SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5093)

สายน้ำ 03-04-2020 03:11

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 3 - 5 เม. ย. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น

ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 8 เม. ย. 63 บริเวณประเทศไทยจะมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 3 - 5 เม.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 5 เมษายน 2563)" ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 03 เมษายน 2563

บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้


วันที่ 3 เมษายน 2563

ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด


ในช่วงวันที่ 4-5 เมษายน 2563

ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาว เวียดนาม และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น



https://i1198.photobucket.com/albums...psamjkxgzn.jpg


https://i1198.photobucket.com/albums...psq6qaghz7.jpg


https://i1198.photobucket.com/albums...pso7ge2w7d.jpg

สายน้ำ 03-04-2020 03:16

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ทำนายการเริ่มต้นของรอยร้าวแบบ 3 มิติ

https://i1198.photobucket.com/albums...psp9rrrwsr.jpg
Credit : Akira Hojo

การหาตำแหน่งของแนวรอยแตกบนพื้นผิว หรือหาตำแหน่งที่มีแนวโน้มจะมีรอยร้าวได้อย่างแม่นยำ นับเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญต่อการวิเคราะห์ และออกแบบโครงสร้างการทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้น เหล่านั้น โดยเฉพาะการคำนวณวิเคราะห์อัตราการปลดปล่อยพลังงานที่สัมพันธ์กับการกระจายของรอยร้าว

เมื่อเร็วๆนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนาแชมเปญจน์ ในสหรัฐอเมริกา เผยว่าพัฒนาวิธีการใหม่ คือการใช้อนุพันธ์ของทอพอโลยี (Topology) ที่อธิบายคุณสมบัติทางรูปร่างที่ไม่แปรเปลี่ยนภายใต้การดึง ยืด หด บีบเพื่อประเมินการปล่อยพลังงานหากรอยแตกปรากฏขึ้นในพื้นที่ใดๆ และวางเป็นแนวตามพื้นผิวของโครงสร้าง 3 มิติ ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งและทิศทางของการแตกที่สำคัญด้วยการวิเคราะห์เพียงครั้งเดียว

วิธีการใหม่นี้ช่วยให้นักวิจัยวิเคราะห์ ได้ง่ายขึ้นมาก เพราะแทนที่จะต้องวิเคราะห์ทุกจุดทุกตำแหน่งที่มีศักยภาพเกิดรอยร้าวตามโครงสร้างพื้นผิว การวิเคราะห์ด้วยวิธีที่พัฒนาใหม่จะมีราคาถูกลง และการแก้ปัญหา ก็รวดเร็วขึ้น ซึ่งการใช้เทคนิคนี้นักวิจัยสามารถระบุตำแหน่งและทิศทางที่สอดคล้องกับอัตราการปลดปล่อยพลังงานสูงสุดได้ทันที.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1810193


*********************************************************************************************************************************************************


หยุดการเปลี่ยนแปลงของลมในซีกโลกใต้

https://i1198.photobucket.com/albums...psvfn2cxph.jpg
Credit : NASA

หลุมโอโซนที่ค้นพบในปี พ.ศ.2528 ได้ก่อตัวขึ้นทุกฤดูใบไม้ผลิในชั้นบรรยากาศที่สูงเหนือทวีปแอนตาร์กติกา นักวิจัยอธิบายไว้ว่าการลดลงของโอโซนทำให้อากาศเย็นลง ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระแสน้ำวนขั้วโลกและส่งผลกระทบต่อลมลงไปสู่ชั้นล่างสุดของชั้นบรรยากาศโลก

มีงานวิจัยเผยว่า สารเคมีที่ทำลายชั้นโอโซนของโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการไหลเวียนของอากาศในซีกโลกใต้ ล่าสุด สถาบันความร่วมมือเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (CIRES) พบว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้หยุดชั่วคราวและอาจย้อนกลับ เนื่องจากพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) ที่เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการยุติการใช้สารเคมีทำลายชั้นโอโซน อย่างสารคาร์โรฟลูออโรคาร์บอน (chlorofluorocarbons-CFCs)

https://i1198.photobucket.com/albums...psr1tn75ry.jpg

สิ่งเหล่านี้เริ่มเมื่อราวๆปี 2543 นักวิจัยพบว่าความเข้มข้นของสารเคมีในชั้นสตราโตสเฟียร์เริ่มลดลงและหลุมโอโซนก็เริ่มฟื้นตัว การลดลงของโอโซนได้เปลี่ยนกระแสลมกรดละติจูดกลาง รวมถึงพื้นที่แห้งแล้งชายขอบของเขตร้อนทางขั้วโลกใต้ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการพิสูจน์สมมติฐานของนักวิจัยว่าการกู้คืนโอโซนได้ผลักดันการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของอากาศในชั้นบรรยากาศ ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องบังเอิญ.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1810178


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 23:41

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger