SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2564 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5687)

สายน้ำ 06-10-2021 03:21

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2564
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ไว้ด้วย

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 6-11 ต.ค. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางมีแนวโน้มที่จะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะไหหลำ ประเทศจีน ขอให้ประชาชนติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 6 ? 7 ต.ค. 64 ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะไหหลำ ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

ประกอบกับในช่วงวันที่ 7-11 ต.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 6 ? 11 ต.ค. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะไหหลำ


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 6 ? 7 ต.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 7-11 ต.ค.64 เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดจากฝั่ง



https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

สายน้ำ 06-10-2021 04:16

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


เมฆตอบสนองการเปลี่ยนแปลง น้ำแข็งในทะเลอาร์กติก

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

เมฆเป็นหนึ่งในตัวแทนสัญลักษณ์ที่สำคัญต่อการคาดการณ์ว่าดินแดนแถบอาร์กติกจะอุ่นขึ้นในอนาคตได้เร็วเพียงใดและเร็วแค่ไหน ซึ่งเป็นเวลาหลายสิบปีที่นักวิทยา ศาสตร์สันนิษฐานว่าการสูญเสียน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกทำให้เกิดเมฆจำนวนมากขึ้นใกล้ผิวมหาสมุทร

เมื่อเร็วๆนี้มีการวิจัยใหม่ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา ชี้ว่าการปล่อยความร้อนและความชื้นผ่านช่องโหว่ขนาดใหญ่ที่ผืนน้ำแข็งในทะเลซึ่งรู้จักกันในชื่อโพลีเนีย (Polynya) จะกระตุ้นการก่อตัวของเมฆจำนวนมากขึ้น เกิดการดักจับความร้อนในบรรยากาศ และขัดขวางการแข็งตัวของน้ำแข็งใหม่ในทะเล การค้นพบนี้มาจากข้อมูลการสแกนดาวเทียมที่เกือบจะทันทีทันใดจากพื้นที่ใกล้กับนอร์ท วอเตอร์ โพลีเนีย (North Water Polynya) ทางตอนเหนือของอ่าวแบฟฟิน ซึ่งอยู่ระหว่างเกาะกรีนแลนด์และแคนาดา งานวิจัยนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มแรกๆ ที่ตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างโพลีเนียและเมฆด้วยเซ็นเซอร์แบบแอ็กทีฟบนดาวเทียม ที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถวิเคราะห์เมฆในแนวตั้งในระดับที่ต่ำกว่าและสูงกว่าในชั้นบรรยากาศได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ว่าการก่อตัวของเมฆเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรใกล้พื้นผิวมหาสมุทรเหนือโพลีเนียและน้ำแข็งในทะเลโดยรอบ

หลังจากนี้ทีมงานวางแผนเตรียมจะนำการวิจัยนี้ไปสู่ระดับต่อไป และทดสอบว่าสามารถสังเกตผลกระทบของเมฆที่คล้ายคลึงกันได้ในพื้นที่อื่น ที่น้ำแข็งทะเลและมหาสมุทรมาเปิดมาบรรจบกันหรือไม่.


https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2210616


สายน้ำ 06-10-2021 04:19

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


ปินส์ช็อกป่าชายเลนอ่าวมะนิลา ขยะพลาสติกท่วมเป็นทะเล


https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

ปินส์ช็อกป่าชายเลนอ่าวมะนิลา ? วันที่ 5 ต.ค. เดอะการ์เดียนรายงานสถานการณ์วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่ป่าชายเลนและทะเลโคลนเมืองโนวาทัส บริเวณอ่าวมะนิลา เบย์ ประเทศฟิลิปปินส์ ว่าเต็มไปด้วยกองขยะพลาสติกมหาศาล สร้างความสะอิดสะเอียนให้นักสิ่งแวดล้อม

นายดิอุว์ส เดอ จีซุส นักชีววิทยาทางทะเลในฟิลิปปินส์ ผู้ถ่ายภาพและนำมาเผยแพร่ กล่าวว่า ปริมาณขยะที่พบนั้นมากถึงขนาดที่ทำให้รากของต้นโกงกางแทบไม่สามารถหายใจได้

รายงานระบุว่า ป่าชายเลนนั้นเป็นระบบนิเวศที่สำคัญ เพราะเป็นแหล่งอาหารให้บรรดานกที่ย้ายถิ่นฐาน ป้องกันน้ำท่วม และลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หนึ่งในต้นเหตุก่อปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง หรือโลกร้อน มีความสามารถในการดูดซับมากยิ่งกว่าป่าดิบชื้น

นางจานีนา กาสโตร สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์นกป่าและป่าชายเลน ระบุว่า ขยะเหล่านี้กำลังทำลายป่าโกงกางให้หมดไป เพราะไปปิดผิวดินทำให้รากหายใจ (pneumatophores) ของต้นโกงกางไม่สามารถหายใจได้ ส่งผลให้ต้นโกงกางอ่อนแอ และอาจตายไปได้

ป่าชายเลนและทะเลโคลนดังกล่าวเป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่บริเวณอ่าวมะนิลา โดยบริเวณนี้ในอดีตเต็มไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ และไร่นาข้าวเขียวขจี แต่ถูกเมืองขยายเข้ากลืนกินจนเหลือป่าชายเลนอยู่เพียง 540 ตารางกิโลเมตร เมื่อคริสศตวรรษที่ 19

สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้บรรดากลุ่มนักอนุรักษ์และสหประชาชาติ หรือยูเอ็น เข้าช่วยเหลือ แต่กระนั้นก็ป่าชายเลนบริเวณนี้ก็ยังลดลงเรื่อยๆ จนเหลือไม่ถึง 8 ตร.ก.ม. เมื่อปี 2538 ส่วนทางกับกรุงมะนิลาปัจจุบันที่เป็นหนึ่งในมหานครที่หนาแน่นที่สุดในโลก

นายจีซุส ระบุว่า ถ้าเพียงรัฐบาลห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งได้ก็จะช่วยลดขยะพลาสติกเหล่านี้ลงไปได้มหาศาล พร้อมแสดงความเป็นห่วงถึงโครงการก่อสร้างขยายแผ่นดินของรัฐ ที่นำดินมาถมและเทคอนกรีตทับผืนดินออกไปในทะเล

ป่าชายเลนบริเวณนี้ยังเป็นแหล่งอาหารและจุดพักที่สำคัญของนกหายากหลายสายพันธุ์ตามเส้นทางอพยพย้ายถิ่นประจำปี โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทาง เอเชียน-ออสเตรเอเชียน ฟลายเวย์ ซึ่งมีระยะทางตั้งแต่คาบสมุทรอาร์กติกในรัสเซียและอเมริกาเหนือไปถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

นกหายากจำพวกนี้ที่พบเห็นอยู่ตามป่าชายเลนบริเวณอ่าวมะนิลา อาทิ นกปากช้อนหน้าดำ นกอีก๋อยตะโพกสีน้ำตาล และนกน็อตใหญ่ รวมถึงนกใกล้สูญพันธุ์อย่างนกโจรสลัดเกาะคริสต์มาส

ทั้งนี้ นักสิ่งแวดล้อมยังกังวลว่า ขยะพลาสติกจะเป็นอันตรายต่อนกหายากเหล่านี้ เพราะเมื่อสลายตัวแล้วจะกลายเป็นไมโครพลาสติก ซึ่งปลาและหอยสามารถกินเข้าไปได้ แล้วพวกมันก็ถูกนกกินเข้าไปอีกที รวมถึงขยะมูลฝอยเหล่านี้ยังเป็นบ่อสะสมเชื้อโรคทั้งต่อสัตว์และมนุษย์

นางกาสโตร ระบุว่า หนึ่งในปัญหาที่ป่าชายเลนและทะเลโคลนกำลังเผชิญเป็นความเข้าใจผิดของผู้คนในสังคม ว่าเป็นสิ่งที่ไม่สวยงามและไม่จำเป็น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้นตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง


https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_6659770


สายน้ำ 06-10-2021 04:23

ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก


"วิกฤตเป็นโอกาส" ชาวบ้านแห่เก็บ "ปลาน็อกน้ำ" สร้างรายได้ให้ชุมชน

ชาวบ้านชุมชนประมงริมหาดบางแสน "ชลบุรี" พลิกวิกฤตเป็นโอกาส หลังฝนตกหนัก "ปลาน็อกน้ำ" ลอยตายเกลื่อน แห่เก็บขายสร้างรายได้

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

วันที่ 5 ต.ค.2564 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ ชุมชนประมงริม "หาดทะเลบางแสน" ช่วงหาดวอนนภา ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี พบชาวบ้านหลายสิบคนจากชุมชนชาวประมง ต่างถือถัง ถือตะกร้า มุ่งหน้าไปเก็บปลาทรายหรือปลาเห็ดโคลน ที่ลอยตายเกลื่อนทั่วบริเวณริมหาดทะเลบางแสน จากนั้นนำมาล้างทำความสะอาดแล้ววางขายที่ริมถนน

จากการสอบถามนางสาวเสริมสุข ระยูรศักดิ์ อายุ 52 ปี แม่ค้าชาวประมงเล่าว่า ฝนตกลงมาอย่างหนักทำให้น้ำจืดไหลลงทะเลปลาทรายหรือที่ชาวบ้านเรียกปลาเห็ดโคลน "น็อกน้ำ" ทำให้ลอยตายเกลื่อน แต่ก็ยังเป็นปลาสด ชาวบ้านจึงพากันไปเก็บ

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds

ปกติแล้ว ปลาเห็ดโคนไม่ใช่ปลาที่จะหากินได้ง่ายนัก ไม่ได้เกิดขึ้นแบบนี้ทุกปี จึงทำให้มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 140 บาท จังหวะที่ต้องเจอมรสุม ก็กลับพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ โดยช่วงนี้ชาวบ้านระแวกนี้ เก็บปลาเห็ดโคลน "สร้างรายได้ในชุมชน" ได้เป็นจำนวนมาก


https://www.komchadluek.net/news/486826


สายน้ำ 06-10-2021 04:25

ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์


เตือนถ้าโลกยังไม่หยุดร้อนกัมมันตรังสีจากปรมาณูในอดีตจะกลับมา

https://hosting.photobucket.com/imag...720&fit=bounds
AFP PHOTO / Greg BAKER

ยิ่งอุณหภูมิสูงขึ้น ชั้นดินเยือกแข็งที่ขั้วโลกจะยิ่งละลาย ปลดปล่อยกากนิวเคลียร์สมัยสงครามเย็นที่อยู่ข้างใต้ซึ่งอันตรายกับมนุษย์สู่ชั้นบรรยากาศ

ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก Aberystwyth University ในเวลส์เตือนว่า ราว 2 ใน 3 ของชั้นดินเยือกแข็ง หรือ Permafrost ในแถบขั้วโลกเหนืออาจละลายหายไปภายในปี 2100 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยพื้นที่แถบดังกล่าวร้อนขึ้นกว่า 3 เท่าของอัตราเฉลี่ยทั่วโลก

และเมื่อชั้นดินเยือกแข็งเหล่านี้ละลายจากภาวะโลกร้อน กัมมันตรังสีและขยะนิวเคลียร์จากการทดสอบระเบิดปรมาณูในช่วงสงครามเย็น รวมทั้งเชื้อโรคร้ายในอดีตที่ถูกแช่แข็งอยู่ข้างใต้ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์จะถูกปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศและสภาพแวดล้อม

นักวิทยาศาสตร์เน้นที่อาวุธนิวเคลียร์ 130 ชิ้นที่ทดสอบในชั้นบรรยากาศโดยสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี 1995-1990 ซึ่งทิ้งสารกัมมันตรังสีไว้ในระดับสูง

นอกจากขยะนิวเคลียร์ ยังมีจุลินทรีย์อีกนับไม่ถ้วนที่ถูกแช่แข็งอยู่ใต้ชั้นดินเยือกแข็ง และเมื่อชั้นดินเยือกแข็งละลายก็มีโอกาสที่แบคทีเรียเหล่านี้จะออกมาปะปนกับหิมะหรือน้ำแข็งที่ละลาย ก่อให้เกิดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่ดื้อยา

ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature Climate Change ระบุว่า พบจุลินทรีย์ที่ถูกแช่แข็งอยู่ในชั้นดินเยือกแข็งกว่า 100 ชนิดที่ดื้อยา

หากขยะนิวเคลียร์ถูกปลดปล่อยออกมาอาจเป็นอันตรายกับมนุษย์และสัตว์ เช่นเดียวกับไวรัสและแบคทีเรียโบราณอาจเป็นภัยคุกคามสังคม

ข้อมูลของ Observer Research Foundation ระบุว่า เมื่อปี 2016 การละลายของชั้นดินเยือกแข็งในไซบีเรียทำให้ซากกวางเรนเดียร์ที่ติดเชื้อแอนแทร็กซ์อายุกว่า 70 ปี โผล่ขึ้นมา ส่งผลให้เชื้อไปติดเด็กชายในหมูบ้านเสียชีวิต 1 ราย และเจ็บป่วยอีกหลายราย

ทั้งนี้ ชั้นดินเยือกแข็งครอบคลุมพื้นที่ราว 9 ล้านตารางไมล์ของแถบอาร์กติก โดยส่วนใหญ่มีอายุราว 1 ล้านปี และยิ่งอยู่ลึกลงไปก็ยิ่งมีอายุมากขึ้นเท่านั้น

อาร์วิน เอ็ดเวิร์ดส์ หนึ่งในทีมวิจัยเผยว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและนิเวศวิทยาของอาร์กติกจะส่งผลต่อทุกส่วนของโลกเนื่องจากจะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับสู่ชั้นบรรยากาศและทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

เอกสารแถลงข่าวของทีมวิจัยระบุว่า แม้ว่ารัฐบาลรัสเซียจะมีโครงการทำความสะอาดกัมมันตรังสีและขยะนิวเคลียร์ดังกล่าว แต่การตรวจสอบในแถบอาร์กติกพบซีเซียมและพลูโตเนียมในระดับสูงระหว่างตะกอนดินใต้ทะเล พืชผัก และแผ่นน้ำแข็ง

นอกจากรัสเซีย สหรัฐก็มีส่วนก่อให้เกิดขยะนิวเคลียร์ในชั้นดินเยือกแข็งจากการตั้งศูนย์วิจัยพลังงานนิวเคลียร์ Camp Century ในกรีนแลนด์ซึ่งปลดประจำการในปี 1967


https://www.posttoday.com/world/664847


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:39

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger