ดูแบบคำตอบเดียว
  #75  
เก่า 29-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,439
Default


อุโมงค์ยักษ์


รัฐบาลกำลังจัดการกับมวลน้ำขนาดใหญ่ที่กำลังเล่นงานหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ ด้วยการหาทางระบายน้ำลงทะเลให้เร็วที่สุด เครื่องมือสำคัญที่ใช้อยู่ขณะนี้ คือ "อุโมงค์ยักษ์" 4 แห่ง ที่ กทม. ทุ่มงบฯ ก่อสร้างถึง 1.6 หมื่นล้านบาท หวังจะช่วยป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ได้อย่างยั่งยืน

อุโมงค์ระบายน้ำขนาดยักษ์ เปรียบเสมือนทางด่วนใต้ดินที่จะบังคับน้ำเหนือและน้ำฝนระบายออกลงสู่เจ้าพระยาและอ่าวไทยได้อย่างรวดเร็ว เท่ากับระบายน้ำออกจากสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน 4 สระภายในเวลาเพียง 1 วินาที ประกอบด้วย

1. อุโมงค์พระราม 9-รามคำแหง หรือ อุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ - ลาดพร้าวเดิม เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2544 ใช้งบประมาณกว่า 2 พันล้านบาท มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร ยาว 5 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นที่คลองลาดพร้าวเชื่อมคลองแสนแสบ และไหลลงสู่เจ้าพระยา สามารถระบายน้ำได้ 60 ลบ.ม.ต่อวินาที

2. อุโมงค์รัชดาภิเษก-สุทธิสาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร ยาว 6 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นจากถนนรัชดาภิเษกตัดถนนสุทธิสาร สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา และช่วยระบายน้ำในพื้นที่เขตห้วยขวาง ดินแดง จตุจักร พญาไท ดุสิต และบางซื่อ

3. อุโมงค์ดอนเมือง เป็นอุโมงค์ระบายน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เมตร ยาว 13.5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 100 ตารางกิโลเมตร ช่วยระบายน้ำในย่านจตุจักร หลักสี่ บางเขน ดอนเมือง และบางส่วนของเขตสายไหม ประสิทธิภาพในการระบายน้ำเท่ากับ 15 เท่า เมื่อเทียบกับอุโมงค์ระบายน้ำแห่งแรกของกทม.ในย่านสุขุมวิทที่สร้างขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อน

4. อุโมงค์สวนหลวง ร.9 หรืออุโมงค์บึงหนองบอน - เจ้าพระยา ปรับเนื้องานจากเดิมที่จะเป็นโครงการบึงหนองบอน - คลองประเวศบุรีรมย์ ระยะทาง 3 กิโลเมตร งบประมาณ 995 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม กทม.ได้ขยายแนวอุโมงค์ให้ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาไปทางบางนา รวมระยะทางยาว 9.5 กิโลเมตร งบประมาณ 4.9 พันล้านบาท ประสิทธิภาพในการระบายน้ำ 60 ลบ.ม.ต่อวินาที ครอบคลุมพื้นที่ประเวศ พระโขนง บางนา และสวนหลวง

สถานีของอุโมงค์ระบายน้ำอยู่ภายในโรงบำบัดน้ำเสียคลองเตย ในพื้นที่บริษัท ไม้อัดไทย เขตบางนา

สำหรับโครงการอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ-ลาดพร้าว เริ่มขึ้นในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าฯ กทม. แต่เกิดข้อร้องเรียนการทุจริตเกิดขึ้น เมื่อเดือนก.ค.ปี 2551 โดยสำนักงานอัยการญี่ปุ่นระบุว่า บริษัท นิชิมัตสึ คอนสตรั๊คชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลในโครงการดังกล่าว ได้ติดสินบนเจ้าหน้าที่ไทยเป็นเงินจำนวน 200 ล้านเยน

อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการ "ระบบอุโมงค์ยักษ์" ดังกล่าว จะทำให้คนกรุงเทพฯ ทุกคนได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน เพราะไม่เพียงจะช่วยพื้นที่ที่อุโมงค์ นี้ตั้งอยู่ให้รอดพ้นจากภาวะน้ำท่วม แต่คาดว่าจะช่วยพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของกรุงเทพฯ ให้รอดพ้นจากภาวะน้ำท่วมเกือบทั้งหมดเช่นกัน

โดยจะช่วยลดปริมาณน้ำที่ไหลผ่านระบบระบายน้ำอื่นๆ ที่ปัจจุบันต้องรับหน้าที่เกินกำลังความสามารถได้อีกทางหนึ่งด้วย




จาก ................ ข่าวสด คอลัมน์ คอลัมน์ที่ 13 วันที่ 29 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม