SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 15 เมษายน 2563 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5105)

สายน้ำ 15-04-2020 03:38

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 15 เมษายน 2563
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่เกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 15 - 20 เม.ย. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้มีฝนลดลง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 15 - 20 เม.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากอากาศที่ร้อนไว้ด้วย



https://i1198.photobucket.com/albums...pspjccfsod.jpg


https://i1198.photobucket.com/albums...pskcsgbkcw.jpg

สายน้ำ 15-04-2020 03:41

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


มลพิษตะกั่ว เกิดขึ้นสูงสุดเมื่อ 800 ปีก่อน

https://i1198.photobucket.com/albums...ps5fe8ymox.jpg
Credit : CC0 Public Domain

เมื่อเร็วๆนี้มีการวิจัยเผยแพร่ลงวารสาร Antiquity ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในอังกฤษ แสดงการบันทึกที่มีความละเอียดสูงสุดและถูกต้องตามลำดับเหตุการณ์ในการดำรงอยู่ของมลพิษ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วง 2,000 ปีที่ผ่านมา

ทีมวิจัยนำโดยนักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮม ในอังกฤษ และสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งมหาวิทยาลัยเมน และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในสหรัฐอเมริกา ได้ดึงเอาแก่นธารน้ำแข็งอัลไพน์ (Colle Gnifetti) ที่ชายแดนสวิตเซอร์แลนด์และอิตาลีมาศึกษา และเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ฉายแสงเลเซอร์บนน้ำแข็งอายุหลายร้อยปีนี้ รวมกับบันทึกทางประวัติศาสตร์ ทีมวิจัยชี้ว่าวิกฤตการณ์ทางการเมืองและสงครามได้ทำลายดัชนีการเติบโตทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมของยุโรปในช่วงของกษัตริย์ที่มีชื่อเสียงมากของอังกฤษ อย่าง พระเจ้าเฮนรีที่ 2 พระเจ้าจอห์น และพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 หรือที่รู้จักในชื่อริชาร์ดใจสิงห์

ผลจากการวิจัยพบว่าระดับมลพิษทางอากาศในระดับสูงสุดก่อนยุคสมัยใหม่นั้น เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 800 ปีที่แล้ว โดยโลหะตะกั่วที่เป็นพิษได้ลดการทำงานของสมองและส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพตลอดชีวิตแม้การสัมผัสกับตะกั่วจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม เนื่องจากมนุษย์ได้ขุดและใช้งานตะกั่วมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ เช่น การทำเหรียญ ทำหลังคา ท่อน้ำ และสีทา.


http://www.thairath.co.th/news/foreign/1819868


*********************************************************************************************************************************************************


หนอนทะเลลึกกับแบคทีเรียเก็บเกี่ยวมีเทน

https://i1198.photobucket.com/albums...psndhkeke5.jpg
Credit : Alvin / WHOI

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการคาร์บอนใน บางรูปแบบเพื่อความอยู่รอด โดยดูดซับผ่านกระบวนการเผาผลาญ หนอนในทะเลลึกและแบคทีเรียก็เช่นกัน หลังจากนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือแคลเทค (Caltech) และวิทยาลัยออกซิเดนทอล ในสหรัฐอเมริกาค้นพบว่าหนอนและแบคทีเรียที่ก้นทะเลจะให้ความกระจ่างใหม่เกี่ยวกับนิเวศวิทยาของสภาพแวดล้อมใต้ทะเลลึก

ทีมวิจัยเผยว่าแบคทีเรียที่อยู่ในตระกูลเมธิลโลคอคคัส แคปซูลาตัส (Methylococcaceae) ซึ่งถูกเรียกว่าจุลินทรีย์ที่บำบัดก๊าซมีเทน (methanotrophs) เนื่องจากพวกมันเก็บเกี่ยวคาร์บอนและพลังงานจากมีเทน ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจน นักวิจัยพบหนอนขนาดยาวไม่กี่นิ้วจำนวนมากใกล้กับพื้นที่พบก๊าซมีเทนในทะเลลึก ตรงช่องระบายอากาศที่พื้นมหาสมุทรซึ่งมีของเหลวที่อุดมด้วยไฮโดรคาร์บอนไหลซึมออกมา หนอนเหล่านี้มีเชื่อมโยงกับการดูดซึมซับมานาน เดิมทีคิดว่าหนอนทำตัวเป็นตัวกรองการให้อาหารกับแบคทีเรีย แต่นักวิจัยกลับพบว่าหนอนได้ร่วมมือกับแบคทีเรียใช้พลังงานเคมีเพื่อเลี้ยงตัวเองในวิธีที่ไม่ได้คาดคิด

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะยังไม่รู้ชัดเจนว่าทำไมหนอนชอบช่องระบายอากาศ แต่ผลการวิจัยนี้ได้เปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศ และจะส่งผลต่อการศึกษาดูแลพื้นที่ใต้ทะเลลึก.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1819846



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:18

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger