SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=6241)

สายน้ำ 10-04-2023 02:17

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ และภาคกลาง ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มมีกำลังอ่อนลง ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย

ส่วนลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันปานกลางถึงมากเนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ส่วนภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออกและภาคใต้ยังคงมีการสะสมน้อย เนื่องจากการระบายอากาศในบริเวณดังกล่าวยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 10 - 13 เม.ย. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 14 ? 15 เม.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย



https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

สายน้ำ 10-04-2023 02:57

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


เมื่อมหาสมุทรอุ่น สัตว์ใกล้จะสูญพันธุ์มากขึ้น

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

คลื่นความร้อนในทะเลได้นำไปสู่การลดลงของประชากรในแนวปะการังน้ำตื้นของออสเตรเลียอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับแนวปะการังเขตอบอุ่น

ข้อมูลจาก World economic forum ชี้ว่าการวิจัยใหม่ชี้ให้เห็นในการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลการสำรวจแนวปะการังอย่างครอบคลุมเพื่อประเมินแนวโน้มประชากรของสัตว์ในแนวปะการังน้ำตื้น 1,057 ชนิด รวมทั้งปลา ปะการัง สาหร่ายทะเล และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง พบว่าประชากร 57% ของสปีชีส์เหล่านี้ลดลงระหว่างปี 2551-2564 นอกจากนี้ 28% ของสปีชีส์ที่สำรวจเหล่านี้มีจำนวนลดลงมากกว่า 30% ซึ่งจะถือว่าพวกมันอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์หากประเมินตามเกณฑ์บัญชีแดงของ IUCN ตัวอย่างเช่น การศึกษาพบว่ามังกรทะเลวัชพืช (Phyllopteryx taeniolatus) ซึ่งเป็นปลาเฉพาะถิ่นทางตอนใต้ของออสเตรเลีย ลดลง 59% จากปี 2554 ถึง 2564

จากการศึกษา การลดลงเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออุณหภูมิของน้ำเพิ่มขึ้นมากกว่าประมาณ 0.5? เซลเซียส เหนือระดับในปี 2008 ในทางกลับกัน ภาวะโลกร้อนที่ไม่เกิน 0.5?C ทำให้สัตว์บางชนิดเพิ่มจำนวนขึ้น

อแมนด้า เบทส์ ผู้เขียนร่วมการศึกษาและนักนิเวศวิทยาทางทะเลแห่งมหาวิทยาลัยวิกตอเรียกล่าวว่า "ในบทความนี้ ตรวจพบขีดจำกัด 0.5 องศา ซึ่งเราเห็นการเปลี่ยนแปลงของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญ" ?ฉันวิเคราะห์ชุดข้อมูลบางส่วนจากแทสเมเนีย และฉันรู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสถานที่เหล่านั้น แต่ฉันคิดว่าสิ่งพิเศษเกี่ยวกับการวิเคราะห์นี้คือช่วยให้เราสามารถทดสอบการเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์ทั่วทั้งออสเตรเลีย รวมถึงแทสเมเนีย นั่นทำให้เราสามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการไล่ระดับอุณหภูมิขนาดใหญ่ในออสเตรเลียได้?

การศึกษานี้ใช้ข้อมูลหลายทศวรรษที่รวบรวมในสถานที่หลายพันแห่งทั่วออสเตรเลียโดยวิทยาศาสตร์พลเมืองและโปรแกรมติดตามแนวปะการัง ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์บันทึกการลดลงของชนิดพันธุ์ทั่วออสเตรเลีย การเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เด่นชัดที่สุดเกิดขึ้นในแนวปะการังเขตอบอุ่นทางตอนใต้ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ได้รับความสนใจในการอนุรักษ์น้อยกว่าระบบนิเวศแนวปะการังเขตร้อนที่รู้จักกันดีของแนวปะการัง Great Barrier Reef

เกรแฮม เอ็ดการ์ ผู้เขียนนำและนักนิเวศวิทยาทางทะเลแห่งมหาวิทยาลัยแทสเมเนียกล่าวว่า "สำหรับสัตว์หลายชนิด มีการลดลงค่อนข้างรุนแรง และส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ของออสเตรเลียในเขตอบอุ่น แทนที่จะเป็นเขตร้อน" ?เมื่อมองย้อนกลับไป นั่นไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเมื่อพิจารณาว่าอุณหภูมิของน้ำ

เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1 องศาครึ่งเป็น 1.5? องศา นับตั้งแต่ทศวรรษ 1940 ทั่วภูมิภาคนี้ ดังนั้นทั่วโลกจึงเป็นจุดร้อนสำหรับภาวะโลกร้อน?

แนวปะการังเขตอบอุ่นอาจอยู่ใน "อันตรายต่อการสูญพันธุ์มากกว่าพันธุ์ไม้ในเขตร้อน" เนื่องจากพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นหลายชนิดมีความไวต่อภาวะโลกร้อน และเนื่องจากมีแหล่งอาศัยเพียงเล็กน้อยให้พวกมันถอยหนีเมื่อน้ำอุ่น "โดยพื้นฐานแล้วพวกมันจะถูกผลักไปที่ขอบหน้าผาโดยมีมหาสมุทรทางตอนใต้ [เป็นปราการ] และไม่มีที่ให้ล่าถอยลงไปทางใต้อีกต่อไปเมื่อสภาพอากาศอบอุ่น" "โดยรวมแล้ว จำนวนประชากรของสายพันธุ์เหล่านี้กำลังลดลงอย่างรวดเร็ว"

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้แนวปะการังเขตอบอุ่นมีความเสี่ยงเป็นพิเศษเนื่องจากพวกมันมีถิ่นที่อยู่สูง กล่าวอีกนัยหนึ่ง สายพันธุ์เหล่านี้จะดิ้นรนเพื่ออาศัยอยู่ในส่วนอื่น ๆ ของมหาสมุทร นักวิจัยพบว่า 70% เป็นสัตว์เฉพาะถิ่น

อย่างเช่น 14 สายพันธุ์ในตระกูล Handfish ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่ "เดิน" ข้ามพื้นทะเลด้วยครีบของมัน - ถูกจำกัดให้อยู่ในพื้นที่รอบๆ แทสเมเนีย หลาย?ตัว?กำลัง?ใกล้?จะ?สูญ?พันธุ์. ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามีปลาแฮนด์ฟิช (Thymichthys politus) ที่ใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤตประมาณ 100 ตัว และปลาแฮนด์ฟิชลายจุด (Brachionichthys hirsutus) ประมาณ 5,000 ตัว อีกสปีชีส์หนึ่งคือ Smooth Handfish (Sympterichthys unipennis) ถูกประกาศให้สูญพันธุ์ในปี 2020

"สิ่งเหล่านี้เป็นตัวแทนของสายพันธุ์เขตอบอุ่นที่เย็นกว่าซึ่งถูกคุกคามอย่างมาก แต่โดยทั่วไปแล้วจะไม่อยู่ในสายตา" "และจริงๆ แล้ว สัตว์ในเขตหนาวทั้งหมด ทั้งในออสเตรเลียและทั่วโลก ต้องการความเอาใจใส่มากกว่าที่ผู้คนจ่ายให้กับมันในทุกวันนี้"

การศึกษายังเน้นย้ำถึงการลดลงอย่างมากของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอไคโนเดิร์ม เช่น ดาวทะเลและเม่นทะเล ในเขตอบอุ่นและเย็น ตัวอย่างเช่น เอคโนเดิร์มในอุณหภูมิเย็นลดลง 20% ในช่วงที่ทำการศึกษา และเอไคโนเดิร์มในอุณหภูมิอบอุ่นลดลง 40% "ขนาดของการลดลงของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง"

"ใช่ มันสูง" "และเมื่อมองไปรอบๆ อย่างกว้างๆ ก็เห็นการลดลงของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในที่อื่นๆ ด้วย ดังนั้นฉันคิดว่าเราพลาดไป" การบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมีผลกระทบเชิงบวกมากที่สุดต่อสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังน้ำตื้นของออสเตรเลีย แต่พวกเขายังกล่าวด้วยว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขยายความพยายามในการอนุรักษ์ในท้องถิ่นเพื่อช่วยให้แนวปะการังเขตอบอุ่นและระบบนิเวศอื่น ๆ มีความยืดหยุ่นมากขึ้นต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1062058


สายน้ำ 10-04-2023 03:00

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


5 เดือน "เกาะพีพี" รายได้พุ่ง 30% ใช้อีทิกเก็ตเก็บเงินทะลุ 130 ล้าน

กรมอุทยานฯ ดันใช้ระบบอีทิกเก็ตจัดเก็บรายได้ พบอุทยานฯ หมู่เกาะพีพี ยอดซื้อตั๋วอีทิกเก็ตเพิ่ม 30% นักท่องเที่ยว 4,000 คนต่อวัน จัดเก็บรายได้วันละ 1 ล้านบาท นำส่งรายได้แล้ว 137 ล้านบาท ผู้ประกอบการเรียกร้องเร่งแก้ไขปัญหาการขอคืนเงิน กรอกข้อมูลที่มากเกิน

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

วันนี้ (9 เม.ย.2566) นางรักชนก แพน้อย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ กล่าวว่า สถิตินักท่องเที่ยวในช่วงเดือนเม.ย.ปีนี้ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2565 พบมีรายได้เพิ่มกว่า 2-3 เท่า ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวยุโรป และรัสเซีย ขณะที่ในช่วงวันหยุดสัดส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยจะเพิ่มมากขึ้น

โดยคาดว่าช่วงสงกรานต์ จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะวันที่ 14 เม.ย.นี้ จึงเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่ในการดูแลแล้ว

"การขายตั๋วผ่านระบบอีทิกเก็ตเพิ่มขึ้น จากเดิมอยู่ที่ 4% เพิ่มเป็น 20-30 % เฉลี่ยรายได้วันละ 1 ล้านบาท และภาพรวมตั้งแต่วันที่ 1 ค.ค.65-ปัจจุบัน เก็บรายได้ส่งให้กรมอุทยานฯ แล้ว 137 ล้านบาท"

ทั้งนี้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาการซื้อตั๋วผ่านระบบอีทิกเก็ต กรณีที่นักท่องเที่ยวซื้อตั๋วมาแล้ว แต่เมื่อมาแสดงที่จุดตรวจไม่สามารถดูได้ เพราะมีปัญหาด้านสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น รวมถึงยังมีส่วนของการจัดเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษที่ระบบอีทิกเก็ต ยังไม่รองรับการเดินทางต่อไปยัง เกาะไผ่ และเกาะพีพีดอน ซึ่งยังต้องใช้ระบบการซื้อตั๋วแบบเดิมต่อไป

"กรณีที่ยังใช้ระบบการจำหน่ายตั๋วแบบเดิม จะแบ่งหน้าที่ในการจำหน่ายตั๋ว ตรวจสอบนับยอดตั๋ว ออกจากกันจากนั้นจะมาตรวจเช็กทุกวันเพื่อความถูกต้อง และป้องกันปัญหาการทุจริตด้วย"


ผู้ประกอบการชี้ปัญหาใช้ระบบอีทิกเก็ต

ขณะทึ่นายอานนท์ ปินไชย ผู้ประกอบการบริษัท เลิฟอันดามัน จำกัด กล่าวว่า จากการใช้ระบบอีทิกเก็ต พบว่ามีปัญหากรณีการขอคืนเงิน เมื่อลูกค้ายกเลิกการมาท่องเที่ยว ซึ่งการขอคืนเงินจะต้องรอการพิจารณาจากกรมอุทยานฯ ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างนาน ทางบริษัท จึงต้องจ่ายเงินในส่งนึ้คืนให้กับลูกค้าก่อน

"รวมถึงการแก้ไขรายชื่อหากต้องการแก้ไขจะต้องแก้ไขกรอกข้อมูลใหม่ทั้งหมด ซึ่งทำให้เสียเวลาในการซื้อตั๋ว"

ขณะที่ผู้ประกอบการเรือนำเที่ยวซีสตาร์ ระบุว่า การซื้อตั๋วผ่านระบบอีทิกเก็ตนั้นจะอาจติดขัดในกรณีที่ซื้อตั๋วระบบไอโอเอส รวมถึงมีข้อกังวลเรื่องข้อมูลส่วนตัวที่อาจจะกรอกมากเกินไปเช่นเลขพาสปอร์ต

ขณะที่ตัวแทนผู้ประกอบการเรือหางยาว ระบุว่า ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการเรือหางยาว จะให้บริการลูกค้าจะไม่ได้จองล่วงหน้า และมักจะมาติดต่อเพื่อใช้บริการทันที จึงทำให้มีปัญหาในการซื้อตั้วผ่านระบบพอสมควรโดยเฉพาะกรณีลูกชาวต่างชาติ


ตั้งเป้า 2 ปีใช้อีทิกเก็ตทุกแห่งแก้ทุจริต

นายอรรถพล เจริญชันษา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า หลังจากเดินหน้าการจัดเก็บรายได้ ผ่านระบบอีทิกเก็ตในพื้นที่แห่งชาตินำร่อง 6 แห่ง แม้ว่าอาจยังมีอัตราส่วนการใช้อีทิกเก็ตไม่มากนัก แต่จะพยายามให้เพิ่มให้มากขึ้น ตามสัญญาที่ให้ไว้กับ ป.ป.ช.ที่จะใช้ระบบอีทิกเก็ตให้ได้ 100 % ภายใน 2 ปี และปัญหาให้ที่พบหรือได้รับการแจ้งเข้ามาจะรับนำมาปรับปรุง ให้เกิดความโปร่งใส และเข้มงวด

สำหรับอุทยาแห่งชาติหาดนพรัตน์-หมู่เกาะพีพี หลังจากมีการปิดปรับปรุงให้ธรรมชาติฟื้นตัวเกือบ 2 ปี พบมีฉลามหูดำเข้ามาอาศัย บริเวณอ่าวมาหยาจำนวนมาก ประกอบกับหลังการฟื้นตัวของโควิด-19 ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวกลับมามากขึ้น

ทั้งนี้นายอรรถพล โพสต์คลิปผ่านเฟซบุ๊ก อรรถพล เจริญชันษา เป็นภาพของฉลามหูดำจำนวนมา แหวกว่ายหน้าอ่าวมาหยา โดยระบุว่า อ่าวมาหยาคือแหล่งคลอดและอนุบาลลูกฉลามครีบดำ และมีมาตรการห้ามนักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำเพื่อลดการรบกวนลูกฉลามหูดำ


https://www.thaipbs.or.th/news/content/326462



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:23

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger