SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5086)

สายน้ำ 27-03-2020 03:18

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคกลาง โดยมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 27 ? 31 มี.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยทั่วไป

หลังจากนั้นในวันที่ 1 เม. ย. 63 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้น


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด ตลอดช่วง ในวันที่ 1 เม. ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงไว้ด้วย



https://i1198.photobucket.com/albums...psfbc5g6wl.jpg

https://i1198.photobucket.com/albums...pspytgf5gy.jpg

https://i1198.photobucket.com/albums...pslmj1dwey.jpg

https://i1198.photobucket.com/albums...psdupnxtht.jpg

สายน้ำ 27-03-2020 03:55

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


หนอนทะเลโบราณลึกลับถูกระบุสกุลใหม่

https://i1198.photobucket.com/albums...psxobr3iaq.jpg
Credit : Anna Whitaker, et al.

มีซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลบางส่วนของหนอนทะเลถูกค้นพบในรัฐยูทาห์เมื่อปี พ.ศ.2512 ช่วงเวลานั้นนับว่ายากที่นักวิทยาศาสตร์ จะชี้ชัดข้อมูลเกี่ยวกับหนอนตัวนี้ เพราะซากฟอสซิลดังกล่าวเรียบผิดปกติ และชิ้นส่วนสำคัญของตัวหนอนก็หายไปโดยสิ้นเชิง เบื้องต้นนักวิจัยจัดให้หนอนลึกลับตัวนี้อยู่ในสกุล Palaeoscolex

แต่เมื่อเร็วๆนี้ สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยแคนซัส ในสหรัฐอเมริกา เผยว่า สามารถไขปริศนาหนอนลึกลับในสกุล Palaeoscolex หลังจากได้รับตัวอย่างของฟอสซิลหนอนโบราณนี้จากนักสะสม ซากดึกดำบรรพ์ชาวยูทาห์ ที่ค้นหาซากฟอสซิล

ในพื้นที่ทางธรณีวิทยาสเปนซ์ เชล (Spence Shale) อายุ 506 ล้านปี ในรัฐยูทาห์ ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัย จึงวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดและอุปกรณ์วิเคราะห์ธาตุ

ผลการศึกษาพบว่าซากฟอสซิลหนอนตัวนี้ เป็นหนอนทะเลจากยุคแคมเบรียน และเป็นชนิดใหม่ ไม่เป็นที่รู้จักในทางวิทยาศาสตร์ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคนซัสและทีมนักสะสมชาวยูทาห์จึงตั้งชื่อสกุลใหม่ให้กับหนอนชนิดนี้คือ Utahscolex โดยคิดว่ามันน่าจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหนอน priapulid ที่มีอยู่ในปัจจุบัน.


http://www.thairath.co.th/news/foreign/1804161


สายน้ำ 27-03-2020 04:02

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


'ดร.ธรณ์' หวั่นขยะอันตราย "หน้ากากอนามัยตกทะเล" ชวนคนไทยทิ้งให้ถูกต้อง

https://i1198.photobucket.com/albums...psok0q36y3.jpg

เพจ Thon Thamrongnawasawat โดย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล โพสต์แสดงความห่วงใยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทะเลไทย เมื่อพบผลพวงจากไวรัสโควิด-19 ต่อท้องทะเลไทย จากการที่พบขยะหน้ากากอนามัยบนชายหาดเกาะพะลวย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยทีมโตโน่ว่ายน้ำ กับ "โครงการ ONE MAN & THE SEA หนึ่งคนว่าย หลายคนช่วย" ขณะที่เก็บขยะบนชายหาดก่อนกลับบ้าน


โพสต์ ดร.ธรณ์ ระบุว่า

ทีมโตโน่ว่ายน้ำช่วยทะเลกำลังจะกลับบ้าน ก่อนกลับพวกเขาเก็บขยะบนชายหาดที่เกาะพะลวย พวกเขาเจอขยะทะเลชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

ถึงตอนนี้พวกเราคนไทยใช้หน้ากากวันละนับล้านชิ้น นั่นคือเรื่องจำเป็น แต่ที่จำเป็นไม่แพ้กันคือการกำจัดให้ถูกต้อง

หน้ากากแบบใช้แล้วทิ้งเป็นขยะอันตราย ไม่ควรทิ้งแบบทั่วไป อยากให้พับแล้วรวบรวมใส่ถุงไว้ เขียนบอกบนถุงให้ชัดเจน "หน้ากาก ขยะอันตราย"

เมื่อรวมได้มากพอค่อยนำไปวางแยกไว้จากขยะอื่นเพื่อกำจัด
ผมยังอยากเสนอให้อาคารสำนักงานและที่ชุมชนอื่นๆ มีถังขยะรับหน้ากากพวกนี้โดยเฉพาะ เพื่อนำไปกำจัดพร้อมกัน ช่วยป้องกันหลุดรอดจากการทิ้งบ้านละถุงสองถุง

ช่วยกันคนละนิด เราใช้หน้ากากเพื่อความปลอดภัย แต่อย่าให้หน้ากากที่เราใช้ไปทำร้ายเพื่อนๆ ในทะเลในป่าของเรา

เมื่อไวรัสผ่านพ้นไป เราคงไม่อยากกลับไปเที่ยวทะเลที่เต็มไปด้วยขยะหน้ากาก...ใช่ไหมครับ


https://i1198.photobucket.com/albums...psngu1cay7.jpg

สำหรับโครงการ ONE MAN & THE SEA หนึ่งคนว่าย หลายคนช่วย นำทีมโดย "โตโน่-ภาคิน คำวิลัยศักดิ์" กัปตันโครงการกับภารกิจว่ายน้ำข้าม 12 เกาะ สุราษฎร์ธานี-สมุย รวมระยะทาง 82 กม. ตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค. - 5 เม.ย. 63

เริ่มต้นจาก จ.สุราษฎร์ธานี บริเวณท่าเรือดอนสัก จากนั้นว่ายข้ามพิชิต 12 เกาะ ได้แก่ 1.เกาะริกัน, 2.เกาะนกเภา, 3.เกาะเหยี่ยว, 4.เกาะกา, 5.เกาะส้ม, 6.เกาะวัวตัวจิ๋ว, 7.เกาะเชือก, 8.เกาะทะลุ, 9. เกาะพะลวย, 10.เกาะค่างทัก, 11.เกาะมดแดง และ 12.เกาะสมุย

จุดหมายของโครงการนี้ อยู่ที่บริเวณฐานทัพเรือ เกาะสมุย แต่ก็จบได้แค่เกาะที่ 9 คือเกาะพะลวย ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจแห่งหนึ่งของเมืองหอยใหญ่

นับเป็นอีกโครงการดีๆ ที่ต้องการปลุกจิตสำนึกให้คนไทยเห็นถึงความสำคัญของระบบนิเวศทางทะเล และเกิดการลงมือช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ซึ่งในระหว่างว่ายน้ำ โครงการนี้ก็เปิดให้ผู้สนใจร่วมบริจาคเพื่อสมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์และเครื่องมือแพทย์ให้แก่สัตว์ทะเลและโรงพยาบาลริมชายฝั่ง และได้ยอดบริจาครวม 2,506,279 บาท (ณ วันที่ 24 มี.ค.2563)


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000030979


สายน้ำ 27-03-2020 04:04

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


สร้างรอยยิ้มในวันที่แย่!! 'พะยูน-เต่า-โลมาสีชมพู' โผล่โชว์ตัวที่ทะเลตรัง

https://i1198.photobucket.com/albums...psmip0mlyz.jpg

26 มีนาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.ธรณ์ ธำรงนาสวัสดิ์ รองอธิการบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อมชื่อดัง โพสต์ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ระบุว่า "ข่าวดีสร้างยิ้มจากทะเลไทย กรมทะเลสำรวจสัตว์หายากที่ตรัง/กระบี่ทางอากาศ พบพะยูน เต่า และโลมาสีชมพูเพียบเลยครับ วันที่เจอมากสุดในตรัง พบพะยูนถึง 130 ตัว เย้ ! ที่สำคัญคือเป็นพะยูนแม่ลูกถึง 15 คู่ มาเรียมยิ้มแป้นอยู่บนฟ้าเลยฮะ ยังพบเต่าเยอะเลย วันที่มากสุดเจอ 100 ตัว โลมาหลังโหนก (โลมาสีชมพู) 32 ตัว และ...ฉลามวาฬ 1 ตัว ขนาดบินดูยังมองเห็น ไม่เยอะจริงไม่รู้จะว่าไงแล้ว เย้ๆๆ

กระบี่ก็เยี่ยมครับ วันเจอเยอะสุดมีพะยูน 9 ตัว เต่า 19 ตัว ที่สำคัญ นี่เป็นการสำรวจเฉพาะบางพื้นที่ ไม่ใช่ทั้งจังหวัด ซึ่งต้องมีมากกว่านี้แน่ บนบกพวกเราชาวมนุษย์กำลังลำบาก แต่ในทะเลแม่ลูกพะยูนและโลมายังใช้ชีวิตอย่างเริงร่า จึงอยากบอกเพื่อนธรณ์ว่าอดทนอีกสักหน่อยนะคนไทย อดทนและช่วยกัน สักวันมันจะผ่านพ้นไป และเราจะกลับไปสวัสดีโลกสีคราม กลับไปแย้มยิ้มให้แม่พะยูน ไปโบกมือเซย์ไฮป้าโลมา ที่กำลังออกลูกเต็มบ้านออกหลานเต็มทะเล สักวันเราจะกลับไปรักพวกเธอให้มากกว่าเดิมครับ ภาพ/ข้อมูล - กรมทรัพยากรทางทะเลฯ ขอบคุณที่ช่วยดูแลทะเลให้พวกเราในช่วงนี้ครับ ขอบคุณจริงๆ"


https://www.naewna.com/likesara/481978

สายน้ำ 27-03-2020 04:06

ขอบคุณข่าวจาก PPTV


พบอื้อ! เต่า-พะยูน-โลมา- แหวกว่ายกลางทะเลอันดามันตอนล่าง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจพื้นที่ จ.ตรัง และ จ.กระบี่ โดยพบพะยูน โลมา เต่า เป็นจำนวนมากในทะเลอันดามันตอนล่าง

https://i1198.photobucket.com/albums...psrtskoqm1.jpg

เมื่อวันที่ 26 มี.ค.2563 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โพสต์ภาพบนเพจเฟซบุ๊กจากอากาศยานบินสำรวจ เผยให้เห็น พะยูนแม่ลูก โลมา และเต่าทะเล กำลังว่ายอยู่บนผิวน้ำ บริเวณในพื้นที่จังหวัดตรัง และจังหวัดกระบี่

โดยระบุว่า ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ทะเลอันดามันตอนล่าง ใช้อากาศยานบินสำรวจสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่ จังหวัดตรัง และจังหวัดกระบี่ โดยเขต จังหวัดตรัง สำรวจพะยูนพื้นที่เกาะมุกดิ์-เกาะลิบง และหมู่เกาะใกล้เคียง คิดเป็นพื้นที่ 188 ตารางกิโลเมตร พบพะยูนจำนวนสูงสุดต่อวันในการสำรวจ 130 ตัว มีคู่แม่ลูก 15 คู่ โลมาหลังโหนก 32 ตัว เต่าทะเล 100 ตัว และฉลามวาฬ 1 ตัว

https://i1198.photobucket.com/albums...ps9aihj5nt.jpg

ทั้งนี้พะยูนอยู่เป็นฝูงประมาณ 20-50 ตัว บริเวณหน้าหาดมดตะนอย แหลมจุโหย และพบกระจายตัวเดี่ยว ๆ บริเวณอ่าวทุ่งจีน และหน้าเขาปาตูปูเต๊ะ ในพื้นที่เกาะลิบง ซึ่งสอดคล้องกับรอยกินหญ้าของพะยูน ซึ่งพบรอยกินเป็นจำนวนมากบริเวณหญ้าทะเลหน้าหาดมดตะนอย-แหลมจุโหย ในการบินสำรวจดูความหนาแน่นของรอยกินหญ้าทะเลช่วงน้ำลง ในพื้นที่ จังหวัดกระบี่ คิดเป็นพื้นที่ 125 ตารางกิโลเมตร (บริเวณพื้นที่เกาะศรีบอยา เกาะปู และหมู่เกาะใกล้เคียง) พบพะยูนจำนวนสูงสุดต่อวัน 9 ตัว มีคู่แม่ลูก 1 คู่ เต่าทะเล 19 ตัว


https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8...0%B8%99/122226

สายน้ำ 27-03-2020 04:15

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


ไวรัสโคโรนา: สภาพอากาศร้อนชื้นฆ่าเชื้อไวรัส - หยุดยั้งการระบาดของโควิด-19 ได้จริงหรือ

https://i1198.photobucket.com/albums...pszhssf9p6.jpg
สภาพอากาศร้อนชื้นทำให้ไวรัสโคโรนาแพร่กระจายตัวได้ยากกว่าสภาพอากาศที่เย็นและแห้ง Image copyrightGETTY IMAGES

ผู้คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าสภาพอากาศแบบเขตร้อนเช่นในประเทศไทยและภูมิภาคใกล้เคียง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การระบาดของโรคทางเดินหายใจโควิด-19 ไม่เป็นไปอย่างรุนแรงเช่นในแถบยุโรปและอเมริกาเหนือที่อยู่ในช่วงฤดูหนาวพอดี

ผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดก็มีอยู่หลายชิ้นที่สนับสนุนแนวความคิดนี้ ทำให้บรรดาประเทศในเขตหนาวพากันหวังว่า สถานการณ์ของโรคระบาดจะดีขึ้นเมื่อฤดูกาลที่อากาศอบอุ่นมาถึง แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อาจไม่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและฤดูกาล อย่างที่ใครหลายคนคาดหวังไว้


ทำไมอากาศร้อนชื้นยับยั้งไวรัสได้ดีกว่า

ผลการศึกษาในอดีตว่าด้วยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสโรคซาร์สที่เป็นญาติใกล้ชิดกับไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งก่อโรคโควิด-19 ชี้ว่าไวรัสจำพวกนี้มีพฤติกรรมการแพร่ระบาดที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล โดยในกรณีของสหราชอาณาจักรมักจะพบการระบาดรุนแรงขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม - เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวที่มีสภาพอากาศเย็นและแห้ง แบบแผนการระบาดเช่นนี้ยังเหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่หลายชนิดด้วย

https://i1198.photobucket.com/albums...psx1xvt0hy.jpg
แสงแดดช่วยให้เกิดการสังเคราะห์วิตามินดี (D) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย Image copyrightGETTY IMAGES

งานวิจัยล่าสุดของคณะแพทย์ชาวจีนที่เผยแพร่ในคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ด้านแพทยศาสตร์ medRxiv.org ระบุว่าอุณหภูมิ ความเร็วลม และความชื้นสัมพัทธ์ในแต่ละพื้นที่ มีความเกี่ยวข้องกับอัตราการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่วนรายงานอีกชิ้นหนึ่งที่จัดทำโดยบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านระบาดวิทยา Ausvet ก็ชี้ว่าบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจะพบกรณีการติดเชื้อโรคโควิด-19 ต่ำกว่า

ด้านทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ หรือเอ็มไอทีของสหรัฐฯ ตีพิมพ์บทความในวารสารออนไลน์ SSRN โดยเผยข้อมูลว่า 90% ของการติดเชื้อโรคโควิด-19 เกิดขึ้นในภูมิภาคที่มีอุณหภูมิ 3-17 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมบูรณ์ 4-9 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ประเทศซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียสขึ้นไป และมีความชื้นสัมบูรณ์สูงกว่า 9 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 6% ของกรณีทั้งหมดทั่วโลก

แม้จะดูเหมือนว่าผลการวิจัยส่วนใหญ่ให้ความหวังกับผู้ที่รอคอยให้ช่วงฤดูร้อนมาถึง เพื่อที่สภาพอากาศอันอบอุ่นและชุ่มชื้นมากขึ้นจะขับไล่โรคระบาดให้หายไปโดยอัตโนมัติ แต่ผลการวิจัยเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเบื้องต้นที่จัดทำขึ้นโดยใช้ข้อมูลในอดีตของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่น ๆ มาเทียบเคียง รวมทั้งใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ทำนายคาดการณ์ล่วงหน้า เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ ยังเกิดขึ้นไม่นานพอที่จะบอกถึงความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงฤดูกาลได้

อย่างไรก็ตาม มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์บางส่วนที่อาจให้คำตอบได้ว่า เหตุใดสภาพอากาศแบบร้อนชื้นจึงทำให้ไวรัสโคโรนาแพร่กระจายตัวได้ยากกว่าสภาพอากาศที่เย็นและแห้ง

https://i1198.photobucket.com/albums...psesibhucc.jpg
อากาศที่มีความชื้นสูง ทำให้อนุภาคไวรัสถูกห่อหุ้มด้วยละอองความชื้นและตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว Image copyrightGETTY IMAGES

ไวรัสโคโรนานั้นมีเปลือกหุ้มเป็นชั้นไขมัน ซึ่งทำให้ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้มากกว่าไวรัสชนิดอื่น โดยในสภาพอากาศหนาวเย็นนั้น ไขมันที่เป็นเปลือกหุ้มจะจับตัวแข็งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะช่วยปกป้องอนุภาคไวรัสขณะที่อยู่นอกร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการอยู่ในอากาศร้อนที่เปลือกไขมันจะถูกทำลาย

ยิ่งไวรัสสามารถคงสภาพเดิมในสิ่งแวดล้อมภายนอกได้นานขึ้นเท่าใด พวกมันก็ยิ่งมีโอกาสในการแพร่กระจายและทำให้ผู้คนติดเชื้อได้มากขึ้นเท่านั้น

เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ฤดูหนาวของซีกโลกเหนือและตะวันตกมักขมุกขมัวไม่มีแดด ทำให้ผู้คนขาดวิตามินดี (D) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ นอกจากนี้อากาศที่เย็นและแห้งยังทำให้ปริมาณของเมือกเหนียวที่ร่างกายผลิตออกมาเคลือบเนื้อเยื่อปอดและทางเดินหายใจลดลง ทำให้ไม่สามารถป้องกันการโจมตีของไวรัสไปโดยปริยาย

https://i1198.photobucket.com/albums...pslqlepppf.jpg
ผู้คนในโลกตะวันตกไม่ควรจะฝากความหวังในการยับยั้งโรคระบาดไว้กับช่วงฤดูร้อนมากนัก Image copyrightGETTY IMAGES

ดร. วิลเลียม ชาฟฟ์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ในสหรัฐฯ บอกด้วยว่า "สภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ทำให้อนุภาคไวรัสที่ล่องลอยในอากาศเพราะมีผู้ติดเชื้อไอหรือจามออกมา ถูกห่อหุ้มไว้ด้วยละอองความชื้นขนาดเล็กมาก ซึ่งละอองนี้จะถ่วงให้ไวรัสตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว ไม่ล่องลอยอยู่นานเหมือนในสภาพอากาศที่แห้งและนิ่งสนิทไม่มีการถ่ายเท ทำให้ไวรัสในสภาพอากาศชื้นแพร่กระจายได้ยากกว่า"


การระบาดใหญ่อาจทำให้โควิด-19 ไม่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล

แม้จะมีปัจจัยหนุนมากมายที่ทำให้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ไม่อาจแพร่ระบาดได้อย่างหนักในเขตร้อน แต่ประเทศไทยและเพื่อนบ้าน รวมทั้งผู้คนในโลกตะวันตกที่รอคอยฤดูร้อนมาถึงอย่างใจจดใจจ่อ ไม่ควรจะฝากความหวังในการยับยั้งโรคระบาดไว้กับสภาพอากาศมากนัก

ศ. ยาน อัลเบิร์ต ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสจากสถาบันคาโรลินสกาของสวีเดน แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า "แม้การระบาดวงกว้างของไวรัสโคโรนาส่วนใหญ่ในอดีตจะบรรเทาลงได้เอง และกลายเป็นการระบาดตามฤดูกาลไปในที่สุด แต่ไวรัสที่มีการระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) มักไม่เดินตามรอยของแบบแผนนี้เสมอไป ตัวอย่างเช่นการระบาดหนักของไข้หวัดใหญ่สเปนนั้นเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน ทั้งที่ไข้หวัดใหญ่ส่วนมากมักเกิดการระบาดในฤดูหนาว"

"สิ่งที่ยังเป็นคำถามอยู่ก็คือ ความอ่อนไหวของไวรัสโรคโควิด-19 ต่อฤดูกาลนั้น จะส่งผลต่อความสามารถในการแพร่ระบาดของมันระหว่างช่วงการระบาดใหญ่หรือไม่ เรื่องนี้เรายังไม่อาจรู้ได้แน่นอน"

"ความรุนแรงของการแพร่ระบาดไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศเพียงอย่างเดียว การที่ไวรัสติดต่อจากคนสู่คน ทำให้ปัจจัยทางฤดูกาลอย่างอื่นเช่นกิจกรรมของมนุษย์ก็มีผลสำคัญด้วย เช่นช่วงที่โรคหัดแพร่ระบาดหนักมักเป็นช่วงเปิดเทอมของบรรดาเด็กนักเรียน ส่วนการแพร่กระจายของเชื้อโรคโควิด-19 จากเมืองอู่ฮั่นไปยังมณฑลอื่น ๆ ของจีน ก็เกิดขึ้นในช่วงที่ผู้คนเดินทางกลับบ้านตอนเทศกาลตรุษจีน" ศ. อัลเบิร์ตกล่าว

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งยังชี้ให้เห็นว่า กรณีการระบาดของโรคโควิด-19 ในกลุ่มประเทศเขตร้อนนั้น แม้จะเกิดขึ้นน้อยกว่าในเขตหนาว แต่ก็ยังมีการติดเชื้อเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อาจไม่มีความอ่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศและฤดูกาลเท่าที่คาดหวังกันไว้

ผลการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในสหรัฐฯ พบว่าอัตราการแพร่ระบาดลุกลามของโรคโควิด-19 ในพื้นที่อากาศเย็นและแห้งของจีนอย่างมณฑลจี๋หลินและมณฑลเฮยหลงเจียง มีความใกล้เคียงกับอัตราการแพร่ระบาดในเขตร้อนเช่นเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงและประเทศสิงคโปร์ ซึ่งข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า ลำพังสภาพอากาศร้อนชื้นเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถยับยั้งหรือบรรเทาการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้


https://www.bbc.com/thai/international-52042630



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:12

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger