SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5448)

สายน้ำ 08-02-2021 03:37

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกได้เคลื่อนผ่านประเทศเมียนมาเข้าปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเนือตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8 - 9 กุมภาพันธ์ 2564 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรง โดยจะมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วน กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 8 ? 9 ก.พ. 64 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. 64 ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียสในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังอ่อน


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 8 ? 9 ก.พ. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 10 ? 11 ก.พ. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564)" ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2564

ในช่วงวันที่ 8- 9 กุมภาพันธ์ 2564 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า

สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส

ทั้งนี้เนื่องจากจะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่มีลมใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้


วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู และอุดรธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี และพระนครศรีอยุธยา



วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564

ภาคเหนือ: จังหวัดแพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด



https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds

สายน้ำ 08-02-2021 04:08

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ระทึก!ธารน้ำแข็งถล่มชนเขื่อนแตกในอินเดีย ไหลบ่ากวาดทุกอย่างที่ขวางหน้า



มีประชาชนชาว 125 คนสูญหาย ทางเหนือของอินเดีย หลังธารน้ำแข็งหิมาลัยแตกและซัดถล่มเขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็กแห่งหนึ่งจนพังเมื่อวันอาทิตย์(7ก.พ.) ก่อกระแสน้ำเชี่ยวกรากขนาดมหึมาไหลตามทางน้ำ ส่งผลให้ประชาชนตามหมู่บ้านต่างๆที่อยู่ปลายน้ำต้องอพยพหนีตาย

ผู้เห็นเหตุการณ์รายหนึ่งเปิดเผยผว่ากระแสคลื่นน้ำ หินและดิน ไหลบ่าซัดถล่มเชื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำ หลังจากธารน้ำแข็งหิมาลัยเกิดแตกออกและไหลทะลักลงไปตามแถบหุบเขาริชิกังกา ในแถบเทือกเขาของรัฐอุตตราขัณฑ์

"มันมาเร็วมาก ไม่มีเวลาแจ้งเตือนทุกคน" ซันเจย์ ซิงห์ รานา ซึ่งพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านไรนี บริเวณต้นแม่น้ำ ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์สทางโทรศัพท์ "ผมรู้สึกถึงขั้นว่าเราอาจถูกน้ำซัดไปด้วย"

ตรีเวนดรา ซิงห์ ราวัต มุขมนตรีรัฐอุตตราขัณฑ์ เผยว่ามีประชาชน 125 คนสูญหาย แต่จำนวนอาจเพิ่มกว่านี้ และจนถึงตอนนี้เก็บกู้ร่างไร้วิญญาณได้แล้ว 7 ศพ

ภัยพิบัติครั้งนี้เกิดขึ้นห่างจากกรุงนิวเดลี ไปทางเหนือราว 500 กิโลเมตร

ก่อนหน้านี้ โอม ประกาส เลขานุการมุขมนตรีรัฐ แสดงความกังวลว่าอาจมีชาวบ้านเสียชีวิตราว 100 ถึง 150 คน โดยในบรรดาผู้สูญเสียนั้น ส่วนใหญ่เป็นคนงานของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ 13.2 MW ริชิกังกา ซึ่งถูกธารน้ำแข็งที่แตกออกมาซัดถล่มจนพัง

ภาพที่แชร์บนสื่อสังคมออนไลน์โดยชาวบ้านท้องถิ่น พบเห็นกระแสน้ำเชี่ยวกรากซัดถล่มเขื่อนริชิกังกาจนแตก และกวาดทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางทาง และมีแกะอย่างน้อยๆ 180 ตัวถูกซัดหายไปกับกระแสน้ำ

นอกจากนี้แล้ววิดโอที่โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งทางรอยเตอร์สยังไม่ยืนยันว่าเป็นของจริงหรือไม่ พบเห็นกระแสน้ำกำลังถาโถมผ่านที่ตั้งของเขื่อนขนาดเล็ก ซัดอุปกรณ์ก่อสร้างลอยหายไป

กระทรวงเพื่อมาตุภูมิแห่งรัฐบาลกลางอินเดีย เปิดเผยหลังจากประชุมคณะกรรมการวิกฤตแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยบรรดาเจ้าหน้าที่ระดัยสูง ว่ามีประชาชน 12 คนติดอยู่ในอุโมงค์แห่งหนึ่ง แต่ได้รับความช่วยเหลือออกมาแล้ว และยังคงเดินหน้าพยายามช่วยเหลือคนอื่นๆที่ติดในอุโมงค์อีกแห่ง

"อินเดียยืนหยัดอยู่ข้างอุตตราขัณฑ์ และประชาชนทั้งประเทศภาวนาให้ทุกคนที่นั่นปลอดภัย" นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี เขียนบนทวิตเตอร์



NTPC รัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภค บอกว่าเหตุธารน้ำแข็งถล่มก่อความเสียหายบางส่วนแก่โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ Tapovan Vishnugad ของพวกเขา ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและด้านล่างของแม่น้ำ ทั้งนี้ NTPC ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ โดยเพียงแต่บอกว่าจะคอยจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพหลายลำบินวนอยู่เหนือพื้นที่เกิดเหตุ และทหารถูกส่งเข้าประจำการเพื่อช่วยเหลือภารกิจบรรเทาภัยและกู้ภัย ในขณะที่รัฐอุตตรประเทศ ซึ่งอยู่ติดกันและเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดของอินเดีย ประกาศเตือนภัยขั้นสูงตามพื้นที่ต่างๆริมแม่น้ำ

ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าอะไรเป็นตัวจุดชนวนธารน้ำแข็งถล่ม เนื่องจากมันเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ฤดูอุทกภัย หลังจากก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมิถุนายน 2013 ฝนตกหนักเป็นสถิติในรัฐอุตตราขัณฑ์ เคยก่ออุทกภัยเลวร้าย คร่าชีวิตชาวบ้านเกือบ 6,000 คน

หายนะครั้งนั้นได้รับสมญานามว่า "สึนามิหิมาลัย" เพราะว่ามันปลดปล่อยกระแสน้ำเชี่ยวกรากในพื้นที่ภูเขา ซัดพาเอาโคลนและกินบดขยี้สิ่งต่างๆที่อยู่ตามเส้นทางเบื้องล่าง ฝังบ้านเรือนหลายหลังจมอยู่ใต้โคลน ซัดถนนและสะพานขาด อาคารหลายแห่งลอยไปตามกระแสน้ำ

อุมา ภารตี อดีตรัฐมนตรีทรัพยากรน้ำของอินเดียและแกนนำระดับสูงในพรรคของโมดี วิพากษ์วิจารณ์การก่อสร้างโครงการพลังงานน้ำในพื้นที่ "ตอนที่ฉันเป็นรัฐมนตรี ฉันเคยร้องขอว่าหิมาลัยเป็นพื้นที่อ่อนไหว ดังนั้นโครงการพลังงานต่างๆไม่ควรสร้างบนแม่น้ำคงคมและแม่น้ำสาขาอื่นๆ" เธอเขียนบนทวิตเตอร์


https://mgronline.com/around/detail/9640000012353



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 10:41

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger