SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2563 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5350)

สายน้ำ 20-11-2020 03:19

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2563
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนยอดดอยและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระมัดระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย

สำหรับอ่าวไทยและภาคใต้มีคลื่นกระแสลมตะวันออกเคลื่อนเข้าปกคลุม ทำให้ภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนตกในระยะนี้และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 21 ? 23 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลัง ปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วน กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย0

ในช่วงวันที่ 19 ? 20 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่คลื่นกระแสลมตะวันออกเคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 21 ? 25 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย. 2563 โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 21 ? 24 พ.ย. ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับภาคใต้ให้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและตกสะสมไว้ด้วย



https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds

สายน้ำ 20-11-2020 03:26

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


สภาพภูมิอากาศกำลังวิกฤต เมื่อน้ำแข็งในอาร์กติกกำลังหายไป ...........
โดย Will McCallum หัวหน้าโครงการด้านมหาสมุทร กรีนพีซ สหราชอาณาจักร


ปรากฎการณ์น้ำแข็งในขั้วโลกเหนือละลายคือสัญญาณเตือนถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศ มหาสมุทรที่เต็มไปด้วยพันธุ์สัตว์หลากชนิดกำลังต้องการความช่วยเหลือจากเราอย่างเร่งด่วน

https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds
นกนางนวลสีงาช้าง (Ivory gulls) ยืนอยู่บนก้อนน้ำแข็งขนาดเล็ก บนธารน้ำแข็งในทะเล โดยมีเรืออาร์กติก ซันไรส์เป็นฉากหลัง ทีมงานของกรีนพีซอยู่ในขั้วโลกเหนือเพื่อสำรวจข้อมูลและเป็นประจักษ์พยานต่อการลดลงของน้ำแข็งในปี 2563 ? Daniella Zalcman / Greenpeace

นักวิจัยได้รับสัญญาณเตือนถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น เมื่อน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกมีปริมาณลดลงมากที่สุด นับเป็นครั้งที่ 2 ที่น้ำแข็งในทะเลลดลงต่ำที่สุดตั้งแต่มีการบันทึก

การละลายของน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นสัญญาณว่ามหาสมุทรและสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลกำลังต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เราอยากให้คุณมาเป็นอีกหนึ่งเสียงเคียงข้างกับ 3 ล้านเสียงจากทั่วโลกที่ได้ลงชื่อร่วมปกป้องมหาสมุทร ผ่านการเรียกร้องให้เหล่าผู้นำประเทศรับรองสนธิสัญญาทะเลหลวง (Oceans Santuaries) เพื่อปกป้องพื้นที่ของมหาสมุทรอย่างน้อย 30% จากทั้งหมดภายในปี 2573 ทั้งนี้ ผู้นำโลกจะต้องแก้ไขปัญหานี้อย่างรวดเร็ว ดังที่บทความวิชาการจากองค์กร Nature Climate Change ที่ระบุว่าจะไม่มีน้ำแข็งเหลืออยู่ในขั้วโลกเหนือในฤดูร้อนปี 2578

มหาสมุทรที่อุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยทรัพยากรและพันธุ์สัตว์นานาชนิดจะเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ให้ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ การปกป้องพื้นที่มหาสมุทร 30% จากทั้งหมดด้วยเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก จะช่วยให้ระบบนิเวศในมหาสมุทรยังคงดำเนินต่อไปได้และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่า ขั้วโลกเหนือ จะเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญที่เราจำเป็นจะต้องปกป้องคุ้มครองเอาไว้เพราะเป็นพื้นที่สำคัญอย่างยิ่งต่อสภาพภูมิอากาศของโลก

https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds
Mya-Rose Craig เยาวชนและนักกิจกรรมวัย 18 ปี กางป้ายแบนเนอร์รณรงค์เรียกร้องให้ผู้นำโลกเร่งแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กิจกรรมนี้เกิดขึ้นพร้อมกับทีมกรีนพีซที่ออกสำรวจข้อมูลและหลักฐานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในขั้วโลกเหนือ ? Daniella Zalcman / Greenpeace

อาร์กติกต้องได้รับการปกป้องอย่างเร่งด่วน ผู้นำโลกในการประชุม UN Biodiversity Summit จะต้องให้คำมั่นสัญญาที่จะปกป้องมหาสมุทรให้เป็นส่วนหนึ่งของการภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ และเพื่อทำให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการวิกฤตสภาพภูมิอากาศและมหาสมุทร ตอนนี้เรืออาร์กติก ซันไรส์ของกรีนพีซ รวมทั้งลูกเรือ นักรณรงค์ นักวิทยาศาสตร์และนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมก็อยู่ที่อาร์กติกแล้ว เพื่อเป็นประจักษ์พยานต่อการสภาพภูมิอากาศที่กำลังย่ำแย่ลง

ไม่เพียงแค่พวกเราเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่กลุ่มคนชายขอบในสังคมของเราเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศและการทำลายล้างมหาสมุทรมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง เพราะมหาสมุทรเป็นแหล่งอาหารสำคัญสำหรับกลุ่มประชากรทางตอนใต้ เราจำเป็นต้องทำให้ภาครัฐฟังเสียงของผู้คนหลายล้านที่กำลังผลักดันให้เกิดการปกป้องโลกสีน้ำเงินใบนี้ นี่เป็นเรื่องสำคัญต่อเรา ต่อสัตว์ทะเลและโลกใบนี้

https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds
Coral Reef Nauru in the Pacific Ocean. ? Paul Hilton / Greenpeace

จากนี้ไปเราจะทำให้เสียงของเราให้กลายเป็นคลื่นเหมือนคลื่นมหาสมุทร เป็นคลื่นที่มีพลังและไม่อ่อนข้อ ในตอนนี้ที่เรากำลังเผชิญกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศเราจะต้องจดจำไว้ว่าเรามีเสียงอีกหลายล้านเสียงที่กำลังสนับสนุนเราจากทั่วโลก เราจะต้องทำให้การปกป้องมหาสมุทรครั้งนี้สำเร็จ!


https://www.greenpeace.org/thailand/...t-is-emerging/


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:20

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger