SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม 2563 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5361)

สายน้ำ 03-12-2020 03:24

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม 2563
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศจีนตอนใต้และประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนวันพรุ่งนี้ (4 ธ.ค. 2563) ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่าง คลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง และชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 4 ธ.ค. 63


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.


คาดหมาย0

ในช่วงวันที่ 2 - 3 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน

ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 6 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่จะมีลมตะวันตกพัดพาความหนาวเย็นจากประเทศเมียนมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นลง กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 7 - 8 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ประกอบกับในช่วงวันที่ 2 ? 3 ธ.ค. 63 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่าง และประเทศมาเลเซียจะเคลื่อนผ่านเข้าสู่ทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 4 - 8 ธ.ค. 63 ภาคใต้มีฝนลดลง และคลื่นลมมีกำลังอ่อนลง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 3 ? 7 ธ.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงด้วย สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ในช่วงวันที่ 2 ? 3 ธ.ค. 63 ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากด้วย และชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ควรหลีกเลี่ยงการเดืนเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 3 ? 4 ธ.ค. 63



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 4 ธ.ค. 2563)" ฉบับที่ 16 ลงวันที่ 03 ธันวาคม 2563

มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอันดามันต่อไป (วันที่ 3 ธ.ค. 63) ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยในบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะบริเวณที่ลาดเชิงเขาและพื้นที่ลุ่มต่าง ๆ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง และชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทย ควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 4 ธ.ค. 63



https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds

สายน้ำ 03-12-2020 03:25

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ไขคำตอบ สัตว์ทะเลคล้ายแมงมุมยักษ์ คือ "ดาวขนนก" หลังตกได้ที่เกาะลันตา

นักวิชาการไขข้อสงสัย สัตว์ทะเลรูปร่างประหลาดคล้ายแมงมุมยักษ์ คือ "ดาวขนนก" หลังนักตกปลาพบที่เกาะลันตา จ.กระบี่

https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds

วันที่ 2 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากรณีโลกออนไลน์แชร์คลิปสัตว์ทะเลรูปร่างประหลาด ลักษณะคล้ายแมงมุม มีขายาวออกมาจากลำตัวประมาณ 10 ซม. จำนวนประมาณ 20 ขา มีขนเส้นเล็กๆ ตามขา เมื่อผู้ที่ถ่ายคลิปเอาไม้ไปเขี่ยมันก็ขยับขาไปมา สร้างความประหลาดใจแก่ผู้พบเห็น ซึ่งผู้ที่ถ่ายคลิประบุว่า อาจจะเป็นสัตว์ที่มีพิษก็ได้ จะต้องระมัดระวังไม่ไปจับที่ตัวมัน

สอบถามนายเดชา ศรีชัย อายุ 41 ปี ผู้ที่พบสัตว์ดังกล่าว เล่าว่า เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ตนกับเพื่อนและลูกชายได้ไปตกปลาที่ทะเล บริเวณใต้สะพานสิริลันตา ต.เกาะลันตาน้อย อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ซึ่งพอตกได้สักพักรู้สึกเหมือนเบ็ดไปเกี่ยวอะไรบางอย่าง จึงดึงเบ็ดขึ้นมา ปรากฏว่า มีเศษปะการังและขยะติดเบ็ดขึ้นมา พอจะปลดเอาปะการังและขยะออกจากเบ็ดก็สังเกตเห็น สัตว์ประหลาดตัวดังกล่าว ติดมาด้วย สร้างความประหลาดใจแก่ตนและเพื่อนๆ เป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่เคยเห็นมาก่อน จึงได้หยิบโทรศัพท์มือถือมาถ่ายคลิปเอาไว้ ก่อนปล่อยกลับคืนสู่ท้องทะเล ทั้งนี้ ตนได้สอบถามเพื่อนๆ แต่ไม่มีใครเคยเห็นหรือรู้จักสัตว์ดังกล่าวแต่อย่างใด จึงได้นำคลิปมาแชร์ในโลกออนไลน์

ด้าน ดร.สุเมตต์ ปุจฉาการ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ สถาบันวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดเผยว่า สัตว์ชนิดดังกล่าว เรียกว่า ดาวขนนก อยู่ในตระกูลปลาดาว ซึ่งมีถิ่นอาศัยในทะเลบริเวณชา0ยฝั่งที่มีน้ำขึ้นน้ำลง จนไปถึงทะเลลึก จะอาศัยเกาะตามกิ่งกัลปังหา หรือแนวปะการัง กินสัตว์จำพวกหอย หนอนปล้อง มีมากกว่า 46 ชนิด พบได้ทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ซึ่งฝั่งอันดามันมีความหลากหลายมากกว่าฝั่งอ่าวไทย แต่เนื่องจากดาวขนนกมีพฤติกรรมชอบหลบซ่อนในแนวปะการัง บางชนิดเกาะนิ่งในเวลากลางวัน จึงไม่ค่อยมีใครสังเกตเห็น นอกจากนักดำน้ำที่สนใจสัตว์จำพวกนี้ นอกจากนี้ ดาวขนนกยังมีความผันแปรของสีสันทำให้ยากต่อการจำแนกชนิด.


https://www.thairath.co.th/news/local/1987464



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:01

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger