ดูแบบคำตอบเดียว
  #59  
เก่า 27-12-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,407
Default


จะทำอย่างไรเมื่อมีความเสี่ยงเป็นโรคโลหิตจางพันธุกรรมธาลัสซีเมีย (ตอน 2)


ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า "มียีนแฝง (เป็นพาหะ)" หรือเป็น “โรคธาลัสซีเมีย”

1. การซักประวัติครอบครัว

2. การวินิจฉัยโดยการเจาะเลือด ซึ่งเป็นการตรวจเลือดพิเศษที่เฉพาะเจาะจงในเรื่องโรคธาลัสซีเมีย

คำแนะนำสำหรับผู้ที่มียีนส์แฝง (เป็นพาหะ) ของโรคธาลัสซีเมีย

ผู้ที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย มีโอกาสจะถ่ายทอดโรคไปสู่ลูกหลานได้ จึงควรวางแผนก่อนมีบุตรเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการมีลูกเป็นโรคนี้ ดังนั้น จึงควรพาคู่สมรสไปรับการตรวจเลือดก่อนจะมีบุตร ถ้าคู่สามีภรรยามียีนส์แฝงทั้งคู่ ไม่ได้มีข้อห้ามในการแต่งงานกันหรือมีบุตร คู่สมรสสามารถที่จะมีครอบครัวได้ตามปกติ แต่ก่อนตั้งครรภ์ ต้องทำการปรึกษาแพทย์ให้เรียบร้อย เพื่อทำการวินิจฉัยและคัดเลือกบุตรที่ความเป็นปกติมากที่สุด

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย

สำหรับผู้ที่เป็นธาลัสซีเมียแล้ว การดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ ซีดมาก อ่อนเพลีย ติดเชื้อง่าย หัวใจทำงานหนัก เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ม้ามโต และการดูแลรักษาสามารถทำได้โดยการรับเลือดเมื่อมีอาการซีดมาก และใช้ยาขับเหล็กในกรณีที่เหล็กในเม็ดเลือดแดงแตกออกมามีปริมาณมากและจับกับอวัยวะต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของธาลัสซีเมียที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลด้วย การรักษาให้หายขาดทำได้วิธีเดียว คือ การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ในกรณีนี้ควรทำในผู้ป่วยที่อายุยังน้อย

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยธาลัสซีเมีย

1.ควรรับประทานผักสด ไข นม หรือนมถั่วเหลืองเป็นประจำ

2.ดื่มน้ำชาหลังอาหารเพื่อลดการดูดซึมธาตุเหล็ก

3.ควรตรวจฟันทุก 6 เดือนเนื่องจากฟันจะผุง่าย

4.งดการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา

5.หลีกเลี่ยงการทำงานหนักและการเล่นกีฬาที่รุนแรง

6.ถ้ามีอาการปวดท้องที่บริเวณชายโครงขวารุนแรง มีไข้และเหลืองมากขึ้น อาจเกิดจากถุงน้ำดีอักเสบ ควรรีบพบแพทย์

7.ในรายที่ตัดม้ามแล้วจะมีการติดเชื้อได้ง่าย เมื่อมีไข้สูงต้องทานยาลดไข้และยาปฏิชีวนะทันที แล้วรีบพบแพทย์

ดังนั้น กล่าวโดยสรุป คือ เมื่อมีความเข้าใจเรื่องโรคธาลัสซีเมียเป็นอย่างดี การเป็นพาหะหรือเป็นโรคไม่ใช่สิ่งน่ากลัวหรืออันตรายอีกต่อไป ถ้ายังมีข้อสงสัยกับเรื่องเหล่านี้ การขอรับคำปรึกษาทางพันธุกรรมจากแพทย์ที่เชี่ยวชาญเป็นหนทางที่ดีที่สุด ความตระหนักในเรื่องการวางแผนครอบครัวของคู่สมรสที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคธาลัสซีเมียใหม่ในประชากรไทย และทำให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าต่อไป

ข้อมูลจาก ดร.นพ.โอบจุฬ ตราชู อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคพันธุกรรมและมะเร็งในครอบครัว โรงพยาบาลพญาไท 1 http://www.phyathai.com




จาก ...................... บ้านเมือง คอลัมน์ ชีวิตและสุขภาพ วันที่ 26 ธันวาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม