SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=6277)

สายน้ำ 16-05-2023 02:49

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง

ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ประเทศไทยมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากมีฝนเพิ่มขึ้นและการระบายอากาศดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 16 - 18 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 15 -16 พ.ค. 66

ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 21 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนเพิ่มขึ้น สำหรับลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 15 ? 16 พ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนในช่วงวันที่ 18 ? 21 พ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้น สวนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง



https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

สายน้ำ 16-05-2023 03:03

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


สุดระทึก เรือคายัคของชาวประมงฮาวายถูกฉลามพุ่งโจมตี

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

เกิดเหตุการณ์ระทึกกับชาวประมงในฮาวาย ขณะใช้เรือคายัคออกหาปลาในทะเล โดยมีฉลามตัวใหญ่พุ่งเข้าโจมตีเรือแบบไม่ทันตั้งตัว จนเรือเกือบล่ม

โลกโซเชียลแชร์คลิปภาพเหตุการณ์ระทึก ที่เกิดขึ้นบริเวณนอกชายฝั่งเกาะโออาฮู ของรัฐฮาวาย ในประเทศสหรัฐฯ โดยขณะที่เรือคายัคซึ่งเป็นเรือประมง กำลังล่องเรือออกหาปลากลางทะเล แต่จู่ๆ ฉลามตัวใหญ่ก็มุ่งหน้าตรงเข้าหาเรือ ก่อนจะกระโดดขึ้นมากัดส่วนข้างของลำเรือ เคราะห์ดีที่ชาวประมงไม่ถูกกัด และเรือไม่พลิกคว่ำ มิเช่นนั้นอาจจะเกิดความสูญเสียขึ้นได้ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดถูกบันทึกไว้ได้โดยกล้องติดตัวชาวประมง ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการณ์ระทึกนี้ ชาวประมงบนเรือก็เปิดใจว่า ตามปกติแล้ว ฉลามจะไม่ค่อยโจมตีเรือแบบนี้ แต่คาดว่าเจ้าฉลามน่าจะเข้าใจว่าเรือเป็นแมวน้ำอาหารของมัน เลยพุ่งเข้ามาโจมตีอย่างที่เห็น ดีที่ไม่มีใครได้รับอันตรายแต่อย่างใด.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2694097


สายน้ำ 16-05-2023 03:06

ขอบคุณข่าวจาก Nation TV


เมื่อมหาสมุทรกำลังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

รายงาน UNCTAD ชี้มหาสมุทรกำลังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมเผยทั่วโลกกำลังมีการลงทุนกว่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อแก้ปัญหามหาสมุทรให้ยั่งยืนภายใต้ 4 แนวคิด

มหาสมุทร คิดเป็นกว่า 70% ของพื้นที่โลก ซึ่งมีคุณูปการแก่มนุษย์ตั้งแต่การบรรเทาสภาพอากาศที่รุนแรงไปจนถึงการสร้างออกซิเจนที่เราหายใจ เป็นแหล่งอาหาร จนถึงเก็บกักคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินที่เราสร้างขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นกลับคุกคามระบบนิเวศชายฝั่งและทะเลผ่านการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในมหาสมุทรและการละลายของน้ำแข็ง แต่เนื่องจากความจุอ่างกักเก็บคาร์บอนอย่างมหาสมุทรกว้างใหญ่เกินไป เราจึงเห็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของมหาสมุทรอย่างช้าๆ ซึ่งหากวัดค่าแค่รายวันหรือรายเดือนคงแยกไม่ออก

ปัจจุบันมหาสมุทรกำลังเผชิญกับวิกฤต ระบบนิเวศมหาสมุทรและทะเลที่อุดมสมบูรณ์กำลังถูกคุกคามจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการประมงเกินขนาด มลพิษพลาสติก การปนเปื้อนของสารพิษ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยคุกคามเหล่านี้ส่งผลให้ระบบนิเวศทางทะเลเสื่อมโทรม และเร่งให้สัตว์น้ำจำนวนมากต้องสูญพันธุ์หรือตกอยู่ในความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ อุตสาหกรรมการประมงต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อปกป้องมหาสมุทรและทะเลของเรา

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development : UNCTAD) ได้เผยแพร่รายงาน Trade and Environment Review 2023 วิเคราะห์เศรษฐกิจมหาสมุทร (ocean economy) ของโลก ซึ่งมีมูลค่าระหว่าง 3,000?6,000 ล้านดอลลาร์ และประเมินว่ากิจกรรมของมนุษย์และวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคส่วนต่างๆ เช่น การประมง อาหารทะเล การขนส่งและการท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่ง รายงานฉบับนี้ ได้นำเสนอในการประชุม UN Trade Forum ครั้งที่ 3 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 8 ? 9 พฤษภาคม 2566 เรียกร้องให้มีการค้าและการลงทุนระดับโลก "Blue Deal" เพื่อใช้มหาสมุทรอย่างยั่งยืน ซึ่งมีสิ่งมีชีวิตอีกกว่าร้อยละ 80 ที่อาศัยอยู่ใต้ท้องมหาสมุทร

ในรายงานเน้นย้ำถึงภาคส่วนที่มีผลต่อความยั่งยืน 2 ภาคส่วน ได้แก่ การทำฟาร์มสาหร่ายทะเล (seaweed farm) และวัสดุทางเลือกทดแทนพลาสติก (plastic substitutes) ซึ่งตลาดสาหร่ายทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าใน 2 ทศวรรษ โดยเพิ่มขึ้นจาก 4,500 ล้านดอลลาร์ในปี 2543 เป็น 16,500 ล้านดอลลาร์ในปี 2563 ซึ่งนับว่ามีการขยายตัวทางการตลาดอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสาหร่ายทะเล เป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำจืดหรือปุ๋ยในการเจริญเติบโต

ทั้งนี้ รายงานของ UNCTAD พยายามชี้ให้เห็นว่า สาหร่ายทะเลสามารถนำไปปลูกได้ในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อเป็นอาหาร เครื่องสำอาง และเชื้อเพลิงชีวภาพ และเป็นวัสดุทางเลือกทดแทนพลาสติก ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากพบว่าในแต่ละปีมีขยะพลาสติกไม่น้อยกว่า 11 ล้านตันถูกทิ้งลงสู่มหาสมุทร จากรายงานพยายามสะท้อนให้เห็นว่ามีวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกมากมายที่สามารถนำมาใช้ทดแทนผลิตภัณฑ์พลาสติก อาทิ วัสดุเหลือใช้จากไม้ไผ่ กาบมะพร้าว ต้นกล้วย และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นต้น

การลงทุนเกิดใหม่ในภาคเศรษฐกิจมหาสมุทรสามารถช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการกระจายการส่งออกสินค้าทางทะเล ซึ่งมูลค่าการส่งออกทั่วโลกของสินค้าทางทะเล เช่น อาหารทะเล เรือและอุปกรณ์ท่าเรือ และบริการต่างๆ รวมถึงการขนส่งทางเรือและการท่องเที่ยวชายฝั่ง มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2563 ซึ่งจากวิกฤตโควิด-19 สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและการตั้งรับปรับตัวของบางภาคส่วน และความเปราะบางของภาคส่วนต่าง ๆ รายงานระบุว่ารัฐบาลควรตั้งเป้าหมายในการส่งเสริมเศรษฐกิจทางทะเลที่หลากหลายและยั่งยืนไว้ในกลยุทธ์การกู้คืนความเสียหายจากวิกฤต และการลดปัญหาและความพยายามในการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ

อย่างไรก็ดี รายงานสะท้อนให้เห็นว่า ทรัพยากรทางทะเลกำลังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลภาวะ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity loss) ซึ่งจากการประเมิน พบว่า ปัจจุบันมีการลงทุนมูลค่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ สำหรับแก้ปัญหามหาสมุทรให้ยั่งยืน ทั้งสิ้น 4 วิธี ได้แก่

1. การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน
2. การลดคาร์บอนของการส่งสินค้าระหว่างประเทศ
3. การผลิตอาหารที่ได้จากทะเลอย่างยั่งยืน
4. การผลิตพลังงานจากกังหันลมนอกชายฝั่ง

ซึ่งคาดว่าหากแก้ปัญหาดังกล่าวได้ จะให้ผลประโยชน์สูงสุดถึง 15.5 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2593 และหากไม่มีข้อตกลง "Global Blue Deal" คาดว่าผลประโยชน์ดังกล่าวและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG14 ทรัพยากรทางทะเล จะดำเนินการเป็นไปได้ยากขึ้น ซึ่งเวลานี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะกำหนดแนวทางใหม่และเพิ่มการลงทุนที่มากขึ้น เพื่อสร้างเศรษฐกิจมหาสมุทรที่ยั่งยืน


https://www.nationtv.tv/gogreen/378915815



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 18:19

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger