SaveOurSea.NET

SaveOurSea.NET (http://www.saveoursea.net/forums/index.php)
-   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม (http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=13)
-   -   สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม 2563 (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=5121)

สายน้ำ 01-05-2020 03:06

สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม 2563
 
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ลักษณะเช่นนี้จึงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับภาคใต้ ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณเกาะสุมาตรามีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้มีฝนตกต่อเนื่อง ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 1 ? 5 พ.ค. 63 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณหัวเกาะสุมาตรา มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้คลื่นลมในทะเลอันดามันห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 1 - 6 พ.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง เนื่องจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง สำหรับภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณหัวเกาะสุมาตราจะมีกำลังแรงขึ้น มีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวเบงกอลในช่วงวันที่ 1 ? 5 พ.ค. 63 ส่งผลทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง และคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และลมกระโชกแรงไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง



https://i1198.photobucket.com/albums...psjwrzz96t.jpg


https://i1198.photobucket.com/albums...psbpj0uqnx.jpg

สายน้ำ 01-05-2020 03:10

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


สิ่งแวดล้อม : ช่องโหว่ชั้นโอโซนที่ใหญ่ที่สุดในขั้วโลกเหนือปิดตัวลงแล้ว

https://i1198.photobucket.com/albums...psug6jttbf.jpg
แผนที่ช่วงก่อนที่ช่องโหว่ชั้นโอโซนเหนือขั้วโลกเหนือจะปิดตัวลง Image copyright CAMS

ช่องโหว่ในชั้นโอโซนที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบในขั้วโลกเหนือได้ปิดตัวลงโดยสมบูรณ์แล้ว หลังจากค้นพบได้ไม่ถึงเดือน

ย้อนไปปลายเดือน มี.ค. นักวิทยาศาสตร์จากหน่วยบริการสังเกตการณ์ชั้นบรรยากาศโคเปอร์นิคัส (Copernicus Atmosphere Monitoring Service) พบช่องโหว่ "ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" ในชั้นบรรยากาศเหนือภูมิภาคอาร์กติก

จากนั้นช่องโหว่นี้ก็กลายเป็นช่องโหว่ที่ใหญ่ที่สุดที่พวกเขาเคยพบในซีกโลกเหนือ โดยมีขนาดใหญ่เท่ากับเกาะกรีนแลนด์

แต่วันที่ 23 เม.ย. หน่วยบริการสังเกตการณ์ชั้นบรรยากาศโคเปอร์นิคัส ก็ประกาศข่าวดีทางทวิตเตอร์ว่าช่องโหว่ชั้นโอโซนได้ปิดตัวลงแล้ว


ชั้นโอโซนสำคัญอย่างไร

https://i1198.photobucket.com/albums...psylzgazih.jpg
ชั้นโอโซนเป็นเกราะป้องกันโลกจากรังสีที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์ Image copyright GETTY IMAGES

ชั้นโอโซนเป็นเกราะป้องกันโลกจากรังสีที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์ โอโซนส่วนใหญ่ของโลกอยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ ที่ระดับความสูง 10-40 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน ชั้นโอโซนเป็นเกราะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง

ช่องโหว่ชั้นโอโซนอาจส่งผลกระทบต่ออัตราการละลายของน้ำแข็ง ระบบภูมิคุ้มกันของสิ่งมีชีวิต และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งผิวหนังและต้อกระจกในมนุษย์

หน่วยบริการสังเกตการณ์ชั้นบรรยากาศโคเปอร์นิคัสบอกว่านี่นับเป็นช่องโหว่ในชั้นโอโซนที่แท้จริงอันแรก แม้ว่าก่อนหน้านี้จะเคยมีช่องโหว่เล็ก ๆ มาแล้ว


ช่องโหว่เกิดขึ้นและหายไปได้อย่างไร

https://i1198.photobucket.com/albums...ps5eykrftz.jpg
Image copyright GETTY IMAGES

นักวิทยาศาสตร์บอกว่าการขยายตัวอย่างรวดเร็วของช่องโหว่เป็นผลจากสภาพอากาศเหนือภูมิภาคอาร์กติกที่แปลกประหลาด

เมื่อลมแรงขังลมที่เย็นเยือกอยู่เหนือครอบน้ำแข็งเป็นเวลาหลายสัปดาห์ติดต่อกัน มันจะสร้างปฏิกริยาที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า โพลาร์ วอร์เท็กซ์ (polar vortex) เป็นกระแสลมวนที่หมุนตัวเอง สร้างแรงกระทบจนเกิดช่องโหว่ของโอโซนในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์

แม้ว่าตอนนี้ช่องโหว่จะปิดตัวลงแล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์บอกว่าอาจเกิดช่องโหว่ขึ้นอีกได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพทางอุตุนิยมวิทยา

หน่วยบริการสังเกตการณ์ชั้นบรรยากาศโคเปอร์นิคัส บอกว่า นี่ไม่เกี่ยวกับมาตรการล็อกดาวน์รับมือกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ แต่เกิดจากปฏิกริยา โพลาร์ วอร์เท็กซ์ ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน


ช่องโหว่โอโซนเหนือแอนตาร์กติกายังอยู่

https://i1198.photobucket.com/albums...pslzuecem4.jpg
Image copyright GETTY IMAGES

นักวิทยาศาสตร์นอกจากช่องโหว่ในชั้นโอโซนเหนือขั้วโลกเหนือแล้ว ยังมีช่องโหว่เหนือทวีปแอนตาร์กติกาเปิดขึ้นใหม่ทุกปีในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ามาก

แม้ว่าขนาดจะต่างกันไปทุกปี แต่ก็ยังไม่มีสัญญาณว่าช่องโหว่เหล่านั้นจะปิดตัวลง

สภาพชั้นโอโซนค่อย ๆ ฟื้นตัว ตั้งแต่เมื่อปี 1996 ที่มีการสั่งห้ามใช้สารเคมีจำพวกคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (ซีเอฟซี) ซึ่งมักใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตสเปรย์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวการทำลายชั้นโอโซนให้บางลง

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization) ระบุว่า ช่องโหว่โอโซนเหนือทวีปแอนตาร์ติกแคบลงราว 1-3 เปอร์เซ็นต์ต่อทศวรรษตั้งแต่ปี 2000

มีการพบช่องโห่วชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์ติกที่เล็กที่สุดเมื่อปีที่แล้ว แต่องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกบอกว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อยถึงปี 2050 กว่ามันจะปิดตัวลงอย่างสมบูรณ์


https://www.bbc.com/thai/international-52480755



เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:44

vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger