SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2563 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5151)

สายน้ำ 30-05-2020 03:04

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2563
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจจะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ โดยประชาชนในภาคเหนือควรระวังอันตรายจากลมกระโชกแรงไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 30 ? 31 พ.ค. ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย

ส่วนในช่วงวันที่ 1 ? 4 มิ.ย. 63 พ.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ประกอบกับร่องมรสุมจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 30 - 31 พ.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจจะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยได้



https://i1198.photobucket.com/albums...pseggovycj.jpg


https://i1198.photobucket.com/albums...psfdb1brhc.jpg


https://i1198.photobucket.com/albums...ps4a5chyiq.jpg


https://i1198.photobucket.com/albums...ps087hoyct.jpg

สายน้ำ 30-05-2020 03:46

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


นาทีชีวิต! เทศบาลราไวย์ ภูเก็ต ช่วยเต่าติดซากอวนบนหาดยะนุ้ย

https://i1198.photobucket.com/albums...psfnnexe5p.jpg

บทเรียนคนที่ทิ้งซากอวนลงทะเลแบบไร้จิตสำนึก ผู้ใหญ่บ้านพบเต่าติดซากอวน บริเวณหาดยะนุ้ย ภูเก็ต เทศบาลตำบลราไวย์และชาวบ้านช่วยเหลือเอาออกมาได้อย่างปลอดภัย ส่งต่อไปยังศูนย์สัตว์ทะเลหายากฯ ดูแลต่อแล้ว

เมื่อวันที่ 29 พ.ค. เฟซบุ๊ก "เทศบาลตำบลราไวย์" อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ได้เผยแพร่วีดีโอคลิปขณะช่วยชีวิตเต่าทะเล เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมา เทศบาลตำบลราไวย์ ได้รับแจ้งจากผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 พบเต่าติดซากอวน ซึ่งถูกทิ้งไว้บริเวณหาดยะนุ้ย ตำบลราไวย์ โดยชาวบ้านผู้พบเห็นไปเก็บขยะที่บริเวณชายหาด ทางเทศบาลตำบลราไวย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 และประชาชนในพื้นที่เข้าช่วยเหลือเต่า และประสานศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ให้รับเต่าไปดูแลต่อไป


https://mgronline.com/onlinesection/.../9630000056206


*********************************************************************************************************************************************************


ชาวสตูลผวา! สั่งห้ามเด็กๆ ลงเล่นน้ำ หลังมีเด็กชายถูกสัตว์น้ำปริศนากัดเป็นแผลเหวอะ

สตูล - ผวา! สัตว์น้ำปริศนากัดเท้าเด็กชายชาวสตูลเป็นแผลเหวอะ ต้องเย็บไม่น้อยกว่า 50 เข็ม เจ้าตัวบอกตัวสีเทา ท้องสีขาว มีครีบคล้าย "ฉลาม" เตือนสั่งห้ามเด็กๆ ลงเล่นน้ำในช่วงนี้

https://i1198.photobucket.com/albums...ps9daw5aoi.jpg

ภาพจากโซเชียลที่โพสต์โดย "Sarina Lw" ซึ่งได้เตือนภัยถึงชาวเจ๊ะบิลัง อ.เมืองสตูล ให้ระวังเวลาบุตรหลานลงเล่นน้ำในช่วงนี้อาจจะถูกฉลามกัดได้ หลังจากเด็กในหมู่บ้านถูกกัดจนเป็นแผลฉกรรจ์ ต้องส่งให้แพทย์เย็บไม่น้อยกว่า 50 เข็ม

โดย ด.ช.ฮาราฟัต ลิ่มอภิชาติสกุล อายุ 12 ปี กล่าวว่า ขณะลงเล่นน้ำกับเพื่อนในวัยเดียวกันอีก 2 คนอยู่นั้น และใกล้ถึงเวลาจะขึ้นฝั่ง โดยขณะนั้นนั่งห้อยขาแกว่งเล่นในน้ำไปมาอยู่ ตนได้เหลือบไปเห็นแมงกะพรุนลอยเข้ามาใกล้จึงรีบดึงขาซ้ายขึ้น โดยจังหวะที่ดึงขาซ้าย และฝ่าเท้าเกือบจะขึ้นพ้นเหนือน้ำมาแล้วนั้น ปลาฉลามขนาดรอบตัวกว้าง 8 นิ้ว ยาวประมาณ 15-16 นิ้ว ผิวสีดำเทา ท้องสีขาว ได้งับเข้าที่ฝ่าเท้าซ้ายอย่างจัง จังหวะนั้นจึงรีบสะบัดเท้าออกก่อนจะหลุดจากปากฉลามมาได้ ซึ่งเพื่อนอีกคนที่อยู่ใกล้ๆ ก็เห็น และยืนยันได้ว่าเป็นฉลามจริงๆ ที่กัดตน ก่อนจะช่วยกันหามตนขึ้นมาจากท่าน้ำเพื่อพาหาหมอ

ซึ่งขณะเล่าให้ประมงจังหวัดสตูล ที่เดินทางไปเยี่ยม และสอบถามอาการ น้องฮาราฟัตได้วาดรูปฉลาม เพื่อยืนยันด้วยว่าเป็นสัตว์ชนิดนี้จริงๆ และตนก็รู้จักฉลามเป็นอย่างดี เพราะเคยเห็นในโทรทัศน์

นางสูนิลา หลังจิ ชาวบ้านในพื้นที่หมู่ 2 ต.เจ๊ะบิลัง กล่าวว่า เมื่อวานวันเกิดเหตุ บุตรชายของตนก็อยู่ในเหตุการณ์ด้วย ซึ่งก็พูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นปลาที่กัดเพื่อนของเขาจริงๆ ซึ่งที่ผ่านมาตนก็ไม่เคยเห็น แต่ก่อนหน้านี้ประมาณ 2 วัน น้องของ ด.ช.ฮาราฟัต ก็ถูกสัตว์ในน้ำไม่รู้ชนิดใดกัดเป็นแผลด้วยเช่นกัน ซึ่งตอนนี้สั่งห้ามเด็กๆ เล่นน้ำในช่วงนี้เป็นอันขาด เพราะไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ใต้น้ำในหมู่บ้านริมฝั่ง

ด้าน นายโสภณ อ่อนคง ประมงจังหวัดสตูล ได้ลงไปดูในที่เกิดเหตุยังจุดที่เด็กๆ เล่นน้ำ พบว่าเป็นริมชายฝั่งหมู่บ้านติดในคลองเจ๊ะบิลัง จะมีเรือประมง และหมู่บ้านอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งได้เร่งประสานส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมกำชับช่วงนี้ให้เด็กๆ งดเล่นน้ำ และชาวประมงให้ระมัดระวังซึ่งอาจจะมีสัตว์น้ำที่เป็นอันตรายทำร้ายได้

ล่าสุด นายวิทยา ขุนสัน ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล จ.สตูล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ยืนยันหลังเห็นบาดแผลของ ด.ช.ฮาราฟัต ว่า เกิดจากลูกฉลามหัวบาตรหลังเรียบ ชอบมาหากินปากคลองแม่น้ำ กินปลา และปูทั่วไป และด้วยปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าน้ำขุ่น ประกอบกับการแกว่งเท้ากระเพื่อมคิดว่าเป็นเหยื่อ ทำให้กัดที่เท้าน้องได้ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ฉลามเข้ามาอาจเป็นเพราะทรัพยากรที่สมบูรณ์ และโควิด-19 ที่ทำให้เรือไม่ออกทำประมง จึงว่ายเข้ามาลึกถึงชายฝั่งหมู่บ้านชุมชนในคลองเพื่อหากิน


https://mgronline.com/south/detail/9630000056098

สายน้ำ 30-05-2020 03:51

ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก


โซเชียลวิจารณ์ ท่อบำบัดทะเลพัทยาปล่อยน้ำเน่าลงทะเล

โซเชียลวิจารณ์ ท่อบำบัดทะเลพัทยาปล่อยน้ำเน่าลงทะเล โดยคลิปดังกล่าวมีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม

https://i1198.photobucket.com/albums...psrqioucqe.jpg

เพจ we love pattaya โพสต์คลิปที่มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม เป็นคลิปขณะที่ท่อบำบัดน้ำเสีย พื้นที่เมืองพัทยา ปล่อยน้ำดำปี๋ลงสู่ทะเลจนน้ำทะเลถูกเจือปนไปด้วยสีดำ

สำหรับจุดดังกล่าวนี้ เป็นอาคารสูบน้ำที่หาดพัทยา ตั้งอยู่แถวๆ วอล์กกิ้งสตรีท เขตพัทยาใต้ แต่หลังจากที่มีการแชร์คลิปดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

ล่าสุดทางด้านของอาคารสูบน้ำได้เลิกปล่อยน้ำเสียไปแล้ว ซึ่งทางได้ผู้เกี่ยวข้องได้แจ้งเข้ามาว่าเมื่อช่วงวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนัก เกิดการระบายน้ำไม่ทัน จึงต้องทำการระบายน้ำลงสู่ทะเล ส่งผลให้น้ำที่อยู่ในท่อออกมาเป็นสีดำ


https://www.komchadluek.net/news/hot...B8%B5%E0%B9%89


สายน้ำ 30-05-2020 03:55

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


ฉลามบุก! ว่ายหากินใกล้ชายฝั่งสตูล เตือนระวังหลังกัดเด็กชายเย็บ50เข็ม

https://i1198.photobucket.com/albums...psuhao7zty.jpg

29 พฤษภาคม 2563 ภาพในโซเซียลโพสต์โดย "Sarina Lw" เตือนภัยชาวเจ๊ะบิลัง อ.เมือง จ.สตูล ให้ระวังบุตรหลานเล่นน้ำเค็มในช่วงนี้ อาจจะถูกฉลามกัดได้ หลังเด็กในหมู่บ้านถูกกัดจนเป็นแผลฉกรรจ์ส่งหมอเย็บไม่น้อยกว่า 50 เข็ม

โดยเด็กชายฮาราฟัต ลิ่มอภิชาติสกุล อายุ 12 ปี เล่าว่า ขณะเล่นน้ำกับเพื่อนวัยเดียวกันอีก 2 คน อยู่นั้นใกล้เวลาจะขึ้นฝั่ง โดยขณะนั้นนั่งห้อยขาแกว่งเล่นในน้ำไปมาอยู่นั้นตนเหลือบไปเห็นแมงกะพรุนลอยเข้ามาใกล้ตนจึงรีบดึงขาซ้ายขึ้น โดยจังหวะที่ดึงขาซ้าย โดยฝ่าเท้าเกือบจะขึ้นพ้นเหนือน้ำนั้น ปลาฉลาม ขนาดรอบตัวกว้าง 8 นิ้ว ยาวประมาณ 15 ถึง 16 นิ้ว ผิวสีดำเทา ท้องสีขาว มีคลีบงับเข้าที่ฝ่าเท้าซ้ายตนอย่างจัง จังหวะนั้นน้องฮาราฟัต รีบสะบัดเท้าออกก่อนจะหลุดจากปากฉลามมาได้ ซึ่งเพื่อนอีกหนึ่งคนที่อยู่ใกล้ๆก็เห็น และยืนยันได้ว่าเป็นฉลามจริง ๆ ที่กัดตนก่อนช่วยกันหาม ตนขึ้นจากท่าน้ำมาหาหมอ

โดยขณะเล่าให้ประมงจังหวัดสตูล ที่เดินทางไปเยี่ยมและสอบถามอาการน้องฮาราฟัต ได้วาดรูปฉลามเพื่อยืนยันด้วยว่า เป็นสัตว์ชนิดนี้จริงๆ และตนก็รู้จักฉลามเป็นอย่างดี เพราะเคยเห็นในโทรทัศน์

นางสูนิลา หลังจิ ชาวบ้านในพื้นที่ ม.2 ต.เจ๊ะบิลัง เล่าว่า เมื่อวานวันเกิดเหตุบุตรชายของตนก็อยู่ในเหตุการณ์ด้วย ซึ่งก็พูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นปลากัดเพื่อนของเขาจริงๆ ซึ่งที่ผ่านมาตนก็ไม่เคยเห็น แต่ก่อนหน้านี้ประมาณ 2 วัน น้องของเด็กชายฮาราฟัต ก็ถูกสัตว์ในน้ำไม่รู้ชนิดกัดเป็นแผลด้วยเช่นกัน ซึ่งตอนนี้สั่งห้ามเด็กๆเล่นน้ำในช่วงนี้เป็นอันขาด เพราะไม่รู่ว่ามีอะไรอยู่ใต้น้ำในหมู่บ้านริมฝั่ง

นายโสภณ อ่อนคง ประมงจังหวัดสตูล ได้ลงไปดูในที่เกิดเหตุจุดที่เด็กๆเล่นน้ำ พบว่าเป็นริมชายฝั่งหมู่บ้านติดในคลองเจ๊ะบิลัง จะมีเรือประมงและหมู่บ้านอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งได้เร่งประสานส่วนที่เกี่ยวข้องพร้อมกำชับให้ช่วงนี้งดเล่นน้ำของเด็กๆ และชาวประมงให้ระมัดระวังที่อาจจะมีสัตว์น้ำที่เป็นอันตรายทำร้ายได้

โดยล่าสุดทางด้านนายวิทยา ขุนสัน ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล จ.สตูล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ยืนยันหลังเห็นบาดแผลของเด็กชายฮาราฟัต ว่าเกิดจากลูกฉลามหัวบาตรหลังเลียบ ชอบมาหากินปากคลองแม่น้ำ กินปลาและปูทั่วไป และด้วยปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าน้ำขุ่น ประกอบกับน้ำแกว่งเท้ากระเพื่อมคิดว่าเป็นเหยื่อทำให้กัดที่เท้าน้องได้ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ฉลาดเข้ามาอาจเป็นเพราะทรัพยากรที่สมบูรณ์และเป็นช่วงโควิดด้วย ที่ทำให้เรือไม่ออกทำประมงจึงว่ายเข้ามาลึกถึงชายฝั่งหมู่บ้านชุมชนในคลองเพื่อหากิน


http://www.saveoursea.net/forums/new...uote=1&p=59849


สายน้ำ 30-05-2020 03:58

ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย


เชื่อฉลามกัดเด็กในคลองที่สตูล เป็นฉลามหัวบาตร

https://i1198.photobucket.com/albums...pshk013tmx.jpg

สตูล 29 พ.ค.- หลังเกิดเหตุการณ์ปลาฉลามกัดเท้าเด็กในคลองเจ๊ะบิลัง จ.สตูล จนเป็นแผลฉกรรจ์ขณะนั่งเรือแล้วห้อยขาลงไปในคลอง ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัยากรทางทะเลจังหวัดสตูล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่าอาจเป็นปลาฉลามหัวบาตรหลังเรียบ ที่เกิดอาการตกใจจากแรงกระเพื่อม ขณะเด็กแกว่งขาลงไปในน้ำ

นายโสภณ อ่อนคง ประมงจังหวัดสตูล พร้อมนายวิทยา ขุนสัน ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลจังหวัดสตูล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ลงไปดูที่เกิดเหตุคลองเจ๊ะบิลัง ใกล้กับท่าเรืออเนกประสงค์ หมู่ 2 ต.เจ๊ะบิลัง ย่านชุมชนที่มีบ้านชาวบ้านอยู่หนาแน่น และมีเรือประมงของชาวบ้านจอดเรียงราย โดยบริเวณดังกล่าวอยู่ห่างจากทะเลอันดามันเข้ามา 2 กิโลเมตร

จากนั้นไปเยี่ยมดูอาการ ด.ช.ฮารอฟัด ลิ่มอภิชาติสกุล อายุ 12 ปี ที่บ้านพักในหมู่ 2 ต.เจ๊ะบิลัง อ.เมืองสตูล พบว่าบริเวณฝ่าเท้าด้านซ้ายเป็นแผลฉกรรจ์รอบฝ่าเท้ายาว 15 เซนติเมตร แพทย์เย็บแผลและพันแผลเรียบร้อย

ด.ช.ฮารอฟัด เล่าว่า ขณะลงเล่นน้ำกับเพื่อนๆ เมื่อตอนเที่ยงวานนี้ นั่งบนเรือและห้อยขาลงไปในคลอง มีปลาฉลามยาวขนาด 1 เมตร ว่ายมากัดเท้าตนรู้สึกเจ็บปวดและมีเลือดไหล จากนั้นรถกู้ชีพนำตัวส่งโรงพยาบาลสตูล

ด้านนางนิภา ประชา แม่ ด.ช.ฮารอฟัด เล่าว่า ตอนที่ลูกชายขึ้นจากน้ำและนำส่งโรงพยาบาลสังเกตเห็นบาดแผลมีรอยลึกถึงกระดูก ก่อนหน้านี้น้องชายของ ด.ช.ฮารอฟัด ก็ถูกสัตว์น้ำกัดที่บริเวณขาเย็บไป 6 เข็ม ขณะลงไปเล่นน้ำที่บริเวณเดียวกัน

นายวิทยา ขุนสัน ผอ.ศูนย์อนุรักษ์ทรัยากรทางทะเลจ.สตูล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยว่า สัตว์น้ำที่กัด ด.ช.ฮารอฟัด น่าจะเป็นลูกปลาฉลามหัวบาตรหลังเรียบ ซึ่งออกไปหากินในช่วงบริเวณปากแม่น้ำ หรือเข้าไปในคลองกินสัตว์ทะเลทั่วไป ส่วนสาเหตุที่กัดเด็กน่าจะมาจากที่ปลาฉลามตกใจ และอาจมีปัจจัยหลายอย่าง พอ ด.ช.ฮารอฟัด แกว่งขา ฉลามเข้าใจว่าเป็นเหยื่อ แต่หากมองในแง่ดี การที่พบปลาฉลามทำให้มองว่าธรรมชาติเราสมบูรณ์ อีกทั้งสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวและทำให้ไม่มีการทำประมงผิดกฎหมายจับสัตว์น้ำในแหล่งหวงห้าม.


https://www.mcot.net/viewtna/5ed124d7e3f8e40af844a071


*********************************************************************************************************************************************************


มาเฟียเหิมหนัก สั่งไล่ชนเรือจับหอยแครง

สุราษฎร์ธานี 29 พ.ค.-เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษ "ฉลามขาว" เร่งเข้าช่วยเหลือกลุ่มเรือประมงพื้นบ้านที่หาหอยแครงบริเวณอ่าวบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานี หลังถูกกลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่สั่งลูกน้องมีอาวุธครบมือ ขับเรือไล่ชน

https://i1198.photobucket.com/albums...pswvhz5pow.jpg

ชุดปฏิบัติการพิเศษ "ฉลามขาว" กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน 30 นาย ลงเรือตรวจการณ์และเรือหางยาว เรือยางชุดเคลื่อนที่เร็วลุยทะเลอ่าวบ้านดอนอีกรอบบริเวณเขตพื้นที่ อ.พุนพิน หลังกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านร้องเรียนว่า ถูกกลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี สั่งลูกน้องมีอาวุธครบมือ ขับเรือไล่ชนเรือชาวบ้านที่กำลังหาลูกพันธุ์หอยแครง ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของตำบลลีเล็ด ทำให้เรือจมไป 1 ลำ ชาวบ้านหลบหนีกันจ้าละหวั่น จึงไม่มีใครกล้าที่เข้าไปหาหอยในบริเวณดังกล่าวอีก

เมื่อเจ้าหน้าที่ไปถึงพื้นที่ตำบลบางชนะอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีช่องรอยต่อกับตำบลลีเล็ดอำเภอพุนพิน พบเรือประมงพื้นบ้านกว่า 1,000 ลำ ชาวประมงนับหมื่นคน บางส่วนนั่งรอเจ้าหน้าที่ บางส่วนเก็บหาลูกพันธุ์หอยแครงในท้องทะเล

ขณะที่ นาวาเอกวศากร สุนทรนันท รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี สั่งการให้เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกชาวประมงพื้นบ้านเข้าไปเก็บหาลูกพันธุ์หอยแครง ทำให้กลุ่มชายฉกรรจ์กลุ่มหนึ่งลอยลำเรืออยู่ 6 ลำ เมื่อเห็นเจ้าหน้าที่ก็เร่งเครื่องเรือหลบหนีเข้าฝั่งอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านต่างดีใจคว้าอุปกรณ์กระโดดลงทะเลเก็บหาลูกพันธุ์หอยกันอย่างคึกคัก บางคนจับได้คนละ 5-10 กิโลกรัม นำกลับเข้าฝั่งไปขายให้พ่อค้ารับซื้อในกิโลกรัมละ 500 บาท โดยที่ชาวบ้านบอกว่ากลุ่มผู้มีอิทธิพลได้กดดันไม่ให้พ่อค้ารับซื้อลูกพันธุ์หอยแครงกลางทะเลเหมือนเช่นทุกวัน.


https://www.mcot.net/viewtna/5ed1389ee3f8e40aef4438d7


สายน้ำ 30-05-2020 04:09

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


#BetterNormal ร่วมสร้างอนาคตที่ปลอดมลพิษพลาสติกหลังจากวิกฤตโควิด-19 ดีขึ้น ..................... โดย พิชา รักรอด


เนื้อหาโดยสรุป

- ก่อนสถานการณ์ไวรัสโควิดระบาด ประเทศไทยตื่นตัวเรื่องปัญหาขยะพลาสติกอย่างมาก และกำลังขยายออกไปสู่ผู้คนในวงกว้าง หลังจากมี Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 ออกมา และมีแนวโน้มว่ากำลังมุ่งหน้าไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้นในอนาคต

- การที่ประชาชนต้องกักตัวในบ้าน/ที่พักของตน ส่งผลให้เกิดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งจำนวนมากขึ้น ยอดคำสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในแอปพลิเคชันหนึ่งในบางหมวดหมู่เพิ่มขึ้นถึง 12 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว ในเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งจะกลายเป็น ?วิกฤตแห่งความสะดวกสบาย? ดังนั้น รัฐบาลต้องทบทวน Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 ที่มุ่งไปสู่การลดปริมาณขยะพลาสติกใช้แล้วทิ้งให้เหลือศูนย์

- เราอาจต้องเริ่มตั้งคำถามกับพฤติกรรมการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งของเราในฐานะผู้บริโภคว่า เรากำลังตกหลุมพลางของความสะดวกสบายอย่างไร ความจำเป็นต้องใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งในช่วงวิกฤติโรคระบาดกลายเป็นพฤติกรรมใหม่ของเรา และเรายังคงเห็นดีเห็นงามกับการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งหรือไม่

- 'New Normal' นี้อาจก่อให้เกิดขยะพลาสติกใช้แล้วทิ้งในปริมาณมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม นี่คือพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งต้องการความตระหนักรู้และการควบคุมพฤติกรรมของเราเช่นเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ new normal ที่ว่านี้ทำลายโลกที่เราอาศัยอยู่ เราจะต้องตระหนักว่าสุขภาพของโลก = สุขภาพของเรา


การระบาดของไวรัสโควิดทำให้เกิด 'ความปกติใหม่ (new normal)' ในสังคมหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งของคนเมือง อันมีสาเหตุมาจากการต้องอาศัยอยู่เฉพาะในบ้านช่วงไวรัสกำลังแพร่ระบาดจึงต้องใช้บริการบริษัทจัดส่งอาหาร (Food delivery) จนปริมาณขยะพลาสติกพุ่งสูงขึ้นมาก การใช้บริการซื้ออาหารกลับบ้านเพราะไม่สามารถนั่งรับประทานอาหารที่ร้านได้ การซื้อสินค้าออนไลน์ที่ช่วยเพิ่มพูนขยะพลาสติกจากบริการส่งสินค้า นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้วัสดุเหลือใช้แล้วกลายเป็นขยะโดยสมบูรณ์ เพราะไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ คือ การไม่มีระบบแยกขยะที่มีประสิทธิภาพพอที่จะทำให้ผู้บริโภคซึ่งต้องอยู่บ้านมากขึ้น แยกขยะเศษอาหารออกจากขยะอื่น ๆ จนทำให้ขยะทั้งหมดปนรวมเป็นก้อนเดียวกัน เมื่อขยะอาหารถูกทิ้งปะปนกับขยะพลาสติกหรือขยะอื่นก็จะลดทอนความเป็นไปได้ในการรีไซเคิลลงอย่างมาก ทั้งหมดนี้ทำให้เราต้องตั้งคำถามกับ 'new normal' นี้ที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนของชีวิตและสุขภาพของเรา


มลพิษพลาสติกก่อนไวรัสโควิดระบาด

ก่อนสถานการณ์ไวรัสโควิดระบาด ประเทศไทยตื่นตัวเรื่องปัญหาขยะพลาสติกอย่างมาก หลังจากประเทศไทยติดอันดับ 6 ประเทศที่ทิ้งขยะลงสู่ทะเลมากที่สุด (ข้อมูลจากงานวิจัยของ JENNA R. JAMBECK ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยจอร์เจีย) เราเป็นประจักษ์พยานต่อการเสียชีวิตของสัตว์ทะเลและสัตว์บกขยะพลาสติกกันบ่อยครั้ง หลายองค์กรเริ่มออกมารณรงค์ลดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างจริงจัง เราได้เห็นการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ จากองค์กรเอกชน นักศึกษา หรือภาคประชาชนต่างช่วยกันมองหาและพัฒนาทางเลือกอื่นที่มีตามธรรมชาติ เช่น กล่องข้าวกาบหมาก ใบบัว/ใบตองห่ออาหาร แก้วไม้ไผ่ใส่เครื่องดื่ม เป็นต้น แม้ว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การลดใช้พลาสติกข้างต้นจะยังจำกัดเฉพาะกลุ่มเล็ก ๆ แต่ก็กำลังขยายออกไปสู่ผู้คนในวงกว้าง

https://i1198.photobucket.com/albums...ps7yfxiudq.jpg
นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาสาสมัครกรีนพีซร่วมกันเก็บขยะบริเวณอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ทางขึ้นดอยสุเทพ ถนนศรีวิชัย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และสำรวจแบรนด์จากขยะพลาสติกที่พบ ? Baramee Temboonkiat / Greenpeace


จนโลกได้รู้จักกับ COVID-19

ไวรัสโควิดระบาดเริ่มแพร่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น ที่จีน ในเดือนธันวาคม 2562 เชื้อไวรัสได้เริ่มแพร่ระบาดไปสู่ประเทศอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง จนในวันที่ 13 มกราคม ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 รายแรก หลังจากนั้น ภาครัฐเริ่มออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อจัดการและหยุดยั้งการแพร่ระบาด จนวันที่ 2 เมษายน มีการประกาศห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานทั่วราชอาณาจักร (เคอร์ฟิว) การประกาศปิดพื้นที่สาธารณะที่เป็นแหล่งรวมตัวของประชาชน หลายองค์กรออกมาตรการให้พนักงานทำงานที่บ้านมากขึ้น เป็นต้น รวมถึงการที่ร้านอาหาร/ร้านขายเครื่องดื่มบางแห่งงดรับภาชนะใช้ซ้ำ เนื่องจากกลัวการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส

การที่ประชาชนถูกขอความร่วมมือให้ต้องอาศัยอยู่เฉพาะในบ้าน/ที่พักของตนเองนั้น ส่งผลให้เกิดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งจำนวนมากขึ้น มีข้อมูลระบุว่า ขยะจากบริการส่งอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จาก 1,500 ตันต่อวันเป็น 6,300 ตันต่อวัน ยอดคำสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในแอปพลิเคชันหนึ่งในบางหมวดหมู่เพิ่มขึ้นถึง 12 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว ในสถานการณ์ปกติ ขยะที่นำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลมีเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น จากขยะทั้งหมดทั่วประเทศกว่าปีละ 2 ล้านตัน ดังนั้น เราจึงอาจต้องจินตนาการถึงมลพิษพลาสติกที่เกิดขึ้นตอนนี้และกำลังจะเกิดในอนาคต รวมถึงยุทธศาสตร์การจัดการขยะในบริบทใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่พฤติกรรมการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งจะกลายเป็น 'new normal'

https://i1198.photobucket.com/albums...ps2vt6evzp.jpg
ฝูงนกกระยางบินเหนือภูเขาขยะ บริเวณหลุมฝังกลบ เมืองดูมาเกเต ฟิลิปปินส์ มีพลาสติกเพียง 9% เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิลหลังจากการผลิตตั้งแต่ปีพ.ศ.2493 ส่วนพลาสติกที่เหลือจะไปจบลงที่หลุมฝังกลบเหมือนในภาพนี้


#BetterNormal โลกหลัง COVID-19 ที่เราอยากเห็น

เราอาจต้องเริ่มตั้งคำถามกับพฤติกรรมการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งของเราในฐานะผู้บริโภคว่า เรากำลังตกหลุมพลางของความสะดวกสบายอย่างไร ความจำเป็นต้องใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งในช่วงวิกฤติจะกลายเป็นพฤติกรรมใหม่ของเรา และเรายังคงเห็นดีเห็นงามกับการบริโภคพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างฟุ่มเฟือยหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสนี้จำเป็นต้องมีการตั้งคำถามอีกครั้งหลังจากโควิด-19 ผ่านพ้นไป เพราะการที่เราคุ้นชินกับพฤติกรรมการบริโภคแบบใหม่ หมายถึงว่า เรากำลังสร้างโลกที่เต็มไปด้วยขยะพลาสติกและผู้ที่ต้องเผชิญหน้ากับมลพิษพลาสติกก็หนีไม่พ้นตัวเราเอง สัตว์และธรรมชาติ และนั่นคงไม่ใช่ New Normal ในแบบที่เราต้องการ

ในฐานะพลเมือง เราต้องช่วยกันตั้งข้อคำถามถึง Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 กว่า มันเพียงพอหรือไม่ที่จะจัดการไม่ให้เกิดขยะพลาสติกจำนวนมากในระบบและจัดการกับขยะพลาสติกที่มีอยู่ โดยตั้งเป้าหมาย ขยะเหลือศูนย์(zero waste) ซึ่งเน้นการลดขยะให้มากที่สุดและใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อให้เหลือวัสดุเหลือใช้จากการบริโภคไปสู่หลุมฝังกลบน้อยที่สุด มาเป็นแนวคิดหลักในการสร้างแผนงานที่เป็นรูปธรรมและดำเนินการทันทีอย่างจริงจัง ภาครัฐจำเป็นต้องทบทวน ยกระดับและปรับเปลี่ยน roadmap ให้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการไม่สร้างขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการจัดการมลพิษพลาสติกที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง


(มีต่อ)

สายน้ำ 30-05-2020 04:10

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


#BetterNormal ร่วมสร้างอนาคตที่ปลอดมลพิษพลาสติกหลังจากวิกฤตโควิด-19 ดีขึ้น ......... ต่อ

https://i1198.photobucket.com/albums...psmjbtltr8.jpg
นำแก้วส่วนตัวไปซื้อเครื่องดื่มเรามั่นใจได้ว่าแก้วที่เราล้างเองปลอดภัยแน่นอน ? Siwen Liu / Greenpeace


สุขภาพสิ่งแวดล้อม = สุขภาพของเรา

หลายองค์กรเริ่มคาดการณ์ 'new normal' ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 จบลง ในมุมมองของ กรีนพีซ เรามีข้อเสนอที่ปฏิบัติได้จริงเพื่อร่วมกันสร้างอนาคตที่ปราศจากมลพิษพลาสติก ดังนี้

1. ประชาชนสั่งซื้ออาหารจากบริการจัดส่งอาหารมากขึ้น กรีนพีซเห็นว่า การสั่งซื้ออาหารออนไลน์มีการใช้ภาชนะใช้ซ้ำที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ตลอด ถ้าผู้บริโภคสั่งซื้อมากินที่บ้านก็ปฏิเสธรับอุปกรณ์กินอาหาร เช่น ช้อนส้อม หลอด ด้วย แอปพลิเคชันให้บริการต่าง ๆ สามารถเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้าด้วยบริการภาชนะใช้ซ้ำและเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าสามารถปฏิเสธพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ใช้ได้ผลจริงด้วย

2. ธุรกิจออนไลน์จะมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ แม้ว่าการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ของมนุษย์จะเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่เพราะเราคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เราก็จะรู้สึกว่าการใช้บริการต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์สะดวกสบายขึ้น สิ่งที่น่ากังวลคือ ขยะพลาสติกที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์สินค้าต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เราเสนอให้ร้านค้าเพิ่มช่องทางการจัดส่งสินค้าที่ลดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งให้มากที่สุดและนำวัสดุที่ยั่งยืนกว่ามาเป็นทางเลือกแทนการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้ง

3. ผู้คนหันมาใช้บริการธุรกิจขนาดเล็กในระดับภูมิภาคเพราะต้องการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นทิศทางที่ดีที่ธุรกิจขนาดเล็กจะมีโอกาสพัฒนาสินค้าและบริการของตนเองเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ทางหนึ่งคือช่วยลดมลพิษที่เกิดจากการขนส่ง ประชาชนได้บริโภคผักผลไม้ตามฤดูกาล เราอยากเห็นการซื้อขายภายในชุมชนหรือภูมิภาคที่ผู้ผลิตลดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งที่เกิดจากการขนส่งทางไกลและผู้ผลิตไม่มีการห่อหุ้มสินค้าหลายชั้นด้วยพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งเพื่อรักษาสภาพของสินค้า เพราะการซื้อขายกับผู้บริโภคอยู่ไม่ไกลกันมาก

4. การดูแลสุขภาพและความสะอาดเป็นเรื่องปกติในสังคม เรื่องสุขอนามัยจะเป็นสิ่งที่คนให้ความสำคัญมากขึ้น เราจะเห็นประชาชนพกแอลกอฮอล์ล้างมือจนเป็นสิ่งปกติ ซึ่งเราเองก็พอจะทราบกันดีว่า อุปกรณ์ทำความสะอาดมือย่อมมาพร้อมกับบรรจุภัณฑ์พลาสติก ดังนั้น เราจึงอยากเห็น ผู้บริโภคนำภาชนะใช้ซ้ำของตนเองไปเติมสินค้าในร้านค้าแบบเติมแทนการซื้อสินค้าชิ้นใหม่ หรือผู้ผลิตมีโครงการเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์เปล่าที่ลูกค้าใช้หมดแล้วของแบรนด์สินค้าตนเอง เพื่อนำไปสู่กระบวนการใช้ซ้ำ หรือแม้แต่การรีไซเคิลต่อไป

'New Normal' นี้อาจก่อให้เกิดขยะพลาสติกใช้แล้วทิ้งในปริมาณมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม นี่คือพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งต้องการความตระหนักรู้และการควบคุมพฤติกรรมของเราเช่นเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ new normal ที่ว่านี้ทำลายโลกที่เราอาศัยอยู่ เราจะต้องตระหนักว่าสุขภาพของโลก = สุขภาพของเรา และมลพิษต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับโลกแม้ดูเหมือนว่าจะห่างไกลตัวเราสักเพียงใด แต่อาจย้อนกลับมาสู่ตัวเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

New normal ไม่ควรเป็นไปเพื่อเพื่อตอบสนองความสะดวกสบายระยะสั้น เราต้องการ #BetterNormal อนาคตที่ปลอดมลพิษพลาสติก ผู้คนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และอยู่ร่วมอย่างกลมกลืนและสอดคล้องระบบนิเวศ

และพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งไม่ควรจะเป็น New Normal ของเราอีกต่อไป


https://www.greenpeace.org/thailand/...c-free-future/


สายน้ำ 30-05-2020 04:13

ขอบคุณข่าวจาก PPTV


นักสำรวจเผยภาพ "หมึกดัมโบ้" หมึกที่อาศัยอยู่ลึกที่สุดในโลก

ภาพหมึกที่อาศัยอยู่ลึกที่สุดในโลก ถูกถ่ายภาพโดยอุปกรณ์ของนักสำรวจที่ก้นมหาสมุทรอินเดีย

https://i1198.photobucket.com/albums...pswcrvxzrn.jpg

หมึกดังกล่าวถูกพบที่ระยะความลึก 7,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลในร่องลึกชวา (Java Trench) มหาสมุทรอินเดีย นักวิจัยที่รายงานการค้นพบในวารสาร Marine Biology กล่าวว่าหมึกดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ "หมึกดัมโบ้ (Dumbo Octopus)" ที่ได้ชื่อนี้ก็เพราะอวัยวะลักษณะเหมือนครีบหูอันโดดเด่นที่อยู่เหนือตาขึ้นไป ซึ่งทำให้พวกมันดูเหมือนตัวการ์ตูนชื่อดังของดิสนีย์ในปี 1940

นักวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังการระบุชนิดหมึกชนิดนี้คือ ดร.อลัน เจมีสัน (Alan Jamieson) จากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ เขาเป็นผู้บุกเบิกการสำรวจริ่งลึกในทะเลโดยใช้สิ่งที่เรียกว่า "แลนเดอร์ (Lander)" โดยหย่อนเครื่องมือดังกล่าวลงมาจากเรือ ให้มาตั้งอยู่ที่ก้นทะเล และบันทึกภาพสิ่งที่เกิดขึ้นใต้ทะเลในระดับความลึกที่มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถลงมาได้

อุปกรณ์ของเจมีสันสามารถบันทึกภาพหมึกดัมโบ้ได้ 2 ตัว ตัวหนึ่งมีขนาด 43 ซม. พบที่ระดับความลึก 5,760 เมตร และอีกตัวมีขนาด 35 ซม. พบที่ระดับความลึกถึง 6,957 เมตร

การพบเห็นหมึกดัมโบ้ที่ลึกที่สุดก่อนหน้านี้อยู่ที่ระดับความลึก 5,145 เมตร

ดร.เจมีสันกล่าวว่า "ความสำคัญของการสำรวจมหาสมุทรอินเดียคือตอนนี้เรารู้แล้วว่า หมึกเหล่านี้สามารถหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมได้อย่างน้อย 99% จากบริเวณก้นทะเลของทั้งโลก แต่สัตว์เหล่านั้นที่มีชีวิตในระดับความลึกขนาดนี้จะต้องมีการดัดแปลงพิเศษอย่างชัดเจน พวกมันจะต้องทำสิ่งที่ฉลาดภายในเซลล์ของพวกมัน เพราะถ้าคุณคิดว่าเซลล์เป็นเหมือนกับบอลลูน มันจะต้องยุบตัวแน่ภายใต้ความกดดันของทะเลลึก ดังนั้นมันจะต้องมีระบบชีวเคมีอัจฉริยะเพื่อให้แน่ใจว่ามันจะรักษาสภาพร่างกายของมันไว้ได้"


https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8...0%B8%99/126337



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:13

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger