SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   มารู้จัก เอลนีโญ/ลานีญา กัน (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=1118)

สายน้ำ 24-08-2010 06:24

มารู้จัก เอลนีโญ/ลานีญา กัน
 

มารู้จัก เอลนีโญ/ลานีญา กัน


เอลนีโญ (El Nino)

เป็นคำภาษาสเปน แปลว่า บุตรพระคริสต์ หรือพระเยซู เป็นชื่อของกระแสน้ำอุ่นที่ไหลเลียบชายฝั่งทะเลของประเทศเปรู ลงไปทางใต้ทุกๆ 2 3 ปี โดยเริ่มประมาณช่วงเทศกาลคริสต์มาส กระแสน้ำอุ่นนี้จะไหลเข้าแทนที่กระแสน้ำเย็นที่อยู่ตามชายฝั่งเปรูนานประมาณ 2 3 เดือน และบางครั้งอาจจะยาวนานข้ามปีถัดไป เป็นคาบเวลาที่ไม่แน่นอน และมีผลทางระบบนิเวศและห่วงลูกโซ่อาหาร ปริมาณปลาน้อย นกกินปลาขาดอาหาร ชาวประมงขาดรายได้ รวมทั้ง เกิดฝนตกและดินถล่มอย่างรุนแรง ในประเทศเปรูและเอกวาดอร์

เอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนของกระแสอากาศ และกระแสน้ำในมหาสมุทรทั้งบนผิวพื้นและใต้มหาสมุทร ปรากฏการณ์เอลนีโญมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า El Nino Southern Oscillation หรือเรียกอย่างสั้นๆ ว่า ENSO ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้


http://variety.teenee.com/science/img4/15728.jpg
ปรากฏการณ์เอลนีโญ


เมื่อเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง กระแสลมพื้นผิวเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียตอนเหนือไปทางตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ก่อให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้ ทำให้บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลา และนกทะเล ชาวประมงจึงขาดรายได้

ปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่ยังก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ การที่เกิดไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซีย ก็เป็นเพราะปรากฏการณ์เอลนีโญนั่นเอง


ลานีญา (La Nina)

แปลว่า บุตรธิดา เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเอลนีโญ คือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติ แต่ทว่ารุนแรงกว่า กล่าวคือ กระแสลมสินค้าตะวันออกมีกำลังแรง ทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ ลมสินค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก น้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันตก ก่อให้เกิดธาตุอาหาร ฝูงปลาชุกชุม ตามบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู

http://variety.teenee.com/science/img4/15731.jpg
ปรากฏการณ์ลานีญา


เราอาจกล่าวอย่างง่ายๆว่า

เอลนีโญทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทางกลับกันลานีญาทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งเอลนีโญและลานีญาเกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลก บริเวณเส้นศูนย์สูตร เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด



http://variety.teenee.com/science/img4/15734.jpg
ภาพถ่ายจากดาวเทียมโทเพกซ์/โพซิดอน (NASA)


ในภาพแสดงให้เห็นความต่างระดับของน้ำทะเลบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิก สีขาวแสดงระดับน้ำซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 14 เซนติเมตร สีม่วงหรือสีเข้มแสดงระดับน้ำซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ -18 เซนติเมตร ขณะเกิดลานีญา - เอลนีโญ




จาก ........ เว็บบอร์ดของ กรมอุตุนิยมวิทยา วันที่ 22 สิงหาคม 2553


สายน้ำ 02-04-2011 08:06


ลานีญา


ช่วงนี้ประเทศไทยต้องเผชิญกับฝนตกหนักและอากาศหนาวเย็นผิดธรรมชาติทั้งๆ ที่เป็นฤดูร้อน

นักวิชาการหลายฝ่ายจึงวิเคราะห์ว่าเกิดจากปรากฏการณ์ลานิญ่า ซึ่งทำให้สภาพอากาศของไทยแปรปรวนมาตั้งแต่เดือนก.ค. 2553 และจะสิ้นสุดลงในเดือนพ.ค. 2554

"ลานิญ่า" เป็นคำดั้งเดิมจากภาษาสเปน มีความหมายว่า "เด็กผู้หญิง" จัดเป็นปรากฏการณ์ตรงกันข้ามกับ"เอลนิโญ่" เกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตร เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก

เมื่อเกิดลานิญ่า อุณหภูมิบนผิวน้ำทะเลมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกจะต่ำลงอย่างผิดปกติราว 3-5 องศาเซลเซียล ทำให้ความดันฝั่งตะวันตกต่ำกว่าความดันฝั่งตะวันออก เกิดลมพายุพัดเสริมลมสินค้าทิศตะวันออกพัดพาน้ำและอากาศที่หนาวเย็นไปยังทิศตะวันตก

ด้วยระดับน้ำทะเลซีกตะวันตกที่เพิ่มสูงกว่าสภาวะปกติ ประกอบกับลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่หอบน้ำฝนพัดผ่านมา ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเผชิญกับฝนตกหนัก น้ำท่วมและหน้าดินพังทลายอยู่บ่อยครั้ง

แต่ข้อดีของลานิญ่า คือ น้ำเย็นใต้มหาสมุทรจะยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวน้ำ ทำให้เกิดธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ ฝูงปลาชุกชุม

ปรากฏการณ์ลานิญ่า เกิดขึ้นได้ทุก 2-3 ปี และปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9-12 เดือน แต่บางครั้งอาจปรากฏอยู่ได้นานถึง 2 ปี ซึ่งทำให้ประเทศ อินโดนีเซีย ออสเตรเลียตอนเหนือ ฟิลิปปินส์ อินเดียตอนเหนือ ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา และด้านตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากและมีน้ำท่วม

ขณะที่บริเวณตะวันออกของแอฟริกาและตอนใต้ของอเมริกาใต้มีฝนน้อยและเสี่ยงต่อการเกิดความแห้งแล้ง

กล่าวง่ายๆ เอลนิโญ่ ทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ขณะที่ ลานิญ่า ทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นปรากฏการณ์คู่ขนานที่ต้องเกิดสลับกันไปเพื่อปรับสมดุลของโลก

ผลกระทบต่อประเทศไทย จากข้อมูลปริมาณฝนและอุณหภูมิรายเดือนตั้งแต่ปี 2494-2543 ของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ลานิญ่า ทำให้ปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนเป็นระยะที่ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนที่สุด และทำให้อุณหภูมิต่ำกว่าปกติทุกฤดู ส่งผลให้เกิดความเหน็บหนาวไปทุกภูมิภาค

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เป็นห่วงคือตั้งแต่ปี 2513 อัตราการเกิดปรากฏการณ์ เอลนิโญ่ และ ลานิญ่า เกิดความผันผวนอย่างรุนแรง จากปกติที่จะเกิดสลับกันในจำนวนครั้งที่ใกล้เคียงกัน ระยะหลัง เอลนีโญ่ เกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีแอมพลิจูดที่สูงขึ้นกว่าปกติ เช่น ในช่วงเวลาหนึ่ง เอลนิโญ่ เกิดขึ้นถึง 9 ครั้งในรอบ 2.2 ปี ซึ่งในอดีตปกติจะเกิดขึ้น 1.5 ครั้งต่อปี ขณะที่ ลานิญ่า เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว

หมายความว่าคลื่นแห่งความผันผวนของความดันบรรยากาศในซีกโลกภาคใต้ซึ่งก่อให้เกิดความชุ่มชื้นและลานิญ่า กำลังหายไป โลกจึงมีแต่ความร้อนรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

ปรากฏการณ์ที่แปรปรวนนี้มีความรุนแรงมากขึ้นตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งอาจมีผลมาจากสภาวะโลกร้อนเป็นตัวเร่งด้วยก็ได้




จาก ................... ข่าวสด คอลัมน์ คอลัมน์ที่13 วันที่ 2 เมษายน 2544

Thoto_Dive 29-12-2015 22:28

Update Elnino 2015-2016
 
1 Attachment(s)
สวัสดีครับพี่ พอได้ยินข่าวทางวิทยุว่าจะเกิดปรากฎการณ์เอลนิลโญ่อีกในปีหน้า เลยลองหาข้อมูลจาก google ดู ปรากฎว่า ได้ลิงค์เข้ามาใน sos ของพวกพี่ๆ
เลยขออนุญาติเอาข้อมูล update มาแชร์เท่าที่หาได้ มาเพิ่มเติมนะครับ

จากข้อมูลคือจะเกิดปรากฎการณ์เอลนิลโญ ระหว่างปี 2015-2016 และจากการคาดการณ์ เอลนิลโญ่ครั้งนี้อาจเป็นเอลนิลโญที่รุนแรงมากที่สุดครั้งนึงในประวัติศาสตร์ จากข้อมูลอุณหภูมิในบางพื้นที่ ระหว่างสิงหาถึงตุลา แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 3 เดือนสูงมากเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่มีการบันทึกมา

ผมพยายามหาข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเลไทย เจอแต่ที่ Grisda ซึ่งต้อง regis ก็เลยยังไม่ได้ข้อมูลมาครับ

แค่แอบห่วงทะเลไทย กลัวจะเจอปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวอีก

ผมแนบรูปข้อมูลภาษาอังกฤษที่หาเจอมานะครับ เผื่อผมแปลไม่ถูกปะการใด ฝากพี่ๆ Correct ให้ด้วยครับ


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:54

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger