SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5851)

สายน้ำ 25-02-2022 03:12

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณนอกชายฝั่งทางตะวันออกของรัฐปะหัง ประเทศมาเลเซีย มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่างในวันนี้ (25 ก.พ. 65) ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย และชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นกับมีลมแรง โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศเย็นในตอนเช้า


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 25 ? 26 ก.พ. 65 ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเกาะบอร์เนียว จะเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทย จะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น โดยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศเย็นในตอนเช้า

ส่วนในช่วงวันที่ 27 ก.พ. ? 2 มีนาคม 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 25 -26 ก.พ. 65 ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กในอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 28 ก.พ. 2565 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 27 ก.พ. ? 1 มีนาคม 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักถึงหนักมากและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565)" ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565

ในช่วงวันที่ 25-27 ก.พ. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณนอกชายฝั่งทางตะวันออกของรัฐปะหัง ประเทศมาเลเซีย มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยในวันนี้ (25 ก.พ 65) ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ดังนี้

- ฝนตกหนักหลายพื้นที่ บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง และภูเก็ต

- ฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย

คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร สำหรับทะเลอันดามันคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 25-26 ก.พ. 65



https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

สายน้ำ 25-02-2022 03:15

ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย


เร่งย้ายรังไข่เต่าหาดท้ายเหมือง หวั่นน้ำทะเลท่วมถึง

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

พังงา 24 ก.พ ? เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง จ. พังงาร่วมกันย้ายไข่เต่าทะเลจากรังที่แม่เต่าขึ้นวางไข่ ป้องกันน้ำทะเลท่วมถึงทำให้ไข่เต่าเสียหาย โดยยังไม่สามารถระบุชนิดของเต่าได้ในขณะนี้

นางสาวสุวรรณา สะอาด หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เปิดเผย?ว่า? ได้รับแจ้ง?นายธนากร นักรพ ชาวบ้านในตำบลท้ายเหมืองว่า พบร่องรอยการขึ้นมาวางไข่ของเต่าทะเลบริเวณชายหาดหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาท้ายเหมือง โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติ จึงได้นำเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบยังจุดที่ได้รับแจ้ง พบร่องรอยการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเลห่างจากป้อมยามของอุทยานฯ ไปทางทางทิศใต้ประมาณ 1 กม.

เจ้าหน้าที่วัดขนาดรอยของแม่เต่าที่พบได้แก่ ความกว้างจากพายซ้าย-ขวา 100 ซม. ความกว้างช่วงอก 30 ซม. คาดว่า เป็นเต่าเล็ก แต่ยังไม่สามารถระบุชนิดได้ จากนั้นได้ค้นหาจนพบไข่และพิจารณาแล้วพบว่า บริเวณหลุมไข่ที่แม่เต่าวางไว้มีโอกาสที่น้ำทะเลท่วมถึงและเสี่ยงจากภัยธรรมชาติอื่นๆ ที่จะทำให้ไข่เต่าเกิดความเสียหายได้ จึงย้ายไข่ทั้งหมดมาฟักบริเวณชายหาดหน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยวภายในคอกเดียวกันกับการฟักไข่ของเต่าทะเลรังที่ 1 และรังที่ 2 ที่ผ่านมา พบไข่ทั้งหมด 59 ฟอง ไข่ดี 56 ฟอง และไข่ลม 3 ฟอง จากนี้จะปล่อยให้ไข่เต่าได้ฟักตัวตามธรรมชาติจนกว่าจะฟักออกเป็นตัวซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการฟัก 55-60 วัน.


https://tna.mcot.net/environment-889885



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:21

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger