SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5443)

สายน้ำ 03-02-2021 02:55

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายขณะที่สัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 2 - 3 ก.พ. 64 บริเวณความกดอากาศสูงยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาในบางพื้นที่ แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนบางพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 4 ? 6 ก.พ. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสกับมีอากาศหนาวและมีลมแรง

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 7 ? 8 ก.พ. 64 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ในขณะที่มีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลงส่งผลให้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนบางพื้นที่


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 2 - 3 ก.พ. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 7 ? 8 ก.พ. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย



https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds


https://hosting.photobucket.com/imag...370&fit=bounds

สายน้ำ 03-02-2021 03:56

ขอบคุณข่าวจาก อสมท.


หลุมหลบภัยชั้นยอดของปลาการ์ตูน

สังเกตไหม? ทำไมดอกไม้ทะเลที่ขึ้นชื่อว่ามีเข็มพิษร้ายเเรงถึงไม่ทำอันตรายปลาการ์ตูน ใครๆ ต่างหลีกเลี่ยงมัน แต่สำหรับปลาการ์ตูนกลับกลายเป็นบ้านอันเเสนอบอุ่น และคอยคุ้มภัย




https://www.mcot.net/view/p9YdqLOS


สายน้ำ 03-02-2021 03:58

ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย


ล่า "ตัวโวยวาย" รายได้ดี

พังงา 2 ก.พ.- ชาวบ้านในพื้นที่ ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ช่วงน้ำทะเลลดต่ำสุด จึงออกมาหาล่า "ตัวโวยวาย" หารายได้เสริมในช่วงโควิด

https://hosting.photobucket.com/imag...080&fit=bounds

ที่บริเวณแหลมปะการัง ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยวชื่อดังย่านเขาหลักในช่วงที่น้ำทะเลลดต่ำ ชาวบ้านในพื้นที่ก็จะออกไปหาสัตว์ทะเลที่หลบซ่อนอยู่ตามแอ่ง เพื่อมาทำเป็นอาหารไว้รับประทานและขายเป็นอาชีพเสริม ชาวบ้านเรียก "ตัวโวยวาย" อาศัยหลบซ่อนอยู่ภายในซอกใต้ซากปะการัง ซึ่งจะใช้ก้ามปู หรือปูเปรี้ยว เสียบกับก้านไม้ไผ่ หรือ สายเอ็นทำเป็นเหยื่อล่อ แล้วแหย่ลงไปในโพรง เพื่อล่อให้ออกมา เมื่อมันกินเหยื่อจะใช้เหล็กแหลมแทงบริเวณส่วนหัวบริเวณใต้ตา ก่อนนำไปประกอบอาหารกินในบ้าน หากเหลือก็แบ่งขาย ส่วนที่มาของชื่อ "โวยวาย" เพราะสมัยโบราณหมึกนี้มีจำนวนมหาศาล เวลาจับจะร้องส่งเสียงระงม ประกอบกับเวลาจับหนวดมันดูดมือทำวุ่นวายไปหมด

สำหรับเมนูที่ชาวบ้านนิยมนำไปปรุงเป็นอาหาร คือ โวยวายผัดสับปะรด โวยวายผัดเครื่องรา(ผัดยี่หร่า) ส่วนราคาของตัวโวยวายสด จะตกอยู่ที่กิโลกรัมละ 200-250 บาท ซึ่งจะมีพ่อค้ามารับซื้อไปย่างจิ้มกับน้ำจิ้มรสเด็ดขายในตลาดอีกต่อหนึ่ง ทำให้มีบางคนทำเป็นอาชีพออกล่าตัวโวยวายทุกวัน

นายวรัช หันหวล อายุ 40 ปี ชาวบ้านในพื้นที่ ต.คึกคัก เล่าให้ฟังว่าทุกวันในช่วงน้ำทะเลลง ก็จะออกไปหาโวยวายซึ่งก็ต้องใช้ความสามารถพิเศษของแต่ละคน ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ทุกคนจะทราบดีว่ารูไหนโวยวายอาศัยอยู่ แต่ละวันจะหาได้มากถึง 1-2 กิโลกรัม แต่หากนำไปขายที่ตลาดนัด พ่อค้าจะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 200 บาท ถือว่าเป็นรายได้ที่ดี โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 จะมีคนมาหาโวยวายเยอะเป็นพิเศษเนื่องจากว่าตกงานกลับมาอยู่บ้านไม่มีงานทำ

สำหรับตัวโวยวายนั้น จัดอยู่ในตระกูลหมึก จำพวกหมึกสายและหมึกยักษ์เล็ก ยาว 6?12 ซม. มีหนวด 8 เส้น โคนหนวดแต่ละเส้นมีแผ่นหนังเชื่อมติดกัน ด้านในของหนวดมีปุ่มดูดเรียงกันสองแถวสำหรับจับสัตว์กินเป็นอาหาร ลำตัวสีเทาอมดำหรือสีน้ำตาลอ่อน ด้านท้องสีขาว เป็นสัตว์ที่มีความฉลาดมาก จนเชื่อว่าเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีความเฉลียวฉลาดที่สุดในโลก.


https://tna.mcot.net/region-629739


สายน้ำ 03-02-2021 04:03

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


อ่าวปัตตานี : โครงการขุดลอกเพื่อแก้ปัญหาความยากจนแต่ให้ผลตรงกันข้าม

https://hosting.photobucket.com/imag...080&fit=bounds

ครอบครัวชาวบ้านในหมู่บ้านบุดี ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ต้องสลับให้ลูก 4 คน ไปโรงเรียนกันคนละวัน เพราะไม่มีเงินส่งลูกทุกคนไปโรงเรียนได้ทุกวัน

รอกาย๊ะ สาและ บอกครูในวันที่โรงเรียนเปิดเทอมว่าถ้าลูกขาดเรียนก็ขอให้เข้าใจว่าลูกไม่สบาย หรือไม่มีเงินไปโรงเรียน ทุกวันนี้ชาวประมงพื้นบ้านอย่างเธอ มีรายได้ไม่ถึง 200 บาท เพราะปลาที่เคยจับได้ในอ่าวปัตตานีแทบไม่หลงเหลือ รายได้ที่เคยมีวันละ 500-700 บาท ไม่เคยเกิดขึ้นอีกแล้ว

"วันก่อนออกไปจับกุ้งโดยใช้อวนลอย อวนก็ไปติดกับสันทรายจนขาด เราก็ไม่มีเงินซื้ออวนอันใหม่?ออกไปแต่ละครั้งได้กุ้ง 20 ตัว 10 ตัว บางครั้ง 7 ตัวก็มี จะขายก็ไม่ได้ ขนาดลูกจะกินก็ยังไม่พอ"

สันทรายที่เธอพูดถึงคือสันทรายที่เกิดจากโครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี ที่มีเป้าหมายแก้ไขปัญหาการตื้นเขินของอ่าวที่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และ ศอบต. เป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้ และคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ได้เห็นชอบอนุมัติงบกลางปีงบประมาณ 2560 วงเงิน 664 ล้านบาท ให้กรมเจ้าท่าดำเนินการระยะเวลา 2 ปี (2560-2562)

แต่ล่าสุดชาวบ้านได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง ส.ส.ในพื้นที่ ร้องเรียนความเดือดร้อนจากโครงการขุดลอกอ่าวที่ไม่ได้แก้ปัญหาความตื้นเขิน แต่กลับทำให้อ่าวปัตตานีตื้นเขินมากขึ้น เนื่องจากผู้ดำเนินโครงการได้ทิ้งตะกอนทราย วัสดุขุดลอกจนทับถมบริเวณที่ทำกินของชาวบ้านในวงกว้าง ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และระบบนิเวศ

นายเศรษฐ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี บอกบีบีซีไทยว่า ในเวลาเดียวกันชาวบ้านยังเผชิญปัญหาการไม่บังคับใช้กฎหมายที่ออกตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ม.44) กับผู้ทำประมงโดยที่ใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายอย่างลอบพับได้ ที่เรียกกันว่า ไอ้โง่ จับสัตว์น้ำวัยอ่อนจนไม่ทันการเจริญพันธุ์ ส่งผลให้ชาวประมงอวนลากจับสัตว์น้ำไม่ได้เพราะปริมาณลดลงอย่างเห็นได้ชัด

https://hosting.photobucket.com/imag...080&fit=bounds
มูฮัมหมัดไซดีกับแม่ออกไปหาหอยในทะเลเพราะไม่มีกุ้งและปลาให้จับแล้ว .......... ที่มาของภาพ GOOYEE KUNO

"ไม่แปลกที่ทรัพยากรในอ่าวปัตตานีแห่งนี้ลดลงอย่างมากถึงขั้นวิกฤต" มะแอ สาและ ประธานชมรมประมงพื้นบ้านบ้านบุดี อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี บอกบีบีซีไทยว่าเขานำเรือออกทะเลไปจับกุ้ง ครึ่งวันยังได้ไม่ถึง 1 กิโลกรัม

ในบางวัน เด็กน้อยวัย 15 ปี อย่างมูฮำหมัดไซดี แวเปาะแต ลูกของรอกาย๊ะ ก็ไม่ได้ไปโรงเรียนที่เขาเรียนอยู่ในชั้น ม.3 เพราะต้องไปช่วยแม่หาหอยแทนการจับกุ้งและปลา เขาและแม่นำหอยที่จับได้มาแกะและต้มขายได้ราคากิโลกรัมละ 50 บาท แต่ละวันขายได้ 4-5 กิโลกรัม

"มาทำงานแบบนี้เหนื่อยมาก ถ้าเป็นไปได้อยากไปเรียนหนังสือ" มูฮัมหมัด บอก แต่ต้องเสียสละให้น้องได้ไปโรงเรียน ความหวังของรอกาย๊ะที่จะให้ลูกได้เรียนหนังสือสูง ๆ นั้นยังเป็นไปไม่ได้

https://hosting.photobucket.com/imag...080&fit=bounds
ที่อยู่อาศัยของชาวประมงพื้นบ้าน บ้านบุดี ............... ที่มาของภาพ GOOYEE KUNO

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2563 มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านที่ต้องการการฟื้นฟูพื้นที่และเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี ส.ส.ในพื้นที่จากหลากพรรคการเมืองรับปากว่าจะนำเรื่องไปหารือในสภาเพื่อแก้ปัญหา

ล่าสุดนายกฯ อบจ.ปัตตานีบอกบีบีซีไทยว่าคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน กับคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ จะเชิญผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงในวันพรุ่งนี้ (3 ก.พ.) โดยก่อนหน้านี้คณะกรรมาธิการชุดหนึ่งเคยเสนอให้หางบประมาณมาขุดสันดอนทรายดังกล่าวออกไปทิ้งนอกพื้นที่ตามความต้องการของชาวบ้านส่วนใหญ่

บีบีซีไทยพยายามติดต่อผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 4 กรมเจ้าท่า ทางโทรศัพท์ เพื่อขอให้แสดงความคิดเห็น แต่ยังไม่สามารถติดต่อได้


https://www.bbc.com/thai/thailand-55904009



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:03

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger