SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   รายงานผลการปฎิบัติงานโครงการต่าง ๆ (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=15)
-   -   รายงานผลการปฏบัติงานตามโครงการเก็บขยะ/ตัดอวน โลซิน พฤษภาคม 2560 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=4081)

สายชล 31-05-2017 13:42

รายงานผลการปฏบัติงานตามโครงการเก็บขยะ/ตัดอวน โลซิน พฤษภาคม 2560
 

.............รายงานผลการปฏบัติงานตามโครงการเก็บขยะ/ตัดอวน โลซิน พฤษภาคม 2560...............


http://i1198.photobucket.com/albums/...psdifaah8l.jpg

สายชล 31-05-2017 14:00


ในระหว่างวันที่ 18-22 พฤาภาคม 2560
...กลุ่มนักดำน้ำอาสาสมัครของ www.SaveOurSea.net จำนวน 27 คน ได้เดินทางไปร่วมปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการเก็บขยะตัดอวนที่ โลซิน ปะก่ารังเทียมที่นราธิวาส และกองหินใต้น้ำใกล้ๆเกาะเลาปี ปัตตานี

นับเป็นความโชคดีอย่างยิ่ง ที่ดินฟ้าอากาศเป็นใจ...นับตั้งแต่วันที่เราไปลงเรือที่ท่าเทียบเรือสงขลา จนถึงวันเดินทางออกไปทำงานและเดินทางกลับเข้าฝั่ง คลื่นลมไม่มี ท้องฟ้าแจ่มใสไร้ฝน และกระแสน้ำไม่แรงนัก

เรือวีนัส แล่นออกจากท่าเรือสงขลาราว 5 ทุ่ม ของคืนวันที่ 18 พฤษภาคม 2560 และ เมื่อเวลา 9:30 น. ของวันรุ่งขึ้น เราก็เห็นเสาไฟประภาคารบนกองหินหรือเกาะเล็กๆ ที่เรียกว่า "โลซิน" อยู่เบื้องหน้า



สายชล 31-05-2017 15:13


หลังการใช้เวลากว่าชั่วโมงในการประชุมวางแผนการที่ครอบคลุมทั้งเรืองการดำรงชีวิตบนเรือ และการดำน้ำทำงานให้ปลอดภัย และมีความสุขสนุกสนานได้เสร็จสิ้นลง พวกเราทั้ง 27 คน ที่ถูกแบ่งเป็น 6 กลุ่มดำน้ำ ก็พร้อมจะกระโดดลงน้ำทำงานที่โลซินกันอย่างกระตือรือร้น

เป้าหมายของพวกเราในการดำน้ำวันนี้ก็คือ การเก็บขยะ ตัดอวน แลตัดสายเบ็ด ที่เห็นทุ่นเบ็ดลอยอยู่รอบๆ กองหินประภาคารขึ้นมาบนเรือให้หมด

เมื่อกระโดดลงน้ำและก้มหน้าลงไป เราเห็นน้ำใสแจ๋ว มองเห็นได้ไกลกว่า 20 เมตร มีกระแสน้ำอ่อนๆ ไหลจากเหนือไปทางใต้ ก่อนอื่นใด เราดำน้ำนำพวงมะลิเล็กๆ ลงไปไหว้พี่ไมโล ที่เราเคารพรัก และเริ่มลงมือตัดสายเบ็ดที่ยาวเหยียด ทั้งที่ลอยอยู่กับทุ่นและที่พันติดอยู่กับปะก่ารังแข็งนานาชนิดทันที



สายชล 31-05-2017 15:21


ไดฟ์เดียวไม่เพียงพอกับการดำน้ำตัดสายเบ็ดที่ติดแน่นอยู่ตามแนวปะการัง

สายชล 31-05-2017 15:39


เมื่อไม่มีงานให้ทำ...เราดำน้ำสำรวจแนวปะการังรอบๆ กองหินประภาคารของโลซิน

สภาพโดยทั่วไปของแนวปะการัง ยังคงสวยงามและสมบูรณ์ดี



http://i1198.photobucket.com/albums/...psd0tzb142.jpg


http://i1198.photobucket.com/albums/...psj4egbqmt.jpg


http://i1198.photobucket.com/albums/...psb289uylf.jpg


http://i1198.photobucket.com/albums/...psdue7enyw.jpg


สายชล 31-05-2017 15:45


ปลากะมงตาโต หรือ สีขนผี (Jack or Bigeye trevally; Caranx sexfasciatus) ฝูงใหญ่ว่ายวนเวียนไปมา เตรียมตัวผสมพันธุ์กันในยามเย็น ที่สีตัวเริ่มเปลี่ยนสีสัน...

http://i1198.photobucket.com/albums/...pszshnchrn.jpg


http://i1198.photobucket.com/albums/...psecqn7lfb.jpg


แต่บางตัวอย่างมะงุ่มมะหงาหรา หาคู่ยังไม่เจอ


http://i1198.photobucket.com/albums/...psf2y5c8pv.jpg


http://i1198.photobucket.com/albums/...psurbdfo3q.jpg


สายชล 31-05-2017 16:00



ปลานกแก้วหัวโหนก (ฺBumphead parrotfish; Bolbometopon muricatum) ตัวโต ว่ายไปว่ายมา

http://i1198.photobucket.com/albums/...pspardb6f7.jpg


ปลาผีเสื้อจุดดำ (Oval-Spot Butterflyfish; Chaetodon speculum) ว่ายอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย

http://i1198.photobucket.com/albums/...psc6gpiv62.jpg


ลูกปลาสากและปลาข้างเหลือง หากินอยู่เป็นฝูง


http://i1198.photobucket.com/albums/...psyhqbdw0v.jpg


http://i1198.photobucket.com/albums/...psyw4gycoy.jpg





สายชล 31-05-2017 16:20



ใช่ว่าแนวปะการังที่โลซินกองใหญ่จะสวยงามสมบูรณ์ไปเสียทั้งหมด...ยังมีบางจุดเช่นทางด้านตะวันออก และด้านตะวันตกเฉียงใต้ ที่เคยถูกระเบิด และสมอเรือ ทำลายในปีที่ผ่านๆมานั้น ปะการังราบเรียบเป็นหน้ากอง และยังไม่มีท่าทีจะฟื้นตัว...



สายชล 31-05-2017 17:37


ที่น่าห่วงอีกอย่างหนึ่งก็คือ...ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ ความลึกราว 15 เมตร เริ่มมีสาหร่ายปกคลุมปะการังเขากวาง เป็นบริเวณกว้างราว 100 ตารางเมตร ปะการังบางส่วนเริ่มตาย และใกล้ตาย

ปะการังเห็ดหูหนู กระจายเป็นวงกว้าง...

http://i1198.photobucket.com/albums/...psnuabj3gi.jpg



สาหร่ายสีเขียวที่พบในแนวปะการังที่เกาะโลซินอีกชนิด คือ สาหร่าย Caulerpa sp. เป็นกลุ่มสาหร่ายเม็ดพริก กระจายอยู่ตามยอดหิน แต่ยังมีไม่มากนัก

http://i1198.photobucket.com/albums/...ps8v1hdgry.jpg



สายชล 31-05-2017 17:53

ด้านตะวันตกของประภาคาร ที่ความลึกเพียง 8 เมตรอยู่ซากปะภาคารเก่าตกลงมานอนกับพื้นหลายปีแล้ว จนปะการังดอกกะหล่ำขึ้นอยู่บนคานเหล็กหนาแน่นขึ้นมาก มีปลาหลายชนิดอาศัยหากินและหลบภัยอยู่ในบริเวณปะการังเทียมนี้...



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 16:15

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger