เกมส์คอมพิวเตอร์มากขึ้น ทิ้งถ่านไฟฉาย ทิ้งคอมพิวเตอร์ลงถังขยะ ปล่อยสารพิษ โลหะหนักลงดินมากขึ้น เพราะความคิดโตไม่ทันเทคโนโลยี

ลองมาดูภูมิปัญญาไทยในอดีตที่ไทยอยู่กับแม่น้ำมาหลายร้อยปี ใช้แรงคน ได้ออกกำลังกาย ไม่ต้องเสียเงินเข้าฟิตเนส ไม่ต้องพึ่งน้ำมัน ปลอดสารพิษ คือ Reduce Reuse ขนาดเรือก็พอเพียง ไม่ต้องใหญ่โตหรูหรา แบบรถยนต์ 8 สูบพ่นควันพิษ ทำร้ายโลก ใช้แล้วก็คอยบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี พร้อมจะนำมาใช้อีก คือ Repair เป็นวิถีชีวิตแบบพึ่งพา ตัวเองอย่างยั่งยืน ที่มีมานานแสนนาน
ในวันที่โลกเคราะห์ซ้ำกรรมซัดด้วยวิกฤตพลังงาน ซ้ำด้วยปัญหาโลกร้อน ต้องหันมาหาพลังงานทางเลือกเช่น แสงแดด พลังลม พลังน้ำ พลังคน อันเป็นพลังงานที่คนไทยใช้มานานแล้ว ลองหันไปดูนาเกลือสมุทรที่ทำงานร่วมกับพลังธรรมชาติโดยไม่ก่อให่เกิดมลพิษโดยไม่จำเป็น แต่ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนมากนัก อาจเป็นเพราะดูไม่ทันสมัยเหมือนแนวคิดจากต่างประเทศ หากเราลองหยุดคิดสักหน่อยก็จะได้แนวทางที่จะใช้ทรัพยากรโลกอย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น อย่างแน่นอน

zoopod 22-06-2009 06:40

พูดถึงเฉพาะแง่มาร์เ็ก็ตติ้งของเกลือบริโภคน่ะครับ
เรื่อง Nutrition fact ไอโอดีนมีเพียงพอหรือไม่นั่น ผมรู้ไม่จริงครับ ขอผ่าน แฮ่

จะว่าไปมันเป็นเรื่องของ image และ perception คือการรับรู้ของผู้บริโภคครับ
เหมือนที่ความเห็นบนๆบอกว่า พอพูดถึงเกลือทะเลจะนึกถึงเกลือถุงข้างทาง มีการปนเปื้อน ราคาถูก
พอพูดถึงเกลือไอโอดีน จะถึงถึงความสะอาด มีอนามัย
จะว่าหลงรูปอย่างที่คุณ Nudie พูด ก็คงไม่ผิดหรอกครับ เป็นธรรมดาของคน

การปรับ perception ถ้าไม่ทุ่มงบ PR เพื่อร่นระยะเวลา ก็ต้องใช้เวลาครับ
เกลือสมุทรเป็นสินค้าที่ราคามีความอ่อนไหวสูง และยังมีสินค้าอื่นทดแทนได้ อย่างเกลือสินเธาว์ เป็นต้น
ตลาดส่วนใหญ่จะใช้เกลือเพื่อการบริโภค นอกเหนือจากนี้ เช่น เกลือสปา มีมูลค่าตลาดเล็กมาก แทบจะเป็น นีซมาร์เ็ก็ตได้เลย

แนวทางการแก้ไขนี่ไม่ต้องนักการตลาดมืออาชีพหรอกครับ ถ้ารู้กลไกตลาดนิดหน่อย ใครก็แนะนำได้
ขยายตลาดใหม่ที่มีำความต้องการและกำลังซื้อ ส่งตลาดต่างประเทศสิ
ใ้ห้รัฐเข้ามาช่วยทำตลาดนอก ไม่ต้องมาพยุงราคารับซื้อภายในประเทศแบบที่ทำอยู่กับพืชผลอื่นๆ

แต่สิ่งที่ทำใ้ห้แนวทางการแก้ไขไม่สัมฤทธิ์ผล ก็เหมือนกับอีกหลายปัญหาในบ้านเรา
ไม่ว่าจะเรื่องเกลือ เรื่องโมเดิร์นเทรด เรื่องประมงผิดกฎหมาย และเรื่องอื่นๆอีกมากมาย คือ
การที่รัฐ ขาดความจริงจัง จริงใจและต่อเนื่องในการแก้ปัญหา

แต่เชื่อเถอะครับ กลไกตลาดจะปรับตัวได้เอง นับวัน นาเกลือจะยิ่งน้อยลง
เพราะเกษตรกรหันไปทำอย่างอื่น หรือไม่ก็ขายที่ขายทางไปเลย จนถึงจุดที่มีผู้ผลิตน้อยราย
วันนั้นเกษตรกรจะสามารถกำหนดราคาได้เองด้วยซ้ำครับ เพราะมีความต้องการมากกว่าผลผลิต


แต่กว่าจะถึงวันนั้น จะมีเกษตรกรที่สู้ฟันฝ่าไปไม่ถึง เลิกทำไปอีกกี่ร้อยกี่พันรายนี่สิ น่าคิด

ตุ๊กแกผา 22-06-2009 08:40

[QUOTE=nudie;2180]ที่จริงเป็นเกลือก็ดีนะครับ มีความหมายที่ดีหลายอย่างเช่น จงรักษาความดี ดุจเกลือรักษาความเค็ม หรือ ใกล้เกลือ กินด่าง

QUOTE]

ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีทั้งด้านดี และ ดีน้อย(หรือหลายคนอาจใช้คำว่า ไม่ดี) เกลือก็คงเหมือนกัน เราก็นึกถึงสุภาษิตนี้ "อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ" ไง

เกลือ ที่เรารู้จักกันเรียกว่า เกลือแกง เป็นโซเดียม (Sodium ---> Na)แต่ยังมีเกลืออีกกลุ่มหนึ่งที่หลายคนนึกว่า เค็มๆก็เรียกเกลือหมด คือเกลือโปตัสเซียม (Potassium ---> K) ซึ่งผลกับร่างกายต่างกัน ปัจจุบัน เริ่มมีการโฆษณาขายเกลือโปตัสเซียมมากขึ้น(แถมแพงอีกต่างหาก)

แต่ยังๆไงๆร่างกายเราก็ขาดเกลือไม่ได้ แต่มีเกินไปก็ไม่ดี ฉะนั้นพอดีๆน๊ะดีที่สุดแล้ว


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:39

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger